บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


21 ตุลาคม 2553

<<< เล่าประสบการณ์น้ำท่วมฉับพลันบนคอนโดชั้น 5 พร้อมวิธีแก้ปัญหาน้ำล้นเขื่อน >>>

ประมาณ 10 ปีมาแล้ว
หลังจากเราซื้อคอนโดเล็กๆ ชั้น 5 อยู่ เป็นบ้านหลังแรกของเรา
เราชอบไปโม้กับใครต่อใครว่า บ้านเราไม่มีทางน้ำท่วมหรอก
เพราะถ้าท่วมกรุงเทพคงกลายเป็นเมืองใต้บาดาลไปทั้งเมือง
แต่แล้วไม่กี่ปีต่อมา พบว่าห้องที่เราอยู่รวมไปถึงชั้น 5 แทบทั้งแถบ
ล้วนเจอน้ำท่วมฉับพลัน 2-3 ปี ติดต่อกันเลย
ทำให้ทรัพย์สินเสียหายกันถ้วนหน้า
เฉพาะของเราก็ตู้เสื้อผ้าเราโดนฝนเปียกน้ำนานจนเห็ดขึ้นเลย
รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่วางแถวนั้นก็เปียกเสียหายไปด้วย
ห้องอื่นๆ ก็มีทรัพย์สินเสียหายกันถ้วนหน้า

ช่างก็มาแก้ 2 ปี ไม่หาย เมื่อเจอฝนตกหนักๆ ก็เป็นอีก
คอนโดของเราจะมีหลังคาคล้ายหลังคาบ้าน
แล้วเขาสร้างผนังกั้นทำให้มองจากข้างล่างเป็นแท่งสี่เหลี่ยม
แต่จริงๆ แล้วด้านบนเป็นหลังคามุงกระเบื้อง เพียงแต่มองไม่เห็นเท่านั้น
เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะไหลจากหลังคามาขังอยู่บริเวณทางเดินเล็กๆ
มีผนังกันสูงๆ จนทำให้ดูเหมือนมันเป็นแท่งๆ
ส่วนอีกด้านจะมีช่องขนาดคืบกว่าๆ ใต้หลังคา
ถ้าน้ำขังจนล้นระบายไม่ทัน ก็จะไหลเข้าห้องอย่างรวดเร็ว
ปีแรกเราไม่เห็นกับตาว่าไหลยังไง
กลับมาที่ห้อง น้ำก็นองครึ่งห้อง
แถมด้วยกลิ่นน้ำที่ขังเสื้อผ้าจนเหม็นคลุ้งไปหมด
แต่ปีหลังสุดเราเห็นกับตาเพราะบังเอิญอยู่ที่ห้องพอดี
พอมันตกหนักๆ นานๆ มันล้นทะลักเข้ามาในห้องอย่างรวดเร็วจริงๆ
แป๊บเดียวท่วมครึ่งห้อง เราต้องหาผ้ามาดันน้ำทิ้งไปหลังห้อง
เป็นบรรยากาศน้ำท่วมฉับพลันเล็กๆ
ถือว่าเป็นจุดน้ำท่วมที่สูงที่สุดในกรุงเทพก็น่าจะได้
เพราะยังไม่เห็นข่าวที่ไหนท่วมสูงเกินคอนโดชั้น 5 บ้าง อิอิ

ทำให้เรารู้สึกทนไม่ไหว
ปล่อยให้ช่างรับเหมาแก้ปัญหามาหลายครั้งแล้วไม่หายเสียที
หนสุดท้ายขอขึ้นไปดูบนดาดฟ้าเพื่อหาสาเหตุ
ถึงพบว่าน้ำระบายไม่ทันมันขังบริเวณทางเดินมากๆ
มันก็ล้นเข้ามาฝั่งผนังเล็กๆ ขนาดคืบกว่ากั้นใต้หลังคาเข้าไปในห้อง
แทบทุกห้องโดนกันถ้วนหน้า
ตรวจดูวิธีการระบายน้ำ
พบว่าเขาเจาะเป็นรูต่อท่อน้ำทิ้งลงไปยังท่อน้ำทิ้งด้านล่าง
แต่ช่วงที่ฝนตกหนักๆ ด้านล่างก็มีน้ำท่วมหน่อยๆ
เพราะท่อน้ำทิ้งน้ำเต็มล้นออกมา
มันก็เลยระบายน้ำลงด้านล่างไม่ทัน
สะสมมากๆ เข้าก็เลยล้นทะลักเข้าห้อง
และผู้รับเหมามาแก้แต่ละคน
ก็มาพยายามอุดรูผนังเล็กๆ สูงคืบกว่าๆ เพื่อไม่ให้มีรู
วิธีนี้แก้ไม่ได้หรอก เพราะถ้ามันขังมากๆ
มันก็ย้อนเข้าทางหลังคาเข้าไปในห้องได้อยู่ดี
เราเลยแนะนำเขาว่า ทำไมคุณไม่เจาะรูตรงกำแพงเยอะๆ
เพื่อให้น้ำไม่ขังบริเวณนี้เยอะๆ มันก็ไม่ทะลักเข้าห้องแล้ว
ไม่ต้องทำท่ออะไร แค่เจาะรูให้น้ำไหลจากชั้น 5 ลงมาเลย
ไม่ต้องกลัวชาวบ้านเขาจะเปียก
เพราะฝนตกถ้าไม่กางร่มมันก็เปียกอยู่แล้ว
สุดท้ายเขาก็เจาะอย่างที่เราว่า
แล้วรู้สึกว่าจะใช้วิธีที่ว่า ไปทำกับตึกอื่นๆ ด้วย
หลังจากนั้นน้ำไม่เคยท่วมเข้าห้องอีกเลย
แต่เรายังกังวลอยู่ว่า อาจมีปัญหาได้อีก ถ้าตกหนักๆ
เพราะพี่แกเล่นเจาะแค่ไม่กี่รูเอง แทนที่จะเจาะเยอะๆ
กลัวตกหนักมากๆ จะระบายไม่ทันอีก
เพราะรูก็ไม่กว้างเท่าไหร่ด้วย

จากกรณีเรื่องนี้
<<< หลักฐานการหลอกลวงชาวบ้าน เรื่อง เขื่อนไม่ได้ปล่อยน้ำ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/10/blog-post_6338.html

"ขณะนี้ฝนได้ตกอย่างรุนแรงในท้องที่ อ.ปากช่อง ซึ่งอยู่เหนือเขื่อน เป็นเหตุให้น้ำไหลเข้าตัวเขื่อน เป็นจำนวนมากจนเหลือเพียง 30%เท่านั้น น้ำก็จะล้นเขื่อน ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ สำนักงานชลประทานลำตะคอง จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกจากเขื่อนภายในเวลา 24.00 น.คืนนี้"

ลองสังเกตุดูซิ
ที่ชอบท่วมฉับพลันหลายพื้นที่
มักเกิดตอนดึกๆ ชาวบ้านเขาหลับนอนกันหมดแล้ว
ทำเหมือนพวกลักลอบทำผิดอะไรแบบนั้น
ทำไมไม่ปล่อยตอนเช้าถ้าต้องการจะปล่อย
ชาวบ้านเขาจะได้รู้ตัวขนของหนีทัน
ไม่ใช่นอนฝันกันอยู่แล้วอยู่ๆ ก็มีน้ำทะลักเข้าบ้าน
ทำแบบนี้หนักกว่าพวกโจรปล้นบ้านอีก
ทรัพย์สินเสียหายเยอะกว่าไม่รวมชีวิต
ที่บ้านใครอยู่ใกล้ๆ และเป็นบ้านชั้นเดียวด้วย

แถมน้ำยังเหลือเก็บได้ตั้ง 30%
กลัวลนลานเขื่อนจะพัง
แสดงว่ามีการกินกันมากในการสร้างเขื่อน
เขื่อนถึงรองรับน้ำไม่ได้ 100%
หลายที่ 80% - 90% เขาก็ยังอยู่กันได้
ทนอีกหน่อยวันสองวันฝนก็หยุดแล้ว
จะรีบปล่อยมาทำไม
เผลอๆ ยังไม่ทันถึง 90% ฝนก็หยุดแล้ว
มันไม่ทันได้แตกหรอก
นอกจากสร้างไปกินไป

วิธีแก้ปัญหาเขื่อนน้ำล้นจนต้องปล่อยน้ำทิ้ง
จนมีผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้าน
วันนี้ขอเสนอแนวคิดหาวิธีป้องกัน
เพื่อรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าวิธีปล่อยน้ำในเขื่อน
ทิ้งใส่ชาวบ้านเป็นอย่างเดียว

วิธีที่ว่าก็คือ
การสร้างเขื่อนใต้เขื่อนเดิม
เพื่อเป็นที่รองรับน้ำในยามวิกฤต
อย่างกรณีเขื่อนที่กาณจน์
ผมเห็นมีพื้นที่ใต้เขื่อนพอสมควร
โดยพื้นที่ใต้เขื่อนยามปกติ
จะต้องไม่มีน้ำขัง
หมายความว่า ในกรณียามปกติ
หลังจากปล่อยน้ำจากเขื่อนแรกมาแล้ว
ก็ให้ไล่ผ่านไปด้วยปริมาณที่มีการปล่อย
ผ่านเขื่อนที่ 2 ไปทันทีไม่มีกักไว้ที่เขื่อนที่ 2
เรียกว่ายามปกติ บริเวณเขื่อนที่ 2
จะเป็นที่โล่งว่างๆ มีทางน้ำไหลจากเขื่อนแรก
คล้ายๆ ลำคลองเล็กๆ บนพื้นที่โล่งๆ
วันไหนเกิดมีน้ำมากฝนตกหนักๆ
ถึงจะปิดเขื่อนที่ 2 กักน้ำที่ไหลออกจากเขื่อนแรก
หลังจากขึ้นไประดับ 70% - 80% ขึ้นไป
ซึ่งเวลามีฝนตกหนัก ถ้าทางเขื่อนสามารถกักน้ำชะลอไว้ได้
โดยไม่กลัวเขื่อนจะพัง เช่นกรณีที่ว่า
แค่วันสองวันบางพื้นที่น้ำก็จะลดลงแล้ว
หรือไม่เกินอาทิตย์น้ำก็จะลดลง
หลังจากนั้นถึงค่อยๆ ปล่อยน้ำจากเขื่อนที่ 2 ออกไปเรื่อยๆ
จนกระทั่งเกือบหมดก็ปล่อยจากเขื่อน 1 แบบยามปกติ
บริเวณเขื่อน 2 จะต้องกลับมาว่างแบบเดิม
ภายหลังเมื่อวิกฤตการณ์น้ำท่วมผ่านไป
ถ้ามี 3 เขื่อน ถึงจะแบ่งเขื่อน 2 เป็นที่กักน้ำสำรอง
เฉพาะกรณีเผื่อหน้าแล้ง
แต่เขื่อน 3 จะต้องว่างเพื่อรอรับน้ำไม่ให้ท่วมฉับพลัน
เพราะน้ำท่วมฉับพลันจะแรงและเร็วและสร้างความเสียหาย
มากกว่าน้ำที่ค่อยๆ ท่วม
ถ้าน้ำค่อยๆ ท่วมกำแพงไม่พังบ้านไม่พัง
แต่ถ้าเป็นน้ำป่าน้ำปล่อยจากเขื่อน
จะมาแรงและเร็วอะไรขวางทางพังหมด

กรณีแก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งน้ำป่าไหลหลาก
หรือฝนตกหนักขังจนสูงท่วมเป็นเวลานาน
อาจไม่เกี่ยวกับกรณีเขื่อนปล่อยน้ำมาสมทบจนท่วม
วิธีแก้ปัญหากรณีนี้
ก็คล้ายๆ กรณีแรก
คือต้องสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
ในพื้นที่เสี่ยงที่ชอบท่วมประจำ
แต่ยามปกติต้องไม่เก็บน้ำเอาไว้เลย
เมื่อฝนตกหนักๆ ถึงเปิดท่อให้น้ำในเมือง
หรือจุดต่างๆ สูบมาลงที่เขื่อนนี้
ก็จะช่วยบรรเทาน้ำท่วมไปได้มาก
อันที่จริงน้ำท่วมนี่ ไม่จำเป็นต้องน้ำมากเสมอไป
แค่น้ำนิดเดียวแต่ไม่รู้จะไหลไปไหน
มันก็กลายเป็นน้ำท่วมได้
อย่างแถวตลาดนัดใกล้คอนโดเรา
นั่นหน่ะท่วมทุกครั้งที่ฝนตกหนัก
น้ำก็มีนิดเดียวคือขนาดไม่ถึงหัวเข่าอยู่บนถนนเท่านั้น
ระยะทางไม่กี่สิบเมตรเอง
แต่กลายเป็นปัญหาน้ำท่วม
เพราะขังนานหลายวันจนแถวตลาดนัด
ชาวบ้านเขาจะเปลี่ยนชื่อเป็นตลาดน้ำไปแล้วช่วงนี้
ถ้าสามารถสูบน้ำอันน้อยนิดไปทิ้ง
ไม่ถึงชั่วโมงหลังฝนหยุด
น้ำก็แห้งไปหมด เพราะมีน้ำแค่นั้นเอง
ใช้รถมาสูบน้ำไปทิ้งก็ไม่กี่เที่ยวเอง
แต่ไม่มีใครคิดทำ เฮ้อ

หลังเรื่องน้ำท่วมผ่านไปแล้ว
อ่างเก็บน้ำที่ว่า ก็ให้ชาวบ้าน
ใครมีปัญญานำน้ำไปใช้ก็มาขนมาสูบเอาไปฟรี
ใครจะมาเอาดินไปทำปุ๋ยก็เอาไป
เคลียร์เป็นพื้นที่โล่งๆ แบบเดิมให้ได้
หลังจากน้ำทุกพื้นที่ลดลงหมดแล้ว
ไม่เน้นเก็บเอาไว้เพื่อการอื่น
ทำเป็นขั้นบันไดจะได้ลงไปทำกิจกรรมได้
กรณีเป็นพื้นคอนกรีตยังทำเป็นสนามกีฬาชั่วคราว
แสดงคอนเสริต์ หรือ เปิดตลาดนัดก็ได้ทั้งนั้น
เน้นทำให้โล่งอย่าได้ไปหวงน้ำ
เพราะนี่คืออ่างเก็บน้ำกันน้ำท่วมตามจุดประสงค์ของมัน
มันต้องไม่มีน้ำเพื่อจะได้รองรับน้ำได้เยอะๆ ในยามวิกฤต

กรมชลประทานนี่ผมไม่รู้ว่า
มีหน้าที่แก้ปัญหาน้ำท่วมหรือไม่
ถ้าไม่มีมันต้องแก้ให้มีหน้าที่นี้ด้วย
และมีตัวชี้วัดผลงาน
แก้ปัญหาภัยแล้งได้ไหม
และแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ไหม
โดยมีปริมาณน้ำฝนเป็นเกณฑ์ตั้ง
และความเดือดร้อนของชาวบ้านแถวเขื่อน
ทั้งภัยแล้งและโดนน้ำท่วมจากเขื่อนเป็นเกณฑ์วัดผลงาน
เพราะถ้าไม่มีเกณฑ์แบบนี้ก็สนุกกันใหญ่
ไม่ใช่หน้าที่ฉัน ฉันรักษาเขื่อนยิ่งชีพ
อย่างอื่นไม่รู้ไม่ชี้

กรมอุตุนิยมวิทยาก็เหมือนกัน
ต้องวิเคราะห์ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างคร่าวๆ ก็ยังดี
เช่น ถ้าช่วงไหนเกิดปรากฏการณ์ เอลนินโญ แถวบ้านเรา
ก็คงต้องแล้ง ขาดน้ำแน่ๆ ต้องหาวิธีกักน้ำให้มากๆ
แต่ถ้าเกิด ลานินญา น่าจะเป็นช่วงนี้
จะมีพายุมากเกิดอุทกภัยมาก ก็ต้องไม่กักน้ำไว้มาก
เพื่อรองรับน้ำที่จะท่วม
ซึ่งน่าจะรู้ล่วงหน้าหลายปีอยู่แล้วเรื่องพวกนี้
นี่ยกตัวอย่างการทำนายล่วงหน้าเป็นปีๆ
ไม่เป็นวันๆ หรือเกิดพายุแล้วก็ตามเป็นวันๆ
หรือเกิดเมฆแล้วถึงรู้ว่าฝนจะตก เป็นวันๆ ไม่กี่วัน
ระดับไม่กี่วันใช้สัญชาตญาณแต่ละคนอาจยังรู้ได้เลย
เช่นถ้าช่วงไหนร้อนมาก ขนาดอยู่ในห้องแอร์ที่เคยเย็นกลับไม่เย็น
ร้อนจนปวดหัวเวียนหัวไม่ใช่ร้อนแดด หลบร่มก็หาย
ก็แสดงว่าไอดินมากแล้ว โอกาสฝนตกหนักมีมากด้วย
สามารถทำนายได้ 2-3 วันก่อนเกิดเหตุยังได้
ถ้าใครความรู้สึกไวๆ หน่อยจะรู้สึกได้
มดมันยังรู้สึกเป็นอาทิตย์เลย
ถ้าจะเหนือกว่ามันต้องทำนายล่วงหน้าเป็นเดือนเป็นปีถึงจะแจ๋วจริง อิอิ
และควรมีตัวชี้วัดเรื่องการพยากรณ์ข้ามเดือนข้ามปีด้วย
ว่าใกล้เคียงกับความเป็นจริงเท่าไหร่
ถ้าสามารถวัดผลงานกรมอุตุนิยมวิทยาด้วยวิธีนี้
จะเป็นตัวบีบให้กรมอุตุนิยมวิทยาพัฒนาตนเองมากขึ้น
และกล้าที่จะวิเคราะห์ฟันธงล่วงหน้ามากขึ้นด้วย

โดย มาหาอะไร
FfF