Ratchaprasong
รหัส: N054 (ESRI), 003 (กทม.) | |
ที่ตั้ง: | |
แขวงปทุมวันและแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
ถนนราชดำริ ไป แยกประตูน้ำ | |
ถนนพระรามที่ 1 ไป แยกเฉลิมเผ่า | |
ถนนเพลินจิต ไป แยกชิดลม | |
ถนนราชดำริ ไป แยกราชดำริ |
สี่แยกราชประสงค์ (อังกฤษ: Ratchaprasong Intersection) เป็นสี่แยกใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดของถนนเพลินจิตและถนนราชดำริ เป็นย่านศูนย์การค้าที่สำคัญซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานศาลเทพเจ้าต่างๆทั้ง สิ้น 6 ศาลจนบางคนถึงกับเรียกสี่แยกนี้ว่า "แยก 6 เทพ" ซึ่งเทพทั้งหกองค์นั้นเป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดูทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท้าวมหาพรหมเอราวัณ จากคำขวัญของเขตปทุมวันที่ว่า "บูชาท้าวมหาพรหม ชื่นชมวังสมเด็จย่า ศูนย์การค้ามากมี ลุมพินีสวนสาธารณะ ศิลปะมวยไทย สถานีรถไฟหัวลำโพง เชื่อมโยงรถไฟฟ้า สถานศึกษาเลื่องชื่อ นามระบือจุฬาลงกรณ์" ล้วนแล้วแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแยกราชประสงค์นี้อย่างมาก รวมไปถึงการมีจุดเชื่อมโยงรถไฟฟ้าที่สถานีสยาม เพราะสี่แยกราชประสงค์ อยู่ในบริเวณของสามสถานี ตั้งแต่สถานีราชดำริ สถานีสยาม และสถานีชิดลม [1] นอกจากนี้ สี่แยกราชประสงค์ ยังมีสำนักงานราชการที่สำคัญ ตั้งอยู่จำนวนมาก เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การไฟฟ้านครหลวง ราชกรีฑาสโมสร และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ฯลฯ
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] สถานที่สำคัญบริเวณทางแยก
[แก้] ห้างสรรพสินค้า
- สยามพารากอน
- เซ็นทรัลเวิลด์
- ศูนย์การค้าเกษร
- อัมรินทร์พลาซ่า
- เพนนินซูล่า พลาซ่า
- เอราวัณ แบ๊งค็อก
- บิ๊กซี สาขาราชดำริ
- เดอะแพลตินั่ม
- สยามสแควร์
[แก้] โรงแรม
โรงแรมระดับ 5 ดาว
- โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ
- โรงแรมเซนทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
- โรงแรมอินเตอร์คอนติเนลตัล กรุงเทพ
- โรงแรมโฟร์ซีซั่น
- โรงแรมคอร์ดยาร์ด แมริออท กรุงเทพ ถนนราชดำริ
- โรงแรมแกรนด์เซ็นเตอร์ พอยท์ ถนนราชดำริ
- โรงแรมเรอนาซองค์ ราชประสงค์ (เริ่มเปิดทำการปี 2552)
- โรงแรมโนโวเทล ห้างเดอะแพลทินัม (เริ่มก่อสร้างปี 2552 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554)
โรงแรมระดับ 4 ดาว
- โรงแรมอโนมา
- โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ ชิดลม
โรงแรมระดับอื่นๆ
- โรงแรมบางกอก ซิตี้ อินน์
- โรงแรมอะโฟรดิตี้ อินน์
[แก้] ศาลเทพเจ้า
- ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ
- ศาลพระตรีมูรติ เซ็นทรัลเวิลด์
- ศาลพระพิฆเนศวร เซ็นทรัลเวิลด์
- ศาลพระนารายณ์ทรงสุบรรณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนลตัล กรุงเทพ
- ศาลพระลักษมี ศูนย์การค้าเกษร
- ศาลท้าวอัมรินทร์ทราธิราชเจ้า อัมรินทร์พลาซ่า
- ศาลพระนารายณ์ประทับยืนบนพญาอนันตนาคราช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
[แก้] โรงพยาบาล
- โรงพยาบาลตำรวจ
- โรงพยาบาลบีเอ็นเอช สาขาเซ็นทรัลเวิลด์
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
[แก้] โรงเรียนใกล้เคียง
- โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- โรงเรียนวัดปทุมวนาราม
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
[แก้] สถานที่สำคัญทางราชการ
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่
- บริษัท ที โอ ที จำกัด (มหาชน)สำนักงานใหญ่
- ราชกรีฑาสโมสร
- วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
[แก้] การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553
ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553 กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน เริ่มใช้พื้นที่แยกราชประสงค์ เป็นสถานที่ชุมนุมทางการเมือง จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เจ้าหน้าที่ทหารใช้กำลังอาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุม จนทำให้แกนนำต้องประกาศยุติการชุมนุม จากนั้นเกิดเหตุจลาจลขึ้นทั่วกรุงเทพมหานคร มีการยิงกระสุนปืน ยิงระเบิด และเกิดเพลิงไหม้ในหลายพื้นที่ ลุกลามไปสู่จังหวัดปริมณฑลและต่างจังหวัด เป็นผลให้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เกิดเพลิงไหม้เป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยเจ้าหน้าที่ดับเพลิงไม่สามารถเข้าควบคุมเพลิงได้ เนื่องจากในพื้นที่ไม่มีความปลอดภัย จนกระทั่งอาคารฝั่งห้างสรรพสินค้าเซนทรุดตัวลง และยังมีควันคุกรุ่นอยู่อีกหลายวัน จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม จึงสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้ เป็นผลให้ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ต้องปิดทำการ เพื่อปรับปรุงและซ่อมแซมห้าง ในส่วนของเซนดีพาร์ตเมนต์สโตร์ทั้งหมด และยังมีส่วนของโรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ซินีมา และอุทยานการเรียนรู้ ทีเคปาร์ก ที่ต้องปรับปรุงใหม่
อนึ่ง เมื่อคืนวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554 พรรคประชาธิปตย์จัดการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2554 ที่ลานกิจกรรมหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อชี้แจงถึงเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น ตามข้อมูลในส่วนของพรรค[2]
[แก้] การเดินทางไปแยกราชประสงค์
- รถไฟฟ้าบีทีเอส โดยนั่งมาลงที่สถานีสยามหรือสถานีชิดลมแล้วเดินบนสกายวอล์ค(Sky Walk)เพียง 8นาทีจากสถานีสยามและ 2นาทีจากสถานีชิดลมโดยทางสกายวอล์คมีทางเชื่อมเข้าห้างเกษร พลาซ่า, ห้างเอราวัณ, ห้างเซ็นทรัลเวิลด์, ห้างอัมรินทร์, อาคารสำนักงานมณียา เซ็นเตอร์และโรงแรมอินเตอร์คอนทิเนนทัล
- รถประจำทาง โดยนั่งมาลงที่หน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์, ห้างบิ๊กซี, วัดปทุมวนาราม, สำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือบริเวณด้านหน้าบริษัท ที โอ ที จำกัดโดยมีสายที่ผ่านมากมายจนกล่าวได้ว่าสี่แยกราชประสงค์นี้เป็นศูนย์รวม แห่งรถประจำทางแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครก็ว่าได้ทั้งนี้สายที่ผ่านมีดัง นี้2, 15, 16, 25, 40, 45, 48, 54, 73, 79, 204, 79, 29, 501, 508ฯลฯ
- รถแท็กซีหรือรถสามล้อตุ๊กตุ๊ก รถทั้งสองประเภทนี้เป็นรถรับจ้างที่จะพาผู้โดยสารไปยังสถานที่ที่กำหนดเพียงบอกว่า “แยกราชประสงค์”หรือ”พระพรหมเอราวัณ”
- เรือโดยสาร โดยสารเรือนี้มาลงที่ท่าสะพานเฉลิมโลก
[แก้] อ้างอิง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ แยกราชประสงค์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมปส์
- แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
http://th.wikipedia.org/wiki/แยกราชประสงค์
---------------------------------------------------
จากรายละเอียดเกี่ยวกับแยกราชประสงค์
จะเห็นได้ว่าครอบคลุมพื้นที่หลายห้างสรรพสินค้าหลายโรงแรม
และวัดปทุมฯ ซึ่งอยู่ระหว่างห้างพารากอนกับห้าง CTW
เป็นจุดที่มีคนเสื้อแดงถูกยิงตาย 6 ศพ
ในการสลายม็อบวันที่ 19 พ.ค. 53
ไม่รวมถนนด้านหลังเวทีใหญ่
ที่มีภาพคนถูกยิงตายอีก
กรณี 6 ศพที่วัดปทุมฯ
มีหลักฐานชัดเจนยื่นยันเก็บไว้ที่ 2 เรื่องด้านล่างนี้
<<< หลักฐานสำคัญในคดีกระชับพื้นที่หฤโหด ใครฆ่าประชาชน ใครโกหกประชาชน >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/06/blog-post_2681.html
<<< บันทึกประวัติศาสตร์ ของญาติผู้เสียชีวิตและผู้รอดตาย จากการสังหารโหดของทหารไทย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/05/blog-post_30.html
อีกอย่างม็อบเสื้อแดงที่เขาย้ายมาจากราชดำเนิน
แล้วบอกว่าจะมาชุมนุมที่แยกราชประสงค์
ไม่ได้หมายความว่ามีคนกระจุกเดียวกลางสี่แยกราชประสงค์
แต่มีอาณาบริเวณที่เสื้อแดงอยู่
ทางหน้าเวทีใหญ่ มันยาวจากสี่แยกราชประสงค์ไปทะลุสี่แยกประตูน้ำ
ด้านข้างเวทีไปถึงหน้าพารากอนในช่วงพีคของการชุมนุม
ู
ดังนั้นที่มีพวกเล่นลิ้นว่าไม่มีคนตายที่ราชประสงค์
ถ้าราชประสงค์หมายถึงแค่สี่แยกราชประสงค์ก็อาจใช่
แต่ถ้าหมายถึงแยกราชประสงค์
ตามความหมายของแหล่งท่องเที่ยว
แหล่งช็อปปิ้ง หรือคนทั่วไปเข้าใจ
มันคลุมอาณาบริเวณกว้างอย่างที่กล่าวมาแล้ว
แม้แต่ชมรมผู้ค้าราชประสงค์ก็เหอะ
ไม่ได้ทำมาหากินมีห้างมีโรงแรมอยู่กลางแยก
หรือแถวสี่แยกราชประสงค์หมด
ยังรวมไปไกลถึงสยามสแควร์ด้วย
สรุปแล้วพวกศรีธนชัยเวลาพูดถึงธุรกิจที่เสียหาย
จนตั้งเป็นสมาคมผู้ค้าย่านราชประสงค์อะไร
ก็ครอบคลุมพื้นที่ถึงสยามสแควร์ด้วย
แต่เวลาพูดถึงคนตายกลับบอกว่า
วัดปทุมฯ ซึ่งอยู่ตรงกลางไม่นับด้วย
ที่ตาย 6 ศพ ไม่ได้ตายที่ย่านราชประสงค์
เลยโมเมว่าที่ราชประสงค์ไม่มีคนตายในวันสลายการชุมนุม 19 พ.ค.53
สรุปว่าไม่รู้ว่าแยกราชประสงค์คลุมอาณาบริเวณขนาดไหน
หรือคิดว่าที่ตาย 6 ศพหน้าวัดปทุมฯ ไม่ใช่คน
ถึงพูดได้เต็มปากว่าวันนั้นไม่มีคนตาย
สรุปก็แค่การเล่นลิ้นกลบเกลือนการตายที่วัดปทุมฯ
ของพวกผู้มีอำนาจ แต่จริงๆ แล้วในวันนั้น
ที่ราชประสงค์มีคนตายจริง
ส่วนหลักฐาน และโฉมหน้าคนเผาตัวจริง
ตามอ่านต่อได้ในหลายเรื่องด้านล่างนี้
<<< หลักฐานมัดคนเผา CTW เห็นหน้าจะจะแบบนี้ ผ่านมาปีกว่า ไม่คิดเร่งรัดจับกุม กลัวจับได้จะรู้ว่าเป็นพวกเดียวกันหรือยังไง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/06/blog-post_17.html
<<< โฉมหน้าคนเผาตึก CTW และ ช่อง 3 พร้อมข้อกังขาว่า เป็นพวกใครกันแน่ที่ทำ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_24.html
<<< ความจริง และ ศพสุดท้าย ที่ เวิลด์เทรด >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/12/blog-post_07.html
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ใครได้ใครเสียอะไร ในการเผาห้าง ZEN >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/11/blog-post.html
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ปัญหาสยามสแควร์ของจุฬา และข้อกังขาว่าทำไมต้องเลือกเผาเฉพาะสยามสแควร์บางซอย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/10/blog-post_5032.html
โดย มาหาอะไร
FfF