ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่พบกับเหตุการณ์น้ำท่วมร้ายแรง อีกหลายประเทศทั่วโลกก็เคยเผชิญกับภัยพิบัติเช่นนี้มาแล้ว แต่เขามีวิธีการที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยขึ้นอีกเลย เราจะลองมาดูกันว่าประเทศอื่นๆเขาเตรียมความพร้อมกับการรับมือน้ำท่วมไว้ใน รูปแบบใดกันบ้าง
เนเธอร์แลนด์...ต้นแบบประเทศป้องกันภัยพิบัติทางน้ำ
ประเทศเนเธอร์แลนด์ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องว่ามีระบบป้องกันน้ำ ท่วมที่ดีที่สุดในโลก เนื่องจากแผ่นดินกว่าร้อยละ 26 ของประเทศ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล โดยพื้นที่ที่ว่านี้เป็นจุดเสี่ยงเจอน้องน้ำรุกราน และเป็นฐานเศรษฐกิจที่สร้างรายได้กว่า 70% ของเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลจึงยอมทุ่มงบประมาณถึง 2.4 แสนล้านบาท ในการสร้าง Delta Work หรือพนังกั้นน้ำที่สามารถสกัดคลื่นสูงถึง 40 ฟุตจากระดับน้ำทะเลยาวถึง 600 กิโลเมตร อีกทั้งสร้างประตูระบายน้ำบริเวณปากอ่าว เพื่อควบคุมน้ำทะเลไม่ให้ทะลักเข้าแม่น้ำ ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมในพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน
อังกฤษ...ประตูระบายน้ำพันปี
ประเทศอังกฤษจัดว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่ตลอด 27 ปีที่ผ่านมา กรุงลอนดอน เมืองหลวงของประเทศไม่เคยเจอน้ำท่วมเลยสักครั้ง เนื่องจากรัฐบาลเมืองผู้ดียอมทุ่มทุน 1.3 พันล้านปอนด์ สร้างประตูระบายน้ำที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก (รองจากเนเธอร์แลนด์) ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเทมส์ โดยประตูดังกล่าวมีความยาว 520 เมตร สามารถกั้นคลื่นได้สูงสุด 200 ฟุต มีระบบเปิดปิดอัตโนมัติตามความเหมาะสมของสภาพอากาศ ทั้งนี้คาดว่าประตูระบายน้ำมูลค่ามหาศาลนี้สามารถใช้งานได้นานเป็นพันปี
เยอรมนี...นำเสนอสะพานทางด่วนระบายน้ำ
ประเทศเยอรมนีสร้างสะพานทางด่วนระบายน้ำ ซึ่งมีรูปร่างเป็นตัวยู ยกข้ามแม่น้ำเชื่อมต่อกับคลอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นเส้นทางระบายน้ำและช่วยผลักดันมวลน้ำส่วนเกินไป ที่ทะเล และยังสามารถเป็นเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าได้อีกด้วย เรีบกว่าใช้ป้องกันน้ำท่วมและใช้ในการพาณิชย์ได้อย่างดีเยี่ยม
สิงคโปร์...เรียนรู้จะอยู่กับน้ำ
ประเทศสิงคโปร์มีสภาพเป็นเกาะเล็กๆที่ล้อมไปด้วยน้ำจำนวนมหาศาล ดังนั้นระบบการจัดการน้ำจึงต้องพัฒนาอย่างขีดสุด เพราะเราแทบไม่เคยได้ยินข่าวว่าเกาะเล็กๆแห่งนี้เจอภัยพิบัติทางน้ำรุนแรง หรือป้องกันไม่ทัน โดยการจัดการน้ำที่ว่าก็คือ เขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีความสามารถป้องกันพื้นที่ที่ต่ำกว่าระดับน้ำ ทะเลได้ และการออกแบบที่สวยงาม ทำให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ใครๆก็อยากมาชมด้วยตาสักครั้ง
เห็นไหมว่าแต่ละประเทศมองเห็นถึงผลของการลงทุนที่มหาศาลว่ามันคุ้มค่า และสามารถป้องกันได้จริง แล้วทำไมประเทศไทยถึงไม่นำประสบการณ์ที่เคยพบเจอมาปรับและลองเปลี่ยนให้ ประเทศไม่เกิดเหตุซ้ำรอยขึ้นเป็นครั้งต่อไป...!!!
ข้อมูล : a day BULLETIN ISSUE 174
ไทยรัฐออนไลน์
- โดย ไทยรัฐออนไลน์ไลฟ์สไตล์
- 28 พฤศจิกายน 2554, 14:00 น.
----------------------------------------------------------------
FfF