รายละเอียดคำประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศที่เกี่ยวข้อง |
|
http://www.thaisarn.com/th/news_reader.php?newsid=492701
---------------------------------------------------
ลำดับเหตุการณ์ การชุมนุมของคนเสื้อแดง
ตั้งแต่วันเริ่มชุมนุมใหญ่วันที่ 13 มีนาคม 2553
จนถึงวันสลายชุมนุมเลือดในวันที่ 10 เมษายน 2553
13 มีนาคม 2553
กลุ่มผู้ชุมนุมทยอยเดินทางมาที่สะพานผ่านฟ้า ลีลาศ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมชุมนุมใหญ่ โดยขับรถเป็นคาราวานเข้ากรุง
14 มีนาคม 2553
นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน อ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาภายใน 24 ชั่วโมง
"เผด็จ การได้เข้าครอบงำประเทศตั้งแต่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และยังคงครอบงำต่อมา ด้วยเครื่องมือรัฐธรรมนูญ 2550 องค์กรอิสระต่างแลกฎหมายที่มาจากเผด็จการคณะนั้น รัฐบาลชุดนี้เป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งของการ ครอบงำ เรียกว่า เผด็จการซ่อนรูป ประจักษ์ชัดโดยไม่สงสัยว่ารัฐบาลบริหาร โดยขาดความรู้ ประสบการณ์ และทุจริตคอร์รัปชั่น ก่อความเสียหายต่อประเทศและประชาชน รัฐบาลนี้ขาดความชอบธรรมในการบริหาร เพราะรวบรวมชื่อ ส.ส.สนับสนุนได้ แต่สภาผู้แทนขาดคามรับผิดชอบ หลายบทหลายมาตรา อาทิ มาตรา 301, 302, 291 สภานี้จึงไม่อาจเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริงของประชาชน"
นายเพียร ยงหนู ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่ากองทัพต้องวางบทบาทอยู่บนหลักความถูกต้อง ยึดถือความยุติธรรม เพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ สหภาพฯออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ไม่ให้นำกองกำลังทหารหลายกองร้อยออกปฏิบัติการเพื่อควบคุมฝูงชน เพราะจะเป็นการสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน และหากมีการใช้กำลังสลายการชุมนุมด้วยวิธีรุนแรง สหภาพฯจะเข้าร่วมต่อสู้กับประชาชนทันที
15 มีนาคม 2553
กลุ่ม ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปยังกรม ทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เพื่อทวงถามคำตอบจากนายกรัฐมนตรี แต่นายกรัฐมนตรีได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ แบล็คฮอร์ค ออกจากบริวณดังกล่าว โดยระบุว่าจะพา นายโสภณ ซารัมย์ ตรวจดูการจราจร ตามเส้นทางต่างๆ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวว่า หลังการชุมนุมผ่านมา 3 วันทุกอย่างเรียบร้อยปกติ ซึ่งผู้ชุมนุมมีการยื่นเวลาให้ตนยุบสภาภายใน 24 ชั่วโมง ตนได้เชิญหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลและผู้แทนพรรคร่วมรัฐบาลมาหารือซึ่งเห็นร่วม กันว่าไม่ควรมีการยุบสภา
16 มีนาคม 2553
กลุ่มผู้ชุมนุมเจาะเลือดคนละ 10 ซีซี
16.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มเคลื่อนขบวนออกจากสะพานผ่านฟ้า เพื่อมุ่งหน้านำเลือกที่เจาะได้จากกลุ่มผู้ชุมนุมไปเทบริเวณประตูทำเนียบ รัฐบาล ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้นำเลือดผสมน้ำเกลือ ใส่ในแกลลอนน้ำขนาด 5 ลิตรจำนวนกว่า 23-24 แกลลอน และทยอยหิ้วเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล ขณะที่แกนนำกลุ่มนปช.ได้ขึ้นรถบรรทุกติดเครื่องขยายเสียงเคลื่อนไปพร้อมกับ กลุ่มผู้ชุมนุม
17.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำพิธีเทเลือดที่บริเวณประตูต่างๆ ของทำเนียบรัฐบาล โดยในบริเวณประตู 2 ได้มีพราหมณ์พร้อมกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเดินทางเข้าประกอบพิธีด้านหน้า บริเวณประตู โดยมีการเทเลือดลงบนพื้นถนนพร้อมทำพิธีสาบแช่งและนำเลือดมาเขียนเป็นอักขระ บนเสาด้านข้างประตู 2 และทำเรื่อยไปจนถึงประตู 8 ซึ่งตั้งอยู่ด้านเลียบคลองผดุงกรุงเกษม โดยจุดเทเลือดสุดท้ายคือ ทางเข้าอาคารสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งภายหลังจากเสร็จสิ้นพิธีแกนนำได้ขึ้นประจำรถบรรทุกติดเครื่องขยายเสียง เพื่อเตรียมเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป
18.45 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้ฝ่าแนวกั้นที่เจ้าหน้าที่นำมากั้นด้านหน้าประตูทางเข้าที่ ทำการพรรคประชาธิปปัตย์ จนสามารถเข้าไปทำพิธีเทเลือดที่บริเวณหน้าบันไดทางขึ้นที่ทำการพรรคได้ สำเร็จ โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้เตรียมเลือดที่เหลือจากการทำพิธีบริเวณทำเนียบรัฐบาล จำนวน 10 แกลลอน มาทยอยเทด้านหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปปัตย์ ทั้งนี้ในระหว่างที่มีการทำพิธี ผู้ชุมนุมต่างส่งเสียงโห่ร้องและตะโกนขับไล่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แกนนำได้ปราศรัยขอให้ผู้ชุมนุมอยู่ในความสงบก่อนที่จะประกาศให้ผู้ ชุมนุมเคลื่อนขบวนกลับไปเวทีหลักที่สะพานผ่านฟ้า
17 มีนาคม 2553
ช่วง เช้า แกนนำกลุ่มผู้ชุนนุมได้ประกาศแนวทางและเส้นทางที่จะใช้เดินทาง เพื่อไปเทเลือดที่บริเวณหน้าบ้านพักของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ซอยสุขุมวิท 31 และเริ่มเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุม เวลาประมาณ 11.50 รถปราศรัยของแกนนำได้เดินทางมาถึงสี่แยกด้านหน้าบ้านพักนายกรัฐมนตรี โดยนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ได้เป็นตัวแทนเดินลงมาบริเวณรั้วลวดหนามพร้อมด้วยภาชนะบรรรจุเลือดประมาณ 5-6 แกลลอน ขณะที่ได้มีฝนตกลงมาอย่างหนัก เพื่อพยายามเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อจะขอเข้าไปทำพิธีกรรมเทเลือด บริเวณหน้าบ้านของนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่สามารถเข้าไปได้ โดยมี พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 เป็นผู้คุมสถานการณ์ และทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล 5 ได้นำรถบรรทุกเครื่องขยายเสียงมาขอให้ผู้ชุมนุมอย่างสันติและขอให้ตระหนักใน สิทธิของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบส่วนหน้าบ้านพักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังเป็นบ้านพักของบิดานายกรัฐมนตรี ดังนั้นจะทำให้อะไรก็ขอให้อยู่ในกรอบกติกาและคำนึงถึงจารีตประเพณีสังคมไทย ด้วย ขอให้ผู้ชุมุนมจัดตัวแทนมาเจรจาร่วมกันว่าจะเข้าจัดกิจกรรมในจุดใด ตำรวจพร้อมให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวก และขอยืนยันว่าจะไม่ใช้กำลังและความรุนแรงใด ๆ กับผู้ชุมนุม
แต่ใน เวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยอมให้กลุ่มคนเสื้อแดงเข้ามาภายในซอยสุขุมวิท 31 หลังนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำคนเสื้อแดงได้เจรจากับ พล.ต.ต.วิชัย โดย พล.ต.ต.วิชัยได้สั่งให้ตำรวจถอยเป็นระยะทาง 5 เมตร แต่ยังสกัดกั้นไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าถึงรั้วบ้านได้ ซึ่งขณะนี้มีระยะห่างกว่า 200 เมตร ทั้งนี้ได้มีผู้ชุมนุมบางส่วนพยายามบุกปะทะกับเจ้าหน้าที่ที่ตั้งแถวกั้น อยู่ด้วย
อย่างไรก็ดี เมื่อมีการสกัดกั้นไม่ให้กลุ่มม็อบเข้าไปใกล้บ้านพักของนายกรัฐมนตรี กลุ่มผู้ชุมนุมนำโดยนายอริสมันต์ได้ทำการฝ่าวงล้อมของเจ้าหน้าที่ บุกไปถึงหน้าบ้านพักนายกรัฐมนตรี พร้อมเทเลือดกองบนพื้นถนนท่ามกลางฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก โดยนายณัฐวุฒิได้ประกาศบนรถปราศรัยเพื่อขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่เปิดทางให้ กลุ่มคนเสื้อแดงเทเลือดบริเวณดังกล่าวด้วย และมีผู้ชุมนุมบางคนได้ระดมปาถุงบรรจุเลือดและอึเข้าใส่ภายในบ้านพักนายก รัฐมนตรี ซึ่งเจ้าหน้าที่และบุคคลภายในบ้านได้พยายามนำสายยางมาฉีดน้ำโต้ตอบ
ทั้ง นี้หนังสือพิมพ์ Christian Sciene Monitor ของสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับ 10 การประท้วงสุดพิสดาร ปรากฏว่า การเทเลือดของกลุ่มนปช. ถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 ของการประท้วงสุดพิสดาร
20 มีนาคม 2553
กลุ่ม ผู้ชุมนุมจัดขบวนรถจำนวนมาก โดยเคลื่อนขบวนไปรอบกรุงเทพมหานครตามเส้นทางสายสำคัญต่างๆ แกนนำกลุ่มเสื้อแดงได้กล่าวอ้างว่าตลอดทางมีประชาชนมาให้กำลังใจจำนวนมาก
โดย การเคลื่อนพลจะเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งหมด จะไม่มีการดาวกระจาย เริ่มตั้งขบวนตั้งแต่ 10.00 น. หัวขบวนจะอยู่ที่แยกยมราช มีกองทัพมอเตอร์ไซค์ 2,000 คันนำขบวน พร้อมกับทีมนักรบพระองค์ดำ จากนั้นถึงจะเป็นขบวนคนเสื้อแดงทั้งหมด โดยจะเคลื่อนขบวนไปตามถนนเพชรบุรีตัด ใหม่ ถึงแยกอโศกจะเลี้ยวซ้ายเข้าถนนรัชดาภิเษกผ่านแยกฟอร์จูน ไปตามถนนรัชดาฯ จนถึงแยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว จะเลี้ยวขวา เข้าถนนลาดพร้าว ตรงไปถึงบางกะปิ ถึงแยกบางกะปิ จะเลี้ยวขวา ไปถึงแยกลำสาลี แล้วจะเลี้ยวขวาอีกครั้ง เข้าถนนรามคำแหง ตรงไปตามถนนรามคำแหง จนถึงแยกพระราม 9 ตรงไปแยกคลองตัน แล้วตรงไปแยกพระโขนง เลี้ยวขวาเข้าถนนพระราม 4 จากนั้นตรงไปจนถึงสีลม แล้วเข้าวงเวียนโอเดียน เยาวราช ผ่านพาหุรัด แล้วเคลื่อนขบวนไปฝั่งธนบุรี ก่อนที่จะกลับเข้าเวทีปราศรัยที่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำเนิน ในเวลา 18.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ประเมินตัวเลขจำนวนผู้ชุมนุมในวันนี้ไม่น้อยกว่า 100,000 คน รถจักรยานยนต์ ประมาณ 10,000 คัน และรถยนต์ประมาณ 7,000 คัน
นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำคนเสื้อแดง กล่าวถึงการเคลื่อนขบวนของกลุ่มเสื้อแดงว่า เน้นคอนเซปต์ว่าเป็นการขอบคุณและปลูกต้นรักให้แก่คนกรุงเทพฯ ที่ต้อนรับการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่มาจากต่างจังหวัด จึงจะเป็นขบวนที่ผ่อนคลาย ไม่เครียด ไม่มีการปราศรัยทางการเมืองที่เข้มข้น จะเป็นการตีกลอง ร้องเพลงแบบฉิ่งฉาบทัวร์ เพื่อสร้างความสนุกสนาน สลับกับการขึ้นปราศรัยขอบคุณคนกรุงเทพฯ เน้นความรื่นเริงเถิดเทิงไปตลอดการเคลื่อนขบวน
22 มีนาคม 2553
นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน อ่านแถลงการณ์เรื่อง "ยืนยันข้อเรียกร้องยุบสภา พร้อมเจรจากับนายกฯ"
"นปช.ยืน ยันให้ยุบสภาทันทีเพื่อคืนอำนาจให้ ประชาชน นปช.ไม่มีข้อเรียกร้องอื่นใดนอกเหนือจากนี้ นปช. ยินดีให้มีการเจาจาโดยผู้เจารจาคือผู้มี อำนาจเต็มของแต่ละฝ่าย ฝ่ายรัฐบาลต้องเป็นตัวนายกรัฐมนตรีเท่านั้น เพราะมีอำนาจตัดสินใจยุบสภา เมื่อยุบสภาแล้ว ทุกกลุ่มทุกฝ่ายต้องสลายตัวทันทีเพื่อให้ประเทศชาติกลับสู่ปกติ และต้องเปิดโอกาสให้ทุกพรรคหาเสียงเต็มที่โดยไมมีกีดขวางให้การเลือกตั้งที่ บริสุทธิ์ ยุติธรรมเป็นเครื่องตัดสินความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ทุกฝ่ายต้องยอมรับ เพื่อให้ประเทศต้องเดินหน้าต่อไปได้"
23 มีนาคม 2553
นาย ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เลขาธิการกลุ่มสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ให้ชาวกรุงเทพมหานครรวมตัวกันเพื่อต่อต้านความรุนแรง รวมทั้งให้อยู่ในที่ตั้งเพื่อเฝ้าระวังเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นจากการชุมนุม ของคนเสื้อแดง
กลุ่มพี่น้องมหิดลออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ นปช. ยุติให้ผู้ชุมนุมเจาะเลือดแม้ผู้ให้จะเต็มใจก็ตาม เนื่องจากเห็นว่าการนำเอาเลือดออกจากร่างกาย มีไว้เพื่อการตรวจวินิจฉัย เพื่อการรักษา หรือการบริจาคเท่านั้น มิสามารถกระทำเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดได้ รวมทั้งมองว่าระดับแกนนำย่อมมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลผู้เข้า ร่วมชุมนุมให้เกิดความปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดีอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรเลือกวิธีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การอ่อนเพลียจากการสูญเสียเลือดและอากาศร้อนอบอ้าว
คณะ กรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน อันประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ออกแถลงการณ์ขอให้กลุ่มคนเสื้อแดง คืนพื้นที่แยกราชประสงค์ที่ปักหลักชุมนุมมาตั้งแต่วันเสาร์ที่ 3 เมษายน 2553 โดยให้กลับไปชุมนุมบริเวนสะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยที่ประชุม กกร. มีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะการชุมนุมดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อการทำมาหากินในทุกระดับ ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ไปจนถึงร้านค้าย่อย รวมทั้ง นักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ และแม้ นปช.จะมีสิทธิในการชุมนุมเพื่อแสดงออกภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ควรจะละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ซึ่งข้อเรียกร้องต่างๆ ของกลุ่มผู้ชุมนุมควรมีความชัดเจนและจริงใจต่อกันเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ที่แท้จริง
ที่ประชุมสมาพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย ได้แสดงจุดยืนเรียกร้องให้รัฐบาลและกลุ่ม นปช. ร่วมกันหาทางออกเพื่อยุติความขัดแย้งและการชุมนุมโดยเร็ว หลังอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้รับความเสียหายแล้วกว่า 1 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการรวมพลังของผู้ประกอบการในที่ต่างๆ เช่น จ.เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ สมุย พัทยา โดยใช้ข้อความว่า "ยุติความขัดแย้งเพื่อท่องเที่ยวไทย ทุกฝ่ายหยุดทำร้ายท่องเที่ยวไทย สมานฉันท์เพื่อท่องเที่ยวไทย" พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังเรียกร้องให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายดูแลการชุมนุมอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วและปราศจากความรุนแรง เพราะถ้าการชุมนุมยังยืดเยื้อจะกระทบความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซั่นที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมาเที่ยวเทศกาลสงกรานต์ โดยสำนักข่าวอัลจาซีร่า รายงานข่าวว่า การประท้วงของคนเสื้อแดงกำลังสร้างความไม่พอใจให้กับชาวกรุงเทพจำนวนมาก จนเกิดการชุมนุมของคนเสื้อชมพูมากกว่า 1,000 คน ที่สวนลุมพินี เพื่อระบุว่าพวกเสื้อแดงไร้เหตุผล นับเป็นครั้งแรกจากการบุกเข้ามาประท้วงในกรุงเทพฯ ของเสื้อแดงที่มีคนกลุ่มใหญ่ออกมาต่อต้าน เพื่อให้แน่ใจว่ารัฐบาลไทยที่มีกองทัพหนุนหลังจะไม่รีบร้อนยุบสภาและจัดการ เลือกตั้งใหม่ซึ่งอาจเปิดทางให้ผู้สนับสนุนของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรรีบขึ้นมาชิงอำนาจคืน
นาย สุภรณ์ อัตถาวงศ์ พร้อมแกนนำคนอื่น อาทิ นายวันชนะ เกิดดี นายเจ๋ง ดอกจิก รวมทั้งผู้ชุมนุมทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กที่สมัครใจได้ทำการโกนศีรษะเพื่อประท้วงนายกรัฐมนตรีและขับ ไล่รัฐบาล รวมทั้งทำพิธีสาปแช่งนายกรัฐมนตรี โดยมีนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงโกนผมให้นายสุพร ขณะที่พระสงฆ์ประมาณ 15 รูป โกนผมให้แก่ผู้ชุมนุม บนเวทีหลักสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
27 มีนาคม 2553
คน เสื้อแดงได้เคลื่อนขบวนไปกดดันทหารให้ถอนกำลังกลับกรมกองตามจุดต่างๆ ทั้ง 7 จุด เอเอฟพีระบุว่ามีผู้เข้า ร่วมชุมนุมประมาณ 80,000 คน นอกจากนี้ยังมีการยึดอาวุธปืน ฯลฯ ของทหารจำนวนหนึ่งอีกด้วย แล้วมีการส่งคืนในภายหลัง แต่ยังมีอาวุธสูญหาย ซึ่งทาง ศอฉ. ยังคงกังวลอยู่
28 มีนาคม 2553
นายก รัฐมนตรี พร้อมด้วยนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ และนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เข้าเจรจาหารือเรื่องการยุบสภากับประธาน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน นพ.เหวง โตจิราการ และนายจตุพร พรหมพันธุ์
29 มีนาคม 2553
มีการเจรจาต่อเนื่องจากเมื่อวาน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป
3 เมษายน 2553
มีการเคลื่อนขบวนมาปักหลักบริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งเต็มไปด้วยผู้ชุมนุมจำนวนมาก กระจายกันอยู่เต็มผิวจราจร ตั้งแต่แยกประตูน้ำ ด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ต่อเนื่องไปจนถึงถนนราชดำริ โดยพิธีกรบนเวทีแจ้งว่า คืนนี้จะปักหลักชุมนุมข้ามคืน ที่แยกราชประสงค์
7 เมษายน 2553
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
8 เมษายน 2553
ภายหลังที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง มอบหมายให้กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไปแจ้งให้ไทยคมระงับการแพร่สัญญาณภาพและ เสียงของสถานีประชาชน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักชุมนุมอยู่ที่บริเวณสถานีไทยคม ที่ตั้งอยู่ถนนรัตนาธิเบศร์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และสถานีไทยคม ซึ่งตั้งอยู่ถนนสายลาดหลุมแก้ว-วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เพื่อเรียกร้องให้ยุติการระงับการเผยแพร่สัญญาณ
9 เมษายน 2553
สำนัก ข่าวเอเอฟพีรายงานว่า องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนออกแถลงการณ์ประณามการปิดกั้นสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพี เพิลแชนแนลและเว็บไซต์ 36 เว็บไซต์ของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยระบุว่าการปิดกั้นสื่อมวลชนที่ทั้งเป็นกลางและสื่อที่มีความเห็นไปในทาง เดียวกับฝ่ายค้าน ทำให้อาจเกิดความรุนแรงได้
กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อน ขบวนไปยังสถานีไทยคม ซึ่งตั้งอยู่ถนน สายลาดหลุมแก้ว-วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เพื่อเรียกร้องให้ยุติการระงับการเผยแพร่สัญญาณการออกอากาศของสถานีประชาชน โดยได้มีการนำกองกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา แต่ไม่บรรลุผล จากนั้นเหตุการณ์ได้สงบลงภายในเวลา 15 นาที โดยแกนนำพยายามควบคุมมวลชนไม่ให้บุกเข้าไปภายในตัวอาคาร จนกระทั่งมีการเจรจาให้ทหารถอนกำลังเดินแถวออกจากสถานีไทยคม ท่ามกลางเสียงโห่ร้องดีใจของผู้ชุมนุม
นอกจากนี้ได้มีการนำอาวุธที่ ได้ยึดมาจากทหาร ที่ประกอบด้วยปืนเอ็ม 16, ปืนลูกซองยาว พร้อมลูกระเบิดแก๊สน้ำตา หมวกกันน็อค เสื้อเกราะ โล่ กระบอง มาให้สื่อมวลชนได้ถ่ายภาพเอาไว้ รวมทั้งยังมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตาอีกจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์การ สลายการชุมนุม หลังจากที่มีการยืนยันว่าทางสถานีประชาชนจะมีการออกอากาศอย่างแน่นอน กลุ่มผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนขบวนกลับไปยังที่ตั้ง
22.20 น.ได้มีการเข้าระงับการออกอากาศของทางสถานีอีกครั้ง
10 เมษายน 2553
รัฐบาลได้นำกองกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
13.00 น. เจ้าหน้าที่ได้ฉีดน้ำออกจากกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 และพยายามปิดประตู พร้อมขึงรั้วลวดหนาม นอกจากนี้มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ได้ใช้แก๊สน้ำตายิงด้วย ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ถอยร่นออกมาบริเวณสนามเสือป่า พยายามปาท่อนไม้และสิ่งของตอบโต้ นอกจากนี้ยังเกิดเสียงดังขึ้นเป็นระยะๆ ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นระเบิดเสียง ทำให้ผู้ชุมนุมแตกตื่นวิ่งหนี
13.10 น. กลุ่มเสื้อแดงได้กลับมารวมตัวอีกครั้ง แกนนำบนรถปราศรัยได้ประกาศว่า นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กำลังเดินทางตามมา โดยกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้เดินเก็บท่อนไม้ที่เหลือจากการจัดงานกาชาด เตรียมพร้อมไว้แล้วด้วย
13.45 น. เกิดเหตุชุลมุนที่แยกพาณิชยการ ใกล้ทำเนียบรัฐบาลและกองทัพภาคที่ 1 โดยเจ้าหน้าที่ทหารได้ใช้น้ำฉีดผู้ชุมนุมที่ปิดล้อมแยกดังกล่าว จากนั้นได้ยิงแก๊สน้ำตา และยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุมเป็นระยะ ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงบางคนได้รับบาดเจ็บและแตกฮือสลายการชุมนุมจากแยกพาณิช ยการ จากนั้นทหารนำรถที่กลุ่มผู้ชุมนุมจอดขวางออกนอกพื้นที่ และเดินจากแยกพาณิชยการมุ่งหน้าเข้าถนนราชดำเนิน
14.00 น. ทหารได้ทยอยยึดถนนราชดำเนินได้บางส่วน โดยตรึงกำลังตามสี่แยกต่างๆ ตั้งแต่กอง บัญชาการกองทัพภาคที่ 1 แยกมิสกวัน และสะพานมัฆวานรังสรรค์ ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมต่างถอยร่นไปรวมตัวที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ และพยายามจอดรถขวางทางเพื่อสกัดทหาร
14.20 น. บริเวณการชุมนุมคนเสื้อแดงบริเวณแยกมิสกวัน โดยทหารได้ใช้แก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตามเกิดโต้ล้มทำให้พัดย้อนกลับไปโดนทหารเช่นกันและมีผู้ชุมนุมบาง ส่วนได้ขว้างกลับมาเช่นกัน ทางด้านบริเวณคลองผดุงกรุงเกษมทหารได้รุกคืบฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุมพร้อมกับได้ จับผู้ปราศรัยบนเวที ขณะเดียวกันทางผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงได้ปรับขบวนด้วยการใช้พระสงฆ์ออกมาตั้ง แนวป้องกันการรุกคืบของทหาร
15.00 น. มีกลุ่มเจ้าหน้าที่ทหารพร้อมปืนลูกซอง ปืนเอ็ม16 พกโล่พร้อมอาวุธครบมือ ได้ยืนตั้งแถวอยู่ตรงบริเวณสวนสาธารณะเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ฝั่งอรุณอมรินทร์
17.50 น. มีเฮลิคอปเตอร์บินวนบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ และได้มีการปล่อยแก๊สน้ำตาลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ ลงมาเพื่อสลายการชุมนุม ขณะที่แกนนำได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมออกมารวมตัวกันที่หน้าเวที พร้อมกับปลุกระดมให้ต่อสู้และดูสถานการณ์ต่อไป ขณะที่ผู้ชุมนุมได้มีการปล่อยลูกโป่งและโคมลอยเพื่อรบกวนการบินของ เจ้าหน้าที่บนเฮลิคอปเตอร์แต่ไม่มีผลแต่อย่างใด แก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ทิ้งลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ตกลงมาที่ด้านหลังเวที ซึ่งมีสื่อมวลชนปักหลักทำข่าวอยู่เป็นจำนวนมากทำให้แตก ตื่นหาที่หลบแก๊สน้ำตา และอีกจุดทิ้งไปที่ด้านหน้าเวทีซึ่งมีผู้ชุมนุมรวมตัวอยู่ค่อนข้างหน้าแน่น
21.00 น. มีการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง ระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในบริเวณต่างๆ ใกล้กับที่ชุมนุม เช่น ถนนดินสอ ช่วงวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนตะนาว ช่วงแยกคอกวัว ฝั่งเชื่อมต่อถนนข้าวสาร โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 27 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 1,427 ราย
http://maha-arai.blogspot.com/2010/04/blog-post_02.html
---------------------------------------------------
หลักฐานที่พยายามรวบรวมมาแสดงนี้
เป็นหลักฐานที่เชื่อได้ว่า
เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสลายการชุมนุม
จนมีคนตายนับสิบ เจ็บนับพันคน
ในการสลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษา 53
บริเวณถนนราชดำเนิน
และยังรวมไปจนถึงวันที่ 19 พ.ค. 53
ในการสลายการชุมนุมบริเวณราชประสงค์
หลักฐานที่ว่านี้ก็คือ
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในวันที่ 7 เมษายน 2553
ที่มีนายอภิสิทธิ์ ลงนามในฐานะนายกรัฐมนตรี
โดยมีข้ออ้างดังต่อไปนี้
"โดยที่ปรากฏว่า ได้มีกลุ่มบุคคลดำเนินการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย และนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยมีการปลุกระดม เชิญชวน ทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาและการสื่อสารด้วยวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่ทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในหลายพื้นที่ และเพื่อให้มีการกระทำที่ล่วงละเมิดกฎหมายของแผ่นดิน ด้วยการยุยงให้ประชาชนชุมชนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดขวางการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนอื่นโดยทั่วไป ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อน เสียหาย และเกรงกลัวอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน มีการใช้กำลังขัดขืนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งมีการใช้สถานที่เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่มีเจตนาบิดเบือน ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เพื่อให้กระทำการให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ต่างๆ
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้ก่อเหตุร้ายหลายครั้งโดยต่อเนื่อง เพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหายและไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน
จากสถานการณ์ที่มีเหตุยืดเยื้อและมีการละเมิดต่อกฎหมายเพิ่มมากขึ้น จึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า จะมีการกระทำที่มีความรุนแรง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ และเกิดความเสียหาย หรือไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยไม่สงบ ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมาย
กรณีนี้ส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย และกระทบต่อการใช้สิทธิ์และเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ยุติโดยเร็ว"
แต่ลองไปดูลำดับเหตุการณ์การชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดง
ในปี 2553 ตั้งแต่ 13 มีนาคม 2553 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2553
มีอะไรที่ว่าร้ายแรงจนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ถ้าเทียบกับม็อบพันธมิตรในปัจจุบันที่ล้อมทำเนียบ
และปลุกระดมสารพัด จนเกือบจะเกิดสงครามกับเพื่อนบ้าน
กับกรณีการชุมนุมของเสื้อแดงช่วงเวลานั้น
มันมีอะไรต่างกันมากนักหรือถึงได้เกิด 2 มาตรฐาน
ประำกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและลุยสลายการชุมนุม
ด้วยอาวุธที่พกติดตัวมาสลายในวันที่ 9 เมษา 53
แบบนี้
"นอกจากนี้ได้มีการนำอาวุธที่ ได้ยึดมาจากทหาร ที่ประกอบด้วยปืนเอ็ม 16, ปืนลูกซองยาว พร้อมลูกระเบิดแก๊สน้ำตา หมวกกันน็อค เสื้อเกราะ โล่ กระบอง มาให้สื่อมวลชนได้ถ่ายภาพเอาไว้ รวมทั้งยังมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตาอีกจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์การ สลายการชุมนุม หลังจากที่มีการยืนยันว่าทางสถานีประชาชนจะมีการออกอากาศอย่างแน่นอน กลุ่มผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนขบวนกลับไปยังที่ตั้ง"
และแบบนี้ในวันที่ 10 เมษา 53
"15.00 น. มีกลุ่มเจ้าหน้าที่ทหารพร้อมปืนลูกซอง ปืนเอ็ม16 พกโล่พร้อมอาวุธครบมือ ได้ยืนตั้งแถวอยู่ตรงบริเวณสวนสาธารณะเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ฝั่งอรุณอมรินทร์"
จนทำให้มีคนบาดเจ็บล้มตายในเบื้องต้นมากขนาดนี้
"21.00 น. มีการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง ระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในบริเวณต่างๆ ใกล้กับที่ชุมนุม เช่น ถนนดินสอ ช่วงวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนตะนาว ช่วงแยกคอกวัว ฝั่งเชื่อมต่อถนนข้าวสาร โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 27 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 1,427 ราย"
ถ้าไม่พกอาวุธร้ายแรงมาสลายการชุมนุม
จะมีคนบาดเจ็บล้มตายมากขนาดนี้หรือ
เพราะการพกอาวุธร้ายแรงมาสลายการชุมนุม
ถ้าไม่ใช้ ก็ดีไปเพราะจะไม่มีคนเจ็บตายอะไร
เหมือนที่ ไทยคม แต่ที่ราชดำเนิน
ไม่ได้พกมาเฉยๆ แต่ใช้ด้วย
และที่ไทยคม เสื้อแดงยึดอาวุธได้มากมายก็คืน
ไม่ได้เอาไปถล่มทหารแถวนั้นจนตายใช่หรือไม่
ดังนั้นพวกชุดดำที่ดูเหมือนมาช่วยฝั่งเสื้อแดง
ไม่ใช่เสื้อแดงตามปกติที่ยึดอาวุธได้ทีไรคืนทุกที
แม้แต่ในวันที่ 10 เมษา 53
ยึดอาวุธมาได้เพียบมาให้นักข่าวถ่าย
ก็คืนในไม่กี่วันต่อมารวมไปถึงตัวประกัน
ที่แอบซุ่มยิงบนตึกกองสลากที่โดนจับลงมาด้วย
แถมหลักฐานมากมายหลังเหตุการณ์สงบลง
โดยเฉพาะรถยนต์ที่จอดแถวบริเวณปะทะ
ส่วนใหญ่โดนกระสุนหนักมาจากฝั่งทหารแทบทั้งนั้น
และวันที่ 10 ผมก็ได้อยู่ในเหตุการณ์ด้วย
ได้มีโอกาสเก็บภาพหลักฐานหลังสงบศึกใหม่ๆ ด้วย
จึงกลับมาเขียนเล่าเหตุการณ์วันนั้นเก็บไว้ด้วยที่นี่
<<< ครั้งหนึ่งในชีวิต ที่ได้อยู่ท่ามกลางสมรภูมิรบกลางกรุง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/04/blog-post_11.html
ดังนั้น ผมขอสรุปว่า
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 7 เมษายน 2553
ก็คือหลักฐานใบสั่งฆ่าประชาชนดีๆ นี่เอง
ทั้งๆ ที่ยังไม่มีเหตุการณ์ใดๆ ถึงขั้นร้ายแรง
จนต้องออกมาประกาศดังกล่าว
และในประกาศดังกล่าวยังให้อำนาจแฝงเอาไว้
ที่ ข้อ 6 ตามประกาศตามมาตรา 11
แห่งพรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ดังนี้
"ข้อ 6 ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำนาจสั่งห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน"
ถ้ารัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ ปฏิเสธว่า
นี่ไม่ใช่ใบสั่ง แต่เป็นใบเบิกทางหรืออะไรก็แล้วแต่
พยายามปัดความรับผิดชอบให้พ้นตัว
พวกที่มีความผิดเต็มๆ ก็คือ ทหารที่ยิงประชาชนตาย
ตั้งแต่คนที่ยิง นายทหารทุกระดับชั้นบังคับบัญชา
จะต้องมีความผิดแทนนายอภิสิทธิ์
เพราะกระทำโดยที่นายอภิสิทธิ์ในฐานะนายกไม่ได้สั่งให้ทำ
เรียกว่ามันต้องมีคนผิด ต้องมีคนรับผิดชอบ
ไม่ใช่รัฐบาลก็ไม่ผิดอ้างว่าไม่ได้สั่ง
ทหารที่ทำนอกเหนือคำสั่งก็ไม่ผิด
มันเป็นไปได้ยังไง
ปัจจุบันมีบางคนกล่าวหาว่าคนที่ผิดก็คือคนที่ตายก็มี
ถ้าคนที่ตายที่เป็นเสื้อแดงผิดในการสลายการชุมนุมครั้งนั้น
แล้วเจ้าหน้าที่ทั้งทหารและ ครม. ไม่ผิด
ก็แสดงว่า คำประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ในวันที่ 7 เมษายน 2553
ก็คือคำสั่งฆ่าที่ถูกต้องตามกฏหมายดีๆ นี่เอง
โดย มาหาอะไร
FfF