บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


28 มิถุนายน 2554

<<< ศาลโลก >>>

ศาลโลก

ศาลโลก (World Court) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) นั้น เป็นศาลที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2489 โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations – UN.) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งเกิดขึ้นมาหลังจากการสิ้นสุดลงขององค์การสันนิบาตชาติ ที่มีศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ (Permanent Court of International Justice) เป็นศาลโลกในขณะนั้น โดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็ได้มารับช่วงทำหน้าที่ต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศดังกล่าวนั่นเอง

ผู้พิพากษาศาลโลกมี 15 คน เลือกตั้งคราวละ 9 ปี การพิจารณาพิพากษาคดีต้องมีผู้พิพากษา 9 คนนั่งเป็นองค์คณะ ศาลจะเลือกประธานและรองประธานศาลเอง

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้นมีหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่าง รัฐ(Contentious Case) ในประเด็นกฎหมายและข้อเท็จจริง เช่น ข้อพิพาทเรื่องดินแดนอาณาเขต การละเมิดอำนาจอธิปไตย ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่รัฐเป็นผู้ฟ้องแทน ฯลฯ หรือเพื่อให้ความเห็นปรึกษา (Advisory opinion) ในส่วนที่เกี่ยวกับการตีความและการใช้กฎหมายระหว่างประเทศและอนุสัญญา ระหว่างประเทศแก่องค์กรหลักอื่นๆของสหประชาชาติ อาทิ สมัชชาสหประชาชาติ หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างรัฐนั้น คู่กรณีจะต้องเป็นรัฐด้วยกัน จึงไม่อาจให้เอกชนหรือนิติบุคคลเป็นคู่กรณีในศาลโลกได้ ทำให้ไม่อาจเป็นโจทก์ยื่นฟ้องร้องต่อศาลโลกได้ไม่ว่าในคดีใดๆ เช่นกรณีเมื่อปี พ.ศ. 2505 ที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ยอมรับอำนาจศาลให้พิจารณาตัดสินคดีปราสาท เขาพระวิหาร ดังนั้น ปัญหาข้อกฎหมายภายในของประเทศหนึ่งประเทศใดที่เป็นเรื่องของกฎหมายภายในซึ่ง ไม่มีประเด็นอันเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐ ปัญหาดังกล่าวจึงอยู่นอกเหนือเขตอำนาจของศาลโลกที่จะรับพิจารณา

ตัวอย่างเช่น บุคคลธรรมดาผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลไทยรวมทั้งหน่วยงานไทยก็ไม่มี สิทธิ์ฟ้องร้องประเทศไทยให้ตกเป็นจำเลยในศาลโลกได้ เพราะนอกจากขาดสถานภาพแล้วยังมีสัญชาติเดียวกัน จึงไม่อาจฟ้องร้องกันเองได้เช่นเดียวกับกรณีที่เป็นคดีอุทลุมซึ่งห้ามผู้สืบ สันดานฟ้องร้องบุพการี

เขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกนั้น จะไม่มีการทับซ้อนกับอำนาจพิพากษาของศาลภายในของแต่ละประเทศโดยเด็ดขาด จึงไม่มีประเด็นที่จะยื่นฟ้องให้ศาลโลกพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายภายในของประเทศ ไทยทุกรูปแบบรวมทั้งกฎหมายอาญา กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นใด

คดีความที่ศาลภายในของแต่ละประเทศพิจารณาวินิจฉัยไปแล้วเป็นอันเบ็ด เสร็จเด็ดขาด (Res Judicata) ไม่อาจรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาเพิ่มเติมหรือทบทวนใหม่ได้ไม่ว่าจะเป็นศาลของ ประเทศหนึ่งประเทศใดหรือแม้แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเอง ฉะนั้น ศาลโลกจึงมิอาจทำหน้าที่เป็นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาที่จะกลับคำพิพากษาหรือ ทบทวนแก้ไขข้อวินิจฉัยของศาลภายในของประเทศหนึ่งประเทศใดได้

อนึ่ง ในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อเมื่อรัฐคู่กรณีให้ความ ยินยอมให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเท่านั้น ส่วนการให้คำปรึกษาหรือความเห็น ศาลโลกสามารถทำได้เฉพาะในกรณีที่ผู้ร้องขอเป็นองค์กรสหประชาชาติดังกล่าว แล้วข้างต้น ฉะนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จะให้ศาลโลกให้ความเห็น หรือแก้ไขคำวินิจฉัยชี้ขาดขั้นต้นหรือขั้นสุดท้ายของศาลภายในแต่อย่างใด

ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะคาดหวังว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกจะมีโอกาสทำหน้าที่ พิจารณาคดีเพื่อทบทวน แก้ไขหรือกลับคำพิพากษาของศาลภายในของประเทศหนึ่งประเทศใด ไม่ว่าจะเป็นระดับศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา รวมทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ในปัจจุบันสำนักงานศาลจะอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งศาลจะนั่งพิจารณาที่อื่นนอกจากสำนักงานดังกล่าวนี้ก็ได้

http://www.learners.in.th/blog/warot70/466222

---------------------------------------------------
FfF