บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


05 กันยายน 2554

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง กองทุนมั่งคั่ง >>>

รมว.คลังเขียนบทความแจงประเด็น "กองทุนมั่งคั่ง" เชื่อช่วยแก้ปัญหาแบงค์ชาติขาดทุน 4 แสนล้านบาท
วันที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 08:00:00 น.

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ได้เขียนบทความในลักษณะถาม-ตอบชื่อ "ตอบคำถามบางเรื่องเกี่ยวกับกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ" ในหน้าเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

1 การนำเงินทุนสำรองไปลงทุนแบบกองทุนมั่งคั่งของชาติจะมีความเสี่ยงหรือไม่

ต้องยอมรับว่าการลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยงทั้งนั้น เช่นสมมุติให้กู้แก่โครงการรถไฟความเร็วสูงในเอเชีย ลักษณะความเสี่ยงก็อาจเกิดจากจำนวนผู้โดยสารมีน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่ก็น่าจะเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เนื่องจากเอเชียเป็นประเทศกำลังพัฒนา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับที่สูง ดังนั้น โครงการใดที่สนองความจำเป็นพื้นฐานถึงแม้หากจะบังเอิญมีปัญหาระยะสั้น แต่ในระยะยาวก็จะมีโอกาสฟื้นได้แน่นอน

แต่อย่าเข้าใจผิดว่าการที่ ธปท. นำเงินทุนสำรองไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและยุโรปดังที่ปฏิบัติอยู่ขณะนี้ไม่มีความเสี่ยงนะครับ เพราะที่แท้จริงมีความเสี่ยงทั้งในด้านราคาที่ขึ้นๆลงๆ และในด้านค่าเงินต่างประเทศที่อ่อนตัวเพราะมีการพิมพ์เงินออกมามากเกินไป

ทั้งนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่าปี 2553 ธปท. มีผลขาดทุนจากดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 117,473 ล้านบาท และยังมีขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์อีก 260,211 ล้านบาท จำนวนเงินที่สูงมหาศาลเช่นนี้คือปัญหาที่ควรจะต้องแก้ไขครับ

2 การนำเงินทุนสำรองไปลงทุนแบบกองทุนมั่งคั่งของชาติเป็นการแทรกแซง ธปท. หรือไม่

ไม่เป็นการแทรกแซง ธปท. ครับ แต่เป็นการช่วยกันคิดเพื่อแก้ปัญหา เพราะ ณ สิ้นปี 2553 ธปท. มีส่วนของทุนติดลบเป็นจำนวนเงินมหาศาล สูงถึง ติดลบ 431,829 ล้านบาท ถ้าเป็นธุรกิจเอกชนก็จะต้องปิดกิจการไปแล้ว นี่ไม่ใช่สี่แสนบาทนะครับ แต่เป็นสี่แสนล้านบาท

ถึงแม้ ธปท. ไม่ได้ขอให้รัฐบาลช่วยตั้งงบประมาณมาช่วยแก้ไขขาดทุนของ ธปท. แต่ทรัพย์สินของ ธปท. ก็เป็นทรัพย์สินของชาติ ซึ่งควรมีการบริหารจัดการให้ดีที่สุด นอกจากนี้ การที่ ธปท. ขาดทุนจำนวนมหาศาลเช่นนี้ ก็ทำให้ ธปท. ไม่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูซึ่งมีอยู่กว่าหนึ่งล้านล้านบาทได้ ทำให้รัฐบาลมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเพื่อกองทุนฟื้นฟูแต่ละปี 50-60,000 ล้านบาท และขณะนี้ ธปท. ก็ได้ขึ้นดอกเบี้ยไปอยู่ในระดับสูง ทำให้ภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลต้องจ่ายให้แก่กองทุนฟื้นฟูต้องสูงขึ้นไปด้วยทุกวัน จึงเป็นภาระต่อนโยบายทางการคลังอย่างมากครับ

3 จำนวนที่จะกันไปเป็นกองทุนมั่งคั่งของชาติควรจะมาจากบัญชีใดใน ธปท.

ผมได้ให้ ธปท. ไปศึกษา โดยในหลักการ จะไม่แตะต้องทองคำและเงินบริจาคของหลวงตา และจะไม่แตะต้องจำนวนที่ต้องใช้หนุนหลังการออกธนบัตร

4 ธปท. จำเป็นต้องกันทุนสำรองสภาพคล่องเอาไว้เท่ากับเงินที่ต่างชาติได้นำมาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรหรือไม่ เพื่อรองรับในกรณีที่ต่างชาติอาจจะขายและนำเงินกลับออกไป

ไม่จำเป็นครับ ต่างชาติที่หากจะรุมกันขายหุ้น ก็จะทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็จะทำให้ต่างชาติชะลอการขายกันเอง ส่วนคนไทยก็ไม่ต้องไปตื่นเต้นกับเขาและคอยรอรับซื้อเมื่อราคาลงต่ำก็พอ

นอกจากนี้ หากต่างชาติรุมกันนำเงินกลับออกไป เงินบาทก็จะอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ธปท. ก็ไม่ควรจะไปฝืนสภาพตลาด ธปท. ควรจะปล่อยให้ค่าเงินปรับลดลงตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทุ่มเงินทุนสำรองเข้าไปรองรับเอาไว้ดังเช่นในปี 2540

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1315072692&grpid=00&catid=&subcatid=

-----------------------------------------------------

วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 16:26:36 น.
"ยิ่งลักษณ์-กิตติรัตน์" ประสานเสียงเบรกตั้ง"กองทุนมั่งคั่ง" บอกไม่ใช่นโยบายเร่งด่วน

เมื่อวันที่ 6 ก.ย.2554 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุม ครม. ถึงกรณีที่นายธีระชัย ภูวนาทนรานุบาล รมว.คลัง ผลักดันเรื่องการตั้งกองทุนมั่งคั่ง ว่า ตอนนี้ยังไม่ได้มีการหารือในรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวเลย เป็นเพียงแนวทางที่ตั้งขึ้นมาเพื่อไปหารือและศึกษาก่อน ยังไม่มีนโยบายในรายละเอียดซึ่งทั้งหมดจะต้องดูข้อกฎหมายและรายละเอียดอีก ครั้ง

เมื่อถามว่าแสดงว่าการแก้ พ.ร.บ.เงินตรานั้นเป็นไปไม่ได้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ได้ลงไปในจุดนั้น ถ้าจะทำทุกอย่างต้องถูกระเบียบหลักเกณฑ์ ข้อกฎหมายและต้องเป็นไปอย่างเปิดเผย เมื่อถามว่ากองทุนดัง กล่าวจะมีขนาดกี่แสนล้านบาท นายกรัฐมนตรี กล่าวปฏิเสธว่า ยังไม่ได้คุยกันเรื่องนี้เป็นเพียงการหารือของรัฐมนตรีที่ไปนั่งหารือกัน เฉยๆ แต่ในระดับนโยบายและฝ่ายบริหารยังไม่ได้พูดคุยกัน ถ้ามีความชัดเจนก็จะชี้แจงให้ประชาชนทราบ

“ยืนยันว่านโยบายการตั้งกองทุนมั่งคั่งนั้น ไม่ได้เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ต้องทำในขณะนี้ เพราะนโยบายเร่งด่วนที่แท้จริงคือการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และภาวะสินค้าซึ่งจะต้องมีการทำเวิร์กช็อปร่วมกัน โดยในที่ประชุม ครม.ได้มอบหมายให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ไปรับไปดำเนินการและหารือกับหน่วยงานส่วนอื่นๆเพิ่มเติมในเรื่องของค่าครอง ชีพว่าจะมีส่วนไหนบ้างที่จะนำมาพิจารณาปรับลดลง

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะบอกให้ รมว.คลังหยุดพูดถึงนโยบายในเรื่องนี้ก่อนหรือไม่เพราะไม่ใช่นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป็นแค่แนวทางการหารือ ซึ่งวันนี้ รมว.คลังก็กลับมาทำในเรื่องของงบประมาณและรายได้ของประชาชนแล้ว เมื่อถามว่าเวลาที่เหมาะสมกับการลงทุนในกองทุนมั่งคั่งควรจะเริ่มลงทุนเมื่อไหร่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าคงอีกนาน ขอหารือและศึกษาเงื่อนไข รายละเอียดทั้งหมดของกองทุนก่อน เพราะขณะนี้ยังไม่รู้ว่ากองทุนดัง กล่าวจะตั้งเป็นประเภทใดเพราะยังไม่ได้ข้อสรุป แต่หลักการต่างๆเราจะทำก็ต่อเมื่อเห็นว่าทุกอย่างเป็นประโยชน์ มีผลตอบแทน และมีความเสี่ยงในระดับที่เราป้องกันได้

เมื่อถามว่าตลาดการเงินทั่วโลกทั่วโลกขณะนี้ยังไม่ใช่ขาขึ้นถือว่าเหมาะต่อการตั้งกองทุนไป ลงทุนหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ก็บอกแล้วว่า ยังไม่ได้บอกว่าเป็นนโยบายเร่งด่วน อยากขอเวลาในการทำงานก่อน วันนี้เป็นเพียงการหารือเบื้องต้นที่ทาง รมว.คลังได้ไปขอรับทราบความคิดเห็นเฉยๆ ซึ่งไม่ใช่สิ่งเร่งด่วนที่จะมาทำในขณะนี้”

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ กล่าวถึงการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่ง ว่า แนวทางในเรื่องกองทุนลักษณะแบบนี้ ตนยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องเป็นกองทุนมั่งคั่ง และจะไม่มีวันใช้แนวทางออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ดังนั้นที่ ส.ว. และ ส.ส. ตั้งข้อสังเกตไว้นั้น ขอให้สบายใจได้เลยว่าจะไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้จากการหารือร่วมกันกับนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ก็มีความเห็นตรงกันว่า การตั้งกองทุนฯไม่ได้มีความสำคัญเร่งด่วนอะไร จึงไม่ปรากฏอยู่ในหัวข้อ 16 นโยบายเร่งด่วน

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า นอกจากจะไม่มีทำในลักษณะออก พ.ร.ก. แล้ว ก็จะไม่มีการแก้ไข พ.ร.บ.เงินตราเช่นกัน เพราะเป็นเรื่องที่ต้องขอความเห็นชอบทั้งสภา ส.ส. ส.ว. และกรรมาธิการ ซึ่งวิธีการนี้ก็ยิ่งไม่เห็นความสำคัญว่าจะต้องมีการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่ง และเมื่อไม่มีความสำคัญขนาดของเงินกองทุนก็น่าจะเล็กกว่าวงเงินในการรับจำนำข้าวเสียอีก

“ผมยืนยันในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจว่า ประเด็นนี้ไม่มีความสำคัญเร่งด่วนอะไร หรือถ้าหากจะมี จะต้องเกิดจากการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดจากการร่วมมือกันเป็นอย่างดี รวมถึงการปรึกษาหารือให้ครบถ้วนทุกกระบวนการ นั่นหมายถึงต้องปรึกษากับฝ่ายนิติบัญญัติด้วย”

นายกิตติรัตน์ กล่าวต่อว่า การจัดตั้งกองทุนมั่งคั่ง ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้เงินจากธนาคารกลางของประเทศ (ธ.ป.ท.) เท่านั้น ถ้าเขาไม่พร้อมหรือไม่อยากทำ ก็อย่าไปบังคับ และต้องถามกลับกันว่ากองทุนมั่งคั่งในโลกนี้ ก็มีอีกหลายรูปแบบ จะเป็นกองทุนโดยธนาคารกลางของประเทศนั้นๆก็ได้ หรือเป็นกองทุนในลักษณะการระดมเงินจากภาครัฐ ภาคเอกชน เหมือนกองทุนวายุภักษ์ ก็ยังเป็นไปได้ในทางทฤษฎี

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1315300966&grpid=00&catid=no

-----------------------------------------------------

วันที่ 7 กันยายน 2554 08:08
'ธีระชัย'ถอยกองทุนมั่งคั่งหลัง'ยิ่งลักษณ์-กิตติรัตน์'เบรก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

'ธีระชัย'ถอยกองทุนมั่งคั่งหลัง'ยิ่งลักษณ์-กิตติ รัตน์'ติดเบรกอ้างไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนและต้องหารืออย่างละเอียด ยันหากธปท.ไม่พร้อม'อย่าบังคับ'

นายธีระชัย ภูวินาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แนวโน้มจะเห็นสอดคล้อง กับนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ว่าไม่ควรรีบร้อนในการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่ง โดยกลางดึกของวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่าน รมว.คลัง ได้เขียนแสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ตัวเอง Thirachai Phuvanatnaranubala ระบุว่า

"เรื่องกองทุนมั่งคั่ง ผมดู feedback แล้วว่ามีความเห็นที่แตกต่างหลากหลายมากจริงๆ ดังนั้น ผมจึงจะต้องรับฟังรอบด้าน และจะไม่รีบร้อนครับ จะดำเนินการแนวใดก็จะนำประเด็นที่มีการทักท้วงและสนับสนุนมาพิจารณาด้วย อย่างรอบคอบ"

ขณะที่หลังการประชุม คณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้(6ก.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. วานนี้ ยังไม่ได้หารือเรื่องการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ตามนโยบายของนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่อย่างใด และเป็นเพียงแนวทางที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ไปหารือและศึกษาก่อนเท่านั้น ทั้งหมดต้องดูข้อกฎหมายและรายละเอียดอีกครั้ง โดยยืนยันว่าหากจะทำทุกอย่างถูกต้องตามระเบียบหลักเกณฑ์ ข้อกฎหมายและต้องเป็นไปอย่างเปิดเผย

"เรื่องการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งนี้ เป็นเพียงการหารือของรัฐมนตรีที่ไปนั่งหารือกันเฉยๆ แต่ในระดับนโยบายและฝ่ายบริหารยังไม่ได้หารือกัน ถ้ามีความชัดเจนต้องชี้แจงให้ประชาชนทราบ ที่สำคัญ ยังไม่ใช่นโยบายเร่งด่วน จึงต้องขอเวลาในการทำงานก่อน วันนี้เป็นเพียงการหารือเบื้องต้น ที่รัฐมนตรีคลังได้ไปขอรับทราบความคิดเห็นเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งเร่งด่วนที่จะมาทำในขณะนี้" นางสาวยิ่งลักษณ์กล่าว

ชี้ใช้เวลาอีกนาน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคงใช้เวลาอีกนาน เพราะต้องหารือและศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดของกองทุนให้ชัดเจน ยืนยันว่าจนถึงเวลานี้ยังไม่มีข้อสรุป โดยมีหลักการที่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะดำเนินการก็ต่อเมื่อเห็นว่าทุกอย่างเป็น ประโยชน์ มีผลตอบแทนและมีความเสี่ยงในระดับที่ป้องกันได้ และจนถึงขณะนี้ รมว.คลังได้กลับมาดำเนินการในเรื่องของงบประมาณ และรายได้ของประชาชนแล้ว

"กิตติรัตน์" ยันไม่ใช่นโยบายเร่งด่วน
ด้านนาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในฐานะรองนายกฯ ที่เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ยืนยันว่า การตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่ง ชาติไม่มีความสำคัญเร่งด่วน เรื่องนี้จึงไม่ได้ปรากฏอยู่ใน 16 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล หรือหากจะมีการจัดตั้งเกิดขึ้นจริง ก็ต้องเกิดจากการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดจากการร่วมมือกันเป็นอย่างดี รวมถึงการปรึกษาหารือให้ครบถ้วนทุกกระบวนการ นั่นหมายถึง ต้องปรึกษากับฝ่ายนิติบัญญัติด้วย

"แนวทางในเรื่องกองทุนลักษณะแบบนี้ขอยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องเป็นกองทุนมั่งคั่ง และจะไม่มีวันใช้แนวทางออกพระราชกำหนด หรือ พ.ร.ก.ดังนั้น การที่ ส.ว. และ ส.ส. ตั้งข้อสังเกตไว้ขอให้สบายใจได้เลยว่าจะไม่เกิดขึ้นแน่ ขณะเดียวกัน จะไม่มีการแก้ไข พ.ร.บ.เงินตราเช่นกัน เพราะเป็นเรื่องที่ต้องขอความเห็นชอบทั้งสภา ส.ส. ส.ว. และกรรมาธิการ ซึ่งวิธีการนี้ยิ่งไม่เห็นความสำคัญว่าจะต้องมีการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่ง และเมื่อไม่มีความสำคัญขนาดของเงินกองทุนก็น่าจะเล็กกว่าวงเงินในการรับจำนำข้าวเสียอีก" นายกิตติรัตน์กล่าว

ชี้หากตั้งไม่ต้องใช้ทุนสำรอง
สำหรับแนวทางการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งนี้ ยอมรับว่าในต่างประเทศมีการจัดตั้งเกิดขึ้น และมีทั้งกรณีที่เป็นกองทุนของธนาคารกลางของประเทศต่างๆ และเป็นกองทุนของหน่วยงานอื่น ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นต้องนำเงินมาจากทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงแหล่งเดียว เพราะยังมีจากแหล่งอื่นที่สามารถนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนได้ หากต้องการดำเนินการจริงๆ

"หากหน่วยงานใดไม่พร้อมจะดำเนินการ ก็อย่าไปบังคับให้ทำ และถ้าไม่สบายใจ ก็อย่าทำเลยดีกว่า เพราะยังมีงานอื่นที่เร่งด่วนและสำคัญกว่า ที่สำคัญ ยังมีกองทุนอื่นที่เห็นว่าเป็นกองทุนมั่งคั่ง เช่น กองทุนวายุภักษ์ที่จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงการคลัง โดยระดมเงินมาจากประชาชนก็สร้างความมั่งคั่งให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน" นายกิตติรัตน์กล่าว

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20110907/408271/ธีระชัยถอยกองทุนมั่งคั่งหลังยิ่งลักษณ์-กิตติรัตน์เบรก.html

-----------------------------------------------------

<<< เงินทุนสำรอง อย่าไปยุ่ง มันไม่ใช่เงินเย็นอย่างที่เข้าใจ ถ้าอยากจะยุ่งควรแบ่งไปซื้อเงินหยวนไว้ดีกว่าเสี่ยงน้อยสุด >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/08/blog-post_19.html

-----------------------------------------------------


FfF