บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


28 มีนาคม 2554

<<< บันทึกประวัติศาสตร์ ม็อบเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ในข้อเรียกร้อง >>>

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2554 มีความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ
ในการจุดประกายเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง ม.112
มีการเสวนาของกลุ่มนิติราษฎร์ เรื่อง กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ซึ่งมีการอภิปรายให้ความรู้รวมทั้งแถลงการณ์ข้อเสนอ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
โดยมีผู้เข้าร่วมอภิปรายได้แก่อาจารย์ทั้ง 4 ท่านดังต่อไปนี้
1. วรเจตน์ ภาคีรัตน์
2. ธีระ สุธีวรางกูร
3. สาวตรี สุขศรี
4. ปิยบุตร แสงกนกกุล
ส่วนรายละเอียดข้อเสนอเบื้องต้นของกลุ่มนิติราษฎร์
สามารถ Downlaod ได้ตาม Link ด้านล่างนี้
ดาวน์โหลด ข้อเสนอกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ฯ
http://www.enlightened-jurists.com/download/24

ซึ่งในงานนี้ ช่วงท้ายๆ ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเสวนา
ได้มีโอกาศเสนอแนะความคิดเห็นเพิ่มเติมด้วย
ตอนแรกผมกะเข้าไปร่วมฟังเพื่อฆ่าเวลา เพราะตั้งใจจะร่วมเดินขบวน
ต่อต้านกฏหมาย 112 หลังการเสวนาจบถึงจะ
เดินไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
แต่ฟังไปฟังมาได้สาระมากมาย แถมยังมีให้เสนอแนะอีก
ซึงถูกใจลูกอีช่างแนะนำอย่างเรา เลยคิดกระทันหันว่า
น่าจะยังมีประเด็นเพิ่มเติมอีกประเด็นสองประเด็นเพื่อจะได้เสนอไปทีเดียว
( ภาพนี้ใครถ่ายไม่ทราบ มีคนส่งมาให้ทาง facebook )















ประเด็นที่ผมเสนอเรื่องแรกคือ ควรกำหนดระยะเวลาการดำเนินคดี
ซึ่งเวลาที่ประชุมมีน้อยประกอบกับยังตื่นเต้นและสั่นๆ ไม่รู้เป็นอะไร
จับไมค์ทีไรออกอาการทุกที ก็รีบๆ พูดก็เลยอาจยังไม่ละเอียดพอ
ไหนๆ ก็ไหนๆ ผมจะลงรายละเอียดสิ่งที่อยากเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรานี้
ไว้ ณ ที่นี่เลยเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาที่พูดตอนนั้นยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่
ที่เสนอให้กำหนดระยะเวลาการดำเนินคดี โดยเฉพาะการคุมขังผู้ต้องหา
อย่างน้อยควรกำหนดให้คุมขังได้แค่ 1 เปอร์เซ็นต์ของโทษต่ำสุดหรือไม่เกิน 1 เดือน
เพื่อไม่ให้สามารถใช้วิธีแกล้งจับมาขังคุกแล้วลากยาวกระบวนการดำเนินคดี
ยิ่งคดีแบบนี้การออกหมายไปจับผู้ต้องหาได้แสดงว่าต้องมีหลักฐานจริงๆ แล้ว
สามารถจับมาแล้วดำเนินคดีได้เลยภาย 1-2 วันด้วยซ้ำ
ไม่ใช่ผ่านไปหลายปีคดียังไม่คืบหน้าแล้วผู้ต้องหายังอยู่ในคุก
ก็เท่ากับโดนตัดสินให้ติดคุกโดยไม่ต้องมีคำตัดสินให้เป็นที่ครหา
มุกนี้อนาคตจะมีการนำมาใช้กันอย่างมากถ้าไม่เขียนป้องกันเอาไว้
ถ้าคดีไหนต้องดำเนินคดียาวนานก็ควรปล่อยผู้ต้องหาออกจากคุกมาก่อน
เพราะแสดงว่าฝ่ายที่กล่าวหารวมไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐ
ไม่มีหลักฐานเพียงพอในการดำเนินคดี
การรีบไปจับกุมก็คือการกลั่นแกล้งกันทางการเมืองหรือเรื่องส่วนตัวมากกว่าอย่างอื่น
ซึ่งไม่ใช่เฉพาะมาตรานี้แต่ควรบังคับใช้ทุกมาตราของกฏหมาย
นี่เป็นเรื่องใหญ่ สำหรับประชาชนคนไทยทุกคน
โดยเฉพาะคนไม่มีเส้น ไม่มีเงินมาก และไม่มีอำนาจ
มีโอกาสโดนกลั่นแกล้งด้วยวิธีนี้ได้ทุกคน
ถ้าเกิดไปเหยียบตาปลา หรือไปมีเรื่องกับคนที่มีอำนาจ มีเงินมากๆ
ที่สามารถแทรกแซงหรือล็อบบี้กระบวนการยุติธรรมได้
ตั้งแต่ชั้นสอบสวน ยันการพิจารณาคดี แล้วกระทำการกลั่นแกล้งคู่อริ
ง่ายๆแค่ผู้มีอำนาจยัดยาบ้าให้ 1 เม็ดแล้วคุณโดนจับตัวไป
แล้วก็แกล้งยืดกระบวนการยุติธรรมหรือกระบวนการพิจารณาคดีออกไป
ต่อให้ท้ายที่สุดคุณพิสูจน์ได้ว่าไม่มีความผิด
แต่ที่จริงคุณได้ติดคุกจริงๆ มาหลายวันหลายเดือนหลายปีแล้ว
เขาได้ตัดสินให้คุณติดคุกเรียบร้อยแล้วโดยที่คุณไม่รู้ตัว
เผลอๆ บางคนชนะคดีภายหลังหรือโดนปล่อยตัวชั่วคราว
ยังซาบซึ้งคิดว่าได้รับความยุติธรรมแล้วก็มี
ดังนั้นถ้าข้อเสนอที่กลุ่มนิติราษฎร์เสนอ ไม่มีเรื่องนี้อยู่ด้วย
ผมว่าต่อให้แก้กฏหมายเหลือโทษแค่ 5 วัน 10 วัน
ก็อาจโดนกระบวนการยุติธรรมตัดสินให้จำคุก 5 ปี 10 ปี
โดยที่ไม่มีคำตัดสินใดๆ ให้เป็นที่ครหาแถมได้หน้าว่าเที่ยงธรรมอีกด้วย

อีกข้อที่ผมเสนอก็คือควรเขียนให้ชัดเจนไปเลยว่า
กฏหมายทุกมาตรา รัฐธรรมนูญทุกมาตรา
สามารถวิพากวิจารณ์ แก้ไข ยกเลิกได้ทุกมาตรา
เพราะว่าประชาชนเป็นผู้เขียนขึ้นมาทั้งหมด

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่มาของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_31.html

แล้วทำไมจะมีประชาชนที่ไม่เห็นด้วย
จะขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงยกเลิกในภายหลังไม่ได้
ขอยกตัวอย่างรัฐธรรมนูญหมวดที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
ไม่ค่อยมีใครกล้าแตะไม่ว่าจะเป็นสื่อ นักวิชาการ
ผู้แทนราษฎร หรือแม้แต่ผู้นำม็อบบางม็อบ
ไม่กล้าที่จะเอ่ยถึง แถมมีบางพวกออกมาปกป้องเต็มที่ห้ามแตะต้องใดๆ
ทั้งๆ ที่ข้อความในมาตราทั้งหมดในรัฐธรรมนูญ ประชาชนเป็นคนร่างขึ้นมา
ผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นฉบับนี้ ก็พรรคพวก คมช. ส่วนใหญ่
ที่แต่งตั้งหรือเลือกสรรมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ซึ่งหลายมาตราก็ไม่เคยมีในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ
หรือไปตัดสิ่งดีๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับก่อนเคยเขียนเอาไว้
และที่สำคัญแม้แต่ในหมวดสถาบันกษัตริย์
ก็ไม่ได้เป็นแบบนี้มาตั้งแต่ต้น มีการแก้ไขปรับเปลี่ยนมาหลายรัฐธรรมนูญ
แถมช่วงที่เขียนทุกมาตรา สมาชิกร่างรัฐธรรมนูญ
ก็ต้องถกเถียงข้อดีข้อเสียในสิ่งที่จะบัญญํติมาตรานั้นๆ
ซึ่งก็ต้องรวมมาตราในหมวกษัตริย์ด้วย
คงไม่ใช่มีคนเขียนมาให้เสร็จสรรพ แล้วมีหน้าที่ยกมือเห็นด้วยแบบตรายางหรอกน่ะ
ถ้าเป็นแบบนั้นก็แสดงว่ามาตราต่างๆ ที่มีคนร่างมาให้
ไม่ได้มีการถกเถียงถึงข้อดีข้อเสีย
ซึ่งก็อาจจะเกิดปัญหาตามมาในภายหลังเหมือนทุกวันนี้ก็ได้
ดังนั้นไม่ว่าจะเขียนมาด้วยวิธีไหน ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป
กฏหมายทุกมาตรา ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยย่อมมีสิทธิที่จะเสนอให้ยกเลิก
หรือเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นโดยไม่มีความผิดใดๆ
ไม่เช่นนั้นแล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะกลายเป็นคัมภีร์ทางศาสนา ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
เปลี่ยนเมื่อไหร่มีเรื่อง ต้องแตกแยกแตกนิกาย อยู่ด้วยกันไม่ได้

อีกอย่างกฏหมายทุกมาตรา ควรเขียนให้ละเอียดชัดเจน
ชนิดว่าใครมาเปิดอ่านก็เข้าใจเหมือนกัน
ไม่เหลือช่องทางให้ใครนำไปหาประโยชน์
หรือทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาเพราะการตัดสินแบบสองมาตราฐาน
ถ้ากฏหมายเปิดช่องให้ผู้ตัดสินใช้ดุลยพินิจ
ก็มีโอกาสเกิดสองมาตราฐานสูง
ในคดีเดียวกันแต่ผู้ต้องหามีสภาพต่างกัน
ซึ่งโดยปกติคนที่ไม่มีเงินไม่มีอำนาจไม่มีเส้นมักได้รับโทษหนักกว่า
พวกที่โดนคดีเดียวกันแต่มีเงินมีอำนาจและมีเส้น
จึงควรเขียนระบุให้ชัดเจนทุกมาตรา เช่น
ทำผิดลักษณะไหนถึงได้รับโทษติดคุก 1 ปี
ลักษณะไหน 2 ปี 3 ปี 10 ปี หรือโดนปรับลักษณะไหน
ควรเขียนระบุลงไปให้ชัดเจนเพื่อลดโอกาสการเกิดสองมาตรฐานในอนาคต
ไม่ต้องกลัวว่าตำรากฏหมายจะใหญ่โตจนคนเรียนท่องจำไม่ไหว
แล้วจะเน้นท่องจำไปทำไม ทำไมไม่เน้นทำความเข้าใจการใช้ข้อกฏหมาย
ผมไม่ได้เรียนกฏหมายมาสักเล่มเดียว เพราะเรียนจบทางด้านวิทย์คอมพิวเตอร์
ไม่มีในหลักสูตรที่ผมจะต้องเรียนแต่ ณ วันนี้ผมสามารถถกเถียงเรื่องกฏหมายได้
ถ้าผมมีกฏหมายทุกมาตราอยู่ในมือ ยิ่งสมัยนี้มีคอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บ
ให้สามารถสืบค้นหาได้หลากหลายรูปแบบด้วยยิ่งสะดวกใหญ่ไม่จำเป็นต้องจดจำสักข้อเดียว
แค่พอรู้ว่ามีหรือจำไม่ได้ก็ไปไล่เปิดๆ หาแป๊บเดียวก็หาเจอแล้ว
ดังนั้นผมขอสรุปว่า กฏหมายทุกมาตรา ถ้าไม่ต้องการให้เกิดสองมาตราฐาน
หรือเกิดการบังคับใช้โดยที่ผู้ตัดสินไม่มีอิสระอย่างแท้จริง
จะต้องเขียนกฏหมายให้ละเอียดชัดเจนที่สุดชนิดดิ้นไม่ได้
และไม่ให้มีช่องทางเปิดโอกาสให้ผู้ตัดสินใช้ดุลยพินิจส่วนตัวมาตัดสินได้เลย
ถึงจะแก้ปัญหาสองมาตรฐานและการไม่มีอิสระในการตัดสิน
ด้อย่างเที่ยงธรรมในระดับหนึ่ง

เริ่มต้นก็เครียดๆ สาระจังมาเลย
คราวนี้เราไปชมภาพบรรยากาศม็อบเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่
ตั้งแต่ในห้องเสวนาจนกระทั่งเดินไปยังอนุสารีย์ประชาธิปไตย
แม้ม็อบนี้จะมีคนไม่มากพีคสุดระดับพันคน
แต่กล้าเรียกร้องในสิ่งที่แม้แต่ผู้นำม็อบ
ที่มีมวลชนเป็นหมื่นเป็นแสน ยังไม่กล้าเรียกร้อง
หรือแม้แต่ผู้แทนราษฎรก็ไม่กล้าแตะ
ผมว่าพวกที่กล้าออกมาเรียกร้องวันนี้
เปรียบเหมือนผู้แทนราษฎรตัวจริง

-----------------------------------------------------------

Download คลิปเสียง งานเสวนากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
http://redsiam.us/webboard/index.php?topic=500.0

-----------------------------------------------------------

โดย มาหาอะไร
FfF