บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


12 กันยายน 2554

<<< วิพากษ์ การใช้นโยบายทางการเงินแก้ปัญหาสินค้าราคาแพง จะเหมือนเกาไม่ถูกที่คัน >>>

วันนี้มาพูดเรื่องเศรษฐศาสตร์อีกกรณีหนึ่ง
ซึ่งทางสำนักเศรษฐศาสตร์มาหาอะไร
ไม่เห็นด้วยกับสำนักอื่นๆ
คือกรณีการใช้นโยบายทางการเงิน
มาแก้ปัญหาสินค้าราคาแพง
อันเนื่องมาจากเกิดราคเฟ้อ
เนื่องจากอาจแก้ปัญหาไม่ตรงจุด
แก้ตรงนี้อาจไปกระทบตรงนั้นมั่วไปหมด

นโยบายทางการเงินที่เห็นนำออกมาใช้
ก่อนยิ่งลักษณ์จะเข้าทำงานเต็มตัวเสียอีก
แล้วมีข่าวพวกแบงค์ชาติขึ้นดอกเบี้ย
ซึ่งเราก็เคยวิพากษ์ไปทีหนึ่งแล้ว
วันนี้ขอเน้นอีกประเด็นเกี่ยวกับ
หลักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์

แนวคิดหนึ่งทางเศรษฐศาสตร์ก็คือ
การขึ้นดอกเบี้ยเพื่อหยุดสินค้าราคาแพง
เพราะนักเศรษฐศาสตร์สำนักอื่นคิดว่า
จะทำให้คนนำเงินมาอ้อมมาฝาก
ทำให้ลดการไปซื้อสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค
เมื่อคนหยุดซื้อมากๆ ราคาก็จะลง
เป็นไปตามหลักการอุปสงค์อุปทาน

เราว่าเป็นวิธีคิดที่ไม่รอบด้าน
เพราะว่าถ้ากรณีคนหาเช้ากินค่ำ
หรือไม่มีเหลือออมแถมเป็นหนี้อีก
(อันหลังนี้ผมเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
เพราะเหมือนกำลังเล่นบทบาทนี้อยู่ อิอิ)
ต่อให้ขึ้นไปร้อยละ20 ก็ไม่มีเงินไปฝาก
แต่จะเดือดร้อนเพิ่มเมื่อดอกเบี้ยเงินกู้แพงขึ้นตาม
ทำให้เพิ่มอาการช็อตชักหน้าไม่ถึงหลัง
กระจายเป็นวงกว้างกันเข้าไปอีก
ถือเป็นการแก้แบบเหวี่ยงแห
ทำให้เกิดปัญหาหนักกว่าเดิมอีก
ที่สำคัญจะเกิดเงินฝืดในที่สุด
ถ้าแก้ด้วยการขึ้นดอกเบี้ย
แถมยังทำให้ระบบตลาดเสียอีกด้วย

อีกตัวอย่างของการแก้ปัญหา
แล้วจะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบตลาด
คือกรณีหมูไก่แพง
ถ้าแก้ปัญหาด้วยการรณรงค์กินผักนี่
ถือว่าให้ยาแรงเพราะอาจทำให้ระบบตลาดหมูไก่พังได้
ถ้าเกิดรณรงค์จนคนติดใจกินมังสวิรัติมากขึ้น
ก็ทำให้ขายหมูไก่ได้น้อยลง
จนต้องเลิกขาย หรือขาดทุนมากขึ้น
เพราะถ้าทำได้ผลมากๆ
หมูไก่ก็จะราคาถูกลง เพราะไม่ค่อยมีคนซื้อกิน
แต่ถ้าวิธีไหนลองแล้วก็ไม่ได้ผล
ก็ขอแนะนำวิธีนี้อีกวิธีหนึ่ง
แต่เน้นไม่เคร่งจัดรณรงค์กินผักชั่วคราวสักเดือน
น่าจะทำให้เวิร์กก็ได้

แต่ถ้าต้องการแก้ปัญหาหมูไก่แพงช่วงนี้
แล้วเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
แนะนำแก้ปัญหาที่ต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นรอบนี้

<<< ต้นตอหนึ่งที่ทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ในช่วง 2 ปีกว่าของการบริหารประเทศของอภิสิทธิ์ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/08/blog-post_6221.html

กรณีหมูไก่แพงรอบนี้สาเหตุหนึ่งก็คือ
ราคาอาหารสัตว์แพงขึ้นไป 20-40 เปอร์เซ็นต์
ถ้าหาทางลดราคาอาหารสัตว์ลงได้มากเท่าไหร่
ก็จะไล่บี้ลดราคาหมูหน้าฟาร์ม หน้าเขียงได้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ไม่ใช่เริ่มต้นไปไล่บี้กับแม่ค้าให้ลดราคาหน้าเขียงลง
โดยทำเป็นมองไม่เห็นต้นตอที่ทำให้ราคาแพงกันเป็นทอดๆ
เป็นการแก้ปัญหาแบบผลมาเหตุไม่ใช่แก้แบบเหตุไปผล

วิธีการแก้ราคาอาหารสัตว์แพงก็มีหลายวิธีเช่น
อาจเปิดให้นำเข้าอาหารสัตว์มาขายได้เสรีเพิ่มขึ้น
ในเมื่อไม่ยึดหลักซื่อกินไม่หมด
ก็ต้องเจอมาตรการคดกินไม่นานจัดการ
โดยเพิ่มคู่แข่งเข้ามาในตลาดอาหารสัตว์
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
จึงอาจมีบริษัทขนาดใหญ่ที่มีลักษณะกึ่งผูกขาดทางเกษตรได้
ยกตัวอย่าง กรณี บริษัทซีพี ที่ทำการเกษตรครบวงจร
ขายทั้งอาหารสัตว์ซึ่งมีแทบทุกชนิดของสัตว์เศรษฐกิจหลัก
รวมไปถึงการขายพ่อแม่พันธุ์หมูไก่อะไรพวกนี้อีก
ซึ่งการปรับราคาสินค้าในเครือนี้ส่งผลกระทบทั้งตลาดได้ทันที
เช่นถ้ารัฐบาลประกาศขึ้นเงินเดือน
แล้วถ้าเครือบริษัทนี้ปรับราคาสินค้าในการควบคุมตาม
ผลก็คือทำให้สินค้าบริโภคประเภทเนื้อหมูเนื้อไก่ แพงตามได้ทันที
จะเห็นได้ว่าแค่บริษัทในเครือนี้บริษัทเดียวปรับราคา
สินค้าที่เกี่ยวเนื่องสารพัดปรับตามทันที
แถมยังเป็นนายทุนให้แทบทุกพรรคการเมือง
ขั้วไหนมาเป็นรัฐบาลก็มีเอี่ยวกับเขาหมด
การแก้ปัญหาของแพงของทุกรัฐบาล
จึงเป็นลักษณะลูบหน้าปะจมูกไม่กล้าแตะต้นตอของปัญหา
กล้าแตะแต่รายเล็กรายย่อยพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดแค่นั้น
ซึ่งก็เหมือนกับแก้แบบขอไปทีซะมากกว่า

ทั้งๆ ที่รอบนี้มีหลักฐานชัดว่า
บริษัทขายอาหารสัตว์เครือซีพี ได้กำไรกระฉูดยังไง
จนส่งผลให้มูลค่าหุ้นดีดตัวเพิ่มนับพันเปอร์เซ็นต์
ในช่วงเวลาแค่ปีสองปีมานี่เอง
ถ้าจะอ้างว่าต้นทุนสูงขึ้น
คือวัตถุดิบที่นำมาทำอาหารสัตว์
กำไรมันจะไม่โตพรวดพราดแบบนี้หรอก
มันจะเพิ่มลดไม่มากนัก
เพียงแต่ตัวเลขรายได้และรายจ่ายสูงขึ้น
กำไรก็ประมาณเท่าเดิมเพิ่มลดไม่มาก
แต่ประเภทผลประกอบการกำไรขึ้นหลายเท่าตัวนี่
เห็นๆ กันอยู่ว่าขึ้นราคาขายมากกว่าต้นทุนที่แท้จริง

อีกอย่างรัฐบาลไม่มีบริษัทคล้ายรัฐวิสาหกิจ
ที่ทำธุรกิจด้านการเกษตรเลย
เพื่อจะได้มีตัวช่วยปลดล็อคการผูกขาด
และยังช่วยพยุงราคายามของแพงได้อีกด้วย
น่าจะพิจารณาตั้งบริษัทที่รัฐถือหุ้นไม่เกินครึ่ง
ถือเพื่อคงสิทธิ์ในการแทรกแซงยามจำเป็น
กับเพื่อไม่ให้สุมหัวกันโก่งราคาหรือโกงกินกัน
จะได้มีการตรวจสอบหลายๆ ทาง
โดยพยายามกระจายหุ้นให้แก่เกษตรกรให้มากที่สุด
เพื่อให้เขารู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการควบคุมดูแล
เพื่อผลประโยชน์ในการเพิ่มราคาขายของพวกเขาได้มากขึ้น
แต่ไม่กระทบกับคนทั่วไปมากนัก
สามารถทำได้ในหลายๆ กิจการ
ทั้งค้าข้าว ยาง น้ำตาล ... หรือทำอาหารสัตว์
ขายพันธุ์หมูไก่กุ้งอะไรพวกนี้
จะได้ปลดล็อคการฮั้วราคาไปตลอดกาล

ถ้าสามารถหาทางลดต้นทุนหลักลงมา
ในระดับที่สมเหุตผลจนคนเลี้ยงคนขายปลีกพอมีกำไรแล้ว
เมื่อหมูไก่ราคาลดลงมาแล้ว
แต่ร้านขายอาหารยังไม่ยอมลดราคาลงมาอีก
ถึงค่อยไปรณรงค์หยุดกินเปลี่ยนไปกินร้านที่ถูกกว่า
รวมทั้งประกาศให้คนรับรู้สิทธิ์ในการต่อรอง
ก็จะส่งผลทางจิตวิทยาแก่พ่อค้าแม่ค้าได้
เรียกว่ามีอะไรพยายามชี้แจงบอกกล่าว
ให้ประชาชนรับทราบมากที่สุดเขาจะได้เข้าใจ
ก็อาจทำให้การแก้ปัญหาอะไรๆ แก้ได้ง่ายขึ้น
จบอีกแนวคิดที่แตกต่างทางเศรษฐศาสตร์
จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมต้องตั้งสำนักเศรษฐศาสตร์ใหม่
ก็เพราะคิดอะไรไม่เหมือนสำนักอื่นนั่นเอง อิอิ

โดย มาหาอะไร
FfF