http://www.moj.go.th/th/cms/detail.php?id=11355
-------------------------------------------------------------------
258 ล้าน...เช็คจนเปื่อย
วันศุกร์ที่ 8 January พ.ศ.2553 18:00 น. 14
ต้องบอกว่ามัน “นิ่ง” ยิ่งกว่ารถติดสี่แยกไฟแดงรัชดาภิเษก แห่งเมืองกรุงฯ เสียอีก...สำหรับคดีเงินๆ ทองๆที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)ก่อนที่ “คดี” จะได้รับการ “เขย่า” หาข้อเท็จจริง..บางกอกทูเดย์ขอปัดฝุ่น “คดี”รื้อฟื้นความทรงจำกันสักหน่อย....ข้อกล่าวหาที่ตั้งไว้จนหยากไย่เกาะ สรุปได้ว่า ปชป.สมัย นาย
บัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค ปี 2547 – 2548 ได้รับเงินบริจาคจาก บริษัท เมซไซอะบิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด จำนวน 258 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวบริษัท เมซไซอะฯ ได้รับมาจากบริษัททีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) ของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อีกทอดหนึ่งแต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ได้แจ้งว่าเคยรับเงินบริจาคดังกล่าวใน รายงานงบการเงินประจำปีของพรรคที่เสนอ กกต.ในปี 2548ซึ่งหากเป็นจริง เท่ากับว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้กระทำผิด พ.ร.บ.
พรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 41 และมาตรา 53(3) ต้องถูกลงโทษตามมาตรา 89 และ 66(4) คือ เพิกถอนสิทธิ์การเมือง 5 ปี และถูกยุบพรรคคดีดังกล่าว กกต. ได้รับเรื่องไว้และทำการสอบสวนส่วนตัดสินยังขยับออกไปอย่างไม่มีกำหนดที่แน่ นอน เพราะพยานหลักฐานยังไม่ครบถ้วน...31 สิงหาคม 2551 นายสุนัยจุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พปช. เป็นผู้เปิดประเด็นเรื่องเงินบริจาค 258 ล้านบาท น.ส.สุพัชรี ในฐานะที่ถูกพาดพิงได้ร้องขอให้ นายชัย ชิดชอบ ประธาน
รัฐสภาตรวจสอบข้อเท็จจริง ต่อมาเรื่องก็เงียบหายไปนานพอสมควร เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาล จากรัฐบาล สมัคร สุนทรเวชมาเป็นรัฐบาล สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และสุดท้ายเป็นรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ27 ธันวาคม 2551 มีการเปิดประเด็นนี้อีกครั้งบนเวทีกลุ่ม นปช. โดย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่ม นปช. ขู่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ว่าจะเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ในวันที่ 29 ธันวาคม แต่วันที่ 29 ธันวาคม นปช.ย้ายสถานที่แถลงนโยบายจากรัฐสภา ไปที่กระทรวงการต่าง
ประเทศแทน ทำให้ไม่มีการอภิปรายและแฉข้อมูลตามที่พรรคเพื่อไทยขู่เอาไว้10 กุมภาพันธ์ 2552 ฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล แต่ในพรรคเพื่อไทยยังลังเล แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน ได้อาศัยตำแหน่งประธาน ส.ส.ของพรรค เสนอประเด็นเงินบริจาค 258 เข้าที่ประชุมพรรคในที่สุด12 กุมภาพันธ์ 2552 นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารทีพีไอโพลีน ยอมรับว่า เคยบริจาคเงิน 258 ล้านบาทให้พรรคประชาธิปัตย์จริง แต่ นายบัญญัติ
บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2548 กลับปฏิเสธว่าไม่เคยได้รับเงินบริจาคดังกล่าว13 กุมภาพันธ์ 2552 นายประชัย ปฏิเสธว่าไม่เคยให้สัมภาษณ์อย่างนั้น แต่ก็ยอมรับว่ามีการใช้เงิน 258 ล้านบาทนั้นใช้เพื่อโฆษณาให้กับบริษัทจริงน.ส.สุพัชรี ยืนยันว่าได้ลาออกจากบริษัทเมซไซอะฯ ตั้งแต่ปี 254414 กุมภาพันธ์ 2552 น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ส.ส.สัดส่วน และ นายสรวุฒิเนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี โฆษก
และรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวว่าข้อมูลนี้รั่วออกมาหลังจากมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงยศ “พ.ต.ท.อ” ของดีเอสไอ2 คน ไปพบ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โรงแรมเอสซีปาร์ค15 กุมภาพันธ์ 2552 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ปฏิเสธว่าไม่ได้ไปพบนายสมชาย แต่ พ.ต.อ.ทวี ก็ได้แต่งตั้งคณะสอบสวนขึ้นมา 2 ชุดเพื่อติดตามเส้นทางเงิน17 กุมภาพันธ์ 2552 นายนิพนธ์บุญญามณี ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์บอก
ว่า เป็นเพียงการจับแพะชนแกะของ ร.ต.อ.เฉลิม เท่านั้น17 มีนาคม 2552 ดีเอสไอ ส่งข้อมูลกรณีเงินบริจาค 258 ล้านบาท และข้อมูลการใช้เงินกองทุนพัฒนาการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 23 ล้านบาท ที่ถูกร้องเรียนว่าพรรคได้ใช้เงินดังกล่าวผิดวัตถุประสงค์ ให้แก่ กกต.19 มีนาคม 2552 ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจวันแรก ร.ต.อ.เฉลิม เป็นผู้อภิปรายประเด็นเงินบริจาค ซึ่งร.ต.อ.เฉลิม ได้กล่าวหาว่า นายกฯ อภิสิทธิ์ก็มีส่วนรับรู้ในเรื่องนี้ด้วย25 มีนาคม
2552 ดีเอสไอ ได้มาร่วมเปิดกล่องเอกสารกรณีเงินบริจาค 258 ล้านบาท กับเจ้าหน้าที่ กกต.เพราะ กกต.เคยอ้างว่า กกต.จะไม่เปิดกล่องเอกสารที่ดีเอสไอส่งมาให้ เพราะเกรงว่าจะคลาดเคลื่อน และหาก กกต.ไม่ร่วมเปิดกล่องเอกสารก็จะส่งให้ตำรวจหลังเปิดกล่องเอกสารแล้วพบว่า เอกสารอยู่ครบ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ยอมรับกับนักข่าวว่า ข้อมูลที่ ร.ต.อ.เฉลิม นำไปอภิปรายเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ดีเอสไอมีอยู่25
กรกฎาคม 2552 นายประจวบ สังข์ขาว อดีตผู้บริหารบริษัท เมซไซอะฯ ในรายงานข่าวบอกว่าเป็นการเข้าให้ปากคำอีกครั้ง จากปากคำนายประจวบสรุปใจความสำคัญได้ว่า บริษัท ทีพีไอโพลีนว่าจ้างให้บริษัม เมซไซอะฯ ให้จัดทำสื่อโฆษณาและที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ 8 โครงการ จำนวน 9 สัญญาจริงแต่มิได้มีการทำธุรกรรมจริงตามสัญญาว่าจ้าง “เช็คทุกฉบับที่สั่งจ่ายบริษัท เมซไซอะฯ ผมจะเป็นผู้เบิก ถอน โอนเงินออกไปให้แก่กลุ่มบุคคลต่างๆ ตามที่แกนนำ ปชป.
กำหนด ซึ่งเงินส่วนใหญ่ไม่ได้นำมาใช้ในการดำเนินการตามสัญญาว่าจ้าง มีเพียงนำไปทำป้ายบิลบอร์ดบางส่วนเท่านั้น” นายประจวบกล่าวอ้างในคำให้การ14 สิงหาคม 2552 มีข่าวปล่อยออกมาจาก กกต.ว่า คณะอนุกรรมการ มีมติ 3 : 2 ให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิด ในกรณีเงินบริจาค 258 ล้านบาทการตรวจสอบเส้นทางการเงินยัง “ครึ่งๆ กลาง”เอกสารเปื่อยคามือ!!!หากไม่ขาดออกเป็น 3 ส่วน คงได้ข้อสรุป.....
http://www.bangkok-today.com/node/3872
-------------------------------------------------------------------
กมธ.วุฒิสภาเชิญ ประธาน กกต. แจงเลือกปฏิบัติคดีเงินบริจาคปชป. 258 ล้าน
Sun, 2010-02-07 02:35
ประธาน กมธ. กิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ ตั้งข้อสังเกตประธาน กกต. มีพฤติกรรมเลือกปฏิบัติคดีเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ 258 ล้าน อาจเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ส่งหนังสือเชิญแจงข้อเท็จจริง ขู่หากไม่มาชี้แจงถือว่าเข้าข่ายขัด รธน. มาตรา 135
เว็บไซต์คมชัดลึกรายงานเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ว่า นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบ ประมาณ กล่าวถึงกรณีที่นายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ไม่ยอมมาชี้แจงหลังจากที่คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรฯได้ส่งหนังสือเชิญมาชี้ แจงรอบที่ 3 ว่า กมธ.กิจการฯได้รับเรื่องร้องเรียนว่านายทะเบียนพรรคการเมืองปฏิบัติหน้าไม่ ชอบด้วยกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มีการเลือกปฏิบัติในการพิจารณาคดีการบริจาคเงินจำนวน 258 ล้านบาท ให้พรรคประชาธิปัตย์ จึงได้เชิญนายทะเบียนพรรคการเมือง และเลขาฯกกต. มาชี้แจงเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าในการพิจารณาคดีดังกล่าว แต่ปรากฎว่ามีเพียงฝ่ายเลขาฯที่ส่งตัวแทนมาชี้แจงแต่นายทะเบียนฯไม่ได้ให้ ความร่วมมือและไม่มีการส่งตัวแทนมาชี้แจงแต่อย่างใด กมธ.กิจการฯจึงได้ทำหนังสือเชิญมาอีกครั้งเป็นครั้งที่ 4 เพื่อต้องการให้มาชี้แจงเนื่องจากขณะนี้มีเพียงข้อมูลฝ่ายผู้กล่าวหาเท่า นั้น หากยังไม่มาชี้แจงคาดว่าคณะกรรมาธิการกิจการฯจะสามารถสรุปผลการตรวจสอบได้ เร็วๆนี้ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการฯยังต้องการเปิดโอกาสให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมาชี้ แจงข้อกล่าวหาดังกล่าว
นายจิตติพจน์ กล่าวอีกว่า ตนต้องการให้เกิดความกระจ่างต่อสังคม เพราะเป็นที่น่าสงสัยและเคลือบแคลงใจถึงการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนพรรค การเมือง ว่าอาจมีการช่วยเหลือพรรคการเมืองดังกล่าวหรือไม่ อีกทั้งต้องการสอบถามว่าการพิจารณายุบพรรคการเมืองแต่ละพรรคมีความแตกต่าง กันอย่างไร นอกจากนี้คดีดังกล่าวมีการร้องเรียนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 แต่ปรากฏว่ายังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด
นายจิตติพจน์ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้มีความน่าสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองคนดัง กล่าว เพราะก่อนหน้านี้กกต.ได้มีการพิจารณาลงมติแต่เสียงแตกความเห็นมีเพียงนายอภิ ชาติ เห็นว่าควรยกฟ้องคดีดังกล่าวแต่เกิดการโต้แย้งจึงไม่สามารถสรุปได้ที่ประชุม จึงโยนให้เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองซึ่งเป็นนายอภิชาติ แต่สุดท้ายกลับมีการเลื่อนการพิจารณาออกไปโดยอ้างว่าต้องศึกษาหลักฐานให้ ละเอียดเพราะยังไม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริงขอพิจารณาหลักฐานใหม่ การกล่าวเช่นนี้ เห็นได้ว่านายอภิชาติปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง เพราะก่อนมีการลงมติใดๆหมายความว่าจะต้องมีการศึกษาข้อมูลหลักฐานจนเพียงพอ ที่จะสามารถตัดสินได้ว่าควรยกฟ้องหรือไม่ อีกทั้งคดีต้องมีมูลถึงได้มีการตั้งกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงแต่การให้ สัมภาษณ์ของนายอภิชาติขัดแย้งกับข้อเท็จจริง จึงต้องการให้มาชี้แจง
“หากนายอภิชาติไม่มาชี้แจงถือว่าเข้าข่ายขัดมาตรา 135 แห่งรัฐธรรมนูญที่ได้ให้อำนาจคณะกรรมาธิการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระ ซึ่งอาจนำไปสู่การพิจารณาถอดถอนต่อไป เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาของกกต.ว่าจะยุบหรือไม่ยุบแต่คณะกรรมาธิการ พิจารณาในส่วนของการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งเป็นคนละเรื่อง คาดว่าหากไม่มาชี้แจงเราก็ต้องสรุปสำนวนตามที่ข้อมูลหลักฐานที่มีเพื่อ รายงานต่อที่ประชุมใหญ่อีกครั้งว่าเห็นควรมีความผิดจนนำไปสู่การถอดถอนหรือ ไม่” นายจิตติพจน์ กล่าว
ที่มา: http://www.komchadluek.net
http://www.prachatai.com/journal/2010/02/27629
-------------------------------------------------------------------
'สุเทพ'ฟันธงปชป.ไม่ถูกยุบปมเงินบริจาค258ล้านชี้ผิดเฉพาะบุคคล
'เทพเทือก'ชี้คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทเป็นความผิดเฉพาะบุคคล มั่นใจไม่ส่งผลให้ประชาธิปัตย์ถูกยุบพรรคแน่นอน ลั่นไม่กลัวแม่'ศิวรักษ์'เตรียมฟ้องกรณีกล่าวหาจัดฉาก
หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)มีมติด้วยเสียงข้างมาก ให้เป็นดุลพินิจของนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาส่งหรือไม่ส่งคำร้องนี้ไปยังอัยการ สูงสุด (อสส.) เพื่อส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญต่อไปเกี่ยวกับคดีเงินบริจาคของพรรคประชา ธิปัตย์ 258 ล้านนั้น
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) มั่นใจกรณีที่มีผู้ร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบเรื่องการรับเงินบริจาคเข้าพรรค ปชป.จำนวน 258 ล้านบาท และการใช้เงินจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์นั้น จะไม่นำไปสู่การพิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากเป็นเรื่องความผิดส่วนบุคคล
"สำหรับตัวผมเองกรณีนี้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรที่เกี่ยวข้องกับพรรค มันเป็นเรื่องส่วนบุคคล" นายสุเทพ กล่าว
ส่วนกรณีที่ นงสิมารักษ์ ณ นครพนม มารดานายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรไทย ที่ได้รับอิสรภาพจากกัมพูชา เตรียมฟ้องนายสุเทพ และกระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่าที่ผ่านมาไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์ มารดานายศิวรักษ์ ให้เสียหาย ส่วนจะมีพรรคการเมืองอื่นอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ก็ต้องอดทน
ที่มา: http://www.prachatouch.co.th/web/news_detail.asp?id=7677
http://www.prachataiwebboard.com/webboard/id/10192-------------------------------------------------------------------
โรคเลื่อนกำเริบอีก!กกต.อ้างสำนวนไม่ครบยื้อเชือดเงินบริจาคปชป
เจอโรคเลื่อนอีก!กกต.เผยยังไม่พร้อมลงมติคดีเงิน บริจาคปชป. 258 ล้านบาทวันนี้ อ้างยังได้ข้อมูลจากดีเอสไอไม่ครบถ้วน แก้ตัวน้ำขุ่นไม่ได้เป็นการยื้อเวลา แต่ต้องการให้เกิดความรอบคอบ |
ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่า ส่วนตัวยังไม่พร้อมที่จะลงมติคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท ของพรรคประชาธิปัตย์วันนี้ เนื่องจากยังได้รับเอกสารหลักฐานจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ไม่ครบถ้วน อีกทั้ง กกต. 3 คนเพิ่งกลับจากต่างประเทศ หากเร่งพิจารณาเกรงว่าจะถูกครหาได้ หากการพิจารณาไม่เป็นที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตามถ้าที่ประชุมเห็นว่าควรจะลงมติในวันนี้ ก็ไม่ขัดข้อง โดยยืนยันว่าไม่ได้ยื้อเวลาให้ล่าช้า แต่ต้องการให้เกิดความรอบคอบ
ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า การพิจารณาคดีเงินบริจาคได้ถูกบรรจุไว้ในวาระที่ 2 ของการพิจารณาวันนี้ ซึ่งจะสามารถลงมติได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับมติที่ประชุม ทั้งนี้แม้ว่า กกต.จะเลื่อนการพิจารณามาแล้ว 3 ครั้ง และได้ใช้เวลาในการสอบสวน 7-8 เดือน สอบพยานไปแล้วกว่า 50 ปาก แต่เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับประเด็นการเมือง จึงต้องการพิจารณาให้เกิดความรอบคอบและเป็นกลางที่สุดไม่ใช่เป็นการยื้อเวลา อย่างที่มีการกล่าวหา
http://talk.mthai.com/topic/88398
-------------------------------------------------------------------
กกต.นัดลงมติเงินบริจาค ปชป.258 ล้านบาท พรุ่งนี้ | |||
|
http://www.voicetv.co.th/content/4985 |
ณัฐวุฒิ แฉเอกชนโอนเงิน300ล้านให้ปชป.ไปหนุนพธม.
“ณัฐวุฒิ” ปูดบริษัทเอกชนโอนเงิน 300 ล้านให้ ปชป.นำไปหนุนพันธมิตรฯ ชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่ผ่านมา
(27ธ.ค.) นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หนึ่งในผู้ดำเนินรายการความจริงวันนี้ กล่าวว่า มีเงินนอกระบบเข้าสู่พรรคประชาธิปัตย์เกือบ 300 ล้านบาท โดยบริษัททีพีไอจ่ายเงิน 250ล้านบาทให้บริษัทแมสไซอะ ซึ่งแต่ละปีมีเงินหมุนเวียนไม่เกิน 3-5 ล้านบาท เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงปี 2547-2548 มีการโอนเงินให้บริษัทดังกล่าวครั้งละ1.8-1.9 ล้านบาท เพื่อหวังหลบเลี่ยงการตรวจสอบจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) โดยเงินจากบริษัทแมสไซอะเข้าบัญชีคนหนึ่งและคนดังกล่าวได้ถอนเงินออกมาไปให้ พรรคการเมืองพรรคหนึ่ง
ทั้งนี้ กรรมการผู้ก่อตั้งบริษัทแมสไซอะมี7คนแต่มี2คนที่น่าสนใจ คือ นส.สุพัชรี ธรรมเพชร ส.ส.พัทลุง และนายไทกร พลสุวรรณ แกนนำอีสานกู้ชาติ นายไทกรเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และมีความใกล้ชิดกับนายสุเทพ นอกจากนี้บริษัทแมสไซอะ ยังได้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมของหลายบริษัทซึ่งตนมีรายชื่อของบริษัทที่ว่าด้วย
“ขอตั้งคำถามไปยังพรรคประชาธิปัตย์ คุณธรรมจริยธรรมทางการเมืองที่เคยสั่งสมมา และที่เคยกล่าวหาผู้อื่นว่าเล่นการเมืองไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์ อยากถามพรรคประชาธิปัตย์ว่าแล้วสิ่งนี้หมายถึงอะไร อยากถามไปยังนายอภิสิทธิ์ด้วยว่ามีคุณธรรมจริยธรรมหรือไม่”นายณัฐวุฒิ กล่าว
นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ประชาธิปัตย์ ผู้เปิดประเด็นกลุ่มทุนบริจาคเงิน 80 ล้านบาทเข้าพรรคประชาธิปัตย์และล่าสุดเห็นรายงานข่าวนายนิพิฏฐ์ออกมายืนยัน อีกว่าสิ่งที่พูดเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่ลวงโลก ถ้าโจรบริจาคเงินให้ใครหรือใครยักยอกต้องไม่ทิ้งล่องลอยหรือหลักฐานเอาไว้
“ขอถามไปยังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ว่านายนิพิฏฐ์ยืนยันเรื่องนี้แล้วจะชี้แจงอย่างไร รวมทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เหตุใดจึงไม่ตรวจสอบหรือเรียกนายนิ พิฏฐ์ไปชี้แจงหรือรู้ว่าหากพบข้อเท็จจริงโดยเรื่องนี้มีโทษถึงขั้นยุบพรรค ประชาธิปัตย์ วันนี้จึงใบ้กินทั้งบ้านทั้งเมือง ผมขอท้าสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ในทุกเวทีในประเด็นนี้”นายณัฐวุฒิ กล่าว
http://www2.nurnia.com/12887/12/thai-social-political-economic/
กกต.ขยายเวลาสอบเงินบริจาค258ล้าน
สุทธิพล อ้างกกต.รอสอบประชัยมั่นใจเปลี่ยนอธิบดีดีเอสไอไม่กระทบคดี
วันนี้(1 ตุลาคม) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. กล่าวถึงกรณี สำนวนเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ 258 ล้านบาท ว่า ในการประชุมกกต.เมื่อวันที่ 30ก.ย.ที่ผ่านมา กกต.ได้อนุมัติให้มีการขยายเวลาการสอบสวนอีก 30 วันตามที่คณะกรรมการไต่สวนขอ เพราะต้องการรอสอบปากคำนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานบริหารบริษัททีพีไอ จำกัด (มหาชน) ที่กกต.มีหนังสือแจ้งขอมาให้ปากคำในช่วงต้นเดือนนี้ ถ้ามาด้วยตนเองไม่ได้ ก็ให้ทำเป็นหนังสือชี้แจงมา อีกทั้งคณะกรรมการไต่สวนยังต้องการตรวจสอบเรื่องการเสียภาษีที่กรมสรรพากร
เมื่อ ถามว่าการที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอเปลี่ยนตัวอธิบดีกรม จะมีผล ต่อคดีหรือไม่ นายสุทธิพล กล่าวว่า เอกสารที่ดีเอสไอส่งมาให้ กกต.ได้นำมาใช้เป็นหลักฐานเบื้องต้น แต่การสอบพยานบุคคล เราได้สอบปากคำเอง ดังนั้น กกต.ไม่ได้ทำงานเหมือนศาลอุทธรณ์ที่ยึดเอกสารเป็นหลัก ซึ่งการสืบสวนของ กกต.ตามอำนาจพรบ.พรรคการเมืองยังดำเนินต่อไป ส่วนทางดีเอสไอ ก็ดำเนินการตรวจสอบตามพรบ.ตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นเชื่อว่าการทำงานจะไม่กระทบซึ่งกันและกัน
http://www.giggog.com/politic/cat3/news35777/
-------------------------------------------------------------------
วันนี้ (13 ส.ค.) ที่รัฐสภา นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ดีเอสไอ ระบุยืนยันกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ว่ามีหลักฐานการโอนเงินเข้าพรรคประชาธิปัตย์จำนวน 258 ล้านบาทว่า การฟ้องร้องเพื่อยุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมี 2 ประเด็นคือ 1. กรณีการใช้เงินผิดประเภทจำนวน 29 ล้านบาท ที่พรรคฝ่ายค้านนำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาฯครั้งที่ผ่านมานั้น กกต.ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่มีมูลความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ซึ่งข้อหานี้น่าจะยุติไป และ 2.กรณีที่ถูกกล่าวหาว่าได้รับบริจาคเงินจากบริษัทเอกชนแห่งนึ่งจำนวน 258 ล้านบาทนั้น เรื่องนี้ทาง กกต.ได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนของพรรคในช่วงเวลานั้นไปชี้แจงข้อเท็จ จริงแล้ว และที่ผ่านมาพรรคเองได้ยืนยันในความบริสุทธ์ว่าไม่มีเงินจำนวนนี้เข้ามา เกี่ยวข้องกับพรรคแต่อย่างใด แต่อยากตั้งข้อสังเกตว่าจุดเริ่มต้นของข้อกล่าวหานี้ เกิดจากการสอบสวนของทางดีเอสไอ ที่มีผลพาดพิงมาถึงพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้น กกต.ก็ควรที่จะให้ทางดีเอสไอสรุปสำนวนในส่วนนี้ให้เสร็จนเสียก่อน ามีผลออกมาอย่างไร
นายเทพไทกล่าวต่อว่า หากผลการสอบสวนของดีเอสไอออกมาว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์ ทาง กกต.เองก็ไม่ต้องเสียเวลา ที่จะมาตั้งต้นสอบสวนข้อเท็จจริงใหม่ การใช้การสอบสวนพยานบุคคลเพียงปากเดียวที่ให้การต่อเจ้าหน้าที่ถึง 3 ครั้ง และข้อเท็จจริงก็ไม่มีความสอดคล้องตรงกันเลย จะนำมาเป็นข้อสรุปเพื่อการวินิจฉัยคดีไม่ได้
โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามพรรคประชาธิปัตย์เองยืนยันว่ามีความมั่นใจในข้อมูลและหลักฐาน ที่มีว่า ไม่ได้ทำผิดกฎหมายอย่างแน่นอน ถ้าความผิดจะเกิดหรือพาดพิงไปถึงตัวบุคคลหรือสมาชิกพรรคก็ถือเป็นความรับผิด ชอบส่วนบุคคล ไม่ควรโยงใยมาถึงพรรค ที่เป็นสถาบันทางการเมืองและมีการบริหารในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารพรรค ซึ่งการจะดำเนินการใดๆ จะต้องมีมติที่ประชุมออกมาเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ แต่ในกรณีนี้สามารถตรวจสอบได้ว่ากรรมการบริหารพรรคไม่เคยมีมติหรือร่วมรู้ เห็นใดๆทั้งสิ้น โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้นำเอกสารหลักฐานยืนแสดงต่อ กกต.แล้วและเชื่อมั่นในการใช้ดุลยพินิจของ กกต.ที่จะให้ความเป็นธรรมกับพรรคได้
ผู้สื่อข่าว ISNHOTNEWS 13 สิงหาคม 2552
http://www.isnhotnews.com/2009/08/13/ปชปอ้อนกกตโอนคดี258ล้านค/
----------------------------------------------------
ปชป.เฮ!! ศาล รธน.มีมติยกคำร้อง 4:2 อ้างเหตุกระบวนการยื่นคำร้องไม่ชอบด้วยกฏหมายพ้นกำหนดระยะเวลา 15วัน
วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 15:19:00 น.
ศาล รธน. พิพากษายกคำร้อง มติ 4:2
ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 29 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และหัวหน้าทีมกฎหมาย แถลงปิดคดีด้วยวาจา ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองร้องให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ ไปเรียบร้อยแล้วนั้น ทางคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ออกนั่งบัลลังก์ ก็ได้ขอเวลาเพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินกระบวนการพิจารณาอย่างไรต่อไป
เมื่อเวลา 14.00 น. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 6 คน ขึ้นนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาแล้ว โดยศาลมีมติ 4:2 ให้ยกคำร้อง เนื่องจากกระบวนการยื่นคำร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยใช้เวลาทั้งหมดในการอ่านคำพิพากษาเพียงแค่ 45 นาทีเท่านั้น
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัย โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 ในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ 144/2552 ได้พิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 2 ข้อกล่าวหามีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากส่งให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 95 ทั้ง 2 ข้อกล่าวหา โดยผู้ร้องในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ร่วมลงมติเป็นความเห็นเสียงข้างน้อยให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องทั้ง 2 ข้อกล่าวหา โดยไม่พบว่ากระทำผิดนั้น ความเห็นของผู้ร้องไม่ผูกพันคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพราะผู้ร้องต้องปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมติเสียงข้างมาก แต่โดยที่มติของคณะกรรมการการเลือกตั้งเสียงข้างมาก เป็นการพิจารณารวมกันไปทั้ง 2 ข้อกล่าวหา จึงต้องเป็นกรณีแยกพิจารณาแต่ละข้อกล่าวหาให้ชัดเจน เพราะมติกรณีข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 95 ถือได้ว่าเป็นมติเสียงข้างมากที่สั่งการให้ผู้ร้องพิจารณามีความเห็นก่อนแล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาต่อไป เป็นข้อกล่าวหาที่นายทะเบียนเห็นชอบที่จะตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบก่อนเสนอความเห็นได้ ส่วนกรณีข้อกล่าวหา ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 1 การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากสั่งการรวมกันไปว่าให้ผู้ร้องมีความเห็นก่อนแล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความไม่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายในองค์กรขณะนั้น
ต่อมาในการประชุมครั้งที่ 41/2553 วันที่ 12 เมษายน 2553 ความเห็นของเสียงข้างมากให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงของทั้ง 2 ข้อกล่าวหาเกี่ยวพันกันจึงยังคงมีมติให้แจ้งผู้ร้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 95 เช่นเดิม โดยผู้ร้องและนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นให้ผู้ร้อง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 95 วรรค 2 และต่อมาในการประชุมครั้งที่ 43/2553 วันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีมติเอกฉันท์ที่ชัดเจน ยืนยันเห็นชอบให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 แสดงให้เห็นว่า มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นเห็นชอบให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 ตั้งแต่ วันที่ 17 ธันวาคม 2552 แล้ว
โดยผู้ร้องไม่จำต้องเสนอความเห็นก่อนอย่างใดกรณีนี้ถือได้ว่า คดีนี้ความได้ปรากฏต่อนายทะเบียนว่า พรรคผู้ถูกร้องมีกรณีตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 1 แล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้ง เห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้แล้ว และระยะเวลาที่ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 17 ธ.ค. 2552 อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติดังกล่าว การทีผู้ร้องมีคำสั่งที่ 9 /2552 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2552 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อตรวจสอบสำนวนของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ชุดนายอิสระ ..วงศ์เป็นประธานอีก แล้วผู้ร้องเสนอโดยไม่ได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องหรือไม่ประการใดเช่นเดิม และคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการประชุมครั้งที่ 47/2553 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เห็นชอบให้ผู้ร้องแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 94(3)(4)และมาตรา 65 ทั้งสองข้อกล่าวหาอีกครั้งหนึ่ง
แม้ว่าต่อมาวันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีมติเป็นเอกฉันท์ ในการประชุมครั้งที่ 43/2553 เห็นชอบให้ผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 นั้น กระบวนการดังกล่าวข้างต้นเป็นการตรวจสอบภายในองค์กร และเป็นเพียงการยืนยันการปรับบทบังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจนภายในองค์กร ที่ยังคงต้องอยู่ภายในบังคับตามระยะเวลาที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 กำหนด ว่าต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2552 อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการพิจารณารายงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนชุดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติแต่งตั้ง นายอิสระ หลิมศิริวงศ์ เป็นประธานในครั้งแรก และถือว่าเป็นวันที่ความปรากฎต่อผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองด้วย
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ 26 เมษายน 2553 จึงพ้นระยะเวลา 15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคของผู้ถูกร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องในประเด็นอื่นอีกต่อไป ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 ว่ากระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีนี้จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในกรณีอื่นอีกต่อไปให้ยกคำร้อง
ทั้งนี้มีรายงานข่าวว่า บรรดาแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายชวน หลีกภัย และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ซึ่งนั่งฟังคำพิพากษาอยู่นั้น มีใบหน้าและสีหน้าสดใสอย่างเห็นได้ชัด หลังจากคำตัดสินแล้ว ก่อนที่ทั้งหมดจะเดินทางกลับยังที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อทำการแถลงข่าวโดยนายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคจะเป็นผู้แถลงด้วยตัวเอง
ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 09.00 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์เพื่อให้คู่กรณีแถลงปิดคดีด้วยวาจา ในกรณีที่ นายทะเบียนพรรคการเมืองร้องให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์
ทั้งนี้ นายกิตตินันท์ ธัชประมุข อัยการคดีพิเศษ ฝ่ายสำนักคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้แถลงปิดคดี ในส่วนของนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งได้อ่านสรุปว่าการทำของกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคของผู้ถูกร้อง มีคำสั่งห้ามกรรมการบริหารพรรคจัดตั้งพรรคใหม่เป็นเวลา 5 ปี และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้มอบหมายให้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะหัวหน้าทีมกฎหมายของพรรค เป็นผู้แถลงปิดคดี
อัยการชี้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจ-คดีไม่หมดอายุ
นายกิตินันท์ได้ระบุถึงที่มาของคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ ที่สืบเนื่องมาจากการทำคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 2 ข้อหา คือ กรณีพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการบริจาคเงินจากบริษัท ทีพีไอ ผ่านบริษัท เมซไซอะ และพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ใช้จ่ายเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาการเมือง และไม่ได้จัดทำรายงานตามความเป็นจริง เสนอต่อ กกต. ซึ่งทั้งสองข้อหายังได้ถูกร้องจากนายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
หลังจากที่ กกต.ได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน และนายทะเบียนพรรคการเมืองยังได้ตั้งคณะทำงานซึ่งตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้มีมติของ กกต.ในวันที่ 12 เมษายน 2553 ให้ส่งเรื่องถึงอัยการสูงสุด ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบทั้งสองข้อกล่าวหา
ทั้งนี้ ในข้อกล่าวหาการใช้เงิน 29 ล้านบาทนั้น กกต.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยื่นคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญได้มีการตั้งประเด็นพิจารณาใน 5 ประเด็นด้วยกัน
ในการชี้แจงในการแถลงปิดคดีของฝ่ายผู้ร้อง กกต.ได้ยืนยันว่า การกระทำของพรรคประชาธิปัตย์นั้น อยู่ในการบังคับใช้กฎหมายพรรคการเมืองทั้งสองฉบับ คือในปี 2541 และ 2550 เนื่องจากจะต้องพิจารณาตามกฎหมายปี 2541 ก่อนว่าพรรคประชาธิปัตย์มีการกระทำฝ่าฝืนหรือไม่ ส่วนกฎหมายในปี 2550 จะต้องใช้กับองค์กรผู้บังคับใช้กฎหมายในการตัดสิน เพราะแม้คดีจะเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น แต่ดีเอสไอไม่ใช่พนักงานตามกฎหมายของพรรคการเมือง
จากนั้น ได้แถลงยืนยันว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจในการที่จะร้องในกรณีดังกล่าว เพราะตามกฎหมายแม้จะเป็นเพียงหนังสือแจ้งโดยยังไม่มีหลักฐาน กกต.ก็สามารถที่จะสอบสวน และคดีดังกล่าวซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับการใช้เงินกองทุน ไม่มีกำหนดในเรื่องของการหมดอายุความ พร้อมกับยืนยันขั้นตอนการพิจารณาของ กกต. โดยเฉพาะนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่เสนอต่อที่ประชุม กกต.และศาลรัฐธรรมนูญนั้น ถูกต้องตามกฎหมาย
"ชวน"เชื่อกกต.ไม่มีเจตนากลั่นแกล้ง แค่โยนเรื่องให้พ้นตัว
ต่อมาเมื่อเวลา 10.15 น. นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และหัวหน้าทีมกฎหมายกรณีนายทะเบียนพรรคการเมืองร้องให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ กล่าวปิดคดีความว่า
เป็นคดีที่ไม่เหมือนพรรคการเมืองอื่น ซึ่งเห็นความผิดปกติของการรวบรวมเอกสาร ความผิดปกติของคณะกรรการการเลือกตั้งที่ไม่ยอมรับตั้งแต่แรก หรือพยานหลักฐานทางเอกสารอื่น ทำให้พบปัญหาถึงการดำเนินคดีที่ยืดเยื้อ ตั้งแต่คำวินิจฉัยของ กกต. ที่เป็นเอกฉันท์ในครั้งแรกและครั้งที่ 2 จนมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมาหาข้อเท็จจริงอีก ถือว่าเป็นความตั้งใจที่ต้องการจะให้พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ โดยมีความตั้งใจตั้งแต่ความพยายามครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2548 เรื่อยมา
"ทำให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวที่จะเล่นงานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องการข่มขู่ไม่ว่ากรณีใดก็ตามต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง หากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นเอกฉันท์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ผิดตั้งแต่แรก ความผิดปกติอยู่ที่ว่าความพยายามให้คำวินิจฉัยของ กกต.ออกมาว่าผิด เพื่อให้พ้นจากข้อครหา จนทำให้ปัญหามาตกอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ คิดว่าถ้าเป็นพรคคการเมืองอื่นคงจบ แต่ด้วยเป็นขบวนการเข้าแทรกแซง กกต. ทำให้กกต.ต้องดึงเกมโดยพยายามตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้นมาอีก เพื่อเพียงต้องการให้คำวินิจฉัยของกกต.ออกมาว่าพรรคประชาธิปัตย์ผิดและควรถูกยุบ"
นายชวน กล่าวต่อว่า จากสองประเด็นที่ผู้ร้องได้แถลง มองว่าเป็นการสร้างพยานหลักฐานขึ้นมาที่ให้ กกต.ใช้เป็นประโยชน์ ที่ไม่ถูกต้องจนทำให้การดำเนินคดีเสียไป และมีปัญหาซึ่งไม่เป็นธรรมต่อพรรคประชาธิปัตย์ มีการให้ความสำคัญกับพยานบุคคลน้อย แต่ด้วยระบบไต่สวนจึงไม่อาจปฎิเสธถึงพยานหลักฐานเอกสารได้ และเคารพในการทำงานของ กกต.อีกทั้งเชื่อว่าในความดี ความเที่ยงตรง และวุฒิภาวะของกกต.
"สองจุดหลักๆ ที่ต้องการชี้แจงทำความเข้าใจ โดยสิ่งแรกมองว่า ในการฟ้องดำเนินคดีของผู้ร้องมีการรวมหัวกัน สบคบกันอย่างเป็นขบวนการเพื่อต้องการเล่นงานพรรคประชาธิปัตย์ของกลุ่มคนเสื้อแดง ส่วนคนที่ดำเนินการเรื่องนี้ก็รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ซึ่งสองสามปีที่ผ่านมามีการแทรกแซงองค์กรอิสระ ตั้งแต่คนในกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ส.ว. ที่มีการเปลี่ยนตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อใช้ความใกล้ชิดเป็นเครื่องมือในการเล่นงานพรรค แม้กระทั่งตุลาการ 3 ท่านที่ได้ถอนตัวออกไป ทำให้เส้นทางการเริ่มต้นของคดีมีอิทธิพลของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง"
นายชวน กล่าวต่อว่า จุดต่อมาก็คือ การกดดันศาล และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทำให้คดีนั้นเปลี่ยนรูป เกิดความลำบากใจ เชื่อว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีเสียงคุกคามมาโดยตลอด มีการสร้างเอกสารเท็จ โดยโยงเข้ากับคนใกล้ชิดของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผลทำให้เจ้าหน้าที่พิจารณาคดีลำบากใจ ซึ่งก่อนเผยคดีก็มีคนรู้ก่อนด้วยว่าผลจะออกมาอย่างไร สุดท้ายไม่มีผลอื่นใดที่จะไม่ให้พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ ที่ไม่ใช่เป็นการหยั่งรู้ของพรรคประชาธิปัตย์เอง แต่มาจากการรวบรวมเอกสาร
หัวหน้าทีมทนาย ปชป. แถลงต่อว่า ส่วนการใช้เงินของพรรคผิดวัตถุประสงค์นั้นก็ไม่ใช่ข้อพิรุธ ทำตามแผนมาโดยตลอด และมีข้อบ่งชี้อย่างถูกต้องถึงที่ไปที่มา ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงโครงการ 8 ล้านบาท ก็เป็นไปตามแผนเดิมและแยกไม่ได้ด้วยว่าป้ายไหนเป็นป้ายที่ใช้เงินสนับสนุนของพรรคหรือเงินสมทบ ขณะที่ป้ายหาเสียงก็ไม่เห็นความผิดปกติ จากข้อกล่าวหาที่ว่าขนาดไม่ตรงตามที่แจ้งไว้นั้น ก็เป็นกระบวนการของโรงพิมพ์ที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว และก็เป็นเช่นทุกพรรคการเมืองในการใช้ป้ายหาเสียง
"ด้านข้อกฎหมายนั้น ก็ยึดเอาสารบัญญัติที่ว่าเรื่องเกิดขึ้นเมื่อใดก็ใช้เมื่อนั้น ส่วนวิธีบัญญัติก็ยึดเอาของรัฐธรรมนูญปี 40 ส่วนงบการเงินหรือการอนุมัติเงินของพรรคก็ยึดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 40 วรรค 2 และมาตรา 35
สุดท้ายพรรคประชาธิปัตย์จะถูกยุบหรือไม่ มองว่าความชำนาญของศาลในการวินิจฉัยคดี ความสามารถของกกต. น่าจะเข้าใจและเข้าใจตรงกันถึงการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่ได้เป็นการเอาใจหรือเชื่อมโยงไปยังประวัติศาสตร์ ไม่ว่าคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไร ก็ยอมรับในคำตัดสินนั้น เชื่อว่าศาลเป็นตัวของตัวเอง แต่สิ่งที่เห็นศาลประสบปัญหาในการถูกคุกคามอยู่นั้นก็เป็นกระเด็นที่น่าเห็นใจ อย่างไรก็ตามศาลเป็นที่สุดท้ายถึงความสถิตยุติธรรม ทำให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอด ศาลน่าจะทำให้สิ่งที่ถูกต้องให้ถูกต้อง" นายชวน กล่าว
ผบช.น.เผยวางกำลังเข้มศาล รธน. 5 กองร้อย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่า เมื่อเวลา 08.00 น. พ.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ให้สัมภาษณ์ถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่า เรื่องการรักษาความปลอดภัยมีความพร้อม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยมีการสนธิกำลังระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร โดยเฉพาะกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีประมาณ 5 กองร้อย จากกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 ,5, 6 และ 8 รวมถึงหน่วยอรินทราช หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด รวมทั้งสิ้น 750 นาย ซึ่งจะแบ่งกำลังดูทุกจุดรอบสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายงานเรื่องการเคลื่อนไหวของมวลชน ทุกอย่างเป็นไปอย่างปกติ สำหรับการคุ้มกันบ้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นก็มีกำลังคุ้มกันตามปกติ แต่อาจจะมีเพิ่มขึ้นหากได้รับการร้องขอ
ศาลตัดสัญญาณมือถือตลอดแถลงปิดคดี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายนอกศาลรัฐธรรมนูญยังมีเตรียมรถผู้ต้องขังประมาณ 10 คัน มาจอเตรียมพร้อมไว้หากเกิดสถานการณ์ขึ้น อย่างไรก็ตามทางเข้าโดยรอบได้มีการนำแผงเหล็กมากั้น และตรวจสัมภาระผู้ที่จะเข้ามาในอาคารอย่างเข้มงวดโดยเปิดให้ใช้เพียงประตูด้านหลังเท่านั้น กระทั่งเวลา 09.00 น. เจ้าหน้าได้นำเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือเพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยจนกว่าการรับฟังแถลงการณ์ปิดคดีด้วยวาจาเสร็จสิ้น
ตร.ตรึงกำลังรอบศาลรธน.เปิดเข้า-ออกทางเดียว
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นวันที่จะมีการแถลงปิดคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ในเวลา 09.30 น. วันที่ 29 พ.ย. ว่า ตั้งแต่เมื่อเวลา 06.00 น. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจวางกำลังแน่นหนา มีเจ้าหน้าที่กองปราบจลาจลชุดควบคุมฝูงชน 1 กองร้อย และเจ้าหน้าที่หญิงอีก 1 กองร้อย พร้อมทั้งกำหนดให้มีการเข้าออกเพียงทางเดียว คือประตูด้านทิศใต้ โดยมีการตรวจค้นบุคคลเข้า-ออกอย่างละเอียด ขณะที่ประตูด้านอื่นเจ้าหน้าที่ได้นำแผงเหล็กมากั้นเอาไว้ทั้งหมดเพื่อป้องกันไม่ให้มีการชุมนุมประชิดตัวอาคาร
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้เตรียมชุดควบคุมฝูงชนเอาไว้ 150 นาย รวมทั้งคอมมานโดเพื่อรับมือหากมีการชุมนุม และได้เตรียม แผนสำรอง หากเกิดกรณีฉุกเฉิน โดยมีการเตรียมพื้นที่จอดเฮลิคอปเตอร์ไว้บนดาดฟ้าของอาคารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญด้วย
ส่วนบริเวณลิฟต์ที่ใช้เป็นทางขึ้นไปสู่ห้องทำงานของตุลาการ และห้องพิจารณาคดีได้นำเชือกมากั้น และนำป้ายมาติดประกาศว่าเป็นะพื้นที่หวงห้าม โดยห้ามบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าออกโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ยังมีหน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิดคอยตรวจตราอยู่ภายในอาคารตลอดเวลา
ไร้วี่แววม็อบป่วน -ตัดสัญญาณมือถือ 9 โมง
สำหรับบริเวณห้องโถงกลางลานชั้น 2 ภายในตัวอาคารศูนย์ราชการ ยังมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลอีกจำนวนหนึ่ง ตรึงกำลังรักษาความปลอดภัยพื้นที่ในส่วนชั้นในศูนย์ราชการ ขณะที่บริเวณลานจอดรถชั้น 2 ภายนอกอาคารซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กับศูนย์ราชการ ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจตรึงกำลังรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตลอดช่วงเช้ายังไม่มีการรวมกลุ่มของคนเสื้อแดงเพื่อร่วมรับฟังการแถลงปิดคดียุบพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใด คงมีเพียงกองทัพสื่อมวลชนจำนวนมากที่มารอปักหลักรายงานสถานการณ์ข่าวอย่างใกล้ชิด ในส่วนของพรรคเพื่อไทยในช่วงเช้ามีเพียงนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ส.ส.แพร่ ซึ่งเดินทางมาถึงศาลรัฐธรรมนูญเป็นคนแรก
นอกจากนี้ในช่วงเวลา 09.00 น. เจ้าหน้าที่จะนำเครื่องมือมาตัดสัญญาณโทรศัพท์เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยจนกว่าจะแถลงปิดคดีเสร็จสิ้น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1290994633&grpid=00&catid=&subcatid=
---------------------------------------------------------------------------
เปิดชื่อ 2 ตุลาการศาลรธน. เสียงข้างน้อยคดียุบประชาธิปัตย์"ชัช ชลวร-อุดมศักดิ์ นิติมนตรี"
วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 15:43:53 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 คน ที่มีเสียงข้างมากวินิจฉัยยกคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองร้องให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ ได้แก่ นายบุญส่ง กุลบุปผา, นายจรัญ ภักดีธนากุล, นายสุพจน์ ไข่มุกด์ และนายนุรักษ์ มาประณีต ขณะที่ อีก 2 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อย คือ นายชัช ชลวร และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291020260&grpid=00&catid=&subcatid=
--------------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยพรรคการเมือง
พ.ศ. ๒๕๕๐
...
สวนที่ ๓
การยุบพรรคการเมือง
มาตรา ๙๓ ในกรณีที่พรรคการเมืองใดมีเหตุต้องเลิกตามขอบังคับพรรคการเมืองแต
พรรคการเมืองนั้นยังมีสมาชิกเปนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู หรือในกรณีที่พรรคการเมืองใด
ไมดําเนินการใหเปนไปตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๘๒ ใหยุบพรรคการเมืองนั้น
เมื่อปรากฏตอนายทะเบียนวาพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ใหนายทะเบียนโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคํารองตอศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบหาวันนับแตวันที่ความ
ปรากฏตอนายทะเบียน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแลวเห็นวามีเหตุดังกลาวเกิดขึ้นกับพรรคการเมือง
ตามคํารองของนายทะเบียน ใหศาลรัฐธรรมนูญสั่งใหยุบพรรคการเมืองนั้น
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งใหยุบพรรคการเมืองใดแลว ใหนายทะเบียนประกาศคําสั่ง
ยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๙๔ เมื่อพรรคการเมืองกระทําการอยางใดอยางหนึ่งดังตอไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญ
สั่งยุบพรรคการเมือง
(๑) กระทําการลมลางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปน
ประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อใหไดมาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิไดเปนไป
ตามวิถีทางที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ หรือกระทําการตามที่รัฐธรรมนูญใหถือวาเปนการกระทําเพื่อให
ไดมาซึ่งอํานาจโดยวิธีการดังกลาว
(๒) กระทําการอันเปนการฝาฝน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผูแทนราษฎรและการไดมาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทําใหการเลือกตั้งมิไดเปนไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(๓) กระทําการอันอาจเปนปฏิปกษตอการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย
ทรงเปนประมุขตามรัฐธรรมนูญ
(๔) กระทําการอันอาจเปนภัยตอความมั่นคงของรัฐ ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
หรือขัดตอกฎหมายหรือความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ
(๕) กระทําการฝาฝนมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๓ มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ มาตรา ๖๙
หรือมาตรา ๑๐๔
มาตรา ๙๕ เมื่อปรากฏตอนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียนไดรับแจงจากคณะกรรมการ
บริหารพรรคการเมืองและไดตรวจสอบแลว เห็นวาพรรคการเมืองใดกระทำการตามมาตรา ๙๔
ใหนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง แจงตออัยการสูงสุด พรอมดวย
หลักฐาน เมื่ออัยการสูงสุดไดรับแจงใหพิจารณาเรื่องดังกลาวใหแลวเสร็จภายในสามสิบวันนับแตวันที่
ไดรับแจง ถาอัยการสูงสุดเห็นสมควร ก็ใหยื่นคํารองเพื่อใหศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งยุบพรรคการเมือง
ดังกลาว ถาอัยการสูงสุดไมยื่นคํารองตอศาลรัฐธรรมนูญใหนายทะเบียนตั้งคณะทํางานขึ้นคณะหนึ่ง
โดยมีผู้แทนจากนายทะเบียนและผูแทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการรวบรวม
พยานหลักฐาน แลวสงใหอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคํารองตอศาลรัฐธรรมนูญตอไป ในกรณีที่คณะทํางาน
ดังกล่าวไมอาจหาขอยุติเกี่ยวกับการดำเนินการยื่นคำรองได ภายในสามสิบวัน นับแตวันที่แตงตั้ง
คณะทํางาน ใหนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจยื่นคํารองเอง
หากนายทะเบียนเห็นสมควรจะใหระงับการดําเนินการของพรรคการเมืองซึ่งกระทําการตาม
มาตรา ๙๔ ใหนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแจงตออัยการสูงสุด
ขอใหศาลรัฐธรรมนูญสั่งระงับการกระทําดังกลาวของพรรคการเมืองไวเปนการชั่วคราว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งใหยุบพรรคการเมืองใดแลว ใหนายทะเบียนประกาศคําสั่ง
ยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา และหามมิใหบุคคลใดใชชื่อ ชื่อยอ หรือภาพเครื่องหมาย
พรรคการเมืองซ้ำ หรือพอง หรือมีลักษณะคลายคลึงกับชื่อ ชื่อยอ หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง
ที่ถูกยุบนั้น เพื่อแสวงหาประโยชนในการดําเนินกิจการทางการเมือง หรือประโยชนอื่นใดในทํานองเดียวกัน
...
http://www.moe.go.th/election2550/uploads/book03/post163.pdf
--------------------------------------------------------------------
ย้อนรอยคดียุบพรรคการเมือง ปชป. รอดรอบ 2 !!
วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 16:40:47 น.
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1290774519&grpid=01&catid=&subcatid=
--------------------------------------------------------------------
ทีพรรคอื่นว่องไวเร่งรัดจ้องยุบให้ได้
แต่กับพรรค ปชป. ดึงเรื่อง ถ่วงเรื่องไปเรื่อยๆ
และความพยายามช่วยกันยื้อคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ของ กกต. บางคน
ส่งผลให้คดีนี้ ศาลนำไปเป็นข้ออ้างยกคำร้องไม่พิจารณาคดี
ว่าผิดจริงตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่แต่อย่างใด
แถมมาตราฐานในการอ้างเรื่องเกินกำหนด 15 วัน
พรรคที่โดนยุบก่อนหน้าก็เกิน 15 วัน ทำไมตัดสินให้ยุบได้
เลยหามาตรฐานไม่เจออีกกรณีหนึ่ง
สงสารเด็กที่เรียนนิติศาสตร์ประเทศนี้
คงปวดหัวน่าดู เพราะไม่รู้ว่าจะยึดมาตราฐานไหนดี
จบออกมาคงเละเทะหนักกว่าเดิมแน่ๆ
อนาถใจไทยแลนด์แดนทำตามธง
อีกอย่างถ้าประเทศยึดหลักการที่ใช้ตัดสินคดีนี้
สงสัยว่าต่อไปแค่ไปวิ่งเต้นกับคนทำเรื่องฟ้อง
ทั้งตำรวจ อัยการ องค์กรอิสระ ทั้ง กกต. ปปช.
ให้ช่วยๆ ทำให้ผิดขั้นตอน จะได้ไปเป็นข้ออ้างในศาล
คดีจะได้หลุดไปอย่างลอยนวล โดยที่คนช่วยก็ไม่มีความผิดอะไร
ประเทศนี้ก็คงมีกฏหมายไว้บังคับพวกไม่มีเส้นเท่านั้นเอง
โดย มาหาอะไร
FfF