บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


28 กันยายน 2554

<<< ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ สามัญชนผู้พลีชีพเพื่ออุดมการณ์ >>>

ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ สามัญชนผู้พลีชีพเพื่ออุดมการณ์

บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูล และข้อเขียนที่เกี่ยวกับลุงนวมทองไพรวัลย์ สามัญชนผู้พลีชีพเพื่ออุดมการณ์ หลังคำสบประมาทของ พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คปค. ที่ว่า '"ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้" เพื่อเป็นการสดุดีเนื่องในวาระครบรอบ 1 ปีของหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่หลายคนอาจลืมไป เพราะพื้นที่ข่าวถูกใช่ไปกับ....





นวม ทอง ไพรวัลย์ (พ.ศ. 2489 - 31 ต.ค. 2549) เป็นคนขับแท็กซี่ที่ฆ่าตัวตายด้วยการผูกคอตายใต้สะพานลอยถนนวิภาวดีรังสิต ภายหลังจากที่ได้ขับรถชนเข้ากับรถถังเบาของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า

ซึ่ง การฆ่าตัวตายของเขาได้มีการหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงโดยกลุ่มผู้ต่อต้านคณะ ปฏิรูป โดยกวี จิ้น กรรมาชน จากเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ประชาไท เขียนบทกวีชื่อ "เขาชื่อ...นวมทอง" เพื่อคารวะต่อนายนวมทอง ไพรวัลย์ คืนวันที่ 31 ตุลาคม เขากำลังบันทึกเสียงบทเพลง ‘วันของเรา’ โดยไม่รู้เลยว่าเป็นคืนเดียวกับที่ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ชายผู้ขับแท็กซี่ท้าชนรถถัง ได้ตัดสินใจพลีชีพเพื่อประกาศให้สังคมและคนที่สบประมาทได้รู้ว่า คนที่ยอมตายเพื่อประชาธิปไตยมีอยู่จริง




จิ้น กรรมาชน จึงส่งผ่านบทเพลง ‘วันของเรา’ ให้ประชาไท เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับลุงนวมทอง พร้อมกันนี้เขาได้เขียนบทกวี ‘เขาชื่อ..นวมทอง’ เพื่อคารวะต่ออีกหนึ่งชีวิตที่หายไป ด้วยหวังให้ประชาธิปไตยกลับคืนมา


เขาชื่อ..นวมทอง

นวมทองขอพลีชีพ จุดประทีปแห่งสมัย
เกิดมาเื่พื่อรับใช้ พิทักษ์ไว้อุดมการณ์

เชื่อมั่นต่อจุดยืน เขาลุกขึ้นอย่างกล้าหาญ
คัดค้านเผด็จการ รัฐประหารน่าชิงชัง

เป็นเพียงสามัญชน พุ่งรถยนต์ชนรถถัง
หนึ่งคนมิอาจยั้ง เกินกำลังจะประลอง

วีรชนไม่ตายเปล่า หากปลุกเร้าเราทั้งผอง
คนซื่อชื่อนวมทอง จักเรียกร้องความเป็นธรรม


ด้วยจิตคารวะ
จิ้น กรรมาชน
2 พ.ย. 2549



คลิปเข้าไปฟังเพลง ‘วันของเรา’ จากจิ้น กรรมาชน และบทกวีคารวะแด่ แท็กซี่วีรชน

เหตุการณ์ฆ่าตัวตาย


นวม ทอง ไพรวัลย์ อดีตพนักงานการไฟฟ้าบางกรวย เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ขับรถแท็กซี่ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นโคโรล่า สีม่วง ทะเบียน ทน 345 กทม. ของบริษัทสหกรณ์แหลมทองแท็กซี่ จำกัดพ่นสีคำว่า "พลีชีพ" ที่กระโปรงท้าย ส่วนบริเวณด้านข้างประตูรถทั้งสองข้างพ่นเป็นตัวหนังสือจับใจความว่า "พวกทำลายประเทศ"พุ่งเข้าชนรถถังเบา M41A2 Walker Bulldogตรากงจักร 71116 ของ คณะปฏิรูป พังยับเยิน และตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัส ซี่โครงซ้ายหัก คางแตก ปากแตก และ ตาซ้ายบวมเป่ง หลังจากนั้นแท๊กซี่จำนวนหลายร้อยคันรีบรุดไปเยี่ยมแต่ถูกห้ามไม่ให้เข้า เยี่ยมเรื่องราวการรวมตัวของกลุ่มแท๊กซี่ไม่ได้ถูกรายงานข่าวต่อสาธารณะชน



ต่อมาในคืนวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ได้ผูกคอตาย กับราวสะพานลอย บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ฝั่งขาออก เยื้องกับที่ตั้งสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (บริษัท วัชรพล จำกัด) โดยในจดหมายลาตายระบุ เพื่อลบคำสบประมาทของ พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คปค. ที่ว่า '"ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้" '

ในคืนที่นาย นวมทองแขวนคอตาย เขาตั้งใจสวมเสื้อยืดสีดำ สกรีนข้อความเป็นบทกวี ที่เคยใช้ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย [1] ด้านหน้า เป็นบทกวีของรวี โดมพระจันทร์ และ ด้านหลัง เป็นบทกวีของกุหลาบ สายประดิษฐ์
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ประชาชนจำนวน 200 คน ได้มาชุมนุมกันเพื่อขับไล่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. โดยเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึก และจัดการเลือกตั้งภายใน 2 เดือน ชนาพัทธ์ ณ นคร และวรัญชัย โชคชนะ ผู้นำกลุ่มพิราบขาว ได้กล่าวโจมตีคณะรัฐประหาร และเชิดชูวีรกรรมของ นวมทอง ไพรวัลย์ ช่วงค่ำแกนนำกลุ่มเครือข่าย 19 กันยาฯ ตามมาสมทบการชุมนุม [2]

9 พ.ย.2549 เวลา 16.00 น. งานฌาปนกิจศพวันสุดท้ายนายนวมทอง ไพรวัลย์ แท็กซี่วีรชน ที่ศาลา 1 ต.บางกระสอ องเมือง จ.นนทบุรี มีนายแพทย์สันต์ หัตถีรัตน์ เป็นประธานพิธีประชุมเพลิง โดยมีผู้มาร่วมงานประมาณ 300 คน อาทิ นายแพทย์เหวง โตจิราการ นางประทีป อึ้งทรงธรรม พล.ต.วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล เลขานุการกองทัพบก ได้เดินทางมาพร้อมกับ พ.ท.ไพบูลย์ พุ่มพิเชษฐ ผบ.ปตอ.พัน 1 รอ. พร้อมกำลังทหารมาร่วมงานศพกว่า 50 นาย โดยได้มอบเงินจำนวนหนึ่งในนามกองทัพบกให้กับนางบุญชู ภรรยานายนวมทอง เป็นการช่วยเหลือพร้อมสอบถามสารทุกข์สุกดิบกับนางบุญชู

พล.ต.วี รัณ กล่าวว่า ตนเองได้เดินทางมาร่วมงานศพในนามตัวแทนกองทัพบก โดยทางผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายให้ตนเองมาดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งได้ช่วยเหลือมาแล้วในเบื้องต้น ส่วนในระยะยาวนั้นทางกองทัพยินดีที่รับบุตรสาวของนายนวมทอง เข้ารับราชการเป็นทหารต่อไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของ น.ส.สาวิดา ด้วยว่าจะต้องการเข้ามาประกอบอาชีพเป็นข้าราชการหรือไม่ เพราะทราบมาว่า น.ส.สาวิดา เพิ่งจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรี และหากทางครอบครัวนางบุญชู เดือดร้อน และต้องการความช่วยเหลืออะไร ก็ขอให้ติดต่อผ่านมาทางตน ทางตนยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือต่อไป

ทาง ด้านนางบุญชู กล่าวกับ พล.ต.วีรัณ ว่า อยากให้ทางนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับปากกับตนเองเอาไว้ว่า จะช่วยเหลือเรื่องไถ่ถอนบ้านที่ติดจำนองอยู่ แต่แล้วเรื่องก็เงียบไป ทั้ง ๆ ที่มีผู้ใหญ่หลายคนรับปากว่า จะช่วยเหลือ และอยากให้ทางเลขานุการกองทัพบกด้วยติดตามเรื่องสัญญาจากนายกรัฐมนตรีให้ ด้วย อย่าให้เรื่องเงียบหายไปพร้อมกับงานศพ

น.ส.สาวิดา ลูกสาวนายนวมทอง กล่าวว่า ถ้าทางกองทัพบกให้โอกาสเข้ารับราชการทหารก็พร้อมที่จะรับราชการเช่นกัน เพราะเพิ่งรับปริญญามา แต่ไม่ทันที่พ่อได้อยู่ดูความสำเร็จ ก็รู้สึกเสียใจเช่นกัน และเชื่อว่าพ่อไปดีแล้วไม่มีอะไรต้องห่วงอีก ก่อนการประชุมเพลิงนายวิสา คัญทัพ ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตได้อ่านบทกวีเพื่อไว้อาลัย ว่า อาลัยนวมทอง ไพรวัลย์ นักสู้ประชาธิปไตย 2549 “นายนวมทอง ไพรวัลย์ จารึกชื่อไว้นิรันดร์ ทุกยุคสมัย นักสู้ประชาธิปไตย สามัญชนยิ่งใหญ่ยังมีจริง ให้สติกับใจที่ไร้สติ ฉุดปัญญาสมาธิหยุดนิ่ง กฎประชาชนสร้าง ถูกบ้างทิ้ง แท็กซี่วิ่งชนรถถังดังทั้งเมือง เดินทางสู่ความตายโดดมุ่งมั่น ฝันนี้สร้างสรรค์ ให้ฝันเฟื่อง อย่าว่าเขาเราท่านให้กันเคือง เลยผู้ฉลาดปราดเปรื่องแห่งเมืองไทย ความคนความจริงความรู้สึก ตื้นลึกอกสั่นหวั่นไหว บางทีบางสิ่งที่จริงใจ ก็แพ้ภัยย้อนยอก ในหลอกลวง”

นอก จากนี้นายอเนชา ไพรวัลย์ ลูกชายคนเล็กของนายนวมทอง ได้บวชหน้าไฟอุทิศส่วนกุศลให้กับบิดาด้วย จากนั้นจึงเคลื่อนย้ายศพนายนวมทองจากศาลา 1 ไปยังเมรุเพื่อทำการเผา และระหว่างที่นำศพนายนวมทองเข้าเตาเผา นางบุญชูได้ขอร้องสัปเหร่อของวัดเพื่อขอเปิดโลงศพดูหน้านายนวมทองเป็นครั้ง สุดท้าย แต่สัปเหร่อไม่ยอมเปิดโรงศพให้ดู โดยบอกว่า ตนเองต้องทำตามทำตามหน้าที่ ทำให้บรรดาญาติ ๆ ของนายนวมทองไม่พอใจ แต่ก็ไม่คัดค้านอีก

ภายหลังจากทำการประชุมเพลิงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ระหว่างที่บรรดาผู้ร่วมงานทยอยเดินทางกลับ นางบุญชู ได้นำเทปบันทึกเสียงของนายนวมทอง ที่บันทึกไว้ก่อนตาย มาเปิดผ่านเครื่องขยายเสียง โดยมีใจความว่า พ.อ.อัคร เป็นผู้ดูถูกคนรักประชาธิปไตย เพราะเขาเป็นทหารจึงไม่รู้จักคำว่าประชาธิปไตย เพราะทหารมักถูกกดขี่จากผู้บังคับบัญชาอีกที เรื่องนี้ตนรู้ดีเพราะว่าเคยเป็นทหารมาก่อน สมัยนั้นตนเองเป็นทหารสังกัด ม.พัน 3 และ ม.พัน 4 เรื่องการพลีชีพครั้งแรกของตนนั้น แม้ว่าจะทำให้ตนเองได้รับบาดเจ็บสาหัสก็ตาม แต่ก็ได้รับผลตอบรับกลับมาอย่างดี เพราะหลังจากนั้นแล้ว ตนเองได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษจากคนอื่น ๆ มาเป็นจำนวนมาก ที่ด่าก็มีแต่มีน้อย เพราะประชาชนเขาต้องการให้ คปค.จงสำนึกด้วยว่า สิ่งที่ทำลงไปนั้น ประชาชนเขาจะรู้สึกอย่างไร ทุกอย่างได้เปิดเผยหมดแล้ว

สมคบกับอสรพิษแล้วก็ถูกอสรพิษแว้งกัด ตนดีใจที่การพลีชีพครั้งแรก เป็นการทำเพื่อประเทศชาติ เพราะมีแต่คนพูดถึงเรื่องแท็กซี่ชนรถถัง และไม่เคยนึกเสียดายชีวิต ยินดีด้วยความยิ้มแย้ม ที่ได้ทำเพื่อประชาธิปไตย ไม่ขอยอมอยู่ในระบอบเผด็จการ ตนมีสติดี สมองไม่เลอะเลือนและมีชีวิตอยู่ได้อีกนาน แต่ตนเองทนไม่ได้ที่เอาเหตุผลอะไรมาอ้างในการปฏิวัติ ทำให้ประชาชนเขาลือกันว่า ลอบสังหารไม่ได้ก็ปฏิวัติมันเสียเลย กล่าวหาเขาอย่างนั้นอย่างนี้ แต่สุดท้ายก็เป็นเหมือนเขาเช่นกัน และตนเองเกิดมาเป็นคนไทย คนไทยเขาถือว่าฆ่าได้หยามไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อโฆษก คปค.ให้สัมภาษณ์ดูถูกตนว่า รับจ้างเอาเงินเขามา จึงต้องแสดงการพลีชีพครั้งที่ 2 ให้เห็นกันไปเลย

สุดท้ายนี้ตนเอง เป็นห่วงและสงสารภรรยามากที่สุด แต่อย่างไรเสียทุกคนก็ต้องจากกันไม่ช้าก็เร็ว แต่เพื่อประเทศชาติและประชาชนแล้ว ตนต้องทำ และหวังว่าชาติหน้าเกิดมาไม่ต้องเจอการปฏิวัติอีก สุดท้ายขอร้องเพลงปลอบใจลูกเมียตามประสานักร้องเก่า ในเพลงลูกแก้วเมียขวัญ ของสุรพล สมบัติเจริญ และขอขอบคุณทุกคนที่ตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมกับขอตั้งฉายาให้คณะปฏิวัติชุดนี้ว่า “ เผด็จการปากพล่อย คปค.ตอแหล” เพราะผิดสัญญาว่า จะไม่ปฏิวัติ แต่ก็ตระบัดสัตย์(3)

อุดมการณ์ ของลุง จากคำบอกเล่าบางช่วงของ จอม เพชรประดับ นักข่าวไอทีวีผู้เป็นคนสุดท้ายที่ได้รับฟังความจริงจากปากลุงนวมทอง พร้อมเปิดใจพูดถึงการทำงานของนักข่าวโทรทัศน์ ในวันที่กฏอัยการศึกถูกต่ออายุอย่างไม่มีกำหนด…

‘อุดมการณ์ประชาธิปไตยของลุงนาวมทอง ไพรวัลย์ - ข่าวเด่นที่ต้องนำเสนอ’ ...มีคำถามว่าเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าคุณลุงเป็นคนที่มีอุดมการณ์บริสุทธิ์ เราก็ดูจากการพูดคุย ดูจากการสัมภาษณ์ ดูจากครอบครัวแล้ว ผมเชื่อว่านี่คือการกระทำจากความคิดและความเชื่อมั่นในอุดมการณ์ของคุณลุง…
“วันที่ 14 ตุลาคม 2549 ผมไปรายงานสดรำลึก 33 ปี ของเหตุการณ์ ตุลา 2516 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว คุณลุงนวมทองก็เข้ามาแนะนำตัวกับผมว่า เขาคือคุณลุงนวมทองที่เป็นคนขับรถแท๊กซี่ที่ชนรถถัง ผมก็ถามคุณลุงว่าออกจากโรงพยาบาลมาเมื่อไหร่ เป็นยังไงบ้าง แกก็บอกว่าเพิ่งออกมาได้ 2 วัน ผมบอกคุณลุงไปว่าผมชื่นชมในความสามารถของคุณลุงที่กล้าหาญ กล้าออกมาแสดงความรู้สึกนึกคิดในขณะที่ทุกคนกำลังกลัว

ผมขอเบอร์คุณลุงไว้ เผื่อจะไปสัมภาษณ์ทีหลัง แต่ระหว่างที่ผมกำลังรอสัมภาษณ์แหล่งข่าวคนหนึ่งซึ่งยังอยู่ในห้องบรรยาย ผมเห็นว่าคุณลุงยังวนเวียนอยู่แถวนั้น ผมก็เลยบอกว่าถ้าอย่างนั้นผมสัมภาษณ์คุณลุงเลยดีกว่า

ผมถามว่าทำไม คุณลุงถึงตัดสินใจจะฆ่าตัวตาย หรือว่าขับรถไปชนรถถัง คุณลุงก็อธิบายให้ฟังและบอกเหตุผล คุยกันประมาณสัก 20 นาที จากนั้นผมบอกคุณลุงว่าอันที่ผมสัมภาษณ์ไป ผมยังไม่ได้ออกอากาศนะครับ เพราะคุณลุงก็คงทราบว่ายังอยู่ในระหว่างกฏอัยการศึก ผมคงไม่สามารถออกอากาศได้ในตอนนี้ ผมจะออกให้คุณลุงได้ก็ต่อเมื่อยกเลิกประกาศกฏอัยการศึกแล้ว ผมบอกคุณลุงอย่างนั้น แล้วเราก็ลากัน

เทปที่คุยกันวันนั้นผมก็เก็บ ไว้ แต่หลังจากนั้นประมาณ 15 วัน คุณลุงก็โทรมาผม บอกว่าคุณจอมครับ เทปนั้นเก็บไว้ให้ดีๆ แต่ผมคิดว่าคุณลุงคงไม่ได้โทรหาผมเพื่อจะบอกให้ผมรีบออกอากาศหรือว่าอะไร เพราะคุณลุงก็ทราบดีว่าผมยังทำไม่ได้ ผมก็บอกคุณลุงว่าแน่นอน ผมจะเก็บไว้ให้ดี

พอรุ่งเช้า ผมเช็คข่าวถึงได้รู้ว่าคุณลุงตัดสินใจฆ่าตัวตาย ทางไอทีวีก็เลยปรึกษาว่าเราควรจะเอาเทปของคุณลุงออกอากาศดีไหม หลังจากปรึกษากับบรรณาธิการบริหาร เขาก็บอกให้ลองพิจารณากันดู มันเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และคุณลุงก็โทรมาหาเราเป็นที่แรก แล้วอีกอย่างเรื่องนี้เป็นการรักษาอุดมการณ์ทางประชาธิปไตย ไม่ได้เกี่ยวกับการปลุกระดม

ตอนที่คุณลุงขับรถชนรถถัง นายทหารบางคนออกมาปรามาสว่าไม่มีใครหรอกที่คิดฆ่าตัวตายเพียงเพราะอุดมการณ์ ทางการเมือง คุณลุงต้องการแสดงให้เห็นว่านั่นเป็นการปรามาสเขามากเกินไป มีคนอีกมากมายที่ยอมตายเพื่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย นั่นคือบทหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่ามีคนไม่น้อยที่พร้อมจะตายเพื่อรักษาอุดมการณ์ ซึ่งเราจะไม่ค่อยเห็นเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย

คนลักษณะนี้ มีไม่มากในสังคมไทย ทีนี้มีคำถามว่าเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าคุณลุงเป็นคนที่มีอุดมการณ์ บริสุทธิ์ เราก็ดูจากการพูดคุย ดูจากการสัมภาษณ์ ดูจากครอบครัวแล้ว ผมเชื่อว่านี่คือการกระทำจากความคิดและความเชื่อมั่นในอุดมการณ์ของคุณลุง มากกว่าจะเป็นการว่าจ้างจากใคร หรือว่าจะเป็นบุคคลวิกลจริต

เมื่อเรามอง เราวิเคราะห์อะไรต่างๆ แล้ว ทางไอทีวีก็เลยตกลงใจว่าเราจะออกอากาศ เพราะว่าเราต้องการสะท้อนภาพของคนที่มีความเชื่อมั่นในลัทธิทางการเมือง และเป็นลัทธิทางการเมืองที่เราก็ต้องการด้วย นั่นก็คือประชาธิปไตย”

‘เหตุการณ์คร่าวๆ เมื่อข่าวการฆ่าตัวตายของลุงนวมทองจี้ใจดำรัฐบาลทหาร’ ...ต้องบอกก่อนว่าทหารเขาไม่ได้บุกมาปิดไอทีวี...แต่มีหนังสือมาเตือนว่าไม่ ควรที่จะเผยแพร่ข่าวนี้ หรืออาจจะเผยแพร่ได้ในลักษณะของข่าวทั่วไป คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร...

“เมื่อเราออกข่าวไปตอนภาคเที่ยง เราก็เล่าให้ฟังเป็นข่าวอ่าน พูดถึงเหตุการณ์ที่คุณลุงเสียชีวิตด้วยการผูกคอตาย จากนั้นก็เป็นสกู๊ปที่ผมทำขึ้นมา เพื่อจะบอกถึงเหตุผล ซึ่งก็คือคำสัมภาษณ์ของคุณลุงนั่นแหละว่าทำไมคุณลุงถึงเลือกที่จะสละชีวิต ตัวเองเพื่อฆ่าตัวตาย จากนั้นพอได้ออกอากาศข่าวเที่ยงเสร็จแล้ว เราก็ออกอากาศอีกทีในช่วงข่าวภาคค่ำ คือ 6 โมงเย็น ก็ทำแบบเดียวกัน โดยมีคำบรรยายมากขึ้น

แน่นอนว่าอุดมการณ์ทางประชาธิปไตย ย่อมขัดแย้งกับแนวทางของทหารที่ทำรัฐประหารอยู่แล้ว แต่ความตั้งใจหลักๆ ของคุณลุงนวมทอง คือต้องการรักษาอุดมการณ์ทางประชาธิปไตยเอาไว้อย่างแท้จริง เราก็พิจารณาว่า ถ้าเป็นอุดมการณ์ที่บริสุทธิ์แบบนี้ เรื่องนี้ก็น่าจะออกได้ และเราก็เป็นที่เดียวที่มีบทสัมภาษณ์ และเป็นที่เดียวที่มีเหตุผลในการฆ่าตัวตายของคุณลุงว่าเพราะอะไร ถ้าเอาออกไปแล้ว มันก็เหมือนเป็นการเปิดข้อเท็จจริงว่าเป้าหมายของคุณลุงคืออะไร

คุณลุงไม่ได้ถูกฆาตกรรม คุณลุงไม่ได้เป็นคนสติไม่ดี และคุณลุงไม่ได้ถูกจ้างจากใคร แต่คุณลุงทำด้วยเจตนาของตัวเอง และเป็นความสมัครใจที่จะตาย เพราะต้องการที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่ายังมีคนอย่างคุณลุงคนหนึ่งที่ไม่เห็น ด้วยกับการปกครองที่มาจากการปฏิรูป-ปฏิวัติ ตรงนั้นคือสิ่งที่เขาต้องการจะบอก นั่นก็คือว่าอุดมการณ์ประชาธิปไตยต้องรักษาไว้ด้วยชีวิต

หลังจากที่ข่าวเที่ยงออกไป เราประเมินสถานการณ์แล้วว่าไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ทหารไม่ได้โทรมา ไม่มีการเตือนมาว่าไม่ให้ออกอากาศ เราก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ก็เลยเอามาเสนอต่อในข่าวภาคค่ำ แต่พอข่าวภาคค่ำออกไปปุ๊บ มันดูเหมือนว่ากระแสมันแรงขึ้น คนดูที่ดูมาตั้งแต่ตอนเที่ยง พอตอนค่ำเขาดูอีก เขาก็รู้สึกว่าเรื่องนี้มันแรง พอมันแรงปั๊บ ทหารก็ตักเตือน ต้องบอกก่อนว่าทหารเขาไม่ได้บุกมาปิดไอทีวี แต่มีหนังสือเตือนมาว่าไม่ควรเผยแพร่ข่าวนี้ หรืออาจจะเผยแพร่ได้ในลักษณะของข่าวทั่วไป คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

ตอนที่ทหารเตือนมา ข่าวภาคค่ำได้ออกอากาศไปแล้ว เขาจึงเตือนมาเพื่อไม่ให้เราออกอากาศอีกในช่วงฮอทนิวส์ มันก็เลยไม่มีข่าวนี้ออกอากาศในช่วงฮอทนิวส์ ซึ่งที่จริงเราจะเสนอข่าวนี้ในช่วงฮอทนิวส์ก็ได้ แต่เขาไม่ให้เราเอาบทสัมภาษณ์ของคุณลุงออกอากาศ แต่อาจจะออกเป็นข่าวพิธีการหรือพิธีกรรมก็ได้

ผมไม่ได้ดูในหนังสือ ที่ทหารส่งมา แต่ได้ยินมาว่ามีการพูดถึงข่าวของคุณลุงนวมทองว่าอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้ง และความแตกแยก หรือเป็นชนวนของการไม่สมานฉันท์ของคนในชาติ นั่นคือเหตุผลที่ใช้ แต่ถ้าคำพูดชัดๆ ตรงๆ ในจดหมาย ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่เหตุผลหลักก็คือเขาอยากให้เกิดความสงบเรียบร้อย ไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง อยากให้เกิดความสมานฉันท์ ไม่เพิ่มความขัดแย้งในสังคมขึ้นมาอีก

หลังจากนั้นในไอทีวีก็มีการคุยกันว่ามีการเตือนเกิดขึ้น ก็ขอให้ระมัดระวังในการเสนอข่าว เพราะเขาเองก็จับตาดูอยู่อย่างเป็นห่วงเหมือนกันว่าเราจะเล่นอะไรต่อ และเราก็กลัวว่าใครจะเอาเรื่องราวของคุณลุงไปประท้วง ไปคัดค้าน หรือไปใช้ประโยชน์ในการอื่น เราก็ไม่เห็นด้วย เราก็ถือว่าเราทำหน้าที่ของสื่อที่บอกถึงคนที่ต้องการจะพิสูจน์ความเชื่อ มั่น ศรัทธา และก็ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แล้ว (4)

ข้อความบางส่วนที่ถอดจากเทปที่ถูกโพตส์ในเวปบอร์ตประชาไท โดยคุณ clip เสียงเทปของลุง ความคิดเห็นที่ 51

"ถ้อยคำของรองโฆษก ท่านอัคร ทิพยโรจน์ ท่านดูถูกเหยียดหยามคนรักประชาธิปไตยอย่างมาก ท่านไม่มีหัวใจประชาธิปไตย เพราะการเป็นทหารไม่มีหัวใจเป็นประชาธิปไตย เพราะต้องเชื่อฟังคำสั่งเจ้านาย กดหัวลูกน้องผมเคยเป็นทหาร ม. พัน 3 ม.พัน4 ยานเกราะ ผมรู้ดี..."

"ขอให้ คมช.ตอนนี้จงรู้สำนึกว่าที่ท่านทำตอนนี้ ประชาชนเขามีความรู้สึกอย่างไร ท่านอย่าเข้าใจผิดนะว่าคนสนับสนุน.........

"พันธมิตรที่ก่อความไม่สงบ ก่อการชุมนุม แต่มันมีเบื้องลึกเบื้องหลังมากมาย ประชาชนเขาเข้าใจว่าพวกท่านนี่แหละอยู่เบื้องหลัง ไม่ต้องมาพูดจาแก้ตัว เพราะว่าตอนนี้ทุกอย่างเปิดเผยหมดแล้ว.............

"อายุขนาดนี้ ยังต้องอยู่ในระบอบเผด็จการ ผมทนไม่ได้ ........ พระสยามเทวาธิราชท่านก็คงไม่อยากให้ประเทศไทยดักดานอยู่แบบนี้หรอก...

"ท่านรองโฆษก คปค. ยศขณะนั้น ท่านบอกว่าผมแก่แล้ว คงไม่มีอุดมการณ์ทางการเมือง ผมนี่อายุ 60 นะ คณะผู้ก่อการ อีตนายกฯเปรม 80 กว่า ท่านนายกฯสุรยุทธ 60 กว่า ท่านสนธิ บุญยรัตนกลิน ท่านก็ใกล้ 60 สามคนนี้ 200 กว่า แล้วมาว่าผมแก่ ถึงผมแก่ ผมมีสติดี แข็งแรง สมองไม่เลอะเลือน คงอยู่ได้อีกนาน แต่มาเจอเหตุการณ์แบบนี้ ผมทนไม่ได้...

"การแต่งตั้งทหารก็ไปฟ้องเสาหลัก แล้วเสาหลักจริงๆตอนเป็น ผบ.ทบที่ท่านคึกฤทธิ์ตั้งให้ กระโดดข้ามห้วยมาจากไหน ท่านก็กระโดดข้ามห้วยมาเหมือนกัน อะไรก็แล้วแต่ที่กล่าวหา ท่าน คปค.เป็นเองทั้งนั้นแหละ.........

สุดท้ายขอเอาคำกล่าวของนักปราชญ์และนักต่อสู้ท่านต่างๆมาคำรำพันถึงลุง

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวัน เดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วใน โลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน(How the Steel Was Tempered) นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933เทอด ประชาธรรม (ทวีป วรดิลก) แปล พ.ศ.2518

"...คุณรวมถูก คุมขังอยู่ 2 เดือนเต็ม ตลอดเวลาที่อยู่ในคุมขังนั้น เขามิได้ยอมแพ้หรือระทดท้อ เมื่อหลานสาวไปเยี่ยม เขาก็ยังยิ้มอย่างอารมณ์ดี, กล่าวแต่เพียงว่า ขอให้เรียนให้ดีๆ แน่นอน นี่มิใช่เป็นแต่เรื่องความเข้มแข็งของจิตใจเท่านั้น แต่มันเป็นเรื่องของความศรัทธาที่ลุกโพลงอยู่ในดวงใจของเขา ทำให้เขายืนหยัดอยู่ได้ ประวัติศาสตร์มีเหตุการณ์เช่นนี้ให้เราเห็นเสมอ นี่แหละคือ มรณสักขี (martyrdom) หรือนัยหนึ่งการยอมสละชีวิตเพื่อพิสูจน์ถึงอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ของตนต่อ หน้าศัตรูที่มุ่งร้าย"

จาก รวม วงษ์พันธ์ วีรบุรุษนักรบของประชาชน อนุสรณ์เนื่องในงานฌาปนกิจศพ นายรวม วงษ์พันธ์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ 23 เม.ย. 2538 33 ปี ภายหลังถูกจอมเผด็จการสฤษดิ์สั่งประหารในข้อหาคอมมิวนิสต์ด้วยอำนาจมาตรา 17 เมื่อ 24 เม.ย. 2505

คือชีวิต.....
ที่พระเจ้าประทานสิทธิ์ให้เทียมเท่า
เพียงครั้งเดียวทุกผู้ได้อยู่เนา
สมบัติใดไหนเล่าค่าเท่าทัน
รักชีวิตมีชีวิตที่คิดหมาย
อย่าอยู่อย่างอับอายให้โลกหยัน
อย่าอยู่อย่างเปล่าค่าเปลืองคืนวัน
จงอยู่ฝันอยู่สู้อยู่สร้างธรรม
เพื่อวันตายตาคู่จะรู้หลับ
ชีวิตดับปลาบปลื้มและดื่มด่ำ
ด้วยได้มอบกายใจใฝ่ตรากตรำ
ปลดแอกจำจองมนุษย์จนสุดใจ(5)


ขอสดุดี และร่วมไว้อาลัย

แด่ วีระบุรุษ ประชาธิปไตย นาม ....นวมทอง ไพรวัลย์

ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ พันธุ์นักสู้
ผู้เชิดชู ประชาธิปไตย ใจเข้มแข็ง
อุดมการ แน่วแน่ สู้สุดแรง
จึงแข็งแกร่ง ดังเพชร ใจเด็ดจริง


เผด็จการ จะเย้ยหยัน ไม่หวาดหวั่น
พร้อมสู้มัน ทุกที่ ไม่หนีหาย
สละได้ แม้ชีวี พลีร่างกาย
เพื่อเป้าหมาย คือประชา ธิปไตย


ขับแท็กซี่ แม้ดู ไม่มีค่า
แต่ราคา ข้างใน ใครจะเหมือน
พลีชีพได้ ทั่วไทย สั่นสะเทือน
ช่วยย้ำเตือน คุณค่า ความเป็นคน...


บัดนี้ครบ รอบปี ที่พลีร่าง
ท่านได้สร้าง วีรกรรม อันยิ่งใหญ่
ทั้งหมดนี้ เพื่อประชา ธิปไตย
ขอคารวะไว้ ในดวงใจ ไม่รู้ลืม..


(บทกลอนโดย คุณสมชาย คัดลอกจาก c-box สถานีวิทยุ นปก.ดอทคอม)


หนึ่งธุลี มีค่า น่ายกย่อง
คุณนวมทอง ผ่องผุด ดุจโคมฉาย
เขาอุทิศ ชีวิตให้ ไม่เสียดาย
เพื่อท้าทาย เหล่าปีศาจ อำมาตย์มาร

ขับรถยนต์ ชนรถถัง อย่างคนกล้า
ด้วยศรัทรา มวลมหา ประชาหาญ
ด้วยสำนึก ผนึกแห่ง อุดมการณ์
ยืนหยัดต้าน โจรกบฎ กดขี่คน

ไม่ร้องขอ รอฟ้า มายุติ
ตั้งสติ ที่ใจ ไม่สับสน
ไม่วนวก สกปรก แฝงเล่ห์กล
จักดั้นด้น ชนดะ ระยะยาว

หลับเถิด เกิดใหม่ ในชาติหน้า
อาจดีกว่า ชาตินี้ ที่ปวดร้าว
ผู้ยังอยู่ สู้ต่อ ทุกเรื่องราว
ต้นลมหนาว เผ้าคิดถึง คุณนวมทอง

โชติ วงษ์ชน
ร่วมรำลึก คุณนวมทอง ไพรวัลย์
๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐


ผม ไม่สนใจว่าใครจะพูดถึงลุงแกว่าอย่างไรหรือจะไม่มีใครพูดถึง จำไม่ได้ คุ้นๆ ไม่สนใจว่าลุงแกจะถูกจารึกในประวัติศาสตร์อย่างพวกสร้างภาพหรือไม่(นั่นเป็น การแสดงถึงข้อยืนยันในสังคมปัจจุบันว่าประวัติศาสตร์มักถูกเขียนโดยผู้ชนะ) แต่ผมเชื่อว่าลุงแกยังไม่ตาย เพราะการกระทำของลุงเป็นเครื่องยืนยันอย่างหนึ่งว่า มนุษย์มิได้เห็นแก่ตัวเสมอไปหรือ"ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้" ลุงได้ปลุกไฟแห่งศรัทธาที่กำลังริบหรี่ในโลกปัจจุบัน ลุงนวมทอง สามัญชน ผู้ไม่ต้องเดินสายหรือพร่ำโฆษณาชวนเชื่อว่าตนเป็นคนดีมีคุณธรรม ลุงแกได้พิสูจน์ถึงแม้ผมจะไม่เห็นด้วยกับวิธีการของลุกก็ตาม เพราะเสียดายไม่รู้ว่าจะมีคนที่มีจุดยืนมั่นอย่างลุงเหลืออยู่กี่คนในโลกใบ นี้ เพราะเท่าที่เห็นก็มีแต่ในโฆษณา


อ้างอิง

1.มติชนสุดสัปดาห์ 3-9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 หน้า 98, คอลัมน์ชกคาดเชือก โดย วงศ์ ตาวัน
2. The Nation, Small rally against CNS, call for election
3. http://www.bangkokbiznews.com
4. สัมภาษณ์: จอม เพชรประดับ และถ้อยคำสุดท้ายของ ‘นวมทอง ไพรวัลย์ โดยตติกานต์ อุดกันทา วันที่ : 10/12/2549 จากประชาไทย
5. แด่นวมทอง ไพรวัลย์ : มรณสักขีเพื่อประชาธิปไตย โดย เกษียร เตชะพีระ มติชนรายวัน วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 1047 หน้า 6

http://www.prachatai.com/05web/th/home/
http://www.wikipedia.org/

ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง:

แท็กซี่' บ้าดีเดือด ชนรถถัง ประท้วง 'คณะปฏิรูปฯ' ไทยรัฐ 1 ต.ค. 49

ขนจากวัด-ลุยแห่ ไล่สกัดวุ่น ศพแท็กซี่พลีชีพ ไทยรัฐ 2 พ.ย. 49

Visible Man 2006#3 : ‘นวมทอง’ อัศวินผู้ควบ ‘แท็กซี่’ ประดุจม้า..ปะทะ ‘รถถัง’ ราวกับประดาบกับกังหันลม, ประชาไท, 30 ธ.ค. 49

สัมภาษณ์: จอม เพชรประดับ และถ้อยคำสุดท้ายของ ‘นวมทอง ไพรวัลย์’ , ประชาไท, 10 ธ.ค. 49

เปิดเทปลุงนวมทองหลังเผา “เพราะเขาเป็นทหารจึงไม่รู้จักคำว่าประชาธิปไตย”, 10 พ.ย. 2549

‘ประกายไฟ’ จากชุน เต อิล แรงงานเกาหลี ถึงนวมทอง ไพรวัลย์ แท๊กซี่วีรชน และคนอื่นๆ, ประชาไท, 4 พ.ย. 49

แท็กซี่พลีชีพ สวดศพ คืนที่ 2 วุ่น เมียระบุถ้าวุ่นวายมากจะสวดศพแค่ 3 วันแล้วเผา , ประชาไท, 3 พ.ย. 49

จดหมายจากใจแท็กซี่พลีชีพ “ชาติหน้าเกิดมาคงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก”, ประชาไท, 2 พ.ย. 2549

ฟังเพลง ‘วันของเรา’ จากจิ้น กรรมาชน และบทกวีคารวะแด่ แท็กซี่วีรชน (ที่นี่ที่เดียว) เวอร์ชั่นเต็มมาแล้ว, ประชาไท, 2 พ.ย. 2549

ร่วมรำลึก 1 ปี ‘นวมทอง ไพรวัลย์’

ครบรอบปี คลี่จดหมายลายมือ ‘ลุงนวมทอง’ มาอ่านอีกครั้ง “ชาติหน้าเกิดมา คงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก”

คารวะวิญญาณลุงนวมด้วยบทเพลงยืนหยัด ของจิ้น กรรมาชน


ชมภาพถ่ายภาพชุด งานรำลึก “วีรบุรุษประชาธิปไตย” 31 ตุลาคม 2550
ทั้งหมดจากคุณมังกรดำ (เวบบอร์ด พันทิปราชดำเนิน) ได้ที่ ลิงก์ 1 2 3 4 5 6

ไฟล์ประกอบ
จดหมายนายนวมทอง ไพรวัลย์

Create Date : 31 ตุลาคม 2550
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2550 13:11:04 น.

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=inthedark&month=31-10-2007&group=22&gblog=20

--------------------------------------------------------

นวมทอง ไพรวัลย์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพถ่ายของนายนวมทอง ไพรวัลย์ที่ญาติได้นำมาตั้งไว้หน้าศพ
จดหมายลาตายของ นวมทอง ไพรวัลย์ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549

นวมทอง ไพรวัลย์ (พ.ศ. 2489 - 31 ต.ค. 2549; อายุ 60 ปี) เป็นคนขับแท็กซี่ที่ฆ่าตัวตายด้วยการผูกคอตายใต้สะพานลอยถนนวิภาวดีรังสิต หลังจากขับแท็กซี่พุ่งชนรถถังของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า นายนวมทองเป็นพลเมืองไทยเพียงคนเดียว ที่ได้ประกาศตนต่อสาธารณชนว่า ได้พยายามกระทำอัตวินิบาตกรรม เพื่อประท้วงการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองฯ[1] และได้บรรลุเจตนารมณ์ดังกล่าวในที่สุด เพื่อตอบสนองคำพูดของรองโฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่เขาถือว่าเป็นการเหยียดหยามวัตถุประสงค์ในการกระทำของเขา[2]

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] การต่อต้านรัฐประหารของนายนวมทอง

เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 นายนวมทอง ซึ่งเป็นอดีตพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย ได้ขับรถยนต์แท็กซี่ โตโยต้า โคโรลล่า สีม่วง ทะเบียน ทน 345 กรุงเทพมหานคร ของบริษัท สหกรณ์แหลมทองแท็กซี่ จำกัด พุ่งเข้าชนรถถังเบา M41A2 Walker Bulldog ป้ายทะเบียนตรากงจักร 71116 ของคณะปฏิรูปฯ และได้รับบาดเจ็บสาหัส

ต่อมาในคืนวันที่ 31 ตุลาคม นายนวมทองผูกคอตายกับราวสะพานลอย บริเวณถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาออก เยื้องกับที่ตั้งสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (บริษัท วัชรพล จำกัด) โดยในจดหมายลาตายระบุว่า ต้องการลบคำสบประมาทของ พันเอก อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คปค. ที่ว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้

ในคืนที่นายนวมทองแขวนคอตาย เขาตั้งใจสวมเสื้อยืดสีดำ สกรีนข้อความเป็นบทกวี ที่เคยใช้ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย[3] โดยด้านหน้าเป็นบทกวีของรวี โดมพระจันทร์ และด้านหลังเป็นบทกวีของศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์)

[แก้] หลังอัตวินิบาตกรรม

ซึ่งการฆ่าตัวตายของนายนวมทอง ได้มีการหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง โดยกลุ่มผู้ต่อต้านคณะปฏิรูปฯ เช่น จิ้น กรรมาชน[4] เขียนบทกวีขึ้นเพื่อคารวะต่อนายนวมทอง ความว่า

Cquote1.svg

เขาชื่อ..นวมทอง
นวมทองขอพลีชีพ จุดประทีปแห่งสมัย
เกิดมาเพื่อรับใช้ พิทักษ์ไว้อุดมการณ์
เชื่อมั่นต่อจุดยืน เขาลุกขึ้นอย่างกล้าหาญ
คัดค้านเผด็จการ รัฐประหารน่าชิงชัง
เป็นเพียงสามัญชน พุ่งรถยนต์ชนรถถัง
หนึ่งคนมิอาจยั้ง เกินกำลังจะประลอง
วีรชนไม่ตายเปล่า หากปลุกเร้าเราทั้งผอง
คนซื่อชื่อนวมทอง จักเรียกร้องความเป็นธรรม

Cquote2.svg
ด้วยจิตคารวะ

จิ้น กรรมาชน
2 พ.ย. 2549

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ "Taxi driver 'sacrificed himself for democracy'". The Nation. เรียกข้อมูลวันที่ 15 ธ.ค. 2551.
  2. ^ "พ.อ.อัครต้องขอขมาศพ เมียแท็กซี่ใจเด็ดยื่นคำขาด'". ไทยรัฐ. เรียกข้อมูลวันที่ 15 ธ.ค. 2551.
  3. ^ มติชนสุดสัปดาห์ 3-9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 หน้า 98, คอลัมน์ชกคาดเชือก โดย วงศ์ ตาวัน
  4. ^ เพลง ‘วันของเรา’ จากจิ้น กรรมาชน และบทกวีคารวะแด่ แท็กซี่วีรชน (ที่นี่ที่เดียว) เวอร์ชันเต็มมาแล้ว จากเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ประชาไท

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

http://th.wikipedia.org/wiki/นวมทอง_ไพรวัลย์

---------------------------------------------------------
FfF