บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


03 สิงหาคม 2554

<<< ปัญหาและแนวทางในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท >>>

กรณีมีข่าวว่าถ้าขึ้นค่าแรงก๋วยเตี๋ยวจะขึ้นไปราคา 70-80 บาท
ถามว่าจริงไหมก็อาจมีบางส่วนที่เป็นร้านอาหาร
หรือร้านขายข้าวแกงหรือร้านขายก๋วยเตี๋ยวที่มีลูกจ้างหลายคน
และขายไม่ได้มากระดับสองสามพันบาทต่อวัน
ก็อาจมีผลกระทบได้คิดว่าคงเลิกจ้างแทน
หรือไม่ก็หยุดขายคงไม่มาขึ้นราคาขนาดนี้
เพราะจะมีคนกินน้อยนอกจากก๋วยเตี๋ยวนอก
เช่นพวก ราเมง ญี่ปุ๋น อะไรพวกนั้น

ซึ่งก็น่าจะมีวิธีการช่วยเหลือนายจ้างธุรกิจรายย่อยพวกนี้ด้วย
ในเมื่อคนเรายังไม่แข็งแรงเท่ากัน เช่นวัยต่างกัน เพศต่างกัน
ยังต้องมีการแยกแยะ บางเรื่องต้องแยกเพศแยกวัยกันเลย
การแข่งกีฬานี่จะเห็นได้ชัด ดังนั้นกรณีค่าแรงเหมารวมหมดทั้งประเทศ
ในอัตราเดียวกันถ้ามันไม่มากก็ไม่เท่าไหร่ แต่ถ้ามันมากแบบนี้
ซึ่งถือว่ามากเพราะวันหนึ่งทำกำไรสำหรับพ่อค้าแม่ค้ารายเล็กๆ
ขายของระดับสองพันบาทต่อวัน มันไม่มากมายขนาดจ่าย 300 บาทแล้วไม่สะเทือน

ส่วนใหญ่ผมเห็นจะใช้แรงงานเด็กและคงให้ค่าแรงไม่ตรงตามอัตราขั้นต่ำนัก
เรียกว่าเลี่ยงกฏหมาย จะเป็นไปได้ไหมว่าถ้าร้านค้าที่มีลักษณะเหมาจ่ายภาษี
จะกำหนดค่าแรงขั้นต่ำไว้ไม่สูงมาก เพื่อให้เขาสามารถจ้างคนได้
หรือจ้างแรงงานต่างชาติได้เช่น 150 บาทต่อวัน ขั้นต่ำ
ส่วนใครให้สูงก็ว่ากันไปเพราะถ้าเขาต้องง้อลูกจ้าง
เดี๋ยวเขาก็ให้มากกว่า 150 บาทต่อวัน
ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีใครมาทำงานด้วย
หรือต้องไปหาลูกจ้างต่างชาติแทน

คือผมเห็นว่าควรกำหนดขั้นต่ำ 150 บาทสำหรับต่างชาติ
หรือร้านขายของเล็กๆ เหมาจ่ายภาษี
เผื่อคนไม่มีงานทำจริงๆ มาทำงานไปก่อนชั่วคราว
ดีกว่าให้พ่อค้าแม่ค้าขายของเล็กๆ ปิดกิจการไปหมด
โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำ 300 บาท สำหรับ กทม. และปริมณฑล
250 บาท สำหรับหัวเมืองใหญ่ๆ อย่างภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยา
นอกนั้น 200 บาท หมด คือมันเพิ่มจากทุกวันนี้อยู่แล้ว
ที่อยู่ในอัตราประมาณ 150-220 บาทแล้วแต่ละจังหวัด
แต่ผมว่าทำละเอียดไปมีเศษบาทต่างกันไม่กี่บาทยังเอามาคิด
แทนที่จะทำให้ง่ายบาทสองบาทสิบบาทเคี่ยวกันจริงๆ
ลูกจ้างก็จะจำได้ง่ายๆ ด้วย เพื่อไว้ใช้ต่อรองกับนายจ้าง
ไม่ใช่กำหนดซะอย่าว่าแต่คนทั่วไปจะจำได้หมดเลย
พวกทำงานด้านนี้โดยตรงถ้าไม่ให้ดูโพย
จะตอบอัตราค่าแรงได้ถูกทั้งหมดประเทศไหมยังไม่รู้เลย

ที่กำลังคิดกำหนดนี่คือค่าแรงขั้นต่ำ
แต่ถ้าแรงงานมีฝีมือ นายจ้างจำเป็นต้องง้อ
เขาจะจ้างสูงกว่าอัตราทางการอยู่แล้ว
แต่ถ้ามากำหนดขั้นต่ำไว้สูงๆ
เขาก็อาจต้องเลี่ยงกฏหมายต่อไปสำหรับพวกที่จ่ายไม่ไหว
และคงต้องจ้างแรงงานต่างชาติแทน

คือบางครั้งความสามารถหาเงินแต่ละคนไม่เหมือนกัน
หรือแม้แต่คนเงินเดือนเยอะๆ แต่มีหนี้มากก็อาจอยู่ไม่สบาย
สู้คนเงินเดือนน้อยๆ แต่มีหนี้น้อยหรือไม่มีหนี้เลยไม่ได้
ดังนั้นจะเหมาง่ายๆ ไม่ดูกำลังแต่ละธุรกิจ
ก็ไม่น่าจะเป็นธรรมสำหรับนายจ้างนัก
ที่สำคัญไปลดค่าครองชีพลงได้มากเท่าไหร่
เงินที่เพิ่มให้แม้น้อยกว่าที่บอกก็จริง
แต่ถ้ารวมกับค่าครองชีพที่จะต่ำลง
ผมว่าเขาพอใจแต่ไม่ใช่กดราคาสินค้า
แต่ต้องสมเหตุผลไม่โก่งราคามีกำไรบ้าง

การเปิดให้ต่อรองกันได้ในธุรกิจเล็กๆ
โดยมีทางเลือกค่าแรงที่สูงกว่าเปรียบเทียบ
ถ้าลูกจ้างไม่พอใจอัตราที่นายจ้างกำหนด
ก็อาจลาออกไปทำงานที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าได้
ทำให้นายจ้างต้องเป็นฝ่ายง้อลูกจ้างถ้าจำเป็นต้องจ้างจริงๆ
เพราะมีตัวเปรียบเทียบทำให้ฝ่ายลูกจ้างเรียกร้องค่าแรง
ได้มากกว่าอัตราขั้นต่ำที่รัฐกำหนดให้กับธุรกิจเล็กๆ
คือถ้าเขาไม่ได้ 300 บาทต่อวัน อาจไม่พอใจไม่ทำงานด้วย
แต่ถ้านายจ้างบอกไม่ไหว 200 บาทต่อวันได้ไหม
ก็เกิดการตกลงต่อรองตามความเหมาะสมและยินยอมกันได้
ถ้ารัฐเปิดโอกาสกำหนดขั้นต่ำ 150 บาทต่อวัน สำหรับธุรกิจเล็กๆ
โดยดูการเสียภาษีแบบเหมาจ่ายภาษีรายปี
หรือรายได้ไม่ถึง 1 ล้านบาทต่อปี
ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ก็สามารถกำหนดได้เต็มที่
เพื่อให้ลูกจ้างมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้นได้

อันที่จริงค่าแรงขั้นต่ำ เขากำหนดขึ้นมาเพราะว่า
กลัวลูกจ้างจะไม่มีอำนาจต่อรอง
รัฐเลยต้องเป็นผู้กำหนดให้ชัดเจนว่าขั้นต่ำเท่านี้น่ะ
หลักการมีแค่นั้นเองสำหรับค่าแรงขั้นต่ำ
ว่าทำไมเขาถึงต้องกำหนด ไม่กำหนดก็ได้
แต่ฝ่ายลูกจ้างอาจจะไม่มีอำนาจต่อรองกับนายจ้าง
โดนกดค่าแรงให้ต่ำๆ ตลอดไป

ประเด็นค่าแรงขั้นต่ำ ถ้านายจ้างหรือใครมีอะไร
ก็น่าจะเสนอมาให้รัฐบาลรับรู้
เผื่อเขาจะได้หาวิธีทำให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
คือเพิ่มเงินเดือนหรือค่าแรงโดยไม่ทำให้​สินค้าขึ้นราคา
อีกแนวทางที่พอคิดออกคือ
รัฐอาจชดเชยให้ตามจำนวนคน​และค่าแรงที่เพิ่มจากเดิม
เช​่นจาก 220 บาท เป็น 300 บาท
อาจต้องชดเชยให้นายจ้าง 80 ต่อคนทุกสิ้​นเดือน
และประกาศให้ชัดเจนว่า 3 ปีต่อไปไม่ขึ้นค่าแรงอีก
แบบนี​้ก็เหมือนนายจ้างไม่ได้เพิ่​มค่าจ้าง
แต่รัฐอุดหนุนให้แท​นใน 3 ปี
ซึ่งเราไม่รู้ว่ามีจำนวนที่ต้องชดเชยในแต​่ละปีเยอะไหม
ต้องมีรายละเอี​ยดมากกว่านี้ถึงจะรู้ว่าใช้​เงินเท่าไหร่
สมมุติถ้าเป็นแ​บบนี้นายจ้างอ้างขึ้นราคาสิ​นค้าไม่ได้เลย
แถมได้หน้าที่​ทำให้ลูกจ้างมีค่าแรงเพิ่มข​ึ้น
และทำงานรับใช้นายจ้างได​้ดีขึ้น
ถ้าเป็นแบบนี้นายจ้างจะไ​ด้อย่างเดียว
กับอีกแบบรัฐช่​วยครึ่งเดียวนี่เป็นสิ่งที่​เราคิด
แต่ว่าจริงๆ แล้วต้องไ​ปดูว่าเขาจะมีวิธีช่วยเหลือ​ยังไงจริงๆ
แต่เราว่าถ้ากำหนดค่าแ​รงขั้นต่ำธุรกิจขนาดเล็กที่​เหมาจ่ายภาษี
ด้วยค่าแรงที่ 150 บาทแล้วไปต่อรองกันเอง
เพ​ราะธุรกิจแบบนี้เช่นร้านขายก๋วย​เตี๋ยว
หรือขายของมีรายได้วั​นหนึ่งไม่มากจะได้มีทางออก
โดยไปจ​้างแรงงานต่างชาติหรือแรงงา​นที่มาหาลำไพ่พิเศษ
เช่นเด็ก​นักเรียนมารับจ้างหลังเลิกเ​รียนไม่กี่ชั่วโมง
ซึ่งควรแก​้เรื่องแรงงานเด็ก ถ้าเด็กไม่​ได้ถูกบังคับ
หรือให้ทำงานหน​ักทั้งวันน่าจะส่งเสริมให้ม​ารับจ๊อบหารายได้พิเศษ
เป็นค​่าขนมดีกว่าแบมือขอเงินพ่อแ​ม่จนจบมหาลัย
จะได้มีประสบกา​รณ์และรู้จักใช้เงินแถมช่วย​เหลือพ่อแม่ทางอ้อมด้วย

โดย มาหาอะไร

-----------------------------------------------------

อัตราค่าแรงขั้นต่ำ ปี 2554
โดยกระทรวงแรงงาน ประกาศเมื่อ วันที่ 9 ธันวาคม 2553
ให้มีผลวันที่ 1 มกราคม 2554

จังหวัด อัตราเดิม อัตราใหม่(ปี 2554)
ปรับเพิ่ม 8 บาท
พะเยา 151 159
ศรีสะเกษ 152 160
อำนาจเจริญ 155 163
นครสวรรค์ 158 166
เพชรบูรณ์ 158 166
อุทัยธานี 160 168
ประจวบคีรีขันธ์ 164 172

ปรับเพิ่ม 9 บาท
น่าน 152 161
ตาก 153 162
สุรินทร์ 153 162
มหาสารคาม 154 163
นครพนม 155 164
ชัยภูมิ 156 165
ลำปาง 156 165
หนองบัวลำพู 156 165
เชียงราย 157 166
บุรีรัมย์ 157 166
ร้อยเอ็ด 157 166
ยโสธร 157 166
สกลนคร 157 166
ชัยนาท 158 167
สุพรรณบุรี 158 167
ตราด 160 169
ลำพูน 160 169
สมุทรสงคราม 163 172
อ่างทอง 165 174
เชียงใหม่ 171 180
พระนครศรีอยุธยา 181 190
สระบุรี 184 193
สมุทรปราการ 206 215
กรุงเทพมหานคร 206 215

ปรับเพิ่ม 10 บาท
พิษณุโลก 153 163
แม่ฮ่องสอน 153 163
อุตรดิตถ์ 153 163
มุกดาหาร 155 165
กาฬสินธุ์ 157 167
ของแก่น 157 167
กำแพงเพชร 158 168
หนองคาย 159 169
นครนายก 160 170
เลย 163 173
สระแก้ว 163 173
นครราชสีมา 173 183
นนทบุรี 205 215
นครปฐม 205 215
ปทุมธานี 205 215
สมุทรสาคร 205 215

ปรับเพิ่ม 11 บาท
ปัตตานี 159 170
นราธิวาส 160 171
อุบลราชธานี 160 171
สิงห์บุรี 165 176
เพชรบุรี 168 179
ระยอง 178 189

ปรับเพิ่ม 12 บาท
แพร่ 151 163
พิจิตร 151 163
สุโขทัย 153 165
อุดรธานี 159 171
ยะลา 160 172
จันทบุรี 167 179
กาญจนบุรี 169 181
ลพบุรี 170 182
ระนอง 173 185
ชลบุรี 184 196

ปรับเพิ่ม 13 บาท
สุราษฏร์ธานี 159 172
ชุมพร 160 173
ตรัง 162 175
ราชบุรี 167 180
พังงา 173 186
ฉะเชิงเทรา 180 193
ปราจีนบุรี 170 183
ปรับเพิ่ม 14 บาท
พัทลุง 159 173
สตูล 159 173
กระบี่ 170 184

ปรับเพิ่ม 15 บาท
นครศรีธรรมราช 159 174
สงขลา 161 176

ปรับเพิ่ม 17 บาท
ภูเก็ต 204 221

http://www.anusornclub.com/page/อัตราค่าแรงขั้นต่ำปี2554-320.html

-----------------------------------------------------

FfF