บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


26 พฤษภาคม 2554

<<< รวมวาทกรรม ดีแต่พูด >>>

สัมภาษณ์พิเศษ: ว่าผมดีแต่พูดอันไหนบ่างที่ผมพูดแล้วผมไม่ทำ

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
หมายเหตุ :อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ให้สัมภาษณ์พิเศษ "โพสต์ทูเดย์" ถึงนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งและแนวทางปรองดองของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย

ประชาธิปัตย์หาเสียงไว้ว่า เข้ามาวันแรกทำได้ทันที จะทำอะไร
เราใช้คำว่า "วันแรกทำทันที" งานหลายเรื่องขณะนี้เราได้เริ่มต้นแล้ว บังเอิญช่วงยุบสภาเขาเรียกรัฐบาลรักษาการ ตามกฎหมายก็ต้องหยุด แต่ความที่นโยบายเราเป็นการต่อยอดจากงานเดิมที่ทำ เช่น การช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร เราทำเรื่องประกันรายได้เป็นหลัก จะปรับปรุงการเพิ่มกำไร การคำนวณต้นทุนการบริหารจัดการ เราทำได้ทันที ขณะที่คู่แข่งประกาศว่าจะยกเลิกนโยบายนี้ ซึ่งเขาต้องยกเลิกก่อน และคิดโครงการนับหนึ่งใหม่ ขณะที่เราบอกว่าโครงการดีอยู่แล้ว เราเติมให้เต็มสิบ

ที่สำคัญคือเราไม่ได้หยิบยกประเด็นที่คิดว่าจะเป็นปัญหาทางการเมืองขึ้นมา ซึ่งจะทำให้เสียเวลากับตรงนั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเน้นย้ำคือ เอาปัญหาของประชาชนเป็นตัวตั้ง เรามีโอกาสทำงานมาแล้ว งานหลายอย่างมีความก้าวหน้า แต่ยังไม่พอ เราจะเร่งต่อยอดและทำทันที ที่ได้รับโอกาสในการเข้ามาสานต่องานเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของประชาชน

ย้อนกลับไปสมัยก่อน เคยหาเสียงเรื่อง 99 วันทำได้จริง ที่ผ่านมาทำได้จริงไหม
ทำเสร็จหมดแล้วครับ เช่น เรียนฟรี เราเข้ามาต้นปี 2552 ภายใน 99 วัน วางระบบเรียบร้อย พอเปิดเทอมผู้ปกครองได้เงินค่าอุปกรณ์ ตำรา เครื่องแบบ ส่วนการตั้งชุมชนพอเพียงก็เข้ามาผลักดันงบประมาณกลางปีได้ทันที เรื่องกลไกการทำงานในสภาการตรึงราคาก๊าซหุงต้มก็ทำทันที และมีบางเรื่องที่ไม่ได้พูด แต่ก็ทำได้เสร็จ 99 วัน เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

พิสูจน์มาแล้วสิ่งที่เคยบอกว่าจะทำภายใน 99 วัน ก็ได้ทำตามที่พูดไว้ แต่อาจมีคนไปบิดเบือน เช่น บอกว่า 99 วัน เหตุการณ์ภาคใต้จะสงบ อันนี้ผมไม่เคยพูด เราพูดว่ากลไกจะต้องมีและแนวทางเราก็ทำภายใน 99 วัน โดยการตั้งคณะรัฐมนตรีภาคใต้

มีอีกเรื่องคือน้ำมัน พูดตอนต้นปี 2551 เราบอกจะลดการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ แต่วันที่เข้ามาตอนปี 2552 สถานการณ์คนละอย่าง

แต่พอสถานการณ์กลับมาเหมือนปี 2550 ก็ทำเหมือนอย่างที่เคยพูดไว้
ข้อจำกัดในการเดินหน้านโยบายที่สำคัญคือ พรรคร่วมรัฐบาล
ไม่หรอกครับ เหมือนครั้งที่แล้ว นโยบายหลักๆ ที่พูด 99 วันผมเป็นรัฐบาล แม้เป็นรัฐบาลผสม แต่เรายืนยันว่าคนที่มาร่วมงานกับเรายอมรับนโยบายเหล่านี้ เช่นเดียวกันในการจัดตั้งรัฐบาลถ้าเรามีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง เงื่อนไขสำคัญสุดคือการยอมรับนโยบาย เพราะเราถือว่านี่คือสิ่งที่เราไปขอคะแนนเสียงจากพี่น้องประชาชนมา

การจัดตั้งรัฐบาลมีเงื่อนไขว่าทุกพรรคจะต้องยอมรับนโยบายใช่ครับ ผมไม่ค่อยกังวล เพราะหลายพรรคการเมืองในขณะนี้ก็ร่วมงานกับประชาธิปัตย์อยู่ จะทราบหลักคิด แนวคิดในการแก้ปัญหาหลายเรื่องอยู่แล้ว
พรรคร่วมคงต้องการกระทรวงเกรดเอ จะทำให้นโยบายประชาธิปัตย์ที่จะผลักดันติดขัดหรือไม่
การจะจัดสรรตำแหน่งต่างๆ ต้องรอผลการเลือกตั้ง และที่ผ่านมาไม่ใช่รัฐบาลประชาธิปัตย์รัฐบาลเดียวที่จะต้องมีการตัดสินใจตกลงแบบนี้ ก่อนหน้าเป็นรัฐบาลผสมระหว่างพรรคพลังประชาชนกับพรรคอื่นๆ ต่อมาก็ร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งคนที่มาร่วมงานกับประชาธิปัตย์ ก็คือคนที่ดูกระทรวงนั้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองใหญ่ทุกพรรค ถ้าไม่ได้เสียงข้างมากก็มีความจำเป็นในการจัดตั้งรัฐบาลผสม
การจะฟอร์มรัฐบาลใหม่จะปรับเปลี่ยนกระทรวงไหม
เราไม่ได้ยึดโครงสร้างเดิมอยู่แล้ว เพราะการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ต้องดูผลการเลือกตั้ง แล้วมาตกลงกันว่าจะทำอย่างไร เราได้พูดชัดเจนว่าถ้าเรามีโอกาส บางกระทรวงที่เราไม่เคยได้ทำงานในช่วงที่ผ่านมาก็อยากบริหารเอง เช่น มหาดไทย หรือพาณิชย์

ปมร้อนเรื่องนิรโทษกรรม และเรื่องความปรองดองเป็นอย่างไร
การปรองดองที่ดีที่สุด คือการให้คนที่ไม่มีส่วนได้เสีย ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงเข้ามาเป็นคู่คิดว่าจะทำอย่างไร เพราะถ้าเอาคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียมาคิด อีกฝ่ายก็จะอดคิดไม่ได้ว่าจะมีการเอื้อประโยชน์ เอาเปรียบ ช่วยเหลือพรรคพวก ที่เราทำมา คือในกระบวนการปรองดอง ประเด็นที่หยิบยกมา เช่น ความไม่เป็นธรรมในสังคม เหลื่อมล้ำ กระบวนการยุติธรรมอื่นๆ เราก็ตั้งคณะกรรมการอิสระ ชุดท่านอานันท์ ปันยารชุน คุณหมอประเวศ วะสี

ถ้าเอาคู่กรณีมาเสนอว่าจะปรองดองอย่างไร มันก็มีความขัดแย้งได้ พูดกันตรงไปตรงมา มีแกนนำเสื้อแดงอยู่ในบัญชีรายชื่อที่จะเป็น สส.เพื่อไทย อาจจะมาเป็นรัฐมนตรีด้วยซ้ำ ตรงนั้นคนเหล่านี้เสนอแผนปรองดองถามว่าจะเป็นที่ยอมรับมากน้อยแค่ไหน หรือกำลังจะสร้างปัญหาใหม่
เพื่อไทยบอกว่า จะเดินเรื่องนโยบายปรองดองคู่ไปกับปัญหาปากท้อง พร้อมตั้งกรรมการกลาง
ผมคิดว่า เมื่อปี 2551 เป็นบทเรียนมาแล้วที่มีการเลือกตั้งเสร็จตอนแรกก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่พอมีการหยิบยกเรื่องนิรโทษกรรมขึ้นมาก็เกิดความวุ่นวายประท้วง ชุมนุมคัดค้าน เราควรเก็บเกี่ยวบทเรียนตรงนั้น และคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาขณะนี้ เขาไม่เป็นกลาง อย่างไรที่ผ่านมาได้พิสูจน์ตนเองพอสมควร

ถ้าประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลจะต่อยอดปรองดองอย่างไร
มีรายงานเข้ามาหมดแล้ว บางอันเป็นรายงานเบื้องต้น บางอันเสร็จสิ้นในตัวของมันเอง ก็สามารถเดินหน้าตัดสินใจได้ สมมติประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งมาจัดตั้งรัฐบาล เราก็มุ่งแก้ปัญหาปากท้อง แก้ปัญหาเรื่องยาเสพติด และปล่อยให้กระบวนการยุติธรรม คณะกรรมการอิสระ ช่วยดูแลว่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาใครถูกผิด ใครต้องรับผิดชอบ มีข้อเสนอแนะรัฐบาลก็ทำตาม
ฝั่งคุณยิ่งลักษณ์ยืนยันอยากดีเบตในสภา
เรื่องดีเบตไม่ดีเบตประชาธิปัตย์ไม่ใช่คนจัด คนจัดคือคนกลางแล้วถามว่าเขาจัดทำไม เขาจัดเหมือนสากลเขาทำ ซึ่งผมก็ต้องการรักษาหลักในเวทีประชาธิปไตย ประเทศต่างๆ ในระบบรัฐสภาเขาก็จัดเวทีทั้งนั้น ประชาชนก็บอกว่า เป็นสิทธิที่เขาควรรู้ โพลก็สำรวจว่าคนส่วนใหญ่ต้องการเห็นเวทีแบบนี้
ผมบังคับให้ใครมาร่วมไม่ได้อยู่แล้ว และไม่ใช่เรื่องระหว่างผมกับเพื่อไทย หัวหน้าพรรคอื่นเขาก็อยากมีโอกาสมานั่งเปรียบเทียบ

โดยข้อเท็จจริงคนที่จะหลีกเลี่ยงการดีเบตมากที่สุดคือคนเป็นรัฐบาล เพราะส่วนใหญ่ไปดีเบตคนที่ถูกรุม คนรัฐบาลเป็นเป้าง่ายสุด แต่ผมเป็นนักประชาธิปไตย เป็นฝ่ายค้านรัฐบาล สม่ำเสมอมาตลอดว่าเรามาคุยกันว่าอะไรเป็นอะไร ประชาชนจะได้เปรียบเทียบ

ที่พูดอย่างนี้ เพราะคุณอภิสิทธิ์มีภาษีดีกว่า ประสบการณ์ทางการเมืองมากกว่า
ไม่จำเป็นหรอกครับ ที่ผ่านมาปี 2550 ก็มีประเด็นนี้กับคุณสมัคร สุนทรเวช ใครจะโต้วาทีเก่งเท่าคุณสมัคร ผมเป็นรองทุกอย่าง แต่ผมบอกว่าน่าจะได้มีเวทีมานั่งด้วยกันเพื่อตอบคำถาม
และเวลาบอกว่าไม่เป็นไร ไปเปรียบเทียบกันได้ ผมก็ไม่ทราบว่าวันนี้ผมไปคุยตัวต่อตัว เวลาไปคุยกับหัวหน้าพรรคอื่นคำถามอาจจะเป็นคนละเรื่องกันเลยก็ได้ และอะไรที่ผมพูดไม่ถูกจะได้ท้วงกันเลยว่าไม่ใช่
แม้จะมีผลงานแต่ไม่อาจพ้นเสียงวิจารณ์ 'ดีแต่พูด'

ที่จริงคำว่าดีแต่พูด ต้องหมายความว่าพูดแล้วไม่ทำ คนที่บอกว่าผมดีแต่พูด พอถามว่าเรื่องไหนที่ผมพูดแล้วไม่ทำ ก็ไม่เคยตอบ แต่สิ่งที่ผมพูดผมทำ เหมือนที่พยายามบอกว่า 99 วันทำหรือเปล่า เมื่อกี้ก็ได้ไล่ให้ฟัง เรียนฟรีทำไหม ผู้สูงอายุทำไหม อสม.ทำไหม ชุมชนพอเพียงทำไหม ก็ทำหมด แต่ว่าจริงๆ คนที่ต่อว่าผมดี
แต่พูด เคยหาเสียงเรื่องเบี้ยยังชีพก็เคย เคยหาเสียงเรื่องเรียนฟรีเรื่องนั้นเรื่องนี้เยอะแยะแต่ไม่ได้ทำ รัฐบาลผมเป็นคนมาทำ

แต่พอผมเอาความจริงไปพูดไม่ค่อยถูกใจ ไม่อยากให้คนไปฟังผมพูด ก็หาว่าผมดีแต่พูด ก็มีเท่านั้นเอง เป็นการสร้างกระแสขึ้นมาก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่อย่างนี้ไม่ว่ากระแหนะกระแหน แต่พอผมพูดตรงว่าผมทำอะไร เขาไม่ได้ทำอะไร บอกผมไปกระแหนะกระแหนคู่ต่อสู้ ก็แปลกดีเหมือนกัน
เวลานี้โพลชี้ว่าประชาธิปัตย์เริ่มเป็นรอง
ผมพูดมาตลอดว่ามีความสูสีมาก โพลทุกตัวที่ออกมาก็อย่างนั้นผมยังไม่เห็นโพลตัวไหนยกเว้นของเพื่อไทย ที่บอกว่าได้เกินครึ่ง แต่ไม่เห็นโพลไหนบอกว่าจะมีการชนะขาดลอย สูสีกัน เข้มข้นพอสมควร ส่วนจะชนะได้กี่ที่นั่ง อันนี้แปลงมาเป็นที่นั่งอาจต้องคำนวณอีกที เหลือเวลาอีกหลายสิบวันอาจเปลี่ยนแปลงได้ m

คนที่จะหลีกเลี่ยงการดีเบตมากที่สุดคือคนเป็นรัฐบาล เพราะส่วนใหญ่ไปดีเบตคนที่ถูกรุม คนรัฐบาลเป็นเป้าง่ายสุด แต่ผมเป็นนักประชาธิปไตย เป็นฝ่ายค้านรัฐบาล สม่ำเสมอมาตลอดเรามาคุยกันว่าอะไรเป็นอะไร ประชาชนจะได้เปรียบเทียบ

หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์

http://web.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=294544

------------------------------------------------------------

รวม "วิวาทะ"

----------------ใครพูดคำเหล่านี้----- เช่น
1. เมื่อ 31 สค 51
"เมื่อมีประชาชนเพียง 1 คน หรือแสนคน มาเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาตัวเองนั้น ไม่ได้ขัดหลักการประชาธิปไตย โดยเฉพาะถ้ามีข้อสงสัยว่าการบริหารประเทศนั้นละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิประชาชน หรือทุจริตคอร์รัปชั่น เรื่องเหล่านี้ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่รอให้กฎหมายจัดการ แต่จะมีสำนึกความรับผิดชอบทางการเมือง"
ฟังกันให้ชัดๆที่ http://www.youtube.com/watch?v=SunS-wZs-mo

"ต้องยอมรับว่าการชุมนุมของพันธมิตรฯเป็นการที่ประชาชนสะสมความไม่พอใจมานาน ถึงจะจัดการขั้นเด็ดขาดก็ไม่อาจทำลายแนวคิดต่อต้านที่มีได้...สิ่งสำคัญที่จะรักษาประชาธิปไตยได้คือนักการเมืองต้องรักษาศรัทธาของประชาชน ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องรับผิดชอบได้ เสียสละได้ เพื่อแก้ไขปัญหาความวุ่นวายของบ้านเมือง ในบางประเทศเมื่อมีปัญหาเรื่องส่วนตัวยังลาออกเลย ตรงนี้ต่างหากที่นายกรัฐมนตรีต้องเข้าใจ”

2. "..ยุบสภาจะเป็นการรับผิดชอบ ทำเถอะครับเพื่อบ้านเมืองสงบ สร้างบรรทัดฐานที่ดีเถอะครับ.."

3. 7 ตุลา 51
"ท่านจะลาออก หรือถ้าท่านกลัวว่าถ้าท่านลาออกแล้วจะเป็นเรื่องที่ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์จะไปมีอำนาจท่านก็ยุบสภาเถิดครับ แต่ท่านเพิกเฉยไม่ได้ เพราะถ้าท่านเพิกเฉยแล้ว ท่านทำร้ายบ้านเมืองและท่านกำลังทำร้ายระบบการเมือง เพราะว่าระบบการเมืองในวิถีทางประชาธิปไตยไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชน ถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้ว รัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ ไม่มี"

4. 9 ตุลา 51
"ผมไม่นึกไม่ฝันว่าเรามีรัฐที่ได้ทำร้ายประชาชนถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัสแล้ว เรายังมีรัฐที่พยายามยัดเยียดความผิดกลับไปให้ประชาชนอีก เป็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้ครับ"

5. 10 พย 53
"..กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นวางอยู่บนหลักการพื้นฐานและคำนึงถึงเจตนาของผู้ที่กระทำผิด โดยกฎหมายดังกล่าวมิได้จำกัดการถกเถียงในเชิงวิชาการ ประเทศไทยเป็นสังคมเปิด ซึ่งเคารพและเชื่อมั่นในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น.."

6. 29 ธ.ค.53
"... ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย และไม่มีใครมีสิทธิพิเศษ..."

7. 29 มค 54
"ผู้นำทั้งหลายควรจะเคารพต่อความต้องการของประชาชน"

8. คำแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธันวาคม 2551
มาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี ในเรื่องของการรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน ได้เสนอให้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน
เป็นต้น

โดย Bus Tewarit
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=1929372427054&set=a.1515610323260.2070497.1024504690&type=1&theater

------------------------------------------------------------

อภิสิทธิ์เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว

หลังการสลายการชุมนุมวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่หน้ารัฐสภา ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2551 ณ ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงข่าวเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุม

ที่ ต้องบันทึกไว้ก็คือมีผู้บาดเจ็บจำนวนมากระหว่างการสลายการชุมนุมโดยตำรวจที่ หน้ารัฐสภาในช่วงกลางวันจริง แต่ที่ต้องไม่เหมารวมก็คือ ผู้เสียชีวิตในวันที่ 7 ตุลาคม ไม่ได้เกิดจากการสลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา โดยรายหนึ่งเกิดจากเหตุระเบิดรถยนต์จี๊ปเชอโรกี ที่ ถ.สุโขทัย แยกพิชัย หน้าที่ทำการพรรคชาติไทย ส่วนผู้เสียชีวิตอีกรายเสียชีวิตที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ช่วงหัวค่ำ ซึ่งเป็นเวลาที่เลิกประชุมสภาไปแล้ว

อย่างไรก็ตามนายอภิสิทธิ์ในเวลา นั้นเห็นว่า “ผมไม่นึกไม่ฝันว่าเรามีรัฐที่ได้ทำร้ายประชาชนถึงขั้นเสียชีวิต” และต่อไปนี้คือความเห็นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ของนายอภิสิทธิ์ต่อเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

000

(แฟ้มภาพ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีประชุม ณ รัฐสภา เมื่อ 24 มี.ค. 53 (ที่มา: www.pm.go.th)

1. “ผมไม่นึกไม่ฝันว่าเรามีรัฐที่ได้ทำร้ายประชาชนถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัสแล้ว เรายังมีรัฐที่พยายามยัดเยียดความผิดกลับไปให้ประชาชนอีก เป็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้ครับ”

2. "ผมทราบว่านายกรัฐมนตรีกำลังจะจัดตั้งกรรมการขึ้นมา เพื่อที่จะสอบข้อเท็จจริง ผมไม่ทราบว่าท่านจะหาใครมาและจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ แต่ผมคิดว่าเพื่อพิสูจน์ความจริงใจ ท่านต้องสั่งย้ายตำรวจที่ให้ร้ายประชาชนออกไปให้หมดก่อนครับ

ถ้า ท่านจะตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงแต่ว่า กระบวนการของรัฐตั้งธงไว้แล้วว่าเป็นความผิดของประชาชน ท่านอย่าตั้งเลยครับ ท่านซ้ำเติมบ้านเมือง สร้างปมความขัดแย้งของบ้านเมืองเพิ่มเติมขึ้นมาอีก วันนี้ในทางการเมืองความชอบธรรมมันหมดไปแล้วครับ เราเรียกร้องความรับผิดชอบจากท่าน"

3. "ท่านจะลาออก หรือถ้าท่านกลัวว่าถ้าท่านลาออกแล้วจะเป็นเรื่องที่ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์จะ ไปมีอำนาจท่านก็ยุบสภาเถิดครับ แต่ท่านเพิกเฉยไม่ได้ เพราะถ้าท่านเพิกเฉยแล้ว ท่านทำร้ายบ้านเมืองและท่านกำลังทำร้ายระบบการเมือง เพราะว่าระบบการเมืองในวิถีทางประชาธิปไตยไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชน ถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้ว รัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ ไม่มี"

4. "ผมว่าท่านนายกฯ ก็มีแต่สร้างปัญหาให้กับสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ ผมไม่ห่วงเลยนะครับ รัฐบาลอยู่สั้นอยู่ยาว แต่ผมห่วงว่าบ้านเมืองจะเดินอย่างไร รัฐบาลอยู่ผมก็ยังนึกไม่ออกนะครับว่าท่านนายกฯ คิดว่ารัฐบาลจะทำอะไรให้บ้านเมือง ผมเห็นอาการท่านตอนนี้มีแต่ความหวาดกลัว ความหวาดระแวงไปหมด แล้วถามท่านว่า ท่านอยู่ไปเพื่ออะไรครับ อยู่เพราะว่ากลัวคนๆ หนึ่งติดคุกหรืออะไรครับ แล้วจะให้บาดแผลในสังคมนั้นมันลุกลามบานปลายไปถึงขนาดไหนครับ"

5. ผมไม่สนใจเลยนะครับวันนี้ว่าท่านยุบสภา ท่านลาออกแล้วใครจะเป็นหรือไม่อย่างไร ผมไม่สนใจเลยนะครับ ผมสนใจว่าต้องมีคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชนครับ

000

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, 9 ตุลาคม 2551

พรรคประชาธิปัตย์ยังคงติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเราด้วยความ ห่วงใยอย่างต่อเนื่อง ครั้งสุดท้ายที่ผมได้มีโอกาสแถลงข่าวให้สัมภาษณ์กับพี่น้องสื่อมวลชนนั้นก็ คือวันอังคาร (7 ต.ค.) แต่ว่าเมื่อวานนี้ (8 ต.ค.) และต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ พรรคก็ยังติดตามสถานการณ์และก็ยังเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ประเด็นสำคัญที่สุดก็คือว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นั้น เป็นเหตุการณ์ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และก็เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย เพราะเป็นความสูญเสียของพี่น้องประชาชนคนไทย สูญเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ บาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส และแน่นอนครับ ยังทำให้สังคมและบ้านเมืองมีความขัดแย้งมีความตึงเครียดอย่างต่อเนื่อง

ผมและพรรคติดตามท่าทีของนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มาจนถึงวินาทีนี้ ยังไม่เห็นความรับผิดชอบ ยังไม่เห็นความจริงใจในการแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีแต่ความพยายามที่จะปัดความรับผิดชอบ ซึ่งไม่หนักหน่อยก็คือพยายามเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ ทั้งๆ ที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นครั้งเดียว คือไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงเช้าของวันที่ 7 ซึ่งนายกรัฐมนตรีอาจจะอ้างได้ว่า ไม่คาดคิดว่าปฏิบัติการณ์ของเจ้าหน้าที่จะนำมาสู่ความสูญเสียที่มีประชาชน นั้นขาขาด แต่ว่าตั้งแต่สายของวันที่ 7 ที่นายกรัฐมนตรีทราบเรื่องนี้แล้วนั้น ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของฝ่ายบริหาร ไม่ได้มีความพยายามใดๆ ทั้งสิ้น ที่จะป้องกันไม่ให้เหตุการณ์นั้นลุกลามบานปลายหรือเกิดซ้ำรอยกับช่วงที่เกิด ขึ้นตอนเช้า

มิหนำซ้ำความสูญเสียในช่วงบ่ายและช่วงค่ำนั้น กลับมากกว่า รุนแรงกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกฯ ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ว่าเป็นผู้ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือมิเช่นนั้นก็จงใจให้เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้น เมื่อวานจึงมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค ที่ได้ไปกล่าวโทษนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ แต่ว่าที่เลวร้ายกว่าการโยนความผิดหรือความพยายามปัดความรับผิดชอบไปให้เจ้า หน้าที่ก็คือว่า วันนี้พัฒนาไปสู่กระบวนการใส่ร้ายประชาชน

ผมไม่นึกไม่ฝันว่าเรามีรัฐที่ได้ทำร้ายประชาชนถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัสแล้ว เรายังมีรัฐที่พยายามยัดเยียดความผิดกลับไปให้ประชาชนอีก เป็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้ครับ ผมเคยได้ยินคนในฝ่ายรัฐบาลชอบถามคน นั้นคนนี้ว่า เป็นคนไทยหรือเปล่า แต่พฤติกรรมที่ท่านแสดงอยู่นั้น ไม่ใช่เป็นคนไทยหรือเปล่า แต่เป็นคนหรือเปล่า กระทำกับบุคคลถึงขั้นเสียชีวิต แล้วยังยัดเยียดปรักปรำใส่ร้ายเขาอีกว่าเขาพกพาอาวุธ เขาเป็นเด็กสาวซึ่งจบการศึกษาดี ไปชุมนุมด้วยความเชื่ออย่างบริสุทธิ์ว่า เขาไปพิทักษ์ความถูกต้อง เขาไม่ได้มีอะไรที่ไปคุกคามเจ้าหน้าที่ของรัฐเลยแม้แต่น้อยนิด ผมสอบถามจากคุณแม่ของเขาซึ่งเห็นลูกสาวเสียชีวิตต่อหน้าต่อตาแล้วยังบาดเจ็บ อยู่ในโรงพยาบาล แม้แต่ตำรวจเขาก็เห็นไกลๆ ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องอะไรกับการที่จะไปคุกคามรัฐแม้แต่น้อยนิด

บัดนี้ เขาสูญเสียไปแล้ว นายกรัฐมนตรีที่ชื่อสมชาย ยังปล่อยให้ลูกน้องและกระบวนการทั้งหลายของนายกฯ ไปยัดเยียดข้อหาใส่เขาอีก เป็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้ครับ พฤติกรรมอย่างนี้ไม่มีทางนำพามาซึ่งความสมานฉันท์ความปรองดองหรือความเชื่อ ถือใด ๆ เพราะฉะนั้นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ พรรคก็จึงต้องดำเนินการในหลาย ๆ ทาง นอกจากการกล่าวโทษนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์เมื่อวานนี้ วันนี้เราได้ทำหนังสือชี้แจงเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อให้ทราบว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นประชาชนคนไทยนั้นไม่ใช่ประชาชน ที่รุนแรงครับ แต่เป็นผู้ถูกกระทำจากความรุนแรงของภาครัฐ

ประการที่สอง เราได้มีการทำหนังสือเพื่อขอให้ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ดำเนินการตามหน้าที่ในการสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ประการที่สาม เราจะได้ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขออธิบายนิดนะครับว่า ที่เราไม่ทำถึงนายกฯ ในเรื่องนี้เพราะว่าเราถือว่าท่านหมดความชอบธรรม ความน่าเชื่อถือที่จะทำ เราทำถึงท่านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่า เมื่อปรากฏชัดว่า มันมีการทำร้ายประชาชน มีการยิงอาวุธใส่ประชาชนไม่ได้เป็นไปตามที่ได้แถลงก่อนหน้านี้ว่าเป็นการใช้ แก๊สน้ำตาเท่านั้น หรือเป็นการใช้แก๊สน้ำตาตามวิถีทางที่อารยประเทศเขาทำกัน ท่านจะดำเนินการสอบสวนเพื่อที่จะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านอย่างไร หรือว่าบุคคลเหล่านั้นทำตามคำสั่งของท่าน ถ้าทำตามของท่าน ท่านจะรับผิดชอบอย่างไร ถ้าไม่ได้ทำตามคำสั่งของท่านแต่มีบุคคลที่อยู่เหนือท่านเป็นผู้สั่ง บุคคลนั้นเป็นใคร ผมว่านี่คือสิ่งที่เป็นความรับผิดชอบของท่านผู้บัญชาการซึ่งเราก็ยังให้ เกียรติท่านว่า ท่านยังอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการอย่างตรงไปตรงมากับเรื่องเหล่านี้ แต่ถ้าท่านไม่ทำเช่นนี้ เราก็ถือว่าท่านเองก็มีความผิดด้วย

อันนี้ก็เป็นสิ่งที่พรรคได้ดำเนินการในวันนี้ ที่ได้มีการเดินทางไปทั้งสถานเอกอัครราชทูตของหลายประเทศ บวกกับการไปที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ บวกกับการไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเรียนครับว่า ผมทราบว่านายกรัฐมนตรีกำลังจะจัดตั้งกรรมการขึ้นมา เพื่อที่จะสอบข้อเท็จจริง ผมไม่ทราบว่าท่านจะหาใครมาและจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ แต่ผมคิดว่าเพื่อพิสูจน์ความจริงใจ ท่านต้องสั่งย้ายตำรวจที่ให้ร้ายประชาชนออกไปให้หมดก่อนครับ

ถ้าท่านจะตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงแต่ว่า กระบวนการของรัฐตั้งธงไว้แล้วว่าเป็นความผิดของประชาชน ท่านอย่าตั้งเลยครับ ท่านซ้ำเติมบ้านเมือง สร้างปมความขัดแย้งของบ้านเมืองเพิ่มเติมขึ้นมาอีก วันนี้ในทางการเมืองความชอบธรรมมันหมดไปแล้วครับ เราเรียกร้องความรับผิดชอบจากท่าน

ท่านจะลาออก หรือถ้าท่านกลัวว่าถ้าท่านลาออกแล้วจะเป็นเรื่องที่ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์จะ ไปมีอำนาจท่านก็ยุบสภาเถิดครับ แต่ท่านเพิกเฉยไม่ได้ เพราะถ้าท่านเพิกเฉยแล้ว ท่านทำร้ายบ้านเมืองและท่านกำลังทำร้ายระบบการเมือง เพราะว่าระบบการเมืองในวิถีทางประชาธิปไตยไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชน ถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้ว รัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ ไม่มี และจนกว่าเราจะได้เห็นสิ่งเหล่านี้ พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่สามารถที่จะไปร่วมในการดำเนินการอย่างที่เราได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอดได้

วันนี้ ผมก็ได้ทำหนังสือปฏิเสธการเข้าร่วมการเจรจา หรือการที่จะมีคณะทำงานยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เพราะถือว่ารัฐบาลได้แสดงออกแล้วถึงความไม่จริงใจ ในการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่ได้มาพูดกับที่ประชุมซึ่งมีผมอยู่ด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พูดเอง เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้คือจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งก็กำลังจะได้ติดตามสถานการณ์ต่อไปและจะทำทุกวิถีทางที่จะทำได้ในการ รักษาความยุติธรรมในบ้านเมือง ให้ความเป็นธรรมกับประชาชนผู้เป็นเหยื่อของความรุนแรงในครั้งนี้ และในการพิทักษ์รักษาสิทธิและความถูกต้องในสังคมต่อไป

(ตอบคำถามผู้สื่อข่าว)

- ผมว่าทุกคนที่ให้ร้ายกับประชาชน แล้วก็แถลงข่าวชี้แจงแล้วพอถูกจับได้ก็เปลี่ยนคำอธิบายครับ ผมว่าประชาชนก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นใครบ้าง ท่านก็รู้อยู่แล้วเป็นใครบ้าง นายกฯ ก็ควรจะรู้ว่าเป็นใครบ้าง

- ผมยังไม่ทราบนะครับ ไม่ค่อยได้ยินท่าน ผบ.ตร.ได้แสดงออกเท่าไหร่ครับ แต่ว่าหลายท่านที่มาชี้แจง ก็อย่างที่ผมเรียน พอจับได้ไล่ทันก็เปลี่ยนคำอธิบาย แล้วสุดท้ายมาให้ร้ายยัดเยียด ความผิดให้ประชาชน คนเหล่านี้ไม่สมควรที่จะอยู่ในฐานะที่จะมาชี้แจง ไม่อยู่ในฐานะที่จะมาบริหารงานของตำรวจต่อไปครับ

- คนที่มีความเชื่อถือจากสังคม แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าใครที่มีความเชื่อถือในสังคมขณะนี้จะยอมรับการแต่งตั้ง จากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เพราะว่าถ้าเขารับการแต่งตั้งจากนายสมชาย ความเชื่อถือเขาก็ถูกกระทบ จะเห็นได้ว่าบางคนเขาเรียกร้องอยู่แล้วว่าไม่ให้มีการไปร่วมมือกับคณะ กรรมการต่าง ๆ ของรัฐบาลอยู่แล้ว คือนายกฯ ต้องรู้ตัวเองครับวันนี้ เป็นผู้นำประเทศหรือไม่ ความรุนแรงเกิดขึ้นในบ้านเมืองแล้วครับ 1 วันนะครับ เจ็บ 400 กว่าคน บาดเจ็บสาหัส เสียชีวิต เพียงเพราะนายกฯ ต้องการเข้าไปอ่านเอกสาร 33 หน้า อ่านเสร็จแล้วก็ไม่สามารถตามที่อ่าน เพราะฉะนั้นผมมองไม่เห็นนะครับว่า ท่านอยู่ในฐานะอะไรที่จะมาตั้งคนให้มาสอบข้อเท็จจริง ถ้าบอกว่าทั้งหมดเป็นเรื่องตำรวจ อย่างนั้นท่านก็ลาออกไปให้ตำรวจบริหารบ้านเมืองไปเลย ถ้าท่านบอกว่าท่านตัดสินใจเองไม่ได้ต้องฟังโทรศัพท์จากลอนดอน เอาคนที่ลอนดอนกลับมา

- ผมว่าท่านนายกฯ ก็มีแต่สร้างปัญหาให้กับสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ ผมไม่ห่วงเลยนะครับ รัฐบาลอยู่สั้นอยู่ยาว แต่ผมห่วงว่าบ้านเมืองจะเดินอย่างไร รัฐบาลอยู่ผมก็ยังนึกไม่ออกนะครับว่าท่านนายกฯ คิดว่ารัฐบาลจะทำอะไรให้บ้านเมือง ผมเห็นอาการท่านตอนนี้มีแต่ความหวาดกลัว ความหวาดระแวงไปหมด แล้วถามท่านว่า ท่านอยู่ไปเพื่ออะไรครับ อยู่เพราะว่ากลัวคน ๆ หนึ่งติดคุกหรืออะไรครับ แล้วจะให้บาดแผลในสังคมนั้นมันลุกลามบานปลายไปถึงขนาดไหนครับ ผมไม่อยากจะเชื่อเลยนะครับว่านี่คือคนซึ่งเคยนั่งอยู่ในกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้บริหารสูงสุด

- พรรคได้คุยกันเรื่องนี้มาก หากการที่เราพ้นจากความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ สามารถทำให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าได้ ผมยืนยันว่าพวกเราจะทำ แล้วก็การยุบสภาก็เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เราหลุดพ้นจากความเป็น ส.ส. แต่กลับนายกฯ ที่ชื่อสมชายนั้น แล้วเราลาออกไป 164 คน แล้วท่านไม่ทำอะไรหรอกครับนอกจากเอาลูกน้องท่านมาด่าว่า พวกเราทำให้เสียเงินเลือกตั้งซ่อม ผมก็ไม่รู้ว่ามันจะมีประโยชน์อะไรกับสังคม เราก็ยังใช้สถานะความเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยทำในสิ่งที่เราพอจะทำได้ แต่เมื่อไหร่ที่เราคิดว่ามันไม่มีประโยชน์ ไม่ต้องห่วงหรอกครับเราพร้อมที่จะทิ้งตำแหน่งตรงนั้นอยู่แล้ว และแน่นอนถ้าการทิ้งตำแหน่งนั้นทำให้บ้านเมืองสงบแก้ไขปัญหาได้ เราทำทันที

- ผมก็ถามท่านนายกฯ ว่าแล้วคิดว่าสังคมจะทนกับสภาพนี้ไปได้นานเท่าไหร่ ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ ผมเห็นอาการท่าน ก็ไม่รู้ว่าท่านทนได้นานเท่าไหร่ แต่ผมไม่ห่วงท่าน ผมห่วงสังคม ผมห่วงประเทศชาติ ผมไม่เข้าใจท่าน ทำเพื่ออะไรครับ ทำเพื่อใครครับ ผมว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลยนะครับ ที่จะตัดสินใจเพื่อจะคลี่คลายสถานการณ์ แต่อะไรล่ะครับ มันมีผลประโยชน์อะไร มันมีเรื่องอะไรครับที่มันยิ่งใหญ่กว่าขนาดที่เรียกว่า ยอมให้สังคมพังไปทั้งสังคม อะไรครับ

- ขณะนี้เนื่องจากไม่มีการเชิญประชุมส.ส.หรืออะไรทั้งสิ้นนะครับ สภาฯ หรืออะไร เรายังไม่มี ยังไม่ทราบว่ารัฐบาลดำเนินการอะไรต่อไป วันนี้ก็มีประชุม ครม. ในส่วนของรัฐบาลใช่ไม๊ครับ ส่วนใหญ่ก็แต่งตั้งตำแหน่งต่าง ๆ นั่นแหละ แต่ว่าผมไม่เห็น ผมไม่ทราบว่ารัฐบาลจะเดินหน้าอย่างไรนะครับ เลยยังไม่อยู่ในฐานะที่จะบอกได้ว่าในแต่ละเรื่องนั้นเราจะดำเนินการอย่างไร ต่อไป แต่อย่างที่เรียกว่า ขณะนี้นั้นภาระหน้าที่ของส.ส.ประชาธิปัตย์ทุกคนนั้น ก็คือช่วยต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับผู้ที่สูญเสียทั้งหมด แล้วก็ความเป็นธรรมในสังคม และก็พยายามตรวจสอบเท่าที่เราจะทำได้นะครับ ทว่า 2 วันที่ผ่านมาผมก็เรียนว่า ข้อมูลที่เราได้นั้น มันก็มาจากการที่พวกเราก็ยังเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งในการตรวจสอบแล้วก็เอาความจริงออกมา แล้วผมเรียนนะครับว่า ที่ผมพูดกับรัฐบาลทั้งหมดในวันนี้ รัฐบาลไม่ต้องมากล่าวหายัดเยียดว่าเป็นเพราะเราเห็นดี เห็นงามกับทุกเรื่องที่พันธมิตรทำ ไม่ใช่ ไม่เกี่ยวกันครับ พันธมิตรทำถูกทำผิด เรื่องหนึ่ง แต่พันธมิตรทำถูกทำผิดรัฐบาลไม่มีสิทธิทำผิด ไม่มีสิทธิทำร้ายประชาชน อันนี้คือจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์

- ในพรรคประชาธิปัตย์นั้น ผมได้บอกแล้วว่า วันนี้เรามีการประชุมเพื่อที่ติดตามและกำหนดท่าทีต่อสถานการณ์ทุกวันอยู่ แล้ว แล้วก็ในภาวะซึ่งมันมีความสับสนมาก ประชาธิปัตย์ก็ต้องการได้รับความเห็นที่หลากหลายจากส.ส. ฉะนั้นที่ประชุมของส.ส.จะเป็นหลักในการที่จะกำหนดทิศทางของพรรค ขอบอกเลยนะครับไม่ใช่กรรมการบริหารพรรคด้วยครับ ที่ประชุมของส.ส.ทุกคนซึ่งเราเชิญเป็นประจำทุกวันในขณะนี้ จะเป็นผู้กำหนดทิศทางที่เราเห็นว่าดีที่สุดในการที่จะทำให้บ้านเมืองนั้น เดินไปสู่ความถูกต้องได้

- เขาควรจะมีสำนึกของเขาเอง ผมเห็นคุณบรรหารบอกว่าคนขาขาดนี่ก็ละมุนละม่อมแล้ว ผมก็ไม่รู้จะเรียกร้องอะไรจากท่านอีกครับ

- ผมไม่ทราบแล้วก็ไม่สนใจด้วยครับ รัฐบาลจะเอารัดเอาเปรียบอย่างไร ถ้ายุบสภานะครับ คืนอำนาจให้กับประชาชน ผมก็ไม่ว่านะครับ ก็ดีกว่ารัฐบาลอยู่อย่างนี้แล้วรัฐบาลพังไปเรื่อย ๆ ถ้าอยากเอาเปรียบอะไรได้ทั้งนั้นแหละครับ เหมือนวันนั้น ผมไม่เข้าประชุมเพราะผมไม่อยากฝ่ากองเลือดเข้าไป ท่านก็ใช้เวทีสภาสื่อโทรทัศน์วิทยุด่าพวกผม ทำไปเถอะครับผมไม่ต้องการตอบโต้หรอก ผมไม่สนใจตอบโต้รัฐบาล ผมสนใจความถูกต้องในบ้านเมืองที่รัฐบาลต้องให้กับประชาชนให้กับประเทศครับ

- ผมอยากจะเห็นว่าท่านมีบทบาทในการคุ้มครองประชาชนมากกว่านี้ แต่สนับสนุนที่ท่านได้แสดงออกว่าจะไม่มีการรัฐประหารครับ

- ผมหวังว่าถัดจากนี้ไปไม่มีความสูญเสียกับประชาชนอีกนะครับ คือทหารก็เป็นทหารของประเทศ ของพระเจ้าอยู่หัวของประชาชน แล้วก็แน่นอนที่สุดนะครับ ต้องสนองนโยบายของรัฐบาลที่ถูกต้องชอบธรรมไม่ขัดกับหลักการที่อยู่เหนือกว่า นั้น

- ผมว่าวันนี้ต้องมีความรับผิดชอบจากรัฐบาลปัจจุบันก่อนนะครับ แล้วถึงจะมาพูดกันครับ ไม่ใช่ว่าเป็นรัฐบาลอยู่เจรจาอยู่ ทำร้ายประชาชนเสร็จแล้วก็เรียกกลับมาเจรจา ไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบ ไม่ใช่ตัวเองอยู่ไม่ได้ก็เลยคิดว่า เอาคนอื่นมาอยู่ด้วยตัวเองจะอยู่ได้อย่างนี้มันไม่ใช่คำตอบ

- คือถ้าไม่มีความรับผิดชอบ มันไม่มีทางจะเยียวยาได้ครับ มันก็เป็นเพียงการเล่นเกมช่วงชิงอำนาจกันไป แต่หลักการความรับผิดชอบไม่มีแล้วในสังคม ก็เท่ากับว่าเราก็ยิ่งตอกย้ำว่านักการเมืองต้องมาอยู่กันเพื่อที่จะเล่นเกม แสวงหาอำนาจกันไป ผมไม่สนใจเลยนะครับวันนี้ว่าท่านยุบสภา ท่านลาออกแล้วใครจะเป็นหรือไม่อย่างไร ผมไม่สนใจเลยนะครับ ผมสนใจว่าต้องมีคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชนครับ

ขอบคุณครับ.

+++++++++++

โดย makorlan
http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=16&qid=1815

------------------------------------------------------------

รายงาน: อภิสิทธิ์วอนเสื้อแดง “ขอให้กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า” (แถลงเมื่อ 1 ปีที่แล้ว)

ย้อนรอย “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” แถลงเมื่อ 4 เม.ย. 53 ชี้การมาชุมนุมที่แยกราชประสงค์เป็นการใช้สิทธิเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญ กำหนด วอนคนเสื้อแดง “กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า” ก่อนที่อีกไม่กี่วันต่อมาในวันที่ 10 เม.ย. 53 จะมีการสลายการชุมนุมในพื้นที่ซึ่งรัฐบาลเห็นว่าเป็นการ "ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ" ดังกล่าว

000

บทนำ

เมื่อปีที่แล้วหลังจากคนเสื้อแดงชุมนุมใหญ่ที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่นั้น ต่อมาในวันที่ 3 เมษายน 2553 ผู้ชุมนุมได้ขยายการชุมนุมเพิ่มจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศมายังแยกราชประสงค์ ด้วยเหตุนี้ในวันที่ 4 เมษายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงได้กล่าวแถลงการณ์พิเศษผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ในการแถลงดังกล่าวอภิสิทธิ์ระบุว่าการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าตั้งแค่วันที่ 12 มีนาคม นั้น รัฐบาลได้ประกาศตั้งแต่ต้นว่าเราจะเคารพการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของพี่น้อง แม้จะมีหลายเหตุการณ์ที่หลายฝ่ายไม่สบายใจ แต่ “รัฐบาลก็ได้ใช้วิธีการในการผ่อนปรนและพยายามที่จะประสานงานกับผู้ชุมนุมมา โดยตลอดให้การชุมนุมนั้นอยู่ในขอบเขต ดังจะเห็นได้ว่าการชุมนุมที่บริเวณผ่านฟ้านั้น ก็สามารถดำเนินการมาได้อย่างต่อเนื่อง”

แต่เมื่อผู้ชุมนุมมาชุมนุมที่แยกราชประสงค์นั้น นายอภิสิทธิ์เห็นว่า “ถือ ได้ว่าการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย” ดังนั้นเมื่อคืนวันที่ 3 เม.ย. ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ซึ่งตั้งขึ้นจากการที่รัฐบาลได้ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง จึงได้มีการออกประกาศข้อกำหนดขอให้ผู้ชุมนุมนั้นออกจากพื้นที่ แต่นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า “การออกประกาศดังกล่าวไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลนั้นจะเข้าไปดำเนินการในการ เข้าไปสลายการชุมนุม หรือใช้ความรุนแรงแต่ประการใด”

นายอภิสิทธิ์ถือว่าการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยเขาขอให้ผู้ชุมนุม ขอให้กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า” และจะขอความร่วมมือไม่ให้มีการเดินทางเข้าไปชุมนุมในพื้นที่แยกราชประสงค์ อีก เพื่อเป็นการผ่อนคลายไม่ให้เกิดผลกระทบความเดือดร้อน และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า

นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงกระแสที่มีประชาชนจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลใช้ความเด็ดขาดกับผู้ชุมนุม ซึ่งเขาชี้แจงว่า “รัฐบาล มีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย รัฐบาลมีหน้าที่ในการรักษากฎหมาย ซึ่งผมทราบดีว่ามีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งได้เรียกร้องให้รัฐบาลใช้ความเด็ดขาด แต่ผมเห็นว่าพวกเราก็ล้วนแล้วแต่เป็นคนไทยด้วยกันทุกคน รัฐบาลกำลังผ่อนคลายสถานการณ์ จะบังคับใช้กฎหมาย และจะปฏิบัติตามแนวของสากล ซึ่งเริ่มต้นจากมาตรการเบาไปหาหนัก”

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในวันที่ 7 เมษายน 2553 และอีกไม่กี่วันต่อมา ในวันที่ 10 เมษายน 2553 พื้นที่การชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศซึ่งนายอภิสิทธิ์ขอให้ผู้ชุมนุม “กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ” นี้ ได้กลายเป็นพื้นที่สังหารทันที เพราะเป็นเป้าหมายแรกของการใช้ปฏิบัติการทางทหารสลายการชุมนุม ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 26 ราย แยกเป็นพลเรือน 21 ราย ทหาร 5 ราย และมีผู้บาดเจ็บกว่า 800 รายจากเหตุการณ์ดังกล่าว

สำหรับการแถลงของนายอภิสิทธิ์ให้ผู้ชุมนุม ขอให้กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า” มีรายละเอียดดังนี้

000

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
4 เมษายน 2553

| “วันนี้ต้องขอยืนยันครับว่าประกาศของ ศอ.รส. ที่ให้พี่น้องประชาชนออกจากพื้นที่นั้นยังเป็นประกาศที่บังคับใช้อยู่ รัฐบาลก็จะได้ดำเนินการให้ทางเจ้าหน้าที่นั้นทำความเข้าใจกับพี่น้องที่ ชุมนุมครับ ขอให้กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า

หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2553 เวลา 09.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์พิเศษถึงสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้

ประชาชนที่เคารพรักทุกท่านครับ เช้าวันนี้ผมทราบดีว่าสถานการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมเคลื่อนไหวของประชาชนกลุ่มหนึ่งนั้นได้ทำให้พี่น้อง ประชาชนทั่วไปมีความรู้สึกวิตกกังวล และอาจจะมีความสับสนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผมขอถือโอกาสนี้เรียนกับพี่น้องประชาชนว่านับตั้งแต่มีการชุมนุมเคลื่อนไหว ของกลุ่มคนเสื้อแดงตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม เป็นต้นมานั้น รัฐบาลได้ประกาศตั้งแต่ต้นว่าเราจะเคารพการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของพี่น้อง ประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งทำให้การชุมนุมที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่ทำให้หลาย ฝ่ายอาจจะมองว่าไม่สบายใจ หรือมีความไม่เหมาะสมก็ตาม แต่รัฐบาลก็ได้ใช้วิธีการในการผ่อนปรนและพยายามที่จะประสานงานกับผู้ชุมนุม มาโดยตลอดให้การชุมนุมนั้นอยู่ในขอบเขต ดังจะเห็นได้ว่าการชุมนุมที่บริเวณผ่านฟ้านั้น ก็สามารถดำเนินการมาได้อย่างต่อเนื่อง โดยในขณะเดียวกันรัฐบาลก็พยายามดำเนินการในการผ่อนคลายผลกระทบที่เกิดขึ้น กับพี่น้องประชาชนคนกรุงเทพมหานครเป็นการเฉพาะในเรื่องของการจราจร และได้พยายามในการที่จะวางมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของรัฐบาลของรัฐสภา และหน่วยงานต่างๆ นั้นสามารถดำเนินการไปได้ตามปกติ

อย่าง ไรก็ตามเมื่อวานนี้ผู้ชุมนุมนั้นได้ตัดสินใจเคลื่อนขบวนไปที่สี่แยกราช ประสงค์ และมีการปิดถนนบริเวณโดยรอบ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นต้องย้ำครับว่า เป็นการใช้สิทธิเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ นั่น หมายความว่าถ้าวินิจฉัยจากบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญก็ดี ดูจากบรรทัดฐานที่ศาลปกครองได้เคยวินิจฉัยเอาไว้เกี่ยวกับการชุมนุมก็ดี ถือได้ว่าการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นเมื่อคืนนี้ทางศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ซึ่งตั้งขึ้นจากการที่รัฐบาลได้ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง โดยมีความมุ่งหมายในการที่จะป้องปรามและระงับเหตุต่าง ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นนั้น จึงได้มีการออกประกาศข้อกำหนดอย่างชัดแจ้งว่า ขอให้ผู้ชุมนุมนั้นออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตามการออกประกาศดังกล่าวไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลนั้นจะเข้าไป ดำเนินการในการเข้าไปสลายการชุมนุม หรือใช้ความรุนแรงแต่ประการใด

สิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือได้มอบหมายให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับ สูง คือในระดับของรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เข้าไปเจรจาทำความเข้าใจ และแจ้งกับแกนนำและผู้ชุมนุมถึงการออกประกาศดังกล่าว เพื่อให้พี่น้องประชาชนที่ชุมนุมอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งผมเชื่อว่ามีจำนวนมากไม่ทราบว่า การชุมนุมดังกล่าวขณะนี้เป็นการชุมนุมที่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งกระบวนการของการแจ้งการเจรจา การทำความเข้าใจนั้น ก็จะยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เมื่อเช้านี้ท่านรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็ได้เข้าไปดำเนินการดังกล่าว และขณะนี้ผู้ชุมนุมได้มีการเปิดเส้นทางการจราจรในระดับหนึ่งแล้ว เช่น เส้นทางจากสุขุมวิท สามารถที่จะมุ่งหน้าเข้าไปถึงสี่แยกราชประสงค์ และสามารถเลี้ยวซ้ายได้ ขณะเดียวกันเส้นทางที่มาจากถนนราชดำริ สามารถมุ่งไปที่แยกและเลี้ยวซ้ายผ่านโรงพยาบาลตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการผ่อนคลายผลกระทบที่เกิดขึ้นในระดับหนึ่ง

อย่างไร ก็ตามรัฐบาลยืนยันครับว่า การชุมนุมในบริเวณดังกล่าวนั้นมีความไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย เพราะจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการสัญจร และการใช้เส้นทางคมนาคม ไม่เพียงเฉพาะในบริเวณนั้น แต่ทำให้พี่น้องประชาชนที่จะเดินทางไปยังทิศทางต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงนั้นได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ไม่นับว่าในบริเวณดังกล่าวนั้นมีทั้งโรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์การค้า ซึ่งขณะนี้ได้รับผลกระทบอย่างมากกับการให้บริการกับประชาชน เพราะฉะนั้นผมอยากจะขอถือโอกาสนี้เรียนกับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องที่อยู่ในที่ชุมนุมก็ดี หรือญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูงของผู้ชุมนุมก็ดีครับ

ผมอยากจะย้ำว่ารัฐบาลได้เคารพ สิทธิตามรัฐธรรมนูญของพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงพี่น้องที่ได้ชุมนุมมาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม จะเห็นได้ว่ารัฐบาลนั้นได้รับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนที่มาชุมนุม อยู่ตลอดเวลา เป็นครั้งแรกที่ตัวผมเองในฐานะนายกรัฐมนตรีนั้น ได้มีการเจรจากับแกนนำของผู้ชุมนุม โดยผมได้ย้ำเสมอว่าตราบเท่าที่การชุมนุมนั้นอยู่ในขอบเขตของกฎหมายนั้น ก็สามารถที่จะพูดคุยกันได้ จะเห็นได้ว่าการพูดคุยเจรจาซึ่งได้กระทำถึง 2 ครั้ง มีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ไปทั่วประเทศเป็นเวลายาวนานกว่า 5 ชั่วโมง เป็นการได้นำเอาเหตุและผลของผู้ชุมนุมและของรัฐบาล ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนกันอย่างตรงไปตรงมา

ผมขอย้ำครับว่ารัฐบาลเข้าใจ ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม และเชื่อว่าพี่น้องชาว กรุงเทพมหานครปัจจุบันนี้ก็เข้าใจข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมแล้ว แต่คงปฏิเสธไม่ได้หรอกครับว่ามีพี่น้องประชาชนอีกจำนวนมาก ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม ผมไม่สามารถจะบอกได้อย่างเต็มปากเต็มคำหรอกครับว่า ฝ่ายใดมีมากกว่ากัน แต่ก็ต้องถือว่าทุกเสียงมีความหมาย และก็ดูจากผลการสำรวจความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนหลายต่อหลายครั้ง ก็น่าจะอนุมานได้ครับว่ามีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องไม่น้อยกว่าผู้ ที่มาเรียกร้องให้มีการยุบสภาทันที หรือภายใน 15 วัน

ผมขอย้ำว่าการที่รัฐบาลมีจุดยืนที่ไม่ยุบสภาในปัจจุบันหรือภายใน 15 วัน นั้น ก็เป็นเพราะว่ารัฐบาลนี้มาตามวิถีทางของระบบรัฐสภาตามกติกาที่กำหนดไว้ในรัฐ ธรรมนูญ เป็นกระบวนการที่เหมือนกับนานาประเทศที่ได้ใช้ระบบรัฐสภา ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลนี้สามารถที่จะอยู่จนครบวาระได้ ซึ่งเป็นเวลาอีก 1ปีกับ 9 เดือน ผมเองนั้นไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง และไม่ได้มองในเรื่องของการที่จะต้องอยู่ครบวาระเป็นสำคัญ ผมจึงได้มีการนำเสนอในช่วงของการเจรจามาว่ารัฐบาลนั้นพร้อมที่จะลดวาระของ ตัวเอง ถ้าสามารถทำให้บ้านเมืองสงบสุข ถ้าทำให้ปัญหาต่าง ๆ ที่พี่น้องประชาชน ทั้งที่มาชุมนุมและไม่มาชุมนุมนั้น สามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ คลี่คลายเป็นไปตามความต้องการและเป็นประโยชน์ของประเทศและส่วนรวมได้

ผมอยากจะชี้ให้เห็นครับว่าการยุบสภาในขณะนี้ หรือภายใน 15 วัน คงไม่สามารถที่จะทำให้ข้อเรียกร้องต่าง ๆ เป็นจริงขึ้นมาได้ เนื่องด้วยขณะนี้จะเห็นได้ว่าจากเหตุการณ์ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้กระทั่ง 2-3 วันที่ผ่านมา เราจะเห็นครับว่าความคิดเห็นที่แตกต่างในทางการเมืองนั้น ยังรุนแรงมาก การยุบสภาไปสู่การเลือกตั้งไม่น่าจะทำให้การเลือกตั้งนั้นอยู่ในภาวะซึ่ง เป็นการเลือกตั้งที่สงบเรียบร้อย หรือแม้กระทั่งมีการเลือกตั้งแล้ว ก็ไม่น่าสามารถที่จะหาข้อยุติต่าง ๆ ได้ ความแตกแยกก็อาจจะดำรงอยู่ การชุมนุมเคลื่อนไหวก็อาจจะมีอยู่ เพียงแต่อาจจะต่างกลุ่มกันไป หรือจะเป็นกลุ่มเดิม ก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น

สิ่งที่ผมเชิญชวนก็คือว่า วันนี้รัฐบาลพร้อมครับในการที่จะหาหนทางที่เป็นทางออกจากวิกฤตในปัจจุบัน รับฟังข้อคิดเห็นที่เป็นข้อขุ่นข้องหมองใจของทุกกลุ่มคน แต่ต้องอาศัยเวลาในการที่จะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน บางคนก็ได้เสนอถึงขั้นว่าจำเป็นจะต้องมีการทำการปฏิรูปเป็นการใหญ่ ซึ่งผมเรียนว่ารัฐบาลพร้อมที่จะเชิญชวนทุกภาคส่วนเข้ามาดำเนินการในเรื่อง นี้ เงื่อนไขสำคัญวันนี้เราไม่ควรมาถกเถียงกันว่า 15 วัน หรือ 9 เดือน หรือเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ แต่มาทำงานร่วมกันก่อนครับ ทำอย่างไรให้กติกาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่มี การปะทะหรือไม่มีความเสี่ยงต่อการที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง และปัญหาอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการชำระสะสางที่เห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญนั้นสามารถ ที่จะมาพูดคุยทำงานได้ด้วยกันทั้งสิ้น

สิ่งที่ผมเชิญชวนก็คือว่า วันนี้รัฐบาลพร้อมครับในการที่จะหาหนทางที่เป็นทางออกจากวิกฤตในปัจจุบัน รับฟังข้อคิดเห็นที่เป็นข้อขุ่นข้องหมองใจของทุกกลุ่มคน แต่ต้องอาศัยเวลาในการที่จะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน บางคนก็ได้เสนอถึงขั้นว่าจำเป็นจะต้องมีการทำการปฏิรูปเป็นการใหญ่ ซึ่งผมเรียนว่ารัฐบาลพร้อมที่จะเชิญชวนทุกภาคส่วนเข้ามาดำเนินการในเรื่อง นี้ เงื่อนไขสำคัญวันนี้เราไม่ควรมาถกเถียงกันว่า 15 วัน หรือ 9 เดือน หรือเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ แต่มาทำงานร่วมกันก่อนครับ ทำอย่างไรให้กติกาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่มี การปะทะหรือไม่มีความเสี่ยงต่อการที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง และปัญหาอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการชำระสะสางที่เห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญนั้นสามารถ ที่จะมาพูดคุยทำงานได้ด้วยกันทั้งสิ้น ผมมั่นใจว่าถ้าทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน แล้วก็มาดำเนินการตามนี้ ใช้ระยะเวลาไม่ถึง 1 ปีกับ 9 เดือนหรอกครับ และรัฐบาลก็พร้อมที่จะให้ประเทศเดินหน้าต่อไป ในทางตรงกันข้ามครับอย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้ว หากมีการยุบสภาวันนี้หรือภายใน 15 วันปัญหาต่าง ๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะปะทุความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันการชุมนุมของพี่น้องประชาชน ผมอยากจะเรียนว่าหากเป็นการชุมนุมซึ่งสร้างความเดือดร้อนกับพี่น้องประชาชน คนกรุงเทพฯ หรือคนกลุ่มใดก็ตาม คงไม่สามารถที่จะทำให้เกิดบรรลุข้อตกลงหรือทางออกที่ดีได้ เพราะประการหนึ่งก็คือจะมีคนที่มีความรู้สึกต่อต้านการชุมนุมซึ่งผิดกฎหมาย สร้างความเดือดร้อน และจะมีข้อเรียกร้องที่ตรงกันข้ามหรือสวนทางกับข้อเรียกร้องของกลุ่มคนเสื้อ แดงหรือผู้ชุมนุม ซึ่งจะทำให้ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น นอกจากนั้นก็จะมีความเสี่ยงต่อการที่พี่น้องประชาชนนั้นมาปะทะกัน ที่สำคัญที่สุดคือว่าภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้ คนที่จะได้รับผลกระทบความเดือดร้อนมากที่สุด ก็จะเป็นพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะคนยากคนจนโดยส่วนรวม เพราะในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวนั้น หากทุกสิ่งทุกอย่างต้องหยุดชะงักลง และเกิดผลกระทบอย่างเช่นต่อธุรกิจ ซึ่งมีการประเมินกันไว้ว่าธุรกิจการท่องเที่ยวก็ดี และแน่นอนการค้าขายในใจกลางเมืองกรุงเทพมหานครในขณะนี้ได้รับผลกระทบก็ดี ผู้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจะเป็นผู้ด้อยโอกาสและคนยากคนจนครับ พี่น้องที่ชุมนุมอยู่คงต้องตระหนักว่าถ้าเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น ถ้าเหตุการณ์ความไม่สงบมีความยืดเยื้อนั้น แม้ว่าธุรกิจใหญ่ ๆ ดูว่าจะได้รับผลกระทบ แต่ธุรกิจใหญ่ ๆ ในที่สุดก็จะสามารถฟื้นตัวได้ครับ แต่บรรดาพนักงาน ลูกจ้าง ต่างหากจะได้รับผลกระทบเป็นคนแรก ทำให้คนของเราซึ่งด้อยโอกาสนั้นตกงาน ทำให้เศรษฐกิจมีภาวะของความขาดแคลนความเดือดร้อน ความฝืดเคืองมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์และไม่เป็นผลดีกับใคร รัฐบาลต้องการที่จะแก้ไขสะสางปัญหาด้วยความจริงใจครับ

วันนี้ต้องขอยืนยันครับว่าประกาศของ ศอ.รส. ที่ให้พี่น้องประชาชนออกจากพื้นที่นั้นยังเป็นประกาศที่บังคับใช้อยู่ รัฐบาลก็จะได้ดำเนินการให้ทางเจ้าหน้าที่นั้นทำความเข้าใจกับพี่น้องที่ ชุมนุมครับ ขอให้กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า ขณะเดียวกันก็จะขอความร่วมมือไม่ให้มีการเดินทางเข้าไปชุมนุมในพื้นที่ดัง กล่าว เพื่อเป็นการผ่อนคลายไม่ให้เกิดผลกระทบความเดือดร้อน และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า รัฐบาลมีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย รัฐบาลมีหน้าที่ในการรักษากฎหมาย ซึ่งผมทราบดีว่ามีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งได้เรียกร้องให้รัฐบาลใช้ความเด็ดขาด แต่ผมเห็นว่าพวกเราก็ล้วนแล้วแต่เป็นคนไทยด้วยกันทุกคน รัฐบาลกำลังผ่อนคลายสถานการณ์ จะบังคับใช้กฎหมาย และจะปฏิบัติตามแนวของสากล ซึ่งเริ่มต้นจากมาตรการเบาไปหาหนัก

แต่ขณะนี้เมื่อเช้านี้หลังจากการพูดคุยอีกรอบหนึ่ง นั้น ดูจะสามารถผ่อนคลายสถานการณ์ไปได้ระดับหนึ่ง เราจะไม่ลดละความพยายาม ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนชาวกรุงเทพฯ อดทน อดกลั้น ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับผู้ชุมนุมนั้น ผมขอย้ำว่ารัฐบาลจะเร่งผ่อนคลายสถานการณ์นำบ้านเมืองกลับเข้าสู่ ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด โดยจะไม่ให้มีความสูญเสียใด ๆ ทั้งสิ้น ขณะเดียวกันสำหรับผู้ชุมนุม ผมย้ำอีกครั้ง ครับขอให้ท่านกลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ตามที่ได้มีการอำนวยความ สะดวกและตกลงกัน ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะได้ร่วมกันหาทางออกและแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นข้อเรียก ร้องที่มีเหตุมีผลในเรื่องของความเป็นธรรม ในเรื่องของประชาธิปไตยได้ แต่ถ้าหากว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมายนั้น ในที่สุดจะไม่มีฝ่ายใดชนะครับ มีแต่ความสูญเสียและคนที่จะเดือดร้อนที่สุดก็คือพี่น้องประชาชนผู้ด้อยโอกาส คนยากคนจน

ผมจึงขอถือโอกาสนี้ใช้เวลาสั้น ๆ เรียนให้พี่น้องประชาชนทั้งประเทศได้รับทราบถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน และแนวทางในการดำเนินงานของรัฐบาลต่อไป หลังจากนี้ทางช่อง 11 จะมีการ นำเสนอรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยฯ” ซึ่งผมจะได้พูดถึงงานของรัฐบาลในด้านอื่น ๆ รวมทั้งมีการสนทนาเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ท่านผู้ใดที่มีความสนใจก็จะสามารถติดตามรับชมรับฟังได้ทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 หากมีเหตุการณ์หรือมีพัฒนาการความคืบหน้าใด ๆ ผมจะใช้โอกาสในการรายงานให้กับพี่น้องประชาชนเป็นระยะ ๆ ผมขอขอบคุณพี่น้องประชาชนอีกครั้งหนึ่งที่มีความอดทนและอดกลั้น ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งพี่น้องประชาชนที่ได้ให้กำลังใจมาเป็นจำนวนมาก ให้รัฐบาลนั้นสามารถคลี่คลายปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ไปได้ด้วยดีครับ สวัสดีครับ

ที่มา: รวบรวมจากศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล
http://www.prachatai.com/journal/2011/04/33996

------------------------------------------------------------

อภิสิทธิ์ใช้ 9 มาตรการ กฎเหล็ก คุมเข้มคณะรัฐมนตรี
โดย ไทยรัฐ วัน พุธ ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 00:00 น.

ประชุม ครม.นัดแรกสุดคึก นายก วางกฎ เน้นทำงานเร็ว ไม่แบ่งพรรค ไม่พูดชวนทะเลาะ ขอประเมินผลงานทุก 3 เดือน

หลังจากที่ ครม.ชุดใหม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักทั้งในเรื่องภาพลักษณ์ ความเหมาะสม และที่มาของรัฐบาล ล่าสุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบแนวทางการทำงาน 9 ข้อให้แก่คณะรัฐมนตรี พร้อมกำหนดเวลา 3 เดือนจะประเมินผลงานรัฐมนตรี หากใครไม่มีผลงานจะถูกปรับออก

อภิสิทธิ์ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ตั้งแต่ เช้าตรู่วันที่ 23 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันประชุม ครม.นัดแรกของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บรรยากาศคึกคักเป็นพิเศษ โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางมาถึงทำเนียบรัฐบาลเป็นคนแรกตั้งแต่เวลา 07.15 น. แล้วแวะเยี่ยมทักทายสื่อมวลชนที่รังนกกระจอก พร้อมทั้งรับปากจะประสานปรับปรุงรัง นกกระจอกให้ใหม่ ต่อมาเวลา 07.45 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางมาถึงทำเนียบรัฐบาล และได้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3 จุด ได้แก่พระพุทธรูปในห้องทำงานนายกฯ พระพรหมบนตึกไทยคู่ฟ้า และศาลพระภูมิข้างตึกสันติไมตรี

หยอดคำหวานไม่ลืมบทบาทเยาวชน

กระทั่งถึงเวลาประชุมที่กำหนดไว้เวลา 09.00 น. นายอภิสิทธิ์นำทีมรัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์เดินจากตึกสันติไมตรีไปที่ห้องประชุม ระหว่างทางได้ทักทายสื่อมวลชนและพูดคุยถึงบรรยากาศการทำงาน ขณะเดียวกันมีตัวแทนจากประธานสภาเด็กและเยาวชนมามอบดอกไม้ ให้กำลังใจขอให้นายอภิสิทธิ์มีความเข้มแข็ง บริหารราชการแผ่นดินด้วยความราบรื่น ซึ่งนายอภิสิทธิ์กล่าวตอบว่า รัฐบาลได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประชาชนทุกจังหวัด ไม่ลืมงานที่เยาวชนฝากไว้ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา บทบาทการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นเรื่องสำคัญ

ลั่นสอบ “พัชรวาท” ไม่ยึดโยงเครือญาติ

จากนั้นนายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการเซ็นคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กลับมาดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ว่า เคยสอบถามเป็นการส่วนตัวกับนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ได้รับการยืนยันว่าเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจของท่านในการคืนสถานภาพ ผบ.ตร.ให้กับ พล.ต.อ.พัชรวาท ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.ต.อ.พัชรวาทเป็น 1 ใน 23 คนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ระบุว่ามีส่วนในการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. นายอภิสิทธิ์ตอบว่า จะมีการสอบถามเรื่องนี้ในที่ประชุม ครม.ถึงข้อกฎหมายต่างๆ ส่วนรายงานของ กสม.ต้องมาดูว่ามีข้อสรุปอย่างไร ขั้นตอนการดำเนินการต่อไปเป็นอย่างไร

ผู้สื่อข่าวถามว่าหากพบว่าผิดจริง จะกล้าจัดการหรือไม่ เพราะ พล.ต.อ.พัชรวาทเป็นคนในตระกูลเดียวกันกับรัฐมนตรีในรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ตอบว่า การตัดสินใจต้องไม่เกี่ยวกับว่าเป็นญาติพี่น้องใคร ต้องดำเนินการตามความเหมาะสม กำลังดูรายละเอียดทั้งหมดที่ กสม.สรุปผลสอบ เมื่อถามว่าจะให้ความมั่นใจกับผู้ เสียหายได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ตอบว่า แน่นอน ทุกอย่าง ต้องมีความเป็นธรรม ขอยืนยันว่าการตัดสินใจอะไร ต้องไม่เกี่ยวกับว่าเป็นญาติพี่น้องกับใคร

ย้ำคดี “ทักษิณ” ว่าไปตามกฎหมาย

ต่อข้อถามถึงกรณีที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 25 ธ.ค.นี้ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า ไม่มีปัญหา ทางการไทยก็ต้องการตัว พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาประเทศไทยอยู่แล้ว เมื่อกลับมาก็ว่ากันไปตามกระบวนการของกฎหมายเท่านั้นเอง เมื่อถามว่าจะให้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ดำเนิน การใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า ใช่ แต่คงไม่ต้องไปเร่งรัดอะไร เพราะไม่มีประเด็นอะไรที่ต้องไปเร่งรัด เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณเข้ามาก็ปฏิบัติตามกฎหมาย เมื่อถามว่าหาก พ.ต.ท.ทักษิณกลับมา เกรงว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะลุกฮือขึ้นมาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า ทุกคนต้องเคารพกระบวนการยุติธรรม เข้ามาก็ต้องดูแลให้เกิดความเรียบร้อย และให้ความเป็นธรรมกับทุกคน

...

โยนตำรวจเอาผิดม็อบยึดสนามบิน

เมื่อถามว่า จะลบภาพและเสียงวิจารณ์ว่ารัฐบาลนี้มีกลุ่มพันธมิตรฯและนายทุนครอบงำได้อย่างไร นายสุเทพตอบว่า ไม่ต้องลบ การตั้งรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องคุณสมบัติ ความเหมาะสมในการทำงาน ส่วนที่คนเข้าใจเป็นอย่างอื่น อีกหน่อยพอเห็น ครม.ทำงานก็จะเข้าใจไปเอง ส่วนที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าถ้า 3 เดือนรัฐมนตรีคนไหนไม่มีผลงานก็ควรถูกปรับออกนั้น ถือเป็นเรื่องดีที่พูดอย่างนั้น จะได้ช่วยกระตุ้นให้ทำงานรวดเร็วขึ้น ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรกับกลุ่มพันธมิตรฯที่ปิดสนามบิน นายสุเทพตอบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีอยู่แล้ว ใครทำความผิดก็ว่ากันไป เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์ชูจุดยืนการบริหารยึดหลักความเป็นนิติรัฐมาตลอด เมื่อต่างชาติจี้ให้เอาผิดกลุ่มบุคคลที่เข้าข่ายก่อการร้ายยึดสนามบิน รัฐบาลจะแสดงจุดยืนอย่างไร นายสุเทพตอบว่า ต้องว่าไปตามกระบวนการ เมื่อถามว่าถ้าให้ตำรวจดำเนินการตามขั้นตอนอาจจะล่าช้า ทำไมรัฐบาลไม่มีแอ็กชั่นในเรื่องนี้ นายสุเทพตอบว่า จะช้าหรือเร็วต้องว่าไปตามขั้นตอนกระบวนการ เพราะว่ารัฐบาลไปทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนมามากแล้ว มันถึงได้มีปัญหา

อภิสิทธิ์ แถลงผลประชุม ครม.

ต่อมาเวลา 12.30 น. ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ครม. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมได้รับทราบเรื่องสำคัญคือ การสรุปภาวะของประเทศ สภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ความมั่นคง ทรัพยากร ตามที่คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำเสนอ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัตินโยบายที่จะแถลงต่อรัฐสภา ร่างนโยบายนี้จะจัดพิมพ์และส่งให้รัฐสภาโดยเร็วที่สุด เพื่อจะสามารถแถลงได้ในวันที่ 29 ธ.ค. สำหรับนโยบายรัฐบาลแบ่งออกเป็นนโยบายเร่งด่วน และนโยบายตามวาระของรัฐบาล นโยบายเร่งด่วนจะมุ่งเน้นภารกิจการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ การสร้างความสมานฉันท์ การฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเร็ว การพัฒนาประชาธิปไตย

วางกฎเหล็ก 9 ข้อให้ รมต.ปฏิบัติ

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การประชุม ครม.ครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรก จึงได้ให้แนวทางการทำงานร่วมกัน 9 ข้อที่อยากให้ยึดถือ โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่รัฐบาลต้องตระหนักว่า เข้ามาบริหารบ้านเมืองในภาวะที่เป็นวิกฤติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และไม่ได้เข้ามาในภาวะเลือกตั้งทั่วไป แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างอายุของสภา สิ่งที่มอบหมายไว้ 9 แนวทาง คือ

1.ให้ ครม.น้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานให้ ครม. เมื่อวันที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะที่พระองค์ทรงเน้นเรื่องการปฏิบัติงานให้เกิดความเรียบร้อย และเกิดความสุขในหมู่ประชาชน

2.เน้นกับ ครม.เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างเคร่งครัด เพราะเมื่อใดรัฐบาลไม่สามารถบริหารอยู่บนความซื่อสัตย์สุจริตได้ ก็จะเป็นปัญหาทางการเมืองและปัญหาเสถียรภาพของรัฐบาล และบางครั้งนำไปสู่ความสูญเสียอธิปไตยด้วยซ้ำ ที่สำคัญจะต้องดูแลไปถึงผู้ใต้บังคับบัญชา และบุคลากรที่มาช่วยงาน


งานต้องรวดเร็วไม่มีแบ่งพรรค

3.นโยบายที่ ครม.อนุมัติในวันนี้เป็นนโยบายที่จะมีการแถลงต่อสภา ถ้ารัฐมนตรีที่จะไปกำหนดนโยบาย เพิ่มในระดับกระทรวง หรือแม้แต่การแสดงความคิดเห็นในเชิงนโยบาย ขอให้อ้างอิงนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ
4.การทำงานของรัฐบาลต้องรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพ แม้เป็นรัฐบาลผสม แต่เราต้องไม่เป็นรัฐบาลที่แบ่งพรรค ต้องเป็นรัฐบาลที่รับผิดชอบร่วมกัน ปัญหาในประเทศหลายอย่างในขณะนี้ไม่สามารถแก้ไขได้โดยกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง ดังนั้นการประสานงานระหว่างกระทรวงเป็นเรื่องสำคัญ หมายถึงบทบาทของการมีระบบคณะกรรมการ จึงขอให้ ครม.เห็นความสำคัญของระบบการทำงานแบบคณะกรรมการ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่จะต้องแก้วิกฤติ

กำชับรัฐมนตรีวางตัวให้ดี

5.รัฐบาลนี้อยู่ในวิถีทางรัฐสภา รัฐมนตรีทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมสภาอย่างสม่ำเสมอ ไปรับฟังความเห็นของ ส.ส. ทั้งการอภิปรายในสภา หรือพบปะพูดคุยกับ ส.ส.ในพื้นที่ต่างๆ ที่สำคัญที่สุดรัฐมนตรีต้องทราบเวลาที่ชัดเจนเรื่องกระทู้ถามสดคือ 13.30 น. ของทุกวันพฤหัสบดี จึงขอให้รัฐมนตรีไม่มีภารกิจนัดหมายใดๆ ยกเว้นกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ

6.รัฐมนตรีทุกคนถือเป็นบุคคลสาธารณะ ในภาวะที่มีปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาความขัดแย้งในสังคมสูง ขอให้รัฐมนตรีปฏิบัติโดยคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน ไม่อยากให้นำไปสู่เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่น ศรัทธา ขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ

7.ในรัฐบาลที่เชื่อมั่นในวิถีทางประชาธิปไตยนั้น ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม การดำเนินนโยบายหรือโครงการที่ยังไม่เป็นที่รับทราบของประชาชน ขอให้อดทนและอย่าตั้งแง่ต่อการเข้าไปรับฟังประชาชน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการประชาพิจารณ์ หรืออะไรก็ตาม

คุมเข้มคำพูดตอบโต้ชวนทะเลาะ

8. รัฐบาลชุดนี้ต้องพร้อมรับการตรวจสอบ จะมีทั้งการตรวจสอบเชิงนโยบาย หรือเรื่องอื่นๆ รัฐมนตรีต้องไม่สร้างอุปสรรคขัดขวางการตรวจสอบ อยากขอว่า เมื่อใดก็ตามที่มีการตรวจสอบลักษณะวิพากษ์วิจารณ์หรือการสัมภาษณ์ ขอให้ชี้แจงโดยใช้เหตุผล ข้อเท็จจริง หลีกเลี่ยงการนำรัฐบาลหรือตัวเองเข้าไปตอบโต้หรือทะเลาะ

9. รัฐมนตรี ไม่มีสิทธิเหนือประชาชนคนอื่นในแง่ของการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ความรับผิดชอบทางการเมืองนั้น จะต้องสูงกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมายด้วย

ขู่งานไม่เดินเด้งทันทีแม้ไม่ได้ทำผิด

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า สิ่งที่ได้ให้แนวทางในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีหน้าที่ประเมินผลงานของรัฐมนตรี หากการดำรงอยู่ในตำแหน่งของรัฐมนตรีเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง แม้จะไม่ผิดกฎหมาย หรือไม่ได้ทำความผิด ตนขอให้รัฐมนตรีทุกคนหรือแม้กระทั่งตนเอง ต้องยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนประโยชน์ของตนและรัฐบาล ทั้ง 9 ข้อเป็นแนวทางและถือเป็นกติกาในการทำงานร่วมกัน สุดท้ายรัฐบาลจะขอให้ประธานรัฐสภาเปิดให้แถลงนโยบายในวันที่ 29-30 ธ.ค. และเพื่อสามารถ ผลักดันข้อตกลงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนผ่านรัฐสภาในช่วงต้นปี ตนจึงนัดประชุม ครม.เป็นกรณีพิเศษในคืนวันที่ 30 ธ.ค. หลังเสร็จการประชุมรัฐสภา เพื่อให้ ความเห็นชอบข้อตกลงอาเซียนต่างๆ รวมทั้งหารือเกี่ยวกับมาตรการในเทศกาลปีใหม่ และคลายข้อจำกัดที่มีมติ ครม.อยู่

ประเมินผลงานทุก 3 เดือน

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ เชิญคณะทูตต่างประเทศ และผู้สื่อข่าวต่างประเทศ มาพบและกล่าวถึงการปิดสนามบินของพันธมิตรฯว่าเป็นเรื่องสนุกสนาน ทำให้สายตาต่างประเทศมองประเทศไทย ว่าเหตุใดจึงมองเป็นเรื่องขำขัน ทั้งที่เป็นเหตุร้ายแรง แต่ ไม่มีการลงโทษกับผู้ที่กระทำความผิด นายอภิสิทธิ์ตอบว่า ได้เรียนอย่างชัดเจนแล้วว่านโยบายรัฐบาลคือต้องการรักษากฎหมาย ฉะนั้นการกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับการปิดสนามบิน ก็ต้องไปนำเอาข้อเท็จจริงออกมา และเจ้าหน้าที่ ต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ส่วนการแสดงความคิดเห็นของนายกษิตนั้น ไม่แน่ใจว่าเป็นการตอบคำถามในคำถามใด หรือในบริบทใด ผู้สื่อข่าวถามว่านายกษิตควรต้องเพิ่มการระมัดระวังในเรื่องนี้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ตอบว่า ใน 9 ข้อได้ย้ำไปแล้วว่า การแสดงความคิดเห็น ของรัฐมนตรีทุกคนจะต้องคำนึงถึงจุดยืนและนโยบายของรัฐบาลในภาพรวมด้วย ผู้สื่อข่าวถามว่าจะให้เวลาเท่าไร ในการประเมินผลงานคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตั้งแต่นี้จะต้องประเมินตลอด ซึ่ง 3 เดือนก็ต้องประเมินอยู่แล้ว

แบะท่าต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพ

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะสานต่อมาตรการ 6 เดือน 6 มาตรการ ช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนอย่างไร นายอภิสิทธิ์ตอบว่า จะพิจารณาต่อไป การลดค่าครองชีพของ ประชาชนถือว่าอยู่ในนโยบายของรัฐบาลที่จะแถลงอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องน้ำ เรื่องไฟ รถเมล์ รถไฟ แต่ขอดูรายละเอียดว่าต้องมีการแก้ไขอย่างไร

วางตัว “เทือก-ถาวร” ดับไฟใต้

ผู้สื่อข่าวถามว่า การแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่บอกว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแล ได้มีการมอบหมายแล้วหรือยัง นายอภิสิทธิ์ตอบว่า ในส่วนของภาคใต้มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ดูแลอยู่ และจะได้เลือกรัฐมนตรีคนหนึ่งเข้าไปดูแลในพื้นที่ เบื้องต้นคาดว่าจะเป็นนายถาวร เสนเนียม รมช. มหาดไทย ขั้นต่อไปจะออกกฎหมายที่จะมีองค์กรบริหารจัดการ และให้มีรัฐมนตรีมีอำนาจตามกฎหมายในการบริหารงานต่อไป หลักคิดและนโยบายของตนต่อการแก้ไขปัญหาภาคใต้นั้น จะดูเฉพาะมิติด้านความมั่นคงหรือดูในแง่กองกำลังไม่ได้ ต้องดูความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วย หากยังต้องใช้กำลังมหาศาลอยู่ในพื้นที่ มันไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ไม่ใช่คำตอบที่ยั่งยืน ฉะนั้นจะต้องทบทวนกัน การแก้ไขปัญหาขณะนี้เหมือนการเลี้ยงไข้ ฝ่ายเราตั้งรับอย่างเดียว ต่อไปนี้การแก้ปัญหาทุกภาคส่วนพร้อมกันไป ทุกมิติ มั่นใจว่าสถานการณ์จะดีขึ้น และถ้ามีเวลาก็จะลงไปดูพื้นที่ด้วยตัวเอง

...

นายกฯการันตีคุณสมบัติ “กษิต”

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ช่วงเย็นวันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์พิเศษสื่อมวลชนญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ถึงกรณีที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ระบุว่าการปิดสนามบินเป็นเรื่องสนุก อาหารดี ดนตรีไพเราะว่า ไม่ได้ อ่านสิ่งที่นายกษิตพูด จึงไม่สามารถให้ความเห็นได้ อย่างไรก็ดี เมื่อถูกถามว่า หลายฝ่ายมองว่านายกษิตมีบทบาทในเวทีพันธมิตรฯ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การไปพูดในที่ชุมนุมเป็นส่วนหนึ่งของการให้ข้อมูลข่าวสาร แต่ที่ตนเลือกนายกษิตมาเป็น รมว.ต่างประเทศ เพราะเป็นผู้มีความสามารถมีประสบการณ์ และเคยเป็นเอกอัครราชทูต ในหลายประเทศ สามารถทำงานได้ทันที และยังไม่เห็นเหตุผลที่นายกษิตจะไม่ทำตามนโยบายหลักของรัฐบาลคือการสร้างความสมานฉันท์ในประเทศ

ตร.ลั่น “ทักษิณ” กลับไทยจับทันที

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม ให้ สัมภาษณ์ถึงการดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีกระแสข่าวจะเดินทางกลับไทยวันที่ 25 ธ.ค.ว่า ให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย กฎหมายว่าอย่างไรก็เป็นไปตามนั้น ถือเป็นหน้าที่โดยตรงของตำรวจที่ต้องดูแล ยืนยันว่าจะไม่เข้าไปแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ด้าน พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. กล่าวว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีความผิด หากเดินทางเข้ามาในประเทศเมื่อไหร่ตำรวจก็ต้องจับทันที ส่วนกรณี นปช.จะไปชุมนุมที่หน้ารัฐสภาในวันที่ 29 ธ.ค. นั้น ถ้าชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ และไม่เป็นการขัดขวางการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ก็สามารถทำได้ แต่หากละเมิด ปิดล้อมรัฐสภาก็ผิดกฎหมาย ตำรวจจะรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขออนุมัติหมายจับในข้อหากบฏ

...

http://news.sanook.com/politic/politic_332085.php

------------------------------------------------------------

สางคดียิง"สนธิ"วาทกรรมผู้มีอำนาจล้วน"ดีแต่พูด"!(ตอน 3)

โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 16 เมษายน 2554 10:26 น.

เป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว ที่คดีการลอบสังหาร"สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ในเครือASTVผู้จัดการ ที่ไม่มีอะไรคืบหน้า คดีเงียบเป็นเป่าสาก แม้ผู้มีอำนาจหลายคนในขณะนั้น จะเกษียณอายุราชการไปกันบ้างแล้ว รวมทั้งผู้ควบคุมทิศทางแห่งคดี พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ อดีตรองผบ.ตร. ที่ปัจจุบัน ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงก็ตาม

เราคงต้องลองย้อนกลับไปดู"วาทกรรม" ของผู้มีอำนาจในขณะนั้น กับคดีลอบสังหาร สนธิ ลิ้มทองกุลกันดู ว่ามีใครพูดอะไร ให้ความหวังอะไรไว้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะหลังเกิดเหตุการณ์ในวันแรก นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล บุตรชายนายสนธิ ออกมาระบุว่า มีเพียงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่โทรศัพท์เข้าไปแสดงความห่วงใยเท่านั้น

17 เม.ย.2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์แสดงความห่วงใยในช่วงสายหลังเกิดเหตุ และในตอนเที่ยง ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า "เจ้าหน้าที่ได้รายงานเบื้องต้นว่า เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ซึ่งได้รับการประสานงานมาตั้งแต่ช่วงเช้า ( 17 เม.ย.) ว่าขอให้ดูแลความเรียบร้อยในส่วนของโรงพยาบาล จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ไปดูแล หากผู้ใดเห็นว่าตัวเองอยู่ในภาวะที่อาจได้รับอันตรายขอให้แจ้งเบาะแสมา รัฐบาลจะพยายามดูแลไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน เพราะไม่ต้องการให้เกิดเหตุลักษณะนี้กับใครทั้งสิ้น และไม่ต้องการให้เหตุการณ์ลักษณะนี้ถูกนำไปขยายเป็นความขัดแย้งเพิ่มเติม อีก.... รัฐบาลจะดูแลเรื่องการสืบสวนสอบสวนและการดำเนินคดีต่างๆอย่างดีที่สุด จึงอยากให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบ"

19 เม.ย.2552 อีก 2 วันต่อมา นายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ว่า"....โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ลอบสังหารแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งทำให้หลายฝ่ายมีความห่วงใย และมีความรู้สึกขึ้นมา ซึ่งเรื่องนี้อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งขึ้นมาใหม่อีก อย่างไรก็ตาม ผมขอให้ความมั่นใจว่าคดีนี้ จะได้รับการสะสางอย่างตรงไปตรงมา อย่างรวดเร็วที่สุด...... รัฐบาลพร้อมจะเร่งหาตัวคนผิดมาลงโทษให้เร็วที่สุด"

4 พ.ค.2552 นายอภิสิทธิ์ ตอบคำถามสื่อถึงเรื่องคดีว่า "....ได้คุยกับตำรวจและได้ถามว่ามีความหนักใจหรือไม่ถ้าพบว่าใครที่มีอำนาจ หรือมีอิทธิพล ซึ่งทางตำรวจยืนยันว่าไม่หนักใจ เพราะทุกอย่างต้องตรงไปตรงมา และผมขอให้เดินหน้าต่อไป ทั้งนี้ ตำรวจรายงานความคืบหน้าการหาตัวผู้กระทำผิดแก่ผมอยู่ แต่เขาก็ต้องให้มั่นใจ เพราะถ้าจับกุมแล้วต้องไม่ผิดคน"

23 มิ.ย.2552 นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ได้ให้แนวทางการทำงานไปว่าให้เดินหน้าในการดำเนินคดีต่อไป และได้สอบถามกับ พล.ต.อ.ธานี ด้วยว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ ซึ่งทาง พล.ต.อ.ธานี บอกว่าไม่มีปัญหาอะไร และครั้งล่าสุดที่ได้พูดคุยกัน ทาง พล.ต.อ.ธานี บอกว่ามีอุปสรรคในการทำงาน ผมก็ถามว่าเมื่อมีอุปสรรคอย่างนี้ จะทำงานต่อไปได้หรือไม่ ซึ่ง พล.ต.อ.ธานี ก็บอกว่าทำได้ เมื่อเป็นอย่างนี้รัฐบาลก็ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

15 ก.ค.2552 นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์หลัง พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ เข้าพบ หลังมีการออกหมายจับทหารและตำรวจที่ร่วมก่อคดีนี้ว่า "ได้รับรายงานแล้ว.... ไม่มีมวยล้ม....อย่างที่ทราบมีการออกหมายจับและเขาได้สอบถามไปว่า มีปัญหาอุปสรรคอะไรหรือไม่ที่จะทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ท่าน พล.ต.อ.ธานี ก็ยืนยันกับเขาว่า ขณะนี้มั่นใจในการทำงานของคณะทำงานเรื่องนี้ มีข้อมูลอยู่พอสมควร และเดินหน้าต่อ ไม่คิดว่ามีปัญหา

16 ก.ค.2552 นายอภิสิทธิ์ ยืนยันถึงการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องอีกครั้งว่า คดีก็มีความคืบหน้าไปมาก และจะพยายามจับผู้บงการให้ได้ รวมถึงจะระมัดระวังไม่ให้มีการตัดตอนคดี ส่วนการพูดคุยกับ พล.ต.อ.ธานี ยืนยันว่าคดีไม่มีปัญหา แต่อาจมีอุปสรรคบ้าง เพราะต้องหาหลักฐาน พยานที่แน่นหนา ซึ่งหากพบว่ามีการขัดขวางการดำเนินคดี ผมเองก็จะทำทุกวิถีทางให้คดีเดินหน้าได้

29 ก.ค.2552 นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกครั้งว่า “ผมไม่รู้สึกหนักใจ เพราะไว้วางใจฝีมือ พล.ต.อ.ธานี ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีนี้มาตั้งแต่แรก โดย พล.ต.อ.ธานี ได้มีการรายงานความคืบหน้าโดยตลอด และให้คำยืนยันว่าหากพบปัญหาหรือการสืบสวนสอบสวนสะดุดขอให้บอกมา ซึ่งคนที่ทำผิดไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ต้องรับผลกรรม เพราะเมืองไทยมีปัญหาในเรื่องการบังคับใช้กฏหมายมานานแล้ว พล.ต.อ.ธานี ยังยืนยันว่าสามารถทำงานต่อไปได้ แต่ต้องรัดกุมกว่านี้ เพราะคนร้ายไหวตัวจึงทำให้การจับกุมค่อนข้างลำบาก ส่วนการเชื่อมโยงพอจะทราบแล้วว่าใครอยู่เบื้องหลังแต่จะเปิดเผยต่อสาธารณชน ไม่เหมาะสม เพราะกลายเป็นเครื่องชี้นำ และต้องรอพยานหลักฐาน แต่เชื่อว่าคดีนี้ไม่เป็นมวยล้มอย่างแน่นอน เพราะหลักการทำคดีของ พล.ต.อ.ธานี ไม่เป็นลักษณะเหวี่ยงแห หมายจับไม่ใช่แค่กระดาษแผ่นเดียว และมั่นใจว่าพยานหลักฐานก่อนออกหมายจับ และจะดิ้นไม่หลุดในชั้นอัยการและศาล”

9 ส.ค.2552 นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" โดยตอบคำถามของผู้ดำเนินรายการถึงความคืบหน้าในคดีนายสนธิว่า สำหรับคดีลอบยิงนายสนธิ ที่มีความพยามยามโยงให้เป็นเรื่องคดีการเมือง มีความเห็นจากหลายฝ่ายก็ได้กำชับให้ทีมพนักงานสอบสวนเคร่งครัดให้ยึดกฏหมาย เป็นหลัก และให้ดำเนินคดีอย่างตรงให้ตรงไปตรงมา

12 ส.ค.2552 นายอภิสิทธิ์ ย้ำอีกว่า พอใจการทำงานคดีนายสนธิ ของ พล.ต.อ.ธานี และเห็นว่า น่าจะขยายผลและสามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้

8 ก.ย.2552 นายอภิสิทธิ์ คนเดิม พูดถึงความคืบหน้าของคดีลอบยิงนายสนธิ อีกครั้งว่า ได้พบกับ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร.ในฐานะหัวหน้าชุดสืบสวน......ท่านบอกว่าไม่มีปัญหาอะไร ยังเดินต่ออยู่ และเมื่อถามว่า จะเสร็จก่อนเกษียณหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวย้ำว่า พล.ต.อ.ธานี บอกว่า ไม่มีอุปสรรคอะไร ตอนนี้ทำเต็มที่ ต้องไปสอบถามท่าน

นั่นคือ"วาทกรรม"ที่สำคัญๆของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในคดีลอบสังหารสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งเมื่อดูตามคำสัมภาษณ์แล้ว ทุกคนล้วนมั่นใจว่า คดีจะต้องถูกปิดลงอย่างสวยงาม ผู้บงการอยู่เบื้องหลังจะต้องถูกนำตัวขึ้นสู่ขบวนการยุติธรรม แต่บัดนี้ เวลาลาวงเลยมาถึง 2 ปีแล้ว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เคยเอื้อนเอ่ยถึงคดีนี้อีกเลย

ในขณะเดียวกัน ทางฟากฝั่งตำรวจ ผู้ทำคดี ก็ล้วนสร้างวาทกรรมในคดีนี้ไว้ไม่น้อยหน้านักการเมือง ที่ได้ชื่อว่า ไม่สามารถเชื่อถือน้ำคำอะไรได้เช่นเดียวกัน

18 เม.ย. 2552 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผบ.ตร.ได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาดูแลเรื่องคดี และเย็นวันเดียวกัน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. สั่งเปลี่ยนตัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนจาก พล.ต.อ.จงรัก เป็นพล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รองผบ.ตร.

20 เม.ย. 2552 พล.ต.อ.ธานี เรียกประชุมชุดคลี่คลายคดี ระบุว่า คดีมีความคืบหน้า และตำรวจนำแฟนพันธุ์แท้รถยนต์มือสอง เข้าตรวจสอบภาพจากกล้อง รวมทั้งตรวจสอบกล้องทั้งหมดกว่า 200 กล้องตามแยกต่างๆ ค่ำวันเดียวกัน ผบ.ตร.แถลงผ่านโทรทัศน์ว่า "เป็นคดีที่เพิ่งเกิดขึ้น และอยู่ในขั้นสอบสวนสืบสวน แต่ยืนยันว่า สตช.ตั้งใจจะทำให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว"

23 เม.ย.2552 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ยอมรับว่า กระสุนที่ใช้ยิงนายสนธิ เป็นกระสุนที่มาจากกองพลทหารราบที่ 9 ซึ่งอยู่ในสายงานการบังคับบัญชาของกองทัพภาคที่ 1 เบื้องต้นพบว่าเป็นของหน่วย ร.9 พัน 1, ร.9 พัน 3 และ ร.29 พัน 2 ซึ่งอาจเล็ดลอดออกไประหว่างการฝึกซ้อม

25 เม.ย. 2552 พล.ต.อ.ธานี ประชุมชุดคลี่คลายคดีชุดใหญ่ พร้อมระบุว่า พยานหลักฐานที่รวบรวมได้ก็มีความชัดเจนมากขึ้น มั่นใจว่าพยานหลักฐานที่มีอยู่สามารถนำไปสู่การจับกุมคนร้ายได้แน่นอน

27 เม.ย. 2552 พล.ต.อ.ธานี ระบุว่า จะไม่พูดถึงเรื่องคดีของนายสนธิ อีก หากไม่มีความชัดเจนเกิดขึ้น

6 พ.ค.2552 พล.ต.อ.ธานี ยืนยันว่า คดีนี้ จะต้องเสร็จก่อนที่ตัวเองจะเกษียณ 30 ก.ย.2552

12 พ.ค. 2552 พล.ต.อ.ธานี ประชุมชุดคลี่คลายคดีชุดใหญ่อีกครั้ง พร้อมทั้งย้ำว่า คดีนี้"ไม่มีตัน"

27 พ.ค.2552 พล.ต.อ.ธานี ยืนยันอีกครั้งว่า จะไม่มีการจับแพะ ส่วนจะจับใครวันไหน ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน

11 มิ.ย.2552 พล.ต.อ.ธานี เข้ารายงานความคืบหน้าคดีกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมยืนยัน คดีไม่ได้ถูกตัดตอน และยังไม่พบมีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

22 มิ.ย.2552 พล.ต.อ.ธานี ยอมรับเป็นครั้งแรกว่า การคลี่คลายคดี "ตำรวจเจอตอ" จนขวัญกำลังใจชุดทำงานกระเจิง เพราะถูกข่มขู่

23 มิ.ย.2552 พล.ต.อ.ธานี ระบุ แม้เจอตอ ถูกข่มขู่ ก็ไม่ทำให้คดีล่าช้า แต่ปฏิเสธที่จะตอบว่า คนระดับใด ที่กล้าข่มขู่ตำรวจได้

สุดท้าย ทั้งพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผบ.ตร. และพล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ อดีตรองผบ.ตร. ต่างเปิดหมวกอำลาชีวิตราชการกันไปหมดแล้ว ในขณะที่การสืบสวนสอบสวนในคดีลอบสังหารสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ได้ถูกรูดม่านปิดฉากลงเช่นเดียวกัน โดยตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ผู้มีอำนาจ ทั้งรัฐบาลและตำรวจ ได้ใช้งบประมาณ และบุคลากรในการคลี่คลายคดีนี้เป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่ได้กลับมา มีเพียงแค่ กระดาษปิดประกาศหมายจับผู้ต้องหาเพียง 3 แผ่นเท่านั้น อย่างนี้ ถ้าไม่ให้เรียกว่า "วาทกรรมดีแต่พูด" แล้วจะให้เรียกอะไร?

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9540000046845

------------------------------------------------------------

ที่แท้คือ 'อภิสิทธิ์' ผู้นิยามวาทกรรม 'ไพร่อุปถัมภ์' (เหตุเกิดเมื่อ 2 ปีที่แล้ว)

2010-04-15 00:00

ไม่รู้ว่า ทั้งคนเสื้อแดงและอภิสิทธิ์จะรู้ตัวหรือไม่ว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้วอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "ระบบไพร่อุปถัมภ์" เพื่อนิยามที่มาของรัฐบาลพรรคพลังประชาชนว่าได้รับการอุปถัมภ์จากไพร่ กระทั่ง 2 ปีต่อมาคำนี้กลายเป็นวาทะที่คนเสื้อแดงนิยามว่าตัวเองคือ "ไพร่" มาขับไล่รัฐบาล "อำมาตย์" ของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกอากาศสดรายการเชื่อมั่นประเทศไทยฯ 4 เมษายน 2553 (แฟ้มภาพ/ที่มา http://www.pm.go.th/)

000

ในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง แกนนำและผู้ชุมนุมได้นิยามตนเองว่าเป็น “ไพร่” ที่ต้องการมาเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่คนเสื้อแดงเห็นว่าเป็น “อำมาตยาธิปไตย” หรือ “อำมาตย์”

โดยวาทะ “ไพร่-อำมาตย์” ถือเป็นวาทะที่กินใจในหมู่คนเสื้อแดงและสร้างความสนใจในสังคม เป็นวาทะที่คนเสื้อแดงใช้โจมตีรัฐบาลไปในตัวโดยเฉพาะประเด็นที่ว่ารัฐบาล อภิสิทธิ์เป็นรัฐบาลที่หนุนหลังโดยอำมาตย์และมีสองมาตรฐาน

วาทะ “ไพร่-อำมาตย์” ถือเป็นวาทะร้อนแรงของการชุมนุม กระทั่งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องมาตอบโต้กับวาทะนี้ โดยเมื่อ 19 มี.ค. นายอภิสิทธิ์ ได้ให้สัมภาษณ์รายการ “สนามเป้า เล่าข่าว” ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) ที่บ้านพักกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.)

ตอนหนึ่งนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ผู้ชุมนุมหยิบยกปัญหาความเหลื่อมล้ำ เช่น อำมาตย์ และไพร่ ตนเห็นว่าขณะนี้ประเทศไทยและคนไทยไม่มีระบบอย่างนั้นแล้ว ทุกคนมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ยอมรับว่าสภาพความเป็นปัญหาเหลื่อมล้ำยังมีอยู่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องแก้ไขปัญหานี้

“แล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ อำมาตย์หรือไพร่ เคยเป็นนายกฯ สร้างความร่ำรวยมหาศาล 5 ปีที่คุณทักษิณเป็นนายกฯ สังคมมีหนี้สินเพิ่มขึ้นเท่าตัว และทรัพย์สินของคุณทักษิณก็เพิ่มเป็นเท่าตัว ความเหลื่อมล้ำในสังคมมีเป็นปกติ อย่าเอาความเหลื่อมล้ำมาสร้างความเกลียดชังในสังคม”

โดยในรายการยังแพร่ภาพนายอภิสิทธิ์โชว์ภาพหนังสือพิมพ์ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปตรวจงานการปรับปรุงโรงแรมในมอนเตเนโกร เปรียบเทียบกับภาพกลุ่มผู้ชุมนุมพักผ่อนนอนข้างถนนเอาแรงระหว่างการชุมนุม บริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ

000

นั่นเป็นการตอบโต้ของนายอภิสิทธิ์ โดยที่อภิสิทธิ์กระทั่งผู้ชุมนุมเองอาจไม่รู้ว่า คำว่า “ไพร่” ที่ผู้ชุมนุมใช้เรียกตัวเองนั้น มาจากการนิยามของนายอภิสิทธิ์เองเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ที่เขาเรียกรัฐบาลพรรคพลังประชาชนซึ่งชนะการเลือกตั้ง 23 ธ.ค. 2550 ว่าเป็นรัฐบาลในระบบ “ไพร่อุปถัมภ์” ซึ่งตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจาก รัฐบาลพลังประชาชนเป็นรัฐบาลที่ได้รับการอุปถัมภ์จาก ‘ไพร่’

นิยามนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2551 ณ ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ในวันดังกล่าว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการชี้แจงของนายจักรภพ เพ็ญแข รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อ 26 พ.ค. 2551 ถึงกรณีการแปลคำปาฐกถาของเขาในงานสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เมื่อ 29 ส.ค. 2550

โดยอภิสิทธิ์ได้แถลงข่าว และนำไปสู่การนิยามว่ารัฐบาลพรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาลระบบ “ไพร่อุปถัมภ์” ดังนี้


000

“เห็นครั้งแรกแล้วไม่น่าเชื่อ ว่านายจักรภพจะเป็นคนมุ่งมั่นต่อต้านระบบอุปถัมภ์ เพราะนายจักรภพไม่เคยพูดหรือมีพฤติกรรมต่อต้านระบบอุปถัมภ์ แต่ที่ทำให้นายจักรภพนั่งในที่มีความสุข เพราะได้ระบบอุปถัมภ์ แต่บังเอิญระบบไพร่อุปถัมภ์ หรือระบบอุปถัมภ์สามานย์ที่สุด ที่บางคนประกาศว่าถ้าไม่เลือกผมไม่ต้องเอางบประมาณ เหล่านี้นายจักรภพไม่เคยต่อต้าน”

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, 27 พฤษภาคม 2551


อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,
27 พฤษภาคม 2551, ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์

การแถลงข่าววันนี้ทำไปด้วยความไม่สบายใจ ประการหนึ่งเพราะเรื่องที่จะหยิบยกมาขยายความเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงได้ระมัดระวังหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกขยายผลออกไป แต่มีความจำเป็นที่จะต้องแถลงข่าว เพราะรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เปิดแถลงข่าว และได้ใช้สถานะความเป็นรัฐมนตรีให้มีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐ มีการกล่าวหาตนและพรรคประชาธิปัตย์ จึงขอความเป็นธรรมจากสื่อทุกแขนงในการให้พื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ อย่างสมบูรณ์และรอบด้าน

ตนและพรรคยืนยันจุดยืนและความเห็นของพรรค และยืนยันคำแปลที่เป็นปัญหาของนายจักรภพ และยืนยันความเห็นว่าเป็นทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอีกต่อไป และการยืนยันความเห็นของพรรคในเรื่องนี้ มีขึ้นหลังจากที่ได้ฟังคำชี้แจงของนายจักรภพ ซึ่งยิ่งเป็นการตอกย้ำความเชื่อมั่นของพวกเราที่ได้นำเสนอโดยไม่ได้ผิด เพี้ยน การแถลงวันนี้จะอธิบายว่านายจักรภพมีจุดประสงค์อะไร และทัศนคติ ที่สะท้อนผ่านคำพูดบรรยายคืออะไร

พรรคประชาธิปัตย์ก่อตั้งเมื่อปี 2489 ประกาศอุดมการณ์ชัดเจนว่าต่อสู้รักษาประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข เป็นอุดมการณ์ที่ได้สืบทอดสืบสานมาจนปัจจุบัน ถ้าการสืบสานรวมความจงรักภักดีต่อสถาบันเป็นความคิดที่นายจักรภพคิดว่าเป็น เรื่องเก่า ตนก็พร้อมที่จะยอมรับและรักษาไว้ตลอดไป พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและมี หน้าที่ปกปักรักษาสถาบันหลักของชาติ

ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นเพราะมีนายตำรวจไปแจ้งความดำเนินคดีกับนายจักรภพเมื่อเกือบสองเดือน ที่ผ่านมาในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชา นุภาพ ตนเป็นนักการเมืองก็มีความจำเป็นต้องตรวจสอบ สิ่งที่ทำได้ คือการขอดีวีดีที่บันทึกภาพและเสียง จากนั้นได้ไปถอดเป็นคำพูดที่เกิดขึ้นก่อนที่นายจักรภพจะเป็นรัฐมนตรี ซึ่งแนวความคิดคือสาระสำคัญ ตนไม่เคยเห็นคำแปลที่นายตำรวจเป็นผู้แปลว่าเป็นอย่างไร มีการบิดเบือนหรือไม่

ตนใช้ชีวิตในประเทศอังกฤษมานานกว่าสิบปี เมื่ออ่านถ้อยคำดังกล่าวก็รู้สึกตกใจและคาดไม่ถึงว่าจะมี ผู้แสดงความคิดเห็นที่ท้าทายเช่นนี้ ตนจึงได้นำคำบรรยายของนายจักรภพนี้ไปให้คนที่รู้จักที่มีความรู้ด้านภาษา อังกฤษได้อ่าน ซึ่งก็มีความเห็นไม่ต่างจากตน ตนจึงตัดสินใจทำหนังสือเป็นการภายในไปถึงนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เปิดขึ้นมาเพื่อเสนอเรื่องราวที่ไม่เหมาะสม ก็นำเสนอนายกฯ เป็นการภายใน เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพื่อจะได้ตัดสินใจลดชนวนความขัดแย้ง เพราะขณะนั้นเริ่มมีคำบรรยายและมีการแปลกันไม่ทราบกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ขยายสู่วงกว้างในสังคม จึงระมัดระวังไม่ให้นำเรื่องสู่เวทีทางการเมือง เรายืนยันเจตนาที่จะตรวจสอบตามข้อเท็จจริง หากวันนี้นายจักรภพลาออกหรือนายกฯ ปรับออก ก็นึกไม่ออกว่ารัฐมนตรีคนใดจะเป็นปัญหาอีก เพราะอยู่ที่พฤติกรรมของแต่ละบุคคล การที่นายจักรภพบอกว่าพวกเราไม่เคารพกระบวนการยุติธรรมนั้นไม่น่าเชื่อว่า นายจักรภพเรียนจบรัฐศาสตร์ เพราะความรับผิดชอบทางการเมืองและกฎหมายต่างกัน กระบวนการยุติธรรมก็เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม แต่ทางการเมืองต้องปลดชวนความขัดแย้ง ไม่ให้เป็นช่องให้เหิมเกริมในหมู่คนบางคน

แถลงข่าวของนายจักรภพต้องการเบี่ยงเบนประเด็นสำคัญที่ได้พูดและทำอะไรไว้ ว่าเป็นการขัดแย้งกับตน ซึ่งไม่ใช่ เพราะเป็นเรื่องใหญ่กว่าความขัดแย้งระหว่างพรรคและบุคคลอย่างแน่นอน และตนจะไม่ให้สังคมไขว้เขวอย่างที่นายจักรภพต้องการชักนำ โดยการไปต่อล้อต่อเถียงกับ นายจักรภพ นายจักรภพใช้เวลานานนับสัปดาห์ในการเตรียมตัวแถลง ถ้าพรรคประชาธิปัตย์แปลผิดด้วยอคติแล้วนำมาบิดเบือน ป่านนี้นายจักรภพต้องออกมาชี้สิ่งที่แปลผิดและบิดเบือน แต่คำแถลงของนายจักรภพที่พูดว่าพรรคประชาธิปัตย์บิดเบือน แต่กลับยกตัวอย่างไม่ได้แม้แต่คำเดียว เมื่อถูกสอบถามก็ตอบไม่ได้

นายจักรภพระบุว่านายตำรวจที่ไปแจ้งความดำเนินคดีบิดเบือน ขณะเดียวกันบอกว่าพรรคประชาธิปัตย์แปลได้ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อแถลงเสร็จแล้วกลับบอกว่าจะฟ้องพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ฟ้องผู้ที่แปลบิดเบือน นอกจากนี้ ยังจับเท็จได้ว่าพูดไม่จริงอย่างไร เช่น เรื่องเล็กๆ ทางภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ ก็ทำให้ตนรู้ว่ามาตรฐานทางภาษาและคุณธรรมของนายจักรภาพ เป็นไปอย่างที่ตนคิดทุกประการ

นอกจากจะเบี่ยงเบนแล้ว นายจักรภพยังระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์ดึงสถาบันมาเกี่ยวกับการเมือง เพราะพวกเราไม่มีความประสงค์ที่จะทำเช่นนั้น แต่มีความสงสัยว่าเอกสารที่ที่ปรึกษาของนายจักรภพที่เสนอว่าหากนายจักรภพถูก พาดพิงเสียหายให้เผยแพร่สารคดีเฉลิมพระเกียรติ นายจักรภพก็ให้ดำเนินการตามที่เสนอ หากบอกว่าทำไปเพื่อสยบข่าวเพียงเท่านั้น ซึ่งพฤติกรรมอย่างนี้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ขอเรียกร้องว่าสังคมอย่าสับสนและถูกเบี่ยงเบนไปจากข้อเท็จจริง ไม่ต้องไปหลงว่าใครแปลผิดถูก เพราะมี ทรรศนะของนักวิชาการคือ นายอนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้วิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการว่าหมายความว่าอย่างไร

“นายจักรภพ ได้บรรยายถึงสาระหลักคือประชาธิปไตยไม่ก้าวหน้าเพราะระบบอุปถัมภ์ ความหมายคือนายจักรภพต้องการสื่อว่าอย่างไร เห็นครั้งแรกแล้วไม่น่าเชื่อว่านายจักรภพจะเป็นคนมุ่งมั่นต่อต้านระบบ อุปถัมภ์ เพราะนายจักรภพไม่เคยพูดหรือมีพฤติกรรมต่อต้านระบบ อุปถัมภ์ แต่ที่ทำให้นายจักรภพนั่งในที่มีความสุข เพราะได้ระบบอุปถัมภ์ แต่บังเอิญระบบไพร่อุปถัมภ์ หรือระบบอุปถัมภ์สามานย์ที่สุด ที่บางคนประกาศว่าถ้าไม่เลือกผมไม่ต้องเอางบประมาณ เหล่านี้นายจักรภพไม่เคยต่อต้าน แต่นายจักรภพกลับอ้างว่าต่อต้านระบบขุนนางเป็นการยืนยันอะไรบางอย่างหรือไม่ ตรงนี้ก็ไม่ทราบได้”

คำบรรยายหลายหน้าของนายจักรภพ ไม่มีคำว่าอมาตยาธิปไตย ไม่มีคำว่า ขุนนาง พูดถึงแต่สถาบัน ไม่ได้พูดถึงขุนนางว่ามีการปลุกเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตกลงหมายถึงขุนนางใช่หรือไม่ เช่นระบุว่า การลงประชามติรับไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

อีกตัวอย่างคือนายจักรภพได้บอกว่าอดีตนายกฯเป็นผู้บริหารมืออาชีพก็จริง แต่หากไม่พอใจก็จะไปบริหารบริษัทอื่น แล้วนำมาเทียบเคียงกับการบริหารประเทศ ไม่เข้าใจว่าเจ้าของประเทศคือขุนนางหรือศักดินาที่นายจักรภพบอกว่าจะต้องมี การเปลี่ยนแปลงถอนรากเพื่อล้างระบบอุปถัมภ์หรือไม่ ถ้าเป้าหมายอยู่ที่ประธานองคมนตรี ซึ่งจะเปลี่ยนระบบแบบถอนรากถอนโคน

ประเด็นสุดท้ายนายจักรภพได้พาดพิงว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำลายล้างผู้ อื่น โดยตั้งแต่ตนมาอยู่กับพรรค ในปี 2535 พวกเราเป็นฝ่ายค้านหลายรัฐบาล ไม่เคยมีเรื่องเช่นนี้ ถ้าในความทรงจำของตน จำได้กรณีนายวีระ มุสิกพงศ์ ซึ่งวันนั้นอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์และเป็นเลขาธิการพรรคได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในปี 2529 ศาลยังไม่ได้ตัดสิน แต่นายสมัคร สุนทรเวช ได้อภิปราย จนต้องมีการประชุมลับ จากนั้นนายวีระก็ ลาออกจากนั้น 1 สัปดาห์ ส่วนอีกกรณีที่มักจะพาดพิงถึงคือกรณีนายปรีดี พนมยงค์ คนรุ่นตนและนายจักรภพรู้เท่ากัน และตนสารภาพว่าไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร รู้แต่ว่าตั้งแต่มาอยู่ที่พรรค หัวหน้าพรรคทุกคนได้ยกย่องนายปรีดีทุกคน เพราะสองหัวหน้าเป็นศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ ส.ก.ของพรรคยังมีส่วนในการผลักดันให้ตั้งชื่อถนนปรีดี พนมยงค์ และถนนประดิษฐ์มนูธรรม นายจักรภพอย่าได้เบี่ยงเบนไม่ว่าปัจจุบัน หรืออดีต เพราะสาระสำคัญคือนายจักรภพขาดความเหมาะเพราะได้แสดงทัศนคติซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย

“วันนั้นนายสมัครก็ไม่ได้รอคำพิพากษาเช่นเดียวกัน ดังนั้นหากเหตุการณ์ทั้งหมดจากการจาบจ้วงสถาบันจนบานปลาย นายสมัคร ในฐานะนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำหน้าที่ชี้แนะไปแล้ว และจะไม่ให้ขยายลุกลามใหญ่โตไปไหนอีก”

ที่มา: เรียบเรียงจาก
สกู๊ปพิเศษ : 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' แถลงโต้ 'จักรภพ เพ็ญแข', เดลินิวส์, 28 พ.ค. 2551 “มาร์ค” ถาม “ทักษิณ” อำมาตย์หรือไพร่ เป็นนายกฯ 5 ปี รวยมหาศาล ปล่อยชาวบ้านหนี้ล้นตัว, 19 มี.ค. 53 http://talk.mthai.com/topic/100826

------------------------------------------------------------

จิตรา คชเดช: เบื้องหลังป้าย “ดีแต่พูด” ผ่ากลางวง ‘อภิสิทธิ์’

หมายเหตุ - เมื่อวันที่ 6 มี.ค.54 ที่ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กำลังร่วมประกาศเจตนารมณ์ "ผู้หญิงทำงาน สู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคน" ในวาระการเฉลิมฉลอง 100 ปี วันสตรีสากล 8 มีนาคม จิตรา คชเดช อดีตผู้นำแรงแรงสหภาพไทรอัมพ์ พร้อมทั้งเพื่อนแรงงานร่วมกันชูป้ายประท้วงอภิสิทธิ์กลางห้องประชุมกรณีการ สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคมปีที่ผ่านมา

เป็นบันทึกที่เขียนใส่สมุดไว้หลังจากชูป้ายให้นายอภิสิทธิ์

วันนี้ฉันเผชิญหน้า ผู้ชายคนหนึ่ง ฉันโกรธ ฉันตะโกนออกไป ฆาตกร ฆาตกร

ฉันอยากร้องไห้ เมื่อฉันนึกถึงพี่น้องเสื้อแดงที่ถูกฆ่าตาย "ฉันตะโกนอีกครั้ง "มือเปื้อนเลือด" ฉันหยิบปากกาเมจิก เอากระดาษA4 (คือแถลงการณ์ของงานวันนี้)ใช้ด้านที่ว่างเขียนว่า "มือใคร?" ฉันเอามือฉันทาบลงไปแล้วเขียนตาม ฉันค้นหาเมจิกสีแดงเพื่อทาเป็นสีเลือด ฉันถามคนอื่นไม่มีใครมี ฉันรีบตัดสินใจเขียนว่า "เปื้อนเลือด"ไปบนฝ่ามือ ฉันเขียนสองแผ่นประกบกันแล้วพับมุมนั้นมุมนี้

ในขณะนั้นมันกำลังให้นโยบายเกี่ยวกับวันสตรีสากล ฉันชูกระดาษขึ้น ไม่มีใครได้ยินเสียงฉัน เพราะบนเวทีเขากำลังหน้าบานกันดีใจ ซึ่งคนละอารมณ์กับฉันมาก

เขาตอบมาทันที ว่าวันนี้วันสตรีไม่เกี่ยวกับการเมืองให้ฟังว่าใครมือเปื้อนเลือดชี้แจงในสภา ฉันชูป้ายเด็ดสำหรับฉัน"เหรอ...." และตามด้วย "ดีแต่พูด"

ฉันถูกกีดกันจากตำรวจ เพื่อแย่งแผ่นป้าย ฉันถาม แผ่นป้ายมีปัญหาอะไร เหรอ...,ดีแต่พูด,มือใคร?เปื้อนเลือด มันมีปัญหาตรงใหน ด่าใคร หยาบคายหรือเปล่า ตำรวจบอก ว่ามือใคร?เปื้อนเลือด ฉันถามว่าแล้วเปื้อนจริงเหรอถึงเดือดร้อน

และเพื่อนของฉันก็ชูป้าย "ดีแต่พูด"ขึ้นด้านหน้าฉันขึ้นไปอีกสามแถว จึงกลายเป็นเหตุให้การเตรียมการพูดตั้งแต่

11.30น.-13.15น.ต้องยุติลงเลยเที่ยงเล็กน้อย

เราไม่ได้สบตากันเลยระหว่างฉันกับผู้ชายคนนั้นเพราะเขาหลบหน้าฉันและหนีฉันด้วยการรีบไปและให้ตำรวจกักตัวฉันไว้กับเพื่อนๆ

เกือบครึ่งชั่วโมง

ฉันไม่มีเรื่องโกรธเกลียดกันเป็นการส่วนตัว แต่ฉันไม่ชอบระบบที่เขาใช้อยู่ ฉันต้องการระบบประชาธิปไตย คนเท่ากันหนึ่งคน หนึ่งสิทธิ์ หนึ่งเสียง ทุกคนมาจากการเลือกตั้ง ทุกสถาบันตรวจสอบได้

ฉันไม่ต้องการคนดี คนหล่อ ฉันต้องการการตรวจสอบเปิดเผย โปร่งใส


http://www.prachatai.com/journal/2011/03/33415

------------------------------------------------------------

FfF