บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


16 มีนาคม 2554

<<< การเปิดโอกาสให้วิจารณ์ราชวงศ์อังกฤษโดยไม่ผิดกฏหมาย ทำให้ราชวงศ์อังกฤษปรับปรุงตัวให้ทันยุคสมัยก่อนที่จะสายเกินแก้ >>>

สื่อปูดเจ้าชายนำเครื่องบินหลวงไปใช้ส่วนพระองค์ คิดเป็นค่าใช้จ่ายจากเงินภาษีของประชาชน 4.5 ล้านบาท
สื่ออังกฤษรายงานว่า เจ้าชายวิลเลียมแห่งราชวงศ์อังกฤษ ทรงนำเครื่องบินของทางราชการไปใช้ในภารกิจส่วนพระองค์โดยที่ผู้บังคับบัญชาของกองทัพอากาศอังกฤษไม่ทราบเรื่อง

ขณะที่สำนักพระราชวังระบุเจ้าชายพร้อมรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นเจ้าชายวิลเลียมแห่งราชวงศ์อังกฤษหนังสือพิมพ์ซันเดย์ เทเลกราฟ

รายงานโดยอ้างเอกสารที่ได้มาภายใต้กฎหมายเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสาร

ว่า เจ้าชายวิลเลียม ทรงนำ เฮลิคอปเตอร์ชีนุก ของกองทัพอากาศไปใช้เป็นยานพาหนะไปร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ และงานแต่งงานเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ระหว่างที่เข้ารับการฝึกหลักสูตรขับเครื่องบินกับกองทัพอากาศ เป็นเวลา 4 เดือนรายงานระบุว่า เจ้าชายวิลเลียมทรงวางแผนเที่ยวบินทั้งหมดเอง ทั้งกรณีที่นำเฮลิคอปเตอร์ไปยังพระราชวังไฮโกรฟ ในเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ การขับเฮลิคอปเตอร์ลงจอดที่บ้านของ เคท มิดเดิลตัน แฟนสาว รวมทั้งทรงขับเฮลิคอปเตอร์ไปร่วมงานแต่งงานทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ และทรงรับ เจ้าชายแฮร์รี พระอนุชา ไปร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ทางตะวันออกของอังกฤษ

คิดเป็นค่าใช้จ่ายจากเงินภาษีของประชาชน 86,434 ปอนด์ (ราว 4.5 ล้านบาท) ซึ่งโฆษกกระทรวงกลาโหมอังกฤษ ระบุว่า กองทัพอากาศอังกฤษจะยกเลิกเที่ยวบินเหล่านั้น หากทราบว่า เป็นการนำยานพาหนะของราชการไปใช้เป็นการส่วนพระองค์ด้านโฆษกสำนักพระราชวัง ระบุว่า เจ้าชายวิลเลียม ทรงยอมรับว่า นำยานพาหนะของราชการไปใช้ในภารกิจส่วนพระองค์จริง และจะรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้น

http://www.rajdumnern.net/showthread.php?tid=14893

------------------------------------------------------------------------

"สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธ" อาจถูกตัดค่าใช้จ่ายประจำปี หลังอังกฤษประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 15:03:05 น.

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ว่า สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ อาจจำเป็นต้องประหยัดในการใช้จ่ายส่วนพระองค์มากขึ้น หลังจากทางรัฐบาลอังกฤษประกาศที่จะหยุดการให้เงินแก่สมเด็จพระราชินีฯ เพื่อใช้ในการปฎิบัติพระราชภารกิจสาธารณะ หรือที่เรียกว่า "ซีวิล ลิสต์" เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม ในช่วงที่งบประมาณของประเทศประสบปัญหาอย่างหนักในรอบ 30 ปี โดยในแต่ละปีพระองค์จะได้รับเงินประมาณ 7.9 ล้านปอนด์ (ประมาณ 379.2 ล้านบาท) เป็นเวลาติดต่อกัน 20 ปีแล้ว ซึ่งตามปรกติ จะมีการพิจารณาการมอบเงินทุกๆ 10 ปี แต่ปรากฏว่าการพิจารณาครั้งสุดท้ายนั้น เกิดขึ้นเมื่อปี 1990 หรือเมื่อ 20 ปีมาแล้ว

เซอร์อลัน รี้ด ผู้ดูแลทรัพย์สินของสมเด็จพระราชินีได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลว่า ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในราชวงศ์ต่อปี ก็มีมูลค่าเกินกว่า 7 ล้านปอนด์แล้ว แต่คณะรัฐมนตรีและข้าราชการหลายคนก็เกรงว่า หากจำนวนเงินยังคงมียอดสูงเช่นนี้ อาจทำให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจได้ เนื่องจากประเทศอังกฤษกำลังอยู่ในช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ยุค 1930

แหล่งข่าวภายในราชสำนักกล่าวว่า สมเด็จพระราชินีฯ ทรงแสดงความวิตกอย่างยิ่ง ที่การเจรจาเรื่อง"ซีวิล ลิสต์" นั้น ไม่ประสบความสำเร็จ โดยปกติแล้วการเจรจาเช่นนี้จะดำเนินการอย่างลับๆและไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ทางสำนักพระราชวังก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ซึ่งโดยปกติสมเด็จพระราชินีก็ดำรงพระองค์ให้อย่างมัธยัสถ์อย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว และท่านก็เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ข้าราชบริพารทั้งหลายให้เห็นคุณค่าของเงิน

โดยเมื่อปีที่แล้วค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์เพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เปอร์เซนต์ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ และการลงทุนด้านสารสนเทศ อีกทั้งจำนวนข้าราชบริพาร เพิ่มขึ้นจาก 15 คน เป็น 298 คนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการประกัน เงินบำนาญ และเงินเดือน รวมเป็นรายจ่ายจำนวนกว่า 9.9 ล้านปอนด์ นอกจากนั้นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานจัดเลี้ยงประเภทต่างๆและค่าทำความสะอาดก็มีมูลค่ากว่า 4 ล้านปอนด์

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1277193865&grpid=&catid=06

------------------------------------------------------------------------

"เดลี่เมล์โพลล์" เผย ปชช.อังกฤษ ต้องการให้ราชวงศ์ "สละทรัพย์" จัดพิธีสมรส "เจ้าชายวิลเลี่ยม-เคท"วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 11:17:51 น.

หนังสือพิมพ์เดลี่เมล์ ของอังกฤษเปิดเผยผลการสำรวจว่า ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ต้องการให้สมาชิกในราชวงศ์ ช่วยสละพระราชทรัพย์สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในงานพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าชายวิลเลี่ยม และเคท มิดเดิลตัน หลังจากที่ประเทศอังกฤษประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก จนทำให้ต้องตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป

โดย "แฮร์ริส โพลล์" ซึ่งจัดทำขึ้นโดยหนังสือพิมพ์เดลี่เมล์ เปิดเผยว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าพิธีอภิเษกสมรสซึ่งจะจัดขึ้นในปีหน้านั้น จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนในประเทศรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้น และเพิ่มความเข้มแข็งให้กับราชวงศ์อังกฤษยิ่งขึ้น แต่พวกเขาเชื่อว่าควรมีการลดค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีดังกล่าวเช่นกัน

โดยผลสำรวจพบว่า 82% ของผู้ตอบแบบสำรวจคิดว่า ราชวงศ์อังกฤษควรให้เงินสนับสนุนการจัดพิธีดังกล่าว โดยมีเพียง 14% เท่านั้นที่เห็นว่า ควรหักจากภาษีของประชาชน และอีก 4% กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปควรเป็นผู้จ่าย

มีประชาชนจำนวน 51% ที่เห็นว่า การจัดพิธีควรเป็นไปอย่าง "เรียบง่าย" ขณะที่ 24% เชื่อว่าการจัดพิธีดังกล่าวควรจัดอย่าง "ยิ่งใหญ่และอลังการ"

เจ้าชายวิลเลี่ยม และเคท มิดเดิลตัน ประกาศพิธีอภิเษกสมรสขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อนปีหน้า หลังจากคบหาดูใจกันมานาน 8 ปี อย่างไรก็ตาม ทั้งคู่ยังไม่ได้เปิดเผยถึงสถานที่ หรือวันที่แน่นอนในการจัดพิธี อีกทั้งยังไม่ได้มีการประกาศจากรัฐบาลอังกฤษหรือสำนักพระราชวังอย่างเป็นทางการถึงค่าใช้จ่ายที่แน่นอน แม้ว่าหนังสือพิมพ์เดลี่เมล์จะรายงานข่าวว่า ทั้งคู่อาจจะร้องขอให้สมาชิกในราชวงศ์อังกฤษช่วยเหลือในด้านค่าใช้จ่ายก็ตาม

นอกจากนั้น ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า ประชาชนยังคงให้การสนับสนุนเจ้าชายวิลเลี่ยมและราชวงศ์อังกฤษ โดย 68% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า เจ้าชายวิลเลี่ยมสามารถเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดีได้ และ 53% เชื่อว่า เชื่อว่าการอภิเษกสมรสครั้งนี้จะทำให้สถานะของราชวงศ์อังกฤษแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

แต่สำหรับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ พระบิดาของเจ้าชายวิลเลี่ยม ประชาชน 48% เห็นว่า ควรหลีกทางให้เจ้าชายวิลเลี่ยมขึ้นครองราชย์แทนพระองค์

โดยเพียงหนึ่งวันหลังจาก การให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งของสหรัฐฯ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ได้ทรงตรัสเป็นครั้งแรกว่า คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ พระชายาของพระองค์อาจจะได้เป็น "สมเด็จพระราชาชินีฯ" ในสักวันหนึ่ง โดยประชาชน 14% สนับสนุนความคิดดังกล่าว ส่วนอีก 52% ต่อต้านความคิดดังกล่าว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1290226948&grpid=&catid=06&subcatid=0600

------------------------------------------------------------------------

เบื้องหลัง 'คลิปหลุด' เจ้าชายแฮรี่
17 มกราคม, 2009 - 04:19 | โดย headline

ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ ‘นิวส์ออฟเดอะเวิลด์' ของอังกฤษ มีผู้เข้าชมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากที่เคยมีคนแค่ ‘หลักพัน' คลิกเข้ามาอ่านข่าวประเภทสีสันบันเทิงซุบซิบดารา แต่ทันทีที่สื่อกระแสหลักอย่างสำนักข่าวบีบีซี เอพี รอยเตอร์ หรือไทม์ของอังกฤษ รายงานว่าเว็บนิวส์ออฟเดอะเวิลด์ มีการเผยแพร่ ‘คลิปหลุด' ของ ‘เจ้าชายแฮรี่' รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ยอดผู้เข้าชมก็พุ่งแตะหลัก 50,000 คนภายในเวลาไม่กี่วัน

สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือการถกเถียงอย่างจริงจังในชุมชนพลเมืองอินเตอร์เน็ต ว่าด้วยเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ, สิทธิส่วนบุคคล, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศ

สาเหตุสืบเนื่องมาจากเจ้าชายแฮรี่ทรงบันทึกวิดีโอประจำวันไว้ขณะทรงเข้ารับการฝึกอบรมภาคสนามที่อัฟกานิสถานในฐานะนักเรียนนายร้อยแห่งโรงเรียนแซนด์เฮิร์สต์เมื่อปี 2549 พระองค์ทรงหลุดปากเรียกนักเรียนนายร้อยเชื้อสายเอเชียที่เป็นพระสหายร่วมชั้นว่า ‘ปากี' และบอกกับพระสหายอีกคนหนึ่งซึ่งแต่งชุดพรางและมีผ้าโพกหัวว่า ดูเหมือน ‘พวกหัวผ้าขี้ริ้ว' หรือ ‘raghead'

ทั้ง 2 คำที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของเจ้าชายเป็นประเด็นอ่อนไหวในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างอังกฤษ (ซึ่งเป็นต้นตำรับแห่งการล่าอาณานิคม) รวมถึงสังคมอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำเรียกที่แฝงนัยเชิงเหมารวม ถึงขั้นที่หลายคนมองว่าเป็น ‘การเหยียดเชื้อชาติ' ที่ไม่อาจยอมรับได้

วิดีโอดังกล่าวหลุดมาถึงมือกอง บ.ก.หนังสือพิมพ์นิวส์ออฟเดอะเวิลด์ได้อย่างไรไม่มีใครรู้ แต่ที่สำคัญคือเจ้าชายแฮรี่ทรงตกเป็นเป้าแห่งการวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง ‘ความไม่เหมาะสม' และกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองระหว่างประเทศไปเรียบร้อยแล้ว

เป็นแค่เรื่องล้อเล่น?

วันเดียวกับที่คลิปวิดีโอของเจ้าชายแฮรี่เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ทางสำนักพระราชวังของอังกฤษก็ออกแถลงการณ์ ‘แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง' ต่อประชาชนผู้อาจได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ อันสืบเนื่องมาจาก ‘พระดำรัสที่ไม่เหมาะสม' ของเจ้าชาย แต่เนื้อหาที่ทิ้งท้ายในแถลงการณ์ระบุว่า วิดีโอที่หลุดออกมาถูกถ่ายไว้ตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน และอันที่จริง...เจ้าชายทรงใช้ถ้อยคำที่ว่าเรียกพระสหายที่สนิทสนมกับในกองทัพเท่านั้น หาได้เป็นการ ‘เหยียดเชื้อชาติ' อย่างใดไม่

ผู้ออกความเห็นท้ายข่าวในเว็บไซต์นิวส์ออฟเดอะเวิลด์จำนวนมากเห็นด้วยกับคำแถลงการณ์ของสำนักพระราชวัง และยืนยันว่า ‘ปากี' ไม่ใช่คำที่เลวร้ายอะไร และแทบจะไม่ต่างอะไรจากการตั้งฉายาไว้เรียกหยอกล้อกันในหมู่เพื่อนฝูง ซึ่งจะว่าไปคำว่า ‘ปากี' อาจไม่ต่างจากคำว่า ‘ลาว' ที่คนไทยบางคนชอบใช้เป็นคำวิเศษณ์ในความหมายเชิงกดทับว่าไม่ดี ไม่สวย ไม่เด่น ไม่ทันสมัย ฯลฯ แต่ถ้าคิดถึงใจ ‘คนเชื้อชาติลาว' ที่ได้ยินได้ฟังคำนี้บ่อยๆ ในสังคมที่นิยมความเป็น ‘ไทย' คงเป็นคำที่ไม่ทำให้รู้สึกดีสักเท่าไหร่

มิหนำซ้ำคำว่า ‘ปากี' ของเจ้าชายแฮรี่อาจยิ่งเลวร้ายกว่า เพราะกลุ่มขวาจัดที่สนับสนุนแนวคิดว่าคนผิวขาวคือเผ่าพันธุ์สูงส่งกว่าชนชาติอื่นๆ ในอังกฤษยุคทศวรรษที่ 70 เป็นผู้เริ่มต้นใช้คำว่า ‘ปากี' เพื่อเรียกทั้งชาวปากีสถานและชาวอินเดียที่อพยพมาตั้งรกรากในอังกฤษ ทั้งยังมีการก่อเหตุทำร้ายร่างกายชาวปากีสถาน หลายคดี จนเป็นที่เรียกว่า Paki Bashing (1)

ส่วนคนที่ ‘จริงจัง' กับคำ ‘ปากี' ของเจ้าชายก็มีอยู่จริงๆ เขาคือ ‘อิฟทิการ์ ราจา' พลเมืองอังกฤษ เชื้อสายปากีสถาน ผู้เป็นลุงของ ‘อาเหม็ด ราซา ข่าน' นักเรียนนายร้อยที่เจ้าชายทรงเรียกว่า ‘เพื่อนชาวปากีของเรา' ออกมาบอกเล่าความรู้สึกของคนที่ถูกตั้งฉายาเหมารวมว่า

"พวกเราต่างคาดหวังสิ่งที่ดีกว่านี้จากสมาชิกราชวงศ์ของเรา ซึ่งพวกเราต้องจ่ายเงินเป็นล้านล้านปอนด์สำหรับการฝึกอบรมและการศึกษา" (2)

แม้แต่นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ยังออกมากล่าวว่า การใช้คำ ‘ปากี' เป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ และกองทัพอังกฤษก็พยายามแบ่งรับแบ่งสู้ด้วยการประกาศว่าการเหยียดเชื้อชาตในกองทัพจะต้องถูกกำจัดให้หมดไป และจะทำเรื่องสอบสวนข้อเท็จจริงในคลิปวิดีโอฉาวของเจ้าชายโดยเร็วที่สุด (3)

ลึกแต่ไม่ลับกับเจ้าชาย

ด้านนิตยสารไทม์ของสหรัฐฯ ได้เรียงลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับเจ้าชายแฮรี่ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์จนถึงปัจจุบัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า ‘นี่ไม่ใช่ครั้งแรก' ที่การปฏิบัติพระองค์ของเจ้าชายกลายเป็นประเด็นถกเถียงของคนหมู่มากว่า ‘เหมาะสม' หรือ ‘ไม่เหมาะสม' อย่างไร

- เริ่มจากปี 2545 ครูในโรงเรียนอีตัน (โรงเรียนสำหรับ ‘ชนชั้นนำของอังกฤษ' และเป็นโรงเรียนที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นศิษย์เก่าด้วย) รายหนึ่งกล่าวหาว่าเจ้าชายแฮรี่ ‘ลอกข้อสอบ' แต่ผลการสืบสวนชี้ว่าเจ้าชายทรงปราศจากความผิดในทุกข้อกล่าวหา และครูคนนั้นก็ถูกไล่ออกไปในที่สุด

- เจ้าชายแฮรี่ทรงทดลองสูบกัญชาเมื่อทรงมีพระชนมายุ 16 ชันษา แต่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ พระบิดา ทรงจับได้ จึงถูกส่งไปบำบัดกับจิตแพทย์โดยใช้เวลายาวนานตลอดยามบ่ายวันหนึ่ง

- ในปี 2548 ทรงเสด็จไปงานเลี้ยงของพระสหายซึ่งตั้งเงื่อนไขว่าผู้มาร่วมงานต้องสวมชุดในยุคอาณานิคมหรือชุดชนพื้นเมือง แต่เจ้าชายแฮรี่กลับทรงชุดทหารพร้อมปลอกแขนที่มีสัญลักษณ์สวัสดิกะของนาซีเยอรมัน และหนังสือพิมพ์เดอะซันของอังกฤษนำภาพมาเผยแพร่ลงหน้าหนึ่ง กลายเป็นที่โจษจันไปทั่วโลก เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่ลืมความโหดร้ายของฮิตเลอร์และกองทัพนาซี ผลก็คือสำนักราชวังออกแถลงการณ์ในนามเจ้าชาย เพื่อแสดงความเสียพระทัยต่อความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

- ต่อจากเหตุการณ์ชุดนาซีไม่นาน เจ้าชายทรงเมามายและชกต่อยกับช่างภาพปาปาราซซี่ที่ตามถ่ายภาพพระองค์ขณะรายล้อมด้วยสาวๆ ในไนท์คลับ ผลก็คือช่างภาพกลายเป็นข่าวเสียเอง ส่วนเจ้าชายโดนกล้องทุบจนพระโอษฐ์แตก

อย่างไรก็ตาม สื่อหลายสำนักยืนยันตรงกันว่านับตั้งแต่จบการศึกษาจากแซนด์เฮิร์ส เจ้าชายแฮรี่ทรงมุงานด้านการกุศลอย่างจริงจังร่วมกับเจ้าชายวิลเลี่ยม พระเชษฐา รัชทายาทลำดับที่ 2 ของราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงริเริ่มโครงการช่วยเหลือเด็กกำพร้าในเลโซโทและประเทศในแถบแอฟริการ่วมกัน

ที่สำคัญ ช่วงท้ายๆ ของวิดีโอที่นิวส์ออฟเดอะเวิลด์นำมาเผยแพร่ แสดงให้เห็นภาพเจ้าชายแฮรี่ทรงใช้พระชิวหาเลียใบหน้าของนายทหารนายหนึ่ง ทำให้เกย์ชาวอเมริกันออกมาชื่นชมในความเปิดเผยของพระองค์ พร้อมระบุว่าถ้าชายแท้ในสังคมเปิดใจให้กว้างและรู้สึกสบายๆ กับการล้อเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน จะช่วยให้โลกใบนี้น่าอยู่ขึ้นอีกเยอะ!! (4)

‘สื่อ' เสี้ยม?

ในบรรดาความเห็นของผู้ชมวิดีโอเจ้าชายแฮรี่พร้อมกับอ่านรายงานในนิวส์ออฟเดอะเวิลด์ หลายคนตำหนิว่าหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ที่เป็นต้นตอเผยแพร่ต่างหากที่มีพฤติกรรม ‘น่ารังเกียจ' เพราะนำเรื่องส่วนตัวของเจ้าชายมาขายเป็นข่าวเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ โดยหยิบเอาประเด็นเรื่องเชื้อชาติมาใช้เป็นข้ออ้างในการนำเสนอ ทั้งที่เจตนาของเจ้าชายเพียงแค่ต้องการล้อเล่นเท่านั้น

กระแสโจมตีสื่อที่นำเสนอวิดีโอเจ้าชายกลายเป็นหมัดสวนกลับมาให้ ‘สื่อมวลชน' หลายฝ่ายหนาวๆ ร้อนๆ เพราะนอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลแล้ว ยังหนีไม่พ้นข้อหา ‘เสี้ยม' หรือปลุกปั่นยุยงให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ เพราะชาวปากีสถาน (ที่อยู่ประเทศปากีสถานจริง) ได้ยินข่าวก็ออกมาเดินขบวนประท้วงด้วยความไม่พอใจ

เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกองทัพที่รับผิดชอบเรื่องการจัดหาบุคลากรก็ออกปากว่าคลิปวิดีโอของเจ้าชายไม่เป็นผลดีต่อกองทัพ เพราะอาจทำให้ชาวอังกฤษเชื้อสายเอเชียไม่อยากเข้าร่วมกองทัพ และยังมีการตำหนิสื่อมวลชนที่เสนอข่าวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาด้วย (5)

หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ที่เล่นแต่ข่าวเบาๆ ฉาวๆ และบันเทิง ต้นกำเนิดวัฒนธรรมกัด-จิก-ทึ้ง-และปาปาราซซี่จึงถูกชี้นิ้วกล่าวโทษว่าคำนึงถึงการขายข่าวมากเกินไป แต่ ‘ไบรอัน รีด' คอลัมนิสต์ของ ‘เดอะ มิเรอร์' หนึ่งในบรรดาหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ของอังกฤษ ได้เขียนบทความชื่อ "Just no excuse for aristro-brat Prince Harry" ตอบโต้ข้อกล่าวหาว่าสื่อยุยง (6)

เนื้อหาในบทความของรีดเท้าความถึงกรณีพิพาทระหว่างประเทศอันสืบเนื่องจากคำพูดของ ‘เจด กู๊ดดี้' นักแสดงสาวชาวอังกฤษที่เข้าร่วมแข่งขันในรายการบิ๊กบราเธอร์เมื่อประมาณ 2-3 ปีก่อน ซึ่งหลุดปากใช้คำว่า ‘โรตี' หรือ ‘Poppadom' เรียกผู้แข่งขันอีกรายหนึ่งซึ่งมาจากอินเดีย

กระแสต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติและกระแสต่อต้านกู๊ดดี้ในขณะนั้นรุนแรงถึงขนาดที่กอร์ดอน บราวน์ ต้องออกมาขอโทษชาวอินเดีย ขณะที่สังคมอังกฤษเองก็พากันประณามการกระทำของกู๊ดดี้และแปะฉลากเป็นการถาวรว่าเธอเป็นพวกจิตใจคับแคบเหยียดเชื้อชาติ

พร้อมกันนี้ รีดได้เตือนความจำของผู้ที่ออกมาแก้ต่างให้เจ้าชายว่าคำเรียกพระสหายว่า ‘ปากี' อาจเป็นแค่เรื่องขำๆ แต่คำว่า ‘หัวผ้าขี้ริ้ว' หรือ raghead ซึ่งสำนักพระราชวังออกมาแก้ต่างว่าเจ้าชายทรงใช้คำนี้เพื่อสื่อความหมายถึง ‘นักรบของกองกำลังตาลีบัน' ซึ่งถือเป็นกลุ่มก่อการร้าย แต่ raghead เป็นคำที่มีนัยยะเชิงดูหมิ่นชาวอาหรับทุกชาติที่โพกหัวตามความเชื่อทางศาสนา รีดจึงตั้งคำถามว่าเหตุไฉนคนอังกฤษจึงเดือดร้อนจะเป็นจะตายกับการกระทำของกู๊ดดี้ แต่พร้อมที่จะให้อภัยต่อการกระทำของเจ้าชายอย่างง่ายดาย และสรุปตบท้ายว่า ‘อภิสิทธิ์เหนือระดับของชนชั้นสูงยังคงอยู่ในสังคมอังกฤษเสมอ'

‘เสรีภาพ' ในพรมแดนทดลอง

วิวาทะเรื่องเจ้าชายอังกฤษและการใช้ถ้อยคำเหยียดเชื้อชาติ กลายเป็นประเด็นที่ประชาชนอังกฤษ รวมถึงพลเมืองในประเทศที่ถูกพาดพิง และพลเมืองในโลกไซเบอร์หลากหลายสัญชาติ สามารถร่วมถกเถียงกันได้อย่างดุเดือดผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ผู้ร่วมถกเถียงบางส่วนต้องการปกป้องเจ้าชายที่พวกเขานิยมชมชอบ โดยให้เหตุผลว่าพระองค์ทรงมีเลือดเนื้อเช่นปุถุชนทั่วไป จึงเห็นต่างจากคนอีกจำนวนหนึ่งซึ่งคาดหวังให้เจ้าชายของพวกเขาเป็นตัวแทนและเป็นหน้าเป็นตาของราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งควรจะต้องดำรงไว้ซึ่งความเหมาะสมและสง่างามในทุกเวลา ส่วนคนอีกบางกลุ่มมองว่า ‘การเหยียดเชื้อชาติ' ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่ลับหรือที่แจ้ง การใช้ถ้อยคำในการเรียกผู้คนที่แตกต่างจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและต้องระมัดระวัง

ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันที่บ้านเมืองไทยของเรา องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกลับตั้งคำถามว่า "หรือประเทศไทยจะเป็นศัตรูรายใหม่ของสื่ออินเตอร์เน็ต" โดยอ้างถึงกรณีที่ ‘ใจ อึ๊งภากรณ์' อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกฟ้องร้องข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมีการพาดพิงถึงหนังสือ ‘A Coup for a Rich' ซึ่งเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีทางอินเตอร์เน็ตว่าเป็นเครื่องมือทำลายชื่อเสียงพระมหากษัตริย์

ขณะเดียวกัน ‘นายสุวิชา ท่าค้อ' วัย 35 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหาโพสต์ข้อความหมิ่นฯ ตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ปี 2550 หลังจากกระทรวงไอซีทีประกาศ ‘ล้างบาง' กว่า 2,300 เว็บไซต์ที่เป็นอันตรายต่อสถาบันกษัตริย์ได้ไม่นาน

ส่วนชะตากรรมของ ‘นายแฮรี่ นิโคไลด์ส' ชาวออสเตรเลียเชื้อสายกรีก ผู้ต้องหาซึ่งถูกจับเพราะเขียนหนังสือนิยายพาดพิงสมาชิกราชวงศ์ไทย ติดคุกมาแล้ว 4 เดือน ถูกปฏิเสธการประกันตัว 4 ครั้ง และคดีก็ยังไม่คืบหน้าไปถึงไหน จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ หากพื้นที่สื่ออินเตอร์เน็ตในเมืองไทยจะยังเป็นได้แค่พรมแดนทดลองของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น.

ข้อมูลอ้างอิง
(1) Britain: Prince Harry and the ‘P' word
(2) Prince's apology for racist term
(3) Prince Harry ‘Paki' comment unacceptable, says Gordon Brown
(4) Prince Harry has homophobia licked: gay rights campaigner
(5) Prince Harry ‘Paki' remark could harm ethnic recruiting
(6) Just no excuse for aristro-brat Prince Harry

http://www.facebook.com/profile.php?id=757427421

------------------------------------------------------------------------

เปลี่ยนกฎสืบสันตติวงศ์ใหม่ของราชวงศ์อังกฤษ

เรื่องกฏที่สืบทอดมาช้านานของราชวงศ์อังกฤษว่า รัชทายาทชายจะมีสิทธิในการขึ้นครองราชย์ก่อน หากไม่มีฝ่ายชายแล้วจึงจะตกเป็นของฝ่ายหญิงนั้น อาจถูกยกเลิกในอนาคตอันใกล้ จากความวิตกที่ว่า หากเจ้าชายวิลเลียมสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ II

ในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรี กอร์ดอน บราวน์ ได้เป็นผู้หยิบยกระเบียบว่าด้วยเรื่องการสืบสันตติวงศ์และการสมรสของเจ้านาย อังกฤษ กับบุคคลผู้นับถือศาสนาคริสต์ในนิกายโรมันคาทอลิกมาพิจารณา และปรับปรุงเสียใหม่ให้เข้ากับสิทธิส่วนบุคคลที่ทัดเทียมกันในยุคปัจจุบัน ด้วยกฎดังกล่าวนั้นล้าสมัยไปเสียแล้ว และควรจะได้รับการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเสียใหม่ โดยนำเรื่องบรรจุในวาระการประชุมผู้นำแห่งคอมมอนเวลท์เมื่อสัปดาห์ก่อน เพื่อพิจารณาถึงการแก้ไขทั้งสิทธิของบุคคลในราชวงศ์ ทั้งสิทธิในการครองราชย์ของสตรีและการสมรสกับบุคคลในนิกายโรมันคาทอลิก (องค์รัชทายาทลำดับที่ 2ต่อจากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์พระบิดา) จะมีพระธิดาเป็นทายาทพระองค์
แรกเช่นเดียวกับ

ได้มีการเสนอให้มีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงระเบียบ ทั้งสองข้อนี้ ทีแรกดูเหมือนกับว่าทางสำนักพระราชวังจะวางเฉย แต่ในที่สุดก็ได้รับความเห็นว่า เป็นที่พอใจในการที่รัฐบาลจะหยิบยกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาปฏิรูปเสียใหม่ ทั้งนี้ เป็นสาระที่ค่อนข้างเร่งด่วน เพราะหากกฎของการสืบสันตติวงศ์ที่จะปรับปรุงนี้ แม้จะได้รับความเห็นชอบในเบื้องต้น แต่ก็ยังต้องใช้เวลาในการดำเนินการ และยังต้องผ่านขั้นตอนอีกหลายกระบวนการ

อย่างไรก็ดี การดำเนินการนี้ควรจะแล้วเสร็จก่อนที่พิธีอภิเษกสมรสของเจ้าชายวิลเลียมจะ เกิดขึ้น เพื่อให้สิทธิของทายาทพระองค์แรกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ หากเป็นสตรีก็จะยังคงเป็นลำดับต้นๆ ไม่ถูกเบียดโดยทายาทฝ่ายชายตามกฎเดิม

สิทธิในการสืบสันตติวงศ์ที่ให้สิทธิแก่ทายาทฝ่ายชายนั้น ในญี่ปุ่นก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน และน่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้องค์รัชทายาทลำดับที่ 1คือ เจ้าชายนารุฮิโตะทรงกังวลในเรื่องนี้เช่นกัน เพราะทรงมีทายาทเป็นพระธิดากับเจ้าหญิงมาซาโกะพระชายา คือ เจ้าหญิงอาอิโกะ เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ใช่เพียงแต่จะเป็นข้อเสนอจากฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น หากยังจะต้องฟังเสียงจากทุกฝ่ายด้วย ส่วนประชาชนที่มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ โดยต้องมีเหตุผลที่สำคัญรองรับซึ่งต้องพิจารณาถึงโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป และปัจจุบันความสามารถต่างๆ ของสตรี ก็ทัดเทียมกับบุรุษแล้วในเกือบทุกด้าน
แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ II อีกด้วย ในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ เพราะเท่ากับจะเป็นการกำหนดอนาคตของการสืบสันตติวงศ์ของราชวงศ์อังกฤษ

หากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นผลสำเร็จ การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนในลำดับต้นๆ ก็คือ ปีเตอร์ ฟิลลิปส์ พระราชนัดดาซึ่งเป็นพระโอรสในเจ้าฟ้าหญิงแอนน์ ซึ่งสมรสกับ ออทัม เคลลี่ สตรีที่อยู่ในนิกายคาทอลิกเมื่อปีที่แล้ว และต้องสละสิทธิของการสืบสันตติวงศ์ในลำดับที่ 11ไปนั้น จะสามารถได้คืนสิทธิในการสืบสันตติวงศ์ได้ดังเดิม

ขอบขอบคุณที่มา http://www.manager.co.th
http://61.47.61.39/board/view.php?id=1532097

------------------------------------------------------------------------

หน้าเฟซบุ๊กของราชวงศ์อังกฤษกลายเป็นเวทีดีเบตเรื่องสถาบันกษัตริย์
Wed, 2010-11-10 15:22

เว็บไซต์ข่าวเดอะการ์เดี้ยน รายงานว่า เพียงแค่หนึ่งวันหลังจากที่เปิดเพจของราชวงศ์อังกฤษ บรรดาผู้สนับสนุนและผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ก็หลั่งไหลเข้ามาแสดงความคิดเห็น

สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธและเจ้าชายฟิลิปส์พระสวามี ในขณะที่สมเด็จพระราชินีทรงมีพระบรมราโชวาทในปี พ.ศ.2543/ความเห็นที่มีลักษณะหมิ่นประมาทราชวงศ์ถูกลบออกจากหน้าเพจของราชวงศ์

ภาพโดย: Mike Forster/Npa Rota/Rex Features

เพียงแค่วันเดียว หลังจากที่พระราชินีของอังกฤษทรงเปิดหน้าเพจทางการของราชวงศ์ พื้นที่ในหน้าเพจนั้นก็กลายเป็นพื้นที่ถกเถียงเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ โดยที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายผู้ดูแลเว็บของสำนักพระราชวังได้ทำการเซ็นเซอร์อย่างเข้นข้ม ต่อบรรดาข้อความต่อต้านสถาบันที่หลั่งไหลเข้ามา

มีผู้เข้ามากด "ถูกใจ" ให้กับหน้าเฟซบุ๊กของราชวงศ์อังกฤษจำนวนกว่า 150,000 คน (ตัวเลขล่าสุดคือราว 190,000 ราย-ประชาไท) หลังจากที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อวานนี้ (8 พ.ย.) และมีความเห็นอีกนับพันความเห็นต่อข่าวและภาพถ่ายของราชวงศ์ในหน้าดังกล่าว

ในอีกด้านที่คู่ขนานไปกับฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ ก็มีความห็นของฝ่ายต่อต้านสถาบันเช่น ชาวอาร์เจนตินาที่ไม่พอใจต่อกรณีพิพาทหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ชาวคอร์นิช กลุ่มชาตินิยมและผู้นิยมในสาธารณรัฐเป็นต้น

โฆษกของพระราชวังบักกิ้งแฮมกล่าวว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมนั้นถูกสั่งให้เอาข้อความที่มีลักษณะหมิ่นประมาทออก แต่ไม่ได้มีการเจาะจงแบนความเห็นที่โพสต์โดยฝ่ายสนับสนุนสาธารณรัฐ

“สแปมเป็นปัญหาพื้นฐานของเฟซบุ๊ก” โฆษกสำนักพระราชวังกล่าวและว่า “เฟซบุ๊กมีระบบรายงานและบล็อกสแปมและทีมงานเว็บไซต์ก็ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในการปิดความเห็นต่อต้าน”

หน้าเพจราชวงศ์อังกฤษ: ภาพจากเว็ปไซต์ ดิ อินดิเพนเดนท์

ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กสามารถกด "ถูกใจ" หน้าเฟซบุ๊กของราชวงศ์ ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้รับข้อมูลข่าวสารจากหน้าดังกล่าว แต่ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กไม่สามารถจะ “สะกิด” (Poke) หรือเป็น "เพื่อน" กับสมเด็จพระราชินีได้เพราะว่าหน้าเพจดังกล่าวไม่ใช่บัญชีส่วนพระองค์แต่เป็นแฟนเพจของราชวงศ์

หน้าเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการของราชสำนักอังกฤษเปิดช่องให้เกิดการโพสต์ภาพล้อเลียน เช่น รูปสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษทรงชุดยูนิฟอร์มของพนักงานแมคโดนัลด์ หรือทรงชุดของสโมสรฟุตบอลเรนเจอร์ (สโมสรฟุตบอลในสก็อตแลนด์) และทีมฟุตบอลอาร์เซนอล

สำนักพระราชวังของอังกฤษใช้ทวิตเตอร์แล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดตาม หรือ follower กว่า 70,000 ราย และมีรายการทางยูทูบว์โดยมีผู้ติดตามชมราว 33,0000 ราย

แปลจาก: Queen's Facebook page becomes forum for monarchy debate

http://www.prachatai.com/journal/2010/11/31847

------------------------------------------------------------------------

คำสารภาพของผู้เบื่อหน่ายงานอภิเษกสมรส "เคท มิดเดิลตัน - เจ้าชายวิลเลียม"
วันที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 21:00:44 น.

นับตั้งแต่ 4 เดือนก่อนที่เจ้าชายวิลเลียม และเคท มิดเดิลตัน ประกาศการหมั้น สื่อมวลชนอังกฤษก็แทบจะไม่เป็นอันกินอันนอน ทุกข่าวที่เกี่ยวข้องกับงานอภิเษกสมรสของทั้งคู่ในเดือนหน้า ถูกขุดขึ้นมาเป็นข่าว ไม่ว่าของที่ระลึกจะเป็นอะไร ชุดแต่งงานจะเป็นอย่างไร ทั้งคู่จะไปฮันนีมูนที่ไหน แขกที่ได้รับเชิญจะเป็นใคร ทั้งคู่จะหย่ากันหรือไม่ หรือกระทั่งอาหารในงานเลี้ยงจะเป็นอะไร

แน่นอน ว่าประชาชนชาวอังกฤษ หรือชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้สึกยินดีกับข่าวดังกล่าว และเตรียมตัวเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวันอภิเษกสมรสในวันที่ 29 เม.ย.นี้ แต่หากว่ามีประชาชนอีกหลายคนที่รู้สึกยินดีกับข่าวดีเช่นนี้ แต่อดไม่ได้ที่จะแสดงอาการ"เบื่ออย่างไม่มีเหตุผล" ต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนในอังกฤษแทบทุกวัน

โดยผลการสำรวจของเว็บไซต์ ComRes ต่อประชาชนวัยผู้ใหญ่ในอังกฤษ 1,006 คน เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนเกือบ 1 ใน 3 หรือ 31% กล่าวว่าพวกเขา"ไม่รู้สึกตื่นเต้นแม้แต่น้อย"ต่อพิธีอภิเษกสมรส ขณะที่อีก 28% กล่าวว่า "รู้สึกเฉยๆ"

นักแสดงตลกของอังกฤษ อาร์เธอร์ สมิธ กล่าวแสดงความผิดหวังต่อการทำงานของสื่อมวลชน ที่เน้นแต่การนำเสนอข่าวไปยังพิธีอภิเษกสมรสมากจนเกินไป ขณะที่ประเทศกำลังประสบกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก และสถานการณ์ทางการเมืองในต่างประเทศยังคงคุกรุ่น

"ยังคงมีเรื่องสำคัญอีกมากที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ แต่เราก็ยังคงได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับงานครั้งนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ผมไม่สนใจว่าเพื่อนของผมจะแต่งงานหรือไม่ และไม่สนใจงานแต่งงานของ"พวกเขา"เลยแม้แต่น้อย"

"เราไม่สามารถหลบหนีไปทางใดได้เลย แม้ว่าคุณจะอยากจะทำเช่นนั้นมากก็ตาม"

ส่วนไบรโอนี กอร์ดอน คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์เดลี่ เทเลกราฟ วัย 30 ปี ในฐานะประชาชนชาวอังกฤษผู้มีศรัทธาแน่วแน่ต่อระบบราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งต้องคอยตามติดข่าวงานอภิเษกสมรสอย่างไม่ลดละ กล่าวว่าเรื่องราวงานอภิเษกสรสย่อมเป็นที่สนใจของผู้ทำงานในสายสื่อมวลชนหรือโฆษณาอย่างไม่ต้องสงสัย

เธอกล่าวแย้งว่าการแต่งงานของสมาชิกราชวงศ์กำลังเริ่มถูกลดคุณค่าลงเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปี 1981 ที่มีการจัดพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และเจ้าหญิงไดอานา ซึ่งมีประชาชนกว่า 28 ล้านคนต่างเฝ้าดูผ่านจอโทรทัศน์อย่างใจจดใจจ่อ ทั้งนี้ อาจเพราะว่าวัฒนธรรมการคลั่งไคล้คนดังกำลังเข้ามาแทนที่เรื่อยๆ

"นี่ไม่เหมือนต้นยุค 1980 ที่สมาชิกราชวงศ์อยู่ในฐานะคนดัง" เธอกล่าว "พอช(วิคตอเรีย เบ็คแฮม)และเบ็คส์ (เดวิด เบ็คแฮม) เข้ามาแทนที่ พวกเขาแทบจะอยู่บนบัลลังก์ด้วยซ้ำเมื่อตอนที่แต่งงานกัน"

"ตอนนี้ทุกคนต่างก็มีงาน"อภิเษกสมรส"เป็นของตนเองได้แล้ว ด้วยสนนราคาเฉลี่ยที่ 20,000 ปอนด์ (ประมาณ 992,000 บาท) มันไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไปที่จะจัดงานเช่นนี้ได้"

ขณะที่แกรแฮม สมิธ หัวหน้ากลุ่ม "รีพับลิค" ที่แสดงการเคลื่อนไหวกดดันและเรียกร้องให้มีการยุติบทบาทของราชวงศ์ กล่าวว่าตนเองไม่คาดหวังที่จะแสดงการสนับสนุนพิธีแต่งงานในวันที่ 29 เม.ย.นี้ และแสดงความไม่พอใจต่อการนำเสนอข่าวที่มากเกินไป แต่เขาก็ยังแสดงความหวังว่าความหงุดหงิดรำคาญของทั้งกลุ่มคนที่สนับสนุนราชวงศ์ หรือกลุ่มคนที่เฉยเมยต่อบทบาททางรัฐธรรมนูญของราชวงศ์ อาจทำให้พวกเขากลับมาทบทวนอย่างรอบคอบอีกครั้ง เกี่ยวกับบทบาทที่แท้จริงของราชวงศ์ต่อการดำเนินชีวิตของชาวอังกฤษ

"นักการเมืองและสื่อมวลชนอยู่เบื้องหลังเรื่องราวทั้งหมด " เขากล่าว "พวกเขาไม่ได้คำนึงว่าอังกฤษได้เดินหน้าไปไกลแล้ว เรามาไกลเกินกว่าที่จะเชื่อฟังเรื่องพวกนี้ ทั้งในฐานะสังคมและประเทศชาติ" และแม้ว่าพวกเขาจะไม่ต้องการให้ประเทศกลายเป็นสาธารณรัฐ ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังคงอยากเห็นอังกฤษเป็นประเทศที่มีสังคมแห่งความเท่าเทียมอยู่ดี"

"นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมสื่อมวลชนจึงมีข้อผูกมัดในการนำเสนอข่าวให้อยู่ในระดับที่พอดี และรับรู้อยู่เสมอว่า ประชาชน 20% ไม่ต้องการมันอีกต่อไปแล้ว"

ขณะที่ลิเดีย ลีธ กราฟฟิคดีไซเนอร์จากเมืองคาร์ไลล์ แคว้นคัมเบรีย วัย 24 ปี กล่าวว่า เธอสามารถจำหน่าย"ถุงเบื่อพิธีอภิเษกสมรส"ได้นับพันใบแล้ว

"เราได้ยินข่าวงานอภิเษกสมรสมามากเกินไป และหลายคนก็กล่าวว่าพวกเขาเบื่อกับข่าวนี้เต็มที" เธอกล่าว "ฉันส่งถุงนี้ไปยังนิตยสารด้านกราฟฟิคดีไซน์หลายแห่งที่ฉันชื่นชอบ และจากนั้นไม่นานนัก มันก็แพร่ขยายไปทั่วทวิตเตอร์"

"จริงๆแล้วฉันทำเพื่อเป็นมุขตลกเท่านั้น ฉันไม่คิดว่ามันจะกลายเป็นเรื่องเป็นราวขนาดนั้น"

"ฉันไม่ใช่พวกต่อต้านราชวงศ์ และจริงอยู่ว่าคุณไม่สามารถหนีไปจากข่าวนี้ได้พ้น ฉันจึงคิดว่าฉันน่าจะทำอะไรกับมันสักอย่าง"

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1299588643&grpid=01&catid=06

------------------------------------------------------------------------

เผยชาวออสซี่ชี้ยังต้องการรักษาราชวงศ์ไว้ ไม่ต้องการเป็นสาธารณรัฐ
วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 11:54:33 น.

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 30 ส.ค.ว่า โพลสำรวจความเห็นกระทำโดย"เนลสัน โพลล์"ซึ่งกระทำก่อนการเลือกตั้งทั่วไปออสเตรเลีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่า ชาวออสเตรเลีย 48 เปอร์เซนต์ ไม่สนับสนุนการให้เป็นสาธารณรัฐ ซึ่งจะไม่มีความสัมพันธ์กับราชวงศ์อังกฤษอีกต่อไป ขณะที่ 44 เปอร์เซนต์ สนับสนุน ซึ่งชี้ว่า ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ยังรู้สึกผูกพันกับราชวงศ์อังกฤษ โดยตัวเลขดังกล่าวถือว่า เป็นการสนับสนุนการแยกตัวจากเครือจักรภพอังกฤษเป็นระบอบสาธารณรัฐที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 โดยก่อนหน้านั้น ออสเตรเลียเคยมีลงประชามติในประเด็นนี้ และประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการออกจากการเป็นเครือจักรภพของอังกฤษ

รายงานระบุว่า การสำรวจนี้ยังมีขึ้นภายหลังนายกรัฐมนตรีจูเลีย กิลลาร์ด ประกาศนโยบายว่า เธอต้องการให้ประเทศออสเตรเลียเป็นสาธารณรัฐ หากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่สองแห่งราชวงศ์อังกฤษ สิ้นสวรรคต อย่างไรก็ตาม ผู้กระทำชี้ว่า ผลสำรวจนี้ถือว่าสูสีกันมาก และถือได้ว่า อย่างไรก็ตาม ชาวออสเตรเลียก็คงจะสนับสนุนให้ประเทศเป็นระบอบสาธารณรัฐอยู่ดีในอนาคตข้างหน้า

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1283144127&grpid=03&catid=06&subcatid=0600

------------------------------------------------------------------------

"ยูจีนเน"เจ้าหญิงวัยใสผู้อื้อฉาว - 1 มิย. 2552

หนึ่งในพระสหายได้บีบซอสมะเขือเทศลงไปในแก้วเบียร์

พร้อมกับท้าให้พระองค์ดื่ม และก็พากันหัวเราะเมื่อเจ้าหญิงทรงดื่มมันอย่างรวดเร็ว นับเนื่องจากช่วงต้นปี ชื่อของ "เจ้าหญิงยูจีนเน แห่ง ยอร์ค" พระราชธิดาองค์เล็กของเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุคแห่งยอร์ค และดัชเชส เฟอร์กี้ พระราชนัดดาของพระราชินีเอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ปรากฏอยู่ในพื้นที่ข่าวอย่างต่อเนื่องจวบจนวันนี้

มกราคม...ประเดิมด้วยข่าวที่สร้างความตกตะลึงให้ราชองครักษ์ และบรรดานักเที่ยวของบาร์อะโกโก้แห่งหนึ่งกลางกรุงลอนดอน หลังจากเจ้าหญิงวัยใสพยายามขึ้นไปร่วมเต้นรูดเสาบนเวทีกับสาวอะโกโก้

นอกจากจะไม่มีใครคาดคิดว่าสมาชิกราชวงศ์ รัชทายาทลําดับ 6 แห่งอังกฤษ จะเสด็จมายังสถานที่แบบนี้ พร้อมด้วยพระสหาย 4 คนและราชองครักษ์ และทรงจ่ายค่าผ่านประตูราว 20 ปอนด์ (1,000 บาท)

เจ้าหญิงวัย 19 พรรษา สนุกสนาน ทรงแย้มพระสรวลเมื่อสาวนักเต้นโยกย้ายมาเต้นใกล้ๆ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปรารถนาที่จะเสด็จขึ้นไปแจมบนเวทีด้วย ถึงกับทรงถามพนักงานว่าพระองค์จะลองขึ้นไปเต้นบนเวทีรูดเสาได้หรือไม่

"ทรงถามเด็กเสิร์ฟว่าพระองค์ทรงสามารถขึ้นไปเต้นสักครั้งได้ไหม แต่ด้วยกฎระเบียบด้านสุขภาพและความปลอดภัย พระองค์ได้รับคําตอบปฏิเสธ ยกเว้นจะทรงถูกว่าจ้างโดยผับและทรงเคยผ่านการฝึกรูดเสามาก่อน"

แหล่งข่าวกล่าว พร้อมแสดงทัศนะว่า แค่เจ้าหญิงเสด็จมานั่งทอดพระเนตรการเต้นอะโกโก้ก็น่าตกใจแล้ว และไม่มีใครคาดคิดว่าพระองค์จะปรากฏตัวโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ทําให้เกิดความโกลาหลขึ้นทันที เพราะทุกคนในร้านหันไปมองพระองค์เป็นตาเดียว พระองค์มีความสุขกับพระสหายหญิงอีก 2 คน ทรงลุกขึ้นมาเต้นข้างๆ โต๊ะ แต่แน่นอนทุกคนยังใส่เสื้อผ้าครบชิ้น

เมษายน...มีผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า เจ้าหญิงยูจีนเน พระธิดาพระชนมายุ 19 ชันษาของเจ้าชายแอนดรูว์ ร่วมปาร์ตี้กับพระสหายที่ลิซาร์ด เลานจ์ คลับ ใกล้กับชายหาดสุรินทร์ บนเกาะภูเก็ต ซึ่งกลายเป็นสถานที่พักผ่อนตอนซัมเมอร์ประจําปีของพระองค์

เจ้าหญิงทรงประทับอยู่กับพระสหายหญิง 2 ชาย 1 โดยหนึ่งในพระสหายได้บีบซอสมะเขือเทศลงไปในแก้วเบียร์ พร้อมกับท้าให้พระองค์ดื่ม และก็พากันหัวเราะเมื่อเจ้าหญิงทรงดื่มมันอย่างรวดเร็ว

เชื่อว่า เจ้าหญิงยูจีนเนทรงพักที่โรงแรมแบบแบ็กแพ็ก ราคาคืนละ 10 ปอนด์ (520 บาท) ทรงเดินทางมาด้วยเครื่องบินชั้นประหยัด ขณะที่มีรายงานว่า ราชองครักษ์ 2 นาย เดินทางมาในชั้นธุรกิจ

พฤษภาคม...ราชองครักษ์ได้ช่วยเจ้าหญิงยูจีนเนไว้ เมื่อหัวขโมยคนหนึ่งพยายามฉกกระเป๋าของพระสหายของเจ้าหญิง ขณะที่พระองค์และพระสหายกําลังท่องราตรีในกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา แต่ขณะที่เจ้าหน้าที่ราชองครักษ์กําลังตามจับโจร กลับถูกโจรอีกคนขว้างปาก้อนหินใส่ ขณะที่โจรพยายามจะชิงกระเป๋าอีก เจ้าหน้าที่ทั้งสองจึงต้องปล่อยโจรไป เพื่อทําหน้าที่คุ้มกันเจ้าหญิงและเพื่อนให้ออกจากพื้นที่ไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยแทน นสพ.เดอะซัน ระบุในรายงานข่าวว่านับเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ที่ราชองครักษ์ได้ปล่อยให้เกิดภัยคุกคามแก่สมาชิกราชวงศ์

ไม่ว่าจะอย่างไร ข่าวอื้อฉาวเหล่านี้ทําให้เจ้าหญิงวัยใส รัชทายาทลําดับที่ 6 แห่งราชวงศ์วินด์เซอร์ กลายเป็นเป้าสายตาผู้คนทั่วโลกยิ่งขึ้น ♦

http://www.daradaily.com/news/14308/"ยูจีนเน"เจ้าหญิงวัยใสผู้อื้อฉาว/

------------------------------------------------------------------------

สะใภ้วินด์เซอร์นู้ด
บันเทิงเทศ 3 มีนาคม 2552 - 20:33

โซเฟีย วิงเคิลแมน ดาราสาวที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก แสดงฉากนู้ดในหนังทริลเลอร์ Love Live Long ซึ่งก็คงไม่มีใครว่าอะไร ถ้าไม่ใช่เพราะเธอกำลังจะแต่งงานกับลอร์ดเฟรเดอริก วินด์เซอร์ ลูกชายของเจ้าชายและเจ้าหญิงไมเคิลแห่งเคนต์ และเป็นผู้มีสิทธิสืบทอดราชบัลลังก์ลำดับที่ 31
เจ้าชายไมเคิลเป็นโอรสของเจ้าชายจอร์จ ดยุคแห่งเคนต์ พระอนุชาของพระเจ้าจอร์จที่ 6 จึงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธ ขณะที่ลอร์ดเฟรเดอริกก็ซี้ปึ้กกับเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮรี
เฟรเดอริกวัย 29 ขอแต่งงานกับโซเฟีย วัย 28 เมื่อวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมา หลังคบกันได้ 2 ปี สำนักพระราชวังเคนซิงตันแถลงว่า ทั้งเจ้าชาย เจ้าหญิง และพ่อแม่ว่าที่เจ้าสาว ปลื้มปีติมาก พิธีแต่งงานจะมีขึ้นในฤดูใบไม้ร่วงนี้ เฟรเดอริกเรียนจบจากอีตัน และออกซ์ฟอร์ด ทำงานแบงก์ JP Morgan ขณะที่โซเฟียเคยแสดงหนังทีวี The Palace เรื่องราชวงศ์อังกฤษสมมติ เป็นเจ้าหญิงอีเลนอร์ผู้เดือดดาล เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้วพระอนุชาได้เป็นกษัตริย์
หนังที่ประสบความสำเร็จที่สุดของโซเฟียคือ Peep Show ตลกซิตคอมทางช่อง 4 รวมทั้งหนังตลก Ruddy Hell! It's Harry and Paul ทาง BBC เธอยังแสดงเป็นซูซานตอนโตในท้ายเรื่อง Narnia
เฟรเดอริกสนับสนุนให้เธอมีอิสระเต็มที่ แต่หนัง Love Live Long เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันเซ็งแซ่ว่า พระญาติในราชวงศ์วินด์เซอร์จะรู้สึกอย่างไร เพราะโซเฟียมีฉากเปลือยอกเป็นครั้งแรก ในหลายฉากของหนังที่กำกับโดย ไมค์ ฟิจจิส ผู้เคยเข้าชิงออสการ์จาก Leaving Las Vegas (และทำให้นิโคลาส เคจ ชนะออสการ์)
หนังเรื่องนี้ยังไม่ออกฉายในอังกฤษ ได้แค่ฉายใน London Film Festival เมื่อปีที่แล้ว แต่คนในสำนักพระราชวังวิตกว่า ผู้สร้างหัวใสจะเอาหนังออกฉายในช่วงแต่งงานพอดี เพราะเป็นงานใหญ่ที่สมเด็จพระราชินีคงเสด็จฯ เนื่องจากเจ้าชายไมเคิลเป็นลูกพี่ลูกน้องคนโปรด และพระญาติทั้งหลายก็คงไปร่วมคับคั่ง "แต่ถ้ามันกลายเป็นการโปรโมตหนังโป๊ พระญาติก็คงไม่สบายใจ" แหล่งข่าวกล่าว
โฆษกของเจ้าชายไมเคิลปฏิเสธจะให้ความเห็นเรื่องหนัง บอกเพียงว่าโซเฟียยกย่องชื่นชมผู้กำกับฟิจจิสมานาน เมื่อเขาชวนเธอไปแสดง เธอก็ตอบรับทันที
แน่นอนว่า Love Live Long ไม่ใช่หนังโป๊สั่วๆ แต่เป็นหนังอาร์ต เรื่องเกิดในอิสตันบูล ระหว่างการแข่งรถ Gumball Rally นักแข่งรถชาวออสเตรเลียนที่มีเมียแล้ว มีสัมพันธ์สวาทชั่วคืนกับผู้หญิงอังกฤษที่กำลังคิดจะฆ่าตัวตาย จึงปล่อยตัวไปกับเซ็กซ์
ฉากในหนังออกแนวประหลาดมากกว่านู้ด เซ็กวืซีนไม่ได้ทำออกมาตรงๆ คนที่ได้ดูหนังในเทศกาลบอกว่า ฉากเริ่มต้นเป็นฉากขาวดำ โซเฟียใส่ชุดชั้นในนอนอยู่บนเตียง ขณะที่ฝ่ายชายใส่เสื้อผ้ายืนอยู่ข้างๆ โทร.เซ็กซ์โฟนกับเมีย นั่นคือสไตล์ของฟิจจิส คล้ายๆ กับที่อลิซาเบธ ชู แสดงเป็นโสเภณีใน Leaving Las Vegas
ผู้อำนวยการสร้างแพทริก ฟิสเชอร์ กล่าวว่า ถ้าโซเฟียไม่สบายใจกับหนัง เขาก็เข้าใจ ถ้าเธอไม่อยากให้หนังออกฉาย เขาก็พร้อมจะหารือทีมงานไม่เอาหนังออกฉายในอังกฤษ อย่างไรก็ดี เขายืนยันว่าโซเฟียแสดงได้อย่างน่าทึ่งจริงๆ
ราชวงศ์อังกฤษเคยเจอเรื่องอื้อฉาวมาแล้ว สมัยเจ้าชายแอนดรูว์ควงดาราสาว คู สตาร์ก ซึ่งแสดงหนังอีโรติกไว้ 2 เรื่อง แต่ลอร์ดเฟรเดอริกยังเป็นพระญาติที่ห่างออกมาอีกชั้น
ทั้งนี้ เจ้าชายไมเคิลแต่งงานกับบารอนเนส มารี คริสติน ฟอน ไรบ์นิตซ์ เธอเป็นคาทอลิก และไม่ยอมเข้านิกายอังกฤษ เจ้าชายไมเคิลซึ่งเป็นผู้มีสิทธสืบทอดราชบัลลังก์ลำดับที่ 8 จึงต้องสละสิทธิ์ แต่ลูกชายคือลอร์ดเฟรเดอริกยังมีสิทธิ์
เจ้าชายไมเคิลเป็นลูกพี่ลูกน้องคนโปรดของควีนอลิซาเบธ ซึ่งยกอพาร์ตเมนต์ในพระราชวังเคนซิงตันให้อยู่ตั้งแต่ปี 1979 หลังแต่งงานใหม่ๆ เมื่อปี 2002 สมาชิกรัฐสภาอังกฤษวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาลไม่ควรต้องแบกรับภาระที่เกิดจากพระญาติ ควีนจึงควักทรัพย์สินส่วนพระองค์จ่ายค่าเช่าแทนเจ้าชายไมเคิล ปีละ 120,000 ปอนด์ และนับจากปี 2010 เจ้าชายไมเคิลจะต้องจ่ายเอง
ทั้งนี้ เจ้าชายไมเคิลมีธุรกิจหลายอย่าง และเพิ่งขายคฤหาสน์ชนบทในกลูเชสเตอร์เชียร์เมื่อปี 2006.

http://www.thaipost.net/x-cite/030309/1123

------------------------------------------------------------------------

อันที่จริงมีอีกหลายร้อยหลายพันข่าวที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์อังกฤษ
มีทั้งข่าวอื้อฉาว ข่าวการทำโพลเรื่องนั้นเรื่องนี้
ไปจนถึงข่าวโพลการลงประชามติเอาไม่เอาราชวงศ์เลยก็มี
โดยเฉพาะที่ออสเตรเลีย ที่ยังปกครองภายใต้ราชวงศ์อังกฤษอยู่
นอกจากนี้ยังมีข่าว โพลคนอังกฤษส่วนใหญ่
ไม่อยากให้ใช้เงินภาษีประชาชนไปจัดงานแต่งงานของลูกหลานราชวงศ์
หรือข่าวยามเศรษฐกิจไม่ดีรัฐบาลจะตัดรายจ่ายราชวงศ์ได้อีก
ไม่รวมถึงข่าวการกล้าแตะทุกมาตราในรัฐธรรมนูญ
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกษัตริย์อีกด้วย

ถ้าอังกฤษมีกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ซึ่งต่างจากกฏหมายหมิ่นประมาท
ที่วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวถือว่าหมิ่น
แต่ถ้าวิจารณ์เรื่องงานถ้าพิสูจน์ได้ว่าจริงก็ไม่หมิ่น
แต่กฏหมายหมิ่นพระบรมฯ ส่วนใหญ่ในหลายประเทศที่มี
จะเป็นลักษณะใครวิจารณ์ไม่ว่าจะเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องงาน
จริงหรือไม่จริง มีหลักฐานหรือไม่มี เขาไม่สนใจตรวจสอบ
วิจารณ์เมื่อไหร่ผิดทันทีอะไรแบบนี้
ผมว่าราชวงศ์อังกฤษ อาจอยู่ไม่ได้จนถึงทุกวันนี้
ยิ่งท่ามกลางประชาชนที่เป็นเสรีชนมากๆ
และเป็นนักประชาธิปไตยมากมายแบบทุกวันนี้ด้วยยิ่งแล้วใหญ่

แต่ราชวงศ์อังกฤษกลับเปิดให้วิจารณ์เสรี
มากกว่ากฏหมายหมิ่นพระบรมฯใ นหลายประเทศ
แถมยังเปิดกว้างกว่ากฏหมายหมิ่นประมาทประชาชนทั่วไปในหลายประเทศอีกด้วย
คือวิจารณ์ได้โดยไม่เอาผิดแม้แต่กฏหมายหมิ่นธรรมดาที่ไปวิจารณ์เรื่องส่วนตัวด้วยซ้ำ

ผมว่าฝรั่งเขายึดระบบมากกว่าตัวบุคคล
เพราะถ้ายึดตัวบุคคล สมมุติปัจจุบันคนๆ นี้ทำดี
ก็ต้องเชื่อตลอดไปว่า ลูกหลานที่เกิดมา
จะประพฤติตัวดีงามตามไปด้วย
เพราะเกิดจากบุคคลที่เป็นคนดี
เสมือนหนึ่งว่ามียีนความดี
ที่สามารถสืบทอดทางพันธุกรรมได้ยังงั้นแหล่ะ
การยึดตัวบุคคลจนไม่กล้าแตะ
คนในครอบครัวคนในตระกูลตามไปด้วย
อนาคตคิดว่าถ้าไม่มีอะไรหรือใครส
ามารถตรวจสอบคนตระกูลที่คิดว่าดีได้
อนาคตจะดีไปตลอดจริงๆ หรือ
หรือว่าจะเหลิงอำนาจเพราะว่าไม่มีใครกล้าตรวจสอบ
จนกลายเป็นคนไม่ดีแทนที่จะเป็นคนดี
แต่คนไม่กล้าวิจารณ์ให้ได้ยิน
ได้แต่ซุบซิบนินทากันปากต่อปาก
มันเป็นผลดียังไงต่อบุคคลหรือตระกูล
ที่พวกยึดแนวเชิดชูตัวบุคคล
ฝรั่งเขาเลือกยึดระบบเอาไว้
เขาก็วางมาตรการตรวจสอบระบอบ
ที่เขาจะยังอยากรักษาเอาไว้
ในท่ามกลางปัญญาชนคนมีการศึกษามากๆ
หรือเสรีชนมากมายแบบอังกฤษยุคปัจจุบันนี้
เพราะถ้าไม่มีมาตรการที่ว่า
ในการเปิดกว้างให้วิจารณ์ตรวจสอบได้แล้ว
ก็คงไม่สามารถรักษาระบบระบอบอะไรเอาไว้ได้จนถึงทุกวันนี้

โดย มาหาอะไร

FfF