บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


22 มีนาคม 2553

<<< สองมาตรฐาน เรื่อง ฉีกบัตรเลือกตั้ง >>>

ตรัง, ศาลจังหวัดตรังตัดสินยกฟ้องคดีฉีกบัตรเลือกตั้ง 2 เม.ย. ( ข่าวตรัง )

ศาลยกฟ้องคดีฉีกบัตรเลือกตั้ง ส.ส. 2 เม.ย. ระบุเป็นการกระทำไป เพื่อแสดงออกถึงสิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 65 ซึ่งบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไป เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้
จากกรณีที่นายทศพร กาญจนะภมรพัฒน์ อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อปี 2548 และหนึ่งในสมาชิกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลบางหมาก ได้ก่อเหตุฉีกบัตรเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 2 ใบ ทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ สำหรับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549
เหตุเกิดภายในหน่วยเลือกตั้งที่ 2 ณ อาคารฝึกงาน โรงเรียนบ้านพรุใหญ่ หมู่ที่ 2 ตำบลบางหมาก ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับที่อาจารย์คนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการฉีกบัตรเลือกตั้งเหมือนกัน
ทั้งนี้ หลังจากก่อเหตุแล้ว นายทศพร ก็ได้เข้ามอบตัว ต่อ พ.ต.ท.ประดิษฐ์ ชัยพล สารวัตรเวรสอบสวน สภ.อ.กันตัง และให้การว่า กระทำไปเพื่อประท้วงการเลือกตั้ง ส.ส. ที่เป็นไปโดยไม่สุจริต และถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่อมา นายทศพร ก็ได้รับการประกันตัวออกไป ด้วยเงินสด จำนวน 10,000 บาท และทางพนักงานสอบก็ได้รวบรวมพยานหลักฐาน ส่งสำนักงานอัยการจังหวัดตรัง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา และในที่สุดสำนักงานอัยการก็ได้พิจารณาส่งฟ้องศาลนั้น
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (23 พ.ค.) ที่ศาลจังหวัดตรัง บัลลังก์ที่ 8 นายทศพร ฝ่ายจำเลย ได้เดินทางมารับฟังคำพิพากษาจากศาลในคดีนี้ โดยมีอัยการจังหวัดตรังเป็นฝ่ายโจทก์ และศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง ตามแนวทางเดียวกับ 3 ศาลสูง ที่มีคำพิพากษามาก่อนหน้านี้ว่า การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 เมษายน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และการฉีกบัตรเลือกตั้งของนายทศพรนั้น ก็เป็นการกระทำไป เพื่อแสดงออกถึงสิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 65 ซึ่งบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไป เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้
นายทศพร กล่าวว่า การฉีกบัตรเลือกตั้ง ส.ส.ตนเองนั้น กระทำการก่อนที่จะมีการลงคะแนน และได้แจ้งสิทธิให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งทราบ หลังจากนั้น ก็มอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรม โดยมีการขึ้นศาลครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม จากนั้นได้นัดให้มาฟังคำพิพากษาในวันที่ 23 พฤษภาคม
เนื่องจากคดีนี้เป็นที่สนใจของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ประกอบกับขอรอการพิจารณาของ 3 ศาลสูงว่า การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 เมษายนนั้น เป็นการเลือกตั้งที่ชอบหรือไม่ ซึ่งตลอดระยะเวลา ตนก็ยืนยันคำให้การไว้อย่างชัดเจนว่า สิ่งที่กระทำไปนั้นเป็นสิทธิตามมาตรา 65
นายทศพร กล่าวอีกว่า สำหรับผลการพิพากษาในวันนี้ ก็น่าจะเป็นที่สิ้นสุดแล้ว และคิดว่าทางอัยการจังหวัดตรังคงจะไม่อุทธรณ์คดีอีก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในช่วงระยะเวลานี้ ถือเป็นช่วงที่จะมีการเฉลิมฉลอง การครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตนเองและกลุ่มเครือข่ายก็จะงดการออกมาเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้น
ส่วนหลังจากนี้ จะมีแนวทางในการดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะต่อการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งใหม่ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ ตนก็จะออกมาแจ้งให้สาธารณชนรับทราบอีกครั้ง

ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์
http://www.andamanguide.com/andaman_news/andaman_news_5_37.html

-----------------------------------------------------------

คำ แถลงการณ์ "ศาลยกฟ้องคดีฉีกบัตรฯ หมอเกรียงศักดิ์ และพวก"

คำแถลงการณ์
“ ต่อต้านโดยสันติวิธี ”
ศาลยกฟ้องคดีฉีกบัตรฯ หมอเกรียงศักดิ์ และพวก

วันที่ 23 พฤษภาคม 2549 อัยการแขวงสงขลาได้ฟ้อง น.พ. เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา และพวกอีก 6 คนได้แก่ นางปราณี วีระวงศ์ นางวลัย ยนต์ประเสริฐ น.ส.จินตนา จินแดหวา นางสะอาด จินแดหวา นางสุมล ตุลา และนายนิกร ยอดหนูขุน ด้วย 2 ข้อหาคือ 1. เจตนาจงใจกระทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุด หรือเสียหาย และ 2.กระทำให้เสียทรัพย์ แต่เมื่อเวลาประมาณ 17.30 น. ท่านผู้พิพากษาศาลแขวงสงขลา ได้มีคำพิพากษาในคดีนี้ว่า “ยกฟ้องข้อกล่าวหาทั้ง 2 ข้อ ของอัยการที่มีต่อผู้ต้องหาทั้ง 7 ท่าน” ด้วยเหตุผลพอสรุปได้ดังนี้
1. ศาลรัฐ ธรรมนูญและศาลปกครอง มีคำวินิจฉัย เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเลือกตั้งของ กกต. เมื่อ วันที่ 2
เมษายน 2549 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะเป็นการดำเนินการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม บริสุทธิ์ (ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตร 144) ขาดความเป็นกลางทางการเมือง(ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 136) และการจัดคูหาในลักษณะที่บุคคลภายนอกสามารถสังเกตเห็นได้ว่าผู้เลือกตั้งกำลัง ใช้สิทธิเลือก ตั้งหมายเลขใด อันเป็นการละเมิดหลักการลงคะแนนเลือกตั้งซึ่งต้องดำเนินการโดย ลงคะแนนโดยตรงและลับ (ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 104 วรรค 3)
2. ผู้ต้องหา ทั้ง 7 คน มิได้มีเจตนาฉีกบัตรเพื่อทำลายกระบวนการเลือกตั้ง แต่เป็นการกระทำที่แสดงออกถึง
เจตนาในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 65 ในการต่อต้านโดยสันติวิธีต่อกระบวนการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและไม่ เที่ยงธรรม อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศของกลุ่มบุคคลหรือพรรคการ เมืองที่มิชอบด้วยวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น การกระทำของผู้ต้องหาทั้ง 7 ท่านในการฉีกบัตรครั้งนี้ จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.
ประกอบรัฐธรรมนูญการเลือกตั้ง สส. และ สว. พ.ศ. 2541 มาตรา 108 และมิใช่เป็นการกระทำผิดในการทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ศาลแขวงสงขลาพิจารณาแล้วสมควรให้ยกฟ้องข้อกล่าวหาทั้งหมด

หมายเหตุ : 1. ข้อความข้างต้นทั้งหมดนี้เรียบเรียงมาจากความทรงจำของ น.พ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา ระหว่างฟังคำพิพากษาคดีดังกล่าว ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 ซึ่งอาจมีความผิดพลาดได้ จึงต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย หากไม่ตรงกับคำวินิจฉัยฉบับสมบูรณ์ของท่านผู้พิพากษา ซึ่งจะขอสำเนาได้หลังมีคำพิพากษาประมาณ 1 สัปดาห์
2. น.พ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา และพวก ขอกราบขอบพระคุณท่านผู้พิพากษาศาลแขวงสงขลาที่ให้ความยุติธรรมในการพิพากษา คดีนี้และขอบพระคุณชาวจังหวัดสงขลา และจังหวัดอื่น ๆ ที่ให้กำลังใจสนับสนุนด้วยดีมาตลอด

-----------------------------------------------------------

ศาลพิจิตรสั่งจำคุกไม่รอลงอาญา ส.ท.ฉีกบัตรเลือกตั้ง
โดย ITV วัน พุธ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2549 13:50 น.

รายงานจากจังหวัดพิจิตรแจ้งว่า นายรติปกรณ์ จงอุส่าห์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพิจิตรได้ขึ้นบัลลังก์ศาลพิจารณาคดีจากกรณีที่ นายอารัชฏ์ ทีวงศ์ อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 999 หมู่ 10 ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเขาทรายนักศึกษาปริญญาโท อำเภอทับคล้อ จ.พิจิตร ได้ทำการฉีกบัตรเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2549 หน่วยเลือกตั้งที่ 15 ต.เขาทราย อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ทั้งนี้ศาลจังหวัดพิจิตรได้นั่งบัลลังก์ที่ 3 อ่านคำพิพากษาตัดสินให้ นายอารัชฏ์ ทีวงศ์ จำเลย รับโทษจำคุก 2 เดือนไม่รอลงอาญา แต่จำเลยรับสารภาพศาล จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุก 1 เดือน ไม่รอลงอาญา และตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี โดยระบุว่าจำเลยจงใจ และเจตนาฉีกบัตรเลือกตั้ง อีกทั้งจำเลยที่กระทำความผิด มีตำแหน่งทางการเมืองและมีความรู้ มีการศึกษาอยู่ในระดับ ป.โท มีวุฒิภาวะ การทำผิดจึงพิจารณามีความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ. เลือกตั้ง อย่างไรก็ตามนายอารัชฏ์ ได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสด 1 แสนบาท ประกันตัวออกไปเพื่อสู้คดีในชั้นศาลอุทธรณ์ต่อไป

http://news.sanook.com/region/region_01651.php

-----------------------------------------------------------

อัยการสั่งอุทธรณ์คดีฉีกบัตร เลือกตั้งแจงเหตุหวังป้องไม่ให้เกิดเลียนแบบ

นายอรรถพล ใหญ่สว่าง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงความคืบหน้าคดีฉีกบัตรเลือกตั้งที่ศาลจังหวัดตรังและศาลจังหวัด สงขลามีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ฉีกบัตรเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 49 ว่า ขณะนี้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามที่ศาลพิพากษาว่า การฉีก บัตรของจำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. พ.ศ. 2541 ม. 108 เพราะเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ม. 65 กรณีนี้จึงมิใช้เป็นการจงใจทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุดหรือเสีย หาย เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 49 ว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย. ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญยังคลาดเคลื่อนต่อข้อกฎหมาย เพราะการใช้สิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ม. 65 ต้องไม่ฝ่าฝืนกับกฎหมายอื่น

อีกทั้งก่อนหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งมิชอบ ศาลยุติธรรมได้มีคำพิพากษาและลงโทษคดีฉีกบัตรเลือกตั้งไปแล้วว่าเป็นความผิด ดังนั้นสำนักงานอัยการสูงสุดจึงเห็นว่า การบังคับใช้กฎหมายตามที่ศาลจังหวัดตรังและศาลจังหวัดสงขลาวินิจฉัยไว้นั้น มีปัญหา จึงมีความจำเป็นจะต้องอุทธรณ์-ฎีกาคดีนี้ ไปจนถึงที่สุด นอกจากนี้หากในคดีฉีกบัตรเลือกตั้งพบว่า เป็นกรณีที่ผู้ฉีกบัตรจงใจ สำนักงานอัยการสูงสุดจะได้มีคำสั่งฟ้องทุกเรื่องต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดการลอกเลียนแบบ ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและเสียหายต่อระบบเลือกตั้ง.

http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=10455

-----------------------------------------------------------

ปากน้ำจับฉีกบัตรเลือกตั้งแล้ว 2 อ้างไม่มีเจตนา ไม่รู้ผิดกฏหมาย


โดย คม ชัด ลึก วัน อาทิตย์ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 12:31 น.
เจ้าหน้าที่จับฉีกบัตรเลือกตั้งที่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการแล้ว 2 ราย อ้างไม่มีเจตนาและไม่รู้ว่าผิดกฏหมายเลือกตั้ง

(23ธค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หน่วยเลือกตั้งที่ 12 ต.แพรกษา หมู่ 5 เขตเลือกตั้งที่ 1 อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ตั้งอยู่สวนสาธาร ณะอบต.แพรกษา ร.ต.อ.ปราสาท สิทประโคน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ประจำหน่วยเลือกตั้ง ได้ควบคุมตัว น.ส.ประยงค์ อยู่ฮวด อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 157ม.5 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เนื่องจากทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ฉีกทำลายบัตรเลือกตั้ง ขณะเข้าไปใช้สิทธิ์ในคูหา จึงได้เข้าควบคุมตัวมาทำการสอบสวน

น.ส.ประยงค์ อยู่ฮวด กล่าวว่า ตนมิได้ตั้งใจที่จะฉีกบัตรในบัตรเลือกตั้งแบบสัดส่วนตนเขียนถูกแต่มาถึงบัตร เลือกตั้งสีเหลืองแบบแบ่งเขต ตนเขียนผิดแทนที่จะกากบาทกลับเขียนเป็นตัวเลข รู้ว่าเขียนผิดจึงได้ฉีกบัตรทิ้ง กะว่าจะไปขอบัตรรับเลือกตั้งมากาใหม่ ไม่รู้ว่าการกระทำดังกล่าวนั้นผิดกฎหมาย

นางวัณเพ็ญ บูรณผล ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำหน่วยดังกล่าว ผู้อยู่ในเหตุการณ์ กล่าวว่า น.ส.ประยงค์ อยู่ฮวด เข้ารับบัตรรับเลือกตั้งลำดับที่ 101 ตามปกติ แต่เมื่อเข้าไปในคูหา กลับฉีกบัตร เลือกตั้งทำให้บัตรได้รับความเสียหายทั้งหมด ซึ่งตนพยายามร้องขอว่าอย่าฉีกแต่ไม่ทัน จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ทำการสอบถามว่า ได้ทำลายบัตรเลือกตั้งจริงหรือไม่ ซึ่งน.ส.ประยงค์รับว่าฉีกบัตรจริงแต่ไม่ได้ตั้งใจ อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยได้ควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวนเพื่อ ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ขณะเดียวกันที่หน่วยเลือกตั้งที่ 17 หมู่ 5 ภายในหมู่บ้านเด่นชัย ซ.คลองอาเสีย ต.แพรกษาใหม่ อ.เมือง สมุทรปราการ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งมีประชาชนฉีกบัตรเลือกตั้งภายในหน่วย เมื่อเดินทางไปถึงพบเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยได้คุมตัวนายทองซับ บัวเมือง อายุ 67 ปี อยู่บ้านเลขที่ 469 / 1475 หมู่ 5 ต.แพรกษาใหม่ อ.เมือง สมุทรปราการ โดยในมือยังถือบัตรเลือกตั้งแบบบางเขตและสัดส่วน ทั้งสองใบที่ฉีกเป็นเสี่ยง ๆ จากการสอบสวน นายทองซับ ได้ให้การว่าตนเข้าใจว่าต้องฉีกบัตรออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วค่อยเอามาหย่อนใส่หีบเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่จึงแจ้งข้อกล่าวหาว่ากระทำผิดตามกฎหมายตามพรบ. การเลือกตั่งควบคุมตัวเอาไว้เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายตามกฎหมาย
...
http://news.sanook.com/politic/politic_227272.php

-----------------------------------------------------------

อุบลฯจับฉีกบัตรเลือกตั้ง 1 ราย เลือกตั้ง นายกและ ส.อบต.

นายมนไท ประมูลจักโก ประธาน กกต.จ.อุบลฯ กล่าวว่า บรรยากาศการเลือกตั้ง นายกและ ส.อบต.ของจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 152 แห่ง ตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงปิดหีบ ได้รับรายงานการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและมีการสอบถามข้อมูลและขอคำปรึกษา จากหน่วยเลือกตั้งต่าง ๆ จำนวน 55 เรื่อง ส่วนใหญ่จะสอบถามถึงประเด็นในข้อกฎหมายเช่น มีผู้สมัคร ส.อบต. 2 คน จะต้องได้คะแนนเสียงเท่าไหร่ ถ้าหากผู้สมัครได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 10 จะต้องดำเนินการอย่างไร,กรณีมีผู้ใช้สิทธิหย่อนบัตรผิดหีบ,กรณีมีผู้มาใช้ สิทธิขอใช้สำเนาบัตรประชาชนแทนเนื่องจากระหว่างเดินทางกลับมาใช้สิทธิถูก ล้วงกระเป๋าบัตรประชาชนหาย,ชื่อ-นามสกุล ไม่ตรงกับบัตร ประชาชน

ที่ อ.ศรีเมืองใหม่ มีหัวคะแนนของผู้สมัครเข้าไปถ่ายรูปในหน่วยเลือกตั้ง มีการร้องเรียนว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐวางตัวไม่เป็นกลางที่ อ.เขื่องใน,มีการจำหน่ายสุราในเขต อ.สำโรง,นางเยาวลักษณ์ ประทุมพิมพ์ ผู้สมัครนายก อบต.สว่าง อ.สว่างวีระวงศ์ ร้องถูกกลั่นแกล้งโดยนำแผ่นพับหาเสียงใส่ในถุงเหล้าแจกจ่ายผู้ใช้สิทธิให้ เข้าใจผิด และที่ หน่วยเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2 ต.นาแวง อ.เขมราฐ จ.อุบลฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำหน่วยเลือกตั้งได้จับกุม นายประเสริฐ สุริโย อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 2 ต.นาแวง อ.เขมราฐ จ.อุบลฯ ฉีกบัตรเลือกตั้ง

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=403996

-----------------------------------------------------------

ตร.ขอนแก่น จับหนุ่ม39ปี ฉีกบัตรเลือกตั้ง


เมื่อ เวลา 12.00 น.วันที่ 2 เม.ย. พ.ต.ต.สุทัศน์ ไพบูลย์ สารวัตรเวร สภ.อ.เมืองขอนแก่น พร้อมกับ พ.ต.ท.อนุกูล ดาวลอย รอง ผกก.(ป) และตำรวจ สภ.อ.เมืองขอนแก่น ได้ร่วมกันจับกุมนายสุธรรม ชุ่มหิน อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 137 ม.4 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น หลังจากที่ก่อเหตุฉีก หรือทำลายบัตรเลือกตั้ง ภายในวิทยาลัยเทคนิค จ.ขอนแก่น หน่วยเลือกตั้งที่ 1 เขต 1 จ.ขอนแก่น

พ.ต.ต.สุทัศน์ กล่าวว่า เนื่องจากตำรวจได้รับแจ้งจากหน่วยเลือกตั้งที่ 1 เขต1 จ.ขอนแก่น ว่านายสุธรรมฉีกทำลายบัตรเลือกตั้งภายในหน่วยเลือกตั้ง จึงได้เดินทางไปตรวจสอบ พบนายสุธรรม ถูกคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจับตัวไว้ และพบบัตรเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และ แบบเขต ถูกฉีกขาด จึงได้นำหลักฐาน และนำตัวนายสุธรรมมาสอบปากคำที่ สภ.อ.เมืองขอนแก่น

จาก ที่ได้ทำการสอบปากคำนายสุธรรมได้ให้การรับสารภาพตลอดทุกข้อกล่าวหา เพราะไม่รู้ขั้นตอนการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้ตั้งใจที่จะฉีก ตำรวจจึงได้แจ้งข้อกล่าวหาว่าจงใจกระทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุด หรือเสียหายหรือให้เป็นบัตรเสีย หรือประการใดๆ แก่บัตรเพื่อให้ใช้การไม่ได้ ซึ่งโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้ง 5 ปี หลังจากที่ตำรวจได้สอบปากคำเสร็จ และได้รวบรวมหลักฐานทำสำนวนส่งฟ้องต่ออัยการต่อไป "ตำรวจได้มีการจัดกำลังตำรวจชุดเคลื่อนที่เร็วไว้ดูแลการเลือกตั้งไว้ตลอด 24 ชั่วโมง หากได้รับรายงาน หรือรับแจ้งการกระทำผิดการเลือกตั้งตำรวจหน่วยเคลื่อนที่เร็วก็จะลงพื้นที่ ทันที “พ.ต.ต.สุทัศน์ กล่าว

ด้านนายสุธรรม กล่าวว่า ตนไปทำงานตัดอ้อยที่ จ.ชลบุรี มาตลอด และได้ลางานมาเป็นเวลา 3 วัน เพื่อกลับมาเลือกตั้ง โดยที่ผ่านมาในชีวิตเคยเลือกตั้งอยู่ 2 ครั้ง ซึ่งครั้งแรกเมื่ออายุ 20 ปี ซึ่งจำไม่ได้แล้ว ว่าตอนนั้นเลือกตั้งแบบไหน หลังจากนั้นก็ไม่เคยมาเลือกตั้งอีกเลย จนกระทั่งญาติพี่น้องต้องการเห็นหน้า เพราะตนไม่เคยกลับมาเยี่ยมบ้านเลย จึงถือโอกาสกลับมาเลือกตั้ง และกลับมาเยี่ยมบ้านด้วย "การที่ผมฉีกบัตรเลือกตั้ง เพราะต้องการจะนำกลับไปบ้าน เพื่อให้เพื่อนดูว่าผมได้มาเลือกตั้งเหมือนกัน เพราะที่ผ่านมากลับมาไม่เคยมาเลือกตั้ง และไม่รู้ว่าขั้นตอนการเลือกตั้งเป็นอย่างไร มีแต่อยู่ในป่าอ้อยทำงานอย่างเดียว และไม่เคยรู้มาก่อนว่าการฉีกบัตรเลือกตั้งผิดกฎหมาย หากรู้คงไม่ทำอย่างแน่นอน"นายสุธรรม กล่าว

ที่มาจากหนังสือ พิมพ์ คม ชัด ลึก
http://webboard.mthai.com/5/2006-04-02/217945.html

-----------------------------------------------------------

วันจันทร์, เมษายน 24, 2006
ฎีกาทีเด็ด
อ่านมติชนวันนี้ http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0104240449&day=2006/04/24

เห็น มีคัดคำพิพากษาศาลฎีกามาลง เกี่ยวกับการฉีกบัตรเลือกตั้ง น่าสนใจมาก

...........

คดี แดงที่ 2338/2528

อัยการ โจทก์
นายเกรียงศักดิ์ แซ่ตั้ง จำเลย

โจทก์ ฟ้องว่า จำเลยกระทำให้บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชำรุดเสียหาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 74

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์ โจทก์แถลงว่าบัตรเลือกตั้งที่จำเลยฉีกนั้นเป็นบัตรที่ยังไม่ได้กาเครื่อง หมาย

ศาลชั้นต้นเห็นว่า การทำให้ชำรุดหรือเสียหายซึ่ง "บัตรเลือกตั้ง" อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 74 นั้น จะต้องเป็นการกระทำต่อบัตรเลือกตั้งที่ผู้เลือกตั้งได้ใช้สิทธิลงคะแนนแล้ว การที่จำเลยฉีกบัตรเลือกตั้งที่จำเลยยังมิได้กาเครื่องหมายใช้สิทธิลงคะแนน ให้ชำรุดเสียหาย จึงไม่เป็นความผิด

พิพากษายกฟ้อง

โจทก์ อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 74 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำด้วยประการใดให้บัตรเลือกตั้งชำรุดหรือเสียหาย หรือให้เป็นบัตรเสีย หรือกระทำด้วยประการใดแก่บัตรเสียให้เป็นบัตรที่ใช้ได้" บทมาตราดังกล่าวนี้บัญญัติไว้ในหมวด 8 ว่าด้วยเรื่องการตรวจและการรวมคะแนน จึงเป็นเรื่องหลังจากการลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว

และเมื่อพิจารณาถึง ความหมายของคำว่า "บัตรเลือกตั้ง" ย่อมต้องหมายถึงบัตรเลือกตั้งที่ผู้เลือกตั้งได้ลงคะแนนแล้วและนับคะแนนได้ เจตนารมณ์ ของกฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะห้ามมิให้บุคคลใดกระทำด้วยประการใดแก่บัตรเลือก ตั้ง ที่ผู้เลือกตั้งได้ใช้สิทธิลงคะแนนแล้วเท่านั้น อันจะทำให้กระทบกระเทือนถึงผลของการนับคะแนนหรือผลของการเลือกตั้งไม่รวมถึง บัตรเลือกตั้งที่ผู้เลือกตั้งยังมิได้ใช้สิทธิลงคะแนน การที่จำเลยฉีกบัตรเลือกตั้งที่จำเลยยังไม่ได้ลงคะแนนให้ชำรุดเสียหาย จึงไม่เป็นความผิด

พิพากษายืน

นายอำนวย อินทุภูติ นายดำริ ศุภพิโรจน์ นายสมศักดิ์ เกิดลาภผล องค์คณะ

........

คำ พิพากษาศาลฎีกานี้มีข้อเท็จจริงต่างจากกรณีของไชยันต์อยู่สองจุด

จุด แรก ไชยันต์ได้กาบัตรเลือกตั้งเรียบร้อยแล้วจึงฉีก แต่คดีนี้จำเลยฉีกบัตรเลือกตั้งที่ยังไม่ได้กา

จุดที่สอง ไชยันต์ประกาศเจตจำนงทางการเมืองของตนชัดแจ้งว่าฉีกบัตรเลือกตั้งเพราะเหตุ ใด แต่คดีนี้ จำเลยไม่ได้มีเจตจำนงทางการเมืองอื่น หากการฉีกบัตรน่าจะเป็นเพราะอุบัติเหตุหรือความพลาดพลั้งมากกว่า (ไม่แน่ใจเท่าไรนัก เพราะที่มติชนคัดมาไม่มีข้อเท็จจริงโดยละเอียด)

ถ้า เดินตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้แล้ว ผมเห็นว่ากรณีของไชยันต์น่าจะขยายความไปได้

เห็นแบบนี้ ศาลน่าจะเอามือลูบปากอยู่เหมือนกัน เพราะอาจเป็นหนทางหนึ่งที่ศาลจะตัดสินว่าไชยันต์ไม่ผิด โดยที่ศาลเองก็ไม่ต้องรับรองสิทธิในการไม่เคารพกฎหมายให้เป็นบรรทัดฐานอีก ด้วย

เขียนโดย Etat de droit เมื่อ 4/24/2006 04:14:00 ก่อนเที่ยง
http://etatdedroit.blogspot.com/2006/04/blog-post_23.html

-----------------------------------------------------------

ฉีกบัตร...ขัดรัฐธรรมนูญ

จาก กรณีที่มีอาจารย์ท่านหนึ่งฉีกบัตรลงคะแนนในวันเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 นัยว่าเป็น "อารยะขัดขืน" ซึ่งกำลังถูกดำเนินคดี จนเป็น "Hero" อยู่ในขณะนี้
เป็นการท้าทาย ประเด็นข้อกฎหมายและปรัชญาการเมืองของผู้เป็นอาจารย์สอนหนังสืออย่างยิ่ง
1. ประเด็นข้อกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (2540) มาตรา 65 บัญญัติว่า
"บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็น ไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้"
สิทธิต่อต้านนี้ ยกขึ้นอ้างในศาลได้ (มาตรา 27)
การต่อต้านดังกล่าวน่าจะมีความมุ่งหมาย ถึงการใช้กำลังทำ "รัฐประหาร" หรือการ "พยายามกระทำรัฐประหาร" เป็นข้อสำคัญตามประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ของประเทศ เพราะเป็นการทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ นอกจากวิธีต่อต้านโดยสันติวิธีนี้แล้ว ประชาชนย่อมไม่มีทางที่จะเอาชนะกำลังของผู้ก่อรัฐประหารได้เลย
การลงคะแนนเลือกตั้งโดยคน ๆ เดียวหรือหลายคน จึงไม่อาจทำให้ใครได้อำนาจรัฐได้
รัฐธรรมนูญจึง กำหนดให้เป็น "อำนาจ" ที่กระทำได้โดยไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม มีข้อแย้งว่าบทบัญญัตินี้ไม่ได้มุ่งต่อต้านรัฐประหาร เพราะหากรัฐประหารสำเร็จ ผู้ที่ต่อต้านคงไม่อาจจะอ้างรัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปแล้วมาต่อสู้คดีได้
ข้อ แย้งนี้อาจจะคลาดเคลื่อนได้ เพราะเมื่อขณะกระทำการต่อต้านโดยสงบ กฎหมายให้อำนาจทำได้อยู่แล้ว เท่ากับว่ากระทำไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ดังนี้ แม้กฎหมายที่ให้อำนาจจะถูกยกเลิกไปในภายหลัง การกระทำก็ไม่เป็นความผิดอยู่นั่นเอง เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดความผิดย้อนหลังไป ซึ่งขัดต่อหลักพื้นฐานในการกำหนดความผิดและโทษ
การต่อต้านโดยสันติวิธี เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญที่ไม่ใช่การต่อต้านรัฐประหารนั้น น่าจะหมายถึงการทำที่อาจผิดกฎหมายอื่น เช่น การชุมนุมของคนหมู่มากย่อมผิด พ.ร.บ. จราจรฯ แต่เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญซึ่งสำคัญกว่า จึงให้ทำได้
อย่าง ไรก็ตาม หากผู้ทำผิดรัฐธรรมนูญเสีย เองโดยอ้างว่าทำเพื่อป้องกันรัฐธรรมนูญนั้น คงดูกระไรอยู่ แม้จะดูเหมือนมีเหตุผลที่ดี น่าเห็นใจแต่ก็ให้อภัยไม่ได้
ในเมื่อกฎหมาย ให้ทางออกอื่น ๆ ที่ไม่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะแสดงเจตนาเลือก ไม่เลือก หรือเฉย ๆ (งดออกเสียง) โดยไม่ต้องใช้วิธีฉีกบัตร
เพียง แต่วิธีการตามกฎหมายจะไม่เป็นข่าวเท่าการกระทำผิดกฎหมายต่อหน้านักข่าว !!!...
พฤติการณ์ฉีกบัตรเลือกตั้งดังกล่าวในครั้งนี้จะผิดกฎหมายหรือไม่ พิจารณาได้ตามกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 108 ความว่า
"ผู้ใดจงใจกระทำด้วยประการใด ๆ ให้บัตรเลือกตั้งชำรุดหรือเสียหาย หรือให้เป็นบัตรเสีย หรือกระทำด้วยประการใด ๆ แก่บัตรเสียให้เป็นบัตรที่ใช้ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี"
ความในมาตรานี้ ไม่จำต้องมีมูลเหตุจูงใจใด ๆ ไม่ว่าจะทำเพื่อโกงการเลือกตั้ง หรือเพื่อก่อกวนการเลือกตั้งใด ๆ กฎหมายคงพิจารณาองค์ประกอบสำคัญโดยสรุป 2 ประการ คือ
1. จงใจทำให้บัตรเลือกตั้งเสียหายหรือไม่
2. บัตรนั้นเป็นบัตรเลือกตั้งหรือไม่
ในข้อ 1. คงไม่มีปัญหาใด ๆ เจตนาฉีกบัตรชัดแจ้งอยู่แล้ว
ส่วน ในข้อ 2. มีปัญหา คือ บัตรนั้นเป็น "บัตรเลือกตั้ง" หรือไม่ มีข้อพิจารณาว่าต้องเป็นบัตรที่มีผลต่อการเลือกตั้ง คือต้องมีการใช้บัตรนั้นในการเลือกตั้งแล้ว มิใช่เป็นแบบพิมพ์เฉย ๆ เช่น หากโรงพิมพ์พิมพ์บัตรเพื่อใช้เลือกตั้งตามแบบที่กำหนดเกินจำนวนจึงได้ทำลาย ทิ้งเสีย ดังนี้ไม่ใช่การทำลาย "บัตรเลือกตั้ง" ตามข้อนี้
คำพิพากษาศาล ฎีกาที่ได้วางเป็นบรรทัดฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้แก่ คำพิพากษาฎีกาที่ 2338/2528 หน้า 961-962 ความว่า
"...บท มาตราดังกล่าวห้ามมิให้ผู้ใดกระทำด้วยประการใดให้บัตรเลือกตั้งชำรุด หรือเสียหาย หรือให้เป็นบัตรเสีย หรือกระทำด้วยประการใดแก่บัตรเสียเพื่อให้เป็นบัตรที่ใช้ได้ ย่อมต้องหมายถึงเป็นการกระทำแก่บัตรเลือกตั้งที่ผู้เลือกตั้งได้ลงคะแนนแล้ว และนับคะแนนได้ให้กลายเป็นบัตรชำรุดเสียหายไม่อาจนับคะแนนได้ หรือให้เป็นบัตรเสีย หรือกระทำแก่บัตรเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นบัตรเสียตามกฎหมายให้กลายเป็นบัตร ที่นับคะแนนได้ เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะห้ามมิให้บุคคลใดกระทำด้วยประการใดแก่ บัตรเลือกตั้ง ที่ผู้เลือกตั้งได้ใช้สิทธิลงคะแนนแล้วเท่านั้นอันจะทำให้กระทบกระเทือนถึง ผลของการนับคะแนนหรือผลของการเลือกตั้ง ไม่รวมถึงบัตรเลือกตั้งที่ผู้เลือกตั้งยังมิได้ใช้สิทธิลงคะแนดังที่โจทก์ ฎีกา การทำจำเลยฉีกบัตรเลือกตั้งที่จำเลยยังไม่ได้ลงคะแนนให้ชำรุดเสียหาย จึงไม่เป็นความผิดกฎหมาย..."
โดยอาศัยบรรทัดฐานนี้ ปัญหาข้อกฎหมายก็คงจะพอยุติลงได้
2. ประเด็นปรัชญา จากหนังสือ "ปรัชญาการเมือง" ของโสกราตีส กับเปลโต ซึ่งเป็นลูกศิษย์ มีวิธีคิดไปคนละแบบบนพื้นฐานเดียวกัน
กฎหมายที่ลงโทษ ประหารโสกราตีสเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม แต่โสกราตีสก็เห็นว่ากฎหมายทั้งหลายให้คุณมากกว่าโทษ ดังนั้น จึงยอมตายตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมนั้น เพื่อแสดงความเคารพอย่างสูงต่อกฎหมาย
ต่อ มาเมื่อเปลโตลูกศิษย์ จะโดนกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเล่นงานเช่นเดียวกันบ้าง เปลโตกลับไม่ยอมตายตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมดังเช่นโสกราตีสทำ เปลโตจึงขัดขืนกฎหมายดังกล่าว ทำให้เราได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาการเมืองของโสกราตีส การกระทำที่ต่างกันของอาจารย์และลูกศิษย์คู่นี้ชี้ให้เห็นว่า
การตายเพื่อชาตินั้นดี (วิถีโสกราตีส)
แต่การอยู่เพื่อ ชาตินั้นดีกว่า (วิถีเปลโต)
ท่านอาจารย์ที่กล่าวถึงในบทความนี้ เลือกวิถีโสกราตีส
************************

(จากวารสารข่าว กฎหมายใหม่ รายเดือน ปีที่ 4 ฉบับที่ 71 พฤษภาคม 2549)
http://sakid.blogspot.com/2006/06/blog-post_22.html

-----------------------------------------------------------

FfF