บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


07 มีนาคม 2553

<<< ฝนเทียม คุ้มค่า ปลอดภัย ไม่สร้างปัญหาใหม่ แก้ไขถูกวิธีแล้ว จริงหรือ >>>

กำเนิดฝนเทียม

ในปี ค.ศ. 1946 วินเซนต์ เชฟเฟอร์ และเออร์วิง ลองมัวร์ เริ่มงานที่ห้องปฏิบัติการวิจัยของบริษัทเจเนรัล อิเล็กทริก เมืองสกิเนกทาดี รัฐนิวยอร์ก เขาพิสูจน์ได้ว่าเราอาจกระตุ้นเมฆฝนให้ผลิตละอองฝนได้โดยวิธีวิทยาศาสตร์
เมฆเกิดจากอนุภาคน้ำเล็กหลายล้านอนุภาคที่เล็กเกินกว่าที่จะกลั่นตัวเป็นฝน ได้ อนุภาคเหล่านี้จะตกโปรยเม็ดลงก็ต่อเมื่อมันใหญ่จนมีขนาดประมาณ ¼ มม. หรือ มากกว่า หยดน้ำขนาดเล็กจะระเหยก่อนที่จะตกถึงดินด้วยซ้ำไป
หยดน้ำขนาดจิ๋วจะใหญ่ขึ้นเมื่อมันเย็นจัดจนกลายเป็นอนุภาคน้ำแข็ง ในเมฆซึ่งมีอนุภาคน้ำแข็ง และหยดน้ำจิ๋วอยู่ อนุภาคน้ำแข็งจะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่หยดน้ำจิ๋วระเหย และไอระเหยเปลี่ยนเป็นน้ำแข็ง อุณหภูมิของเมฆมักต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง หยดน้ำเล็กๆจึงแข็งตัวง่าย แต่น้ำอาจเย็นกว่าจุดเยือกแข็งได้ถึง 10-20 องศาเซลเซียส (ซูเปอร์คูล)โดยไม่แข็งเลยก็ได้ น้ำในเมฆไม่แข็งตัวก็เพราะมันบริสุทธิ์ปราศจากสิ่งเจือปนซึ่งจะรวมตัวเป็น ศูนย์กลางของผลึกน้ำแข็ง ถ้ามีการเติมอนุภาคเล็กๆเข้าไปในหยดน้ำ มันก็จะแข็งตัวอย่างรวดเร็วจนใหญ่พอที่จะร่วงหล่น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นหยดน้ำแข็งจะละลายกลายเป็นฝนตกสู่พื้นดิน
เชฟเฟอร์ และลองมัวร์พิสูจน์ว่า ถ้าเติมซิลเวอร์ไอโอไดด์ (silver iodide) ซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กให้เมฆที่เย็นเหนือจุดเยือกแข็ง มันจะเร่งให้ผลึกน้ำแข็งใหญ่ขึ้น เขาจะโปรยอนุภาคนี้จากเรือบินจรวด หรือปล่อยที่พื้นดินให้กระแสลมหอบขึ้นไป
ในสหภาพโซเวียต มีการใช้ปืนขนาด 70 มม. ยิงซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าไปให้ระเบิดในเมฆเพื่อกระจายสารเคมีออกไป วิธีนี้จะเพิ่มปริมาณฝนอีกถึง 1 ใน 5 แต่ผู้คนยังสงสัยว่า วิธีนี้คุ้มค่าหรือไม่ เพราะยังไม่สามารถรู้ได้ว่าฝนจะตกมากเท่าไร

จาก Reader Digest “รู้รอบ ตอบได้”

http://school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-662.html

------------------------------------------------------------

การทำฝนเทียม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะพอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ จากนั้นจึงเร่งให้เกิดการควบแน่นของเมฆ ด้วย 3 ขั้นตอน คือ ก่อกวน, เลี้ยงให้อ้วน, และโจมตี มักทำใน 2 สภาวะ คือ การทำฝนเมฆเย็น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และ การทำฝนเมฆอุ่น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส การทำฝนเทียมในสองสภาวะนี้จะใช้สารในการดัดแปรสภาพอากาศที่แตกต่างกัน[1]
เครื่องบิน Cessna 210 กับอุปกรณ์ในการทำฝนเทียม
[แก้] สารเคมีที่ใช้ในการทำฝนเทียม

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

สารเคมีประเภทคลายความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (Exothermic chemical)
ปัจจุบันนี้มีใช้ในการทำฝนเทียมในประเทศไทย 3 ชนิด คือ


* แคลเซียมคาร์ไบด์ (Calcium carbide; CaC2)
* แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride; CaCl2)
* แคลเซียมออกไซด์ (Calcium Oxide; CaO)

สารเคมีประเภทดูดกลืนความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิต่ำลง (Endothermic Chemicals)
ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีประเภทนี้อยู่ 3 ชนิด คือ


* ยูเรีย (Urea; CO(NH2)2)
* แอมโมเนียไนเตรด (Ammoniumnitrate; NH4N03)
* น้ำแข็งแห้ง (Dry ice; CO2(S))

สารเคมีที่ทำหน้าที่ดูดซับความชื้นประการเดียว

* เกลือ (Sodium chloride; NaCl)
* สารเคมีสูตร ท.1

การทำฝนเทียมนั้นใช้เพื่อประโยชน์หลากหลาย เช่น การเกษตร ดับไฟป่า หรือกระทั่งเพื่อป้องกันการตกของฝนในวันที่กำหนด เช่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีน[2]
[แก้] อ้างอิง

1. ^ การทำฝนเทียม, สื่อการเรียนรู้ โดยศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ
2. ^ China practices artificial rain reduction for sunny Olympics, สำนักข่าวซินหัว, 9 สิงหาคม พ.ศ. 2550

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

* การทำฝนเทียม ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ

http://th.wikipedia.org/wiki/การทำฝนเทียม

---------------------------------------------------

ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ทำฝนเทียม

Calcium carbide
ความเป็นอันตรายทางสุขภาพ
- กัดกร่อนและระคายเคืองต่อผิวหนัง
- ทำลายดวงตาอย่างรุนแรงและระคายเคืองต่อตา
- มีความเป็นพิษต่อระบบหรืออวัยวะเป้าหมายเฉพาะเจาะจง - เมื่อได้รับสัมผัสครั้งเดียว
http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=00420

Calcium oxide
ความเป็นอันตรายทางสุขภาพ
- มีความเป็นพิษเฉียบพลัน (ทางปาก)
- กัดกร่อนและระคายเคืองต่อผิวหนัง
- ทำลายดวงตาอย่างรุนแรงและระคายเคืองต่อตา
- มีความเป็นพิษต่อระบบหรืออวัยวะเป้าหมายเฉพาะเจาะจง - เมื่อได้รับสัมผัสครั้งเดียว
- เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างหรือทำให้ปอดอักเสบ
http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=00437

Ammonium nitrate
ความเป็นอันตรายทางสุขภาพ
- มีความเป็นพิษเฉียบพลัน (ทางปาก)
- กัดกร่อนและระคายเคืองต่อผิวหนัง
- ทำลายดวงตาอย่างรุนแรงและระคายเคืองต่อตา
- มีความเป็นพิษต่อระบบหรืออวัยวะเป้าหมายเฉพาะเจาะจง - เมื่อได้รับสัมผัสครั้งเดียว
http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=00171

---------------------------------------------------------

วันพฤหัสบดี ที่ 8 ตุลาคม 2552
ฝนเทียม (2) : ไปดูการยิงจรวดฝนเทียมจีน กับเสียงกัมปนาทที่ทำให้หายสงสัย
Posted by OKeel , ผู้อ่าน : 604 , 16:27:06 น.

หลังจากได้นำเสนอตอนที่ 1 ไว้ในเอนทรี่
ฝนเทียม (1) : ตู่-จตุพร พูดจริง ยิงปืนใหญ่ทำฝนเทียมได้
http://www.oknation.net/blog/keeluaey/2009/09/29/entry-1
วันนี้มาติดตามกันต่ออีกสักนิดครับ ถ้าได้อ่านจนจบน่าจะเข้าใจได้ว่าคนเสื้อแดง
โดยเฉพาะผู้นำการชุมนุม มีความน่าเชื่อถือติดตัวอยู่บ้างหรือไม่เพียงใด
และคนเหล่านี้ที่พูดเรื่องฝนเทียมเป็นตุเป็นตะจะมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ดีพอ
เพียงพอ และเหมาะสมหรือไม่ที่จะทำหน้าที่ "ตัวแทนประชาชน"

การทำฝนเทียมนั้นมีเป้าประสงค์อยู่ที่ การทำให้เมฆที่มีอยู่แล้วในท้องฟ้ารวมตัวเป็น
หยดน้ำ ตกลงมาเป็นฝนให้เร็วกว่าการรวมตัวตามธรรมชาติ โดยใช้กรรมวิธีโปรย
หรือพ่นสารเคมีเพื่อเป็นการเร่งเมฆให้กลายเป็นฝน แล้วตกลงในพื้นที่
ที่คำนวณไว้ว่าต้องการให้ฝนตก ทั้งนี้การเร่งกระบวนการเติบโตของเม็ดน้ำฝน
สามารถทำได้หลายวิธี ด้วยสารเคมีหลายชนิด อย่างที่เราทราบกันดีก็เช่น เกลือ
(โซเดียมคลอไรด์) น้ำแข็งแห้ง (Dry ice หรือ คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง) ไนโตรเจนเหลว
และสารอีกหลายตัว รวมถึงซิลเวอร์ไอโอไดด์ (ซึ่งเป็นสารที่ในประเทศไทยเองก็นำมาใช้)
ไม่ว่าจะทำฝนเทียมด้วยเครื่องบินหรือไม่ก็ตาม โดยเป็นสารสำคัญในการ
เร่งให้ละอองขนาดเล็กของฝนรวมตัวใหญ่ขึ้นจนหนักพอที่จะตกลงพื้นได้เร็วขึ้น
เพราะบางครั้ง ลมที่พัดตามธรรมชาติมักจะหอบเอาเมฆฝนไปไกลเกินพื้นที่ที่ต้องการ
จนพื้นที่นั้นๆ พลาดโอกาส ไม่ได้รับน้ำฝนจากเมฆกลุ่มนั้นไป

ในประเทศจีนเองมีสาเหตุหนึ่งที่เป็นเหตุจูงใจในความพยายามทำฝนเทียมก็คือ
การเกิดความแห้งแล้งในประเทศ อย่างเช่น ในจีนตอนเหนือ ตามหัวเมืองต่างๆ
ของมณฑลชานสี ซึ่งเป็นความแห้งแล้งแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงระยะ
50 กว่าปีที่ผ่านมา จนพืชผลเกษตรกรรมเสียหายไปมากมาย โดยเฉพาะข้าวสาลี
ที่เคยเก็บเกี่ยวได้กว่า 970,000 ตันในปี 2551 พอล่วงมาปี 2552 สามารถเก็บ
ผลผลิตข้าวสาลีได้เพียงประมาณ 400,000 ตันเท่านั้น ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไม่ว่าสำนักงานผู้บรรเทาภัยแล้ง กรมอุตุนิยมวิยาผู้ปฏิบัติการปรับปรุงสภาพอากาศ
ก็หันมาให้ความสนใจกับการทำฝนเทียม โดยได้ลงมือปฏิบัติการทำฝนเทียมเมื่อ
เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้วยการระดมทั้งเครื่องบิน รถยนต์ติดตั้งจรวดทั้งขนาดเล็ก
ขนาดใหญ่ในการส่งสารเคมีในการทำฝนเทียมขึ้นไปบนฟ้า กระจายกันออกไปทำงานนี้
แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร เพราะฝนตกลงมาเพียงพื้นที่ไม่กว้างนัก
ส่วนใหญ่ยังคงผจญกับภาวะแห้งแล้งต่อไป

ความแห้งแล้งที่รอคอยความชุ่มชื้นจากฝนเทียม

ฐานปฏิบัติการยิงจรวดไอโอไดด์

ในปีที่แล้ว ช่วงมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่อย่างโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงปักกิ่งนั้น
ฝนเทียมได้มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากที่ทำให้พิธีเปิดในวันที่ 8 สิงหาคม 2551
เป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องจากสภาพอากาศ ณ ช่วงเวลานั้นอยู่ในช่วงเริ่มฤดูฝน
และกรมอุตุนิยมวิทยาของจีนก็ระบุว่าจะเกิดฝนตกลงมาพอดีในระหว่างประกอบพิธี
เปิดกีฬาอย่างเป็นทางการ วิธีใดเล่าจะสามารถช่วยเหลือได้ ทางการจีนเลือกใช้การทำ
ฝนเทียมให้เมฆฝนรวมตัวตกลงมา ก่อนที่เมฆฝนจะเคลื่อนตัวมาปกคลุมปักกิ่ง
และตกใส่สนามกีฬารังนกที่ใช้ทำพิธีเปิดที่เตรียมการไว้อย่างยิ่งใหญ่
ซึ่งหากปล่อยเลยเข้าเมืองและตกลงมาจริงๆ งานใหญ่ก็อาจจะล้มไม่เป็นท่าได้
จำนวนของฐานปฏิบัติการทำให้ฝนตกลงมาก่อนเข้าไปตกในเขตปักกิ่งมี 21 ฐาน
กับการระดมยิงปืนและจรวดบรรจุซิลเวอร์ไอโอไดด์กว่า 1,100 ลูกตั้งแต่ 4 โมงเย็น
จนเกือบถึงเที่ยงคืนของวันนั้น จนฝนตกลงมาได้ที่นอกเมือง งานนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี
และเราก็ได้เห็นพิธีเปิดกีฬาที่สวยงาม ยิ่งใหญ่ อย่างที่จีนต้องการให้เป็น

การยิงจรวดก่อนมีพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก

ภาพพิธีเปิดอันสวยงามตระการตา

จากข้อมูลการทำฝนเทียมจากพื้นดินที่มีอยู่นั้น ประเทศจีนเองทำได้หลายวิธี
ซึ่งปกติก็ทำไปพร้อมๆ กันเพื่อให้ได้ประสิทธิผลที่ดีที่สุด เช่น การเผาให้ซิลเวอร์ไอโอไดด์
เป็นกลุ่มควันลอยขึ้นไปยังก้อนเมฆ (ทำกันบนยอดเขาสูง) หรือใช้ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
ยิงเพื่อส่งกระสุนที่บรรจุสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ไว้ภายในขึ้นไป และในแบบที่เป็นการยิงจรวด
บรรจุสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ เมื่อยิงขึ้นไปยังกลุ่มเมฆก็จะไปแตกตัวไปทั่วทั้งบริเวณก้อนเมฆ
ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยเป็นแกนกลางให้ละอองฝนมาเกาะเพิ่มขนาดของละอองน้ำจนโตเป็น
เม็ดฝน ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการทำฝนเทียมจีน แจ้งกับผู้เกี่ยวข้องทางด้าน
สิ่งแวดล้อมว่าไม่ต้องห่วงเรื่องผลกระทบของสารเคมีที่อาจตกค้างอยู่ในน้ำฝนจนอาจ
จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะทุกๆ 1 ตารางกิโลเมตรจะใช้ซิลเวอร์ไอโอไดด์
ประมาณ 0.5 กรัมเท่านั้น ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมาก

สารซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Silver iodide, AgI)

จะเห็นได้ว่าการทำฝนเทียม มีทั้งที่ทำแล้วสำเร็จมีฝนตกตามต้องการ แต่หลายครั้งฝนกลับไม่ตกมากพอดังที่คำนวณและคาดหวังไว้

กลับมาที่ประเทศไทย
กับคำถามที่เป็นข้อ(ที่ผมว่าไม่น่า)สงสัยคือ

ข้อ 1. เป็นไปได้หรือไม่ ที่มีการใช้เครื่องบินขึ้นไปโปรยหรือพ่นสารเคมีทำฝนเทียม
แล้วจะไม่มีใครสังเกตเห็นเครื่องบินเหล่านั้นเลย เพราะการทำฝนเทียมในเมืองไทย
ต้องใช้เครื่องบินหลายลำปฏิบัติการเป็นขั้นเป็นตอน
กินเวลาแทบทั้งวันกว่าขบวนการทำฝนเทียมจะเสร็จสิ้นจนมีฝนตกลงมา

คำตอบของคำถามนี้คืออะไร เราไปดูวิธีการทำฝนเทียมด้วยเครื่องบินกัน

การ์ตูน วิธีการทำฝนเทียม

ข้อ 2. เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการยิงปืนใหญ่หรือจรวดทำฝนเทียมแล้วจะไม่มีใครสังเกต
ถึงความผิดปกติ

คำตอบของคำถามข้อ 2 นี้เราไปดูการยิงจรวดส่งสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ขึ้นไปยังกลุ่มเมฆของจีนกันครับ
ว่าจะเป็นยังไงกันบ้าง ติดตามชมจากภาพข่าวด้านล่าง การยิงจะมีเสียงดังมากหรือไม่
มีคำตอบชัดเจน (ช่วงครึ่งหลังจะเห็นวิธีการเผาแท่งซิลเวอร์ไอโอไดด์ ซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่ง
ในการจะให้มันลอยฟุ้งเข้าไปในกลุ่มเมฆ)

ภาพข่าวการทำฝนเทียมครั้งหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้

ด้วยเสียงที่ดังกึกก้องขนาดพอๆ กับเสียงปืนใหญ่
น่าจะไม่ต้องอรรถาธิบายอะไรอีกในประเด็นที่อาจมีการแอบซ่อนทำจนไม่มีใครสังเกตได้

บทเรียนจากกรณี "ฝนเทียม" กับ "ความเชื่อ" ของคนไทย เท่าที่ได้สดับตรับฟังจากสื่อต่างๆ
กับประสบการณ์ตรงจากการฟังด้วยตัวเอง พอจะเข้าใจได้ว่า
คนไทยมากมายที่เชื่อเรื่องฝนเทียมไล่การชุมนุม
อาจเป็นความคิดส่วนตัวก็เป็นได้ที่พอได้รับฟังข่าวสารใดๆ
มักเชื่อในทันทีโดยไม่ได้ไตร่ตรองถึงหลักความจริง ว่าเรื่องนั้นๆ มีเหตุมีผลเพียงพอหรือไม่
สังเกตว่าเป็นการเชื่อถือกับสิ่งที่ "อยากจะเชื่อ" เท่านั้น หลักฐานแห่งความจริงมักจะไม่สนใจเสาะหา
คงปล่อยให้บุคคลต่างๆ มาชวนเชื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่า ลักษณะนิสัยเช่นนี้ของคนไทย
ขัดต่อหนทางที่จะนำพาประเทศไปสู่ความมั่นคง เจริญก้าวหน้า มีศีลมีธรรม
มีความซื่อสัตย์ในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก อีกทั้งการพัฒนาประชาธิปไตย
แบบเชื่อ "ผู้นำ(ที่ไม่มีคุณสมบัติ)" อย่างหัวปักหัวปำ ไม่ลืมหูลืมตานั้น
อันตรายต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง

http://www.oknation.net/blog/keeluaey/2009/10/08/entry-1

--------------------------------------------------------------
สารเคมีที่นำมาใช้ในการทำฝนเทียม
ส่วนใหญ่ประกอบด้วย แคลเซียมต่างๆ
มันมีผลกระทบตกลงมากับฝนด้วยหรือไม่
เพราะสสารมันไม่หายไปไหน
ถ้ามันตกลงมามันมีผลทำให้ดินเค็มได้ไหม
หรือมีผลอื่นๆ หรือไม่
ทำไมไม่เห็นมีนักวิทยาศาสตร์ไทยคนไหน
ทำวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง
เพื่อที่ประชาชนจะได้ทราบว่า
ฝนเทียมมีประโยชน์มากหรือน้อย
และมีโทษอะไรบ้าง
ประชาชนคนทั่วไปควรต้องรับรู้ข้อมูลทั้งสองด้านหรือไม่
คำถามมากมายฝากลอยไปในอากาศ

สารเคมีเท่าที่ยกมาให้ดู
เป็นสารเคมีมีพิษ
และหลายตัวก็เป็นปุ๋ยอยู่เช่น ยูเรีย
ซึ่งการนำไปโรยกับพื้นดิน เพื่อให้ปุ๋ยกับพืช
กับการนำไปละลายน้ำแล้วรดหัวคนลงไปสู่ดิน
คิดว่าแบบไหนอันตรายกว่ากัน
แบบแรกอย่างดีก็ทำให้ดินเค็มดิน
เพาะปลูกไม่งอกงาม
ถ้าสะสมมากๆ
แต่แบบหลังโดยผิวหนังเข้าตา
บางคนอาจนำไปใช้ทั้งอาบ ทั้งดื่มกิน
แล้วมันจะมีปัญหาอะไรตามมาในระยะยาวหรือไม่
เพราะมันไม่ต่างอะไรกับ
การเอาสารเคมีละลายน้ำมารดใส่หัวคน
เพื่อให้ไหลลงไปสู่ดินเลยจริงๆ

บางคนอาจรู้สึกหงุดหงิด
ที่มีคนคิดอยากตรวจสอบเรื่องฝนเทียม
โดยเชื่อฝั่งหัวว่า
ฝนเทียมมีประโยชน์อย่างเดียว
ไม่จำเป็นต้องไปตรวจสอบอะไรอีก
ถือว่าเป็นการทำเพื่อชาติพัฒนาชาติ
ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบ
แล้วทำไมเห็นศาลตัดสิน
ให้ปิดโรงงานอุตสาหกรรมในมาบตาพุด

นั่นก็ช่วยให้คนมีงานทำ
ช่วยชาติช่วยประเทศนี้เหมือนกัน

และสารพัดมากมายที่เห็นๆ ไล่บี้กัน
แต่ทียังงี้ห้ามตรวจสอบ
ถ้าผลตรวจสอบจริงจังว่ามันมีสารพิษตกลงมาด้วย
อยากรู้ว่ายังจะคิดหลับหูหลับตาสนับสนุนต่อไปหรือไม่
เพราะถ้ามีสารพิษตกลงมาด้วยจริง
คนที่โดนไม่ว่าจะตัวเราเองพ่อแม่พี่น้องลูกหลานเหลน
หรือเพื่อนร่วมชาติหรือมนุษยชาติทั้งปวง
อาจจะได้รับผลกระทบถ้าโดนฝนเทียมนั่น
หรือได้รับผลกระทบทางอ้อม
จากสารพิษตกค้างในพืชผลทางการเกษตร
ที่นำไปบริโภคกัน
คนอื่นจะว่ายังไงไม่รู้
ถ้ามีการพิสูจน์ว่ามีสารพิษตกลงมาด้วย
ผมขอไม่สนับสนุน
อย่างแรง
เพราะว่ามันโดนคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่
เหมือนคุณคิดช่วยอีกพวกแล้วไปกระทบอีกพวก
มันถูกต้องแล้วหรือ
แล้วคนที่มีผลกระทบไม่ใช่คนหรือไม่ใช่คนไทยรึ
หรือคนที่คิดช่วยเป็นคนหรือคนไทยพวกเดียว
แถมช่วยเขาระยะยาวจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้
ถ้าดินมันเค็มก็มีปัญหาตามมา
ถ้ามีสารพิษตกมานำไปดื่มกินก็อันตราย
เอาไปใช้ก็มีอันตรายในระยะยาว
สะสมโดยไม่รู้ตัวหรือสัมผัสเข้าตาก็มีปัญหาได้
คงไม่มีใครคิดคัดค้านการตรวจสอบ
เพราะถ้าดีจริงจะกลัวทำไม
ถ้าไม่ดีก็จะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น

ผมว่าเรื่องนี้มันเหมือนกับการช่วยเหลือคนอีกที่
แล้วไปมีปัญหากับคนอีกที่ด้วย
เช่นถ้าช่วยให้ภาคกลางฝนตก
แทนที่เมฆเหล่านั้น
จะลอยไปรวมกันเยอะๆ ที่อื่น
เช่นที่อีสานแล้วค่อยตก

ก็เลยไม่เหลือเมฆไปทางอีสาน เป็นต้น
ที่นั่นก็แล้งหนักเข้าไปอีก
คล้ายๆ กรมชลประทาน
ปล่อยน้ำให้ท่วมอีกฝั่ง ไม่ท่วมอีกฝั่ง
หรือปล่อยน้ำหวังช่วยระบายน้ำอีกฝั่ง
แล้วมันไปท่วมอีกฝั่งจนมิดคอ
ต้องไปอยู่บนหลังคา
ข้าวของเสียหายมากมาย
ไม่รวมพืชผลทางการเกษตร
แล้วมาบอกว่าช่วยคนไทย
แล้วคนไทยที่เดือดร้อนอีกพวก
เพราะไปช่วยอีกพวกไม่นึกถึง
มันเหมือนลิงแก้แหนั่นเอง
ไม่ได้คิดที่จะแก้กันทั้งระบบ
แค่แก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ
ถ้าอยากแก้ภัยแล้งและน้ำท่วมทั้งระบบ
ก็น่าจะคิดวางระบบชลประทานให้ทั่วถึง
เน้นใช้น้ำแบบประหยัดในบางที่
ให้ทุนใช้ระบบน้ำหยดสำหรับชาวสวน หรือปลูกผักไร้สาร
ส่วนพวกที่ใช้น้ำมากๆ
ก็นำเทคโนโลยี่เข้าไปเพิ่มผลผลิตใช้น้ำน้อยลง

คิดเก็บน้ำแบบวางท่อและขังไว้ในแหล่งน้ำหมู่บ้าน
หรือวางระบบท่อเชื่อมโยง เหนือ อีสาน กลาง ใต้ ตะวันตก ตะวันออก
ตรงไหนน้ำเยอะ หรือใกล้ฤดูฝนตก
ก็ดูดน้ำไปปล่อยที่ภาคอื่นที่มีน้ำน้อย
ก็เหลือน้ำในเขื่อนน้อยลง
พอกักเก็บน้ำฝนที่กำลังตกลงมาในช่วงฤดูฝน
แทนที่จะรีบๆ ระบายช่วงใกล้ฤดูฝน
จนเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ใต้เขื่อนลงไป
หรือมีน้ำมากพอฝนตกลงมารวมกันได้หน่อยหนึ่ง
ก็จะทำให้เขื่อนจะแตกต้องรีบระบายน้ำทิ้ง
ไปท่วมไร่นาชาวบ้านอีกตามเคย
สรุปมีโทษมากกว่ามีประโยชน์เสียอีก
ถ้ายังทำกันอยู่แบบนี้

ลงทุนสร้างโครงข่ายท่อส่งน้ำระหว่างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ
ระดับตำบล หมู่บ้าน ไปเรื่อยๆ
เดี๋ยวมันก็ครบวงจรทุกภาค
ทุกตำบล ทุกหมู่บ้านเอง
จะแก้ปัญหาทั้งน้ำท่วม ฝนแล้งได้ดีกว่าทำฝนเทียมเสียอีก
ที่ตกลงมาก็ไม่มากพอ แถมอาจมีปัญหาสารพัด
ทำกันทุกปีก็ไม่ครอบคลุมพื้นที่ทางการเกษตรเท่าไหร่
แค่พอได้ทำบางจุดเท่านั้น

ปล. อะไรที่ไม่มีคนตรวจสอบหรือไม่กล้าตรวจสอบ
ส่วนใหญ่มักพบว่ามีปัญหาหมกเม็ดไม่ได้รับการแก้ไข

โดย มาหาอะไร
FfF