บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


24 พฤษภาคม 2555

<<< ตัวอย่างการเขียนกฏหมาย แบบไม่เห็นหัวประชาชนเจ้าของประเทศ >>>

<<< ตัวอย่างการเขียนกฏหมาย แบบไม่เห็นหัวประชาชนเจ้าของประเทศ >>>

    • Maha Arai เปิด"พิมพ์เขียว"รื้อม.291ตั้งสสร. ปูทางรัฐธรรมนูญ55
      โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
      ...มาตรา 291/13 เมื่อสสร.ทำร่างรธน.เสร็จสิ้นแล้วให้นำเสนอต่อรัฐสภา และให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรธน.ดังกล่าวไปยังกกต.ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่รัฐสภาได้รับร่างรธน. เพื่อให้กกต.ดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติของประชาชนว่าจะเห็นชอบกับร่างรธน.นั้น หรือไม่ ทั้งนี้ให้กกต.กำหนดวันออกเสียงประชามติภายในไม่เกิน 60 วัน แต่ไม่น้อยว่า 45 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างรธน.จากรัฐสภา และ ให้กกต.ประกาศรับรองผลการออกเสียงประชามติให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันออกเสียงประชามติ หากคะแนนออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบกับร่างรธน.ให้ร่างรธน.นั้นเป็นอันตกไป และในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและ พระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน แล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป

      มาตรา 291/14 เมื่อมีประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรธน.ให้ประธานรัฐสภานำร่างรธน.ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ


    • Maha Arai ขนาดพวก รอยัลลิสต์ ออกมาคัดค้านทั้งพวก ปชป. ทั้งนักวิชาการที่เขาสุมหัวกันมาตรวจร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลคัดค้าน แต่สุดท้ายก็ผ่านออกมาคล้ายๆ แบบนี้

    • Maha Arai นายสุทัศน์ยังขอแปรญัตติตัดข้อความ “ให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และ 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”ออกด้วย เพราะหากไปดูมาตรา 150 ระบุว่ากรณีที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่สภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ ส่วนมาตรา 151 ระบุว่า พ.ร.บ.ใดที่พระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้ให้ความเห็นชอบ และพระราชทานคืนลงมายังรัฐสภา หากรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิม ให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่งเมื่อพระมหาษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกฯ นำ พ.ร.บ.นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

      “ทั้ง 2 มาตราเป็นเรื่องเกี่ยวกับ พ.ร.บ.จึงไม่น่าจะเหมาะสมในการนำมาใช้กับรัฐธรรรมนูญ เพราะศักดิ์ของกฎหมายไม่เท่ากัน และ ในมาตรา 151 ก็ระบุไว้ชัดเจนว่าหากพระมหากษัตริย์ไม่เห็นชอบและไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่รัฐสภาสามารถลงมติประกาศในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ได้ เสมือนพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยนั้น หากไม่ตัดข้อความดังกล่าวออก ก็เปรียบเหมือนให้นายกฯ สามารถโต้แย้งพระราชอำนาจได้ การที่คงไว้เป็นการไปก้าวล่วงของพระราชอำนาจ เรื่องนี้จึงอยากถามว่าเป็นการเหมาะสมหรือไม่ที่จะให้คงไว้ตามร่างของ กมธ.เสียงข้างมาก” นายสุทัศน์กล่าว

      นายสามารถ แก้วมีชัย ประธาน กมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ยืนยันให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และให้นำมาตรา 150 มาใช้บังคับ และให้ประธานรัฐสภารับสนองพระบรมราชโองการ แต่กรณีมาตรา 151 หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย หรือไม่พระราชทานคืนลงมายังรัฐสภาภายใน 90 วัน เราก็ให้รัฐสภาเป็นผู้ที่จะนำมาพิจารณาอีกรอบหนึ่ง ซึ่งจะทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าที่ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะเหตุใด หากรัฐสภายืนยันด้วยเสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภาที่มี ก็ให้ประธานรัฐสภานำประกาศราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้ต่อไป ซึ่งการที่สมาชิกเห็นว่าทำไมไม่ให้นายกฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั้น ที่ผ่านมาหากเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงบางมาตรา นายกฯ ก็จะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งหากร่างรัฐธรรมนูญ

      ฉบับนี้ผ่านวาระ 3 ผู้ลงนามก็จะเป็นนายกฯ แต่หากเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการจะเป็นประธานรัฐสภา ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง เช่น รัฐธรรมนูญปี 40 และปี 50 ดังนั้น เราจึงขอยืนยันตามร่างของ กมธ.เสียงข้างมาก

      จากนั้นที่ประชุมได้มีการลงมติในมาตรา 291/14 เห็นชอบตามร่างของ กมธ.เสียงข้างมากด้วยคะแนน 338 ต่อ 96 เสียง งดออกเสียง 9 และไม่ลงคะแนน 2 เสียง


    • Maha Arai การทำประชามติถามประชาชนเจ้าของประเทศทั้งประเทศ ถ้ามีมติว่าไม่เห็นชอบให้ตกไป ถือเป็นสิ่งที่ชอบด้วยเหตุผลประการทั้งปวง แต่การให้ตกไปเพราะกรณีอื่นใดหลังประชาชนเจ้าของประเทศเห็นชอบแล้ว ไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยแน่นอน และไม่เห็นหัวประชาชน ไม่สนใจเสียงประชาชน ถึงได้เปิดช่องให้มีช่องทางถูกตีตกไปหลังผ่านการเห็นชอบแล้วตามนี้

    • Maha Arai หากคะแนนออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบกับร่างรธน.ให้ร่างรธน.นั้นเป็นอันตกไป
      และในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและ พระราชทานคืนมา
      หรือเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน แล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป


    • Maha Arai แม้จะมีเขียนไว้ในม.291/14 ให้สภาวีโต้ได้ก็ตามถามว่าเขียนเปิดช่องไว้ทำไม การเขียนลักษณะนี้เลิกหวังอะไรกับการแก้ไขว่าจะช่วยทำอะไรให้ดีกว่า รธน. ฉบับปัจจุบัน เพราะมีกลไกการต่อรองกันต่อจากการลงประชามติเห็นชอบจากประชาชนคนทั้งประเทศแล้ว

    • Maha Arai ที่สำคัญเขียนกฏหมายลักษณะนี้ ไม่วางยาก็ไม่ฉลาดนักที่เปิดช่องให้ตีความคำว่าตกไป ในเมื่อระบุว่า
      "หากคะแนนออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบกับร่างรธน.ให้ร่างรธน.นั้นเป็นอันตกไป"
      และการตกไปในอีก 2 กรณีก็คือ
      "และในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและ พระราชทานคืนมา"
      หรือตกไปกรณีนี้
      "หรือเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน แล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป"


    • Maha Arai ถามว่าใช้คำว่าตกไปเหมือนกัน ทั้ง 3 กรณี ไปเปิดพจนานุกรมคำว่าตกไป ถ้าตีความได้ว่าหมายถึงการยกเลิกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ต้องมีความหมายเหมือนกันทั้ง 3 กรณี แล้วถ้ามีผลเหมือนกัน แล้ว ม. 291/14 จะได้ใช้ได้ยังไง ยังงี้มันก็เท่ากับว่า สิ่งที่ตกไป รัฐสภายังสามารถหยิบมายืนยันได้อีก ถ้าเช่นนั้นมันต่างอะไรกับการที่ถ้าแพ้โหวตประชาชนทั้งประเทศโหวตไม่เห็นด้วยไม่เอาถือว่าตกไป ก็เขียนกฏหมายเปิดช่องให้รัฐสภานำกลับมายืนยันได้อีกเป็นความชอบธรรมน่ะซิ แล้วจะเสียเวลาทำประชามติปาหี่ไปทำไมกัน ซึ่งมันไม่ถูกทั้งปวง และมันไม่ถูกตั้งแต่เปิดช่องให้มีกลไกใดๆ มาวีโต้เสียงประชาชนแล้ว ถ้ามองเผินๆ อาจมองได้ว่าพวก พท. ไม่ฉลาดเขียนกฏหมายลักษณะนี้ ทั้งๆ ที่มีพวกรอยัลลิสต์ออกมาต่อต้านแล้วให้ตัดทิ้งเสียด้วยยังดันทุรังคงไว้เปิดช่องล้มและไม่เห็นหัวประชาชนเหมือนเดิม ผมว่าถ้ามองกันอย่างลึกซึ้งบางทีนี่อาจเป็นปาหี่อีกเรื่องก็ได้
http://www.facebook.com/maha.arai

----------------------------------------------------

คนที่หวังว่า การแก้ไข รธน. ฉบับใหม่ จะทำให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นจะทำให้อำนาจฝ่ายตรงข้ามลดลง นั่นนี่ผมมองว่าถ้าไม่ใช่พวกไม่เคยอ่านร่างแก้ไขรธน. ม.291 ก็แกล้งโง่หลอกประชาชน
  • Vjit Hunh และ อีก 2 คน ถูกใจสิ่งนี้
    • Maha Arai ว่างๆ ลองหาอ่านตั้งแต่ ม.291/1 ไปเลยอย่าเอาแต่ฟังเขาว่าอย่างเดียวแล้วมาตั้งความหวังเสียเลิศหรูว่าจะได้รัฐธรรมนูญที่ดี ลดอำนาจฝ่ายตรงข้าม หรืออะไรที่คิดว่าดีๆ ลองไปหาอ่านแล้วจะรู้ว่าไม่ใช่อย่างที่คิดกันหรอก
    • Maha Arai ใครมาบอกมาพูดมาหลอกให้ได้ยินว่าการแก้ไขรธน.ครั้งนี้จะทำให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นนั่นนี่ผมจะสวนทันทีเพราะผมไม่ใช่ควายอ่านภาษาไทยออก
    • Maha Arai เพราะไม่ว่าประชาชนจะคัดสรร สสร. สุดยอดมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยทุกคนและร่าง รธน. ออกมาดีที่สุดในโลกยังไงก็ตาม นี่ต่อให้ด้วยน่ะ เพราะความจริงไม่ได้อย่างที่ผมสมมุติหรอก แต่ รธน. ฉบับนั้นจะไม่ได้นำออกมาใช้หรอกต่อให้ลงมติชนะ
    • Maha Arai เพราะ รัฐบาลนี้เขาเขียนเปิดช่องให้คว่ำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ง่ายๆ หลังลงประชามติเห็นชอบจากประชาชนทั้งประเทศแล้วนั่นเอง อยากรู้มีอะไรบ้างลองไปหาดูซิจะบางอ้อ พอดีน้ำท่วมปากพอดีเลยพิมพ์อะไรไม่ออกเกี่ยวกันไหมเนี้ยะ
    • Maha Arai ม.291/13 มาตราเดียวก็พอนอกนั้นน้ำๆ ลองไปดูว่าเขาเขียนไว้อย่างไรแล้วจินตนาการกันต่อได้เองแหล่ะ ใช้ลางสังหรณ์ง่ายๆ ก็เข้าใจแล้วหล่ะไม่ต้องให้อธิบายมาก ตายไปแล้วก็พูดไม่ได้ ฮา
    • Maha Arai แถมอีกนิด บางคนอาจถามว่าปชป. ค้านและถ่วงเวลา เพราะอะไรก็คงบางมาตราของพวกที่หนุน ปชป.คือ 309 แต่ไม่ใช่มาตราเกี่ยวกับองคมนตรีหรือการจะสำเร็จราชการแทนพระองค์อะไรหรอก เพราะเรื่องนี้มันอยู่ในหมวดกษัตริย์ เมื่อร่างแก้ไขของรัฐบาลระบุห้ามแตะ แตะหมวดนี้ถือว่าร่าง รธน. ที่ร่างใหม่ตกไปเลยไม่ต้องเอาไปลงประชามติอะไรด้วยซ้ำ และสุดท้ายก็แก้ไม่ได้หรอกมาตราที่เขาไม่ให้แก้รวมไปถึง ม.309 อะไร ถ้าเขาไม่มีพรบ.นิรโทษกรรม ม.นี้ก็แตะไม่ได้ ขนาดรัฐบาลมีมวลชนมหาศาลมีคนเสียงเกินขึ้นยังไม่กล้าแตะ แล้วคิดว่า สสร. ที่ไม่มีพาวเว่อร์จะกล้าแตะ และต่อให้กล้าก็โดนสกัดอีกด่านจนถึงด่านสุดท้าย ม.291/13 อยู่ดี สรุปหมดหวังตั้งแต่โดนล็อคห้ามแก้นั่นนี่แล้วเสียเวลาลงประชามติจนชนะก็ยังโดนยกเลิกได้อีกอย่างง่ายดายดังนั้นไม่ต้องมาหลอกมาให้ความหวังผมยกเว้นพวกไม่ได้คิดอยากจะอ่านเองเอาแต่เขาว่าแล้วเชื่อตามอย่างเดียวเท่านั้นเอง
http://www.facebook.com/maha.arai
 
----------------------------------------------------

การเมือง
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555 19:56
เปิด"พิมพ์เขียว"รื้อม.291ตั้งสสร. ปูทางรัฐธรรมนูญ55
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เว็บไซต์ไทยเสรีรายงานความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย ที่เดินหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง เมื่อประธานวิปรัฐบาล "อุดมเดช รัตนเสถียร" เปิดเผยว่าในวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ จะประชุมวิปรัฐบาลเพื่อหารือการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 291 หากได้ข้อสรุปตรงกัน ก็จะยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญในระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ต่อไป

โดยรายละเอียดในการแก้ไขมาตรา 291 หรือที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. ..." นั้น มีเนื้อหารวม 5 มาตรา หัวใจสำคัญอยู่ในมาตรา 4 ซึ่งให้เพิ่มหมวด 16 ว่าด้วยเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาตรา 291/1 ถึงมาตรา 291/16 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

มาตรา 291/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยให้มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนจังหวัดละ1คน และให้มีสมาชิกซึ่งมาจากการคัดเลือกโดยที่ประชุมของรัฐสภาจำนวน 22 คน ตามสัดส่วนที่เหมาะจาก ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินหรือการร่างรัฐธรรมนูญตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภากำหนด

มาตรา 291/2 กำหนดถึงคุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสสร. คือ ต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีในวันเลือกตั้ง สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันรับสมัคร หรือเป็นบุคคลที่เกิด หรือศึกษา หรือเคยรับราชการ หรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่รับสมัครเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 5 ปี

มาตรา 291/5 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งสสร.ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ โดยให้กำหนดวันเลือกตั้งเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดให้เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เมื่อมีการเลือกตั้งสสร.เสร็จแล้ว ให้กกต.ประกาศรับรอลผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

มาตรา 291/6 กำหนดให้สภาของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งคัดเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสสร.ในประเภทต่างๆ ประเภทละไม่เกิน 3 คน และส่งให้ประธานรัฐสภาภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันพ้นกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งสสร. นอกจากนี้ยังให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 15 คน ซึ่งมาจากส.ส.จำนวน 9 คน และส.ว.จำนวน 6 คน เพื่อดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นสสร.ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน แล้วส่งผลให้ประธานสภารับทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาภายใน 15 วัน เพื่อให้รัฐสภาลงมติคัดเลือกผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสสร.

มาตรา 291/7 ในกรณีที่รัฐสภาจะต้องดำเนินการระหว่างปิดสมัยประชุมสภา ให้ประธานรัฐสภาทำเรื่องขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ

มาตรา 291/11 สสร.จะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 180 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศรายชื่อสมาชิกสสร.ในราชกิจจานุเบกษา โดยในการจัดทำร่างรธน.นั้น สสร.อาจนำรธน.ฉบับใดฉบับหนึ่งที่เห็นว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสูงมาเป็นต้นแบบในการยกร่างได้ และการที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือมีการยุบสภา ไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนการทำงานของสสร. ทั้งนี้ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำมิได้ และในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรธน.มีลักษณะดังกล่าวให้ร่างรธน.เป็นอันตกไป

มาตรา 291/13 เมื่อสสร.ทำร่างรธน.เสร็จสิ้นแล้วให้นำเสนอต่อรัฐสภา และให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรธน.ดังกล่าวไปยังกกต.ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่รัฐสภาได้รับร่างรธน. เพื่อให้กกต.ดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติของประชาชนว่าจะเห็นชอบกับร่างรธน.นั้นหรือไม่ ทั้งนี้ให้กกต.กำหนดวันออกเสียงประชามติภายในไม่เกิน 60 วัน แต่ไม่น้อยว่า 45 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างรธน.จากรัฐสภา และให้กกต.ประกาศรับรองผลการออกเสียงประชามติให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันออกเสียงประชามติ หากคะแนนออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบกับร่างรธน.ให้ร่างรธน.นั้นเป็นอันตกไป และในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน แล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป

มาตรา 291/14 เมื่อมีประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรธน.ให้ประธานรัฐสภานำร่างรธน.ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

มาตรา 291/15 สสร.สิ้นสุดลงเมื่อมีสมาชิกเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง หรือเมื่อสสร.จัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่กำหนด หรือเมื่อร่างรธน.ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้บังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือเมื่อร่างรธน.ตกไปตามมาตรา 291/11 มาตรา 291/13 ทั้งนี้หากสสร.สิ้นสุดลงในกรณีที่จัดทำร่างรธน.ไม่เสร็จตามกำหนดเวลา ให้ดำเนินการจัดให้มีสสร.ขึ้นใหม่ตามหวดนี้ ภายใน 90 วัน โดยบุคคลที่เคยเป็นสสร.เดิมจะเป็นสสร.อีกไม่ได้

มาตรา 291/16 ถ้าร่างรธน.ที่จัดทำขึ้นตามหมวดนี้ตกไป ครม.หรือส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือส.ว.และส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเสนอญัตติต่อรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภามีมติให้มีการจัดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามความในหมวดนี้อีกได้ การออกเสียงลงคะนนให้ความเห็นชอบของรัฐสภาให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20120205/434239/เปิดพิมพ์เขียวรื้อม.291ตั้งสสร.-ปูทางรัฐธรรมนูญ55.html

-------------------------------------------------

การเมือง
วันที่ 13 เมษายน 2555 12:27
เปิดคำแปรญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.291
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ประชุมร่วมรัฐสภาเคาะสเป็ก ส.ส.ร. ปชป.-ส.ว. เสนอเพิ่มจำนวน ห้ามยุ่งการเมือง ไม่เเตะหมวดสถาบัน

การประชุมร่วมกันของสมาชิสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)และสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... ในวาระ 2 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) ที่มีนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เป็นประธานกรรมาธิการ(ปธ.กมธ.)พิจารณาเสร็จแล้ว

โดยในการพิจารณาของกมธ.เรียงลำดับ ตามมาตราทั้ง 5 มาตรา และที่ประชุมออกเสียงลงคะแนนให้ยึดเสียงข้างมาก ซึ่งกมธ.เสียงข้างน้อยได้สงวนความเห็น โดยมีผู้แปรญัตติสงวนคำแปรญัตติจำนวน 178 คน มานำเสนอในที่ประชุมร่วม วาระ 2 ในวันที่ 10-11 เมษายน 2555 ซึ่งผู้แปรญัตติส่วนใหญ่เป็นกรรมธิการเสียงข้างน้อยของพรรคประชาธิปัตย์และส.ว. ส่วนเนื้อหาในมาตรา 291/1 ที่มาและคุณสมบัติของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ตามร่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ คณะกมธ.เห็นชอบ มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1.สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนจังหวัดละหนึ่งคน
2. สมาชิกซึ่งมาจากการคัดเลือกกันเองตามมาตรา 291/6จำนวนยี่สิบสองคน ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชนจำนวน 6 คน(ข) ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์จำนวน 6 คน(ค) ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินเศรษฐกิจ สังคมกฎหมายหรือการร่างรัฐธรรมนูญตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภาประกาศกำหนดจำนวน10คน

สำหรับการประชุมร่วมรัฐสภาผู้แปรญัตติอภิปรายโดยมีสาระสำคัญดังนี้

นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาในฐานะประธานวิปวุฒิสภามาตรา 291/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 200 คน ในกรณีตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดๆให้สภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่

ส่วน ส.ว.สรรหา อาทิ นายวันชัย สอนศิริ, นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย,รศ.นรีวรรณ จินตกานต์,นางกีระณา สุมาวงศ์, รศ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา เสนอให้ มาตรา 291/1 มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนโดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง การคำนวณจำนวนสมาชิกของแต่ละจังหวัดให้คำนวณตามสัดส่วนของจำนวนประชาชนทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิก200คนจำนวนสมาชิกที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีให้นำจำนวนประชาชนในจังหวัดนั้นมาคำนวณเฉลี่ยตามวรรคสองจังหวัดใดมีประชาชนไม่ถึงเกณฑ์ต่อสมาชิก1คน ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกได้1คนจังหวัดใดมีประชาชนเกินเกณฑ์สมาชิก1คนให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจำนวนประชาชนที่ถึงเกณฑ์จำนวนประชาชนต่อสมาชิก1คน

นายกรณ์จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เสนอ มาตรา 291/1ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้ 1.สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งและให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในเขตจังหวัดนั้นๆได้1คนให้แต่ละจังหวัดมีจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนราษฎร 300,000 คนต่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ1คน เมื่อได้ที่จำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่พึงมีในแต่ละจังหวัดตามวรรคสามแล้วหากจังหวัดใดมีเศษของจำนวนราษฎรที่เหลือจากการคำนวณมากกว่า 150,000 คน ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง 2.สมาชิกซึ่งมาจากการคัดเลือกโดยที่ประชุมของรัฐสภาจำนวน 22 คน ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชนจำนวน 6 คน (ข) ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์จำนวน 6 คน(ค) ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย หรือการร่างรัฐธรรมนูญตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภาประกาศกำหนด จำนวน 10 คน

นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปชป. เสนอ มาตรา 291/1ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้1.สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จังหวัดละ 1 คน 2.สมาชิกซึ่งมาจากการคัดเลือกกันเองตามมาตรา 291/6 จำนวน 22 คน ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชน จำนวน 6 คน (ข)ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 6 คน (ค)ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมืองการบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจสังคมกฎหมายหรือการร่างรัฐธรรมนูญตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภาประกาศกำหนดจำนวน 10 คน

โดยส่วนใหญ่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เสนอ มาตรา 291/1ให้มีสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่แก้ไขจัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามหมวดนี้ประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้1.สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนโดยการคำนวณราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายโดยให้ใช้เกณฑ์ประชากรจำนวน 300,000 คน ต่อจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 1 คน จังหวัดใดมีประชากรไม่ถึงจำนวนดังกล่าวให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ 1 คน จังหวัดใดที่มีเศษเหลือจากการคำนวณดังกล่าวหากมีจำนวนประชากรเกิน 100,000 คน ขึ้นไปก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้อีก 1 คน (2)สมาชิกซึ่งมาจากการคัดเลือกโดยที่ประชุมของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตาม (1)จำนวน 25 คน ดังต่อไปนี้(ก) ผู้เชี่ยวชาญสาขากฎหมายมหาชนจำนวน 6 คน (ข) ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์จำนวน 6 คน (ข/1) ผู้เชี่ยวชาญสาขาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพและการศึกษาจำนวน 3 คน (ค) ผู้มีประสบการณ์ด้านการเมืองการบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย หรือการร่างรัฐธรรมนูญตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด จำนวน 10 คน

สำหรับมาตรา 291/2 บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ร. ตามมาตรา 291/1(1) ผู้ขอแปรญัตติในมาตรานี้ส่วนใหญ่เป็นกรรมาธิการและส.ส.จากพรรคประชาธิปัตย์จะเสนอให้เพิ่มเติมข้อความ โดยนายเทพไท เสนพงศ์ เสนอเพิ่มข้อความว่า ไม่เป็นส.ส. ส.ว.หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายใน 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง, ไม่เป็นสมาชิกพรรคมาแล้ว 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง และไม่เป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ขณะที่ ส.ว. อาทิ นายเจริญ ภักดีวานิช นายประเสริฐ ชิตพงษ์ นายนิคม ไวยรัชพานิช นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ นายวันชัย สอนศิริ นางทัศนา บุญทอง ขอแปรญัตติให้เพิ่มเติมในส่วนวุฒิการศึกษาว่าจะต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

มาตรา 291/3 บุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ร.นั้น ส่วนใหญ่จะขอแปรญัตติให้เพิ่มเติมข้อความ อาทิ นายเจตน์ ศิรธรานนท์ (กมธ.) เสนอให้เพิ่มข้อความคุณสมบัติต้องห้ามคือ เป็นบุพการี คู่สมรสหรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งส.ส. ส.ว.หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเป็นสมาชิกพรรคหรือดำรงตำแหน่งอื่นในพรรคและพ้นจากตำแหน่งใดๆ ในพรรคมาแล้วยังไม่เกิน 3 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง ขณะที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายธนา ชีรวินิจ นายนิพนธ์ บุญญามณี และนายวิรัช ร่มเย็น (กมธ.) เสนอให้ระบุเป็นสมาชิกพรรคหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคแล้วยังไม่เกิน 5 ปี รวมทั้งเป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้องและบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ส่วนนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ขอแปรญัตติโดยให้ตัดบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งส.ส.ตามมาตรา 102 (1) (2) (3) (4) (6) (7) (9) (12) (13) หรือ (14) มาเป็นเรื่องติดยาเสพติดให้โทษ, บุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต, ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล, เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันเลือกตั้ง, เคยถูกไล่ออกหรือปลดออกจากราชการหรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริต, เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามมาตรา 263 และเคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง มาตรา 291/5 ให้กกต.จัดให้มีการเลือกตั้งส.ส.ร.ตามมาตรา 291/1(1) ให้เสร็จภายใน 75 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ และให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งท้องถิ่น รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม การวินิจฉัยขาดเกี่ยวกับการตัดสิทธิการเลือกตั้ง การเพิกถอนผลเลือกตั้งทั้งก่อนและหลังการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งส.ส.ร.ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์ได้รับคำร้อง

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รวมทั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เสนอให้กกต.จัดการเลือกตั้งส.ส.ร.เสร็จภายใน 90 วัน และเมื่อเลือกตั้งเสร็จให้กกต.ประกาศรับรองผลเลือกตั้งให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง โดยให้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดในการเลือกตั้งแต่ละจังหวัดเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นส.ส.ร.จังหวัดนั้น ส่วนมาตรา 291/11 สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 240 วัน นับแต่วันถัดจากวันประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก

ขณะเดียวกัน กมธ.จากพรรคปชป. ส่วนใหญ่จะเสนอให้ขยายเวลาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จ ภายใน 300 วัน และให้ส.ส.ร.นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเป็นต้นแบบในการยกร่างและให้สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทุกจังหวัดโดยทั่วถึงก่อน นายวิรัช ร่มเย็น เสนอให้เสร็จภายใน 360 วัน เช่นเดียวกับนายวิรัตน์ กัลยาศิริ เสนอให้เพิ่มข้อความด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ยกเลิก ยุบ ปรับ เปลี่ยน องค์กรอิสระ ศาลทั้งหลายจะกระทำไม่ได้ ร่างรัฐธรรมนูญต้องไม่เป็นการแก้ไขจัดทำร่างรัฐธรรมนูญในลักษณะนิรโทษกรรมบุคคลหนึ่งบุคคลใด ซึ่งมีความผิดหรือต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลใดๆ และจะต้องไม่จัดทำในลักษณะให้มีผลย้อนหลังลบล้างความผิดใดๆ ซึ่งองค์กรตุลาการหรือองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 วินิจฉัยหรือลงมติว่าบุคคลนั้นมีความผิด ด้านนายอภิสิทธิ์ขอแปรญัตติว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่ต้องให้อิสระกับองค์กรตุลาการและองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และต้องไม่มีผลให้ลบล้างอำนาจตุลาการที่ผ่านมา

มาตรา 291/13 เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้นำเสนอต่อประธานรัฐสภา และให้กกต.กำหนดวันออกเสียงประชามติไม่เกิน 60 วัน แต่ไม่น้อยกว่า 45 วัน กมธ.เสียงข้างน้อย และส.ส.จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้สงวนคำแปรญัตติ โดยเสนอว่ากรณีส.ส.หรือส.ว.จำนวน 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิก เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 291/11 วรรคห้า ให้เสนอร่างนั้นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยใน 7 วัน และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน หากร่างดังกล่าวมิได้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 291/11 วรรคห้า ก่อนส่งร่างให้กกต.จัดทำประชามติ ต้องให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบก่อนทำประชามติ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขอแปรญัตติว่า การวินิจฉัยว่ารัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐหรือไม่ ควรให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ประธานรัฐสภา

มาตรา 291/14 เมื่อมีประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ กมธ. อาทิ นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายวรงค์ เดชกิจวิกรม ขอสงวนคำแปรญัตติโดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ ขณะที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ขอแปรญัตติ 60 คน ให้ตัดประธานรัฐสภาเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยระบุว่าการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของส.ส.ร. ต้องไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของหมวด 1 และหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550

มาตรา 291/16 ระบุว่า หากร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นตกไป ให้ ครม. โดย ส.ส. มีสิทธิเสนอญัตติต่อรัฐสภามีมติให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามความในหมวดนี้อีกได้ นายอภิสิทธิ์และส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ขอสงวนคำแปรญัตติโดยเสนอให้ตัดมาตรานี้ทิ้ง เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ไม่ใช่หลักที่ถูกต้องที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่บ่อยครั้ง

ทั้งนี้ ระหว่างการประชุมพิจารณาได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวในประเทศอินโดนีเซีย โดยทางวิป 3 ฝ่ายได้หารือกัน ให้ปิดการประชุมเพื่อให้ส.ส. ลงพื้นที่ดูแลประชาชน และจะมีการประชุมพิจารณาต่อในวันที่ 18-19 เม.ย.

โดยนายอุดมเดช รัตนเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี พรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยว่า จะมีการลงมติวาระ 3 ใน วันที่ 8 พ.ค.นี้

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20120413/446715/เปิดคำแปรญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ-ม.291.html

-------------------------------------------------

การเมือง
วันที่ 23 เมษายน 2555 18:06
มติสภาโหวตแก้ไขรธน.ม.291
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ผลการลงมติของรัฐสภาในวาระ 2 การประชุมพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใน ม.291/1,ม.291/2,ม.291/3,ม.291/4

มาตรา 291/1 ยืนตามร่างของกรรมาธิการฯเสียงข้างมากด้วยคะแนน 346 ต่อ 134 เสียง คือ ให้ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละคน รวม 77 คน และมาจากการคัดเลือกของรัฐสภาอีก 22 คน รวมทั้งหมดเป็น 99 คน

มาตรา 291/2 ยึดตามร่างกรรมาธิ?การฯ?เสียงข้างมากด้วยคะ?แนน 340 ต่อ 124 เสียง คือ คุณสมบัติของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ยึดหลักคุณสมบัติ ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ 2550 แต่เพิ่มอายุเป็น 35 ปีบริบูรณ์ ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ขณะที่ภูมิลำเนา สสร. ยึดตาม พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร์เป็นหลัก อยู่ในพื้นที่ 5 ปีเป็นอย่างน้อย

มาตรา 291/3 ยืนตามร่างของกรรมาธิการฯเสียงข้างมากด้วยคะแนน 319 ต่อ 26 เสียง คือ กำหนดให้บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ร. ตามมาตรา 291/1 (1) โดยกมธ.เสียงข้างมากได้แก้ไขโดยเพิ่มถ้อยคำ(5) ตามมาตรา 102 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งห้ามผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยพ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันกระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ มาลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ร.

มาตรา 291/4 ยืนตามร่างของกรรมาธิการฯเสียงข้างมากด้วยคะแนน 324 ต่อ 15 เสียง คือ เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ซึ่งที่ประชุมรัฐสภาเป็นผู้คัดเลือก จำนวน 22 คน ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 291/2 (1) และ (2) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 291/3 (1) และ (3)

ส่วนในมาตรา 291/5 ที่กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดเลือกตั้ง ส.ส.ร. ภายใน 75 วัน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) เสียงข้างมากแก้ไขให้นำกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้โดยอนุโลม รวมทั้งให้การวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการคัดค้านตัดสิทธิการเลือกตั้ง การเพิกถอนผลการเลือกตั้งทั้งก่อนและหลังประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์พิพาษาภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับคำร้อง รัฐสภาจะพิจารณาต่อในวันพรุ่งนี้ (24 เม.ย.)

อย่างไรก็ตามทางวิป 4 ฝ่าย ประกอบด้วย วิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าย วิปวุฒฺสภาและตัวแทนจากกรรมาธิการฯ จะหารือ ร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในเวลา 09.00 น. ก่อนที่จะเข้าวาระการประชุม

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20120423/448180/มติสภาโหวตแก้ไขรธน.ม.291.html

-------------------------------------------------

การเมือง
วันที่ 11 พฤษภาคม 2555 08:11
สภาฯผ่านม.291/13ด้วยคะแนน320ต่อ53เสียง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สภาฯ ผ่านฉลุย มาตรา 291/13 ด้วยคะแนน 320 ต่อ 53 เสียง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอภิปรายมาตรา 291/13 มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งเวลา 00.40 น.ที่ประชุมร่วมรัฐสภาได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง 320 ต่อ 53 เห็นชอบตามร่างของคณะกรรมาธิการที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ มาตรา 291/13 มีสาระสำคัญว่า เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้วให้นำเสนอต่อประธานรัฐสภา นอกจากนี้ หากประธานรัฐสภาได้รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หากเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้นมิได้มีลักษณะตามมาตรา 291/11 วรรคห้าที่ต้องเสนอให้รัฐสภาวินิจฉัย ให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น

จากสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติของประชาชนว่าจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นหรือไม่ จากนั้นให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติภายในไม่เกิน 60 วันแต่ไม่น้อยกว่า 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากประธานรัฐสภา อีกทั้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการออกเสียงประชามติให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันออกเสียงประชามติ ซึ่งหากเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้ดำเนินการตามมาตรา 291/14 ต่อไป แต่หากไม่เห็นชอบให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป โดยแจ้งผลการลงประชามติให้ประธานรัฐสภาทราบด้วย

จนกระทั่งเวลา 00.48 น.นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ในฐานะประธานรัฐสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานในการประชุมขณะนั้นได้สั่งพักการประชุม พร้อมทั้งนัดประชุมในวันที่ 11 พ.ค.เวลา 09.30 น.

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20120511/451222/สภาฯผ่านม.291-13ด้วยคะแนน320ต่อ53เสียง.html

--------------------------------------------------

รายงานพิเศษ : สรุปแก้ รธน.

ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ใช้เวลายาวนานถึง 14 วัน ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระที่ 2 ซึ่งสาระสำคัญเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน.........เทป........
การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายครั้งที่ผ่านมา คงไม่มีครั้งไหนใช้เวลาพิจารณายาวนานเท่ากับครั้งนี้ ซึ่งใช้เวลาพิจารณาไปแล้วถึง 14 วัน ซึ่งแม้เนื้อหาในแต่ละมาตรามีไม่มาก แต่การอภิปรายกลับเป็นไปอย่างยืดเยื้อสลับกับการประท้วงกันไปมาเป็นระยะ โดยร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... ฉบับนี้ มีทั้งสิ้น 5 มาตรา และอีก 23 อนุมาตรา ซึ่งสาระสำคัญว่าด้วยเรื่องของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. จำนวน ส.ส.ร. กรอบเวลาการจัดทำรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ
สำหรับมาตราที่สมาชิกสงวนคำแปรญัตติไว้จำนวนมาก ได้แก่ มาตรา 291/1 ว่าด้วยเรื่องที่มาของ ส.ส.ร มาตรา 291/5 เรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ให้แล้วเสร็จภายใน 75 วัน มาตรา 291/11 สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน ซึ่งมี 6 วรรค โดยในวรรค 5 ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขบทบัญญัติในหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์จะกระทำมิได้
มาตรา 291/13 เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้นำเสนอต่อประธานรัฐสภา และหากรัฐสภาวินิจฉัยแล้วให้ส่งไปยัง กกต.เพื่อทำประชามติภายในไม่เกิน 60 วัน แต่ไม่น้อยกว่า 45 วัน และมาตรา 291/16 ถ้าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นตกไป ให้คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเสนอญัตติต่อรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภามีมติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
อย่างไรก็ตาม ในวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคมนี้ ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาจะยังคงเป็นพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อ โดยจะเริ่มที่มาตรา 291/18 ดังนั้นจนถึงขณะนี้จึงไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการลงมติผ่านความเห็นชอบในวาระ 3 เมื่อใด เพราะหลังผ่านความเห็นชอบวาระ 2 แล้ว จากนั้นจะต้องเว้นไว้ 15 วัน ก่อนลงมติในวาระที่ 3 ต่อไป จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : วาสนา ตาระเกตุ / สวท. Rewriter : รัชฎา ตรงดี / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th

http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255505110177&tb=N255505&return=ok&news_headline=%22%C3%D2%C2%A7%D2%B9%BE%D4%E0%C8%C9%20:%20%CA%C3%D8%BB%E1%A1%E9%20%C3%B8%B9.%20%20%22

--------------------------------------------------

รัฐสภาผ่าน ม.291/14-15 เมิน ปชป.ติงนายกฯ ควรทูลเกล้าฯ ร่างฯ - ตัดใช้ ม.150 และ 151
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 พฤษภาคม 2555 13:18 น.

มติที่ประชุมร่วมรัฐสภาแก้ รธน.วาระ 2 โหวตผ่าน ม.291/14 และ 15 แล้ว “สุทัศน์” ติงควรให้นายกฯ ทูลเกล้าฯ ร่างรัฐธรรมนูญ แทนประธานรัฐสภา แนะตัดใช้ ม.150,151 บังคับใช้โดยอนุโลมร่วม หวั่นล่วงพระราชอำนาจ ด้านประธาน กมธ.ยันเป็นไปตามประเพณีเดิม

วันนี้ (11 พ.ค.) ที่รัฐสภา การประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... ในมาตรา 291/14 ที่บัญญัติว่า เมื่อมีประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และนำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ทั้งนี้ สมาชิกที่สงวนคำแปรญัตติส่วนใหญ่เห็นว่า ผู้ที่ควรนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ควรเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ประธานรัฐสภา ตามร่างที่ กมธ.เสียงข้างมากได้มีการระบุไว้ เนื่องจากที่ผ่านมานายกฯ จะเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายและรับสนองพระบรมราชโองการรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด รวมทั้งการเสนอแปรญัตติให้ตัดการนำมาตรา 150 และมาตรา 151 มาบังคับใช้โดยอนุโลม เพราะเห็นว่าจะเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หากมิได้เห็นชอบกฎหมายใดๆ และมิได้ลงพระปรมาภิไธย แต่นายกฯ สามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ได้ หากรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมแล้ว

นายสุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ที่ผ่านมาเราได้ให้อำนาจประธานรัฐสภาไว้มากแล้ว ตนจึงเสนอให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และให้เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการด้วย เพราะเห็นว่าความสำคัญในการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งควรเป็นนายกฯ เพราะรัฐธรรมนูญหลายฉบับก็มีนายกฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ตรงนี้มีข้อสงสัยว่าเดิมนายกฯ เคยพูดเสมอว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของสภา แต่สุดท้ายก็เสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้ามาในฐานะของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นภาระความรับผิดชอบของนายกฯ โดยตรง แต่นายกฯ คงอยากจะหลีกเลี่ยงทั้งที่เป็นผู้เสนอกฎหมายเอง จึงได้เขียนในร่างให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแทน แม้ผู้ตรวจการแผ่นดินจะเคยให้ข้อสังเกตว่าการให้ประธานรัฐสภารับสนองพระบรมราชโองการน่าจะไม่เหมาะสม ควรให้เป็นหน้าที่ของนายกฯ มากกว่า

“หลักการของผู้ที่ต้องเป็นคนรับสนองพระบรมราชโองการ มี 3 เงื่อนไข คือ ผู้ลงนามต้องมีหน้าที่รับผิดชอบการนั้นๆ โดยตรง ผู้สนองพระบรมราชโองการต้องเป็นเจ้าของเรื่อง และสุดท้ายจะต้องไม่มีเรื่องหรืออาจพาดพิงเบื้องพระยุคลบาทได้ ด้วยเงื่อนไขทั้งหมดจึงน่าจะเป็นนายกฯ ที่ต้องเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เหมาะสมกว่าประธานรัฐสภา”

นายสุทัศน์ยังขอแปรญัตติตัดข้อความ “ให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และ 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”ออกด้วย เพราะหากไปดูมาตรา 150 ระบุว่ากรณีที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่สภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ ส่วนมาตรา 151 ระบุว่า พ.ร.บ.ใดที่พระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้ให้ความเห็นชอบ และพระราชทานคืนลงมายังรัฐสภา หากรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิม ให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่งเมื่อพระมหาษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกฯ นำ พ.ร.บ.นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

“ทั้ง 2 มาตราเป็นเรื่องเกี่ยวกับ พ.ร.บ.จึงไม่น่าจะเหมาะสมในการนำมาใช้กับรัฐธรรรมนูญ เพราะศักดิ์ของกฎหมายไม่เท่ากัน และในมาตรา 151 ก็ระบุไว้ชัดเจนว่าหากพระมหากษัตริย์ไม่เห็นชอบและไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่รัฐสภาสามารถลงมติประกาศในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ได้ เสมือนพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยนั้น หากไม่ตัดข้อความดังกล่าวออก ก็เปรียบเหมือนให้นายกฯ สามารถโต้แย้งพระราชอำนาจได้ การที่คงไว้เป็นการไปก้าวล่วงของพระราชอำนาจ เรื่องนี้จึงอยากถามว่าเป็นการเหมาะสมหรือไม่ที่จะให้คงไว้ตามร่างของ กมธ.เสียงข้างมาก” นายสุทัศน์กล่าว

นายสามารถ แก้วมีชัย ประธาน กมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ยืนยันให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และให้นำมาตรา 150 มาใช้บังคับ และให้ประธานรัฐสภารับสนองพระบรมราชโองการ แต่กรณีมาตรา 151 หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย หรือไม่พระราชทานคืนลงมายังรัฐสภาภายใน 90 วัน เราก็ให้รัฐสภาเป็นผู้ที่จะนำมาพิจารณาอีกรอบหนึ่ง ซึ่งจะทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าที่ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะเหตุใด หากรัฐสภายืนยันด้วยเสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภาที่มี ก็ให้ประธานรัฐสภานำประกาศราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้ต่อไป ซึ่งการที่สมาชิกเห็นว่าทำไมไม่ให้นายกฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั้น ที่ผ่านมาหากเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงบางมาตรา นายกฯ ก็จะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านวาระ 3 ผู้ลงนามก็จะเป็นนายกฯ แต่หากเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการจะเป็นประธานรัฐสภา ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง เช่น รัฐธรรมนูญปี 40 และปี 50 ดังนั้น เราจึงขอยืนยันตามร่างของ กมธ.เสียงข้างมาก

จากนั้นที่ประชุมได้มีการลงมติในมาตรา 291/14 เห็นชอบตามร่างของ กมธ.เสียงข้างมากด้วยคะแนน 338 ต่อ 96 เสียง งดออกเสียง 9 และไม่ลงคะแนน 2 เสียง

ต่อมาที่ประชุมได้พิจารณามาตรา 291/15 ที่บัญญัติว่า ส.ส.ร.สิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ส.ส.ร.มีจำนวนสมาชิกเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งตามมาตรา 291/8 วรรคสี่ ทั้งนี้ ภายใต้บังคับของมาตรา 291/8 วรรคสาม (2) ส.ส.ร.จัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 291/11 วรรคหนึ่ง (3) เมื่อร่างรัฐธรรมนูญได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ (4) เมื่อร่างรัฐธรรมนูญตกไปตามมาตรา 291/11 วรรคหก หรือมาตรา 291/13 วรรคสี่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในมาตรานี้ไม่มีผู้สงวนคำแปรญัตติ และนายสามารถ แก้วมีชัย ประธาน กมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ชี้แจงเพียงสั้นๆ ว่า มาตรานี้เป็นเพียงเงื่อนไขของการสิ้นสุดลงของ ส.ส.ร.ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 เงื่อนไข โดย กมธ.เสียงข้างมากไม่ได้มีการแก้ไข ดังนั้นจึงขอยืนยันตามร่างเดิม จากนั้นประธานได้ให้ที่ประชุมลงมติมาตรา 291/15 ผลปรากฏว่า ที่ประชุมเห็นชอบด้วยคะแนน 344 ต่อ 88 เสียง งดออกเสียง 10 เสียง และไม่ลงคะแนน 1 เสียง ตามร่างของ กมธ.เสียงข้างมาก

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000058151

--------------------------------------------

การเมือง
วันที่ 11 พฤษภาคม 2555 16:33
สภาโหวตผ่านม.291/17ด้วยเสียง 354:72
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

รัฐสภา โหวตผ่านมาตรา 291/17 ด้วยเสียง 354 ต่อ 72 เสียง ก่อนปิดประชุม และนัดประชุมใหม่ วันที่ 14 พ.ค. ในมาตราสุดท้ายของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... ในช่วงบ่าย เป็นการพิจารณาไปอย่างรวดเร็ว

โดยเมื่อเวลา 16.00 น. ที่ประชุมได้ลงมติโหวตผ่านมาตรา 291/17 ว่าด้วยให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของสภาร่างรัฐธรรมนูญ รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษาหาข้อมูล และกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนนเสียง 354 เสียง ไม่เห็นด้วย 72 เสียง ไม่ลงคะแนน 8 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง

จากนั้นพล.อ.ธีรเดช มีเพียร รองประธานรัฐสภา ได้สั่งปิดการประชุมไปเมื่อเวลา 16.06 น. และให้กลับมาพิจารณาในมาตรา 5 ซึ่งเป็นมาตรา สุดท้ายของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 14 พ.ค. เวลา 09.30 น.

ทั้งนี้ในการประชุมในวันนี้ (11 พ.ค.) ที่ประชุมรัฐสภา ได้พิจารณาและลงมติผ่าน รวม 4อนุ ได้แก่ มาตรา 291/14, 291/15, 291/16 และ 291/17 รวมเวลาพิจารณา 6 ชั่วโมง

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20120511/451353/สภาโหวตผ่านม.291-17ด้วยเสียง-354:72.html

---------------------------------------------------

ใบตองแห้ง...ออนไลน์: พระมหากษัตริย์ยับยั้งประชามติไม่ได้
Tue, 2012-04-10 14:57

ผมเพิ่งเขียนเรื่อง “รัดทำมะนวยกะอรหัง” ลงในคมชัดลึก แต่มีประเด็นที่ควรนำมาขยาย เกี่ยวกับกรณีที่ “10 อรหันต์” ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน ทักท้วงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่คณะกรรมาธิการจะนำกลับเข้ามาพิจารณาวาระ 2 ในรัฐสภาวันที่ 10-11 เม.ย.นี้

ก่อนอื่นเพื่อให้ความเป็นธรรมกับ 10 อรหันต์ ขอบอกว่า สื่อที่ตีข่าวนี้ ล้วนแต่มั่ว เพราะไม่เข้าใจประเด็นจริงๆ เช่น บางฉบับบอกว่า 10 อรหันต์ชี้ 3 ประเด็นขัดรัฐธรรมนูญ ไทยโพสต์บอกว่า 10 อรหันต์แฉ รธน.มิบังควร ขนาดศูนย์ข่าวอิศรายังบอกว่า ที่ปรึกษาผู้ตรวจการฟันธง 3 ร่างขัดรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง

ประเด็นที่ 10 อรหันต์ชี้ว่าขัดรัฐธรรมนูญคือการกำหนดให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ประเด็นนี้ตกไปแล้ว เพราะคณะกรรมาธิการชี้แจงว่า เป็นแค่ร่างของคณะรัฐมนตรี ร่างของคณะกรรมาธิการแก้ไขให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามแล้ว

อันที่จริงประเด็นนี้ก็ถกเถียงกันได้เหมือนกัน เพราะ 10 อรหันต์ยกมาตรา 195 วรรคแรกมาอ้างว่า “บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้ ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมิได้บัญญัติให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม การที่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามร่างกำหนดให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการจึงไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๙๕ วรรคแรก”

ถ้าตีความตามตัวบท ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น ร่างแก้ไขมาตรา 211 สมัยบรรหาร ก็มีบรรหารลงนามฯ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญสมัยอภิสิทธิ์ ก็มีอภิสิทธิ์ลงนาม แต่ถ้าพูดกันตามหลักการจริงๆ ผมว่ารัฐธรรมนูญเขียนไว้ไม่ถูกต้อง นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ ในพระราชบัญญัติ เพื่อประกาศใช้ เพราะฝ่ายบริหารเป็นผู้กำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญควรให้ประธานรัฐสภาลงนามฯ เพราะไม่เกี่ยวกับฝ่ายบริหาร รัฐธรรมนูญฉบับเต็มทุกฉบับก็มีประธานรัฐสภา (หรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) เป็นผู้ลงนาม แต่พอร่างแก้ไข กลับให้นายกฯ ลงนาม มันตลก

แต่ไม่เป็นไรเป็นแค่ประเด็นทางเทคนิค หยวนๆ ไปได้

ประเด็นใหญ่จริงๆ คือ 10 อรหันต์คัดค้านการให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญที่ สสร.ร่างออกมา ขัดต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ โดยเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย และให้เขียนเพิ่มเข้าไปในมาตรา 291/13

“ก่อนที่ประธานรัฐสภาจะส่งความเห็นไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งตามวรรคสาม (เพื่อลงประชามติ) ถ้านายกรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบแล้วนั้น มีลักษณะตามมาตรา ๒๙๑/๑๑ วรรคห้า ให้เสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา แล้วให้ประธานรัฐสภาส่งความเห็นดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามมาตรา ๒๙๑/๑๑ วรรคห้า ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นตกไป”

โห ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญของ สสร.ตกไปเลยนะครับ

ประเด็นนี้ขอยืนยันว่ายอมไม่ได้ ด้วย 2 เหตุผลด้วยกัน คือหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ร่างรัฐธรรมนูญใหม่อาจจะยุบศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะกำหนดบทตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะกำหนดที่มาของศาลรัฐธรรมนูญเสียใหม่ เช่นให้วุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดคัดเลือกจากบัญชีนักวิชาการ ผู้พิพากษา นักปกครอง ฯลฯ โดยมีบทเฉพาะกาลว่า หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ 6 เดือนหรือ 1 ปี ให้ตุลาการชุดนี้พ้นจากตำแหน่งแล้วเลือกใหม่ ฯลฯ

ไม่ว่าจะกำหนดอย่างไร ศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนได้เสีย ฉะนั้นสมมติศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างรัฐธรรมนูญตกไป โดยอ้างว่าขัดต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข-ด้วยความปรารถนาดีต่อตุลาการ ผมว่าท่านได้กินต้มซุปเปอร์หม้อใหญ่แน่ (จะสั่งไปให้จากสกายไฮ คริคริ)

เหตุผลข้อสอง อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล อธิบายว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจที่รับมอบมาจากรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจที่อยู่สูงกว่า ฉะนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจะไปตีความรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือรัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่ทั้งฉบับไม่ได้

พูดภาษาชาวบ้านคือรัฐธรรมนูญเป็นแม่ผู้ให้อำนาจศาล ศาลมีอำนาจตีความว่าร่างพระราชบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ มีอำนาจตีความคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่เวลาที่รัฐสภาจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ตัวแม่ที่ให้อำนาจตัวเอง ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะไปตีความใดๆ ทั้งสิ้น

ตอนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์แก้รัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยก็เคยส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่วินิจฉัยเพราะเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาล 10 อรหันต์ก็รู้ครับ จึงพยายามจะยัดเข้ามาอยู่ในมาตรา 291/13 ดังกล่าว

แต่ประเด็นที่ 3 ที่ 10 อรหันต์ทักท้วงผมเห็นว่าถูกต้อง และคณะกรรมาธิการต้องแก้ไขโดยด่วน นั่นคือประเด็นที่ทั้ง 3 ร่างของรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา กำหนดว่าหลังลงประชามติแล้วให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยให้นำมาตรา 150 และ 151 มาบังคับใช้โดยอนุโลม ซึ่งหมายถึงให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้งแล้วหากทรงยับยั้งก็ส่งกลับไปให้รัฐสภาลงมติยืนยันนั้น

“คณะกรรมการฯ เห็นว่าไม่ควรบัญญัติในลักษณะเช่นนี้ เพราะเมื่อประชาชนลงประชามติแล้ว การให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งแล้วกลับไปรัฐสภาเป็นผู้ลงมติยืนยันได้อีก ย่อมขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 ทั้งยังเป็นการมิบังควรอย่างยิ่งในทางการเมืองด้วย ทั้งนี้ ควรบัญญัติให้มีการลงประชามติแล้วให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ดังที่เคยบัญญัติมาในอดีตก็จะเหมาะสมกว่า”

ประเด็นนี้กรรมาธิการยังฟังไม่ได้ศัพท์อยู่เลยนะครับเพราะพีรพันธุ์ พาลุสุข รองประธานกรรมาธิการจากพรรคเพื่อไทย บอกว่ารู้สึกแปลกใจ “เขาไปยกมาได้อย่างไร กระทั่งกฎหมายธรรมดา ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งไว้ สภาฯก็มีสิทธิทบทวน เป็นมาตั้งแต่สมัยไหนๆ แล้ว เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย เราไม่ได้ไปลดพระราชอำนาจอะไรเลย เขาคงเข้าใจผิด”

พีรพันธุ์น่ะแหละเข้าใจผิด เพราะจริงๆ แล้ว 10 อรหันต์เสนอว่า “มิบังควรให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้งประชามติ” ให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วประกาศใช้เลย

นี่เป็นหลักการประชาธิปไตยอยู่แล้ว ที่จริงต้องพูดให้ชัดเลยว่า “พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจยับยั้งประชามติ” เพราะประชามติคือการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน เป็นอำนาจสูงสุด สูงกว่าอำนาจรัฐสภาเสียอีก

ฉะนั้นการกำหนดว่าให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้ง แล้วให้รัฐสภาลงมติยืนยันจึงผิดเพี้ยน เพราะแม้แต่รัฐสภาก็ยังมีอำนาจต่ำกว่าประชามติของประชาชนทั้งประเทศ จะไปยืนยันได้ไง

อันที่จริงถ้า 10 อรหันต์พูดซะให้เคลียร์ แทนที่จะมัวอ้อมแอ้มไปใช้ศัพท์ “มิบังควร” ผู้คนก็คงเข้าใจชัดเจนกว่านี้ แต่อย่างว่า 10 อรหันต์ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการสำนัก “อ้างพระราชอำนาจ” ก็เลยอ้ำๆ อึ้งๆ หลบๆ เลี่ยงๆ

ยิ่งตอนที่กิตติศักดิ์ ปรกติ แถลงข่าวการประชุมครั้งก่อน 28 มี.ค.ยิ่งเพี้ยนไปใหญ่ (แต่ผมอ้างจากเดลินิวส์ ถ้าข่าวผิดก็ขออภัย)

"ที่ประชุมได้มีการถกเถียงกันในเชิงวิชาการโดยมีข้อยุติร่วมกันว่า เมื่อประชาชนลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้วก็ให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยได้เลย ไม่จำเป็นต้องให้รัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนมาพิจารณาอีก และในข้อเท็จจริงแม้พระมหากษัตริย์อาจใช้พระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้วพระมหากษัตริย์ไม่เคยใช้พระราชอำนาจในเรื่องการยับยั้งร่างรัฐธรรมนูญที่มีการลงมติโดยประชาชนแล้ว

"กรรมการที่เสนอเห็นว่าหากให้มีการนำรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 150 และมาตรา 151 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการตรา พ.ร.บ.มาบังคับใช้ โดยอนุโลมกับร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาการขัดกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนได้ เช่นถ้าประชาชนลงประชามติแล้วมีการทูลเกล้าฯขึ้นไปและพระมหากษัตริย์ทรงไม่ถวายคืนกลับมา รัฐสภาก็ต้องมาพิจารณาดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแล้วก็จะเกิดปัญหาว่ารัฐสภาจะเห็นด้วยกับพระมหากษัตริย์หรือประชาชน ซึ่งที่ประชุมมองว่าถ้ามีการบัญญัติให้นำมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้กับร่างรับธรรมนูญฉบับใหม่โดยอนุโลมก็อาจทำให้เกิดข้อโต้แย้งโดยไม่จำเป็น จึงควรมีการบัญญัติเพียงว่าประชาชนหากประชาชนมีประชามติรับร่างประชาชนแล้ว ก็ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯพระมหากษัตริย์แล้วจบเลย"

คำอธิบายนี้พยายามจะบอกว่าทรงมีพระราชอำนาจอยู่แต่ไม่เคยใช้ ผิดครับ พระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจยับยั้งประชามติ ไม่สามารถใช้พระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น เพราะประชามติอยู่เหนือพระราชอำนาจ

สาเหตุที่ไม่มีพระราชอำนาจ ถ้าอธิบายอย่างนุ่มนวลก็อธิบายตามย่อหน้าที่สองนั่นแหละ คุณจะไปบัญญัติให้พระมหากษัตริย์มีความเห็นขัดกับประชาชนเสียงข้างมากได้ไง

ฟังแล้วอย่างง คือผมเห็นด้วยกับ 10 อรหันต์ในข้อสรุป แต่เหตุผลต่างกัน อธิบายเรื่องพระราชอำนาจต่างกัน เพราะ 10 อรหันต์พยายามอธิบายว่ายังอาจใช้พระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ แต่ผมว่าไม่ได้

ต้องเข้าใจกันก่อนว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ต้องการให้พระมหากษัตริย์พ้นไปจากความขัดแย้ง เป็นที่เคารพ เป็นศูนย์รวมจิตใจ จึงไม่ต้องการให้พระมหากษัตริย์แสดงความเห็น ซึ่งย่อมมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย

การลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกา ในฐานะองค์ประมุข ไม่ได้หมายความว่าพระมหากษัตริย์เห็นชอบ ผู้รับผิดชอบคือผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น

มีแต่ร่างพระราชบัญญัติที่รัฐธรรมนูญให้พระมหากษัตริย์ใช้สิทธิ Veto ได้ แต่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญน่าจะเผื่อไว้ว่า ถ้าร่าง พ.ร.บ.นั้นมีผู้คัดค้านมาก ก่อให้เกิดความขัดแย้ง องค์ประมุขก็เป็นที่พึ่งสุดท้าย สมมติเช่นมีผู้ถวายฎีกาขอให้ยับยั้ง จึงทรงยับยั้ง ไม่ใช่เป็นความเห็นของพระองค์แต่อย่างใด

ซึ่งที่ผ่านมาในรัชกาลนี้ ในหลวงก็ไม่เคยยับยั้งด้วยความเห็นส่วนพระองค์ เคยมีแต่ในรัฐบาลไทยรักไทยที่ทรงยับยั้งร่าง พ.ร.บ.ราชภัฏ เพราะมีปัญหาที่วุฒิสภาตีกลับแล้วสภาผู้แทนยืนร่างเดิม แล้วเป็นร่างที่ทำไม่เรียบร้อย มั่ว เลอะเทอะ ประกาศใช้เป็นกฎหมายไม่ได้

ในแง่นี้ ที่จริงก็ยังเป็นการใช้ “พระราชอำนาจ” ในแง่ของการกลั่นกรองตรวจสอบกระบวนการ คล้ายๆ กับกรณีคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ที่ในหลวงไม่ลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯ ผู้ว่า สตง.คนใหม่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่สะเด็ดน้ำว่าคุณหญิงพ้นตำแหน่งหรือไม่แล้ววุฒิสภาไปตั้งคนใหม่

การใช้พระราชอำนาจกลั่นกรองกระบวนการไม่ใช่ความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ในแง่นี้แม้รัฐธรรมนูญไม่ให้อำนาจ Veto พระมหากษัตริย์ก็ยับยั้งได้ สมมติเช่น รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกา แล้วมีรัฐมนตรีออกมาโวยว่าองค์ประชุมไม่ครบ ก็สามารถยับยั้งไว้ก่อนจนกว่าจะมีการยืนยัน

แต่แม้รัฐธรรมนูญจะเปิดช่องให้พระมหากษัตริย์แสดง “ความเห็น” ได้ในการ Veto พระราชบัญญัติตามมาตรา 151 “พระราชอำนาจ” นั้นก็ยังมีอำนาจน้อยกว่ามติของรัฐสภาอยู่ดี ฉะนั้นถ้าถามว่า ประชามติของประชาชนทั้งประเทศกับมติของ ส.ส. ส.ว. 650 คน อำนาจไหนใหญ่กว่า ก็ ซตพ.ครับ พระมหากษัตริย์ยับยั้งประชามติไม่ได้

คณะกรรมาธิการควรลบมาตรานี้ทิ้งเสีย เพราะจริงๆ แล้วทั้ง 3 ร่างก๊อปมาจากมาตรา 291(7) ปัจจุบัน ก๊อปโดยไม่ใช้สมอง ว่านั่นมันเป็นการแก้ไขโดยรัฐสภา นี่เป็นการแก้ไขโดยประชามติ

แต่ก็ควรขอบคุณ 10 อรหันต์งามๆ เพราะถ้ากรรมาธิการตัดออกโดยลำพัง แมลงสาบและสลิ่มคงปั้นข้อหา “ล้มล้างพระราชอำนาจ” โยนใส่กันวุ่นวาย นี่ยังดี มี 10 อรหันต์อย่าง อ.สุรพล นิติไกรพจน์ อ.จรัส สุวรรณมาลา อ.นรนิติ เศรษฐบุตร อ.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ เป็นเกราะอยู่แล้ว

ใบตองแห้ง
10 เม.ย.55

http://prachatai.com/journal/2012/04/40027

----------------------------------------------------
FfF