บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


07 มีนาคม 2553

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ทำไม กสท. จึงมีกำไรเพิ่มขึ้นมากในปี 2550-2551 >>>

กราฟแสดงงบกำไรขาดทุน กสท. (CAT) ตั้งแต่ปี 2546 - 2551











กราฟแสดงกำไรสุทธิของ DTAC ตั้งแต่ปี 2545-2550



















มีบางคนบอกว่า
กสท. มีกำไรเพิ่มขึ้นหลังจากยกเลิกภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม
คงต้องการชี้ให้เห็นว่า
รัฐบาลทักษิณออกกฏหมายให้เก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม
เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ AIS จนเป็นสาเหตุหนึ่ง
ในการนำไปฟ้องร้องเพื่อยึดทรัพย์ทักษิณ
พอยกเลิกกฏหมายตัวนี้ก็ทำให้ กสท. มีรายได้เพิ่มขึ้นมา
พร้อมนำกราฟด้านบนมาแสดงให้ดูด้วย

ผมเลยไปค้นหาความจริงเรื่องนี้
แล้วพบว่าที่ กสท. มีรายได้เพิ่มขึ้นมา
ก็เพราะว่า DTAC และคู่สัญญาสัมปทานอื่นๆ ของ กสท.
มีรายได้เพิ่มมากขึ้นเป็นสาเหตุหลัก
เนื่องจากเอกชนจะไม่เสียเปรียบหรือได้เปรียบอะไร
เกี่ยวกับภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมนัก
เพราะทุกบริษัทจ่ายเท่าเทียมกันคือ 10%
แล้วทุกบริษัทก็นำ 10% ไปหักจากค่าสัมปทาน
ถ้ามองในแง่ของบริษัทผู้รับสัมปทาน
ไม่มีผลใดๆ นัก แต่กลับสามารถมีกำไรพุ่งสูงผิดปกติได้
ยกตัวอย่าง DTAC จากกราฟด้านบน
ที่แสดงกำไรสุทธิของ DTAC ตั้งแต่ปี 2545-2550
จะเห็นได้ว่ากราฟไปในแนวทางเดียวกันกับ กสท. เลย
ที่กราฟเริ่มผงกหัวขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2547
ส่วนภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม บังคับใช้ช่วงต้นปี 2546 - ต้นปี 2550
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม >>>

จะเห็นได้ว่าช่วงที่มีการประกาศใช้ภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม
ทั้ง กสท. และ DTAC ก็มีกำไรเพิ่มขึ้นในลักษณะเรื่อยๆ
แต่มาเพิ่มขึ้นมากๆ ช่วงปี 2550 - 2551
โดยเฉพาะ DTAC ซึ่งจะยกเลิกหรือคงภาษีสรรพสามิต
ก็ไม่ได้กระทบอะไรเหมือน CAT กับ TOT
กลับมีอัตราเพิ่มแบบก้าวกระโดดสูงมาก

น่าจะมีสาเหตุหลักมาจาก การไม่จ่ายค่าเชื่อมโยง
ซึ่งทั้ง TRUE และ DTAC ได้หยุดจ่ายให้ TOT ทันที
หลังจากมีการทำรัฐประหาร 2 เดือนจนถึงบัดนี้
ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมในปี 2552 ของบริษัท DTAC
ที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนี้
"จากการที่บริษัทฯหยุดบันทึกค่าเชื่อมโยงโครงข่ายตามข้อตกลงเดิม (Access Charge) ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ทำให้บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายลดลงประมาณ 24.8 พันล้านบาท"

3 ปี TOT สูญเสียรายได้เฉพาะ DTAC เจ้าเดียวประมาณ 24.8 พันล้านบาท
หรือทำให้ TOT สูญเสียเฉลี่ยปีละ 8 พันกว่าล้านบาท
หรือทำให้ DTAC มีกำไรเพิ่มขึ้น 8 พันกว่าล้านบาท
นี่เป็นหลักฐานอย่างดีเลยว่าการยกเลิกการจ่าย AC หรือค่าเชื่อมโยงโครงข่าย
ของ DTAC และบริษัทอื่นๆ ทำให้ TOT สูญเสียรายได้เป็นหมื่นๆ ล้านในแต่ละปี
"ด้าน นางวัชรี ทัพเจริญ รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน ทีโอทีกล่าวว่า ทีโอทีมีรายได้จากค่าเอซีปี 2549 อยู่ 14,600 ล้านบาท แบ่งเป็นจาก DTAC 9,400 ล้านบาท ทรูมูฟ 3,800 ล้านบาท บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) 400 ล้านบาทและจาก กสทฯ 900 ล้านบาท โดยค่าเอซีคิดเป็น 24% ของรายได้ทั้งปีที่มีถึง 60,000ล้านบาท ซึ่งดีพีซี และ กสท ไม่มีปัญหาการจ่ายค่าเอซี โดยไตรมาส 1/2550 ดีพีซีและกสทนำส่งแล้วค่าเอซี รวมกันแล้ว 497 ล้านบาท"
ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่นลูกค้าเพิ่มขึ้นรายได้ก็เพิ่มขึ้นก็จะเป็นลักษณะเพิ่มแบบปกติจะไม่เพิ่มกระฉูดแบบนี้
และอีกสาเหตุจากแผน Turn Around ของทั้ง CAT และ TOT
สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้หลายพันล้าน
ก็มีผลทำให้กำไรเพิ่มขึ้นด้วย
แต่ปีนี้เริ่มออกอาการกำไรไม่เพิ่มแล้ว
แถมพึ่งรายได้จากสัมปทานถึง 63% เข้าไปแล้วด้วย

ดังนั้นเมื่อ DTAC มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
กสท. หรือ CAT ก็มีรายได้มากขึ้นตามไปด้วย
จาก
สัดส่วนรายได้จากสัมปทาน 55%
และในปี 2550 รายได้จากสัมปทาน
มีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 145%

โดยได้ส่วนแบ่งรายได้ 25% อนาคตอีกไม่นานก็จะโดน 30%
ถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือมีการฉีกสัญญาสัมปทานทิ้งไปก่อน
ในขณะที่ช่วงนี้ AIS จะต้องจ่ายให้ TOT 30%
จะเห็นได้ว่า DTAC มีความได้เปรียบ
ทั้งสัญญาสัมปทานที่นานกว่า 27 ปี AIS 25 ปี
คลื่น 1800 สามารถแบ่งคลื่นไปให้เจ้าอื่นใช้
ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นในขณะที่ คลื่น 900 ไม่พอจะใช้
ดังนั้นถ้ามีการยกเลิก AC หรือค่าเชื่อมโยงเมื่อไหร่
DTAC ก็ยิ่งได้เปรียบ AIS ทันทีแทบทุกด้าน
นอกจากฐานลูกค้าที่ AIS ยังรั้งอันดับหนึ่ง
แต่ DTAC ก็มีลูกค้าตามมาติดๆ
ดังนั้นการยกเฉพาะเรื่องที่เสียเปรียบ
มาโจมตีฝั่ง AIS อย่างเดียวคงไม่ถูกนัก
เพราะฝั่ง DTAC ก็มีข้อได้เปรียบแฝงอยู่เหมือนกัน

โดย มาหาอะไร

---------------------------------------------------------------

ยกแรกแปรสัญญาทศท.ยิม คลังดูดภาษีโทรศัพท์ไม่กระทบ
ผู้จัดการรายวัน 29 มกราคม 2546
Added on: 27/6/2004

คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างพ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต จัดเก็บภาษีโทรศัพท์พื้นฐานร้อยละ 2 ขณะที่ภาษีมือถือ 10% และธุรกิจบันเทิงร้อยละ 10 "น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช" ยืนยันการเก็บภาษีโทรคมนาคมไม่ทำรายได้รัฐบาลลดลง และประชาชนไม่ได้รับผลกระทบแน่ ด้าน ทศท. บอกมีผลกระทบ แต่ไม่มาก ขณะที่เอกชนนิ่งเงียบไม่ออกความเห็นเรื่องอัตรา แต่จ่ายเข้าคลังยังดีกว่าจ่ายให้คู่แข่ง

น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะ รัฐมนตรีวันนี้ (ครม.) ว่าได้มีการอนุมัติร่างพระราชกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับธุรกิจบริการประเภทต่างๆ ประกอบด้วย กิจการโทรคมนาคม โดยเสนอให้มีการจัดเก็บใน 2 ส่วน คือ จัดเก็บภาษีสรรพสามิต จากโทรศัพท์พื้นฐาน 2% และโทรศัพท์ เคลื่อนที่จัดเก็บจากอัตรา 10% ของรายรับที่บริษัทเอกชนต้องจ่ายให้กับรัฐบาลในรูปของภาษีสรรพสามิต

"การกำหนดอัตราภาษีในครั้งนี้ผู้ประกอบการถือว่า ไม่ได้เสียประโยชน์อะไร โดยยังเป็นการจ่ายรายได้เท่าเดิม เพียงแต่เป็นการแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งมาให้กับรัฐบาล และอีกส่วนหนึ่งก็ให้กับรัฐวิสาหกิจ คือ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็จะไม่ได้รับผลกระทบ คือยังจ่ายในราคาเท่าเดิมอยู่"

น.พ.พรหมินทร์ กล่าวว่า การจัดเก็บอัตราภาษีดังกล่าวได้มีการคำนวณ และศึกษาต้นทุนของผู้ประกอบการอย่างเหมาะสมแล้ว ซึ่งจะไม่กระทบต่อรายได้ของรัฐบาลและรายได้ของผู้ประกอบการ ตลอดจนของกสท.และทศท.ด้วย

ส่วนรายได้สัมปทานที่เหลือจากนี้ที่เอกชนต้องจ่ายสัมปทานให้รัฐนั้น ได้มอบหมายให้กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ไปหารือกับบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) รวมทั้งเอกชนคู่สัญญาเพื่อจัดเก็บรายได้ในรายละเอียดต่อไป โดยให้ไปศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของต้นทุน ทุน ความสัมพันธ์ของรายได้ในอนาคตว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เนื่องจากกระทรวงไอซีทีเป็นผู้กำกับดูแลก กสท.และ ทศท.

"การจัดเก็บภาษีในครั้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการแปรรูปของทศท. และกสท. แต่การดำเนินการ ในครั้งนี้ จะทำให้เกิดความชัดเจนและถือเป็นการเตรียมพร้อม สำหรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ" น.พ. พรหมินทร์ กล่าว

สำหรับภาษีสรรพสามิตสำหรับธุรกิจบริการประเภทอื่นๆ ประกอบด้วย กิจการบริการประเภทบันเทิงจัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 10 ธุรกิจบริการประเภทเสี่ยงโชคจัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 20 แต่ธุรกิจเสี่ยงโชคขณะนี้มีเพียงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการอยู่เพียงรายเดียวจึงให้ยกเว้น ภารจัดเก็บภาษีดังกล่าวไว้ก่อน และกิจการบันเทิงประเภทที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมคิดในอัตราร้อยละ 10 ซึ่งขณะนี้ได้จัดเก็บภาษีสนามกอล์ฟอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 10

"การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ จะเริ่มทันทีนับจากพระราชกำหนดเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสรรพสามิต และพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ซึ่งเชื่อว่าจะมีผลในเร็วๆนี้ โดยการเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมครั้งนี้จะมีอัตราภาษีเท่ากันทั้งรายใหม่และรายเก่า"

น.พ.พรหมินทร์ กล่าว พ.ร.ก.สรรพสามิตมีผลวันนี้

ด้านน.ต.ศิธา ทิวารี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงเพิ่มเติมว่า ร่างพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ววานนี้ (28 ม.ค.) และมีผลบังคับใช้ในวันนี้ โดยการเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการ โทรคมนาคมจะเป็นการหักออกจากส่วนแบ่งรายได้ ที่มีอยู่เดิมตามข้อกำหนดในสัญญาฯ ซึ่งยังมีส่วนแบ่งรายได้บางส่วนคงเหลืออยู่ เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจะต้องกำหนดอัตราภาษีในอัตราเดียวกัน จึงทำให้มีส่วนแบ่งรายได้ตามข้อตกลงในสัญญาเดิมเกินจากภาษีที่จัดเก็บในอัตราดังกล่าว ซึ่งคู่สัญญาต้องนำส่วนแบ่งรายได้จำนวนที่เกินกว่าค่าภาษีสรรพสามิตส่งให้แก่ทศท.และกสท.ต่อไปตามข้อกำหนดในสัญญาเดิม

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ภาษีสรรพสามิตในส่วนของกิจการโทรคมนาคมกำหนดเพดานภาษีไว้ที่ร้อยละ 50 ของรายได้ แต่เรียกเก็บเพียงร้อยละ 2 ของรายได้จากกิจการโทรศัพท์พื้นฐาน และร้อยละ 10 ของรายได้โทรศัพท์เคลื่อนที่

สำหรับภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมนี้ ผู้ประกอบจะยังคงจ่ายค่าตอบแทนให้กับรัฐบาลเท่าเดิม ยกตัวอย่าง บริษัทเอกชนที่จ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กับรัฐวิสาหกิจคือ บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ในอัตรา 20% ของรายได้บวกกับค่าเชื่อมโยงเครือข่าย 200 บาท เมื่อเปลี่ยนเป็นภาษีสรรพสามิตที่ต้องจ่าย 10% จะถูกนำส่งให้กับกระทรวงการคลัง ส่วนที่เหลือ อีก 10% บวกกับค่าเชื่อมโยงเครือข่าย เอกชนก็ต้องนำส่งให้กับภาครัฐเหมือนเดิม ขณะที่ค่าบริการที่เรียก เก็บจากผู้บริโภคก็ยังคงอยู่ในอัตราเดิม

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงเทคโน-โลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ถือเป็นก้าวแรกของการเปิดเสรีโทรคมนาคมแต่ไม่ถือว่าเป็นการแปรสัญญาสัมปทานทั้งระบบ เพราะยังต้องมีเรื่องการเชื่อมต่อโครงข่ายเรื่องทรัพย์สินต่างๆ โดยที่ภาษีสรรพสามิต จะเป็นการแบ่งบทบาทของรัฐวิสาหกิจอย่างบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่นหรือทศท.กับการสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) ให้ชัดเจนระหว่างการเป็นผู้กำกับ ดูแลกับการเป็นผู้ให้บริการ

ตัวเลขภาษีของโทรศัพท์พื้นฐานที่ต่ำกว่าโทรศัพท์มือถือ ทำให้ทศท.ยังคงได้รับส่วนแบ่งที่มากอยู่ เป็น เพราะทศท.ได้ลงทุนเป็นจำนวนมากในการรอง รับเพื่อให้เอกชนใช้บริการ กรณีทีเอจ่ายให้ทศท.16% เมื่อเปลี่ยนเป็นภาษีสรรพสามิต 2% รวมกับภาษีท้อง ถิ่นที่จัดเก็บโดยกระทรวงมหาดไทยอีก 10% ของภาษี สรรพสามิต หรืออีก 0.2% หรือ 2.2% เท่ากับทศท. ยังได้รับ 13.8% หรือเอไอเอสที่จ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ ทศท. 25% ก็เปลี่ยนเป็นจ่ายภาษี 10% ที่เหลืออีก 15% จ่ายให้ทศท.

ส่วนดีแทค ทีเอออเร้นจ์ ดีพีซี ที่จ่ายให้กสท. 20% ก็เปลี่ยนเป็นภาษีสรรพสามิต 10% ที่เหลือกสท. ต้องเจรจากับทศท.ว่าจะจ่ายกันอย่างไร เพราะมีเรื่อง ค่าแอ็คเซ็สชาร์จอีกเลขหมายละ 200 บาทต่อเดือน สำหรับบริการโพสเพด (บริการที่มีการจดทะเบียนปกติ) เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาก ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (อินเตอร์คอนเน็กชั่น ชาร์จ)

ส่วนโทรศัพท์พื้นฐานของทศท. รวมทั้งบริการ ไทยโมบาย โทรศัพท์มือถือในระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์และโทรศัพท์มือถือในระบบซีดีเอ็มเอ ของกสท.ยังไม่ต้องจ่ายภาษีสรรพสามิตดังกล่าวเพราะถือว่าเป็นกิจการของรัฐอยู่ แต่จะต้องเริ่มจ่ายภาษีเมื่อมีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เกิดขึ้น แล้วทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจไปขอใบอนุญาตประกอบกิจการใหม่

ภาคเอกชนยังสงวนท่าที

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น หรือทีเอ กล่าวว่า หลักการเป็นสิ่งที่ดี แต่ยังมีเรื่องการคำนวณในภาระที่เอกชนพึงจ่ายให้รัฐหรือรัฐยังต้องพึงจ่ายให้เอกชน ซึ่งนอกเหนือจากภาษีสรรพสามิต ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอีกอย่างเรื่องอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ

"ผมขอสงวนสิทธิไว้ก่อน ยังบอกไม่ได้ว่าภาษีนี้ดีหรือไม่อย่างไรในเวลานี้"

นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการ บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสหรือเอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในเรื่องภาษี ซึ่งบริษัทก็ไม่ได้ประสงค์เรียกร้อง เงินเพิ่มแต่อย่างใด แต่ต้องการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม บริษัทไม่ควรจ่ายเงินให้คู่แข่ง การที่รัฐบอกให้ จ่ายในรูปภาษี บริษัทก็ต้องจ่ายตามนั้น เพราะยังเป็น การจ่ายเท่าเดิม

การเก็บภาษี ถือเป็นความคืบหน้าที่ดีในการเปิดเสรีโทรคมนาคม ส่วนเรื่องโครงข่ายหรือทรัพย์สิน บริษัทก็ขอสิทธิในการใช้อุปกรณ์ที่มีมาแต่เดิม เรื่องการเชื่อมต่อโครงข่ายก็ขอให้อยู่บนหลักความเป็นธรรม"

นายสิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ทศท. กล่าวว่า ในสัญญาที่ทศท.ทำกับทีเอกับทีทีแอนด์ที ทำให้ทศท.มีภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การเก็บภาษีน้อยทำให้มีผลกระทบกับทศท.ไม่มากนัก เพราะทศท.คำนวณว่าเดิมทศท.ต้องส่งเงินเข้ากระ ทรวงการคลังประมาณ 60% เมื่อเทียบเคียงกับรายได้ที่ต้องหายไปเพราะเอกชนต้องจ่ายภาษีเข้าคลังแทน ในภาพรวมถือว่ามีผลกระทบ แต่ไม่มากนัก

นายวิชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ดีแทคกล่าวว่า อัตราภาษีดีหรือไม่ ยังไม่สามารถออกความเห็นได้ แต่ดีแทคก็ไม่ได้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งภาษีจะทำให้เกิดความเป็นธรรมขึ้น ซึ่งต้องรวมถึงเรื่องค่าเชื่อมต่อโครงข่ายด้วย

สหภาพฯทศท.เข้าพบรมว.ไอซีที ขอความชัดเจนภาษีโทรคมนาคม

นายมิตร เจริญวัลย์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทศท คอร์ปอเรชั่นกล่าวภายหลังเข้าพบน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.ไอซีที หลังจากรู้อัตราภาษีสรรพสามิตว่าสหภาพฯ เข้าพบรัฐมนตรีเป็นเพราะมีความเป็นห่วงองค์กรในภาพรวมว่า อาจจะได้รับความเสียหายจากการเก็บภาษีสรรพสามิต โดยเฉพาะในเรื่องการแปรสภาพทศท.เป็นบริษัทมหาชนซึ่งได้เดินหน้ามาไกลแล้ว จนกระทั่งจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯทำให้เกรงว่ามูลค่าหุ้นของทศท. จะไม่สูงมาก และไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุน

"ท่านรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่าไม่ต้องเป็นห่วงจะดูแลทศท.อย่างดี แม้กระทั่งการที่ไปประเทศอินเดียยังมองเห็นลู่ทางการทำธุรกิจอีกมาก รวมทั้งยังส่งสัญญาณว่าภายในเดือนก.พ.ที่จะถึงนี้ การให้บริการ ไทยโมบายโทรศัพท์มือถือ 1900 จะมีทางออกที่ดีแน่ นอน ซึ่งจะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น และยังย้ำว่าในเดือนกพ.ทศท.จะเห็นความเป็นธรรมมากขึ้น และหุ้นจะดีขึ้น" นายมิตรกล่าว พร้อมขยายความว่าการ เข้าพบครั้งนี้เนื่องจากความไม่ชัดเจนเรื่องตัวเลขภาษีที่เดิมคิดว่าโทรศัพท์พื้นฐานจะสูงถึง 10% และโทรศัพท์มือถือสูงถึง 15% จะทำให้ทศท.เหลือรายได้ไม่มากนัก

รวมทั้งต้องการชี้ให้เห็นความไม่เป็นธรรมที่ทศท.ได้รับในอดีต อย่างการจัดสรรคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ได้จำนวนที่น้อยกว่ากสท.ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์มากมาย จนถึงขนาด นำไปแบ่งขายต่อได้อีก 2 รายคือทีเอออเร้นจ์กับ ดีพีซี ในขณะที่คลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ทศท. ขอไปรายเดียว แต่พอจัดสรรกลับแบ่งให้กสท.ด้วย แต่เมื่อกสท.ทำซีดีเอ็มเอ ทศท.กลับไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลย

ปชป.ชิงส่งศาลรธน.ตีความพ.ร.ก.

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการหารือเกี่ยวกับ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.กำหนดพิกัดอัตรา ภาษีสรรพสามิต ซึ่งต้องยอมรับว่าการเสนอของรัฐบาลมีการทำอย่างเป็นระบบและใช้สื่อของรัฐและเอกชนนำเสนอข้อมูลด้านเดียว โดยพยายามชี้ให้เห็นแต่ข้อดี โดยไม่ฟังเสียงของนักวิชาการและองค์กรเอกชน

การที่รัฐบาลยังดึงดันที่จะออกพ.ร.ก.แสดงว่ามีวาระซ่อนเร้น ที่จะนำเสนออัตราภาษีโทรคมนาคมควบคู่ไปกับอัตราภาษีอื่นๆ เพราะเมื่อเสนอเป็นพ.ร.ก. เข้าสู่สภาจะไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นสิ่งที่พรรคจะดำเนินการมี 2 ทาง คือเสนอต่อที่ประชุมคณะผู้บริหาร พรรค เพื่อพิจารณายื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ทั้งนี้ ได้มีการหารือระหว่างแกนนำของพรรค ไปบ้างแล้ว และในวันที่ 29 ม.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของพรรค โดยคณะทำงานดังกล่าวจะเป็นแกนหลักในการดำเนินการเรื่องนี้

"เมื่อรัฐบาลประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจะต้องดำเนินการก่อน นำเข้าที่ประชุมสภา ซึ่งเข้าใจว่า รัฐบาลจะต้องเร่งรัดนำเข้าที่ประชุมสภาในต้นสมัยประชุมแน่นอน เพราะมีเจตนาเร่งรีบทำให้เสร็จแม้จะมีเสียงคัดค้านก็ตาม"

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พรรคยังไม่มีมติว่า จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่ เราคงต้องหารือก่อน และก็ติดเงื่อนไขเวลาด้วย แต่ทุกคนก็เห็นด้วยที่จะยื่นให้มีการตีความ เพราะเมื่อมีการประกาศ ในราชกิจจาแล้วกฎหมายตัวนี้จะมีผลบังคับใช้ทันที แต่ก่อนที่จะส่งเรื่องให้สภารับรอง หากมีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเวลานี้ก็จะมีผลให้พ.ร.ก. ดังกล่าวถูกยับยั้งไว้ก่อน จึงต้องยื่นก่อนที่จะเปิดประชุมสภา

http://74.125.153.132/search?q=cache:Ck7wLR4lbYcJ:www2.gotomanager.com/news/Details.aspx%3Fid%3D5334+การแปรสัญญา+ทศท.ยิ้ม+คลังดูดภาษีโทรศัพท์ไม่กระทบ&cd=2&hl=th&ct=clnk&gl=th

---------------------------------------------------------------

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551


...
32. คดีฟ้องร้องและข้อพิพาททางการค้าเรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างบริษัทฯ และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (“ทีโอที”)

1) ตามที่ ทีโอที กสท. และบริษัทฯ ได้ร่วมกันทำข้อตกลงเรื่องการเชื่อมโยงโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบจดทะเบียนรายเดือน (Postpaid) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537 และโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบจ่ายเงินล่วงหน้า (Prepaid Card) เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 โดยสาระสำคัญของข้อตกลงมีอยู่ว่าทีโอทีจะเชื่อมโยงโครงข่ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่บริษัทฯ ให้บริการให้สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ โดยทีโอทีจะคิดค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Access Charge) ในอัตราหมายเลขละ 200 บาทต่อเดือน สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบจดทะเบียน รายเดือน และในอัตราร้อยละ 18 ของราคาหน้าบัตร (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบจ่ายเงินล่วงหน้า (Prepaid Card)

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (“กทช.”) ได้ประกาศใช้ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตที่มีโครงข่ายโทรคมนาคม ในการที่จะต้องยินยอมให้ผู้รับใบอนุญาตที่มีโครงข่ายโทรคมนาคมรายอื่นเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเข้ากับโครงข่ายโทรคมนาคมของตนเมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารข้ามโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นไปได้ด้วยดีและให้ผู้ให้เชื่อมต่อโครงข่ายมีสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่าย (Interconnection Charge) ในอัตราที่สะท้อนต้นทุน
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2549 บริษัทฯได้ทำหนังสือแจ้งทีโอทีเพื่อขอเจรจาเกี่ยวกับสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) ของบริษัทฯกับโครงข่ายโทรคมนาคมของ ทีโอที และเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 บริษัทฯได้ทำหนังสือแจ้งให้ทีโอทีและกสท.ทราบว่าบริษัทฯจะเปลี่ยนแปลงอัตราการคำนวณค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ตามข้อตกลงเดิมที่ทำกับทีโอที เนื่องจากบริษัทฯเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวมีการคิดอัตราและวิธีการจัดเก็บที่มีลักษณะขัดและแย้งต่อกฎหมายหลายประการและบริษัทฯได้แจ้งให้ทีโอทีและกสท.ทราบว่าบริษัทฯจะชำระค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) ให้แก่ทีโอทีในอัตราค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับกฎหมาย หรือในอัตราค่าตอบแทนชั่วคราวที่กทช.ประกาศในระหว่างที่การเจรจากับทีโอทียังไม่แล้วเสร็จ
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 บริษัทฯได้รับหนังสือแจ้งจากทีโอทีโดยในหนังสือดังกล่าวทีโอทีได้แจ้งว่าบริษัทฯไม่มีสิทธิเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับทีโอที เนื่องจากบริษัทฯมิได้เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจากกทช. และมิได้มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเองและข้อตกลงเดิมมิได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้นการเก็บค่าตอบแทนและวิธีการจัดเก็บค่าตอบแทนการเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ยังคงต้องเป็นไปตามข้อตกลงเดิม และทีโอทีได้แจ้งปฏิเสธการรับชำระเงินค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge)
ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 บริษัทฯได้มีหนังสือแจ้งต่อทีโอทีว่าบริษัทฯยินดีที่จะชำระ ค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมให้แก่ทีโอทีในอัตราตามข้อเสนอการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (“RIO”) ของทีโอทีตามที่ได้รับความเห็นชอบจาก กทช.

2) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 กทช.ได้มีคำชี้ขาดข้อพิพาทที่ 1/2550 เรื่องข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมโดยให้ทีโอทีเจรจาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมภายใน 7 วัน และต้องทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มเจรจากับบริษัทฯ และต่อมาเลขาธิการ กทช. ได้มีคำสั่งให้ทีโอทีปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ กทช. ซึ่งทีโอทีได้มีการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของเลขาธิการต่อ กทช. ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2550 กทช.ได้มีคำวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์ยืนตามคำสั่งของเลขาธิการกทช.ให้ทีโอทีปฏิบัติตามคำชี้ขาดของกทช.ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทีโอทีได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ 1523/2550 เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของ กทช.และคำสั่งของเลขาธิการ กทช.ดังกล่าว ศาลปกครองกลางเห็นว่ากรณีดังกล่าวนี้บริษัทฯมีส่วนได้เสียและเกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดี จึงได้มีคำสั่งเรียกให้บริษัทฯเข้าไปเป็นผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกับ กทช.ด้วย บริษัทฯได้ยื่นคำให้การเพื่อต่อสู้คดีต่อศาลแล้วและทาง กทช.และเลขาธิการ กทช.ก็ได้มีการยื่นคำให้การแล้วเช่นกัน ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของศาลปกครองกลาง

3) เนื่องจากทีโอทียังคงปฏิเสธไม่เข้าทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection charge) กับบริษัทฯ ดังนั้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 บริษัทฯจึงได้ส่งจดหมายเรื่องการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมไปยังทีโอทีเพื่อแจ้งยกเลิกข้อเสนอของบริษัทฯในเรื่องที่บริษัทฯได้แสดงความประสงค์ที่จะชำระค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) ในอัตราที่สอดคล้องกับกฎหมายตามที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีการเจรจาตกลงกันโดยสุจริต และข้อเสนอที่ว่าบริษัทฯจะนำส่งค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) ให้แก่ทีโอทีในอัตราที่ทีโอทีได้กำหนดในข้อเสนอการเชื่อมต่อโครงข่ายของทีโอที ซึ่ง กทช. ได้ให้ความเห็นชอบพร้อมทั้งแจ้งยกเลิกข้อตกลงการเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคมเดิมทั้งสองฉบับ (Access Charge) ดังนั้นบริษัทฯจึงบันทึกค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ในอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (Interconnection Charge) ในระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 ไว้ในงบการเงินจำนวน 1,973 ล้านบาท และตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 บริษัทฯได้หยุดบันทึกค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Access Charge) ในงบการเงิน เพราะเห็นว่าภาระที่จะต้องชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Access Charge) ตามข้อตกลงเดิมดังกล่าวได้สิ้นสุดลง

4) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ทีโอทีได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเรียกร้องให้บริษัทฯ และ กสท. ร่วมกันชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Access Charge) ช่วงระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2550 พร้อมดอกเบี้ยและภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมเป็นเงินทั้งหมด 11,705 ล้านบาท และขอให้ชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Access Charge) นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไปจนกว่าข้อตกลงระหว่าง ทีโอที กสท. และบริษัทฯจะสิ้นสุดลง และให้ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือนนับแต่วันผิดนัดชำระของแต่ละงวดจนกว่าจะชำระให้แก่ทีโอทีครบถ้วน

5) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ศาลแพ่งและศาลปกครองมีความเห็นว่า คดีนี้อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง ศาลแพ่งจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ คดีแพ่งจึงเป็นอันยุติ อย่างไรก็ดี ทีโอทีมีสิทธิที่จะนำคดีซึ่งศาลแพ่งมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความไปฟ้องต่อศาลปกครองได้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ บริษัทฯยังไม่ได้รับแจ้งจากศาลปกครองว่าทีโอทีได้ยื่นฟ้องบริษัทฯต่อศาลปกครองในเรื่องดังกล่าว

6) ตามที่ กทช.ได้มีคำชี้ขาดพิพาทที่ 1/2550 เรื่องข้อพิพาทการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม โดยให้ทีโอทีเข้าเจรจาเพื่อทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) กับบริษัทฯ ซึ่งระยะเวลา 30 วันตามที่กำหนดไว้ได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ยังไม่สามารถตกลงทำสัญญาการเชื่อมต่อโครงข่ายกันได้ บริษัทฯจึงได้ยื่นคำร้องแจ้งให้ กทช. ทราบว่าบริษัทฯและทีโอทีไม่สามารถเจรจาตกลงทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายตามที่ กทช. ได้มีคำชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าวไปแล้วได้ จึงขอให้ กทช. พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาทนี้ต่อไป ซึ่งกทช.ก็ได้มีมติให้นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทเป็นข้อพิพาทพิเศษที่ 1/2551 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2552 บริษัทฯได้รับแจ้งจากกทช.ว่ากทช.ได้ชี้ขาดให้บริษัทฯและทีโอทีทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างกันทันทีที่บริษัทฯและทีโอทีได้รับคำชี้ขาดโดยสัญญาจะต้องครอบคลุมเลขหมายโทรคมนาคมทั้งหมดที่บริษัทฯมีสิทธินำออกให้บริการโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ในวันที่ 13 มกราคม 2552 บริษัทฯจึงได้มีหนังสือเชิญให้ทีโอทีเข้าร่วมทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมตามคำชี้ขาดของกทช. และบริษัทฯได้มีหนังสือแจ้งเลขาธิการกทช. เพื่อให้ออกมาตรการบังคับทางปกครองให้ทีโอทีลงนามในสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ต่อมาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 เลขาธิการกทช.ได้แจ้งว่ามาตรการบังคับทางปกครองตามที่บริษัทฯ ร้องขอนั้นไม่อยู่ในอำนาจของเลขาธิการกทช. บริษัทฯจึงได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของเลขาธิการกทช.ต่อกทช. และขอให้กทช. กำหนดมาตรการบังคับทางปกครองด้วย เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2553 กทช. ได้มีมติตามที่บริษัทฯร้องขอและมีคำสั่งให้เลขาธิการ กทช. ดำเนินการออกคำบังคับทางปกครองภายใน 15 วัน โดยแจ้งให้ทีโอทีเข้าทำสัญญาการเชื่อต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับบริษัทฯ
จากความเห็นของที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ ผู้บริหารของบริษัทฯมีความเชื่อมั่นว่าบริษัทฯไม่มีภาระที่จะต้องชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่ายในอัตราค่าเชื่อมโยงเครือข่าย (Access Charge) ที่ระบุไว้ในข้อตกลงเดิมทั้งสองฉบับ เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายในปัจจุบัน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549) และบริษัทฯได้มีหนังสือบอกเลิกข้อตกลงเดิมแล้ว ดังนั้นผู้บริหารของบริษัทฯเชื่อว่าผลสรุปของข้อพิพาทและกระบวนการยุติธรรมในอนาคตไม่น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญต่อฐานะการเงินของบริษัทฯ
ผลกระทบสุทธิ (ก่อนภาษีเงินได้) จากการที่บริษัทฯหยุดบันทึกค่าเชื่อมโยงโครงข่ายตามข้อตกลงเดิม (Access Charge) ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ทำให้บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายลดลงประมาณ 24.8 พันล้านบาท
ถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะหยุดบันทึกค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม (Access Charge) ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 แล้วก็ตาม บริษัทฯ ก็ได้บันทึกสำรองค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากผลสรุปของข้อพิพาทหรือกระบวนการพิจารณาคดีดังกล่าวข้างต้นไว้ในบัญชีจำนวนหนึ่งตามที่เห็นว่าเหมาะสม
...

http://www.set.or.th/dat/news/201002/10002916.zip

-----------------------------------------------------

DTAC : คาดปี 50 จะมีกำไรสุทธิเติบโตโดดเด่น


22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 11:04:00

แม้แนวโน้มกำไรสุทธิปี 50 เติบโตเด่นสุดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง แต่เรายังกังวลต่อส่วนแบ่งรายได้ที่จะถูกปรับขึ้นเป็น 30% รวมถึงสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกินเกณฑ์ 49%

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : - จุดเด่นเรื่องการออกโปรโมชั่นที่โดนใจตลาด ทำให้ DTAC รักษาส่วนแบ่งตลาดจำนวนลูกค้าอันดับ 2 ได้ต่อเนื่อง และถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ ADVANC

- ความเสี่ยง Downside สำคัญของ DATC จะมาจาก 3 สาเหตุ 1) ส่วนแบ่งรายได้ขึ้นเป็น 30% 2) ข้อพิพาทกับ TOT กรณีเปลี่ยนการจ่าย Access charge (AC) เป็น Interconnection charge (IC) และ 3) สัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 49% เราประเมินหากส่วนแบ่งรายได้ถูกปรับขึ้นทันทีเป็น 30% มูลค่าเหมาะสมของ DTAC จะลดลงสู่ 36.25 บาท หรือลดลงประมาณ 2.28 บาท/หุ้น จากมูลค่าเหมาะสมปัจจุบัน ขณะที่ผลกระทบกรณี AC จะไม่รุนแรง เนื่องจาก DTAC บันทึกค่าใช้จ่าย IC กับ TOT ซึ่งใช้นโยบายบัญชีที่ระมัดระวังกว่า True Move

- คาดปี 50 จะมีกำไรสุทธิเติบโตโดดเด่นราว 39% Y-O-Y มีกำไรต่อหุ้น 2.90 บาท/หุ้น เนื่องจากการรับรู้รายได้ IC และค่าใช้จ่ายโครงข่ายที่ลดลง หลังใช้ IC แทน AC ขณะเดียวกันฐานะการเงินที่ดีขึ้น ทำให้มีลุ้นจ่ายเงินปันผลปี 50 เป็นครั้งแรก

- เราประเมินราคาเหมาะสมปี 2550 ของ DTAC เท่ากับ 38.53 บาท ตามวิธี DCF มี WACC 11% และ Terminal Growth ที่ 2% ภายใต้สมมติฐานระมัดระวัง 1) สมดุลปริมาณโทรออกนอกเครือข่าย (Off net Traffic) จะเกิดขึ้นในปี 2555 และ 2) DTAC บันทึกค่า IC (Transit) แทน AC ให้แก่ TOT

จุดเด่นเรื่องการออกโปรโมชั่นที่โดนใจตลาด ทำให้ DTAC รักษาส่วนแบ่งตลาดจำนวนลูกค้าอันดับ 2 ได้ต่อเนื่อง และถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ ADVANC

การเติบโตในแง่ฐานจำนวนลูกค้าของ DATC ที่น่าพอใจจาก 7.6 ล้านราย ในปี 47 เป็น 12.2 ล้านราย ในปี 49 ทำให้ DTAC สามารถขยับส่วนแบ่งตลาดจำนวนผู้ใช้ (Market share of Subs.) เป็น 30% ในปี 49 จาก 28% ในปี 47 สำหรับใน 1Q/50 DTAC ครองส่วนแบ่งตลาดจำนวนผู้ใช้อันดับ 2 รองจาก ADVANC ที่ 31% จากจำนวนลูกค้าทั้งสิ้น 13.3 ล้านราย โดย ADVANC ยังมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ที่ 50% ด้วยจำนวนลูกค้าทั้งสิ้น 21 ล้านราย ขณะที่ True Move รั้งอันดับ 3 ที่ 18% มีจำนวนลูกค้าทั้งสิ้น 8.4 ล้านราย นอกจากนี้หากพิจารณาส่วนแบ่งตลาดรายได้การให้บริการ พบว่า DTAC สามารถขยับส่วนแบ่งตลาดรายได้การให้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 26% ในปี 47 เป็น 33% ในปี 49 สวนทางกับ ADVANC ที่มีส่วนแบ่งตลาดรายได้การให้บริการลดลงจาก 58% ในปี 47 เหลือ 51% ในปี 49 จึงกล่าวได้ว่า DTAC ประสบผลสำเร็จในการออกโปรโมชั่นที่โดนใจตลาด รวมถึงกลยุทธ์มุ่งเน้นคุณภาพบริการอย่างสม่ำเสมอ

ความเสี่ยง Downside สำคัญของ DATC จะมาจาก 3 สาเหตุ 1) ส่วนแบ่งรายได้ขึ้นเป็น 30% 2) ข้อพิพาทกับ TOT กรณีเปลี่ยนการจ่าย Access charge (AC) เป็น Interconnection charge (IC) และ 3) สัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 49% เราประเมินหากส่วนแบ่งรายได้ถูกปรับขึ้นทันทีเป็น 30% มูลค่าเหมาะสมของ DTAC จะลดลงสู่ 36.25 บาท หรือลดลงประมาณ 2.28 บาท/หุ้น จากมูลค่าเหมาะสมปัจจุบัน ขณะที่ผลกระทบกรณี AC จะไม่รุนแรง เนื่องจาก DTAC บันทึกค่าใช้จ่าย IC กับ TOT ซึ่งใช้นโยบายบัญชีที่ระมัดระวังกว่า True Move

ปัจจุบันความไม่แน่นอนของสัญญาร่วมการงานอาจถูกยกเลิก รวมถึงมีความเป็นไปได้ที่ส่วนแบ่งรายได้ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทุกรายจะปรับขึ้นเป็น 30% ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวของ DTAC รวมถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย เราประเมินหาก DTAC ถูกปรับส่วนแบ่งรายได้ขึ้นทันทีเป็น 30% จากปัจจุบัน 25% จะส่งผลให้มูลค่าเหมาะสมของ DTAC ลดลงสู่ 36.25 บาท หรือลดลงประมาณ 2.28 บาท/หุ้น จากมูลค่าปัจจุบันที่ 38.53 บาท ส่วนข้อพิพาทกับ TOT กรณีเปลี่ยนการจ่าย Access charge (AC) เป็น Interconnection charge (IC) ซึ่งยังไม่ยุติในชั้นศาล จะเป็นอีกความเสี่ยงหนึ่งต่อ DTAC หากศาลพิจารณาสอดคล้องกับ TOT ส่งผลให้ DTAC จะต้องกลับมาจ่ายค่า AC ให้กับ TOT อย่างไรก็ดีนโยบายบัญชีของ DTAC ที่ระมัดระวังจากการบันทึกค่าใช้จ่าย IC ระหว่าง TOT ใน 1Q/50 ทำให้ DTAC อาจถูกกระทบน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ True Move นอกจากนี้เรายังกังวลต่อ สัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติของ DTAC จะเกิน 49% โดยผลสรุปสถานะ “กุหลาบแก้ว” จะนำมาตัดสินสถานะ “ไทย เทลโค”

คาดปี 50 จะมีกำไรสุทธิเติบโตโดดเด่นราว 39% Y-O-Y มีกำไรต่อหุ้น 2.90 บาท/หุ้น เนื่องจากการรับรู้รายได้ IC และค่าใช้จ่ายโครงข่ายที่ลดลง หลังใช้ IC แทน AC ขณะเดียวกันฐานะการเงินที่ดีขึ้น ทำให้มีลุ้นจ่ายเงินปันผลปี 50 เป็นครั้งแรก

ในปี 50 คาดว่า DTAC จะมีรายได้จำนวน 68,259 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% Y-O-Y สาเหตุหลักจากการรับรู้รายได้ IC (Incoming Interconnection revenue) จำนวน 11,427 ล้านบาท ซึ่งเราคำนวณอิงสมมติฐาน 1) ปริมาณการโทรเข้า (On net Traffic) ต่อ การโทรออก (Off net Traffic) ที่ 40% ต่อ 60% และ 2) ปริมาณการโทรออกในเครือข่าย (Incoming) ต่อ การโทรออกนอกเครือข่าย ที่ 46% ต่อ 54% นอกจากนี้เราประมาณการจำนวนผู้ใช้รายใหม่ (Net Adds.) ของ DTAC ที่จำนวน 3 ล้านราย หรือมีส่วนแบ่งตลาดจำนวนผู้ใช้รายใหม่ 35% ทำให้ในปี 50 DTAC จะมีจำนวนผู้ใช้ทั้งสิ้น 15.2 ล้านราย จาก 12.2 ล้านราย ในปี 49 ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (Blended ARPU) คาดว่าจะลดลง 6% Y-O-Y เป็น 336 บาท จาก 356 บาท ในปี 49 ฉะนั้น DTAC จะมีรายได้จากการให้บริการที่ไม่รวมรายได้ IC จำนวน 56,831 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% Y-O-Y (เทียบจากปี 49 ซึ่งเป็นฐานรายได้ที่ไม่รวมรายได้ IC เช่นเดียวกัน)

ที่มา : บล.เกียรตินาคิน
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/22/WW13_1310_news.php?newsid=80347
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=25820

--------------------------------------------------------

เจาะใจ "ซิคเว่ เบรคเก้" THINK BIG

จากความสำเร็จอย่างงดงามในการนำ "ดีแทค" เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปลายเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ก้าวต่อไปหลายคนคงอยากรู้ว่าดีแทคจะทำอะไร "สยามรัฐ" จึงนัดสัมภาษณ์พิเศษ "ซิคเว่ เบรคเก้" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เพื่อล้วงความในใจซีอีโออารมณ์ดีว่า กำลังคิดการใหญ่อะไรอยู่บนชั้น 30 ของอาคารชัย ริมถนนวิภาวดีรังสิต เป็นที่นัดหมายการเปิดใจครั้งนี้ จุดหมายเป็นห้องทำงานของเขา แต่เมื่อกวาดสายตาดูแล้วแทบไม่หลงเหลือความเป็น "ห้อง"อยู่เลย เพราะถูกดีไซน์ให้โปร่ง โล่ง โออ่า มองเห็นทุกซอกทุกมุมเมื่อก้าวออกจากลิฟท์ โต๊ะทำงานจึงเสหมือนห้องรับแขกขนาดใหญ่ มีโซฟารับแขก 2 ชุด เก้าอี้ถูกบรรจงเลือกให้มีเฉดสีสะดุดตาทั้งขาว ดำ และแดง แมทเข้ากับโต๊ะสนุกเกอร์อย่างลงตัววันนี้"ซิคเว่ เบรคเก้" อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม นอร์เวย์ มาในชุดทำงานสบายๆ ใส่กางเกงยืน เสื้อเชิ้ตสีดำ ออกมาทักทายต้อนรับอย่างอารมณ์ดี ก่อนเชิญนั่งตามธรรมเนียมเจ้าภาพ....


"หลังเข้าตลาดหุ้นแล้ว ดีแทคเตรียมการใหญ่บุกตลาดช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้อย่างไร"เป็นคำถามแรกของการเริ่มบทสนทนา
ซีอีโอดีแทคบอกว่า นับจากนี้ไปกลยุทธ์การตลาดของดีแทคคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ยังเน้นสงครามราคา ลด แจก แถมซิมมาใช้เป็นแคมเปญในการตลาดเหมือนเดิม เพียงแต่ว่ากลุ่มเป้าหมายจะเปลี่ยนไปจากเดิม เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเดิมส่วนใหญ่เป็นหัวเมืองหลักทั่วประเทศ ไม่ว่ากรุงเทพฯ เชียงใหม่ หาดใหญ่ ขอนแก่น แม้ว่าตอนนี้ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคในกรุงเทพฯ และตลาดหัวเมืองหลักในภูธรยังต้อการซิมมือถืออันที่ 2 หรือผู้บริโภคที่ต้องการใช้โทรศัพท์มือถือเครื่องที่ 2 แต่ว่าแนวโน้มตลาดนี้จะเริ่มอิ่มตัวแล้ว

ดังนั้น 6 เดือนจากนี้ไปเป้าหมายการเจาะตลาดของเราจึงเปลี่ยนไป โดยกลุ่มลูกค้าหลักที่เราจะเน้นเป็นพิเศษคือ กลุ่มตลาดรากหญ้า เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ยังมีความต้องการสินค้าอยู่มาก เพียงแต่สินค้ายังไปบริการไม่ทั่วถึงมือเท่านั้นเองเรื่องใหญ่อีกเรื่อง หนึ่งที่จะมีการตัดสินใจกันคือ เราจะพิจารณากันอีกใน 6 เดือนข้างหน้าว่าจะถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX)หรือไม่ หลังจากเข้าจดทะเบียนตั้งแต่ปี 2538 แล้วคงการจดทะเบียนเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์ฯในเมืองไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น เพราะหลังจากดีแทคเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯในไทยแล้วปรากฎว่า ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนในเมืองไทย มากกว่าตลาดหลักทรัพย์ฯสิงคโปร์ สะท้อนจากจำนวนหุ้นที่ซื้อขายวันแรกในตลาดหุ้นไทยถึง 60 ล้านหุ้น จากจำนวนหุ้นที่กระจายทั้งหมด 222 ล้านหุ้น เทียบกับเพียงประมาณ 7 หมื่นหุ้น ที่ซื้อขายในตลาดหุ้นสิงคโปร์

ขณะที่สิ่งที่นักลงทุนคำนึงถึงเสมอนั่นคือ ความมั่นคงของบริษัท...แน่นอนดีแทคตอบข้อข้องใจนี้อย่างไร้ข้อกังขา พิสูจน์ได้จากสัดส่วนหนี้สินต่อทุนขณะนี้ประมาณ 1.8 เท่า ขณะที่กำไรส่วนต่าง (มาร์จิ้น) ชั่วโมงนี้ดีแทคทำได้ใกล้เคียงกับ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ที่ประมาณ 70% หมายความว่าดีแทคมีสิทธิ์แซงเอไอเอสสู่เส้นชัยเบอร์หนึ่ง..??

"เมื่อปีที่ผ่านมาพบว่า ยอดลูกค้าของดีแทคเติบโตเร็วขึ้นกว่าเอไอเอส ส่งผลให้ตอนนี้ส่วนแบ่งการตลาดของดีแทคขยับขึ้นมาอยู่ที่ 33% ขณะที่เอไอเอส อยู่ที่ประมาณ 48%" ซีอีโอดีแทค เลี่ยงที่จะตอบคำถามตรงๆ พร้อมกับแสดงความมั่นใจผลงานการเติบโตของยอดลูกค้ามาจากการบริหารอย่างมือ อาชีพของเขาล้วนๆ "ยอดลูกค้าดีแทคเติบโตเร็วขึ้นกว่าเอไอเอส ไม่ใช่เพราะสาเหตุมาจากการเมือง ที่ผู้บริโภคประท้วงอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นอดีตผู้ถือหุ้นใหญ่เอไอเอส จึงพากันคืนซิมของเอไอเอสต่อเนื่อง"

ส่วนการเตรียมความพร้อมในการรุกตลาด 3G "ซิคเว่" ไขความลับออกมาว่า ดีแทคมีแผนจะวางระบบ 3G ปลายปี 2551 เพื่อรองรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่นี้ ที่คาดว่าคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะอนุมัติให้เริ่มเปิดให้บริการได้ในปี 2552 รูปแบบการลงทุนขึ้นกับรายละเอียดในใบอนุญาตที่กทช. จะอนุมัติ ว่าจะให้ดีแทคลงทุนระบบ 3G ครั้งเดียว ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก หรือจะอนุมัติให้การลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะเป็นผลดีจะทำให้ดีแทคค่อย ๆ ใช้เงินลงทุนได้

กรณีข้อพิพาทค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge:IC) "ซิคเว่" บอกว่า รัฐบาลไทยมีนโยบายเปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคม โดยการออก พ.ร.บ. จัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในปี 2547 มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การออกพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว หมายถึง ภาคเอกชนผู้ดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ต้องจ่ายค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge:IC) อีกต่อไป

"ผมมั่นใจว่าดีแทคจะชนะคดีค่าแอคเซส ชาร์จแน่ หากกสท. โทรคมนาคม นำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาล ผมขอแนะนำทีโอทีว่า ให้ยอมรับแนวทางปฏิบัติสากล ว่าจะไม่มีการเก็บค่าแอคเซส ชาร์จอีก หรือไม่อย่างนั้นก็ให้นำเรื่องของเราขึ้นสู่ศาล เพื่อให้ศาลตัดสิน เพราะเราเชื่อมั่นว่า กฎหมายหนุนเราอย่างเต็มที่"

และการเปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคม โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคคนไทยโดยโดยทั่วไป เพราะปัจจุบัน มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในไทยมากกว่า 40 ล้านเลขหมาย ที่สำคัญการที่กลุ่มเทเลนอร์ จากนอร์เวย์ เข้าเทกโอเวอร์ดีแทค ไม่ได้ทำให้เครือดีแทคดำเนินธุรกิจแตกต่างจากช่วงที่ตระกูลเบญจรงคกุลเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่แต่อย่างใด

"บรรยากาศการทำงาน พนักงานยังรู้สึกมีความอบอุ่นในระหว่างเพื่อนร่วมงานเหมือนเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง"ซีอีโอวัย 47 ปีทิ้งท้าย

http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176674

---------------------------------------------------

ประเภทข่าว CAT News ข่าววันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552
CAT แจงผลกำไร EBITDA
ปี 51 สูงกว่าปี 50

นายสมพล จันทร์ประเสริฐ รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจการตลาด
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยเกี่ยวกับผลประกอบการของ CAT
ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่า CAT กำลังประสบปัญหาจากการดำเนินงานอย่างหนักนั้น
CAT ขอเรียนชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องว่าตัวสะท้อนความสามารถในการดำเนินงานอย่างแท้จริง
ควรพิจารณาที่ผลกำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit) ซึ่งจะเห็นได้จากกำไรก่อนหัก
ดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) ระดับองค์กร โดยในปี 2551 EBITDA ของ CAT
เท่ากับ 29,932 ล้านบาท ส่วนในปี 2550 เท่ากับ 29,127 ล้านบาท
ซึ่งจะเห็นได้ว่า EBITDA ของปี 2551 สูงกว่าปี 2550 จำนวน 805 ล้านบาท
หรือประมาณ 2.76% และ CAT ยังคงมีสภาพคล่องทางการเงิน
อย่างไรก็ตาม หากจะดูผลกำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit) ของ CAT
โดยไม่รวมสัมปทาน ตัวเลขกำไร EBITDA ในปี 2551 ก็ยังสูงกว่าปี 2550 เช่นกัน
กล่าวคือปี 2551 เท่ากับ 5,819 ล้านบาท และปี 2550 เท่ากับ 5,168 ล้านบาท
ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วจะเห็นว่ากำไร EBITDA ปี 2551สูงกว่าปี 2550 เท่ากับ 651 ล้านบาทหรือประมาณ 12.6%
ทั้งนี้ ผลประกอบการของ CAT จะปรากฏในงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบจาก สตง. แล้ว

ส่วนเรื่องการ Re-Brand ของ CAT นั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กร
ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและเป็นปัจจุบันมากที่สุดท่ามกลางสภาวะการตลาด
และเทคโนโลยีที่มีการแข่งขันสูง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องดำเนินการตามระเบียบอย่างถูกต้องโปร่งใส
ในแต่ละขั้นตอน จากการที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวในเรื่องการรีแบรนด์ของ CAT
โดยระบุว่าคณะกรรมการบริษัทอนุมัติงบประมาณจำนวน 490 ล้านบาทภายในระยะเวลา 3 ปีตั้งแต่ 2551 – 2553 นั้น
อาจกล่าวได้ว่างบประมาณจำนวนดังกล่าวเป็นกรอบวงเงินตามแผนธุรกิจที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติในภาพรวม
โดยมิได้ระบุแบ่งแยกเฉพาะส่วนที่ดำเนินการรีแบรนด์ งบประมาณจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นงบทำการและงบประจำปีตามปกติ
ถึงไม่มีการรีแบรนด์ก็เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว แต่เมื่อมีการรีแบรนด์ก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนข้อมูลเนื้อหาให้สอดคล้องกับ
แบรนด์ใหม่ เช่น การปรับปรุงโรงอาหาร การปรับปรุงสำนักงานบริการลูกค้า ฯลฯ
โดยกรอบวงเงินงบประมาณที่เพิ่มขึ้นมาเฉพาะการรีแบรนด์จริง ๆ เป็นเงิน 199 ล้านบาท
และใช้จ่ายไปแล้วเป็นเงิน 25.16 ล้านบาท
“งบประมาณดังกล่าวเป็นกรอบงบประมาณที่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถนำมาใช้จ่ายได้เลย
แต่จะต้องผ่านจัดทำและเสนอแผนปฏิบัติงานและรายละเอียดก่อนดำเนินการ

เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการใช้งานงบประมาณตามปกติทั่วไป”
นอกจากนี้ในเรื่องการว่าจ้างบริษัทเอเจนซีสองแห่งเข้ามาดูแลในด้านการโฆษณาบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
CAT 001 และ CAT 009 นั้น CAT ขอเรียนว่าการดำเนินการว่าจ้างดังกล่าวเป็นแผนดำเนินงานที่ถูกกำหนดขึ้น
ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ทางการตลาดที่รุนแรง โดยได้วางแผนการดำเนินงานและเชิญบริษัทต่าง ๆ
เข้าร่วมเสนองานถึง 15 บริษัท และคัดเลือกให้บริษัทที่มีคะแนนสูงสุดสำหรับแต่ละบริการ
ให้เป็นผู้ดำเนินการ ขณะนี้การดำเนินงานอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบของ CAT
แต่ยังไม่มีการลงนามในสัญญา เมื่อมีข้อทักท้วงต้องรับฟังและพิจารณาผลดีผล

http://www.cattelecom.com/site/th/news_detail.php?id=352&cat=119&year=2009

----------------------------------------------------------

ปี 50 กสทกำไรเพิ่ม 66% ทดสอบWiMAXยังไม่นิ่ง


หนึ่งในชุดทดสอบบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตเทคโนโลยี WiMAX ของกสทที่เชียงใหม่ การทดสอบพบว่าใช้งานได้ดี แต่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนรถยังมีสัญญาณรบกวน

กสทแถลงผลประกอบการประจำปี 50 ระบุว่ากำไรสุทธิพุ่งขึ้นเป็น 7,688 ล้านบาทจาก 4,638 ล้านบาทในปี 49 คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 66% ยกความดีให้รายได้จากสัมปทานที่เพิ่มขึ้นถึง 145% เพราะการยกเลิกภาษีสรรพสามิต ขณะที่การทดสอบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง WiMAX ที่จังหวัดเชียงใหม่พบว่ายังมีสัญญาณรบกวน คาดว่าผลการทดสอบจะสามารถส่งเพื่อรายงานกทช.ได้ภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้

นายพิศาล จอโภชาอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่ากำไรสุทธิของกสทที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรายได้จากธุรกิจให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศนั้นไม่ลด ลงมากอย่างที่คาดการณ์ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าปีนี้จะเป็นปีที่เห็นปรากฏการณ์ขาลงของธุรกิจโทรฯระหว่างประเทศได้ ชัดเจนที่สุด และสิ่งที่กสททำเพื่อรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคือการเตรียมความพร้อมให้ บริการเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงทั้ง 3G, WiMAX และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายไฟเบอร์อย่างเต็มที่

"รัฐมนตรีมั่นให้นโยบายเราว่าให้ทำ 3G ในความถี่เดิมภายใน 6 เดือน ขณะนี้เราก็ดึงดีแทคและทรูมาแบ่งกันทำแล้ว สำหรับ WiMAX กทชจะออกใบอนุญาตในปีนี้เพียง 4-5 ราย ต้องจัดสรรจากขณะนี้ที่มีผู้ขอทดสอบ 13 ราย กสทจะพยายามดึงไลเซนส์มาให้ได้ ขณะเดียวกัน เราก็วางเป้าหมายให้บริการบรอดแบนด์ผ่านไฟเบอร์ให้ทั่วภูเก็ตในปีหน้า ทำได้หรือไม่ต้องรอดูกัน"

การเปิดศึกโปรโมชันโทรฯต่างประเทศราคาแสนถูกของค่ายโทรศัพท์มือถือและความ แพร่หลายของบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้มีผลให้ธุรกิจ โทรศัพท์ระหว่างประเทศของกสทซบเซาลงต่อเนื่อง จุดนี้นายพิศาลระบุว่า กสทจะดำเนินธุรกิจแบบเดิมไม่ได้ ต้องหาบริการอื่นมาเสริมด้วยการผนึกรวมเทคโนโลยีนานาชนิดเข้าด้วยกันเป็นโซ ลูชันครบวงจร ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นว่ากสทขาดทรัพยากรบุคคลผู้เชื่ยวชาญ

"เราตั้งเป้าไว้ว่า 5 ปีต้องมีผู้เชี่ยวชาญในกสทมากขึ้น ระหว่าง 5 ปีนี้เราต้องหาพันธมิตร"

กสทมองว่าขาลงธุรกิจโทรศัพท์ระหว่างประเทศจะกินช่วงเวลาจากนี้ไปอีก 2 ปี โดยกสทจะให้ความสำคัญกับการลงทุนต่างประเทศเช่น เขมร ลาว และในอนาคตคือเวียดนาม พร้อมกับการเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่อย่างระบบรักษาความปลอดภัยด้านไอที โซลูชันด้านธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกสทมีกำหนดการให้บริการประชุมทางไกลภายในปีนี้

รายได้รวมของกสททั้งปี 50 คือ 47,418 ล้านบาท มาจากธุรกิจโทรศัพท์ระหว่างประเทศ 20% (ลดลงจากปีก่อนหน้าราว 5% โดยกสทเคยคาดการณ์ไว้ที่ 20-30%) ธุรกิจสื่อสารข้อมูลราว 17% ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5% สัญญาร่วมงานหรือรายได้จากสัมปทาน 55% และอื่น 3%

สัดส่วนรายได้จากสัมปทาน 55% นั้นคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นถึง 145% สาเหตุที่รายได้ส่วนนี้พุ่งสูงแบบก้าวกระโดดคือการปรับสัญญาส่วนแบ่งรายได้ ของกสทจาก 20% เป็น 25% และการยกเลิกภาษีสรรพสามิตเมื่อต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารายได้ในส่วนนี้จะไม่มั่นคงในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า เนื่องจากเอกชนจะสนใจลงทุนสร้างเครือข่ายขึ้นเองเมื่อกทช.สามารถให้ใบอนุญาต ในอนาคต

"ไม่ได้แปลว่าเราไม่อยากให้เอกชนได้ไลเซนส์ เราห้ามเขาไม่ได้ ทางแก้มีอยู่ 2 แนวทางคือการทำตัวเป็นผู้ให้บริการเช่าโครงข่าย หรือการจับมือกันแล้วเจรจาในรูปหุ้นส่วน ไม่เอาสัมปทานมาพูดแต่หุ้นกันไปเลย เชื่อว่าถ้าเปลี่ยนได้ตามแนวนี้ อุตสาหกรรมโทรคมไทยจะแข่งขันเต็มที่มากขึ้น"

อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมรายได้จากสัมปทานและรายได้จากฮัทช์ (Hutch) พบว่าปี 50 กสทจะขาดทุนราว 1,064 ล้านบาท จุดนี้ผู้บริหารกสทระบุว่าเป็นเพราะค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างองค์กรที่ สูง โดยหากพิจารณาตัวเลขรายได้ราวจะพบว่าเพิ่มขึ้นราว 3%

"ปี 50 ถือเป็นการติดตัวแดงครั้งแรก สำหรับการพิจารณารายได้ของกสทแบบไม่รวมรายได้จากสัมปทานและฮัทช์ เพราะเมื่อปี 49 ยังมีกำไรราว 500 ล้านบาท"

สำหรับปี 51 กสทคาดว่าจะทำกำไรเพิ่มขึ้นได้น้อยกว่าปี 50 วางเป้าหมายเพิ่มขึ้น 25% เป็น 9,075 ล้านบาท

WiMAX ยังไม่นิ่ง

กสทนั้นทดสอบบรอดแบนด์ไร้สาย WiMAX ที่จังหวัดเชียงใหม่มาตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ล่าสุดการทดสอบใช้อินเทอร์เน็ตบนรถทัวร์ซึ่งแล่นอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ พบว่ายังมีสัญญาณรบกวนเล็กน้อย จุดนี้ทีมทดสอบระบุว่ายังไม่ทราบแหล่งที่มาของสัญญาณรบกวน และสัญญาณมักจะเกิดในช่วงเวลาเดียวกันของทุกวัน ขณะที่การใช้งานในอาคารนั้นมีความเสถียรและรวดเร็วทันใจ

ทีมทดสอบให้ข้อมูลว่ารัศมีทำการของ WiMAX เมื่อใช้งานจริงนั้นอยู่ที่ราว 3-5 กิโลเมตรเท่านั้น ไม่ใช่ 20-30 กิโลเมตรอย่างที่สรุปได้จากการทดสอบในห้องทดลอง พบว่าปัญหาใหญ่คือตึกสูง ซึ่งมักหักเหสัญญาณทำให้ทีมงานต้องปรับแต่งการส่งสัญญาณจากสถานีฐานบ่อย ครั้ง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายบริเวณนั้นสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างราบรื่น

การทดสอบของกสททำผ่านบริการ 4 รูปแบบ หนึ่งคือไอพีโฟน หรือโซลูชันโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต สองคือโซลูชันการประชุมทางไกล สามคือโซลูชันห้องเรียนอินเทอร์เน็ต สี่คือระบบกล้องวงจรปิดผ่านอินเทอร์เน็ต พันธมิตรหลักในการทดสอบครั้งนี้ได้แก่อินเทล โมโตโรลา และ ZTE

"การทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบประสิทธิภาพ ความสามารถในการให้บริการเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการให้ไลเซนส์ งบประมาณการทดสอบของกสทคือ 5 แสนบาท คาดว่าจะส่งรายงานให้กทช.ภานในสิ้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่ใบขออนุญาตทดสอบหมดอายุ" นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานกลยุทธ์ กสท โทรคมนาคม ให้สัมภาษณ์

ผู้บริหาร ZTE ระบุว่างบประมาณการทดสอบ WiMAX ในประเทศไทยอยู่ที่ราว 13 ล้านบาท ระบุว่าส่วนที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรบุคคลไม่ใช่อุปกรณ์ ขณะที่ผู้บริหารบริษัท Planet Communication Asia จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ WiMAX ของโมโตโรลาเชื่อว่าราคาอุปกรณ์ WiMAX สำหรับผู้บริโภคทั่วไปน่าจะอยู่ในระดับไม่เกิน 5,000 บาท และค่าบริการอยู่ที่ 400-1000 บาท

ข่าว : CyberBiz
http://www.easyzonecorp.net/network/view.php?ID=547

----------------------------------------------------------------

กสท โชว์รายได้-กำไรปี ’51กระฉูด สวนทาง IDD ลดเกือบร้อยละ 30

กสท เปิดผลงานปี 2551 โชว์รายได้โตร้อยละ 12 และกำไรสุทธิโตร้อยละ 47 จากปี 2007 ทั้งนี้ หากเทียบกับเป้าตามแผน turn around plan แล้ว รายได้รวมโตมากกว่าแผนที่ตั้งไว้ร้อยละ 10 ส่วนกำไรก็โตเกินแผนร้อยละ 22
หากเปรียบเทียบรายได้ตาม Business unit แล้ว จะพบว่า มีรายได้จาก IDD ซึ่งเป็นรายได้หลักลดลงถึงร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับปี 2550 และกลุ่มสื่อสารข้อมูลที่เป็นรายได้หลักอีกอย่างก็ลดลงร้อยละ 0.5

กรรมการบอร์ดบริษัท กสท โทรคมนาคม รายหนึ่ง กล่าวกับ Telecom Journal ถึงรายงานผลดำเนินงานตลอดปีที่ผ่านมา ว่า บริษัทมีภาพรวมงบกำไรขาดทุนดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 2550 คือมีรายได้รวมโตขึ้นร้อยละ 12 หรือจาก 47,418 ล้านบาทมาเป็น 53,065 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิที่โตขึ้นร้อยละ 47 หรือจาก 7,688 มาเป็น 11,320 ล้านบาท

ทั้งนี้ในปี 2551 บริษัทมีค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2 จากปี 2550 คือจาก 18,291 มาเป็น 18,574 ล้านบาท

นอกจากนี้หากเทียบผลดำเนินงาน(รวมสัมปทาน)กับแผน turn around plan ที่กสท ดำเนินงานภายใต้แผนนี้ในปีที่ผ่านมาแล้ว พบว่ารายได้รวมที่ทำได้เกินแผนที่ตั้งไว้ร้อยละ 10 และมีกำไรสุทธิที่เกินเป้าแผนร้อยละ 22 ด้วย

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเพียงตัวเลขผลดำเนินงานที่เป็นของ กสท ไม่รวมสัมปทานจะพบว่ากสทมีรายได้รวมในปี 2551 เท่ากับ 22,268 ล้านบาท และมีกำไรก่อนหักภาษีหรือ EBIT ที่ 4,354 ล้านบาท โดยรายได้ที่กสท ทำได้นี้ถือเป็นร้อยละ 41.9 ของรายได้รวมทั้งหมดของบริษัท

ผู้บริหารกสท รายหนึ่งให้ความเห็นด้วยว่า ข้อน่าห่วงในวันนี้คือ แม้ภาพรวมใหญ่จะเห็นว่ามีรายได้รวมโตขึ้น กำไรโตขึ้นจากปีก่อน แต่หากพิจารณาลงในรายได้ของตัวเองใน business unit ที่สำคัญหรือเป็นรายได้หลักของบริษัท เทียบกับปี 2550 พบว่ารายการสำคัญปรับตัวลงมาก โดยรายได้จาก IDD business unit ลดลงร้อยละ 28 คือจาก 9,523 ล้านบาท มาอยู่ที่ 6,864 ล้านบาท และ รายได้กลุ่มสื่อสารข้อมูล หรือ data communication ลดลงร้อยละ 0.5 คือจาก 8,290 ล้านบาท มาอยู่ที่ 8,247 ล้านบาท

“รายได้จากสองรายการนี้เป็นวอลุ่มค่อนข้างมากต่อรายได้รวม ในขณะที่รายการที่ปรับเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนเงินที่เข้าบริษัทน้อยกว่ามาก”

ผู้บริหาร กสท ยังกล่าวอีกว่า รายการของ business unit ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นคือ 1. CDMA ภูมิภาค 51 จังหวัด เพิ่มขึ้นร้อยละ 150 คือจาก 264 ล้านบาท เป็น 659 ล้านบาท 2.electronics เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 คือจาก 141 ล้าน 195 ล้าน และ 3. พัฒนาสินทรัพย์ หรือ asset development unit เพิ่มร้อยละ 27 คือจาก 370 ล้าน เป็น 469 ล้านบาท

นอกจากนี้หากพิจารณารายได้รวมของแต่ละสายงานเทียบกับ turn around plan แล้วพบว่า รายได้รวมของสายงานสำคัญยังทำได้ต่ำกว่าเป้าในแผนที่วางไว้ในปี 2551 ด้วย โดยสายงานโทรศัพท์ระหว่างประเทศ หรือ IDD business division ทำได้ 6,864 ล้านบาท ต่ำกว่าแผนที่ตั้งไว้ 95 ล้านบาท , สายงานบรอดแบนด์ กลุ่มสื่อสารข้อมูล ทำได้ 8247 ล้านบาท ต่ำกว่าแผนฯ อยู่ 669 ล้านบาท , สายงาน บรอดแบนด์ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ทำได้ 195 ล้านบาท ต่ำกว่าแผน 257 ล้านบาท

ส่วนสายงานที่ทำได้เกินเป้าจากแผน turn around คือ สายงาน CDMA 51 จังหวัดซึ่งทำได้ 659 ล้านบาทมากกว่าแผนฯอยู่ 55 ล้านบาท และสายงาน CDMA ส่วนกลาง 25 จังหวัดที่เป็นกิจการร่วมทุน ทำได้ 2305 ล้านบาท มากกว่าแผนฯ 285 ล้านบาท

“ถึงตัวเลขต่างๆจะดีขึ้นพอสมควร แต่ทั้งหมดไม่เป็นสิ่งที่กสทสามารถวางใจอย่างยั่งยืนได้ โดยเฉพาะ IDD”

กสท มีแผนเตรียมจะออกบริการใหม่มาแข่งกับเอกชน โดยจะดัมพ์ราคา โทรต่างประเทศเหลือนาทีละ 50 สตางค์ ผ่านซิมการ์ดซีดีเอ็มเอ ซึ่งกสทเป็นผู้ให้บริการใน 51 จังหวัด

โปรโมชั่นนี้ เป็นการให้บริการผ่านรหัส 009 ในระบบโทรทางไกลผ่านโครงข่ายVoIP เพื่อต้องการชิงส่วนแบ่งตลาดที่สูญเสียไปกลับคืน หลังจากกทช.ออก license กับเอกชน ส่งผลให้รายได้จากค่าบริการโทร.ทางไกลต่างประเทศของกสท ลดลงอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งๆที่เดิม IDD คือรายได้กว่าร้อยละ 50 ของ กสท

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศแข่งขันรุนแรง โดยมีค่าบริการเหลือเพียงแค่ 1 บาท ยังไม่นับรวมการให้บริการผ่านบัตรโทรศัพท์ที่มีราคาต่ำสุดอยู่ที่นาทีละ 85 สต.

ข่าว : Telecom Journal

http://www.adslthailand.com/board/showthread.php?17528-กสท-โชว์รายได้-กำไรปี-’51กระฉูด-สวนทาง-IDD-ลดเกือบร้อยละ-30

--------------------------------------------------------------

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 ธันวาคม 2552

ทีโอทีอวดกำไรสุทธิงวด 10 เดือนปีนี้โต 21%ผลจากความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 1,771.7 ล้านบาท หรือ 3.2% มั่นใจ กำไรสุทธิปีนี้ทั้งปีโตจากปีก่อน ระบุปีหน้าลุ้นรายได้รวมโตตามกระแสเศรษฐกิจฟื้นตัว

ขณะที่ กสท ประกาศว่ารายได้รวมลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 2% ส่งให้ตัวเลขกำไรสุทธิลดลง 4%

นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานรอบ 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.52) ทีโอทีมีกำไรสุทธิ 6,047.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.1% หรือคิดเป็นมูลค่า 1,052.2 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิเพียง 4,995 ล้านบาท โดยสาเหตุที่ทำให้ทีโอทีมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็นเพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายเหลือ 53,021.4 ล้านบาท ลดลง 1,771.7 ล้านบาท หรือ 3.2% จากงวด 10 เดือนของปีก่อนที่มีค่าใช้จ่าย 54,793.1 ล้านบาท

รายได้รวมงวด 10 เดือนของทีโอทีปีนี้มีมูลค่า 59,068.6 ล้านบาท ลดลง 719.5 ล้านบาท หรือ 1.2% ที่มีรายได้รวมทั้งสิ้น 59,788.1 ล้านบาท

ทั้งนี้สำหรับส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาร่วมการงานงวด 10 เดือนของทีโอทีในปีนี้อยู่ที่ 17,742.4 ล้านบาท ลดลง 927 ล้านบาท หรือ 5% จากงวด 10 เดือนของปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ 18,669.4 ล้านบาท ส่วนรายได้จากการดำเนินงานของทีโอทีในงวดดังกล่าวอยู่ที่ 22,355 ล้านบาทลดลง 516.3 ล้านบาท หรือ 2.3% จากงวดเดียวกันของปี
ก่อนที่มีรายได้ 22,871.3 ล้านบาท

ทีโอทีคาดว่ากำไรสุทธิในปีนี้จะมีมูลค่าสูงกว่าปีที่ผ่านมาที่มีกำไรสุทธิ 5,600 ล้านบาท ส่วนรายได้รวมทั้งปีของทีโอทีในปีนี้จะอยู่ที่70,000 ล้านบาท

สำหรับรายได้รวมในปีหน้าทีโอทีได้ตั้งเป้าไว้ที่ 69,000 ล้านบาท แต่หากเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศสามารถฟื้นตัวได้ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์คาดว่ารายได้รวมของทีโอทีจะสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีนี้ราว 3% ส่วนในแง่กำไรสุทธิปีหน้าคาดว่าจะต่ำกว่าปีนี้เนื่องจากทีโอทีมีภาระรายจ่ายเกี่ยวกับข้อพิพาทภาษีสรรพสามิต ประมาณ 2,900 ล้านบาทที่ต้องจ่ายในปีดังกล่าว

นายวรุธกล่าวต่อว่า รายได้จากสัมปทานมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องสาเหตุจากอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ปรับตัวลดลงเรื่อยๆ ประกอบกับจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์พื้นฐานของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) และบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ยังคงลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ฉะนั้นคาดว่าปีนี้ทั้งปีทีโอทีจะมีรายได้จากสัญญาสัมปทาน 20,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีรายได้ 22,000 ล้านบาท และในปีหน้าคาดว่าทีโอทีจะมีรายได้จากสัญญาสัมปทานเพียง 18,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ดีทีโอทีได้ขยายเวลาลดการพึ่งพารายได้จากสัญญาสัมปทานออกไปเป็นปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่อายุสัญญาสัมปทานของเอไอเอสสิ้นสุด จากเดิมที่วางไว้ในปี 2555 เนื่องจากเห็นทางสภาพเศรษฐกิจส่งผลให้ทีโอทียังต้องพึ่งพารายได้จากสัญญาสัปทาน

ทั้งนี้ในปีหน้าทีโอทีวางงบประมาณสำหรับการลงทุน 8,000-9,000 ล้านบาท โดยการลงทุนส่วนใหญ่จะเน้นการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นอย่าง NGN รวมถึงอาจจะใช้ในการลงทุนเพิ่มคุณภาพโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ในกรุงเทพและปริมณฑลให้ครอบคลุมมากขึ้น

นอกจากนี้ทีโอทียังใช้งบประมาณส่วนดังกล่าวสำหรับการเพิ่มพื้นที่ให้บริการ ไฟเบอร์ทูยู จากปัจจุบันให้บริการในจังหวัดภูเก็ต ออกไปยังพื้นที่พัทยา ศรีราชา ชลบุรี สุราษฏร์ธานี และนครหลวง รวมถึงใช้ในการปรับปรุงโครงข่ายที่มีอยู่


กสทรายได้หด

นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) ว่าผลการดำเนินงานงวด 10 เดือน(ม.ค.-ต.ค. 52 ) กสท มีรายได้รวม 39,670 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 2% มีกำไรสุทธิ 7,130 ล้านบาทลดลง 4% แบ่งเป็นรายได้จากสัญญาสัมปทาน 24,455 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเนื่องจากจำนวนผู้ใช้งานมือถือเพิ่มขึ้น และส่วนแบ่งรายได้เพิ่มเป็น 25% ทุกราย

รายได้จากการดำเนินงานของกสทเองมีมูลค่ารวม 15,215 ล้านบาท สาเหตุที่รายได้ลดลงเป็นเพราะผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

http://www.sewu-cat.com/infowebboard/read.php?id=03441

---------------------------------------------------------

TOTเรียกACเพิ่ม2เท่า ทุบDTACร่วงแตะIPO
Source - ข่าวหุ้น (Th)
Tuesday, June 26, 2007 04:06
ทีโอทีออกโรงเรียกค่าแอ็คเซ็ส ชาร์จ สั่ง กสท ต้องรับผิดชอบแทน DTAC-ทรูมูฟแล้วให้ไปไล่เบี้ยกันเอาเอง ส่งเรื่องให้ "สิทธิชัย" อนุมัติ เผยสัญญาระบุถ้าเอกชนจ่ายช้ากว่ากำหนด เจอค่าปรับและดอกเบี้ยรวมแล้วเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนที่ต้องจ่ายจริงชี้ 7 เดือนสูญไปแล้ว 6 พันล้านบาท กสท วิ่งแจ้นปรึกษาคลัง ไม่มีเงินจ่ายให้ก่อน ด้านราคาหุ้นร่วงเกือบชน IPO ปิดที่ 40.50 บาท โบรกฯ ระบุเป็นปัจจัยกดดันทางจิตวิทยา

พันเอกนที ศุกลรัตน์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)แถลงข่าวชี้แจงกรณีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (แอ็คเซ็ส ชาร์จ) หรือ เอซีว่า คณะทำงานพิจารณาแนวทางการดำเนินงานร่วมกันกรณีค่าเอซีที่มีผู้แทนจากทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้มีมติให้ กสท ในฐานะคู่สัญญาโดยตรงกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC และบริษัท ทรูมูฟจำกัด เป็นผู้รับหน้าที่จ่ายค่าเอซีให้ทีโอที ตามมูลค่าที่ DTAC และทรูมูฟ ได้ประกาศหยุดจ่ายค่าเอซี ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ย.2549
โดยกระบวนการต่อจากนี้ กสท จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเรียกค่าเอซีคืนจาก DTACและทรูมูฟอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากคณะกรรมการเห็นร่วมกันว่า ตามสัญญาที่กระทำร่วมกัน 3ฝ่ายระบุชัดเจนว่า หาก DTAC ไม่ยอมชำระค่าเอซี จนเป็นเหตุให้ กสท ต้องจ่ายให้ทีโอทีดีแทคยินยอมจะจ่ายค่าเอซีให้ กสท เป็น 2 เท่าจากจำนวนที่ กสท จ่ายแทนไปก่อน รวมดอกเบี้ย โดยมติดังกล่าวนี้ คณะกรรมการได้ส่งให้ นาย สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อลงนามเห็นชอบตามมติดังกล่าวแล้ว
"ต้องรอว่าท่าน รมว.ไอซีที จะลงนามกลับมาเมื่อไร ผมก็ส่งเรื่องนี้ไปเมื่อ 1สัปดาห์ที่แล้ว โดย กสท จะจ่ายค่าเอซีให้กับทีโอที และ กสท จะไปไล่บี้เอากับเอกชนอีกครั้ง ซึ่งคณะกรรมการที่มีตัวแทนจาก กสท ก็ลงนามเห็นชอบกับแผนดำเนินงานดังกล่าวแล้ว" พันเอกนที กล่าว
ทั้งนี้คณะกรรมการร่วมทีโอที กสทฯ ประกอบด้วย นาย วีรพล ปานะบุตร นางสาวสุภา ปิยะจิตติ พันเอก นที ศุกลรัตน์ นายสมควร บรูมินเหนทร์ และนางศริญญา ไชยประเสริฐ ฝ่าย กสท ประกอบด้วยนาย ไกรสร บารมีอวยชัย นายเสกสรร รอยลาภเจริญพรนายศุภชัย จงศิริ และนายพิศาล จอโภชาอุดม
แหล่งข่าวจาก กสท กล่าวว่า มติจากคณะกรรมการร่วม กสท จะนำเข้าพิจารณาในวันที่ 5 ก.ค. นี้ เนื่องจากค่าเอซีที่กสท ต้องจ่ายแทนนั้น มีจำนวนมากคาดว่าประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ กสท ไม่มีเงินมากพอที่จะจ่าย ดังนั้นจะต้องนำเรื่องเข้ากระทรวงคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ว่าจะต้องดำเนินงานอย่างไรต่อไป
นอกจากนี้ พันเอกนที กล่าวถึงที่มาของค่าเอซีว่า DTAC และทรูมูฟ เป็นผู้รับสัมปทานกสท ทำให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงแรกต้องมาขอใช้เลขหมายโทรศัพท์พื้นฐาน รหัสท้องถิ่นของทีโอที อาทิ รหัสทางไกล 053 จากเชียงใหม่ ซึ่งต่างจากเอไอเอส ที่ใช้ระบบ01 เพราะเป็นผู้รับสัมปทานของทีโอที ทำให้ผู้ใช้ระบบ DTAC ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งโทรออกและรับสาย โดยรับสายเสียค่าบริการ 2 บาท/นาที และโทรออกนาทีละ 3 บาท
ดังนั้นกระทรวงคมนาคม ซึ่งกำกับดูแลในสมัยนั้น จึงต้องการให้ปรับเป็นระบบเดียวกันซึ่งต้องมีการคิดค่าเอซี โดยในสัญญาที่ทำร่วมกัน 3 ฝ่ายระบุว่าเป็นการชดเชยรายได้จากการปรับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้เป็นระบบ เดียวกัน ซึ่งยืนยันว่าค่าเอซีไม่มีความเกี่ยวข้องกับ ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย หรืออินเตอร์คอนเน็กชั่น ชาร์จ (ไอซี) แต่อย่างใด อีกทั้งค่าไอซีไม่สามารถนำมาใช้แทนค่าเอซีได้ ตามที่เอกชนกล่าวอ้าง
"ผมไม่รู้ว่าเอกชนจะเบี่ยงเบนประเด็นโยงค่าเอซีมาเป็นค่าไอซีเพื่ออะไร เพราะตอนที่ทำสัญญาร่วมกันทุกฝ่ายก็เข้าใจตรงกันทั้งหมด เรื่องทั้งหมดมันเกิดขึ้นเพราะคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กทช. ประกาศใช้ค่าไอซี โดยทีโอทีเห็นว่า กทช. ทำเกินอำนาจ จึงมีแนวคิดว่าจะเดินหน้าฟ้องร้องเพื่อเพิกถอนประกาศค่าไอซี ของ กทช. เพราะเห็นว่าขัดต่อพ.รบ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่จนกลายเป็นที่มาของปัญหาทั้งหมด" พันเอกนที กล่าว
ด้านนางวัชรี ทัพเจริญ รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน ทีโอทีกล่าวว่า ทีโอทีมีรายได้จากค่าเอซีปี 2549 อยู่ 14,600 ล้านบาท แบ่งเป็นจาก DTAC 9,400 ล้านบาท ทรูมูฟ 3,800 ล้านบาท บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) 400 ล้านบาทและจาก กสทฯ 900 ล้านบาท โดยค่าเอซีคิดเป็น 24% ของรายได้ทั้งปีที่มีถึง 60,000ล้านบาท ซึ่งดีพีซี และ กสท ไม่มีปัญหาการจ่ายค่าเอซี โดยไตรมาส 1/2550 ดีพีซีและกสทนำส่งแล้วค่าเอซี รวมกันแล้ว 497 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (25 มิ.ย.) หุ้น DTAC ปรับตัวลดลงใกล้แตะราคา IPOโดยปิดที่ 40.50 บาท ลดลง 1.25 บาท หรือ 2.99% มูลค่าซื้อขาย 483.22 ล้านบาทขณะที่หุ้น DTAC ในตลาดสิงคโปร์ (SGX) ลดลงเช่นกัน โดยปิดที่ 1.28 เหรียญสหรัฐ ลดลง0.02 เหรียญสหรัฐ หรือ 1.53% โดยระหว่างวันราคาลงไปถึง 1.24 เหรียญสหรัฐ
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ทิศทางจากทีโอทีถือเป็นปัจจัยกดดันทางจิตวิทยาต่อหุ้น DTAC อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าเรื่องดังกล่าวจะได้ข้อยุติที่ศาล และDTAC มีโอกาสสูงที่จะชนะคดี ดังนั้นปัจจัยพื้นฐานของบริษัทน่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลง แนะนำ"เต็มมูลค่า" ให้ราคาเหมาะสมปีนี้ที่ 40 บาท
นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์ DTACกล่าวถึงกรณีทีโอทีได้มอบหมายให้ กสท เป็นผู้ฟ้องร้อง DTAC ที่หยุดจ่ายค่าเอซี ตั้งแต่เดือนพ.ย. 2549 ว่า เรื่องดังกล่าวใครจะฟ้องร้อง DTAC ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง และหากเรื่องนี้จบเร็วที่สุดจะเป็นเรื่องดีต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม
อย่างไรก็ตามตนมองว่าการที่ทีโอทีมอบให้ กสท เป็นผู้ดำเนินการฟ้องร้องอาจจะทำให้เรื่องล่าช้าไปอีก เนื่องจากสัญญาแอ็คเซส ชาร์จเป็น สัญญาระหว่างทีโอทีและ DTAC ไม่เกี่ยวข้องกับ กสท
ด้านนายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DTAC กล่าวว่า นับตั้งแต่คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (กวพ.) ได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ กทช. มีคำสั่งให้ทีโอทีเข้าทำการเจรจาทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับ DTAC ภายใน 7 วัน ถึงวันพุธที่ 27 มิ.ย.เป็นวันสุดท้าย DTAC ยังไม่ได้รับการติดต่อจากทีโอทีเพื่อขอเจรจาเลย
นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เวอร์วิสหรือ เอไอเอส กล่าวว่า อยากให้เรื่องดังกล่าวออกมาชัดเจนที่สุด เพราะขณะนี้บริษัทมีความต้องการใช้ค่าไอซี ตามประกาศของ กทช. เรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย แต่เรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจน โดยถ้าหากเรื่องยังยืดเยื้อเช่นนี้อยู่บริษัทคงต้องฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอใช้ไอซี--จบ--

http://www.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=3754&Itemid=73

-----------------------------------------------------------------------------

ด่วน!! กสท วิกฤตหนัก 2 เดือนแรกกำไรดิ่ง 22% พึ่งสัมปทานเพิ่มถึง 63% ผลงานตัวเองขาดทุน 135 ลบ.
ศุกร์, 27 มีนาคม 2009
กสท กำลังเดินเข้าสู่หายนะแล้ว ท่ามกลางความขัดแย้งที่ตลบอบอวล และการเมืองที่กลไกบกพร่องหนัก ด้วยตัวเลขผลดำเนินงานที่ฟ้องอาการว่าหนักหนาสาหัสที่สุด โดยแค่ 2 เดือนแรกปีนี้กำไรสุทธิลดลง 22% จากงวดเดียวกันปีก่อน และหากไม่รวมสัมปทานและสัญญาการตลาดHutch แล้วจะขาดทุนถึง 135 ล้านบาท ขณะที่รายได้หลักของตัวเองจากโทรต่างประเทศหรือ IDD ก็ลดลงถึง 21% จนสัดส่วนรายได้รวมที่พึ่งพาสัมปทานปัจจุบันเป็นสัดส่วนถึง 63%

ผู้ บริหารระดับสูงของ กสท เปิดเผยว่า ตัวเลขผลดำเนินงานในสองเดือนแรกของปีนี้ออกมาแล้ว กำลังจะนำเสนอในการประชุมบอร์ดตามปกติ และทำให้เห็นถึงความน่าห่วงเป็นอย่างมากในองค์กร

เพราะ รายได้จากการดำเนินงานของ กสท ยังทยอยตกต่ำลงต่อเนื่อง และแม้ปัจจุบันจะพึ่งพารายได้ที่มาจากสัมปทานถึง 63% แล้ว แต่ก็ยังมีผลดำเนินงานรวมลดลง โดยกำไรสุทธิในสองเดือนแรกเท่ากับ 1,259 ล้านบาท ลดลง22% จากงวดสองเดือนแรกปีที่ผ่านมา ที่ทำได้ 1,619 ล้านบาท

โดย เปรียบเทียบนภาพรวมแล้วพบว่า สองเดือนแรกปีนี้ มีรายได้รวม 7,977 ล้านบาทลดลง 2% ค่าใช้จ่ายรวม 6,185 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 6% กำไรสุทธิลดลง 22%

อย่าง ไรก็ตาม หากแยกส่วนรายได้ที่มาจากสัมปทานทั้ง DTAC,True Move และแยกรายได้จาก HUTCH กิจการมือถือที่ กสท ถือหุ้น แต่เอกชนทำการตลาดในภาคกลางทั้งหมดออกไปด้วยแล้ว จะพบความจริงว่า กสท มีรายได้ 2,724 ล้านบาท ค่าใช้จ่ารวม 2,050 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิในสองเดือนแรกถึง 135 ล้านบาททีเดียว

ผู้ บริหาร กสท กล่าวถึงรายได้ของ กสท ที่ดำเนินการเองว่า ตามสายงาน business unit ของโทรต่างประเทศ ทำรายได้ในสองเดือนแรกอยู่ที่ 1,010 ล้านบาทลดลง21% และสายสื่อสารข้อมูลหรือ data communication ทำได้ 1,179 ล้านบาทลดลง 6%

นอก จากนี้คือ CDMA ใน 51 จังหวัดของ กสท เองทำรายได้ 130 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 65% และธุรกิจอีเล็กทรอนิกส์ มีรายได้ 38 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 17% และ พัฒนาสินทรัพย์ มีรายได้ 71 ล้านบาทลดลง 1%

“จะ เห็นได้ว่ารายได้ที่ กสท หาได้เอง โดยไม่พึ่งสัมปทาน หรือพึ่ง HUTCH แล้ว ธุรกิจหลักลดลงค่อนข้างมากทั้งหมดทั้ง โทรต่างประเทศและสื่อสารข้อมูล”

เขา กล่าวด้วยว่า รายงานงบสองเดือนระบุด้วยว่า ภาพรวมของ กสท ในปัจจุบันพึ่งพารายได้จากสัมปทานมากถึง 63% ของรายได้รวมที่เหลือคือ มาจาก ธุรกิจ สื่อสารข้อมูล 15% และจากโทรต่างประเทศ 13% และจาก HUTCH 5% และรายได้อื่น 2%

นอกจาก นี้หากเทียบผลดำเนินงานกับแผน turn around plan แล้ว จะพบว่าหากรวมสัมปทานแล้ว กสทจะมีรายได้รวมในสองเดือนที่ผ่านมาเป็น 15% ของแผน และมีกำไรสุทธิเป็น 14% ของแผน

แต่หากไม่รวมสัมปทานแล้วพบว่า กสท มีรายได้รวมในสองเดือนแรกปีนี้เป็น 14%ของแผน และทำกำไรสุทธิได้ติดลบถึง 19% จากเป้าที่วางไว้ในแผน
ใน อีกด้านหนึ่ง ปัญหาของ กสท ในวันนี้คือขาดเอกภาพในบอร์ด และมาจากตัวแทนที่มีการเมืองสนับสนุนต่างสายกัน และยังอยู่ระหว่างการสรรหา กรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะสามารถสรุปได้เสร็จเมื่อใด

ก่อน หน้านี้ ร.ต.ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ได้ กล่าวกับ สมาชิกสหภาพแรงงาน กสท ในวันที่สหภาพทั้งทีโอทีและกสท นำคนมาปิดล้อมเพื่อยื่นหนังสือขอให้ดำเนินการเปลี่ยนตัว รักษาการกจญ. นิธิศ มงคลพัฒนกุล และแก้ปัญหาเปลี่ยนบอร์ดทั้งหมดด้วย

โดย รมว.ไอซีที กล่าวว่า เขาได้ให้กรรมการบอร์ดเสนอเปลี่ยนตัว รักษาการกจญ. เพราะ ทำหน้าที่ถึง 3 อย่างคือ เป็นกรรมการบอร์ด เป็นประธานบอร์ดบริหารและเป็นรักษาการ กจญ.

ส่วนการเปลี่ยนบอร์ดทั้งคณะต้องรอการประชุมผู้ถือหุ้น โดยกระทรวงการคลังในเดือน เมษายน ก่อน จึงจะสามารถดำเนินการได้

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า นิธิศ ยังทำหน้าที่รักษาการกจญ.อยู่ ขณะที่ฝ่ายการเมืองพยายามดึงเกมการสรรหากจญ.คนใหม่ออกไป พร้อมกับเปลี่ยนบอร์ดในฟากที่สามารถทำงานประสานงานการเมืองได้อย่างราบรื่น กว่า และจึงตั้งกจญ.คนใหม่มาทำหน้าที่เป็นตัวประสานอีกทอดหนึ่ง

ส่วน ในผลดำเนินงานของกสท ในปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานบอร์ดกสท กล่าวว่า กสท ยังคงมีกำไรต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายในช่วงที่กสท มีคู่แข่งด้านบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ทำให้รายได้จากธุรกิจหลักของกสท ลดลง

ทั้ง นี้ ปีที่ผ่านมา กสท มีรายได้รวม 48,561.93 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการดำเนินงานของกสท เอง 17,612.98 ล้านบาท รายได้จาก บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย หรือ ฮัทช์ ผู้ทำการตลาดระบบซีดีเอ็มเอ 25 จังหวัด 2,293.60 ล้านบาท รายได้จากสัมปทานของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค และ บริษัท ทรูมูฟ 28,655.35 ล้านบาท

ขณะ ที่รายจ่ายของ กสท ประกอบด้วย รายง่ายงบทำการ เช่น ค่าตอบแทนแรงงาน สวัสดิการ ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี รวม 18,769.37 ล้านบาท รายจ่ายจากฮัทช์ 1,356 ล้านบาท รายจ่ายจากสัมปทาน 17,613.60 ล้านบาท รวมรายจ่ายทั้งหมด 37,738.97 ล้านบาท

แหล่งข่าว กล่าวว่า กสท มีโครงการขนาดใหญ่ ที่ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายการเมืองต้องดำเนินการและตัดสินใจประกอบด้วย

1.โครงการสร้างระบบเชื่อมโยงเคเบิลใต้น้ำชุมสายที่บางรัก ศรีราชาและนนทบุรี งบประมาณ 600 ล้านบาท
2.โครงการระบบ NGN งบประมาณ 500 ล้านบาท
3.โครงการระบบสื่อสารไร้สายเพื่อให้บริการในพื้นที่ห่างไกล (USO) งบประมาณ 281 ล้านบาท
4.โครงการโทรศัพท์สาธารณะระบบ CDMA งบประมาณ 430 ล้านบาท
5.โครงการ Upgradeและขยายระบบ CDMA outdoor งบประมาณ 817 ล้านบาท
6.โครงการระบบ ERP หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบัญชี งบประมาณและระบบบริหารทรัพยากรบุคคล งบประมาณ 345 ล้านบาท
7.โครงการระบบ Real Time Charging หรือการคิดค่าบริการแบบเรียลไทม์ งบประมาณ 300 ล้านบาท
8.โครงการจัดซื้อ DSLAM หรืออุปกรณ์ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต งบประมาณ 314 ล้านบาท
9.โครงการเทคโนโลยี GEPON และ GPON งบประมาณ 228 ล้านบาท
10.โครงการ Access Switch งบประมาณ 120 ล้านบาท

http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=1810&Itemid=48

------------------------------------------------------
FfF