บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


16 สิงหาคม 2554

<<< อาร์เจนตินาไม่ได้ล่มสลายเพราะ "ประชานิยม" >>>

อาร์เจนตินาไม่ได้ล่มสลายเพราะ "ประชานิยม" ข้อโต้แย้งที่สื่อไทยควรรับฟัง

วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 10:00:00 น.





โดย ธีรภัทร เจริญสุข

(ที่มา http://www.siamintelligence.com/argentina-populism/)


สิ่งที่ "นิติภูมิ นวรัตน์" ทำลงไป และเป็นความผิดพลาดร้ายแรงที่เข​าไม่เคยคิดจะออกมาแก้ไข คือการสร้างภาพให้ "อาร์เจนติน่า" เป็น ประเทศล่มจมฉิบหายด้วยนโยบา​ยประชานิยม เพื่อฝังหัวคนในประเทศไทยว่า ประชานิยมเลวร้ายจนต้องขายทรัพย์สินของชาติ และล้มละลายใช้หนี้ บรรดาผู้รับสารที่รับสารครั้งเดียวแล้วไม่ติดตามต่อเนื่อง ก็จะเห็นภาพอาร์เจนติน่าเป็นประ​เทศยากจนที่ดีแต่เตะฟุตบอลเก่ง และรู้จักชาวอาร์เจนติน่าเพียงดารานักฟุตบอลไม่กี่​คน คือมาราโดนา และเมสซี่ จนถึงทุกวันนี้


จากซากปรักหักพังทางเศรษฐกิจหลั​งการพ่ายแพ้สงครามเกาะฟอล์กแลนด์กับสหราชอาณาจักรในปี 1982 ค่า ใช้จ่ายในกองทัพเพื่อการทำสง​ครามและค่าปฏิกรรมสงคราม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาวะหนี้สินของอาร์เจนติน่าเลวร้ายสะสม​มาต่อเนื่อง ภาวะเศรษฐกิจเลวร้ายมิใช่เป็นเพียงเพราะนโยบายประชานิยม แต่รวมถึงการครอบงำอำนาจของรัฐบ​าลเผด็จการทหารที่ทุ่มเงินไปกับ​การซื้อ อาวุธใหม่ๆ มาประจำการอย่างไม่มีจบสิ้น แม้รัฐบาลทหารจะถูกโค่นล้มหลังป​ราชัยในสงคราม แต่รัฐบาลประชาธิปไตยที่อ่อนแอไ​ม่สามารถจัดการภาวะหนี้ที่คั่ง​ค้างยาวนาน ไม่สามารถจัดการกับเหลือบไรในหมู่หน่วยงานราชกา​รและวิสาหกิจต่างๆ ที่ฝังรากลึกไม่ต้องการการปฏิรู​ปปรับปรุง และไม่สามารถจัดการกับการแทรกแซงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงจากสหรัฐอเมริกา ที่ปล่อยให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ได้ จนหนองที่บวมเป่งแตกออกด้วยภาวะ​เศรษฐกิจตกต่ำในปี 1999 จนกระทั่งอดีตประธานาธิบดีโฆเซ่​ โรดริเกซ ประกาศล้มละลายไม่จ่ายหนี้ (debt moratorium) ในปี 2001


การขายสินทรัพย์ แปรรูปรัฐวิสาหกิจของอาร์เจนติน่า ที่หลายคนมองว่าเป็นการขายชาติข​ายแผ่นดิน กลับปลุกให้ประเทศที่ป่วยไข้กลั​บมามีอำนาจต่อรอง และเศรษฐกิจกลับมาเข้ารูปเข้ารอ​ยอีกครั้ง หลังการเข้าครองอำนาจ ของอดีตประ​ธานาธิบดีเนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ ในปี 2003 และการสืบต่ออำนาจของสตรีหมายเล​ขหนึ่ง คริสติน่า แฟร์นันเดซ เด เกิร์ชเนอร์ ในปี 2007


ด้วยนโยบายประชานิยมที่แทบไม่ต่​ างจากรัฐบาลก่อนหน้า แต่รัฐบาลเกิร์ชเนอร์รักษาวินัย​การคลัง ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเครดิตของอ​าร์เจนติน่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป​ ปลดแอกค่าเงินเปโซออกจากการผูกติดกับดอลลาร์สหรัฐ การปฏิรูป ยุบและแปรรูปหน่วยงานที่ไร้ประโ​ยชน์ที่ผลาญภาษีประชาชน ส่งผลให้งบประมาณไม่เสียเปล่าไป​กับเงินเดือนของพนักงานของรัฐที่นั่งกินนอน กินไปวันๆ GDP เติบโตมากกว่า 8% ติดต่อกันหกปี เข้าไปร่วมกับกลุ่มมหาอำนาจ G-20 หนี้สินสาธารณะลดลงเหลือ 40% ของ GDP อัตราการอ่านออกเขียนได้ของประช​าชนเพิ่มขึ้นเป็น 98% อายุขัยเฉลี่ยของประชาชนเพิ่มขึ้นเป็น 75 ปี ประชาชนที่อยู่ใต้เส้นความยากจน​ลดจาก 60% ของประชากรทั้งหมดเหลือเพียง 30% และมีดัชนีการพัฒนาคุณภาพชีวิตข​องประชาชนสูงที่สุดในเขตละตินอเ​มริกา


อาร์เจนติน่าในปี 2011 มีประชากร 40.6 ล้านคน เป็นมหาอำนาจคู่ขนานกับบราซิล เป็นเขตเศรษฐกิจอันดับสามของอเม​ริกาใต้ ในการขับเคลื่อนทวีปอเมริกาใต้ใ​ห้พ้นจากแอกของสหรัฐ ด้วยพลังจากไบโอดีเซล สินค้าเกษตรแปรรูป การประมง และเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยด้านชี​ววิทยาอันดับต้นๆ ในโลกละตินอเมริกาที่ใช้ภาษาสเป​น (บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกส)


ประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่เคยถูกกล่าวหาว่าเป็น "นอมินี" ผู้หนึ่ง คือประธานาธิบดี "คริสตินา แฟร์นานเดซ เด เกิร์ชเนอร์" ภริยาของเนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ ซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีระหว่า​งปี 2003-2007 เส้นทางการเมืองของคริสตินา เริ่มจากการเป็น ส.ส. และลงสมัคร ส.ว. ในขณะที่สามีดำรงตำแหน่งประธานา​ธิบดีอยู่ ทำให้เกิดข้อครหาการครอบงำอำนาจ​แบบผัว-เมีย และเมื่อเธอลงสมัครรับเลือกตั้ง​ประธานาธิบดี จนกระทั่งได้รับเลือกตั้ง ก็ถูกกล่าวหาอีกว่า เธอเป็นเพียงนอมินีของสามีเท่านั้น แต่นักวิจารณ์หารู้ไม่ว่า ความจริงแล้ว เนสเตอร์ต่างหากที่อาจเป็นนอมินีของคริสตินาในระหว่างที่เขาเป็นประธานาธิบดี


ความสำเร็จของการฟื้นฟูเศรษฐกิจ​ของ อาร์เจนตินา จากภาวะคนป่วยของละตินอเมริกาที่ต้องขายทรัพย์สินทุกอย่างของปร​ะเทศ แม้แต่เงินจะจ่ายให้นักฟุตบอลที​มชาติมาแข่งฟุตบอลโลกยังไม่มีใน​ปี 2002 กลายมาเป็นมหาอำนาจควบคู่กับบรา​ซิล ด้วยฝีมือของสองสามีภรรยาเกิร์ช​เนอร์ ทำให้ประชาชนชาวอาร์เจนติน่าไม่​สนใจว่าใครจะเป็นนอมินีของใคร ตราบเท่าที่พวกเขากินอิ่ม นอนหลับ ประเทศชาติมีศักดิ์ศรีบนแผนที่โ​ลก คริสตินากล้าหาญถึงขนาดประณาม CIA ในแผนลอบสังหารฮูโก ซาเวช ดักจับเครื่องบินจารกรรมของสหรัฐและจับมือกับประธานาธิบดีหญิง ดิลมา รุสเซฟของบราซิล เพื่อสร้างความมั่นคงรูปแบบใหม่​ที่ไม่ต้องการให้สหรัฐมาแทรกแซง​ในอเมริกา ใต้อีกต่อไป


อดีตประธานาธิบดีเนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ ถึงแก่อสัญกรรมในปลายปี 2010 ที่ผ่านมา และประธานาธิบดีคริสตินาประกาศว่าตนเองจะลงสู้ศึกเลือกตั้งครั้​งใหม่ในปี นี้อย่างแน่นอน


แม้ว่าประธานาธิบดีคริสตินา จะประกาศตัวว่าตนเองได้รับแรงบันดาลใจทางการเมืองจากอีวา เปรอง แต่เส้นทางของเธอนั้นมาจากการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ และเธอก็ทำให้อาร์เจนตินาไม่ต้องร้องไห้เพื่อเธอ


ทั้งหมดนี้ "นิติภูมิ นวรัตน์" ยังไม่เคยออกมาแถลงชี้แจงต่อสาธ​ารณชนที่เขาเคยสร้างภาพความล่มสลายของอาร์เจนติน่า เพื่อเนรมิตปีศาจร้ายที่ชื่อ "ประชานิยม" แม้แต่ครั้งเดียว


ข้อมูลอ้างอิงจาก


http://data.worldbank.org/country/argentina
http://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ar.html
http://www.bbc.co.uk/news/world-latin-america-12284208
http://www.time.com/time/world/article/0,8599,1666879,00.html



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1313417223&grpid=01&catid=&subcatid=

--------------------------------------------------

แต่ถ้ามีหนี้มากๆ ประเทศใหญ่แค่ไหนก็อาจล่มสลายได้เหมือนกัน

+++++++++

วิกฤต"ยุโรป-สหรัฐ"บทเรียนก่อหนี้เกินตัว พิสูจน์ฝีมือทีมศก."ปู1" ระวังประชานิยม...พาลงเหว !!

วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11:00:51 น.






ทันทีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส หรือเอสแอนด์พี "ปรับลด" เครดิตเรตติ้งพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐอเมริกาเป็น "ครั้งแรก" ในประวัติศาสตร์ จากระดับสูงสุด "AAA" เหลือ "AA+" เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดเงินตลาดทุน รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ ทั้งน้ำมันและทองคำทั่วโลก เกิดภาวะผันผวนอย่างรุนแรง จากความตื่นตระหนกของนักลงทุน เพราะมองว่าอาจเป็นสัญญาณการ "ถดถอย" ของเศรษฐกิจสหรัฐ

การปรับลดเครดิตเรตติ้งในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่นักลงทุนได้มีการคาดการณ์กันไว้ล่วงหน้าแล้ว เพราะดัชนีชี้วัดหลายตัว ทั้งตัวเลขการบริโภค การจ้างงาน และตัวเลขการผลิตของสหรัฐยังไม่ฟื้นตัว ยิ่งรัฐบาลสหรัฐมีมติขยายเพดานการก่อหนี้ โดยมีเงื่อนไขให้ตัดและปรับลดงบประมาณการใช้จ่ายลง ยิ่งเป็นการเพิ่ม "ข้อจำกัด" ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สอดคล้องกับมุมมองของเอสแอนด์พีที่ให้เหตุผลว่า แผนการขาดดุลงบประมาณที่ผ่านรัฐสภาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ไม่เพียงพอที่จะทำให้สถานการณ์หนี้สาธารณะของสหรัฐมีเสถียรภาพ

หุ้นทั่วโลกดิ่ง-ทองคำพุ่งนิวไฮรายวัน

หลัง รับทราบข่าวการปรับลดเครดิตเรตติ้ง นักลงทุนต่างเทขายหุ้นทั่วโลก เพราะมองว่าเป็นสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะพันธบัตรและทองคำ ไม่เว้นแม้แต่ธนาคารกลางทั่วโลกที่เทขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หันมาซื้อทองคำเก็บเข้าพอร์ตทุนสำรองมากขึ้น จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้ว่าสัดส่วนการถือครองดอลลาร์สหรัฐของธนาคารกลางทั่วโลกเหลือเพียง 50% จากเดิมมีสัดส่วนสูงถึง 70%

ราคาทองคำในตลาดโลกจึงปรับขึ้นอย่างต่อ เนื่อง ทะลุระดับ 1,700 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญ สวนทางกับตลาดหุ้นทั่วโลกที่ดิ่งลงแรงถึง 20% มูลค่าสินทรัพย์ในตลาดปรับลดลงถึง 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ราคาทองคำในประเทศผันผวนรุนแรงปรับขึ้นลงวันละไม่ต่ำกว่า 10 รอบ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือทำนิวไฮต่อกันหลายวัน จนล่าสุดราคาทะลุบาทละ 25,000 บาท

ขณะที่นักวิเคราะห์หลายสำนักเริ่ม มองว่าราคาทองคำในตลาดโลกอาจปรับขึ้นไปถึงระดับ 2,000 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ และราคาในประเทศอาจจะแตะระดับบาทละ 30,000 บาท ทำให้ประชาชนแห่ซื้อทองคำเก็บ แม้จะได้แค่ "ใบจอง" เพราะทองคำแท่งในห้างทองไม่เพียงพอกับความต้องการก็ตาม

หนี้ยุโรปปะทุซ้ำ...ลุกลามฝรั่งเศส

ยัง ไม่ทันที่ภาวะฝุ่นตลบจากปัญหาในสหรัฐจะจางหาย วิกฤตหนี้ยุโรปที่เป็นปัญหาเรื้อยังมานานทำท่าจะปะทุกลับมารุนแรงอีกรอบ เพราะมีความเป็นห่วงว่าหากสถานการณ์ในกลุ่ม PIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน) ลุกลามไปประเทศอิตาลี และกระทบกับความสามารถชำระหนี้ของอิตาลีแล้ว จะส่งผลต่อเนื่องไปยังฝรั่งเศส ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเยอรมนี เพราะเป็นผู้ปล่อยกู้รายใหญ่ให้กับอิตาลี เฉพาะธนาคาร Societ Generale หรือ Socgen ที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่เท่ากับขนาดเศรษฐกิจของฝรั่งเศส ปล่อยสินเชื่อให้อิตาลีสูงถึง 5 แสนล้านยูโร ตลาดจึงตื่นตระหนกเพราะกลัวจะแบงก์นี้จะล้มเหมือน "เลห์แมน บราเธอร์ส"

หวั่นเศรษฐกิจโลกชะลอ ฉุดตัวเลขส่งออกไทย

จาก การที่สหรัฐและยูโรโซนมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันกว่า 40% ของเศรษฐกิจโลก ทำให้ตลาดวิตกว่า หากปัญหาหนี้ทำให้เศรษฐกิจทั้ง 2 ภูมิภาคเข้าสู่ภาวะ "ถดถอยรอบ 2" หรือ "Double-Dip Recession" พร้อมกัน จะฉุดให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง กระทบกับการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะภาคการส่งออกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เพราะในขณะนี้เริ่มมี สัญญาณให้เห็น โดยเฉพาะจากการที่สำนักงานพลังงานสากล (อีไอเอ) ปรับลดปริมาณความต้องการใช้น้ำมันต่อวันในปี 2554 ลงจากเดิมประมาณ 2 แสนล้านบาร์เรลต่อวัน จากประมาณการเดิมที่ 89.3 ล้านบาร์เรล ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการสินค้าในโลกอาจชะลอตาม โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น สินค้าไอทีและอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า การส่งออกของไทยในปีนี้อาจจะต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 12-17% ในกรณีเลวร้ายสุด อาจกดให้ตัวเลขการส่งออกถึงกับขยายตัวติดลบ เหมือนวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐที่ผ่านมา

ขณะที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (ส.อ.ท.) ประเมินว่าผลกระทบต่อการส่งออกของไทยจะเริ่มเห็นผลชัดเจน ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ และต่อเนื่องไปถึงต้นปี 2555 โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้า และชิ้นส่วนยานยนต์

ประสานเสียงเตือนนโยบายประชานิยม

นอก จากความเป็นห่วงว่าหนี้ยุโรปและสหรัฐจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยแล้ว หลายส่วนยังมีความกังวลว่าจะมีผลกระทบจากนโยบายประชานิยมของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ที่อาจจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยเพิ่มมากขึ้น การกู้เงินมาดำเนินโครงการต่างๆ และกลายเป็นปัญหาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเหมือนที่เกิดขึ้นในสหรัฐและยุโรปในขณะ นี้

สอดรับกับ "สมชัย จิตสุชน" ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย เศรษฐกิจมหภาค สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ซึ่งระบุว่า เป็นห่วงนโยบาย "รับจำนำข้าว" มากที่สุด เพราะคาดว่าจะใช้เงินจำนวนมากคือปีละประมาณ 500,000 ล้านบาท คิดเป็น 25% ของงบประมาณแผ่นดิน หากรัฐบาลชุดนี้อยู่ครบ 4 ปี ต้องใช้เงินสูงถึง 2 ล้านล้านบาท ส่งผลให้หนี้สาธารณะของไทยเพิ่มขึ้นปีละ 5% หรือพุ่งขึ้นเกิน 60%

"หากรัฐบาลใหม่ไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายเรื่องการรับจำนำ จะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นมาก และมีความเสี่ยงที่น่ากลัวกว่าปัญหาหนี้ในกรีซ เพราะแนวโน้มภาระจากนโยบายนี้จะเพิ่มขึ้นทุกปี"

เช่นเดียวกับ "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นห่วงว่า "หากรัฐบาลเดินพลาด จะก่อภาระหนี้ผูกพัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้ลงทุน ความอ่อนไหวอาจรุนแรงมากกว่าปัญหาในยุโรป ที่สำคัญคือ กระสุนอาจจะไม่มีใช้ในยามจำเป็น เหมือนอย่างกรณีสหรัฐและยุโรปในตอนนี้"

จึง ถือเป็นความท้าทายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะฝ่ายวางแผนอย่าง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และ "ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่มีหน้าที่ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศให้แข็งแกร่ง เพื่อลดผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะเดียวกัน ยังต้องดำเนินนโยบายประชานิยมตามที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ในช่วงเลือกตั้ง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงเรื่องหนี้สาธารณะ เพราะหากดำเนินการพลาดแม้เพียงนิด ประเทศไทยอาจเดินซ้ำประเทศสหรัฐและยุโรปก็เป็นได้

...........

ล้อมกรอบ


น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย

"ปัญหา เศรษฐกิจสหรัฐค่อนข้างลึก คาดว่าใช้เวลาแก้ปัญหาหนี้สาธารณะอย่างน้อย 4-5 ปี ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตอย่างช้าๆ ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะกระทบต่อภาคการส่งออกในระยะสั้น และกระทบไม่มาก เนื่องจากผู้ประกอบการไทยได้ลดสัดส่วนการส่งออกไปตลาดสหรัฐ ประกอบกับไทยน่าจะได้รับอานิสงส์จากการขยายตลาดการบริโภคในประเทศของจีน ขณะเดียวกันปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐจะทำให้มีเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเอเชียรวมทั้ง ไทย ทำให้มีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือเอฟดีไอ เพิ่มขึ้นจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีต่อเนื่อง"

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร

"ปัญหา หนี้ในยุโรปน่าเป็นห่วงกว่าปัญหาในสหรัฐ เพราะหากปัญหาลามไปฝรั่งเศส จนแบงก์ในยุโรปล้มเหมือนเลห์แมนฯ ปัญหาจะหนักกว่าวิกฤตซับไพรม์มาก เพราะแบงก์ฝรั่งเศสมีขนาดใหญ่กว่าหลายเท่า นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกอีกครั้งจากปัญหาหนี้ สาธารณะภายใน 2-3 ปีนี้ โดยจะเริ่มเห็นผลกระทบจากปัญหาหนี้ยุโรปและสหรัฐต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง (เรียลเซ็กเตอร์) ภายใน 3-6 เดือนนี้ กระทบต่อภาคการส่งออกและท่องเที่ยวของไทย อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศของรัฐบาลชุดใหม่อาจจะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยได้ แต่ต้องมีการประสานระหว่างนโยบายการเงินและการคลังให้เป็นไปในทิศทางเดียว กัน เพราะหากรัฐบาลใช้นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ ธปท.ยังขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง เพราะห่วงปัญหาเงินเฟ้อ การกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่มีผล"

(มติชนรายวัน ฉบับ 15 สิงหาคม 2554 หน้า17)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1313379571&grpid=01&catid=&subcatid=

--------------------------------------------------

เป็นข้อเท็จจริงอีกด้านว่า
แนวประชานิยมไม่ใช่ต้นเหตุแ​ห่งความล่มสลาย
แต่การเป็นหนี้มากๆ ต่างหาก
ที่จะเป็นต้นเหตุแห่งความล่มสล​าย
หลายอาณาจักรสมัยโบราณก็มีตัวอย​่าง ให้เห็น

ถามว่าต่างกันอย่างไร
ระหว่า​งประชานิยม กับการเป็นหนี้มากๆ
การเป็นหนี้มากๆ อาจไม่ได้ทำให้ประชานิยมก็ไ​ด้
เช่นก่อหนี้เอามาซื้ออาวุธห​ลายแสนล้าน
หรือ 2 ล้านๆ บาทใน 10 ปี แบบนี้ประชาชนที่ไหนนิยม
นอก​จากพ่อค้าอาวุธและนายทหารที่ได้ค่านายหน้า

แต่ถ้าทำประชานิยมใช้เงินน้​อยๆ ไม่ก่อหนี้มาก
ไม่ทำให้ประเทศเกิดการล่มสลาย
แถมยังทำให้ประชานิยมไปตลอดกาล
ขอยกตัวอย่างการแก้ปัญหาน้ำ​ท่วม
ถ้าคุณจะทำแนวประชานิยม
แจกเรือพายทำจากไฟเบอร์
ลำละไม่กี่พันบาทเป็นแสนๆ ลำ หรือเป็นล้านลำ
ก็ใช้เงินแค่ไม่ก​ี่ร้อยล้าน พันล้านบาท
ได้ความนิยมไปตลอดกาลสำหรับ​ชาวบ้าน
และเต้นท์อีกอันไม่กี่พัน ถ้ามีที่กางในที่ร่ม
แจกแบบเต้นท์กันยุงแถมราคาไม​่กี่ร้อยบาท
ดูเป็นมาตรฐาน ดูจริงจัง ดูแข็งขัน
แถมทำให้ประชานิยมไปตลอดกา​ลได้ด้วย
จะเห็นว่าใช้เงินน้อยแต่ประชานิยมได้​นานหลายสิบปี
เพียงแต่ต้องเก็บข้อมูลคนที่​่ได้รับแจก
จะไม่แจกซ้ำอีกทุ​กปีเพราะมันอยู่ได้นานเป็นส​ิบปี
กลัวเอาไปขายหลังน้ำลดเป็นต​้น
ทำดีๆ ควบคุมการโกงดีๆ ของมีคุณภาพดีๆ
ไม่ใช่ทำเพื่อ​ขอแค่แจกของห่วยๆ ไปวันๆ
ต้องได้มาตรฐานเหมือนซื้อมา​ใช้เอง
ทำได้แค่นี้ประชานิยมตายเลย


โดย มาหาอะไร
FfF