บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


08 เมษายน 2554

<<< อนาคตสงครามไซเบอร์ คงต้องหวังพึ่งพาคนที่อยู่นอกประเทศและพวกที่เล่นใต้ดินเป็นหลัก >>>

คนที่เล่นเน็ตในประเทศแบบเปิดเผยตัวกำลังถูกบีบอย่างหนัก
จนอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีการวิพากวิจารณ์แบบเข้ารหัสหนักขึ้นกว่าเดิม
เพราะล่าสุด พรบ. แก้ไขเพิ่มเติม กำลังจะออกมา
ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

-----------------------------------------------------------------------

ประเด็นที่ 1 เพิ่มนิยาม "ผู้ดูแลระบบ"
มาตรา 4 เพิ่มนิยามคำว่า "ผู้ดูแลระบบ" หมายความว่า "ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น"

ในกฎหมายเดิมมีการกำหนดโทษของ "ผู้ให้บริการ" ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า การพยายามเอาผิดผู้ให้บริการซึ่งถือเป็น "ตัวกลาง" ในการสื่อสาร จะส่งผลต่อความหวาดกลัวและทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง อีกทั้งในแง่ของกฎหมายคำว่าผู้ให้บริการก็ตีความได้อย่างกว้างขวาง คือแทบจะทุกขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ล้วนเป็นผู้ให้บริการทั้งสิ้น

สำหรับร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า "ผู้ดูแลระบบ" ขึ้นมานี้ อาจหมายความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก ขณะที่ "ผู้ให้บริการ" อาจหมายความถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ตามร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด เช่น หากมีการเขียนข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ผู้ดูแลระบบและผู้ให้บริการที่จงใจหรือยินยอมมีความผิดทางอาญาเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด และสำหรับความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่นการเจาะระบบ การดักข้อมูล หากผู้กระทำนั้นเป็นผู้ดูแลระบบเสียเอง จะมีโทษ 1.5 เท่าของอัตราโทษที่กำหนดกับคนทั่วไป


+++++++++++++++++++++

ประเด็นนี้ความตั้งใจคงออกมาเล่นงานฝ่ายต่อต้านผู้มีอำนาจเต็มที่
ซึ่งต่อไปคงต้องหวังพึ่งการเล่นเว็บของต่างประเทศเช่น facebook
แทนการทำเว็บเอง หรือไปเป็นผู้ดูแลเว็บเอง

-----------------------------------------------------------------------

ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา

มาตรา 24 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

เนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา 14 (1) และ (2) มารวมกัน ทั้งนี้ หากย้อนไปถึงเจตนารมย์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความพยายามเอาผิดกรณีการทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บจริงเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึงเขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม" เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการเขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยังดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความเสียหายอันเกิดแก่ความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด ห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากพิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครองการนิยามความจริง ปกปิดความจริง ส่งผลให้เกิดการแสดงความคิดเห็นอย่างมากโดยเฉพาะในอินเทอร์เน็ต และแน่นอนว่ากระทบต่อความไม่มั่นคงของ "รัฐบาล" ข้อความกฎหมายลักษณะนี้ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่จำเป็น

+++++++++++++++++++++

ประเด็นนี้คงต้องตีความการตื่นตะหนกหมายความว่าอย่างไร
ไม่เช่นนั้นก็หาเรื่องกันได้อีก แล้วพวกคำทำนายของหมอดูหมอเดาทั้งหลาย
จะเข้าข่ายไหม เพราะเห็นบางคนทำนายมาแต่ละปีน่าสะพรึงกลัวทั้งนั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำเสี่ยงทายของพระโคด้วย
จะถือว่าทำให้เกิดความตื่นตะหนกได้ไหม ถ้ามันออกมาไม่เป็นเรื่องดี
ในขณะที่ถ้าเขาจะเอาเรื่องการเขียนวิจารณ์อะไรไม่เข้าหูผู้มีอำนาจ
ก็อาจโดนข้อหาทำให้ตื่นตะหนกได้ สำหรับประเทศนี้

-----------------------------------------------------------------------

ประเด็นที่ 5 ดูหมิ่น ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์


มาตรา 26 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จ และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อ ในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้น

+++++++++++++++++++++

ดูหมิ่นนี่ต้องฝึกเอาไว้เรื่องรูปตัดต่อหรือคำพูดเสียดสีด่าทอถือว่าดูหมิ่นหมด
ต่อไปคงไปว่า พณ ท่านนายกและพวกไม่ได้ โดยเฉพาะคำบางคำ
เช่น ดีแต่พูด นี่ จะตีความว่าดูหมิ่นก็ได้น่ะ ถ้าเขาจะเล่น
ข้อนี้เอามาปิดปากห้ามเสียดสี แขวะ ทำให้อับอาย เสียชื่อเสียงเกียรติยศ
อนาคตคงเจอสรรพนามสารพัดสัตว์เพื่อหลีกเลี่ยงชื่อจริง

-----------------------------------------------------------------------

ประเด็นที่ 7 เก็บโปรแกรมทะทุลวงไว้ คุกหนึ่งปี

มาตรา 23 ผู้ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำ หรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลดไฟล์อย่างทอร์เรนท์ การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เรื่องนี้น่าจะกระทบต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์โดยตรง


+++++++++++++++++++++

ประเด็นนี้ ใครเก็บเจ้าโปรแกรมหลบบล็อคไว้หรือใช้อยู่อาจเข้าข่ายน่ะ
อนาคตคงต้องใช้พวก http://translate.google.com
หรือโปรแกรมที่หลบบล็อคแนวๆ Web Proxy นี้
ตามเว็บไซด์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป จะใช้พวก Ultra Surf
ซึ่งต้องเก็บโปรแกรมไว้ที่เครื่อง จะทำให้มีความผิดได้ถ้าเขาตรวจเจอ

-----------------------------------------------------------------------

สรุปว่าฝ่ายผู้มีอำนาจกำลังออกอาการกันอย่างหนัก
พรรคการเมืองที่พวกเราเชียร์
น่าจะมีนโยบายลดข้อห้ามกฏหมายพวกนี้ลงมาบ้าง
ไม่ใช่เข้าไปก็ไปขยันช่วยเพิ่มข้อห้ามให้เพิ่มขึ้นอีก
ราวกับว่าจะมีโอกาสได้ช่วยป้องกันพรรคพวกตนเองไปตลอดชาติ
ทั้งที่จริงพรรคการเมืองมาแล้วก็ไป อยู่ได้ไม่นาน
แต่กฏหมายพวกนี้และอีกมากมายที่ออกมาจำกัดนั่นนี่
รวมไปถึง พรบ.การชุมนุม อีก โอกาสที่จะโดนกฏหมายที่ออกเอง
กลับมาเล่นงานพรรคพวกตัวเองเมื่อต้องมาเป็นฝ่ายค้านในอนาคตมีสูง
ตามประวัติไม่มีพรรคไหนได้เป็นฝ่ายรัฐบาลไปได้ตลอด
ดังนั้นหัดอย่าขยันแบบโง่ๆ
ช่วยออกกฏหมายมาเสริมความมั่นคงให้พวกผู้มีอำนาจ
เพื่อพรรคพวกตนเองโดนเล่นงานในอนาคตอีกเลย ขอร้อง

พูดเรื่องนี้แล้วก็นึกขำพวกนักการเมืองประเทศนี้
วันหนึ่งมีอำนาจวาสนา ก็ประกาศศักดาออกกฏเกณฑ์
หวังจะให้พรรคพวกตนเองได้สืบทอดอำนาจยาวนาน
โดนพยายามหาทางจำกัดความเคลื่อนไหวฝ่ายค้าน
แต่ที่เห็นๆ ส่วนใหญ่กฏเกณฑ์เหล่านั้น
กลับถูกบังคับใช้กับตนเองและพรรคพวกมากกว่า
เหมือน พรบ.การชุมนุม ที่จะออกมาก็เหมือนกัน
ห้ามนั่นนี่มากมาย จะชุมนุมแทบต้องไปขออนุญาติ
ฝ่ายผู้มีอำนาจ ว่าจะให้ชุมนุมไหม
วันไหนได้เป็นฝ่ายค้านโดนกฏหมาย
ที่ตนเองผลักดันให้ออกมา
เล่นงานพรรคพวกตนเอง คงขำไม่ออก
สรุปนักการเมืองประเทศนี้
ขยันสร้างกฏเกณฑ์ให้พรรคพวกตนเอง
ถูกจองจำเสรีภาพมากขึ้นไปเรื่อยๆ
พร้อมกับเสริมอำนาจให้กับฝ่ายที่ชอบล้มกระดานไปเรื่อยๆ
ไม่รู้ว่าทำไมถึงฉลาดกันแบบนั้นก็ไม่รู้ เห็นแล้วงง

โดย มาหาอะไร

-------------------------------------------------------------------------------

ร่างพ.ร.บ.คอมฯเวอร์ชั่นใหม่ เพิ่ม "ผู้ดูแลระบบ" รับโทษหนักกว่าคนทั่วไป ก๊อปปี้ไฟล์โหลดบิทเจอคุก 3 ปี
วันที่ 08 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 10:00:00 น.
โดย http://ilaw.or.th

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2554 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จัดประชุมรับฟังและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมดังกล่าว มีการแจกเอกสารร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้นด้วย
ร่างกฎหมายนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ยกเลิกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 และให้ใช้ร่างฉบับใหม่นี้แทน อย่างไรก็ดี โครงสร้างของเนื้อหากฎหมายมีลักษณะคล้ายคลึงฉบับเดิม แต่มีสาระสำคัญที่ต่างไป ดังนี้

ประเด็นที่ 1 เพิ่มนิยาม "ผู้ดูแลระบบ"

มาตรา 4 เพิ่มนิยามคำว่า "ผู้ดูแลระบบ" หมายความว่า "ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น"

ในกฎหมายเดิมมีการกำหนดโทษของ "ผู้ให้บริการ" ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า การพยายามเอาผิดผู้ให้บริการซึ่งถือเป็น "ตัวกลาง" ในการสื่อสาร จะส่งผลต่อความหวาดกลัวและทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง อีกทั้งในแง่ของกฎหมายคำว่าผู้ให้บริการก็ตีความได้อย่างกว้างขวาง คือแทบจะทุกขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ล้วนเป็นผู้ให้บริการทั้งสิ้น

สำหรับร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า "ผู้ดูแลระบบ" ขึ้นมานี้ อาจหมายความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก ขณะที่ "ผู้ให้บริการ" อาจหมายความถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ตามร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด เช่น หากมีการเขียนข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ผู้ดูแลระบบและผู้ให้บริการที่จงใจหรือยินยอมมีความผิดทางอาญาเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด และสำหรับความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่นการเจาะระบบ การดักข้อมูล หากผู้กระทำนั้นเป็นผู้ดูแลระบบเสียเอง จะมีโทษ 1.5 เท่าของอัตราโทษที่กำหนดกับคนทั่วไป

ประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี

สิ่งใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา 16 ที่เพิ่มมาว่า "ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่างๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนวทางการเขียนเช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาวน์โหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่เรียกว่า "แคช" (cache เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว

ประเด็นที่ 3 มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด

ในมาตรา 25 "ผู้ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือเยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกให้แคบลง แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ "การครอบครอง" อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาวน์โหลดไฟล์ใดมาโดยอัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม

ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา

มาตรา 24 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

เนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา 14 (1) และ (2) มารวมกัน ทั้งนี้ หากย้อนไปถึงเจตนารมย์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความพยายามเอาผิดกรณีการทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บจริงเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึงเขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม" เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการเขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยังดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความเสียหายอันเกิดแก่ความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด ห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากพิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครองการนิยามความจริง ปกปิดความจริง ส่งผลให้เกิดการแสดงความคิดเห็นอย่างมากโดยเฉพาะในอินเทอร์เน็ต และแน่นอนว่ากระทบต่อความไม่มั่นคงของ "รัฐบาล" ข้อความกฎหมายลักษณะนี้ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่จำเป็น

ประเด็นที่ 5 ดูหมิ่น ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

มาตรา 26 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จ และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อ ในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้น

ประเด็นที่ 6 ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ

มาตรา 21 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ และโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงว่า การส่งจดหมายรบกวน หากเป็นการส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ถือว่าผิดกฎหมาย ในร่างฉบับใหม่แก้ไขว่า หากการส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการบอกรับได้ ทั้งนี้อัตราโทษลดลงจากเดิมที่กำหนดโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาเป็นจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ยังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้

ประเด็นที่ 7 เก็บโปรแกรมทะทุลวงไว้ คุกหนึ่งปี

มาตรา 23 ผู้ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำ หรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลดไฟล์อย่างทอร์เรนท์ การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เรื่องนี้น่าจะกระทบต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์โดยตรง

ประเด็นที่ 8 เพิ่มโทษผู้เจาะระบบ

สำหรับกรณีการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เดิมกำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ร่างกฎหมายใหม่เพิ่มเพดานโทษเป็นไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท (เพิ่มขึ้น 4 เท่า)

ประเด็นที่ 9 ให้หน้าที่หน่วยใหม่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ร่างกฎหมายนี้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานซึ่งมีชื่อว่า "สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)" เรียกโดยย่อว่า “สพธอ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)" เรียกโดยย่อว่า "ETDA" เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที

หน่วยงานนี้เพิ่งตั้งขึ้นเป็นทางการ ประกาศผ่าน "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิสก์ พ.ศ. 2554" เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 โดยเริ่มมีการโอนอำนาจหน้าที่และจัดทำระเบียบ สรรหาประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554

ในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่นี้ กำหนดให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มีบทบาทเป็นฝ่ายเลขานุการของ "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์" ภายใต้ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับที่กำลังร่างนี้

นอกจากนี้ หากคดีใดที่ต้องการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในร่างกฎหมายนี้กำหนดว่า พนักงานสอบสวนอาจร้องขอให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นผู้ประสานงานกลางให้ได้ข้อมูลมา

ประเด็นที่ 10 ตั้งคณะกรรมการ สัดส่วน 8 – 3 – 0 : รัฐตำรวจ-ผู้ทรงคุณวุฒิ-ประชาชน

ร่างกฎหมายนี้เพิ่มกลไกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคลจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเงินการธนาคาร หรือสังคมศาสตร์จำนวนสามคน โดยให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี

คณะกรรมการชุดนี้ ให้ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน), สำนักงานกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (สังกัดกระทรวงไอซีที), สำนักคดีเทคโนโลยี (สังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม), และ กลุ่มงานตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี (บก.สสท.) (สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เป็นเลขานุการร่วมกัน

คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ออกระเบียบ ประกาศ ตามที่กำหนดในพ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหลักฐาน รวมถึง "ปฏิบัติการอื่นใด" เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ โดยให้ถือว่าคณะกรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

(หมายเหตุ ร่างพ.ร.บ.ที่กล่าวถึงนี้เป็นร่างพ.ร.บ.ที่ใช้ในการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 28 มีนาคม 2554)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1302176066&grpid=01&catid=&subcatid=

-------------------------------------------------------------------------------


FfF