บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


05 มิถุนายน 2555

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ขอบเขตของอำนาจศาลรัฐธรรมนูญต่อการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ >>>

สำหรับรายละเอียดร่างรัฐธรรมนูญ50 แก้ไขเพิ่มเติม ม.291
คลิกอ่านได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้


สำหรับขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญต่อการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ผมสรุปว่า มี 4 เจตนารมย์ กับ บรรทัดฐานที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ ดังนี้

1. เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ 50 ในมาตรา 3
มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม

จะเห็นได้ว่า มีการเน้นย้ำทุกองค์กรของรัฐ ต้องปฏิบัติเป็นไปตามหลักนิติธรรม
ไม่ใช่หลักตามอำเภอใจ การปฏิบัติการใดๆ ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฏหมายด้วย
ดังนั้นจะอ้างอิงอำนาจศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 - 216 โดยเฉพาะ ม.216 วรรคนี้ 
"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และ องค์กรอื่นของรัฐ"
จะต้องเป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อเจตนารมย์ มาตรา 3 ที่ให้ยึดหลักนิติธรรมด้วย

หมายเหตุ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
นิติธรรม    น. หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย.
  
+++

2. เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ 50 ในมาตรา 68

 โดยเฉพาะประโยคนี้
"ให้เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ"
ถ้าไม่ใช่การยื่นให้อัยการสูงสุดดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
เสร็จแล้วค่อยยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการต่อไป
แล้วจะให้ตีความยอมรับ ให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถวินิจฉัยสั่งการได้ทันที
โดยไม่ต้องรอให้อัยการสูงสุดดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
ถามว่า แล้วจะเขียนเพื่อเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยทำไม

นอกจากนี้ในช่วงการร่างรัฐธรรมนูญ 50 
ก็ได้มีการอภิปรายแสดงเจตนารมย์ มาตรา 68
ซึ่งตอนที่ยังเป็นร่างอยู่ เป็นมาตรา 67
ได้ระบุชัดถึงการต้องส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณาก่อนอย่างชัดเจน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เรื่องนี้

เปิดบันทึกประชุม ส.ส.ร.50 เจตนารมณ์"มาตรา 68"

...
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วนี่กระผมจึงมีความเห็นว่า สิทธิของบุคคลที่จะนำเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดในกรณีที่เขาทราบว่า หรือพบว่า มีการกระทำที่เข้าข่ายในลักษณะที่จะเป็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น จึงไม่จำเป็นว่า จะต้องเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์นั้นเสียก่อน ถ้าเราใช้คำว่า ผู้รู้เห็น ดังที่บัญญัติอยู่ในมาตรา 67 วรรคแรกนะครับ ก็จะทำให้เหตุการณ์นั้นมันเกิดขึ้นเสียก่อน แล้วผู้รู้เห็นเหตุการณ์นั้นจึงจะมีสิทธิที่จะนำเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด

...
เพราะฉะนั้น เพียงแค่ทราบว่า มีบุคคลหรือมีพรรคการเมืองใด กำลังจะดำเนินการไปในวิถีทางเพื่อให้ได้อำนาจรัฐมา นอกเหนือจากวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ผู้ทราบเหตุการณ์นั้นควรที่จะต้องมีสิทธิมาร้องเรียนต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้ทำการตรวจสอบได้แล้ว ขั้นตอนที่มาร้องเรียนนั้น ก็เป็นหน้าที่ของอัยการสูงสุดครับ
...
ด้วยเหตุผลที่ได้กราบเรียนท่านประธานมา กระผมจึงได้ใช้สิทธิขอแปรญัตติข้อความในวรรคที่ 1 ครับ ท่านประธานครับ ว่าในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำ ขอแก้ไขคำว่าผู้รู้ เป็นผู้ทราบการกระทำดังกล่าว มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ กราบเรียนท่านประธานครับ
...

หลักฐานจากเว็บศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการใช้สิทธิต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ระบุชัดเจนว่า ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง กรณี ม.68 คือ อัยการสูงสุด เท่านั้น
แต่ทำไมยังรับเรื่องจากผู้อื่น แถมยังนำไปใช้อ้างเพื่อให้สภาชลอการลงมติวาระ 3 อีกด้วย
























































































+++

3. เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ 50 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรากฎหมายใหม่
ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
พิจารณาวินิจฉัยเฉพาะ
ร่างพระราชบัญญัติทุกชนิดรวมถึงร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา 
และร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา
แต่ไม่รวมถึงร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ตามมาตรา 154 และ 155

ส่วนที่ ๘
การควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

มาตรา ๑๕๔ ร่าง พระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรง ลงพระปรมาภิไธยตามมาตรา ๑๕๐ หรือ ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาลงมติยืนยันตามมาตรา ๑๕๑ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย อีกครั้งหนึ่ง

(๑) หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่า
ร่าง พระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภาหรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐ ธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
(๒) หากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาทราบโดยไม่ชักช้า ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินการ เพื่อประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำ วินิจฉัย

ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐ ธรรมนูญนี้หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป

ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐ ธรรมนูญนี้ แต่มิใช่กรณีตามวรรคสาม ให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไป และให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามมาตรา ๑๕๐ หรือมาตรา ๑๕๑ แล้วแต่กรณี ต่อไป
มาตรา ๑๕๕ บทบัญญัติมาตรา ๑๕๔ ให้นำมาใช้บังคับกับร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา และร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วยโดยอนุโลม

+++

4. เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ 50 ในมาตรา 212
จะยื่นคำร้องต่อศาลรธน. ใน ม.212 ต้องประกอบด้วยหลักการ 3 ประการดังต่อไปนี้
1. ผู้ร้องได้ยื่นผ่านศาล หรือ ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา หรือ ผ่านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แล้วไม่ได้รับการตอบสนองคือไม่ส่งเรื่องต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเลยมายื่นเอง

‎2. ต้องเขียนแย้งด้วยว่าบทบัญญัติของกฏหมายใดละเมิดสิทธิเสรีภาพหรือขัดแย้งกับรัฐะรรมนูญ 50

3. ต้องเป็นบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญ 50 รับรองไว้ด้วย ซึ่งข้อนี้มีกรณีตัวอย่างที่เป็นบรรทัดฐานมากมายหลายคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่เคยตัดสินไว้ เช่น
คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 6/2551 มีผู้ร้องคัดค้านการตราพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับไม่ชอบด้วยกฏรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลได้ตัดสินว่าผู้ร้องไม่ใช่บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญ 50 ได้รับรองไว้ รวมทั้งไม่ระบุว่าขัดกับมาตราใดจึงไม่รับวินิจฉัย

หลักเกณฑ์คร่าวๆ สำหรับ ม.212 ที่พอจะนำไปโต้แย้งกรณีมีการแย้งว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ม.291 ผิดหลักอะไรใน ม.212 ซึ่งจะเห็นว่ามันไม่เข้าองค์ประกอบโดยเฉพาะข้อ 3 มีตัวอย่างอีกเพียบที่ไม่รับวินิจฉัยเพราะผู้ร้องไม่ได้ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยตรง ยิ่งร่างรธน.ใหม่นี้ยังให้สิทธิลงประชามติจะมาอ้างไม่ได้เลยว่าละเมิดสิทธิเสรีภาพอะไร นอกนั้นในเนื้อหาก็ไม่ได้ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพบุคคลใดจึงไม่สามารถรับมาวินิจฉัยด้วยมาตรานี้ ยกเว้นจะลืมมาตราฐานที่เคยตัดสินไว้

+++

5. บรรทัดฐานที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้
บรรทัดฐาน ม.291 ที่ไม่เปิดโอกาสให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่รับพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ทำในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ดังนี้
"ศาลพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่รับไว้วินิจฉัย เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้บัญญัติการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้โดยเฉพาะใน มาตรา 291 โดยให้ต้องทำเป็นญัตติและเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มิใช่ทำเป็นร่าง พ.ร.บ. ทั้งมาตรา 291 (7) บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ไม่ได้ให้นำมาตรา 154 มาใช้บังคับ"
ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้อ้างเหตุผลที่ไม่รับตีความด้วย 2 เหตุผล 
จาก 2 ข้อใน มาตรา 291 ดังนี้
มาตรา ๒๙๑ (๒) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ
มาตรา ๒๙๑ (๗) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๐ และมาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถวินิจฉัยได้
อีกทั้งไม่ได้อนุญาติให้นำมาตรา 154 ที่เปิดโอกาสให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถวินิจฉัยได้
จึงไม่มีหนทางวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ ได้ จึงไม่รับไว้วินิจฉัย

+++

บรรทัดฐาน ม.63 ในรัฐธรรมนูญ 40 ที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยตีความประโยคที่คล้ายกันกับใน ม.68 รัฐธรรมนูญ 50

มาตรา ๖๓ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้


###

มาตรา ๖๘ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าว
ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
สั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว



+++


โดย มาหาอะไร

----------------------------------------------------

อ่านเต็มๆ คำแถลงอัยการสูงสุด ไม่ส่งคำร้องร่างแก้รธน.ให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตาม"ม.68"

วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 15:08:45 น.


คำแถลงสำนักงานอัยการสูงสุด


ตามที่บุคคลและคณะบุคคล รวม ๖ ราย คือ นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ผู้ร้องที่ ๑ นายบวร ยสินทรกับพวกกลุ่มราษฎรอาสาปกป้อง ๓ สถาบัน ผู้ร้องที่ ๒ นายวรินทร- เทียมจรัส ผู้ร้องที่ ๓ พลตรีจำลอง ศรีเมือง กับพวก ผู้ร้องที่ ๔ นายวิรัตน- กัลยาศิริ กับพวก ผู้ร้องที่ ๕ และพลเอกสมเจตน- บุญถนอม กับพวกสมาชิกวุฒิสภา ผู้ร้องที่ ๖ ได้มีหนังสือส่งเอกสารหลักฐานให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข!อเท็จจริงและยื่นคำ ร!องให!ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการตามมาตรา๖๘ของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ กรณีคณะรัฐมนตรี พรรคร่วมรัฐบาลสมาชิกสภาผู!แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานรัฐสภา ได้ร่วมกันเสนอ รับพิจารณา และลงมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช.... ซึ่งกำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หมวด ๑๖ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกหรือล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ อันเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย-ทรงเป็นประมุขและเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจใน การปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญตามมาตรา ๖๘ นั้น

ด้วยองค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและอำนาจ หน!าที่ของอัยการสูงสุดเป็นกลไกหนึ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ หมวด ๓ ส่วนที่ ๑๓ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ให้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำที่ต้องห้ามตามมาตรา๖๘ ไม่ว่าอัยการสูงสุดจะวินิจฉัยไปทางหนึ่งทางใดก็ย่อมมีผลกระทบในทางการเมือง ดังนั้น ในการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๖๘ อัยการสูงสุดจึงตระหนักเสมอว่า ต้องใช้อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมและเป็นกลาง

บัดนี้ คณะกรรมการตรวจสอบข!อเท็จจริงที่อัยการสูงสุดแต่งตั้งได้ดำเนินการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องและพิจารณาจากพยานหลักฐานเท่าที่ ปรากฏ มีความเห็นเสนอต่ออัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดได้วินิจฉัยแล้วดังต่อไปนี้

๑. อัยการสูงสุดมีอำนาจตรวจสอบข อเท็จจริงและยื่นคำร องขอให ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวตามมาตรา ๖๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หรือไม่อย่างไร

๑.๑ จากการตรวจสอบเจตนารมณ์และที่มาของบทบัญญัติมาตรา ๖๘ จากรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๗/๒๕๕๐ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ ที่ประชุมได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.....ส่วนที่ ๑๓ สิทธิพิทักษ-รัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ (คือ มาตรา ๖๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐) ในหน้าที่ ๗ - ๑๘ สรุปได้ว่า อัยการสูงสุดจะต้องตรวจสอบเรื่องราวว่ามีมูลหรือไม่ ในกรณีมีมูลอัยการสูงสุดจะเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญในขั้นตอนต่อไป

๑.๒ จากการพิจารณาบทบัญญัติมาตราอื่นๆ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช๒๕๕๐ ได้แก่ มาตรา ๙๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๕๔ (๑) มาตรา ๑๘๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๓๓ วรรคหนึ่ง มาตรา๒๔๙ วรรคสอง เปรียบเทียบกับมาตรา ๖๘ แล้ว เห็นได้ว่า การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการตามมาตรา๖๘ นั้น มิได้บัญญัติให้อัยการสูงสุดมีหน้าที่เพียงยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำตามที่ผู้ร้องทราบว่ามีการกระทำที่ต้องห้าม ตามมาตรา๖๘ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๕๔ (๑) มาตรา ๑๘๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๓๓ วรรคหนึ่งมาตรา ๒๔๙ วรรคสอง ที่บัญญัติให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณีส่งคำร้อง ความเห็น เรื่อง ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อได้รับคำร้อง ความเห็น เรื่อง จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกทั้งสองสภา
ดั้งนั้น หากรัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ให้อัยการสูงสุดมีหน้าที่เพียงรวบรวมข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำที่ผู้ร้อง ทราบมาโดยไม่ต้องพิจารณาหรือวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ ต้องห้ามตามมาตรา ๖๘ หรือไม่ รัฐธรรมนูญก็คงบัญญัติในทำนองเดียวกันตามที่กล่าวข้างต้น

๑.๓ พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๖ ได้ บัญญัติรองรับอำนาจอัยการสูงสุดในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการตาม รัฐธรรมนูญ โดยมีอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานได้ตามที่เห็นสมควร ไว้ด้วย ในการใช!อำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่ง การให้เลิกกระทำการที่ต้องห้ามตามมาตรา๖๘ อัยการสูงสุดต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญให้ความ คุ้มครองตามมาตรา ๒๖ และมาตรา ๔๐ และต้องใช้อำนาจในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดย เที่ยงธรรมตามมาตรา ๒๕๕ วรรคสอง ประกอบกับการกล่าวหาบุคคลหรือพรรคการเมืองว่าใช้สิทธิหรือเสรีภาพตาม รัฐธรรมนูญที่ต้องห้ามตามมาตรา ๖๘ เป็นการกล่าวหาที่มีความร้ายแรง กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลและพรรคการเมือง ซึ่งอาจถูกดำเนินคดีอาญา ถูกสั่งยุบพรรคการเมืองหรือถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้ หากอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่มีผู้ทราบการกระทำแล้วปรากฏว่าการ กระทำนั้นไม่ใช่การกระทำที่ต้องห้ามมาตรา๖๘ และยังยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สั่งเลิกการกระทำนั้นอีกย่อม เป็นการใช้อำนาจโดยไม่เที่ยงธรรมกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้ถูกร้องโดยไม่ เป็นธรรม อันเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงและ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวแล้วก็ ย่อมให้อำนาจอัยการสูงสุดในการที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและวินิจฉัยถึงการ กระทำดังกล่าวว่าเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๘ หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อมิให้อัยการสูงสุดใช้อำนาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือ พรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง

๒.การที่ คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรฯ ได้ สนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช...... กำหนดให มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นการใช้ สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล มล างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุขและให้ได้ มาซึ่งอำนาจในการ ปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้ เป็นไปตามวิถีทางบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ ตามความในมาตรา๖๘ หรือไม่

จากการพิจารณาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยกำหนดหลักการอันเป็นสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญไว้เป็นหมวดต่างๆ รวม ๑๕ หมวด คือ หมวด ๑ บททั่วไป หมวด๒ พระมหากษัตริย- หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หมวด ๔ หน้าที่ของชนชาวไทย หมวด ๕แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวด ๖ รัฐสภา หมวด ๗ การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน หมวด ๘ การเงิน การคลัง และงบประมาณ หมวด ๙ คณะรัฐมนตรี หมวด ๑๐ ศาล หมวด ๑๑ องค์กรตามรัฐธรรมนูญหมวด ๑๒ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด ๑๓ จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐหมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะกาล ประกอบกับบทบัญญัติในหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา ๒๖ ที่บัญญัติว่า “การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” เห็นได้ว่า การใช้อำนาจขององค์กรของรัฐกับการใช้สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ได้บัญญัติไว้ในลักษณะที่แยกต่างหากจากกัน ซึ่งในส่วนของสิทธิและเสรีภาพนี้จะบัญญัติไว้ในหมวด ๓ แต่ในส่วนขององค์กรรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภานี้ จะมีสมาชิกสภาผู!แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้ใช้อำนาจขององค์กรรัฐสภาตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น หมวด ๖ รัฐสภา หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวด ๑๕ ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามมาตรา ๖๘

๓. การที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู แทนราษฎรฯ ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช...... กำหนดให มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นการแก้ ไขเพิ่มเติมตามวิถีทางที่บัญญัติไว ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐มาตรา ๒๙๑ หรือไม่

มาตรา ๒๙๑ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหลักเกณฑ์และวิธีการทำนองเดียวกันที่บัญญัติไว!ในมาตรา ๒๑๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช๒๕๓๔ ส่วนถ้อยคำที่แตกต่างกันไม่มีผลทำให!หลักเกณฑ์และวิธีการตามบทบัญญัติทั้งสองมีเนื้อหาหรือความหมายแตกต่างไปจากเดิมแต่อย่างใด

จาก การตรวจสอบกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยอาศัยตามหลักเกณฑ์และ วิธีการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา๒๑๑ ปรากฏว่าในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖)พุทธศักราช ๒๕๓๙ ซึ่งบัญญัติให!เพิ่มหมวดที่ ๑๒ กำหนดให!มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญมาเป็นผู้ยกร่าง มีลักษณะทำนองเดียวกับการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่....) พุทธศักราช.... ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มหมวด ๑๖ กำหนดให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญทำนองเดียวกัน ในการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙ นี้ ได้ดำเนินการโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา๒๑๑ แก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๓๔ บางส่วน โดยเพิ่มหมวดที่ ๑๒ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อเปิดช่องให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับเดิมต่อไปเช่นนี้ ย่อมแสดงว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยอาจแก้ไขเพิ่มเติมโดยแก้ไขถ้อยคำและข้อความที่มีอยู่แล้วคือ
๑) การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราหรือหลักการเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือ

๒) โดยเพิ่มเติมข!อความ มาตรา หรือหลักการใหม่เข้าไป คือ การแก้ไขเพิ่มเติมมาตราหรือหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งไม่มีอยู่เดิม

ดังนั้นการที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช.... โดยมีสาระสำคัญให!มี “การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” โดยการเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ให้มี “หมวด ๑๖ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” มาตรา๒๙๑/๑ ถึงมาตรา๒๙๑/๑๗ กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ “จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” นั้น ถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ว่าด้วยเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในหมวดที่ ๑๕ มาตรา ๒๙๑ ในทำนองเดียวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ มาตรา ๒๑๑ ดังกล่าวข้างต้น กรณีจึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยของผู้ถูก ร้องทั้งในส่วนของคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎรปรากฏว่าได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๒๙๑ ทุกประการและได้มีการพิจารณาญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการประชุม ร่วมกันของรัฐสภาตามที่บัญญัติไว!ในมาตรา๑๓๖ (๑๖) แล้ว การที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช...... กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการอันเป็นวิถีทางที่บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๙๑

๔. การที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู แทนราษฎรฯ ได้ เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช...... มีเนื้อหาส่อให้ เห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองในระบบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้ มาซึ่งอำนาจใน การปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามที่วิธีทางที่บัญญัติไว ในรัฐธรรมนูญ ตามความในมาตรา ๖๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หรือไม่

จากการตรวจสอบเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....)พุทธศักราช.... ทั้งสามฉบับ ปรากฏว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๑/๑๑ ทั้งสามฉบับ มีข!อความเหมือนกัน คือวรรคแรก บัญญัติว่า “สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา หนึ่งร้อยแปดสิบวัน....” วรรคสี่ บัญญัติว่า “ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทั่วภูมิภาค ด้วย” วรรคห า บัญญัติว่า “ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำมิได้”วรรคหก บัญญัติว่า
“ในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตาม วรรคห้า ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป” เห็นได้ว่าการเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้อง มิได้มีเจตนาหรือต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับเดิม สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติดังกล่าว คือ ต้องยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งรัฐสภาจะต้องตรวจสอบด้วยและหากวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะเป็น การเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็เป็นอันตกไป นอกจากนั้น เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จแล้วจะต้องจัดให้มี การทำประชามติก่อนว่าจะรับร่างฉบับใหม่หรือไม่ซึ่งไม่แน่ว่าประชาชนชาวไทย ทั่วไปจะรับร่างฉบับใหม่หรือไม่ หากเสียงของประชาชนไม่เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นก็เป็นอันตกไป ตามความในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๙๑/๑๓ (ฉบับของนายภราดร ปริศนานันทกุล เป็นมาตรา ๒๙๑/๑๔)

นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับไม่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก มาตรา ๒๙๑ ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จะมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจึง กระทำไม่ได้ เนื่องจากต้องห้ามตามความในมาตรา ๒๙๑ (๑) วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “ญัตติขอแก้ ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะ กระทำมิได้ ”และไม่ปรากฏว่าร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับมีข้อความใดที่บ่งชี้ หรือแสดงให้เห็นว่าได้มีการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการ ปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู!แทนราษฎรของพรรคการเมืองหลายพรรค เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตามมาตรา ๒๙๑ จึงไม่มีเนื้อหาเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจใน การปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ

กรณีตามคำร้องของผู้ร้องทั้งหกข้อเท็จจริงยัง ไม่พอฟังว่ามีพฤติการณ์หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำ ร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำการตามความในมาตรา๖๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

อนึ่ง การพิจารณาวินิจฉัยของอัยการสูงสุดในเรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เฉพาะของอัยการสูงสุด ตามมาตรา ๖๘ ไม่ได้ก้าวล่วงการใช้อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยขององค์กรอื่นแต่อย่างใด

สำนักงานอัยการสูงสุด
7มิถุนายน 2555

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339138060&grpid=01&catid=01

----------------------------------------------------


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
...
หมวด ๑
บททั่วไป

มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
...
ส่วนที่ ๑๓
สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
มาตรา ๖๘ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าว ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการ เมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วัน ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว
...
ส่วนที่ ๗
การตราพระราชบัญญัติ
มาตรา ๑๕๐ ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
มาตรา ๑๕๑ ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีก ครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็น กฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
...
ส่วนที่ ๘
การควบคุมการตรากฎหมายที่ขั
ดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๑๕๔ ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ ความเห็นชอบแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรง ลงพระปรมาภิไธยตามมาตรา ๑๕๐ หรือ ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาลงมติยืนยันตามมาตรา ๑๕๑ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย อีกครั้งหนึ่ง
(๑) หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่า
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภาหรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐ ธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
(๒) หากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาทราบโดยไม่ชักช้า ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินการ เพื่อประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำ วินิจฉัย
ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญนี้หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญนี้ แต่มิใช่กรณีตามวรรคสาม ให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไป และให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามมาตรา ๑๕๐ หรือมาตรา ๑๕๑ แล้วแต่กรณี ต่อไป

มาตรา ๑๕๕ บทบัญญัติมาตรา ๑๕๔ ให้นำมาใช้บังคับกับร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา และร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วยโดยอนุโลม
...
ส่วนที่ ๒
ศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๒๑๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้
ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย

มาตรา ๒๑๔ ใน กรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป ให้ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี หรือ องค์กรนั้น เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย

มาตรา ๒๑๕ ในกรณีที่ศาลรัฐ ธรรมนูญเห็นว่าเรื่องใดหรือประเด็นใดที่ได้มีการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณา เป็นเรื่องหรือประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยพิจารณาวินิจฉัยแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องหรือประเด็นดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้

มาตรา ๒๑๖ องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าห้าคน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่จะมีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและความเห็นในการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อยต้อง ประกอบด้วยความเป็นมาหรือคำกล่าวหา สรุปข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการพิจารณา เหตุผลในการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และ องค์กรอื่นของรัฐ
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
...
หมวด ๑๕
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๒๙๑ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(๑) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่า ด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการ เปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้
(๒) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ
(๓) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(๔) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อ เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย
การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
(๕) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป
(๖) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(๗) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๐ และมาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
...

------------------------------------------------------

เปิดบันทึกประชุม ส.ส.ร.50 เจตนารมณ์"มาตรา 68"
วันที่ 05 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 10:26:45 น.
 
หมายเหตุ - ส่วนหนึ่งของรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ครั้งที่ 27/2550 วันที่ 18 มิถุนายน 2550 หน้า 6 ที่กล่าวถึงมาตรา 67 (คือมาตรา 68 รัฐธรรมนูญ 2550) โดยระบุว่า ผู้ร้องต้องร้องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น


นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย : ขอบคุณครับท่านประธานครับ ผม สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้แปรญัตติ มาตรา 67 ครับ กราบเรียนท่านประธานสภา และท่านกรรมาธิการยกร่างอย่างนี้ครับว่า มาตรา 67 นี้ อยู่ในส่วนที่ 13 คือ สิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในหมวด 3 ซึ่งว่าด้วยเรื่องของสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย บทบัญญัติในมาตรา 67 นี้ได้บัญญัติให้เป็นสิทธิของบุคคลที่จะใช้สิทธิในการนำเรื่องเสนอต่ออัยการ สูงสุด ในกรณีที่ทราบว่ามีบุคคลหรือมีพรรคการเมืองที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข

นอกจากนี้ ในมาตรา 67 ยังกำหนดผลของการกระทำว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำที่มีผู้ร้องเรียนนั้น เป็นการกระทำที่มีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง และวรรคสอง คือ มีการกระทำที่มีลักษณะเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น จะมีผลที่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองได้ ในกรณีที่ผู้กระทำเป็นพรรคการเมือง

นอกจากนั้น ในวรรคท้ายของมาตรานี้ที่ท่านกรรมาธิการยกร่างได้มีบทบัญญัติเพิ่มเติมมามี ผลให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารของ พรรคการเมืองที่ถูกยุบพรรคด้วย

นอกจากนี้ ถ้าเราย้อนไปดูในวรรคสองของมาตรานี้ จะพูดได้เลยว่า การดำเนินการของอัยการสูงสุดในกรณีที่ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยการกระทำของบุคคลหรือพรรคการเมืองว่า มีลักษณะของการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ นั้น ไม่ตัดสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำการดังกล่าว

ทั้งหมดที่ผมนำเรียนมานี้ จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติของมาตรา 67 นั้น มีลักษณะของการที่จะลงโทษ ทั้งในเชิงของการเป็นโทษในทางอาญา ตามที่ปรากฏอยู่ในข้อความในวรรคที่ 2 รวมถึงโทษที่ไม่มีลักษณะเป็นโทษทางอาญา แต่เป็นการลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องของการเลือกตั้งหรือการเมือง นั่นคือโทษของการยุบพรรครวมถึงโทษของการตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่มีการกระทำดังกล่าว

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วนี่กระผมจึงมีความเห็น ว่า สิทธิของบุคคลที่จะนำเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดในกรณีที่เขาทราบว่า หรือพบว่า มีการกระทำที่เข้าข่ายในลักษณะที่จะเป็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น จึงไม่จำเป็นว่า จะต้องเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์นั้นเสียก่อน ถ้าเราใช้คำว่า ผู้รู้เห็น ดังที่บัญญัติอยู่ในมาตรา 67 วรรคแรกนะครับ ก็จะทำให้เหตุการณ์นั้นมันเกิดขึ้นเสียก่อน แล้วผู้รู้เห็นเหตุการณ์นั้นจึงจะมีสิทธิที่จะนำเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด

ผมเปรียบเทียบอย่างนี้ครับ ท่านประธานครับ ว่าในทางอาญานั้นนี่ถ้าเราทราบว่ามีการกระทำความผิดกฎหมายอาญาเกิดขึ้น แม้ไม่รู้ตัวว่า ผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ยังเปิดช่องว่า สามารถไปกล่าวโทษกับเจ้าพนักงานได้ เพื่อให้เจ้าพนักงานทำการสอบสวนว่า มีการกระทำความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นจริงไหมเพียงแค่ทราบเท่านั้นก็สามารถที่ จะใช้สิทธิในการที่จะไปกล่าวโทษต่อเจ้าพนักงานของรัฐได้

เมื่อนำบทบัญญัติในเรื่องของการกล่าวโทษในทาง อาญามาเปรียบเทียบกับมาตรา 67 เราจะเห็นว่า ระดับของความผิด ความร้ายแรง และผลเสียหายสูงกว่าการกระทำความผิดในทางอาญามาก เพราะเป็นเรื่องของการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข แล้วเช่นนี้ ทำไมเราถึงต้องเขียนเป็นเงื่อนไขว่า ผู้ที่จะมีสิทธินำเรื่องเสนอต่ออัยการสูงสุดนั้น ต้องเป็นผู้ที่รู้ถึงการกระทำนั้น ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเราพิจารณาประกอบว่ามาตรา 67 เป็นเรื่องของสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งผมถือว่า เป็นสิทธิของปวงชนชาวไทยทุกคนที่เขามีหน้าที่ ที่เขามีสิทธิในการที่จะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ พิทักษ์รักษาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เพราะฉะนั้น เพียงแค่ทราบว่า มีบุคคลหรือมีพรรคการเมืองใด กำลังจะดำเนินการไปในวิถีทางเพื่อให้ได้อำนาจรัฐมา นอกเหนือจากวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ผู้ทราบเหตุการณ์นั้นควรที่จะต้องมีสิทธิมาร้องเรียนต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้ทำการตรวจสอบได้แล้ว ขั้นตอนที่มาร้องเรียนนั้น ก็เป็นหน้าที่ของอัยการสูงสุดครับ

ท่านประธานครับที่จะต้องตรวจสอบ เรื่องราวว่ามีมูลหรือไม่มีมูล ก่อนที่ท่านจะนำเรื่องเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป เพราะฉะนั้นผู้ที่จะมาช่วยกันพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พิทักษ์การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น จึงไม่ควรที่จะกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเป็นผู้รู้ในเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย

ด้วยเหตุผลที่ได้กราบเรียนท่านประธานมา กระผมจึงได้ใช้สิทธิขอแปรญัตติข้อความในวรรคที่ 1 ครับ ท่านประธานครับ ว่าในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำ ขอแก้ไขคำว่าผู้รู้ เป็นผู้ทราบการกระทำดังกล่าว มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ กราบเรียนท่านประธานครับ

นายนรนิติ เศรษฐบุตร (ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ) : ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์คมสันครับ สั้นๆ นะอาจารย์ครับ


(ที่มา:มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2555)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1338866052&grpid=03&catid=&subcatid=

-------------------------------------------------------

วิวาทะ "กิตติศักดิ์vsปิยบุตร" อำนาจในการสั่งคุ้มครองชั่วคราวของ "ศาลรธน.เยอรมัน-ไทย"
วันที่ 05 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 00:02:00 น.

เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการเว็บไซต์ประชาไท (http://www.prachatai3.info/journal/2012/06/40831)

ความเห็นทางวิชาการที่แตกต่างระหว่างอาจารย์ ร่วมคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "กิตติศักดิ์ ปรกติ" กับ "ปิยบุตร แสงกนกกุล" ต่อกรณีการสั่งคุ้มครองชั่วคราวซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันมีอำนาจดังกล่าว ในขณะที่ศาลไทยไม่ได้มีบทบัญญัติให้อำนาจไว้

โดย กิตติศักดิ์ ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว ยกกรณีตัวอย่างการสั่งคุ้มครองชั่วคราวในศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน ชี้ให้เห็นกรณีศึกษาของต่างประเทศดังนี้

อำนาจสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน

ระหว่างอยู่ที่ญี่ปุ่น ได้ฟังข่าวว่ามีอดีตนักการเมืองซึ่งเคยเป็นนักวิชาการท่านหนึ่ง ถึงกับกล่าวว่าการที่ศาลรัฐธรรมนูญออกคำสั่งให้สภาหยุดพิจารณาร่างแก้ไข มาตรา 291 นั้นเป็นการปล้นอำนาจประชาชน ก็รู้สึกว่าออกจะกล่าวหากันแรงไปหน่อย แต่ถ้าจะถือว่านี่เป็นธรรมเนียมของการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในบ้าน เราในระยะหลังมานี้ ก็พอจะเข้าใจได้ เพราะถ้าพูดตามเหตุผล อาจจะไม่ค่อยมีใครอยากฟัง ต้องพูดกระชากอารมณ์กันแรงๆ

แน่นอนว่า การใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการ ย่อมมีผู้ที่แสดงความคิดเห็นแตกต่างกันไปได้ และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย แต่อันที่จริงน่าจะนั่งลงอธิบาย ฟังเหตุฟังผลกันก่อน เพราะสาระของการให้ยับยั้งการกระทำก็เพื่อให้ได้มีเวลามาอธิบายโต้แย้งกัน ให้กระจ่างเสียก่อนนั่นเอง

เพราะใช่ว่าจะมีแต่ประเทศไทยที่ศาล รัฐธรรมนูญต้องเข้ามาทำหน้าที่ขวางการดำเนินงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่าย บริหารในกิจการที่ศาลเห็นว่า อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรืออำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ เพราะในระบอบการปกครองที่มีศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่า ศาลรัฐธรรมนูญอาจออกคำสั่งยับยั้ง หรือคุ้มครองชั่วคราว เพื่อไม่ให้ข้อกล่าวหา หรือข้อส่งสัยเกี่ยวกับการละเมิดรัฐธรรมนูญลุกลามไปเป็นปัญหาอย่างอื่นจน เกินเยียวยาแก้ไข

ปัญหาการใช้อำนาจ หรือใช้สิทธิเสรีภาพจนเกินกว่าเหตุ หรือจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ และเมื่อไม่มีกลไกมาคอยปราม หรือกำกับให้อยู่ในเหตุในผล หรือย้บยั้งให้อธิบายกันให้แจ่มชัดเสียก่อน ก็เป็นเหตุให้เกิดเสียหายร้ายแรงมาแล้ว คือกรณีของฮิตเล่อร์ที่ใช้เสียงข้างมากตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี ประธานศาล ประธานสภา และประธานาธิบดีมาแล้ว จนทำให้เยอรมันต้องตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็นสถาบันพิเศษ เพื่อคอยพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

เหตุการณ์ที่เคยเป็นข่าวมาในอดีต เรื่องการใช้อำนาจโดยลุแก่โทสะ หรือตามอำเภอใจนั้น เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในเยอรมัน เมื่อหลังสงครามใหม่ ๆ ในมลรัฐแห่งหนึ่ง กำลังเป็นยุคต่อต้านคอมมูนิสต์ ปรากฏว่าฝ่ายที่มีเสียงข้างมากชนิดเกินร้อยละ 75 และมีจำนวนเสียงมากพอที่จะถอดถอนสมาชิกสภาด้วยกันให้พ้นจากสมาชิกภาพได้ เคยพยายามจะรวมหัวกันลงมติถอดถอนสมาชิกภาพของฝ่ายเสียงข้างน้อย คือฝ่ายคอมมูนิสต์ที่เห็นต่างจากตนอย่างดื้อๆ โดยปราศจากเหตุสมควรมาแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญแห่งมลรัฐก็ออกคำสั่งห้ามการลงมติเช่นนั้น เพราะจะขัดต่อรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย

เมื่อไม่นานมานี้ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งมลรัฐที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุดในเยอรมัน ก็เพิ่งจะออกคำสั่งห้ามมิให้รัฐบาลมลรัฐก่อหนี้ตามกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมงบ ประมาณซึ่งจะก่อหนี้เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ และได้ผ่านการพิจารณาของสภาไปแล้่ว โดยศาลเหตุผลที่ว่า การก่อหนี้ดังกล่าวแม้รัฐบาลจะอ้างว่าเป็นไปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน การคลังของมลรัฐ ก็มีเหตุน่าเชื่อว่าอาจจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการรับภาระทาง ภาษีอากร และความสามารถในการชำระหนี้ของมลรัฐจนเกินสมควรแก่เหตุได้ ดังนั้นศาลจึงสั่งให้ระงับไว้ก่อนจนกว่าจะชี่้แจงกันจนเชื่อแน่ได้ว่าเป็นไป อย่างสมเหตุสมผลแล้วอย่างแท้จริง

ล่าสุดศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันก็เพิ่ง สั่งคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้ผู้แทน 9 นายที่สภาเลือกขึ้นมาทำหน้าที่ในกองทุนฟื้นฟูยุโรป ที่จะให้ความเห็นชอบในการจ่ายเงินกองทุนมูลค่ากว่าสี่แสนล้านยูโร แทนสภาผู้แทนราษฎร โดยศาลสั่งให้ระงับการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่เพิ่งผ่านสภาไปเป็นการชั่ว คราว เพราะเหตุผลว่าจะกระทบต่อหลักความรับผิดชอบของสภาผู้แทนราษฎรต่อประชาชนทั้ง ประเทศ เพราะถ้ามอบอำนาจให้ ส.ส. 9 คนทำการแทน ก็เท่ากับตัดสิทธิ ส.ส. คนอื่นๆ ในการที่จะทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนในเรื่องที่จะกระทบต่อภาระภาษีของปวงชน ในอนาคตไปในสาระสำคัญ ทั้งนี้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาให้เสร็จสิ้นไปก่อนว่าการทั้งหลายนี้จะ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่

ทั้งหมดนี้ไม่ได้แปลว่าการดำเนิน การของรัฐบาล หรือของสภาจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ศาลเห็นว่ามีเหตุควรสงสัยควรจะได้พิจารณากันให้ถี่ถ้วนเสียก่อนเท่า นั้น นี่เป็นกติกาของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ถือกฎหมายเป็นใหญ่ ไม่ใช่ถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่ถ่ายเดียว ซึ่งในระบอบที่ถือกฎหมายเป็นใหญ่นี้ถือหลักยอมให้คนกลางเป็นคนคอยตัดสินข้อ พิพาท และแน่นอนคนกลางอย่างศาลรัฐธรรมนูญต้องระวังอย่าใช้อำนาจยับยั้งตามอำเภอใจ และใช้อำนาจนี้เมื่อ "จำเป็น" อย่างยิ่งยวดเท่านั้น

ศาลรัฐธรรมนูญนั้นวิจารณ์กันได้ครับ แต่ต้องใจเย็นๆ รับฟังกันให้รอบคอบถี่ถ้วนทุกทางเสียก่อนครับ

อย่างไรก็ตาม ปิยบุตร นักวิชาการจากกลุ่มนิติราษฎร์ ได้แสดงความเห็นต่อกรณีของอำนาจคุ้มครองชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันที่ มีบัญญัติรับรองในรัฐธรรมนูญ ว่าแตกต่างจากศาลรัฐธรรมนูญไทยที่ไม่มีบทบัญญติรับรองไว้ ดังนี้

กรณีวิธีการคุ้มครองชั่วคราวของศาล รัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายเยอรมันนั้น จริงครับ มีจริงครับ ผมเอาไปสอนในวิชารัฐธรรมนูญเปรียบเทียบชั้น ป. โท ด้วย ยกเคสให้นักศึกษาฟังด้วย ว่ามีเคสไหนที่ศาลใช้บ้าง ที่เป็นเรื่องเถียงกันมาก คือ กรณีรัฐบัญญัติให้สตรียุติการตั้งครรภ์ได้โดยสมัครใจ

แล้วที่เขามี ก็เพราะมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจนั้นได้ เขียนไว้ชัดเจน และอำนาจนั้นใช้โดยมีเงื่อนไขอะไร

ไม่ใช่แบบเรา ที่ไม่มี แต่ก็คุ้ยเอาวิธีพิจารณาความแพ่ง มาบอกว่าตนเองมี

รัฐบัญญัติว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ แห่งสหพันธ์ มาตรา 32 กำหนดว่า ศาลรัฐธรรมนูญอาจกำหนดวิธีการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยได้ ในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน เพื่อป้องกันอีนตรายอันอาจเกิดแก่คู่ความ สาธารณะ หรือประโยชน์สาธารณะ

วิธีการชั่วคราวใช้ได้ 6 เดือน

ขยายเวลาได้ ด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ขององค์คณะ

ของราชอาณาจักรไทย ไม่มีครับ ศาลรัฐธรรมนูญไทยไปกำหนดขึ้นมาเองโดยใช้ วิธีพิจารณาความแพ่ง

วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน ไม่ใช่ใช้กันได้มั่วซั่วนะครับ

เงื่อนไขสำคัญ คือ เพื่อป้องกันอันตรายแก่คู่ความ แก่สาธารณะ แก่ประโยชน์สาธารณะ

แล้วการสั่งคุ้มครองชั่วคราว ศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่ลงไปสั่งในเนื้อคดี มาตรการที่สั่งลงไป ไม่ใช่เกินอำนาจของศาลที่จะกำหนดตอนทำคำวินิจฉัย

แล้วก็ต้องให้คู่ความในคดีเขาร้องขอมาด้วย

จะเห็นได้ว่า หากนักวิชาการท่านใดต้องการอ้างศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน เพื่อคล้ายๆจะเอามาบอกว่า ที่อื่นก็มีนะ ศาลรัฐธรรมนูญไทยมีก็ไม่แปลก

ขออนุญาตตอบกลับไปด้วยเสียงดังฟังชัดว่า "ผิด" ครับ

ท่านอ้างผิด

อ้างแบบผิดฝาผิดตัว คนละเรื่อง เพราะ

เยอรมันมี เพราะกฎหมายกำหนดให้มี และกำหนดเงื่อนไขการใช้ไว้

แต่ของไทย ไม่มีกฎหมายกำหนดให้มี แต่ศาลรัฐธรรมนูญคุ้ยวิธีพิจารณาความแพ่งแพ่งมาใช้ โดยอ้าง ข้อกำหนดฯ ข้อ 6

และของเยอรมัน เขาไม่ได้เอามาใช้เรื่องระงับการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ประเทศอื่นๆ ที่เขาไม่ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจสั่งคุ้มครองชั่วคราว ศาลรัฐธรรมนูญก็จะไม่มีอำนาจใช้

คลิกอ่าน คู่มือทำความเข้าใจอย่างละเอียด กรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ไว้พิจารณา และมีคำสั่งให้รัฐสภาระงับการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญไว้ก่อน โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล ที่นี่


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1338821592&grpid=01&catid=&subcatid=

------------------------------------------------------

ปิยบุตร แสงนกกุล: ทำความเข้าใจ กรณีตลก. ละเมิดอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ


ภายหลังจากที่ตุลาการรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยคำร้องคำสั่งศาลรัฐ ธรรมนูญกรณีรับคำร้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา68 ไว้พิจารณาและคำสั่งให้รัฐสภาระงับการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ ปิยบุตร แสงกนกกุล ได้เขียนข้อความลงในสเตตัสส่วนตัวต่อเนื่องเพื่ออธิบายหลักกฎหมายและกรณี ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว และย้ำในที่สุดว่า ประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องการละเมิดอำนาจนิติบัญญัติอย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจกัน แต่เป้นการละเมิดอำนาจที่เหนือกว่านั้น คืออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
ประชาไทได้รวบรวมข้อความที่นักวิชาการผู้นี้เสนอผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งเจ้าตัวอนุญาตให้นำเผยแพร่ และเรียบเรียงใหม่ เพื่อประกอบความเข้าใจในการติดตามข่าวดังกล่าว ดังนี้ (เน้นข้อความ และพาดหัวย่อยโดยประชาไท)
ข้อเท็จจริง
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และกลุ่ม 40 ส.ว., นายวันธงชัย ชำนาญกิจ, นายวิรัตน์ กัลยาศิริ, นายวรินทร์ เทียมจรัส, นายบวร ยสินทร และคณะ ยื่นหนังสือให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐสภา พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา นายสุนัย จุลพงศธรและคณะ และนายภราดร ปริศนานันทกุล และคณะได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลทำให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
โดยคำร้องดังกล่าวขอให้ตุลาการวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
1 มิ.ย. ตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติ 5 ต่อ 4 รับคำร้องพิจารณาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สภาผู้แทนราษฎรกำลังดำเนินนั้นมี ลักษณะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งยังมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยว กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลมีคำวินิจฉัยด้วย
โดยนายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ได้ร่วมกันแถลงว่า “เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ศาลมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยวกับ การแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลมีคำวินิจฉัย นอกจากนี้ ให้ ครม. , รัฐสภา, พรรคเพื่อไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา, นายสุนัย และนายภราดร มีหนังสือชี้แจงต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งสำเนาคำร้องและนัดคู่กรณีไต่สวนวันที่ 5-6 ก.ค.2555 เวลา 09.30 น. ซึ่งตุลาการจะเป็นการออกนั่งบัลลังก์ และหากไต่สวนได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว คณะตุลาการก็อาจนัดวันฟังคำวินิจฉัยได้เลย แต่หากข้อเท็จจริงยังไม่ครบถ้วนก็อาจไต่สวนเพิ่มเติมได้"
คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ ส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไร?
1.) ต่อไปนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กุมชะตากรรมของ "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" ทุกครั้ง
2.) ลำดับชั้นของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ จะเสียไปทั้งหมด
3.) การสั่งให้สภาระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ชั่วคราว ไม่มีรัฐธรรมนูญเขียนไว้เลย แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถไปเอา วิ แพ่ง (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง- ประชาไท) มาใช้ นั่นหมายความว่า อนาคตอาจมีอีก (ไม่ต้องอ้างเยอรมันหรอกครับ ผมเอาไปสอนในชั้น ป โท เองแหละ เรื่องนี้ แต่ของเยอรมัน เขาเขียนให้อำนาจศาล รัฐธรรมนูญ ในการระงับการบังคับใช้รัฐบัญญัติได้ชั่วคราว ไมใช่เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ และอำนาจนี้ต้องเขียนไว้ใน รัฐธรรมนูญ ให้ชัด ของเราไม่มีเขียน แต่ลากเอา วิ แพ่งมาใช้)
ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นมาเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กลับเป็นองค์กรที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเอง แล้วจะทำอย่างไร?
มีองค์กรใดที่มีอำนาจตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้หรือไม่?
ผมคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญคงทราบดีว่าตนเองไม่มีอำนาจในการตรวจสอบว่าการแก้รัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ผมก็คาดเดา กังวลใจมาตลอดว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะมาไม้ไหน
นึกไม่ถึงจริงๆว่าจะมามุขมาตรา 68 บวก วิ แพ่ง
นึกไม่ถึงว่าจะกล้าบอกว่า การแก้ รัฐธรรมนูญ เพื่อตั้ง สสร. จะเข้าข่ายการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย
รัฐประหารโดยตุลาการ เคารพตัวอักษร แต่ไม่เคารพเจตนารมณ์ของสถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งวันนี้ (1 มิ.ย.) พอดีผมสนใจเรื่อง Judicial Coup, Judicialisation of politics, Juristrocracy, Fraude à la Constitution, Pouvoir constituant Pouvoir constituant dérivé Pouvoir constitué เสียด้วย เพื่อนๆผมก็สนใจ มีหลายคนเขียนเรื่องนี้ และกำลังค้นคว้าทำวิจัยเรื่องนี้ บางคนเตรียมทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ บางคนสอนเรื่องนี้มาตลอด
หนังตัวอย่าง
Georges Liet Vaux เจ้าของทฤษฎี Fraude à la Constitution เสนอไว้ในบทความตีพิมพ์ลงในวารสาร Revue de Droit Public เมื่อปี 1943 เพื่อตอบโต้การกระทำของจอมพลเปแต็งในการสถาปนาระบอบวิชี่ ว่า Fraude à la Constitution คือ กระบวนการอันแปลกประหลาดที่แสดงให้เห็นว่ากระบวนการนั้นยังเคารพตัวบทตัว อักษรของรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เจตนารมณ์ของสถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้การเคารพ
Georges Burdeau ผู้เขียนตำรารัฐธรรมนูญและรัฐศาสตร์ซีรีส์ขนาดยาวในชื่อ Traité de Science Politique บอกว่า ความคิดทางกฎหมาย (Idée de droit) ใหม่ อำนาจการเมืองใหม่ ได้ถูกบรรจุเข้ามาในรัฐโดยเกฎหมายแห่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยปริยายหรือโดย ชัดเจน
แน่นอน คำอธิบายของสองคนนี้มุ่งหมายไปที่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการของพวกเผด็จการในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นไปทำลายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทำให้ในเวลาต่อมา หลายประเทศจึงเขียนรัฐธรรมนูญกำหนดว่า แก้ได้ทั้งหมด เว้นเรื่องใดบ้าง (เช่น รูปของรัฐ ประชาธิปไตย)
อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่า คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ก็อาจเข้าความหมายของ Fraude à la Constitution เช่นกัน ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่การมีคำสั่งโดยแปลความมาตรา 68 เช่นว่า ย่อมถือได้ว่า ใช้กระบวนการแปลกประหลาดที่ดูเหมือนว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แต่จริงๆแล้วกลับไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญเคยขยายความเรื่อง "อาจจะ" ตอนสมัยคดีพระวิหารมาแล้ว
ครั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญก็มาแปลความมาตรา 68 โดยตัดตอนอัยการสูงสุดออกไป และยังสร้างวิธีการชั่วคราวขึ้นมาเอง โดยเอาข้อกำหนดของศาล รัฐธรรมนูญ ที่บอกว่าให้เอา วิ แพ่งมาใช้โดยอนุโลม การที่ข้อกำหนดให้เอาวิ แพ่ง มาใช้ นั้น ให้ใช้กับเรื่องที่ตนเองมีอำนาจอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่มีข้อกำหนดเขียน เลยเอาวิแพ่งมาใช้ ไม่ใช่ ตนเองไม่มีอำนาจ เลยไปเอาวิแพ่งมาใช้เพื่อสร้างอำนาจให้ตนเอง
รัฐประหารในยุคสมัยใหม่ หรือร่วมสมัย อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ องค์กรตามรัฐธรรมนูญองค์กรใดองค์กรหนึ่ง จงใจ "บิดผัน" รัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรงและประจักษ์ชัด โดยที่ไม่มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญใดตอบโต้ได้สำเร็จ และทำให้การบิดผันรัฐธรรมนูญนั้นมีผลทางกฎหมายและดำรงอยู่ต่อไปได้ อาจเรียกได้ว่าเป็น รัฐประหารในรัฐธรรมนูญ
อำนาจตอบโต้ตุลาการ
การใช้อำนาจตอบโต้องค์กรตุลาการเป็นเรื่องปกตินะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อำนาจตอบโต้กับศาลรัฐธรรมนูญ ทำไมผมถึงกล่าวเช่นนี้
ลองมาดูที่ Troper อธิบายไว้
Troper (Michel Troper - http://fr.wikipedia.org/wiki/Michel_Troper) สร้างทฤษฎี Théorie réaliste de l'interprétation ขึ้นมา เพื่อบอกว่า ตัวบทที่ผลิตออกฎหมายาโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือผู้ร่าง รัฐธรรมนูญ นั้น เป็นเพียงตัวบทเท่านั้น แต่ตัวบทจะกลายเป็น Norme ทางกฎหมาย มีพลังทาง กฎหมาย ได้ ก็เพราะมีการตีความตัวบทนั้น ดังนั้น องค์กรผู้มีอำนาจตีความ กฎหมาย จึงเป็น คนกำหนด Norme คนร่าง กฎหมาย ไม่ได้เป็นคนกำหนด Norme
องค์กรผู้มีอำนาจตีความกฎหมายไม่จำเป็นต้องเป็นศาลเท่านั้น ประธานาธิบดีก็ตีความได้ นายกรัฐมนตรีก็ตีความได้ องค์กรผู้ใช้กฎหมายก็ตีความได้
ปัญหาตามมาคือ เราจะมีวิธีถ่วงดุลองค์กรผู้ตีความกฎหมายได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตีความรัฐธรรมนูญแล้วมีผลผูกพัน
นี่คือปัญหาพื้นฐานในการออกแบบโครงสร้างรัฐธรรมนูญเลย จะเห็นได้ว่า ประเทศ ที่มีศาลรัฐธรรมนูญ เขาจะตีกรอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ให้น้อย และกำหนดให้ชัดเจนมาก ศาลลงไปล้วงคดีมาตัดสินไม่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญ จะแปลความ รัฐธรรมนูญ เพื่อขยายอำนาจตนเองออกไปไม่ได้
นอกจากนี้ด้วยหลักการแบ่งแยกอำนาจที่มีเสถียรภาพและสมดุล ฝ่ายการเมืองก็อาจโต้ศาล รัฐธรรมนูญ ได้ เช่น ศาล รัฐธรรมนูญ ตีความ มาตรา 190 เติมคำว่า "อาจจะ" รัฐสภาก็อาจแก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เป็นต้น
Troper บอกว่า ไม่ได้อยู่เพียงลำพัง ยังต้องมี Théorie des contraintes juridiques ควบคู่ไปด้วย อันนี้เขาพึ่งคิดขึ้นมาใหม่ 10 กว่าปีได้
คือ เขาพยายามหาคำตอบว่า แล้วทำไม องค์กรผู้ตีความ กฎหมาย ถึงตีความไปในทางนี้
ปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนสร้าง contraintes มีทั้งปัจจัยที่ไม่ใช่ กฎหมาย เช่น อีดีโอโลจี้ การฝึกฝนการเรียนรู้ของผู้พิพากษาตั้งแต่วัยเยาว์ และปัจจัยทาง กฎหมาย เช่น การรักษาดุลยภาพของอำนาจ การจำกัดอำนาจการตีความของตนเอง
ทฤษฎี contraintes juridiques มุ่งสนใจแต่ส่วนหลัง เพราะ อยู่ในวงของวิชานิติศาสตร์
ส่วน contraintes ที่ไม่ใช่ทาง กฎหมาย นั้น สำนักกฎหมายเรียลิสม์ ของอเมริกาสนใจเป็นพิเศษ
ดังนั้น Troper จึงให้ความสำคัญกับการสร้างดุลยภาพระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญทั้งหลาย หัวใจสำคัญของรัฐธรรมนูญในความคิดของเขา คือ การแบ่งแยกอำนาจให้ได้ดุลยภาพ
การสอนกฎหมายในยุคสมัยนี้ยากลำบากพอสมควร เมื่อเราสอนตามหลักวิชา หนีไม่พ้นที่ต้องพูดเรื่ององค์กรตุลาการในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ แต่เมื่อมองเข้าไปในสังคมไทย องค์กรตุลาการเป็นอย่างไร ก็เห็นกันอยู่
การสอนว่าศาลมีบทบาท มีอำนาจอะไรบ้าง นิติรัฐขาดศาลไม่ได้ เช่นนี้ จึงกลายเป็นว่าสนับสนุน เอนดอร์ส (endorse-รับรอง)ศาลแบบไทยๆไปโดยปริยาย
ดังนั้น ระหว่างการสอน ผมจึงจำเป็นต้องพูดอีกด้านหนึ่งกำกับไปด้วยเสมอ นั่นคือ เรื่องกฎหมายกับอุดมการณ์
ดังที่ผมนำมาเขียนในนิติราษฎร์ ฉบับที่ 4 (อาจอ่านยากสักหน่อย เลยไม่ค่อยแพร่หลาย
ทำไมผมถึงสนับสนุนให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญใช้อำนาจของตนตามรัฐธรรมนูญตอบโต้ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรตุลาการ?
สภาวการณ์ที่ "นิติรัฐแบบไทยๆ" ปกคลุมสังคมไทยมานับแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ใช้บังคับ และหนักหน่วงมากยิ่งขึ้นภายหลังพระราชดำรัส 25 เมษายน 2549 และปรากฏการณ์ "ตุลาการภิวัตน์" นับแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้เกิด "การเถลิงขึ้นสู่อำนาจ" ขององค์กรตุลาการอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
เพราะในนามของ "นิติรัฐ" จำต้องมีองค์กรตุลาการทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเสมอ
หากองค์กรตุลาการมีความคิด-อุดมการณ์ที่เป็น "นิติรัฐ-ประชาธิปไตย" อย่างแท้จริง เขาย่อมเป็นกลไกสำคัญในการรักษา "นิติรัฐ-ประชาธิปไตย" ได้อย่างดียิ่ง ตรงกันข้าม หากองค์กรตุลาการดำเนินการไปโดยมีอุดมการณ์อันไม่เป็นประชาธิปไตยกำกับแล้ว ล่ะก็ เขาย่อมกลายเป็นอุปสรรคของ "นิติรัฐ-ประชาธิปไตย" เสียเอง
การยอมรับนับถือการตัดสินของศาล ต้องเกิดจากความสมเหตุสมผลของเหตุผลประกอบการตัดสินของศาล หาใช่เกิดจาก "อำนาจตามกฎหมาย" และ "อำนาจตามจารีต" ที่บังคับให้คนต้องเคารพการตัดสินของศาลไม่
ถ้าเราเห็นว่าการตัดสินของศาลนั้นไม่ถูกต้อง เราต้องคัดค้าน วิจารณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเห็นว่าการตัดสินของศาลนั้นละเมิดรัฐธรรมนูญอย่างประจักษ์ชัด องค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆต้องใช้อำนาจที่ตนมีตอบโต้กลับไป
นี่เป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย
มิเช่นนั้น การจงใจละเมิดรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้งโดยศาล ก็จะส่งผลทางกฎหมาย
และยิ่งการกระทำนั้นเกิดขึ้นโดยฝีมือของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญและการตัดสินมีผลผูกพันทุกองค์กรแล้ว หากปราศจากการตอบโต้ การกระทำที่ผิดรัฐธรรมนูญเหล่านั้น ก็จะกลายเป็นถูกตามรัฐธรรมนูญ แปลงสภาพกลายเป็น แนวปฏิบัติ (Pratique) ซึ่งอาจมีค่าเสมือนรัฐธรรมนูญไป
หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ นั่นหมายความว่า "รัฐประหารในรัฐธรรมนูญ" ได้เกิดขึ้นแล้ว
นอกจากนี้ การตอบโต้องค์กรตุลาการตามกรอบและขอบเขตอำนาจที่ตนมีนั้น ยังเป็นการลดทอนสภาวะ "ศาลเป็นใหญ่" ลดทอนสภาวะ "ศาล ละเมิดมิได้" ซึ่งปกคลุมสังคมไทยอีกด้วย
นี่ไม่ใช่การทำลายนิติรัฐ
นี่ไม่ใช่การทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจ
นี่ไม่ใช่การแทรกแซงองค์กรตุลาการ
นี่ไม่ใช่การใช้เสียงข้างมากทำลายรัฐธรรมนูญ
การที่นิติรัฐที่ประทานความเป็นอิสระให้กับศาลนั้น เป็นการประทานให้กับศาลที่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
ต้องไม่ลืมว่า องค์กรตุลาการไม่ได้อยู่เหนือนิติรัฐ-ประชาธิปไตย แต่เป็นส่วนหนึ่งของนิติรัฐ-ประชาธิปไตยเช่นเดียวกันกับองค์กรอื่นๆ อำนาจและความอิสระที่นิติรัฐ-ประชาธิปไตยหยิบยื่นให้องค์กรตุลาการนั้น ก็เพื่อให้นำมาใช้ปกป้องนิติรัฐและประชาธิปไตยนั่นเอง หาใช่ให้เพื่อนำมาใช้ทำลายนิติรัฐและประชาธิปไตยไม่
ดังนั้น การตอบโต้องค์กรตุลาการที่จงใจละเมิดรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการรักษา "นิติรัฐ-ประชาธิปไตย"
ศาลรัฐธรรมนูญจงใจ ใช้อำนาจบิดผันรัฐธรรมนูญอย่างประจักษ์ชัด แล้วองค์กรตามรัฐธรรมนูญไม่ใช้อำนาจของตนตอบโต้กลับไป ผลที่ตามมา คืออะไร?
1.) การบิดผันรัฐธรรมนูญนั้น ซึ่งผิดรัฐธรรมนูญ จะกลายเป็นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เช่น
ต่อไปนี้บุคคลทั่วไปก็ร้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงตามมาตรา 68 เพื่อเชื่อมสะพานไปยุบพรรคก็ได้,
ต่อไปนี้เหตุแห่งการยุบพรรคตามมาตรา 68 จะขยายออกไปเรื่อยๆ (ก็ขนาดแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตั้ง สสร ยังกลายเป็นเรื่องล้มล้างการปกครองฯได้)
ต่อไปนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีวิธีการชั่วคราวที่ศาลรัฐธรรมนูญสร้างขึ้นมาเอง นำไปใช้สั่งองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆให้ยุติการกระทำ
ต่อไปนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องถูกศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบทุกครั้ง
เป็นต้น
2.) ศาลรัฐธรรมนูญจะย่ามใจขยับแดนอำนาจของตนเองออกฎหมายาเรื่อยๆ เพราะ มั่นใจในพลานุภาพของตนเอง
3.) ศาลรัฐธรรมนูญจะแปลงร่างจากผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ กลายเป็น รัฐธรรมนูญ หรือ ซูเปอร์รัฐธรรมนูญเอง
นี่เป็นเรื่องระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญล้วนๆ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องกระทบกับการเมือง เพราะ กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายว่าด้วยอำนาจของสถาบันการเมืองอยู่แล้ว
ต้องไม่ลืมว่า สภาวการณ์ "ตลก ภิวัตน์" ที่ปกคลุมสังคมไทยนับแต่ 25 เมษายน 2549 จนทุกวันนี้ยังไม่จางหายไป และยากแก่การ "Dé-judicialisation of politics" มากขึ้นๆนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ-สถาบันการเมืองอื่น "เกรงกลัว" จนเกินไป ทั้งๆที่ตนเองมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการตอบโต้
ผมว่าน่าจะเลิกวิธีแบบนี้สักทีนะครับ คือ
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น สภา มีอำนาจแต่ไม่ใช้ แล้วก็มาพึ่งประชาชนบุคคลทั่วไปแสดงปฏิกริยาทุกครั้งไป
กรณี 112 ก็ครั้งหนึ่ง คือ ไม่ทำอะไรเลย ให้ประชาชนทำ
มากรณีนี้อีก (นี่ไม่ใช่กฎหมายที่เกี่ยวกับกษัตริย์แล้วนะ) หากไม่ทำ แล้วก็ไปให้ประชาชนเข้าชื่อถอดถอน แล้วก็ไปตกที่วุฒิอยู่ดี
ผมว่ามันไม่ค่อยดีนะครับ
รัฐประหารในรัฐธรรมนูญ
"รัฐประหารในรัฐธรรมนูญ" คือ องค์กรตามรัฐธรรมนูญองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นประมุขของรัฐ ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรตุลาการ หรือรัฐสภา จงใจ "บิดผัน" รัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรงและประจักษ์ชัด โดยที่ไม่มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นตอบโต้การบิดผันรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ และทำให้การบิดผันรัฐธรรมนูญนั้นมีผลทางกฎหมายและดำรงอยู่ต่อไปได้
ดังนั้น เมื่อองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นทราบถึงการบิดผันรัฐธรรมนูญเช่นว่า ย่อมชอบที่จะใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญที่ตนมีตอบโต้การกระทำนั้นกลับไป
จะขอยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสกรณีหนึ่ง
ในปี 1989 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาโด่งดังในชื่อ Nicolo ว่า ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจตรวจสอบว่ารัฐบัญญัติขัดหรือแย้งกับข้อตกลงระหว่าง ประเทศหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศหรือไม่
คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว เห็นได้ชัดแจ้งว่า เกินเขตอำนาจที่ศาลปกครองมี เพราะศาลปกครองพิจารณาเฉพาะความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง ไปพิจารณารัฐบัญญัติไม่ได้
คำพิพากษานี้ ส่งผลในเวลาต่อมาให้ศาลปกครองได้ขยายเขตอำนาจตนเองออกไป ทั้งที่ตนเองไม่มีอำนาจ
Olivier Cayla เขียนบทความว่า นี่ถือเป็น รัฐประหารโดยกฎหมาย
อีกกรณีหนึ่ง เดอ โกลล์ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ในครั้งนั้นเดอ โกลล์ ประสบความยุ่งยากในการหาคะแนนเสียงจากทั้งสองสภาเพื่อสนับสนุนให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญ แต่เมื่อประเมินคะแนนนิยมของตนแล้ว เห็นว่าประชาชนยังนิยมตนเองสูงมาก เดอ โกลล์จึงหนีไปใช้ช่องทางตราเป็นร่างรัฐบัญญัติ แล้วให้ประชาชนออกเสียงประชามติในร่างรัฐบัญญัติแทน โดยอ้างว่ากรณีดังกล่าวเป็น “การจัดองค์กรขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 11 อนุญาตให้ออกเสียงประชามติได้ กรณีนี้ได้รับการวิจารณ์กันมาก
ข้อแรก เดอ โกลล์ไม่ให้ความเคารพต่อรัฐสภาซึ่งต้องเป็น “ด่านแรก” ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กลายเป็นว่า ต่อไปหากประธานาธิบดีต้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้วประเมินว่าเสียงใน สภาไม่เพียงพอหรือไม่ต้องการเสียเวลา ก็หันไปใช้มาตรา 11 แทน
ข้อสอง หากประธานาธิบดีเป็นที่นิยมชมชอบของประชาชน ก็จะนําทุกเรื่องไปออกเสียงประชามติเพื่อหาความชอบธรรม และอาจเสี่ยงต่อการเผด็จอํานาจแบบที่นโปเลียน โบนาปาร์ต และหลุยส์ นโปเลียน ผู้เป็นหลานเคยทํามาแล้ว
ผลปรากฏว่าประชาชนให้ความเห็นชอบตามที่เดอ โกลล์เสนอ ก่อนประกาศใช้ ส.ส.บางส่วนจึงได้เข้าชื่อร้องขอต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคําวินิจฉัยลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 1962 พิจารณาแล้ว “เพื่อรักษาดุลยภาพของอํานาจ รัฐบัญญัติที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้นั้น หมายถึง รัฐบัญญัติแบบที่รัฐสภาลงมติเท่านั้น ไม่รวมถึงรัฐบัญญัติแบบที่ประชาชนลงประชามติ เพราะถือเป็นการใช้อํานาจอธิปไตยของชาติโดยประชาชนทางตรง ซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญต้องให้ความเคารพ” จะเห็นได้ว่า กรณีนี้ทั้งๆ ที่เดอ โกลล์บิดผันรัฐธรรมนูญ แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็ไม่กล้า “ชน” กับเดอ โกลล์ เพราะเรื่องที่เดอ โกลล์ต้องการแก้ไขนั้น ผ่านการออกเสียงประชามติมาแล้ว
กรณีการนำมาตรา 11 มาใช้อย่าง "บิดผัน" ของเดอ โกลล์ ก็คือ รัฐประหารในรัฐธรรมนูญ
ค่ายกลสู่ยุบพรรค
วันก่อน ผมโพสว่าผลของการปล่อยให้คำสั่งศาล รัฐธรรมนูญ อยู่ต่อไปโดยไม่มีการตอบโต้ ก็จะส่งผลให้รัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญสำเร็จ แล้วก็อธิบายไปว่าผลทางกฎหมายรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นอย่างไร วันนี้จะลองมาดูผลทางการเมืองบ้าง
สมมตินะครับสมมติ สมมติว่ารัฐสภายอมปฏิบัติตตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ
คำร้องตามมาตรา 68 อยู่ในกระบวนพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
สมมติว่าศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว กล้าวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตั้ง สสร เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือได้มา ซึ่งอำนาจโดยวิถีทางที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แล้วล่ะก็...
ผลทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นตามมาเป็นลูกระนาด คือ...
ยุบพรรค
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ยกมือลงมติเห็นชอบกับร่างนี้ กลายเป็นบุคคลที่ล้มล้างการปกครอง นอกจากถูกเพิกถอนสิทธิ ยังอาจถูกร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีฐานกบฏ ตามมาตรา 113 ป.อาญา
นี่เป็นค่ายกลที่ถูกวางไว้, นี่เป็นหอกที่ปักเข้าไปที่นักการเมืองกลุ่มหนึ่ง ไม่ให้ก้าวเดินได้โดยสะดวก หรือไม่ สุดแท้แต่พิจารณา
ละเมิดอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เพียงละเมิดอำนาจนิติบัญญัติ
ศาลรัฐธรรมนูญเข้าแทรกแซง ก้าวก่าย ไม่ใช่เข้ามาในแดนอำนาจนิติบัญญัติ แต่เข้ามาในแดนอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า "Pouvoir constituant dérivé"
อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คือ อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ใหญ่กว่าอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ สามอำจาจหลังนี้ เป็นเพียงอำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ
โปรดดูภาพ ลำดับชั้น ดังต่อไปนี้
1. อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ Pouvoir constituant
2. อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญที่ใช้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ Pouvoir constituant dérivé
3. อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ Pouvoir constitué - ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ
ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เข้าแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติ
แต่นี่คือ การเข้าแทรกแซงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ !!!!
ย้ำอีกทีนะครับ ต้องไม่พูดว่า "ศาลรัฐธรรมนูญแทรกแซงก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ" เพราะ ศาล รัฐธรรมนูญ ทำได้ ในกรณีตรวจสอบว่ากฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
ครั้งนี้เป็นกรณี "ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาล้ำแดนอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ"
เห็นหลายท่านพูดกัน โดยเฉพาะ สส ท่านต้องรู้ว่า อำนาจที่ท่านใช้แก้ รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ มันใหญ่กว่านั้นเยอะครับ มันเป็นอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญอีกรูปแบบหนึ่ง
อำนาจที่สมาชิกรัฐสภาใช้ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คือ อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง เพื่อนำไปใช้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ สมาชิกรัฐสภาต้องตระหนักว่าอำนาจที่ตนใช้นั้นมีศักดิ์สูงกว่าอำนาจ นิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ
ย้ำ.... "ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาล้ำแดนอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ"
"ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาล้ำแดนอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ"

http://www.prachatai3.info/journal/2012/06/40829

---------------------------------------------

    ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาคำร้องกลุ่ม 40 ส.ว. กรณี การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 พร้อมมีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรพักการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวจนกว่าศาล จะมีคำวินิฉัย

        ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาคำร้องกลุ่ม 40 ส.ว. กรณีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 พร้อมมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับ การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย
        นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับพิจารณาคำร้องของ กลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยพลเอก สมเจตน์ บุญถนอม และคณะ นายวันธงชัย ชำนาญกิจ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ นายวรินทร์ เทียมจรัส และนายบวร ยสินทร และคณะ รวม 5 คำร้อง ในกรณีที่คณะรัฐมนตรี รัฐสภา พรรคเพื่อไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา นายสุนัย จุลพงศธร และคณะ นายภราดร ปริศนานันทกุล และคณะ ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ... ) พุทธศักราช ... หรือให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภารอการดำเนิน การเกี่ยวกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่) พุทธศักราช ...... ไว้ก่อน จนกว่าศาลจะมีคำวินิฉัย พร้อมกันนี้ยังมีคำสั่งให้คณะรัฐมนตรี รัฐสภา พรรคเพื่อไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา นายสุนัย จุลพงศธร และคณะ นายภราดร ปริศนานันทกุล และคณะ ทำหนังสือชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน และนัดคู่กรณีไต่สวนในวันที่ 5 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 ตั้งแต่เวลา 09.30 เป็นต้นไป
     
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : ธีระพงษ์ โลหะวัชระ / สวท.   Rewriter : ชนิดา ศรีปัญญา / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th

วันที่ข่าว : 01 มิถุนายน 2555
 

http://thainews.prd.go.th /view.php?m_newsid=255506010265&tb=N255506&news_headline=ศาลรัฐ ธรรมนูญรับพิจารณาคำร้องกลุ่ม 40 ส.ว. กรณี การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 พร้อมมีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรพักการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวจนกว่าศาล จะมีคำวินิฉัย

---------------------------------------------

กลุ่ม40 สว.-ปชป.ยื่นศาลฯ ค้านแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ.

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 2012 เวลา 20:00 น. สุวิภา บุษยบัณฑูร ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ


ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกวุฒิสภาบางส่วนในนามกลุ่ม 40 ส.ว.ได้เข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้พิจารณายับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาล ที่เชื่อว่าเป็นการกระทำที่อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ และทำให้เกิดภาวะวิกฤตทางการเมือง เป็นการเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ปรองดองเข้าสภา ทั้งที่ยังไม่ใช่โอกาสที่เหมาะสม เพราะช่วงเวลาขณะนี้ สุ่มเสี่ยงให้เกิดความขัดแย้ง และเกิดการเผชิญหน้าของภาคประชาชนอีกครั้ง พร้อมระบุว่าภายหลังการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ในวันที่ 5 มิถุนายนนี้แล้ว จะเข้าชื่อให้ได้จำนวน 1 ใน 10 เพื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญตีความ ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
 
ขณะ เดียวกัน ทางด้านทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้ยื่นเรื่องต่อตัวแทนของอัยการสูงสุด เพื่อให้ส่งศาลรัฐธรรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยการยื่นเรื่องทำได้ 3 ช่องทาง คือ ยื่นต่ออัยการสูงสุด ผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาลรัฐธรรมนูญ
 
http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=124481:40---&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

---------------------------------------------

กลุ่ม 40 ส.ว. ยื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด และศาล รธน.คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 โดยเชื่อว่าเป็นการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตรา 68

        กลุ่ม 40 ส.ว. ยื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 โดยเชื่อว่าเป็นการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตรา 68
        กลุ่ม 40 ส.ว. นำโดย พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม , นายสมชาย แสวงการ และ แพทย์หญิงพรพรรณ บุญยรัตพันธุ์ เข้ายื่นหนังสือคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะมีการลงมติวาระ 3 ในวันที่ 5 มิถุนายนนี้ ต่ออัยการสูงสุด โดยพลเอกสมเจตน์ ระบุว่า การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และมองว่าร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับ เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 โดยครั้งนี้เป็นการใช้อำนาจเผด็จการรัฐสภา ซึ่งการดำเนินการของกลุ่ม 40 ส.ว. ทำไปด้วยความมุ่งหวังที่ดีต่อประเทศชาติ ซึ่งเชื่อว่าข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด จะรับเรื่องไปเร่งพิจารณาโดยเร็ว และตระหนักถึงภัยของประเทศชาติที่อาจเกิดขึ้นหลังจากนี้
        ด้านนายวินัย ดำรงค์มงคลกุล อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษและโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะตัวแทนรับมอบหนังสือ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีผู้ร้องในกรณีเดียวกันมาหลายราย ซึ่งอัยการสูงสุดไม่ได้นิ่งนอนใจและได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบโดยเร่ง ด่วนแล้ว พร้อมจะเร่งนำข้อร้องเรียนเสนอต่ออัยการสูงสุดโดยเร็ว จากนั้นกลุ่ม 40 ส.ว. ได้เดินทางไปยื่นหนังสือในกรณีเดียวกันต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
     
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : กนิษฐา บุญแก้ว / สวท.   Rewriter : ชนิดา ศรีปัญญา / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th

วันที่ข่าว : 29 พฤษภาคม 2555

http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255505290066&tb=N255505& amp;return=ok&news_headline=กลุ่ม 40 ส.ว. ยื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด และศาล รธน.คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 โดยเชื่อว่าเป็นการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตรา 68

-------------------------------------------------------
ศาล รธน.ไม่รับตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลัง"ส.ส.เพื่อไทย-เรืองไกร"ยื่นร้อง ชี้อ้าง ม.154ไม่ได้
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 20:20:21 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 23 กุมภาพันธ์ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญออกเอกสารข่าว ถึงผลการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องของประธานรัฐสภา ส่งความเห็นของนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์กุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย(พท.) และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา กับคณะ รวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสองสภา เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ว่ากระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ....) พ.ศ. ... (มาตรา 93-98) และร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... (มาตรา 190) ไม่ชอบด้วยข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553 จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้ ศาล พิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่รับไว้วินิจฉัย เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้บัญญัติการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้โดยเฉพาะใน มาตรา 291 โดยให้ต้องทำเป็นญัตติและเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มิใช่ทำเป็นร่าง พ.ร.บ. ทั้งมาตรา 291 (7) บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ไม่ได้ให้นำมาตรา 154 มาใช้บังคับ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1298448344&grpid=00&catid=&subcatid=
--------------------------------------------------------
FfF