พอดีไปเจอข่าวคนแบงค์ชาติออกมาระบุไม่เห็นด้วย
ที่จะให้นำเงินทุนสำรองไปลงทุน ซึ่งกรณีนี้เราเห็นด้วย
เพราะเงินทุนสำรองนี้มันเงินร้อนไม่ใช่เงินเย็น
นำไปลงทุนในอุตสาหกรรม ถ้าวันไหนเกิดจำเป็นต้องใช้
จะหาที่ไหนไม่ต้องไปขอกู้จาก IMF อีกหรือ
ที่บอกว่ามันเป็นเงินร้อนไม่ใช่เงินเย็น ก็เพราะว่า
เวลาต่างชาติขนเงินเข้าไทยเพราะกลัวดอลล่าห์อ่อน
ก็เอาดอลล่าห์แลกบาทถือเงินบาทไว้
ส่วนทางไทยถือดอลล่าห์
ดอลล่าห์นั้น จะกลายเป็นเงินทุนสำรองไปในตัว
เข้ามาแบบนี้เยอะๆ เมื่อไหร่
เงินบาทก็จะแข็งขึ้นเขาจะได้กำไรส่วนต่าง
มีเข้ามาเยอะๆ จะมาฟันกำไรกลับบ้านเขาในตอนจบ
และวันไหนเขาตกใจวันเดียวหรืออยากจะฟันกำไร
เขาหาเรื่องขายบาทซื้อดอลล่าห์
ถ้าไม่มีพอให้เขาก็ต้องไปขอกู้ IMF
แลกกับการเข้าโปรแกรม IMF
มันก็ไม่ต่างอะไรกับตอนโดนโจมตีค่าเงิน
ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 เลย
อีกอย่างการคิดไปลงทุนธุรกิจน้ำมันช่วงนี้
เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ได้แย่มาก
เพราะอีก 5 ปี โลกก็กำลังหันหลังให้น้ำมัน
หันไปใช้น้ำเป็นเชื้อเพลิงแทนกันหมดในอนาคต
ราคาน้ำมันก็มีแต่ถูกลงมากกว่า
เพราะมีพลังงานทดแทนราคาถูกใช้แทน
เข้าไปดูโฉมหน้ารถต้นแบบที่รอการผลิตในอีก 5 ปีข้างหน้า
โลกกำลังจะเปลียนไป อาหรับกำลังจะหลับ
หรือไม่ก็เกิดสงครามมากขึ้น
น้ำมันกำลังหมดราคา ดันทุรังไปลงทุนด้านนี้เพิ่ม
เฮ้อ วิสัยทัศน์
<<< โครงสร้างราคาน้ำมันที่ไม่เป็นธรรม นำมาซึ่งปัญหามากมาย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/05/blog-post_24.html
การลงทุนระยะยาวก็น่าจะเข้าใจสถานการณ์หลายปีข้างหน้า
ลงทุนไปทำไมในเมื่ออนาคตเขากำลังเลิกใช้หันไปใช้น้ำแทน
และประเทศที่จะรวยเพิ่มมากขึ้นก็คือ
ประเทศรัสเซีย เพราะมีแหล่งทองคำขาวมากที่สุดที่ไซบีเรีย
ทองคำขาวที่ว่าก็คือหิมะหรือก้อนน้ำแข็ง
พูดวันนี้บางคนอาจขำ ขายน้ำแข็งเนี้ยะน่ะ
ครับอนาคตโลกจะพึ่งน้ำมากสุดๆ
ประเทศไหนมีเยอะประเทศนั้นก็สบาย
ส่งขายต่างประเทศได้อีก
หิมะที่ไซบีเรียมีเยอะมากมายใช้ได้อีกยาวนาน
นอสตาดาโม้ มาทำนายเองเลย
ห้ามเชื่อก่อนใช้สติพิจารณาไตร่ตรองอีกรอบ อิอิ
ส่วนก๊าซธรรมชาติอันนี้ก็น้ำแทนได้อีกนั่นแหล่ะ
และเดี๋ยวนี้แก๊สเริ่มจะเลิกใช้ตามบ้านแล้ว
อนาคตเขาจะหันมาใช้เตาไฟฟ้าแม่เหล็กเพิ่มมากขึ้น
ก็เหลือเรื่องวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตไฟฟ้า
อันนี้คงต้องมาคิดกันอีกที แต่โรงไฟฟาพลังงานนิวเคลียร์อะไร
ไม่เอาเด็ดขาดเหมือนมีระเบิดเวลาอยู่ในประเทศ
เกิดระเบิดเกิดรั่วไหลเกิดสงครามทำให้รั่วไหล
จะเหมือนรัสเซียและญี่ป่นตอนนี้
รัสเซียใช้เวลานับสิบปี กรณีโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลรั่วไหล
ญี่ป่นก็คงอีกหลายปี ทำให้เกิดโรคและความตื่นตระหนก
ว่ามีสารกัมตภาพรังสีปนเปื้อนในอาหารทั้งผักทั้งสัตว์ที่เลี้ยงขาย
เกิดปัญหาเศรษฐกิจมากมายตามมา
และชื่อเสียงของสินค้าเสียหายทั้งประเทศ
แล้วไทยเป็นประเทศผุ้ผลิตสินค้าเกษตร
ลองนึกสภาพดูวันไหนเกิดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์รั่วไหล
สินค้าเกษตรมากมายจะโดนแบนหลายปี
ขนาดประเทศเจริญแล้วมีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อม
ประชาชนมีความรับผิดชอบ ยังแย่ในการรับมือหรือทำให้เกิดเรื่องขึ้น
ดังนั้นค้านหัวชนฝา ถ่านหินมีมลพิษก็จริง
แต่ยังไม่ร้ายแรงเท่าและจะไม่ถูกค้าน
ถ้าใช้วิธีไปตั้งโรงงานผลิตบนเกาะเล็กๆ
ที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวในย่านนั้น
ผลิตได้กระแสไฟฟ้าเสร็จแล้วค่อยส่งตามสายมา
น่าจะมีเสียงค้านน้อยกว่า ถ้าเกาะนั้นไม่มีแหล่งธรรมชาติมาก
แต่เท่าที่เห็นก็มีปัญหาเรื่องปล่อยสารมลพิษ
ทำให้ชาวบ้านใกล้เคียงป่วยแลพืชผลทางการเกษตรเสียหาย
สรุปหนุนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้เต็มที่
พลังงานลมให้ตั้งกันเสรีรวมไปถึงพลังงานแสงอาทิตย์
ให้รายย่อยผลิตไฟฟ้าขายแข่งกันในตำบลอำเภอได้ก็ช่วยได้เยอะ
ไม่จำเป็นต้องอิงกับ กฟผ. อย่างเดียว
หรือจะสกัดจากน้ำคือสารไฮโดรเจน
สามารถจุดไฟได้ รวมไปถึงก๊าซชีวภาพ
จากมูลสัตว์และคน น่าสนับสนุนทำป็นล่ำเป็นสันด้วย
วกกลับมาเรื่องเงินทุนสำรองอีกที
ควรแบ่งนำเงินทุนสำรองไปซื้อเงินหยวนเก็บไว้บ้าง
ดีกว่าซื้อทองคำหรือนำไปลงทุนในอุตสาหกรรมใดๆ
และควรสนับสนุนให้เงินหยวนเป็นสกุลเงิน
ที่สามารถค้าขายระหว่างประเทศได้ในตัว
โดยไม่อิงกับเงินดอลลาห์มากเกินไป
แนวคิดนำเงินทุนสำรองมาใช้ลงทุน
หม่อมเต่าและคนแบงค์ชาติบางส่วน
คิดมาหลายเดือนแล้ว
เลียนแบบหลายประเทศเช่นเกาหลี
แต่พอรมต.พลังงาน รัฐบาลยิ่งลักษณ์
บอกจะนำไปลงทุนด้านพลังงาน
ก็ออกมาค้านว่าไม่ควรนำไปใช้ สรุปพอกัน
อันที่จริงเราจะไปหวังพึ่งคนที่ทำธุรกิจไม่เป็น
เก่งแต่ค้าเงิน ซึ่งก็ไม่เก่งจริงเห็นเจ๊งมาหลายรอบแล้ว
ไปลงทุนทำธุรกิจ ขนาดธนาคารใหญ่ๆ
หลังเกิดวิกฤตยังลดบทบาทเข้าไปบริหารธุรกิจอื่น
ที่ตนเองไม่ถนัดเลย จึงไม่เห็นด้วย
ถ้าจะนำเงินทุนสำรองไปลงในอุตสาหกรรมทุกประเภท
แม้จะเป็นในรูปกองทุนเอกชนก็ตาม
เพราะเหมือนเอาเงินที่ทำให้เกิดความเสี่ยง
ของคนทั้งประเทศ ไปฝากไว้กับคนบริหารกองทุนไม่กี่คน
และถ้าคนในกองทุนนั้นฉ้อโกง หมกเม็ด
หรือทำตามใจนักการเมืองแบบไม่กล้าค้าน
จะเกิดอะไรขึ้นกับเงินที่นำไปลงทุน
และนักการเมืองก็สับเปลี่ยนกันมาบริหารประเทศตลอด
จะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าอนาคต
จะมีนักการเมืองที่ดีไม่แทรกแซง
หรือเข้าไปหาผลประโยชน์ในกองทุนดังกล่าว
ทั้งทางตรงและทางอ้อมจนกองทุนนั้นเจ๊ง
หรือไม่เจ๊งแต่นักการเมืองรวยอะไรแบบนั้น
ยกเว้นว่าจะแบ่งบางส่วนไปลงทุน
ถือเงินหยวนแทนเงินสกุลดอลล่าห์
ซึ่งดีกว่าถือทองคำเพราะราคาสูงแล้วตอนนี้
โอกาสลดลงในช่วงสั้นๆ มีสูงกว่า
และต้องเสียค่าดูแลรักษาอีกทุกปี
แต่เงินหยวนแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้น
หรือไม่ก็เท่าเดิม โอกาสเสี่ยงน้อยกว่า
และหลายประเทศเริ่มสนุบสนุนให้ใช้เงินหยวน
เป็นสกุลเงินหลักในการค้าขายกับต่างประเทศแล้ว
ถึงได้บอกให้ตรึงค่าเงินบาทติดกับเงินหยวน
จีนเจ๊งเราก็เจ๊งด้วยแต่ถ้าจีนเจ๊ง
คิดว่าประเทศอื่นไม่เจ๊งหรือ
และจีนมีทุนสำรองสูงปกป้องตนเองได้
และอนาคตโลกจะหันมาหาเงินหยวน
มากกว่าเงินดอลล่าห์ที่กำลังจะไร้ราคา
ในช่วงเวลาไม่กี่ปีต่อจากนี้ อนาคตค่อยว่ากันต่อ
<<< อนาคตประเทศไทย ต้องผูกค่าเงินบาทกับเงินหยวน >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_9500.html
ตอนนี้พี่ไทยนำเข้าทองคำมากติดอันดับโลก
ก็เพราะแบงค์ชาติหันมาถือทองคำกะเขาด้วย
ทำให้คนหันมาเก็งกำไรราคาทองกันมากขึ้น
ทำให้ทองราคาขึ้นไปมากตามไปด้วย
แต่การเล่นทองที่ไม่ให้ดอกเบี้ย
ได้แต่ส่วนต่างกำไรถ้ามันสูงกว่าเดิม
แถมไม่มีความคล่องตัวในการนำไปใช้จ่าย
และส่วนใหญ่ที่ไปซื้อคือเงินเย็น
ที่จะซื้อทองเก็บไว้นานๆ หลายๆ ปี
เท่ากับว่าปริมาณเงินหายไปจากระบบมากมาย
แทนที่จะนำมากระตุ้นเศรษฐกิจได้เพิ่ม
สู้ไปถือเงินหยวนเวลาเกิดต้องการใช้เงิน
ก็แลกเป็นดอลลาห์ได้ง่าย
ไม่เหมือนการไปลงทุนในอุตสาหกรรม
ที่เงินจะจมอยู่ๆ วันสองวันเดือนสองเดือน
จะเปลี่ยนอุตสาหกรรมกลับมาเป็นเงินสด
เพื่อนำเงินไปใช้ต่อไป
ยากกว่าเปลี่ยนพันธบัตรเป็นเงินสดหลายเท่าเสียอีก
ต้องใช้เวลามาก สู้ถือเงินสกุลที่ดูแล้วไม่เสี่ยง
หรือเสี่ยงก็น้อยกว่าสกุลดอลลาห์ที่กำลังจะอ่อน
จนไปแตะใกล้แถวๆ 25 บาทต่อดอลลาห์ในไม่ช้าแน่นอน
จะทำให้สูญเสียความมั่งคั่งไปเยอะ
ถ้าสนุบสนุนให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลหลัก
ในการค้าขายต่างประเทศเช่นเดียวกับดอลลาห์
การแบ่งเงินทุนสำรองจากดอลลาห์มาถือหยวน
นอกจากเสี่ยงน้อยแล้ว ยังใช้เป็นทุนสำรองได้โดยอัตโนมัติ
คือถึงไม่นับเป็นทุนสำรองอย่างทางการแต่มันก็เป็นในตัว
เวลาเศรษฐกิจดีเอกชนต้องการซื้อเครื่องจักรมาลงทุนเพิ่ม
แทนที่จะแลกเป็นเงินดอลลาห์ไปซื้อก็จ่ายเป็นเงินหยวนแทน
สามารถต่อรองคุยกับประเทศผู้ผลิตได้
เพราะถ้าประเทศเล็กๆ อย่างไทยเขายังเชื่อมั่นในเงินบาท
ประเทศใหญ่ๆ อย่างจีนมีใครไม่เชื่อมั่นเงินหยวน
ยิ่งประเทศที่กำลังประสบปัญหาอย่างอเมริกา
คนยังเชื่อมั่นถือดอลลาห์อยู่ได้
เงินเหยวนก็ไม่น่ามีปัญหาในด้านความเชื่อมั่น
ถ้าทำแบบนี้ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่นับรวมเป็นทุนสำรอง
แต่ในทางปฏิบัตินับรวมได้แน่นอน
<<< สหรัฐฯปฏิเสธข้อเรียกร้องจีน-รัสเซีย ที่ให้ใช้ SDR แทนดอลลาร์ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/03/msgstatusmsv0-0-sdr-0921.html
สรุปว่าเงินทุนสำรองชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า
ต้องมีเงินทุนสำรองเอาไว้ยามฉุกเฉิน
มีไม่พอวันไหนก็เข้า IMF กันอีกรอบเท่านั้น
เพราะต้องไปกู้เงินจากที่อื่นมาใช้
ส่วนใหญ่กู้มากๆ ก็ไม่พ้นไปหา IMF
แต่ต้องทำตามโปรแกรมยาขม IMF เหมือนช่วงปี 40
ดังนั้นการสำรองเงินทุนให้อยู่ในรูปพร้อมใช้ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเกิดจากการตื่นตะหนกอะไรของต่างชาติ
ที่ขนเงินเข้ามาและพร้อมจะขนกลับทันที
ก็ยังมีเงินทุนสำรองใช้คืน
ไม่รวมหนี้ต่างประเทศอีกนับแสนล้านดอลลาห์ที่ต้องจ่าย
ไม่รวมภาระเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
อีกหลายหมื่นล้านดอลลาห์
เงินที่ว่างจากการสำรองจ่ายได้เต็มที่จริงๆ
ผมว่าเหลือไม่กี่หมื่นล้านจากเกือบสองแสนล้าน
มันภาพลวงตาทั้งนั้นแหล่ะ
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ข้อมูลเศรษฐกิจยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/08/blog-post_09.html
โดย มาหาอะไร
------------------------------------------------------
ประธานบอร์ดธปท.เตรียมนำทุนสำรองลงในตราสารทุนที่ดี
วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2011
“หม่อมเต่า” ประธานบอร์ด ธปท.มีแนวคิดที่จะจัดตั้งบริษัท โดย ธปท.ถือหุ้น 100% เพื่อนำทุนสำรองฯ ไปลงทุนในตราสารทุนที่ดี ซึ่งทำให้มีอัตราผลตอบแทนดีกว่าในปัจจุบัน
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แนวทางการนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปขยายการลงทุนเพิ่มนั้น มีหลายแนวทาง แต่คิดว่าควรใช้วิธีที่หลายประเทศทำ ซึ่งง่าย คือใช้ในรูปบริษัทจำกัด
“แนวคิดที่จะขยายการลงทุนของเงินทุนสำรองฯ เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มอัตราผลตอบแทนการลงทุนให้สูงขึ้น จากปัจจุบันที่จะลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับต่ำ ขณะที่ต้นทุนการดูแลเงินบาทในปัจจุบันของธปท.เพิ่มสูงขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่อยู่ในขาขึ้น”
ปัจจุบันเมื่อ ธปท.เข้าดูแลเงินบาทโดยการซื้อดอลลาร์เพื่อชะลอไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป ส่งผลให้เงินทุนสำรองฯเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธปท.จะต้องออกพันธบัตรไปดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินที่เกิดจากการซื้อดอลลาร์กลับคืนมาด้วยทำให้ธปท.มีภาระต้นทุนในการจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตร
แนวทางการนำทุนสำรองฯไปลงทุนเพิ่มนั้น จะต้องระบุเงื่อนไขด้วยว่าบริษัทที่ตั้งขึ้นมาดังกล่าว จะสามารถลงทุนอะไรได้บ้าง โดยตราสารทุนที่จะลงทุน ต้องมีความมั่นคงและมีความเสี่ยงอยู่ในขอบเขตที่รับได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะเป็นดุลยพินิจของกรรมการธปท.ที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ให้บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้น
"ตราสารทุนมีเป็นหมื่นๆ ชนิด ตราสารหนี้ก็มีเป็นหมื่นๆ ชนิด อย่าไปลงชนิดที่ไม่ดี เราจำกัดอยู่แค่ให้ได้เงินปันผล ซึ่งให้มันดีกว่าดอกเบี้ย เอาอันที่ safe หรือที่มี growth" ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าว จะต้องมีธปท.ต้องถือหุ้นอย่างน้อย 99.99% และมีคณะกรรมการบริหาร ซึ่งมีคนของธปท.และกระทรวงการคลังร่วมเป็นกรรมการ ต้องมีการตั้งเงื่อนไขที่ทำให้ประชาชนมั่นใจว่าจะมีการบริหารที่ดี คือ จะต้องปลอดจากแรงกดดันทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ยังต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียดอีกระยะหนึ่ง เพื่อความรอบคอบและต้องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของรัฐบาลใหม่ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายเดิม
"อาจอีก 1-2 เดือนถึงจะมีความชัดเจน ระหว่างที่เลือกตั้งอยากจะทำเรื่องเทคนิคเคิลดีเทลให้เสร็จ อย่างน้อยก็ในแบงก์ชาติกันเองกับกระทรวงการคลัง แล้วพอมีรัฐมนตรีใหม่ จะได้มีอะไรให้ดูเพราะความจำเป็นเริ่มมีแล้ว ตอนนี้ขาดทุนอยู่แยะเหมือนกัน"
ทั้งนี้ แนวคิดที่จะขยายการลงทุนของเงินทุนสำรองฯ ยังมีแนวทางอื่นๆ ด้วย เช่น การเขียนพ.ร.บ.ใหม่ทั้งฉบับสำหรับการตั้งกองทุน Sovereign Wealth Fund แต่แนวทางนี้อาจจะต้องใช้เวลานาน และกองทุนดังกล่าวจะเป็นเหมือนองค์กรอิสระ ไม่ได้อยู่ภายใต้ธปท.
http://www.kaohoon.com/daily/index.php?option=com_content&view=article&id=10869&Itemid=122
------------------------------------------------------
แบงค์ชาติเตรียมตั้งบริษัทดูแลทุนสำรองที่จะไปลงทุนตปท.
ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมการจัดตั้งบริษัทจำกัดเพื่อนำเงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศส่วนหนึ่งเพื่อนำไปลงทุนในหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดี โดยได้รุปแบบจากเกาหลี พร้อมกับคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า ผู้บริหารของธปท.ยอมรับในหลักการนำทุนสำรองบางส่วนไปลงทุนภายใต้โครงสร้างบริษัทจำกัดแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งจะแก้ไขกฎหมายให้สามารถไปลงทุนในหุ้นได้ด้วย ต่อจากนี้ไปฝ่ายบริหารธปท. จะหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ดูแลภาคการเงินเพื่อกำหนดระเบียบต่างๆ ของบริษัทจำกัดดังกล่าว คาดว่าในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าจะได้ข้อสรุปและนำเรื่องนี้เสนอต่อรมว.คลังคนหใม่นำไปพิจารณาต่อไป
พร้อมทั้งกล่าวอีกว่า คงไม่ใช่โครงสร้างแบบกองทุนความมั่นคงแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund :SWF ) ซึ่งตัดทุนสำรองออกไป ตั้งเป็นกองทุนใหม่และจ้างคนนอกบริหาร เพราะเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายประเทศที่มีกองทุนลักษณะนี้ แต่มองว่าโครงสร้างดีที่สุด ควรเป็นแบบบริษัทจำกัดที่หลายประเทศดำเนินการอยู่แล้วและตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศเกาหลีที่ประสบความสำเร็จอย่างมากและธปท.ก็ศึกษาโครงสร้างนี้กว่า 1 ปีแล้ว
ทั้งนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทำการศึกษาไว้ 3 รูปแบบคือ 1 ยกร่างกฎหมายพิเศษใหม่ทั้งฉบับ โดยมีลักษณะเหมือนกับกองทุนความมั่นคั่งแห่งชาติ แยกนำทุนสำรองฯไปลงทุนและไม่อยู่ภาตใต้ธปท.แต่อาจมีปัญหาในการบันทึกกำไรขาดทุนจากการบริหารว่าไม่ควรบันทึกลงทันทีเพราะต้องสำรองไว้ในส่วนการค้าการลงทุนด้วย 2 แก้ไขกฎหมายมาตราเดียวให้ธปท.สามารถเข้าไปซื้อหุ้นได้ แต่อาจติดประเด็นในบทบาทหน้าที่ของธปท. 3 แก้ไขกฎหมายมาตราเดียวที่ปัจจุบันห้ามไม่ให้ลงทุนในหุ้นก็เพิ่มข้อความไปว่ายกเว้นบริษัทจำกัดที่สามารถเข้าไปซื้อหุ้นได้หากมีความจำเป็นซึ่งมองว่าเป็นโครงสร้างดีที่สุดในขณะนี้
โดยทางผู้บริหารธปท. ได้ออกมากล่าวว่าเป็นการบริหารและยังกระจายความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยในแต่ละช่วงผลตอบแทนของตราสารหนี้และคราสารทุนอาจสวนทางกัน ซึ่งจะเป็นการดีกว่าที่จะลงทุนในรูปแบบใดแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว
บริษัทที่ดำเนินการบริหารทุนสำรองของเกาหลีใต้คือ Korea Investment Corporation หรือ KIC โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 ก.ค. 2005 ซึ่งได้ขยายการเข้าไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ จนล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2010 ทางบริษัท KIC ได้เข้าไปเปิดสำนักงานในนครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ที่มา : ผู้จัดการ
http://www.siamintelligence.com/bot-prepare-to-establish-reserve-corperate/
------------------------------------------------------
ธปท.เร่งพัฒนาตลาดทุน เปิดทางให้ซื้อขายดอลลาร์บาทล่วงหน้าใน Q3
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มิถุนายน 2554 23:15 น.
ผู้ว่าแบงก์ชาติเห็นพ้องเร่งสร้างนักลงทุนข้ามชาติของไทย พัฒนาตลาดเงินตลาดทุนในกว้างและลึกขึ้น กำหนดแนวทางเปิดแผนแม่บทงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ไตรมาส 4 ปีนี้ รวมถึงจ่อเพิ่มวงเงินให้กองทุนไทยไปลงทุนนอกเพิ่มขึ้น เปิดทางให้ซื้อขายดอลลาร์บาทล่วงหน้าในไตรมาส 3 ปีนี้ และใจกว้างให้บล.ซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเหมือนแบงก์ได้ในปี 2555
เมื่อวานนี้(2มิ.ย.) สภาธุรกิจตลาดทุนไทยร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนาตลาดทุนกับการเพิ่มการขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย...ภายใต้รัฐบาลใหม่
โดยนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวภายในงานสัมมนาหัวข้อ "มุมมองตลาดทุนกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ"ว่า การเปิดเสรีการเงินและตลาดทุนมากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงกับภูมิภาคจะต้องมีความระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากอาจส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีโอกาสได้รับผลกระทบจากปัจจัยโลกได้มากขึ้น และหากเศรษฐกิจโลกติดเชื้อโรค ก็มีความเป็นไปได้มาที่เศรษฐกิจไทยจะติดเชื้อโรคไปด้วย เห็นได้ชัดจากการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายและกระแสเงินทุนมีความผันผวนสูงขึ้นมาก และมีความเสี่ยงที่จะต่อการเสียเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ การพัฒนาความกว้างและความลึกของตลาดเงินและตลาดทุนต้องไปด้วยกัน เพราะตลาดทุนที่มีกว้างและลึกนั้น จะช่วยดูดซับเงินทุนต่างประเทศที่เข้ามาได้ และช่วยให้การไหลออกของเงินไม่รวดรเร็วอย่างที่เป็นอยู่ โดยแนวทางการเพื่อพัฒนาตลาดเงินของไทยในมีความกว้างและลึกขึ้น ได้แก่ 1.ธปท.จะออกแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศออกมาในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ซึ่งจะเป็นแผนที่จะช่วยดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท และเสถียรภาพของเงินทุนเคลื่อนย้าย และส่งเสริมให้มีการออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น
2.มีการเตรียมเครื่องมือที่ดีขึ้น ในการช่วยดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวน โดยธปท.มีความพร้อมที่จะเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทได้ในระดับที่เหมาะสม 3.พยายามที่จะมีการแก้กฏหมาย หรืกฎเกณฑ์บางอย่างที่ทำให้การไหลเข้าของเงินทุนและไหลออกของเงินทุนที่มีความสมดุลกันมากขึ้น โดยในส่วนของโควตาที่ให้ก.ล.ต.ไปอนุมัติให้กองทุนต่างๆสามารถไปลงทุนในหุ้น และตราสารหนี้ของต่างประเทศได้นั้น อีกไม่นานจะเพิ่มโควตาให้อีกให้มากกว่าวงเงินเดิม 50,000 ล้านเหรียญฯ อย่างแน่นอน ซึ่งกองทุนเองก็ต้องมีความพร้อม-ความรู้เพื่อนำไปลงทุนอย่างเหมาะสม เพราะที่ผ่านมามีเพียงการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศต่างๆ เท่านั้น
4.พยายามสร้างระบบที่ช่วยดูดซับเงินทุนเคลื่อนย้ายให้ดีขึ้น ซึ่งการสร้างความลึกและกว้างของตลาดทุนไทยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำได้ และ 5.การเพิ่มทางเลือกในการดูแลความเสี่ยงและการแข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายฯ โดยจะเริ่มต้นจากการเปิดทางเลือกให้ตลาดล่วงหน้า สามารถซื้อขายธุรกรรมดอลลาร์- บาทได้ หรือที่เรียกว่า เอฟเอ็กซ์ฟิวเจอร์ หรือการซื้อขายล่วงหน้าสกุลเงิน ซึ่งเป็นอีกทางเลือกในการป้องกันความเสี่ยงของผู้ประกอบการขนาดกลางละขนาดย่อม ส่วนในระยะต่อไป ธปท.กำลังพิจารณาสิ่งที่ตลาดหุ้นอยากได้ คือ การเปิดให้บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)สามารถทำธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในลักษณะเดียวกับธนาคารพาณิชย์ได้ แต่จะต้องพิจารณาความเหมาะสมของสถานการณ์เงินทุนโลก และความพร้อมของบล.ด้วย แต่คาดว่าไม่เกิน 2 ปีจะได้เห็น
อย่างไรก็ตาม ธปท.เห็นด้วยที่สนับสนุนให้เกิดนักลงทุนระดับโลก เพราะในทางปฏิบัติ ธปท.ต้องการให้เกิดการไปลงทุนในต่างประเทศของเอกชนไทยมากขึ้น เพื่อช่วยความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีสูง โดยในช่วงที่ผ่านมานั้น ธปท.ได้เปิดโอกาสโดยให้โควตาการลงทุนในต่างประเทศให้กับกองทุนในประเทศไทยผ่านการอนุญาตของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) จำนวน 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ที่ผ่านมาเนื่องจากความรู้ และความเชื่อมั่นอาจจะมีน้อย ทำให้มีเงินออกไปลงทุนจริง 20,000 ล้านเหรียญฯ เท่านั้น ซึ่งหากมีการให้ความรู้และทำให้นักลงทุนไทยเป็นนักลงทุนข้ามชาติ หรือนักลงทุนระดับโลกจะทำให้การไปลงทุนในต่างประเทศทำได้มากขึ้น
สำหรับกรณีการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งของประเทศนั้น นายประสาร กล่าวว่า จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพราะทุนสำรองฯ ที่เรามีอยู่นั้น ส่วนใหญ่เป็นเงินสำรองที่มาจากเงินทุนไหลเข้า เป็นทุนสำรองที่มีเจ้าหนี้ นอกจากนั้น ในขณะที่หากพิจารณาสัดส่วนการเข้ามาลงทุนในไทยกับการลงทุนของนักลงทุนไทยในต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าควรจะลดลง เพราะเรามีการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น แต่ปรากฎว่ายังมีเงินลงทุนต่างประเทศในไทยมากขึ้น ซึ่งทำให้เราต้องดูแลและระมัดระวัง เพราะเงินเหล่านี้สามารถไหลออกได้ แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่พิจารณาความเหมาะสมขณะนี้ ทุนสำรองของไทยมีเพียงพอที่จะตั้งกองทุนขึ้นมาลงทุนได้บ้าง ซึ่งธปท.กำลังศึกษาความเป็นไปได้อยู่
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตามแผนงานของฝ่ายตลาดการเงินธปท.ได้กำหนดไว้ว่าช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ธปท.จะอนุญาตให้เปิดให้ซื้อขายสกุลเงินล่วงหน้าในส่วนของดอลลาร์บาทล่วงหน้าพร้อมทั้งเพิ่มโควตาการลงทุนของกองทุนในต่างประเทศ การนั้น ธปท.น่าจะอนุญาตให้ดำเนินการในไตรมาส 3 ของปีนี้ ขณะที่การเปิดให้บล.ทำธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นคาดว่าจะทำได้ในปี 2555
http://www.manager.co.th/stockmarket/viewnews.aspx?NewsID=9540000067688
------------------------------------------------------
“พิชัย” ปลุกผีแลนด์บริดจ์ภาคใต้ เล็งดึงเงินสำรองลงทุนน้ำมัน-ทองคำ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 สิงหาคม 2554 22:05 น.
“พิชัย” ส่งสัญญาณฟื้นชีพโครงการแลนด์บริดจ์ภาคใต้ ดันลงทุนกิจการพลังงานก้าวสู่ฮับภูมิภาคอาเซียน แทนไปลงทุนที่ทวาย พม่า พร้อมถกแบงก์ชาติดึงเงินทุนสำรองลุยลงทุนน้ำมัน ทองคำ กระจายความเสี่ยง ลุ้นร่วมมือกัมพูชาพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่คาบเกี่ยว
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานจะสานต่อนโยบายพรรคเพื่อไทยเพื่อผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ใน พื้นที่ภาคใต้ให้เป็นแหล่งลงทุนใหม่ของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันที่จะมีระบบท่อเชื่อมโยงทะเลฝั่งอันดามัน และอ่าวไทย เพื่อยกระดับไทยให้เป็นศูนย์กลาง (ฮับ) การขนส่งทางเรือและการขนส่งน้ำมันแห่งใหม่ของภูมิภาคอาเซียน โดยส่วนของการลงทุนที่ทวาย พม่าเป็นเรื่องของเอกชนเป็นหลัก
“ผมเห็นว่า โครงการทวายที่พม่านั้น ก็สนับสนุน แต่ถ้าเลือกที่จะโต เราควรจะโตเองดีกว่า เพราะอนาคตญี่ปุ่นก็จะย้ายฐานการผลิตเข้ามามาก ไทยเองสามารถเลือกอุตสาหกรรมที่ไม่มีมลภาวะได้ โดยแลนด์บริดจ์เป็นสิ่งที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งคงจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อทำให้ทุกอย่างเจริญขึ้น ส่วนจะให้บมจ.ปตท.เป็นหัวหอกในการลงทุนหรือไม่คงจะต้องมาดูรายละเอียดอีก ครั้ง” นายพิชัย กล่าว
นายพิชัย กล่าวว่า ทีมเศรษฐกิจเพื่อไทยยังเตรียมจะหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Fund) เพื่อนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยุ่กว่า 1.87 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมันและทองคำที่มีแนวโน้มราคาสูงต่อเนื่อง เพื่อกระจายความเสี่ยง เนื่องจากเงินทุนสำรองผูกติดกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่ามาก เกินไป
ขณะเดียวกัน ไทยจะต้องวางแผนสร้างระบบคลังสำรองน้ำมันเพิ่มควบคู่กับหาพลังงานไทยใน ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับกับความต้องการในอนาคตที่เพิ่มสูง แต่แหล่งปิโตรเลียมในไทย โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่เริ่มจะทยอยหมดลงใน 10 ปี ข้างหน้า ดังนั้น จึงมองการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชาที่ไทยจะต้อง สร้างความร่วมมือให้เป็นลักษณะเดียวกับการพัฒนาพื้นที่ไทย-มาเลเซีย เพื่อความมั่นคงระยะยาว
สำหรับระยะสั้น กระทรวงพร้อมที่จะดูแลราคาขายปลีกน้ำมัน เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน โดยเตรียมแผนที่จะลดอัตราการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใน 3 ชนิด ได้แก่ เบนซิน 95 เบนซิน 91 และดีเซล ภายในก.ย.นี้ ส่วนพลังงานทดแทนโดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ หากราคาไม่จูงใจการใช้เพิ่มจากการที่ไม่ได้ลดเงินเข้ากองทุน ก็จะมาดูแลภายหลังว่าจะดำเนินการอย่างไร เช่นเดียวกับแอลพีจีครัวเรือน ขนส่ง และเอ็นจีวีจะตรึงต่อไป ส่วนมาตรการใช้ไฟฟรีไม่เกิน 90 หน่วยต่อหน่วย คงจะต้องมาดูว่าจะทบทวนหรือไม่ เพราะหลักการจะช่วยชั่วคราว แต่รัฐบาลที่ผ่านมา นำมาเป็นมาตรการถาวร
“สุดท้ายแล้ว ในระยะยาวจะต้องลอยตัวราคาพลังงานทุกอย่างตามกลไกตลาด เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ดังนั้น ระยะสั้น เราก็จะช่วยประชาชนตามที่หาเสียงไว้ ก็ยอมรับว่าทำให้ประชาชนไม่ประหยัดพลังงาน เราก็คงจะต้องมาเน้นการส่งเสริมให้ประชาชนประหยัดเพิ่มด้วย” นายพิชัย กล่าว
http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9540000102710
------------------------------------------------------
วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 12212 มติชนรายวัน
รมว.พลังงานหัก'แบงก์ชาติ' ดึงเงินสำรองตั้งกองทุนมั่งคั่ง
รมว.พลังงานเมินเสียงค้านแบงก์ชาติ เดินหน้าหนุนใช้ทุนสำรองฯ ตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติลงทุนสร้างมูลค่าเพิ่ม ปัดฝุ่นโครงการแลนด์บริดจ์ภาคใต้ เตรียมลดจำนวนหน่วยใช้ไฟฟ้าฟรีผ่อนภาระเงินอุดหนุนภาครัฐ 'อภิสิทธิ์'ติง'ขุนคลัง'อย่าแทรกแซงนโยบายอัตราดอกเบี้ย ธปท.
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยืนยันแนวคิดจะนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้จัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) เพื่อนำไปลงทุนในแหล่งพลังงานหรือซื้อน้ำมันสำรอง ภายหลัง ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แสดงความไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าควรเก็บทุนสำรองฯไว้สำหรับรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะกระทบต่อการไหลเข้าออกของเงินทุนและค่าเงินบาทของไทย
โดยในการให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม นายพิชัยระบุว่า จะให้ทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อ ไทยเจรจากับ ธปท. ให้เห็นความสำคัญของเรื่อง ดังกล่าว โดยรูปแบบของการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุน จะเป็นรูปแบบที่ เรียกว่า การจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) ซึ่งไม่ได้จำกัดการลงทุนอยู่ในการเข้าไปซื้อแหล่งพลังงานในต่างประเทศเท่านั้น แต่หมายถึงการกระจายความเสี่ยงถือครองสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงในอนาคต อาทิ ทองคำ เงินสกุลหยวน ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ควรมีไว้เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงและค่าใช้จ่ายต่างๆ ของประเทศ โดยสำรองไว้ 5-6 เดือนของมูลค่านำเข้าน่าจะเพียงพอ ที่เหลือควรนำไปลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศมากขึ้นในอนาคต
"ประเทศไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 1.87 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่ามีความมั่นคงสูงและใช้อย่างไรก็ไม่มีวันหมด จึงควร นำไปลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การซื้อแหล่งพลังงานในต่างประเทศและทำการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพื่อเป็นปริมาณสำรองพลังงานในประเทศก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ควรจะมีการพิจารณา" นายพิชัยกล่าว
นายพิชัยกล่าวว่า นอกจากนี้จะพิจารณารื้อฟื้นโครงการแลนด์บริดจ์ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ประกอบด้วยท่อและคลังส่งน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่ภาคใต้ น่าจะส่งผลดีเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งไทยยังมีเป้าหมายรับการลงทุนของประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มจะย้ายฐานการผลิตมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติมากขึ้น ทั้งนี้ จะทำความเข้าใจต่อประชาชนในพื้นที่ให้เห็นถึงประโยชน์ดังกล่าว
นายพิชัยกล่าวว่า สำหรับนโยบายเร่งด่วนคือ การผลักดันการยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากน้ำมันเบนซิน 91 เบนซิน 95 และดีเซล ชั่วคราว 6-12 เดือน ใช้วงเงินประมาณ 3-4 พันล้านบาทต่อเดือน เบื้องต้นให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) กู้เงินในระยะสั้น ส่วนมาตรการลดค่าครองชีพ จะยังคงมีอยู่ต่อ แต่จะพิจารณาปรับลดจำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่รัฐบาลจะอุดหนุนให้น้อยลง จากปัจจุบันมีนโยบายค่าไฟฟรี 90 หน่วย เพื่อ ลดการใช้ไฟของประชาชน และจะเร่งทำความเข้าใจ เรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สามารถใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน การสนับสนุนให้มีการศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างโรงไฟฟ้า รวมทั้งการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาเพื่อเปิดโอกาสให้มีการนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ในอนาคต
...
http://www.matichon.co.th/daily/view_news.php?newsid=01p0110170854§ionid=0101&selday=2011-08-17
------------------------------------------------------
ธีระชัยจี้ธปท.ทบทวนดอกเบี้ย
นโยบายเศรษฐกิจ
ธีระชัย ส่งสัญญาณทบทวนนโยบายดอกเบี้ยสูง สั่งทีมวิชาการคลังศึกษารื้อกรอบเงินเฟ้อ เพิ่มความคล่องตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ ขยับกำลังซื้อ เปรียบเป้าเงินเฟ้อเหมือนขับรถแต่ดึงเบรกมือไม่สมเหตุสมผล หวั่นดอกเบี้ยสูงยิ่งดึงเงินไหลเข้า กระทบแบงก์ชาติขาดทุนดูแลเงินบาท
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และ นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้าทำงานที่กระทรวงการคลังเป็นวันแรก เมื่อวานนี้ (15 ส.ค.) โดยมีข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการคลังให้การต้อนรับ
นายธีระชัย กล่าวว่า มีหลายนโยบายการเงินและสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลัง จะต้องประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อดูแลภาพรวมเศรษฐกิจ โดยตนได้มอบหมายให้ทีมนักวิชาการของกระทรวงการคลังไปจัดเตรียมข้อมูลให้พร้อมภายใน 2 สัปดาห์นี้ เพื่อร่วมหารือกับผู้บริหารธปท.ใน 4-5 เรื่อง ภายหลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายเรียบร้อยแล้ว
สำหรับประเด็นแรกที่มอบให้ทีมนักวิชาการกระทรวงการคลังไปศึกษา คือ ปัญหาในแง่การดำเนินนโยบายการเงินของธปท. นั้น ถือว่าติดอยู่กับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อหรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่า การดำเนินนโยบายดอกเบี้ยสูงนั้น มีผลดีในแง่การดูแลเงินเฟ้อ แต่ในทางลบนั้น จะกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนในประเทศ ฉะนั้นจึงเป็นโจทย์ให้ทีมวิชาการของกระทรวงการคลังไปคิดเพื่อหารือกับธปท.
ปัจจุบันกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานของธปท.กำหนดไว้ที่ 0.5-3.0% ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 24 ส.ค.นี้ หลังจากที่ กนง.มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 8 ครั้งนับจากเดือนก.ค. ปีก่อน
ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารสดและพลังงานใน ก.ค.ของไทย เพิ่มขึ้น 2.59% เมื่อเทียบรายปี ซึ่ง ธปท.ระบุก่อนหน้านั้นว่ายังมีโอกาสที่เงินเฟ้อพื้นฐาน จะสูงกว่ากรอบด้านบนของเป้าหมายในบางเดือนของไตรมาส 3 และ 4 ปีนี้
เปรียบเหมือนขับรถแต่ดึงเบรกมือ
นายธีระชัย กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงภายนอก โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และ ญี่ปุ่น ซึ่งเท่าที่ประเมินภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศเหล่านี้แล้ว ยังไม่สดใส ประกอบกับ เศรษฐกิจของประเทศจีนเองก็ยังมีแนวโน้มชะลอตัว ซึ่งเห็นว่า เป็นทั้งความเสี่ยงและความท้าทาย และจะไปสอบถามธปท.ว่า ได้คำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวในการวางแผนดำเนินนโยบายการเงินอย่างไร
เราคงไม่เข้าไปยุ่งเรื่องเป้าหมายเงินเฟ้อ ถ้าเขาบอกว่า ไม่เป็นอุปสรรคก็ไม่แตะ แต่สิ่งที่เราต้องไปตกลงกับแบงก์ชาติคือ เป้าหมายเงินเฟ้อดังกล่าวนั้น ทำให้เขากังวลในลักษณะที่บีบรัดการดำเนินนโยบายการเงินมากเกินไปหรือไม่ นายธีระชัย กล่าว
การดูแลเศรษฐกิจภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ก็เปรียบเสมือนเราขับรถ เหยียบคันเร่ง แต่ใส่เบรกมือ มันก็ไม่มีเหตุผล ขณะเดียวกัน มุมมองต่อการดูแลเศรษฐกิจก็ควรไปในทางเดียวกัน ไม่ใช่ว่า เรามองว่า ฝนจะตก แต่เขามองว่า แดดจะออก
หนุนใช้ทุนสำรองลงทุนเพิ่ม
นายธีระชัย กล่าวด้วยว่า ได้ให้ทีมงานวิชาการกระทรวงการคลังไปศึกษาปัญหาผลการดำเนินงานของธปท.เพื่อให้ธปท.มีศักยภาพในการช่วยชำระหนี้สินกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งเดิม ธปท. ตกลงว่า จะมีบทบาทในการช่วยรับภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯแต่ที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานที่ขาดทุนของธปท.ทำให้ไม่สามารถเข้ามาช่วยลดภาระหนี้ดังกล่าวซึ่งตนก็เข้าใจดี
อย่างไรก็ตาม ข้อกังวลในขณะนี้ คือ ถ้า ธปท.ยังคงดำเนินนโยบายดอกเบี้ยสูง ถ้าดอกเบี้ยฝากสูงกว่าดอลลาร์มาก จะทำให้เงินไหลเข้ามาก และ ถ้า ธปท.เข้าไปดูแลค่าเงินบาท ก็จะทำให้เงินดอลลาร์ที่เข้าไปซื้อนั้น ขาดทุน จะเป็นลักษณะงูกินหาง เลยคิดว่าควรหาวิธีให้ ธปท.มีรายได้ หรือบริหารทุนสำรองให้มีรายได้และคล่องตัว เพื่อให้ ธปท.มีผลขาดทุนน้อยลงหรือมีกำไรบ้าง จะได้ช่วยลดภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ
ทุนสำรองที่มีไว้เพื่อบริหารค่าเงินนั้น ก็ควรเก็บไว้ แต่สังเกตหลายประเทศ เริ่มเอาทุนสำรองไปลงทุนในทรัพย์สินจริง เช่น สิทธิเหมืองแร่ บ่อน้ำมัน หรือ อะไรที่เป็นของกินของใช้ พอประเทศที่กำลังพัฒนารวยขึ้น ราคาก็มีมากขึ้น นายธีระชัย กล่าว
เปิดเสรีเพิ่มไลเซ่นแบงก์
นายธีระชัย กล่าวว่า ยังมีนโยบายจะเพิ่มความเข้มแข็งให้กับระบบการเงินและธนาคารพาณิชย์ โดยมีแนวคิดเพิ่มการแข่งขันให้กับระบบธนาคารพาณิชย์ ในปัจจุบันเช่น การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ สามารถทำธุรกิจเงินตราต่างประเทศได้ ตลอดจนการเปิดเสรีทางการเงิน หรือเพิ่มใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์รายใหม่ โดยเฉพาะกรณีนักลงทุนจากกลุ่มอาเซียน หรืออาเซียน +3 โดยเห็นว่า กำหนดการเปิดเสรีของภาคการเงิน ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 2 อาจจะช้าไป
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเสนอให้การแก้ปัญหาสถาบันการเงิน ไม่กลับมาเป็นภาระของผู้เสียภาษี โดยยกตัวอย่างกรณีสหรัฐ ที่มีการเสนอกฎหมาย ที่ระบุว่า หากต้องดูแลสถาบันการเงิน จะให้รัฐบาลสามารถเก็บเงินเพิ่มเติมกับธนาคารพาณิชย์ที่เหลืออยู่เพื่อไม่เป็นภาระของผู้เสียภาษีอีกต่อไป หรืออาจจะมีแนวทางอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน
ตั้งคณะติดตามเศรษฐกิจ
นายธีระชัย กล่าวอีกว่า การดำเนินนโยบายการเงินการคลังในอนาคตจะต้องไม่พิจารณาจากสองหน่วยงาน แต่ต้องการให้ผู้ประกอบธุรกิจเข้าร่วมพิจารณาด้วย จึงมีแผนจะตั้งคณะกรรมการติดตามภาวะเศรษฐกิจ โดยมีตนเป็นประธาน และมีผู้ว่าการ ธปท.ร่วมด้วย รวมถึงเชิญตัวแทนจากสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ หน่วยงานเอกชน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย
ขอ2สัปดาห์เดินหน้านโยบายหาเสียง
สำหรับการดำเนินการตามนโยบายที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้นั้น เขากล่าวว่า มีหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้าน หรือ บัตรเครดิตเกษตรกร ทั้งหมดนี้จะใช้เวลาก่อนการแถลงนโยบาย โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำแผนปฏิบัติการเพื่อกลับมาเสนอภายใน 2 สัปดาห์
ส่วนนโยบายการจัดทำงบประมาณสมดุลนั้น ยังไม่สามารถบอกได้ว่า จะเป็นอย่างไร ต้องรอฟังรายงานจากปลัดกระทรวงการคลังก่อน แต่หลักการ คือ จะยึดหลักของความยั่งยืน การใช้จ่ายจะต้องอยู่ในลักษณะสมดุลกับรายรับ แต่หากจำเป็นต้องมีภาระหนี้ ก็จะคุมไม่ให้ระดับหนี้สูงเกินไปและอยู่ในเป้าหมาย
ขณะที่แนวทางปฏิบัติสำหรับการจัดเก็บภาษีนั้น จะต้องมีความเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ ผู้เสียภาษีรายอื่น ไม่มีใครที่ได้รับการยกเว้นเรื่องภาษีได้ ฉะนั้น อยากให้มั่นใจว่า การปฏิบัติการเรื่องของภาษีจะต้องมีมาตรฐานเดียวกัน
กนง.ไม่มีปัญหารื้อกรอบเงินเฟ้อ
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะคณะกรรมการ กนง. กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรหากจะมีการปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อกันใหม่ เพราะสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป โดยเฉพาะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงนโยบายของภาครัฐที่แตกต่างไปจากรัฐบาลชุดก่อน
คงไม่ใช่เรื่องเสียหายถ้าจะมีการหารือกัน เพราะสถานการณ์ในขณะนี้ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป และการดำเนินนโยบายก็จำเป็นต้องมีความสอดประสานกันระหว่างนโยบายการเงินกับนโยบายการคลัง นายพรายพล กล่าว
อย่างไรก็ตาม กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปัจจุบัน ถือเป็นกรอบที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการคลังเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งหลักการของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อมีขึ้นเพื่อสร้างความมีเสถียรภาพและความมั่นใจให้กับสาธารณชนว่า ธปท. และ กนง.จะดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงจนเกินไป
ย้ำความเสี่ยงเงินเฟ้อยังสูง
นอกจากนี้การดำเนินนโยบายเรื่องอัตราดอกเบี้ยของ กนง. ในทุกครั้งที่มีการประชุมร่วมกัน ก็จะพิจารณาถึงความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อประกอบกันทุกครั้ง เพียงแต่ที่ผ่านมามองว่าความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีมากกว่าความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ และการดูแลเงินเฟ้อจะช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้ด้วย
ทุกครั้งที่ประชุมก็จะพิจารณาอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มอย่างไร โตเร็วหรือโตช้า อำนาจซื้อของประชาชนเป็นอย่างไร และแนวโน้มเงินเฟ้อเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็มองว่าความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมีอยู่บ้าง แต่ไม่เท่ากับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ นายพรายพล กล่าว
ส่วนกรณีนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนในแหล่งพลังงาน เช่น บ่อน้ำมันนั้น เป็นเรื่องที่ใหญ่เกินกว่าจะหารือกันเพียงลำพังระหว่าง กระทรวงการคลัง กับ ธปท. เพราะเป็นเรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศซึ่งเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ ดังนั้นการหารืออาจจำเป็นต้องเป็นการหารือในระดับประเทศ ไม่ใช่แค่ 2 หน่วยงานมาหารือกัน
ธปท.ชี้กรอบเงินเฟ้อหารือคลังทุกสิ้นปี
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานกรรมการ ธปท.กล่าวว่า ปกติทุกสิ้นปี ธปท.จะหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อขออนุมัติกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นประจำอยู่แล้ว
เรื่องนี้ต้องคุยกันอยู่แล้ว เพราะตามกฎหมายบังคับให้คุยกันทุกปี และกรอบเงินเฟ้อไม่ใช่เป็นเป้าของแบงก์ชาติ แต่เป็นเป้าของครม.ซึ่งในทุกเดือนธันวาคมของทุกปี ครม.จะต้องอนุมัติกรอบเงินเฟ้อหรือเป้าหมายการเงินในปีถัดไป ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าว
ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวว่า กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ เป็นมาตรการที่มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุน คือ พยายามคุมเงินเฟ้อไม่ให้สูงเพื่อที่การลงทุนจะไม่ยาก เพราะถ้าเงินเฟ้อต่ำผู้ลงทุนก็สามารถคำนวณต้นทุนในการลงทุนต่างๆ ได้ง่าย ซึ่งการดำเนินนโยบายโดยใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อนั้น ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ใช้ และเป็นประเทศที่ 8 ของโลก ซึ่งแต่ละประเทศที่ใช้มาก็พบว่าประสบความสำเร็จ และแทบไม่มีประเทศไหนที่ยกเลิกการใช้ไป
ชี้ซื้อบ่อน้ำมันเสี่ยงสูง
ส่วนการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนแหล่งพลังงาน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางด้านพลังงานของประเทศนั้น เรื่องจำเป็นต้องคำนึงถึงความมั่นคงและสภาพคล่องของสินทรัพย์ที่จะไปลงทุนด้วย และต้องคำนึงถึงหลักการของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศด้วย ที่ต้องสำรองไว้เผื่อกรณีเกิดปัญหาต่างประเทศ เพราะหากเกิดมีปัญหาในต่างประเทศขึ้นมา ก็อาจกระทบกับอำนาจของเราในประเทศได้
เรื่องเอาเงินสำรองไปลงทุนบ่อน้ำมัน ไม่ได้ว่าไม่เหมาะสม แต่การลงทุนบ่อน้ำมันก็ต้องพยายามดูว่า มันมีสภาพคล่องหรือไม่ ทำได้แค่ไหน มีความมั่นคงหรือเปล่า เพราะในอดีตเคยมีนักธุรกิจที่ไปลงทุนบ่อน้ำมัน แต่ก็เจ๊ง ซึ่งน้ำมันเป็นของที่เสี่ยงมาก ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าว
นอกจากนี้ ม.ร.ว.จัตุมงคล ยังกล่าวถึงการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนในทองคำด้วยว่า ที่ผ่านมาเขาเป็นคนเสนอให้ลงทุนในทองคำเพิ่มเพื่อรักษาสัดส่วนการลงทุนไว้ที่ 3% เพียงแต่การจะลงทุนในสัดส่วนที่มากกว่านี้จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะว่าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีรายได้ในตัวเอง มีแต่กำไรกับขาดทุน ยิ่งช่วงนี้ราคาทองคำถือว่าปรับขึ้นมาค่อนข้างมากแล้วด้วย
http://daily.bangkokbiznews.com/detail/18922
----------------------------------------------------
หวั่นรัฐบีบธปท. หาช่องใช้ทุนสำรอง คุมค่าเงิน- ลุยเมกะโปรเจ็กต์ 9 แสนล.
ประชาชาติธุรกิจ หน้า 1 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3662 (2862)
"ทักษิณ" จัดระเบียบประเทศคุมเบ็ดเสร็จวางแผนการใช้เงินลุยเมกะโปรเจ็กต์ รับมือยอดนำเข้าพุ่ง 8 แสนล้าน ปรับพอร์ตการลงทุน-แผนรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ "พันศักดิ์" ส่งสัญญาณชัดหาช่องใช้ทุนสำรองเอื้อแผนลงทุน หวั่นรัฐบาลยึดอำนาจแบงก์ชาติ คุมนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเองหวังลดความเสี่ยงโครงการยักษ์ นักเศรษฐศาสตร์ชี้อันตรายสุดๆ เกรงการลงทุนทั้งระบบบิดเบี้ยวเพราะไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของโครงการ ด้านผู้ว่าการ ธปท.ขานรับเข้าใจสิ่งที่ "พันศักดิ์" ต้องการ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เข้าหารือที่ตึกไทยคู่ฟ้า เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 เพื่อวางนโยนบายด้านเศรษฐกิจที่จะแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรใน 4 ปีข้างหน้า รวมทั้งกำหนดแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และจัดระบบเครือข่ายขนส่งมวลชนระบบราง ระบบน้ำ โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง และหน่วยงานด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงบประมาณ เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ขณะที่ต้นสัปดาห์หลังผลชนะเลือกตั้ง แกนนำด้านเศรษฐกิจของพรรคไทยรักไทยได้เรียกประชุมหน่วยงานต่างๆ ทันที วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีการประชุมร่วมกับนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง เพื่อจัดทำร่างนโยบายของรัฐบาลในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 4 ปีข้างหน้า
นายกฯตอบโจทย์
เงินลงทุนเมกะโปรเจ็กต์
พ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์ว่า การประชุมเตรียมการเพื่อให้ข้าราชการประจำได้มีข้อมูลเรื่องการลงทุนจะไปเอาเงินจากที่ไหน อย่างไร เมื่อแถลงนโยบายรัฐบาลก็ลงมือปฏิบัติได้ทันที นโยบายหลักจะยังรักษาการเจริญเติบโตในอัตราที่ไม่น้อยกว่าเดิม จะพยายามทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเป็นบวก พยายามเน้นเรื่องด้านอุปทานมากกว่าด้านอุปสงค์ รักษางบประมาณให้สมดุลตลอด นโยบายต่างประเทศคงเดิม และจะมีการบุกตลาดมากขึ้น
"ที่ต้องเร่งการเจาะตลาด เพราะในสมัยที่ 2 นี้ จะเพิ่มผลผลิต มิฉะนั้นสินค้าจะล้นตลาด ทั้งนี้จะมีการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต อุตสาหกรรม การเปลี่ยนเครื่องจักร ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนและปรับรูปแบบของการผลิตมากขึ้น รวมทั้งการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร โดยเน้นการผลิตในสิ่งที่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ภายในประเทศให้มาก ในส่วนของวัตถุดิบที่ส่งออก ก็จะพยายามแปรรูปมากขึ้น"
ส่วนนายสมคิด รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่จะใช้งบประมาณจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินกู้ การแปลงสินทรัพย์ป็นหลักทรัพย์ โดยไม่กระทบกับเศรษฐกิจส่วนรวม ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังเข้าไปพัฒนาประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจให้ดีที่สุด โดยเฉพาะการบริหารด้านการเงิน เนื่องจากรัฐวิสาหกิจที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีการบริหารที่ไม่เข้มแข็งพอ โดยจะมีการแบ่งกลุ่มรัฐวิสาหกิจออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ประเภทลอจิสติก, ขนส่ง, ประปา, ไฟฟ้า แล้วให้โฮลดิ้งคอมพานีที่กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% เข้าไปร่วมถือหุ้นในกลุ่มรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม
นายสมคิดกล่าวว่า ปลัดกระทรวงการคลังยืนยันว่า ภายใน 5-6 ปีนี้รัฐบาลจะมีงบประมาณในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่เพียงพอ และที่สำคัญการลงทุนดังกล่าวสามารถบริหารจัดการเรื่องของสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีได้ มั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาในปีงบประมาณนี้ คาดว่ากรมจัดเก็บภาษีสามารถเก็บจัดรายได้เกินเป้าที่กำหนดไว้ประมาณ 50,000 ล้านบาท
"สุริยะ" เพิ่มงบฯดันระบบขนส่ง
ด้านนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เดิมที่แผนจะลงทุนระบบขนส่งมวลชน 291 ก.ม. วงเงิน 5 แสนล้านบาท แต่มีประชาชนเรียกร้องให้ขยายเส้นทางเพิ่มเติม ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้จะพิจารณาสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากที่สุด โดยส่วนที่จะเพิ่มคือเส้นทางปากน้ำ-บางกะปิ สุวรรณภูมิ-มีนบุรี ทั้งนี้ ได้พิจารณาแล้วสามารถนำงบประมาณมาลงทุนได้ โดยกระทรวงคมนาคมจะเพิ่มงบประมาณประจำปีเป็น 12-15% ของงบประมาณแผ่นดินสำหรับปีที่ต้องลงทุน 6 ปี ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู จากปัจจุบันที่กระทรวงคมนาคมมีงบฯลงทุนเพียง 5% ของงบประมาณแผ่นดิน การเพิ่มงบประมาณนี้จะทำให้มีเงินลงทุนปีละ 40,000-50,000 ล้านบาท รวมแล้วเป็นเงิน 3 แสนล้านบาท ที่เหลืออีก 2 แสนล้านบาท จะใช้วิธีการแปลงหลักทรัพย์เป็นสินทรัพย์
"การตั้งบริษัทโฮลดิ้งคอมพานีเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะเป็นแนวทางที่ระดมทุนได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งถ้าส่วนนี้ให้เอกชนมาลงทุนมากจะทำให้เอกชนเก็บค่าโดยสารแพงก็จะมีปัญหาต่อการระดมทุนเพราะจะไม่มีนักลงทุนสนใจ และรัฐควรจะเป็นเจ้าของหลักเพื่อให้ควบคุมค่าโดยสารได้ สัดส่วนการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนต้องหารือกันอีกครั้ง โดยการหารือวันนี้ไม่มีการกล่าวถึงการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้"
สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทรัพยากรน้ำวงเงิน 2 แสนล้านบาท การลงทุนจะมาจากงบประมาณบางส่วนที่เหลือมาจากวงเงินกู้และเงินนอกงบประมาณ ซึ่งงบฯที่ต้องลงทุนถือว่าไม่มาก เฉลี่ยแล้ว 4 ปี ประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท ซึ่งรวมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดในรัฐบาลหน้าจะมีประมาณ 1 ล้านล้านบาท โดยนายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปดูรายละเอียดเรื่องการลงทุน
หม่อมอุ๋ยแจงกรณี "พันศักดิ์"
ไม่ได้นำเงินทุนสำรองมาใช้โดยตรง
ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงถึงกรณีที่นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายนายกรัฐมนตรี ออกมากล่าวว่า ขณะนี้ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยมีมากเกินไป ควรจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า ตนได้พูดคุยทำความเข้าใจกับนายพันศักดิ์แล้วสรุปว่าเป็นความเข้าใจผิดของผู้ที่เขียนข่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า ตามความหมายของนายพันศักดิ์แล้วไม่ได้ตั้งใจที่จะสื่อความหมายออกไปตามที่สื่อมวลชนเข้าใจ เพราะการที่จะนำเงินทุนสำรองมาใช้โดยตรงเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ดีเมื่อจะต้องมีการลงทุนในโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต และเป็นโครงการที่ต้องมีการนำเข้าสินค้าทุนนั้น มีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินสกุลดอลลาร์ในการชำระเงิน ทำให้ต้องมีการดึงเงินดอลลาร์ที่มีอยู่ในทุนสำรองออกมาใช้
ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธปท.ได้อธิบายถึงวิธีการในการดึงเงินดอลลาร์ออกมาว่า ไม่ได้เป็นการนำออกมาใช้โดยตรง แต่เป็นการที่ธนาคารพาณิชย์นำเงินบาทมาซื้อเงินดอลลาร์จาก ธปท. เพื่อนำไปปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการอีกต่อหนึ่งนั่นเอง
"ส่วนใหญ่แล้วเขาจะซื้อขายกันผ่านตลาดการเงินก่อน ถ้าไม่มีค่อยมาซื้อจากแบงก์ชาติ แต่ตราบใดที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวกอยู่ ก็ยังมีเงินดอลลาร์ในตลาดให้ซื้ออยู่แล้ว เพราะฉะนั้นใน 3 ปีนี้ที่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังไม่ขาดดุล จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องมาใช้เงินทุนสำรองที่มีอยู่" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ผู้ว่าการ ธปท.ยังกล่าวอีกว่า เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งนี้ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ประเทศไทย ไม่ต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ มาชำระหนี้ในสภาวะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบ ทำให้ไม่มีเงินดอลลาร์มาชำระหนี้ แต่ยังมีเงินทุนสำรองจะมาช่วยได้อยู่
"ที่เก็บดอลลาร์ไว้เยอะ เพราะรู้ว่าวันหนึ่งที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเต็มก็จะต้องมีการลงทุนเพิ่ม ซึ่งการลงทุนมีความจำเป็นในการใช้เงินดอลลาร์เพื่อชำระค่าสินค้าทุนต่างๆ ที่นำเข้ามา และตราบใดที่เรายังมีดอลลาร์อยู่ เราก็ไม่ต้องไปกู้ยืมจากใคร จนกว่าจะถึงจุดที่ต้องเตรียมตัว นั่นคือปริมาณเงินทุนสำรองเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับหนี้ระยะสั้น แต่ตอนนี้เรามีอยู่ถึง 4 เท่า ดุลบัญชีเดินสะพัดก็เกินดุลอยู่ถึง 7 พันล้านบาท" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
เมกะโปรเจ็กต์ต้องคุมทุน
ส่วนนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (reserve) เป็นจำนวนมาก แต่เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกับหลายประเทศทั้งในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น ซึ่งแนวโน้มของเงินสกุลดอลลาร์นั้นมีมูลค่าจะลดลงทุกวัน เท่ากับว่าเงินในกระเป๋าหายไป เพราะฉะนั้นในแง่การลงทุนในช่วง 5-7 ปีข้างหน้า ต้องเน้นการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ เป็นโครงการพิสูจน์ได้ว่ามีคุณภาพเพียงพอ สามารถลดค่าใช้จ่ายและต้องเพิ่มปริมาณการผลิต เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ ให้สามารถต่อสู้กับประเทศอื่นๆ ได้ เช่น กับจีน
"ไม่ใช่อย่างที่เข้าใจกันว่าจะมีการลดทุนสำรอง หรือผมกับนายกรัฐมนตรีจะไปบีบให้แบงก์ชาติลดการสำรองเงินตราระหว่างประเทศ เนื่องจากมีทุนเหลือเฟือ แต่พูดว่าทุนสำรองมีเยอะ แต่ค่าลดลงทุกวัน จึงต้องคิดหาทางลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตอนนี้แบงก์ชาติบริหารทุนสำรองได้ดีอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้ค่าลดลงจนเกินไป ทั่วโลกก็เป็นเช่นนี้ ทุกคนก็คิดเหมือนกันว่าจะใช้เงินที่มีอยู่อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เท่าที่ทราบขณะนี้หลายประเทศได้พยายามเปลี่ยนการสำรองไปเป็นเงินสกุลยูโรบ้างแล้ว เช่นเดียวกับประเทศไทย" ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีกล่าว
ชี้อันตรายรัฐยึดอำนาจ ธปท.
คุมนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน
แหล่งข่าวจากนักเศรษฐศาสตร์มหภาคให้ความเห็นต่อเรื่องกรณีนายพันศักดิ์ที่กล่าวว่าทุนสำรองทางการมีสูงมากเกินไป แต่ถ้าลดลงแล้วเป็นประโยชน์ในการลงทุนก็เป็นเรื่องที่ดี หากจะตีความคำพูดก็คือว่า ใน 4 ปีข้างหน้ารัฐบาลมีโครงการเมกะโปรเจ็กต์จำนวน 1.5 ล้านล้านบาท จะต้องมีการนำเข้าสินค้าทุนไม่น้อยกว่า 800,000 ล้านบาท นั่นหมายความว่าเมื่อถึงเวลาที่จะต้องชำระค่าสินค้านำเข้า ผู้นำเข้าจะต้องนำเงินบาทไปขายเพื่อซื้อเงินดอลลาร์ไปจ่ายค่าสินค้า หากเป็นเช่นนั้นค่าเงินบาทจะอ่อน ทำให้ต้นทุนของโครงการต่างๆ จะสูงขึ้นอาจจะไม่คุ้มค่าการลงทุน
ดังนั้นแนวคิดของนายพันศักดิ์ซึ่งรู้ว่ารัฐบาลสามารถสั่งการ ธปท.ได้ วิธีการก็คือ ให้ ธปท.นำเงินทุนสำรองในส่วนนี้มาใช้โดยเพื่อแทรกแซงค่าเงินไม่ให้อ่อนมากเกินไปในช่วงที่มีการชำระค่าสินค้า เมื่อขาหนึ่งที่ผู้สั่งซื้อสินค้านำเงินบาทไปขายเพื่อซื้อดอลลาร์ ในทางกลับกัน ธปท.ก็ขายดอลลาร์เพื่อซื้อบาท วิธีการนี้ก็จะทำให้ค่าเงินบาทไม่อ่อนจนทำให้ต้นทุนโครงการเพิ่มขึ้นนั่นเอง หากเป็นเช่นนี้เท่ากับว่าผู้บริหารโครงการใหญ่ๆ ไม่ต้องห่วงเรื่องความเสี่ยงในด้านต้นทุน เพราะมี ธปท.คอยให้การช่วยเหลือดูแลค่าเงินบาทให้อยู่
"ประเด็นที่น่าเป็นห่วงก็คืออำนาจในการดูแลนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นอำนาจของแบงก์ชาติ หากทำอย่างนั้นจริงก็เท่ากับว่าแบงก์ชาติโอนอำนาจหน้าที่นี้ไปให้รัฐบาล นับว่าเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง เพราะปกติกลไกตลาดจะเป็นตัวกำหนดว่าโครงการใดควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุน คุ้มหรือไม่คุ้ม แต่เมื่อกลไกถูกแทรกแซงก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะจะไม่ทราบต้นทุนที่แท้จริง เพราะรัฐแทรกแซง เป็นการบิดเบือนการลงทุนของประเทศ และจากการให้สัมภาษณ์ของผู้ว่าการ ธปท.ก็เข้าใจเป็นอย่างดีกับสิ่งที่คุณพันศักดิ์พูดและไม่ได้ปฏิเสธว่าทำไม่ได้" แหล่งข่าวให้ความเห็น
เงินสำรองเพิ่มจากแทรกแซงค่าเงิน
อย่างไรก็ดี ในระยะที่ผ่านมา ธปท.ได้มีการแทรกแซงค่าเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาททำให้ทุนสำรองและฐานเงิน รวมถึงสินทรัพย์ต่างประเทศมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลขทุนสำรองระหว่างประเทศล่าสุดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ อยู่ที่ 48,357.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนที่อยู่ที่ 48,697.9 หมื่นล้านดอลลาร์
ส่วนตัวเลขล่าสุดของฐานเงินในเดือนธันวาคม 2547 อยู่ที่ 800,673 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่อยู่ที่ 757,410 ล้านบาท ด้านตัวเลขสินทรัพย์ต่างประเทศในเดือนธันวาคมอยู่ที่ 2,039,258 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่อยู่ที่ 1,946,473 ล้านบาท นอกจากนี้เงินที่ ธปท.ให้สถาบันการเงินกู้ยืมผ่าน swap และตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะสั้น (R/P) ในเดือนธันวาคมอยู่ที่ 32,058 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่อยู่ที่ 28,306 ล้านบาท
โครงการโครงข่าย 9 แสน ล.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐบาล "ทักษิณ" มีแผนจะลงทุนระบบโครงข่ายคมนาคม มูลค่ารวมทั้งสิ้น 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนระบบราง ภายใน 6 ปี (2547-2552) มูลค่า 446,677 ล้านบาท จำนวน 7 สายทาง ระยะทาง 291 กิโลเมตร ประกอบด้วยสายสีเขียวอ่อนพรานนก-สมุทร ปราการ ค่าก่อสร้าง 54,090 ล้านบาท สายสีเขียวเข้มสะพานใหม่-บางหว้า ค่าก่อสร้าง 32,882 ล้านบาท สายสีน้ำเงินวงแหวนรอบนอกในและท่าพระ-บางแค ค่าก่อสร้าง 65,895 ล้านบาท สายสีม่วงบางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ค่าก่อสร้าง 94,585 ล้านบาท สายสีส้มบางบำหรุ-บางกะปิ ค่าก่อสร้าง 73,268 ล้านบาท
สายสีแดงเข้มรังสิต-มหาชัย ค่าก่อสร้าง 71,843 ล้านบาท และสายสีแดงอ่อนตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ ค่าก่อสร้าง 54,111 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดโครงการเพิ่มอีก 3 สายทาง ระยะทาง 71 กิโลเมตร วงเงิน 217,412 ล้านบาท นอกเหนือจากสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 46,704 ล้านบาท คือสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 27 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง คือช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 14 กิโลเมตร งบฯลงทุน 48,453 ล้านบาท ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กิโลเมตร งบฯลงทุน 24,063 ล้านบาท สายสีส้ม ระยะทาง 24 กิโลเมตร ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ เป็นทางใต้ดิน 21 กิโลเมตร งบฯลงทุน 80,915 ล้านบาท และสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 20 กิโลเมตร งบฯลงทุน 63,381 ล้านบาท
นอกจากนี้มีรถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ (พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ) ระยะทาง 28.5 กิโลเมตร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) งบฯลงทุน 26,000 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างปี 2548 ขณะนี้อยู่ระหว่างเคลียร์พื้นที่ โดยทาง ร.ฟ.ท.จะชำระเงินให้ผู้รับเหมาภายหลังโครงการแล้วเสร็จ ระบบทางด่วนที่มีแผนจะสร้าง ได้แก่ โครงการทางด่วนสายพิเศษศรีรัช-ดาวคะนอง บริเวณถนนจันทน์ โครงการทางด่วนสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 13,709 ล้านบาท โครงการทางด่วนสายพระราม 6 ทดแทนทางด่วนสายพญาไท-พุทธมณฑลเดิม วงเงิน 32,351 ล้านบาท
ระบบถนนมีโครงการวงแหวนด้านใต้ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะเปิดให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะต้องนำเงินมาชำระคืนให้ผู้รับเหมาภายหลังก่อสร้างเสร็จ วงเงิน 15,548 ล้านบาท ถนนต่อเชื่อมโครงการวงแหวนอุตสาหกรรมและวงแหวนด้านใต้ วงเงิน 959 ล้านบาท ถนนรัชดาฯ-รามอินทรา วงเงิน 1,200 ล้านบาท สายเชื่อมต่อสุขาภิบาล 1-วงแหวนรอบนอก วงเงิน 600 ล้านบาท ทางลอดที่ปากเกร็ด วงเงิน 400 ล้านบาท ทางลอดที่แคราย วงเงิน 250 ล้านบาท ขยายถนนสายบางใหญ่-แคราย วงเงิน 1,400 ล้านบาท สายแยกทางหลวงหมายเลข 345 (บางคูวัด) บรรจบทางหลวงหมายเลข 3100 (ถนนเลียบคลองรังสิต วงเงิน 2,000 ล้านบาท ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ตอนบางพลี-ธัญบุรี วงเงิน 2,500 ล้านบาท เป็นต้น
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q1/article2005february14p14.htm
----------------------------------------------------
FfF
บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.