บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


02 กุมภาพันธ์ 2554

<<< รูปแบบการปฏิวัติประชาชน มักจบด้วยกองทัพหรือไม่ก็ฝูงชน >>>

กรณีจบลงด้วยกองทัพ ที่จะเข้ามาแทรกแซง
อย่างล่าสุดก็คือที่ตูนีเซีย และ มีทีท่าว่า
ที่อียิปต์อาจจบแบบเดียวกัน ตามข่าวด้านล่างนี้

------------------------------------------------------------------------------------

ชี้กองทัพอียิปต์จะเป็น"ตัวแปร"บีบมูบารัคพ้นตำแหน่ง อาจขึ้นกุมอำนาจปท.แทน-ฝ่ายค้านหมดสิทธิ์
วันที่ 02 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 14:10:00 น.

ซีเอ็นเอ็นรายงานบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ วิกฤตการเมืองประชาชนอียิปต์นับล้านคนชุมนุมขับไล่ประธานาธิบดีมูบารัคให้ ลาออกจากตำแหน่งโดยทันที แม้ว่าฝ่ายหลังจะประกาศก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อครบวาระผู้นำในเดือนก.ย.แล้ว โดยบรรดานักวิเคราะห์ระบุว่า หากประชาชนอียิปต์ขยายการเรียกร้องดังกล่าว กองทัพอียิปต์จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะบีบให้นายมูบารัคต้องลาออกจากตำแหน่ง โดยทันที

นักวิเคราะห์มองว่า กองทัพอียิปต์ซึ่งที่ผ่านนามาได้กลายเป็นศูนย์กลางผู้นำสันติภาพของโลก อาหรับ กองทัพได้แสดงปฎิกิริยาเห็นใจต่อเหล่าประชาชนผู้ประท้วงขับไล่รัฐบาลมูบารัค และยังประกาศจะไม่ใช้กองกำลังต่อผู้ประท้วง และหากต้องเลือกระหว่างมูบารัค กับเหล่ามวลชนผู้ประท้วงประธานาธิบดีอียิปต์ เหล่าผู้นำกองทัพอียิปต์ ซึ่งขณะนี้ได้ควบคุมรัฐบาลใหม่อียิปต์จะไม่สนับสนุนนายมูบารัค โดยกองทัพอียิปต์อาจบดขยี้ประชาชนผู้ขับไล่ผู้นำอียิปต์ได้ แต่สิ่งนี้จะกลายเป็นปฎิกิริยารุนแรง ที่จะถูกสหรัฐตอบโต้

"ทางเลือกก็คือว่า กองทัพอียิปต์จะดูแลผลประโยชน์ของตัวเองให้ราบรื่น และในขณะนี้ปธน.มูบารัค กำลังทำให้สถานการณ์ยากลำบากมากขึ้น เพราะเมื่อเขาปฎิเสธที่จะก้าวลงจากตำแหน่ง การชุมนุมประท้วงก็ไม่จะยุติ และเมื่อกองทัพต้องเลือกระหว่างผลประโยชน์ของตัวเอง พวกเขาจะพูดว่า ท่านประธานาธิบดี เราไม่สามารถสนับสนุนท่านได้อีกต่อไป"นักวิเคราะห์รายหนึ่งกล่าว

รายงานระบุว่า ในการแสดงมุมมองเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองอียิปต์ ประธาาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐ ได้เรียกร้องให้กองทัพอียิปต์ปฎิบัติหน้าที่"อย่างมืออาชีพ"ในการเผชิญหน้า กับกลุ่มประชาชนผู้ประท้วงขับไล่รัฐบาลมูบารัคและนักวิเคราะห์ระบุว่า ประชาชนผู้ประท้วงต้องการผนึกสัมพันธ์กับทหารบนท้องถนน และนั่นทำให้กองทัพอยู่ในสถานภาพผงาดขึ้นเป็นผู้นำได้

อย่างไรก็ตาม คำถามใหญ่กว่าก็คือ ใครจะเป็นผู้นำใหม่ของอียิปต์หากมูบารัคพ้นตำแหน่ง คำตอบคืออาจเป็นบุคคลที่อยู่ในกองทัพ หรือมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกองทัพ และไม่น่าจะเป็นนายโมฮัมหมัด เอล บาลาราเด ผู้นำฝ่ายค้าน และไม่ใช่บุคคลในตำแหน่งฝ่ายค้าน และแม้ว่ากลุ่ม"ภราดรภาพมุสลิม"จะต้องการผงาดขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าว เพราะกลุ่มต้องการจะสร้างอิทธิพลวางนโยบายของกลุ่มปกครองประชาชนอียิปต์ ทั้งในประเด็นสังคมและประเด็นกิจการภายในประเทศ แต่พวกเขาจะถูกปฎิเสธจากกองทัพ ขณะที่กองทัพอียิปต์อาจจะต้องขึ้นคุมอำนาจบริหารประเทศ แต่กองทัพก็จะพยายามหลบเลี่ยงการอยู่หน้าฉาก

รายงานระบุว่า ที่ผ่านมา กองทัพอียิปต์ เป็นเสมือน"กันชน"ต่อต้านกลุ่มลัทธิมุสลิมหัวกร้าว เช่น กลุ่มภราดรภาพมุสลิม นอกจากนี้ กองทัพอียิปต์ยังเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศอย่างสูงด้วย โครงสร้างอำนาจดังกล่าวดำเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่ยุคอดีตประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต และฮอสนี มูบารัค แล้ว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1296624833&grpid&catid=06&subcatid=0600

----------------------------------------------------------------------

ส่วนจบด้วยฝีมือฝูงชน โดยมีพรรคการเมืองหนุนหลัง
ก็คือแบบเนปาล ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
<<< เนปาล จากวันวานถึงวันนี้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/02/blog-post_05.html

ข้อดีของการจบด้วยกองทัพเข้ามาทำการขับไล่ผู้มีอำนาจเก่า
ก็คือ จะจบเร็ว ไม่เสียเลือดเนื้อมาก
ข้อเสีย ก็คือ ฝ่ายผู้มีอำนาจอาจยังสามารถคุมสถานการณ์ได้ผ่านลูกน้องในกองทัพ
ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนใหญ่เปลี่ยนเฉพาะตัวผู้นำก็จบ

ข้อดีของการจบด้วยฝูงชนสามารถขับไล่ผู้มีอำนาจเก่าได้
ก็คือ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามใจประชาชนที่ร่วมปฏิวัติมากกว่าแบบจบด้วยกองทัพ
ข้อเสีย ก็คือจะใช้เวลายืดเยื้อยาวนานกว่า
และบาดเจ็บล้มตายมากกว่าแบบจบด้วยกองทัพเข้ามาช่วยยึดอำนาจ

ดูกรณีเนปาล ฝ่ายประชาชนชนะ
ก็สามารถเปลี่ยนจากระบอบกษัตริย์เป็นประมุขมาเป็นแบบสาธารณรัฐได้สำเร็จ
แต่ก็ใช้เวลายืดเยื้อยาวนาน ถ้านับเฉพาะช่วงแตกหักใช้เวลาหลายเดือนเหมือนกัน
บาดเจ็บตายหลายพันคน

----------------------------------------------------------------------

<<< วันนั้นที่เนปาล ใครจะนึกว่า จะมีวันนี้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/02/1-httpmaha-arai.html

"ทรงสำคัญผิด-การยึดกุมอำนาจในกองทัพไว้ได้ และมีผู้นำเหล่าทัพที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย กอรปกับการประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อให้ประชาชนได้เห็นแต่ด้านดีของระบบกษัตริย์ ทำให้พระองค์ทรงประเมินสถานการณ์ผิดพลาด

พันธมิตรแห่งแนวต้านอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์

การที่พระองค์ประมาณสถานการณ์ผิดว่าสามารถยึดกุมกองทัพเอาไว้ ถึงขั้นล้มรัฐบาลหลายคณะ และที่สุดรวบพระราชอำนาจมาไว้ที่พระองค์เสียเอง กับเชื่อมั่นว่าการประชาสัมพันธ์แต่ด้านบวกให้พสกนิกรชาวเนปาลเทิดทูนก็ เพียงพอแล้ว และหวังว่าจะทำสงครามเอาชนะพวกกบฎคอมมิวนิสต์ได้ พระองค์ก็จะกลายเป็นวีรบุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติ ทั้งหมดนี้ทำให้ราชวงศ์เดินทางมาถึงจุดจบ..เพราะสิ่งที่พระองค์ไม่ได้นำมา ประเมินเลยก็คือ พลังของประชาชนผู้กระหายประชาธิปไตย และการปกครองโดยประชาชน

ท่ามกลางอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ ในประเทศ ต่อมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 พันธมิตร 7 พรรคการเมืองเของเนปาล (Seven Party Alliance - SPA) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองในสภาร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) หรือกบฏลัทธิเหมา ได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรบันทึกข้อตกลง 12 ประการเพื่อสันติภาพและประชาธิปไตย เพื่อต่อต้านการปกครองของกษัตริย์คยาเนนทราซึ่งทำให้เกิดฝ่ายต่อต้านการ ปกครองของกษัตริย์ขยายตัวออกไปทั่วประเทศ

การต่อต้านพระราชอำนาจได้ถึงจุดปะทะเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2549 พันธมิตร 7 พรรคการเมืองจัดการชุมนุมในกรุงกาฐมาณฑุ เรียกร้องประชาธิปไตย และคว่ำบาตรการเลือกตั้งท้องถิ่นที่กษัตริย์คยาเนนทราได้จัดขึ้นในเดือน กุมภาพันธ์ เนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นเพียงมายาภาพที่แสดงให้เห็นว่านี่ เป็นก้าวแรกสู่ประชาธิปไตยเพื่อสร้างความชอบธรรมในการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จของ พระองค์ที่ดำเนินมากว่า 1 ปี

โดยรัฐบาลพยายามสกัดการชุมนุมของประชาชนด้วยการประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้านในยามวิกาลในเขตเมืองหลวงและบาง พื้นที่ของเนปาล ห้ามการชุมนุมสาธารณะ มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และคุกคามผู้ออกมาต่อต้านการเลือกตั้งดังกล่าว ทำให้การชุมนุมเลื่อนจากวันที่ 20 มกราคม มาเป็นอีกวันหนึ่ง

โดยในวันที่ 21 มกราคม มีการเดินขบวนท้าทายอำนาจของกษัตริย์ครั้งใหญ่โดยประชาชนหลายพันคน ทำให้รัฐบาลของกษัตริย์คยาเนนทราใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง จนมีผู้นำพรรคการเมือง นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ผู้นำแรงงาน นักศึกษา และนักหนังสือพิมพ์ถูกจับกุมหลายร้อยคน ขณะที่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ตอบโต้ด้วยการขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจและทหาร พร้อมเผายางรถยนต์เป็นเครื่องกีดขวาง ซึ่งการปราบปรามครั้งนั้นทำให้การชุมนุมต่อต้านกษัตริย์ปะทุไปทั่วประเทศ

การประท้วงใหญ่เดือนเมษายน และการสละพระราชอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์

ในเดือนเมษายน 2549 ภายใต้การนำของพันธมิตร 7 พรรคการเมืองเนปาล (Seven Party Alliance - SPA) และกบฏลัทธิเหมาได้มีการต่อต้านครั้งใหญ่เพื่อทวงประชาธิปไตยคืนมาจาก กษัตริย์ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน มีการนัดหยุดงานทั่วประเทศเป็นเวลา 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน และจัดการชุมนุมใหญ่ในเมืองหลวงวันที่ 8 เมษายน ตามด้วยการดื้อแพ่งด้วยการหยุดจ่ายภาษี เช่นเดียวกับการประท้วงหลายต่อหลายครั้ง

รัฐบาลได้ประกาศเคอร์ฟิว ห้ามไม่ให้ประชาชนออกมาชุมนุม แต่การชุมนุมประท้วงกลับขยายตัวไปตามเมืองใหญ่ๆ ตลอดทั้งเดือน ทำให้รัฐบาลพยายามควบคุมสถานการณ์ด้วยการใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดสลายการ ชุมนุมกระทั่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก จำนวนผู้ออกมาประท้วงเฉพาะในเมืองหลวงพุ่งสูงกว่า 300,000 - 500,000 คน

และในวันที่ 21 เมษายนกษัตริย์คยาเนนทราได้มีพระราชดำรัสว่าจะทรงคืนอำนาจบริหารให้แก่ ประชาชน และจะจัดการเลือกตั้งใหม่ให้เร็วที่สุด รวมทั้งขอให้กลุ่มพันธมิตรฯ เสนอชื่อชื่อบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แต่กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มกบฏลัทธิเหมาปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว พร้อมกับนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันที่ 25 เมษายน

กระทั่งเที่ยงคืนของวันที่ 24 เมษายน กษัตริย์คยาเนนทราได้ยอมประกาศคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านสถานีโทรทัศน์ว่า พระองค์จะฟื้นฟูสภาผู้แทนราษฎรที่ล้มเลิกไปและขอให้พรรคการเมืองทั้ง 7 พรรคกลับมาร่วมรับผิดชอบดูแลประเทศชาติ เพื่อประชาธิปไตยและสันติภาพของชาวเนปาล ทำให้วันรุ่งขึ้นชาวเนปาลจำนวนมากออกมาชุมนุมแสดงความยินดีต่อชัยชนะของประชาชนตามท้องถนน

ตลอดการประท้วงใหญ่ 19 วัน มีการปราบปรามโดยกองกำลังรัฐบาลจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 คน และผู้บาดเจ็บนับพันคน ด้วยเหตุนี้ระหว่างประท้วงจึงทำให้มวลชนตามท้องถนนเผาหุ่นของกษัตริย์และ ประณามกษัตริย์คเยนทราว่าเป็น “ฆาตกร” "

------------------------------------------------------------------------------

อันที่จริงมีการต่อสู้กันมายาวนานหลายสิบปี
หลังจากพรรคใหญ่ไม่สามารถเล่นการเมืองบนดินได้จึงมุดลงดิน
"การต่อสู้ด้วยอาวุธระหว่างกบฎลัทธิเหมากับกองกำลังรัฐบาล
มีผู้เสียชีวิต มากกว่า 13,000 คนและบาดเจ็บหลายหมื่นคน"

ในช่วงท้ายของการชุมนุมที่เรียกว่าชุมนุมใหญ่ 19 วัน
ตาย 19 คนบาดเจ็บนับพัน น้อยกว่ากรณีเสื้อแดงอีก ยังอยู่ไม่ได้
เพราะประชาชนจำนวนมากเริ่มไม่กลัวตาย ออกมาบนท้องถนนมากมาย
ถึงเวลานั้นเมื่อไหร่นับถอยหลังได้เลย
ถ้าคนระดับหลายๆ แสนหรือเป็นล้านจริงๆ กองทัพจะเริ่มปั่นป่วน
ไม่มีใครยิงคนจำนวนมากๆ แล้วรอดไปได้ง่ายๆ
มันเหมือนราดน้ำมันบนกองเพลิงซะมากกว่า

แต่ถ้ามีคนจำนวนมากๆ แล้วร้องรำทำเพลงสนุกสนาน
จะกลายเป็นงานเทศกาลรื่นเริงไป
แบบนั้นเหมาะสำหรับช่วงไม่ได้แตกหัก สำหรับระดมพล
แต่ถ้าช่วงแตกหัก คนจำนวนมากๆ ไม่ยอมจำนนง่ายๆ
ยังไงก็ต้องปล่อยให้ฝูงชนระบายอารมณ์ไปตามสถานการณ์
แต่ไม่ควรปล่อยให้กองทัพมายึดอำนาจ
เพราะจะเป็นการขับไล่ผู้มีอำนาจคนเก่า
แล้วมาเป็นผู้มีอำนาจคนใหม่แทน
ยกเว้นมาแอบหนุนฝ่ายประชาชนลักษณะกลมกลืน
การยอมเสียเวลาชนะมากขึ้น จะสร้างปัญหาในระยะยาวน้อยลง
คนจำนวนมากถ้าขับเคลื่อนมุ่งเข้าหารังผู้มีอำนาจเมื่อไหร่
ก็นับเวลาถอยหลังเป็นนาทีได้เลยไม่ต้องเสียเวลานับเป็นวัน

อันที่จริงบทเรียนก็มีให้ศึกษามากมาย
แต่ผู้มีอำนาจก็คือผู้มีอำนาจ ไม่ว่าประเทศไหน นิสัยคล้ายๆ กัน คือ
คิดว่าตนมีอำนาจมาก สามารถคุมสามเหล่าทัพและตำรวจได้คือไม่แพ้แน่นอน
ใช่อาจไม่แพ้ ถ้าประชาชนลุกฮือน้อย และไม่ได้มุ่งตรงมาหาเขา
แต่ถ้าวันใดมวลชนมากมายมหาศาลหลายๆ แสนคนจริงๆ จนเป็นล้านๆ คน
ต่อให้คนหนุนผู้มีอำนาจมากมายกว่า แต่นั่งนอนอยู่กับบ้านก็ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นมา
และกองทัพจะแบ่งฝ่ายกันตอนนั้น คือพวกไม่ชอบหน้ามีอยู่แล้ว
รอแค่ความมั่นใจว่าฝ่ายประชาชนชนะแน่ๆ และต้องชนะเจ้านายใหญ่ของเขาด้วย
ถ้าชนะแค่ระดับผู้บริหารระดับเล็กแต่เจ้านายใหญ่ยังอยู่
ยากที่จะเห็นการแปรพักตร์จำนวนมากของคนในกองทัพ

แนวป้องกันเรียงหน้ากระดานหวังยิงสกัดประชาชน
อาจใช้ได้ผลถ้าประชาชนมาแต่มือเปล่าหรือก้อนหิน
แต่ถ้าเขามาพร้อมเครื่องทุ่นแรง ไม่จำเป็นต้องมีครบหมดทุกคน
เขาสามารถแหกได้ทุกด่านไม่ยากถ้าเขาจะทำ
ส่วนรถถังเอามาวิ่งโก้ๆ ไม่กล้ายิงใส่ประชาชน
เอามาขู่ให้ประชาชนกลัว ถ้าเขาไม่กลัวเดี๋ยวโดนจับเอาไปเผาแน่นอน
เรียกว่าถ้าคนหลายแสนหรือเป็นล้านคนระดับนั้น
ความฮึกเหิมมากมายทวีคูณ เห็นช้างเหมือนเห็นมดไล่กระทืบได้เหมือนกัน
แต่ถ้าคนน้อยๆ นั่นแหล่ะถึงไม่ค่อยกล้าฮึกเหิมมาก

ส่วนการจ้องรัฐประหารที่มีการปล่อยข่าว แล้วออกมายืนยันว่าไม่คิดจะทำ
สุจินดาก็เคยยืนยัน สนธิ บังก็เคยยืนยัน แบบนี้ไม่ใช่หรือ
เห็นหลังยืนยันไม่กี่เดือนก็ทำตรงกันข้ามทุกที
เพียงแต่อาจแค่คิดจะทำ แต่เจอพวกรู้ทันบวกกับสถานการณ์จากต่างประเทศแรงมาก
กลัวเป็นเหมือนกันมากกว่า ถึงไม่กล้าทำ ไม่ใช่ไม่อยากทำ
แต่เอาแน่ไม่ได้ เดี๋ยวสถานการณ์พาไปก็อาจกลับลำมาทำจนได้

การทำรัฐประหารกับการกระชับพื้นที่หรือสลายการชุมนุมของรัฐบาลนี้
ผมว่ามันเหมือนๆ กันจนรู้สึกเฉยๆ กับคำว่ารัฐประหารแล้ว
เพราะไม่เห็นมันจะแตกต่างกันเลย เอาทหารถือปืนจริงไล่ยิงประชาชน
กับการออกมารัฐประหารใครขว้างยิง เหมือนๆ กันนั่นเอง
ไม่มีอะไรต่าง ไม่น่าตื่นเต้นอะไรเลย ถ้ามวลชนไม่กลัวจำนวนมากๆ
ชุมนุมต่อต้านก็ทำอะไรไม่ได้หรอก แต่จะผลัดกัน
ในกรณีไปสลายการชุมนุมฝ่ายทหารจะเป็นฝ่ายรุก
แต่การทำรัฐประหารสำเร็จเขาจะเป็นฝ่ายตั้งรับ
ฝ่ายประชาชนจะกลับมาเป็นฝ่ายทำเกมรุก ซึ่งจะดีกว่าทำเกมตั้งรับ
เพราะเป็นม็อบถ้าไม่รุกนอนอยู่บ้านดีกว่า
ม็อบต้องรุกห้ามตั้งรับเด็ดขาด
เพราะโดยสภาพมันไม่ใช่กองกำลังพิทักษ์ใครหรือสถานที่อะไร
ดึกๆ ก็กลับบ้านจะไปยึดพื้นที่นอนอยู่กับที่เพื่อตั้งรับไปทำไม
ถ้าถึงคราวต้องตั้งรับแบบนั้นกลับบ้านนอนบ้านใครบ้านมันดีกว่า
เพราะไม่มีประโยชน์อะไร รอวันเขาบีบเขากระชับพื้นที่เรื่อยๆ ก็แย่แล้ว
ถ้าเป็นม็อบแล้วต้อง รุกรุกรุกรุกๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ อย่างเดียว
ไม่เช่นนั้นก็ไม่จำเป็นต้องก่อม็อบ หาเสียงเลือกตั้งไปตามปกติ
การรุกนี่ไม่ใช่วิ่งไปลุยอย่างเดียว อยู่กับที่ก็รุกได้
ถ้าทำให้ฝ่ายตรงข้ามนั่งไม่ติด

อีกอย่าง ระหว่างช่วงแตกหักเห็นในต่างประเทศ
มีบางพวกชอบไปเผาสถานที่ ที่เหมือนเป็นมรดกของโลกโดยไม่จำเป็นต้องประกาศ
เป็นเอกลักษณ์หรือสถานที่สำคัญประจำชาติ พวกนี้เราไม่ชอบเลย
แบบว่ามีที่ตั้งเยอะไม่ไปทำ ไปทำอะไรที่เป็นลักษณะโบราณสถานโบราณวัตถุ
แม้ยามสงครามไม่จำเป็นจริงๆ ยังต้องเลี่ยงเลย
เพราะมันเป็นสมบัติของมนุษยชาติ ไม่ใช่ของชาติใดชาติหนึ่งโดยเฉพาะ
ไม่น่าเอามันเอาสะใจทำอะไรไร้สติ
เพราะจะสูญเสียโบราณวัตถุหรือโบราณสถานล้ำค่าไปตลอดกาลเลย

ส่วนการเอาก้อนหินไปสู้กับปืนเห็นทีไรรู้สึกสะเทือนใจ ช่างกล้าจริงๆ
แต่มันไม่สูสีเอาเสียเลย ไม่สมเหตุผลด้วย
เพราะความไกลระหว่างลูกกระสุนที่สวนมา
กับก้อนหินที่สวนไปมันต่างกันมาก
วิธีที่พวกไดโนเสาร์ใช้แล้วได้ผลก็คือ
การทิ้งช่วงห่างกะพอระยะวิถีกระสุนยิงถึง
ฝ่ายบุกไม่มีเครื่องทุ่นแรงเช่นปืนเหมือนกัน ก็สู้ไม่ได้หรอก
เครื่องทุนแรงก็มีมากมาย เลียนแบบกองทัพเหมาก็ได้
ที่เอาถังน้ำมันมาทำเป็นปืนครกแล้วกระสูนก็คือ
ดินระเบิดที่หุ้มด้วยเทียนหรือขี้ผึ้งแล้วห่อด้วยผ้าอีกที
รูปทรงคล้ายๆ เหรียญบาท แต่ขนาดเข้าปล้องถังน้ำมันได้
เจาะรูด้านหลังถังเอาสายชนวนออกมาแล้วจุดเหมือนเล่นพลุนั่นแหล่ะ
สูสีกว่ากันเยอะเลย อิอิ
ไหนจะบั้งไฟ ติดหัวรบหน่อย จิปาถะ แค่นี้ก็สูสีมากมายแล้ว
ของเล่นพวกนี้ เห็นชอบเล่นกันช่วงวันลอยกระทง
ลองทำให้ใหญ่ขึ้นติดหัวรบหน่อย ก็สนุกกว่าเดิมเยอะเลย
หัวรบที่ว่านี่อาจเป็นยางมะตอยก็ได้
ไปตกแถวไหนไฟก็ไม่ค่อยจะดับง่ายๆ อะไรแบบเนี้ยะ
ดีกว่าขว้างก้อนหินเป็นไหนๆ ประชาชนอียิปต์น่าเอาไปลองทำเล่นดู

โดย มาหาอะไร
FfF