บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


14 กันยายน 2553

<<< เมื่อถึงเวลาก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีทางแผลงฤทธิ์ต้านกระแสโลกาภิวัตน์ไปได้ >>>

วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 15:50:00 น. มติชนออนไลน์
สวาซิแลนด์ตึงเครียด ผู้ประท้วงนับร้อยเรียกร้องกษัตริย์คืนอำนาจให้ประชาชน

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศสวาซิแลนด์ได้ตึงเครียดเพิ่มมาก ขึ้นเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากนักกิจกรรมที่รณรงค์เพื่อระบอบประชาธิปไตยหลายร้อยคนได้รวมตัวกัน ชุมนุมประท้วง ณ เมืองมานซินี่ นครหลวงทางเศรษฐกิจของประเทศ และมีผู้ชุมนุม 50 ราย ซึ่งถูกจับกุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล อย่างไรก็ตาม นักกิจกรรมกลุ่มนี้ยังมีแผนที่จะดำเนินการชุมนุมประท้วงครั้งใหม่ในช่วง สัปดาห์ต่อๆ ไป

โดยผู้ชุมนุมประท้วงได้เรียกร้องให้กษัตริย์เอ็มสวาติที่ 3 แห่งสวาซิแลนด์ ซึ่งเป็นกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์พระองค์สุดท้ายแห่งทวีปแอฟริกา ยอมมอบอำนาจทางการเมืองบางส่วนคืนให้แก่ประชาชน รวมทั้งประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองต่างๆ ในประเทศ

ทั้งนี้ บีบีซีให้ข้อมูลว่า กษัตริย์เอ็มสวาติที่ 3 ถูกกล่าวโทษจากประชาชนชาวสวาซิแลนด์ว่า ใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย ขณะที่พสกนิกรของพระองค์กลับมีความเป็นอยู่อย่างยากแค้นภายในประเทศที่มี อัตราผู้ติดเชื้อเอดส์สูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1284454092&grpid&catid=06

--------------------------------------------------------------------



วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 11:13:23 น. มติชนออนไลน์

"ควีนเอลิซาเบธที่ 2" ถูกรบ.อังกฤษ วางมาตรการเข้ม ควบคุมการใช้จ่าย 38 ล้านปอนด์

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ถูกเพิกถอนสิทธิในการจัดการด้านการเงิน ซึ่งเป็นข้อตกลงอย่างลับๆและถือเป็นคำขาดของรัฐบาล โดยการวางมาตรการที่เคร่งครัดระหว่างระหว่างราชวงศ์และคณะรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงวิธีที่สมเด็จพระราชินีฯสามารถใช้จ่ายเงินจำนวน 38.2 ล้านปอนด์ที่ ได้รับจากรัฐสภาทุกปี


ภายใต้ "บันทึกความจำด้านการเงิน" ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างสำนักพระราชวังและรัฐบาลในปี 2006 คณะรัฐมนตรีมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญเหนือราชวงศ์ในการยกเลิกและเข้าจัดการ สินทรัพย์สาธารณะ ในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าควรมีการใช้จ่ายเงินอย่างไร


ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายรัฐธรรมนูญกล่าวว่า บันทึกความทรงจำดังกล่าวสามารถใช้ควบคุมการใช้จ่าย หรือแม้แต่ร้องขอให้พระองค์ทรงใช้ทรัพย์สินของพระองค์ได้เช่นกัน


สืบเนื่องมาจากข้อขัดแย้งที่มีมาอย่างยาวนาน ระหว่างราชวงศ์และรัฐบาลต่อเงินสาธารณะจำนวนมหาศาลที่นำไปสนับสนุนสมาชิกใน ราชวงศ์


ข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งได้รับการเปิดเผยต่อหนังสือพิมพ์ดิ อินดิเพนเดนท์ เมื่อคืนที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น ภายใต้พระราชบัญญัติเสรีภาพของข้อมูลข่าวสาร ว่าอาจสร้างความยากลำบากให้แก่ราชวงศ์ยิ่งขึ้น ในการกดดันรัฐบาลให้เพิ่มเงินอุดหนุนต่อราชวงศ์

โดยหนึ่งในประเด็นที่มีความสำคัญที่ถูกระบุไว้ในบันทึกความทรงจำดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการคัดง้างอำนาจโดยตรงกับราชวงศ์ระบุว่า "ในเหตุการณ์ความแตกต่างที่ไม่สามารถหาข้อตกลงได้ ต่อการตีความบันทึกความทรงจำด้านการเงิน หรือบันทึกความทรงจำด้านความเข้าใจ รัฐมนตรีได้รับสิทธิในการเพิ่มการใช้จ่ายเงินอุดหนุน และรับผิดชอบโดยตรงต่อการดำเนินการต่อความรับผิดชอบของพระองค์ ในการจัดหาการบริการด้านทรัพย์สินในพระราชวัง ให้เงินสนับสนุนต่อการติดต่อสื่อสาร และการจัดหาทรัพย์สินและการรักษาความปลอดภัยต่อมาร์ลโบโรห์ เฮาส์ (ปัจจุบันใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการของเครือจักรภพอังกฤษ)


แหล่งข่าวเปิดเผยว่า สมเด็จพระราชินีฯได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเป็นจำนวน 2 ล้านปอนด์ เพื่อรักษาสภาพคล่องภายใน โดยเงินที่ได้มาจากการขายที่ดินบริเวณสวนในพระราชวังเคนซิงตัน เพื่อเป็นการกระตุ้นเงินอุดหนุนที่ได้รับประมาณ 15 ล้านปอนด์ต่อปี


ในปี 2005 คณะรัฐมนตรีแสดงความกังวลอย่างเด่นชัดต่อการใช้จ่ายเงินสาธารณะของสมาชิก ราชวงศ์ โดยการส่งที่ปรึกษาไปยังพระราชวังบัคกิ้งแฮมเพื่อตรวจสอบบัญชีการใช้จ่าย


กระทรวงสื่อสาร วัฒนธรรม และกีฬา (ดีซีเอ็มเอส) ได้เปิดเผยข้อมูลซึ่งประกอบด้วยจดหมายหลายร้อยฉบับ อีเมล์ และรายงาน ซึ่งมีรายละเอียดของข้อตกลง และความสัมพันธ์ที่ไม่ลงรอยนักระหว่างรัฐบาลและสมเด็จพระราชินีฯ ต่อกรณีสำนักพระคลังข้างที่


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1285215524&grpid=01&catid

---------------------------------------------------------------------

<<< วันนั้นที่เนปาล ใครจะนึกว่า จะมีวันนี้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/02/1-httpmaha-arai.html

<<< เนปาล จากวันวานถึงวันนี้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/02/blog-post_05.html

หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส
ทำให้ระบอบกษัตริย์ในยุโรปสั่นคลอนไปแทบทุกประเทศ
หลายประเทศในยุโรปที่เหลือรอดมาได้จนทุกวันนี้
ก็เพราะมีการปรับตัวเองครั้งใหญ่
ลดอำนาจตนเองลงมาอย่างมากมาย

ในยุคปัจจุบัน หลังเนปาลล้มระบอบกษัตริย์ลง
ก็เกิดกระแสสั่นคลอนไปทั่วเหมือนกัน
อย่างล่าสุดนี่ก็ที่สวาซิแลนด์
อนาคตอาจจะมีอีกในหลายประเทศ

เมื่อถึงเวลาก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
ไม่มีทางแผลงฤทธิ์ต้านกระแสโลกาภิวัตน์ไปได้
เชื่อเถอะ ประวัติศาสตร์มันบอกว่าจะเป็นยังงั้น

โดย มาหาอะไร
FfF