บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


12 พฤศจิกายน 2555

<<< อย่าเป็นควายให้เขาสนตะพาย กรณี ปตท. เป็นของตระกูลชินวัตร >>>

<<< อย่าเป็นควายให้เขาสนตะพาย >>>

  • Sibpakorn Songpun, Love Pavilion และ Joe Grodin ถูกใจสิ่งนี้
  • Maha Arai ไม่รู้พวกไหนไร้สมอง มุกนี้มาประจำเวลาต้องการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเฉพาะที่ทักษิณหนุน ปลุกระดมกันแบบหน้ามืดตามัว คนแชร์ตามก็ส่อให้รู้อยู่แล้วว่าไม่รู้เรื่อง อะไรเลย แล้วชอบคุยว่ารู้ดีกว่าพวกเสื้อแดง เฮ้อ อนาถใจ
  • Maha Arai เห็นมันแพร่กระจายไปทั่วไม่พอท้ายรถบางคันยังเห็นมันทำสติกเกอร์ทวงคืน ปตท.  คือถ้าอยากทวงคืนก็ไปรณรงค์การทวงคืนอะไรทำไปเหอะดีไม่ดียังไงว่ากันไป แต่มุกบิดเบือนแบบนี้หรือไม่ก็อาจโดนเขาสนตะพายมาแล้วก็นำมาสนตะพายชาวบ้านต่อ ใครเชื่อข้อมูลพวกนี้เช่น ปตท. เป็นของตระกูลชินวัตร ก็บ่งบอกอยู่แล้วใครไร้สมองแล้วชอบไปด่าคนอื่น อย่างฮาเลยพวกนี้
  • Maha Arai นี่อุตส่าห์ไปดัมพ์หน้าจอ ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาให้ดูล่าสุดเลยว่าใครถือหุ้น ปตท. โครงสร้างแบบนี้โดยเฉพาะกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่สุด มีมาตั้งแต่เริ่ม กระจายหุ้นในตลาด และกองทุนรวมก็กองทุนของกระทรวงการคลังจะหาเงินมาใช้ก็ออกกองทุนแบ่งหุ้นส่วนหนึ่ง มาขาย รวมแล้วก็ยังกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่สุดๆ ส่วนรายใหญ่ๆ รองลงมาลองไปดูซิ ขนาดใหญ่สุด 1 ใน 10 ผู้ถือหุ้นใหญ่ท้ายๆ เหลือถือกันคนละไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ แล้วปตท. เป็นของ ตระกูลชินวัตร ตรงไหน ปัญญาอ่อนไม่เข้าเรื่องชี้แจงซ้ำๆ ซากๆ ก็ยังมาอีกมุกนี้อีก ต้องด่าไปแบบนี้แหล่ะจะได้เข้าสมองและจะได้รู้ตัวว่าใครพวกไหนไร้สมองของ จริง ฮา
  • Maha Arai PTT : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
    ผู้ถือหุ้นรายย่อย ณ วันที่ 09/03/2555
    จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free float) 39,834
    % การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (% Free float) 48.83

    หมายเหตุ: ข้อมูลผู้ถือหุ้นปรับตามรอบของการปิดสมุดทะเบียน
    ภาพรวมข้อมูลผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 10/09/2555 ประเภทการปิดสมุดทะเบียน : XD
    จำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด 42,490
    % การถือหุ้นแบบไร้ใบหุ้น 83.86

    ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) % หุ้น
    1. กระทรวงการคลัง 1,459,885,575 51.11
    2. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 217,900,000 7.63
    3. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 217,900,000 7.63
    4. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 104,844,600 3.67
    5. CHASE NOMINEES LIMITED 42 72,852,101 2.55
    6. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 63,928,176 2.24
    7. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 34,240,032 1.20
    8. NORTRUST NOMINEES LIMITED-NT0 SEC LENDING THAILAND 25,924,443 0.91
    9. STATE STREET BANK EUROPE LIMITED 24,886,102 0.87
    10. สำนักงานประกันสังคม (2 กรณี) 24,019,200 0.84
    11. GOVERNMENT OF SINGAPORE INVESTMENT CORPORATION C 17,812,200 0.62
    12. THE BANK OF NEW YORK MELLON-CGT TAXABLE 15,813,217 0.55
    13. THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 14,980,134 0.52
    http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=PTT&language=th&country=TH

http://www.facebook.com/maha.arai

-------------------------------------------------------

เรื่อง  ผลการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง
       
       คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง สรุปได้ดังนี้
                   1. การแต่งตั้งผู้จัดการกองทุน
                       กระทรวงการคลังได้ลงนามในสัญญาแต่งตั้งให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ร่วมกันเป็นผู้จัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2546 โดยในสัญญาจัดการกองทุนได้ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้จัดการ เงื่อนไขในการลงทุน ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการจัดการกองทุน
                       ทั้งนี้ ในการทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุน บริษัทจัดการทั้งสองได้ตกลงแบ่งการจัดการทรัพย์สินของ กองทุนบริษัทละเท่า กัน โดยแต่ละรายมีสิทธิ์ได้รับค่าธรรมเนียมในการจัดการกองทุนเป็นจำนวนเท่ากัน รายละ 40 ล้านบาทต่อปี รวมกันเป็นจำนวน 80 ล้านบาทต่อปี หรือเท่ากับร้อยละ 0.08 ต่อปีของมูลค่าเงินกองทุนเริ่มแรก ซึ่งเป็น อัตราที่ต่ำกว่าค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนรวมตราสารทุนอื่นที่โดยปกติจะคิดในอัตราประมาณร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 2 ต่อปีของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
                   2. การขออนุมัติหนังสือชี้ชวน
                       บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้ร่วมกันยื่นร่างหนังสือชี้ชวนที่ระบุรายละเอียดของ โครงการกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ซึ่งมีหลักการและสาระสำคัญตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้สำนักงานคณะกรรมการ กลต. พิจารณาเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2546 และได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการ กลต. ให้นำออก เผยแพร่ได้เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546
                       หลังจากได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการ กลต. แล้ว บริษัทจัดการพร้อมด้วยสถาบันการเงินที่ เป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้ทำการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ประชาชนที่สนใจทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งปรากฏว่าได้มีประชาชนให้ความสนใจขอรับหนังสือชี้ชวนเป็นจำนวนมาก ทำให้หนังสือ ชี้ชวนที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอแจกจ่ายในบางสาขาของธนาคารพาณิชย์
                   3. สรุปผลการจำหน่ายหน่วยลงทุน
                       หน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ส่วนที่ขายให้แก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 70,000 ล้านบาท บริษัทจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ 5 แห่ง เป็นผู้จัดจำหน่ายหน่วยลงทุน โดยผู้จัดจำหน่าย หน่วยลงทุนได้แต่งตั้งธนาคารพาณิชย์ไทย 5 แห่ง เป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุน ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
                       กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้เปิดให้ผู้สนใจลงทุนจองซื้อหน่วยลงทุนได้ ระหว่างวันที่ 11 – 24 พฤศจิกายน 2546 โดยให้สิทธิผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา สหกรณ์ มูลนิธิ และองค์กรสาธารณกุศล จองซื้อได้ก่อน ผู้ลงทุนที่เป็นสถาบันการเงินและกองทุน
                       เพียงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 ได้มีผู้จองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เต็มจำนวน 70,000 ล้านบาท โดยมีผลการจองซื้อ ดังนี้
ประเภทผู้ถือหน่วยลงทุน
จำนวนราย
จำนวนเงินรวม (บาท)
1. บุคคลธรรมดา
    1.1 มูลค่าจองซื้อน้อยกว่าหรือเท่ากับ 500,000 บาท/รายการ
    1.2 มูลค่าจองซื้อมากกว่า 500,000 บาท/รายการ
2. นิติบุคคล
3. มูลนิธิ วัด สหกรณ์ สถาบันการศึกษา
4. สถาบันการเงิน กองทุนต่าง
 
31,428
1,942
90
314
46
 
9,138,855,000
5,922,438,000
801,050,000
3,028,331,000
51,109,326,000
                                    รวม
33,820
70,000,000,000
 
                   4. การซื้อขายกองทรัพย์สินระหว่างกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง กับกระทรวงการคลัง
                       หลังจากที่ได้มีผู้จองซื้อหน่วยลงทุนครบเต็มจำนวน 70,000 ล้านบาทแล้ว สำนักงานคณะกรรมการ กลต. ก็ได้รับรองการจดทะเบียนกองทรัพย์สินของโครงการเป็นกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ .. 2535 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 และในวันเดียวกันนี้กระทรวงการคลังได้ลงนามในสัญญาขายกอง ทรัพย์สินของกระทรวงการคลังให้แก่กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง
                       ราคาซื้อขายกองทรัพย์สินได้ใช้ราคา วันที่ 3 ตุลาคม 2546 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการจัดตั้งกองทุน รวมวายุภักษ์มีมติอนุมัติรายชื่อหลักทรัพย์ที่เสนอขาย เป็นราคาในการกำหนดราคาซื้อขาย โดยกองทรัพย์สินมีมูลค่าตาม ราคาตลาดรวมเท่ากับ 85,000 ล้านบาท และกระทรวงการคลังได้ตกลงขายกองทรัพย์สินดังกล่าวให้กับกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ในราคาเท่ากับ 70,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนลดประมาณร้อยละ 17.65 ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่งมีผลตอบแทนในรูปเงินปันผลเพียงพอที่จะจ่ายอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท นักลงทุนทั่วไป ซึ่ง วันที่ 1 ธันวาคม 2546 อันเป็นวันที่กองทุนได้ซื้อกองทรัพย์สินจากกระทรวงการคลัง กองทุนมีกำไร จากการลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจำนวนประมาณ 25,000 ล้านบาท และได้ตั้งสำรองเงินปันผลขั้นต่ำตลอดอายุกองทุน 10 ปี เป็นจำนวน 21,000 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
                       นอกจากสัญญาซื้อขายกองทรัพย์สินแล้ว กระทรวงการคลังและกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ยังได้ร่วมกัน ลงนามในสัญญาให้สิทธิในการขายกองทรัพย์สิน (Put Option) และสัญญาให้สิทธิในการซื้อกองทรัพย์สิน (Call Option) ซึ่งเมื่อครบกำหนดอายุโครงการในปีที่ 10 แล้ว หากเงื่อนไขการใช้สิทธิดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น กระทรวงการคลัง จะดำเนินการซื้อกองทรัพย์สินตามราคาใช้สิทธิ ซึ่งใช้ราคาขายกองทรัพย์สินเริ่มแรกเป็นฐานในการคำนวณตามสูตรที่ กำหนด ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักการคุ้มครองเงินลงทุนและผลตอบแทนขั้นต่ำให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
                   5. การจองซื้อหน่วยลงทุนของกระทรวงการคลัง
                       เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 กระทรวงการคลังได้นำเงินที่ได้จากการขายกองทรัพย์สินให้แก่กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 30,000 ล้านบาท เข้าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ทำให้ กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีวงเงินกองทุนครบจำนวน 100,000 ล้านบาท
                   6. การประกาศมูลค่าสินทรัพย์สุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน
                       กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ภายใต้การบริหารและจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศมูลค่าสินทรัพย์สุทธิและมูลค่า หน่วยลงทุนครั้งแรกประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2546 ซึ่งปรากฏผลว่ากองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเท่ากับ 124,073,163,090.23 บาท คิดเป็นมูลค่าต่อหน่วยลงทุนเท่ากับ 12.4073 บาทต่อหน่วย โดยหากคำนวณตามสิทธิและเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน มูลค่าหน่วยลงทุนของนักลงทุนทั่วไป (ประเภท .) จะเท่ากับ 10.6250 บาทต่อหน่วย และมูลค่าต่อหน่วยลงทุนของกระทรวงการคลัง (ประเภท .) จะเท่ากับ 16.5659 บาทต่อหน่วย
                   7. การจ่ายเงินปันผลเฉพาะกาล
                       คณะกรรมการการลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงการคลัง 3 คน และผู้แทนจากบริษัทจัดการแห่งละ 1 คน โดยดำริของกระทรวงการคลังได้ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล งวดที่ 1 ในปลายเดือนมกราคม 2547 ในอัตรา 0.30 บาท (30 สตางค์) ต่อหน่วย
                   8. บทสรุป
                       การจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง กล่าวได้ว่า สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของทางราชการในการ บริหารจัดการหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังถือครองอยู่ให้เกิดประโยชน์ จากอดีตที่ไม่เคยมีการบริหารจัดการมาก่อน และ เป็นการหาแหล่งรายได้เพิ่มเติมนอกจากการกู้และการเก็บภาษี แม้ว่าจะมีผู้ลงทุนรายย่อยจองซื้อหน่วยลงทุนน้อยกว่าที่ คาดการณ์ไว้ แต่คาดว่าในระยะต่อไปเมื่อผู้ลงทุนมีความคุ้นเคยและมีความเข้าใจในกลไกของกองทุนประเภทนี้มากขึ้น ก็จะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น
ที่มา: (สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 23 ธันวาคม 2546)

http://www.mof.go.th/home/vayupak/index_vayupakfund_result23dec46.htm

------------------------------------------------------- 

ปตท.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ประเภท รัฐวิสาหกิจ
ก่อนหน้า การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (2521-2544)
ก่อตั้งเมื่อ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521
บุคลากรหลัก ดร.ณอคุณ สิทธิพงศ์
(ประธานกรรมการ)
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร
(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/กรรมการผู้จัดการใหญ่)[1]
อุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค
ผลิตภัณฑ์ น้ำมัน,ก๊าชธรรมชาติ,ปิโตรเคมี
รายได้ 2,475,494 ล้านบาท (2554)
กำไร 105,296 ล้านบาท (2554)
ทรัพย์สินทั้งหมด 1,402,412 ล้านบาท (2554)
หนี้สิน 758,463 ล้านบาท (2554)
หุ้นรวม 555,920 ล้านบาท (2554)
คำขวัญ นิยมไทย ศรัทธาไทย ใช้ ปตท. (อดีต)
พลังไทย เพื่อไทย (อดีต)
พลังที่ยั่งยืน เพื่อไทย (ปัจจุบัน)
เว็บไซต์ www.pttplc.com
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทด้านพลังงานของไทยที่แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งมาจากการรวมกิจการพลังงานของรัฐทั้ง 2 องค์กร คือองค์การเชื้อเพลิงและองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมครบ วงจร และธุรกิจปิโตรเคมีที่เน้นการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่อง มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900[2]
จากการสำรวจของนิตยสารฟอร์จูนใน ปี พ.ศ. 2553 บริษัท ปตท. ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับที่ 155 จาก 500 ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก และในปี พ.ศ. 2553 ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้สูงสุดของไทย รวมมูลค่ารายได้ 1,930,852 ล้านบาท[3]

โครงสร้างผู้ถือหุ้น

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เริ่มแปรรูปเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2 พันล้านหุ้น โดยมี กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544 [4]
9 มีนาคม ปี 2553 ปตท.มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 15 อันดับแรก ดังนี้[5]
  1. กระทรวงการคลัง 51.494%
  2. กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 7.686%
  3. กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 7.686%
  4. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 2.951%
  5. CHASE NOMINEES LIMITED42 2.146%
  6. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 1.576%
  7. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 1.439%
  8. NORTRUST NOMINEES LTD 1.170%
  9. สำนักงานประกันสังคม (2 กรณี) 0.954%
  10. MELLON BANK,N.A. 0.643%
  11. กองทุน GPF EQ-TH 0.485
  12. HSBC BANK PLC-CLIENTS GENERAL A/C 0.425%
  13. GOVERMENT OF SINGAPORE INVESTMENT CORPORATION 0.401%
  14. THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 0.392%
  15. NORBAX INC.,13 0.391%

เหตุการณ์สำคัญ

  • 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521 - คณะรัฐมนตรี ได้จัดตั้ง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย อันเนื่องมาจากทางประเทศไทย เป็นหนึ่งในหลายประเทศของโลกที่ประสบปัญหาวิกฤติขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อบริโภค สาเหตุมาจากวิกฤตการณ์ขาดแคลนพลังงานโลก ในช่วงปี พ.ศ. 2521 และมีวัตถุประสงค์เพื่อพึ่งพาตนเอง และ ดำเนินกิจการพลังงานปิโตรเลียมหรือธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐบาล โดยให้มีการควบรวมกิจการรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 องค์กร คือ องค์การเชื้อเพลิง และ องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย เข้ากับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยตรง
  • พ.ศ. 2523 - นายระยอง ยิ้มสะอาด หนึ่งในคณะทำงานศิลปกรรม ของ ปตท. ได้ทำการออกตราสัญลักษณ์ของหน่วยงาน หลายตรา และในที่สุด ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ผู้ว่าการ ปตท. ได้ประกาศให้ใช้ตราที่เป็นเปลวไฟสีฟ้า เพลิงสีน้ำเงินและศูนย์กลางสีแดง เป็นตราสัญลักษณ์ขององค์กรตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา รัฐบาลจึงนำเครื่องหมายนี้ ขึ้นทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าหลัก ต่อกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2524
  • พ.ศ. 2528 - คณะรัฐมนตรี ได้ให้ ปตท.จัดตั้ง "บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด" เพื่อดำเนินการสำรวจ ค้นหาพื้นที่ และผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและต่างประเทศ และต่อมา ก็ได้จัดตั้ง "บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด" เพื่อดำเนินการกิจการปิโตรเคมี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
  • พ.ศ. 2533 - จำหน่ายน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำรายแรกภายใต้ชื่อการค้า พีทีที ไฮซีเทน
  • พ.ศ. 2534 - เป็นผู้นำน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วมาจำหน่ายในประเทศไทยมาจำหน่ายเป็นรายแรกของประเทศภายใต้ชื่อการค้า พีทีที ไฮออกเทน
  • พ.ศ. 2536 - ก้าวสู่การเป็นผู้นำสูงสุดของตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง วางตลาดน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วที่มีค่าออกเทนสูงที่สุด สำหรับรถสมรรถนะสูง และรถที่ต้องการน้ำมันที่มีค่าออกเทนสูงพีทีที เพอร์ฟอร์มา 98 และน้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่ว พีทีที แม็กซ์ (มีค่าออกเทน 91)
  • พ.ศ. 2538 - ยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินมีสารตะกั่วอย่างเป็นทางการ และวางตลาดน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วสูตรใหม่ พีทีที ซูเปอร์ 97 และ พีทีที แม็กซ์ 92
  • พ.ศ. 2540 - วางจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว สำหรับรถสมรรถนะสูง และรถที่ต้องการน้ำมันที่มีค่าออกเทน 95 พีทีที เพอร์ฟอร์มา โกลด์
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้แปรสภาพรัฐวิสาหกิจ มาเป็น บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) โดยปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อให้ประชาชนชาวไทย สามารถเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบ พนักงาน ลูกจ้าง และส่วนธุรกิจทั้งหมดของ ปตท. ไปเป็น บมจ.ปตท. แทน
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544- บมจ.ปตท. ได้ทำการเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นวันแรก
  • พ.ศ. 2545 - เปิดจำหน่ายแก๊สโซฮอล์เป็นรายแรก ณ สน.ปตท.สาขาสำนักงานใหญ่ ภายใต้ชื่อการค้า พีทีที แก๊สโซฮอล์ 95
  • 7 ธันวาคม พ.ศ. 2548- บมจ.ปิโตรเลียมแห่งชาติ และ บมจ.ไทยโอเลนฟินส์ ได้เข้าควบรวมกิจการ ไปเป็น บมจ.ปตท.เคมิคอล
  • 30 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - บมจ.ปตท. ได้เข้าไปถือหุ้นใน บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย ของ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ไออาร์พีซี
  • 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - บมจ.อะโรเมติกส์ไทย และ บมจ.โรงกลั่นน้ำมันระยอง ได้เข้าควบรวมกิจการ ไปเป็น บมจ.ปตท.อโรเมติกส์และการกลั่น
  • 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา กรณีการแปรรูปฯ ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืน และท่อส่งก๊าซ-น้ำมัน กลับคืนไปให้กับกระทรวงการคลัง เพราะถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
  • 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ชุมนุมหน้าสำนักงานใหญ่เพื่อเรียกร้องให้ ปตท. กลับเป็นของรัฐ
  • พ.ศ. 2552 - บริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของสถานีบริการน้ำมัน เจ็ท และร้านสะดวกซื้อ จิฟฟี่ ได้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระหน้าที่ และบุคลากรทั้งหมด ไปอยู่ในการกำกับ ของ ปตท. จึงทำให้เจ็ท เปลี่ยนแปลงเป็น ปตท. คงเหลือร้านสะดวกซื้อ จิฟฟี่ ไว้ เพียงอย่างเดียว
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2553 - เปิดตัวผลิตภัณฑ์น้ำมันเกรดพรีเมียมภายใต้ชื่อ พีทีที บลู อินโนเวชั่น
  • 10 กันยายน พ.ศ. 2554 - ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าปฎิบัติการปิโตรเลียมขั้นต้นรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่แทน ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
  • 11 เมษายน พ.ศ. 2555 - เกิดเหตุระเบิดที่หม้อต้มไอน้ำที่ออกจากขบวนการผลิตแก๊สธรรมชาติอัด ซึ่งอยู่ในสถานีจ่ายแก๊สธรรมชาติอัด ใน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น[6] ส่งผลให้สถานีเสียหายและไม่มีแก็สออกจำหน่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บริษัทในเครือ

ลำดับ กลุ่มธุรกิจ ชื่อบริษัท ประเภทธุรกิจ สัดส่วนการถือหุ้น (ร้อยละ)
1 กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) [PTTEP] สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 65.43
2 บริษัท ปตท.จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด [PTT NGD] ก๊าซธรรมชาติ 58.00
3 บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด [PTT LNG] ก๊าซธรรมชาติ 100.00
4 บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด [CHPP] ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำและน้ำเพื่ออุตสาหกรรม 100.00
5 บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด [PTTINTER] ปิโตรเลียม 100.00
6 บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด [TTM (T)] ก๊าซธรรมชาติ 50.00
7 บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (มาเลเซีย) จำกัด [TTM (M)] ก๊าซธรรมชาติ 50.00
8 บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด [DCAP] ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและน้ำเย็น 35.00
9 บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด [TP] ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า 26.00
10 บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด [IPT] ผลิตไฟฟ้า 20.00
11 บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด [PTTUT] ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอนำและน้ำเพื่ออุตสาหกรรม 40.00
12 บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด [RPCL] ผลิตไฟฟ้า 15.00
13 กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด [PTTPM] การตลาดของผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ 50.00
14 บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ โลจิสติกส์ จำกัด [PTTPL] บริการด้านโลจิสติกส์ 100.00
15 บริษัท พีทีที แทงค์ เทอมินัล จำกัด [PTT TANK] ให้บริการเก็บและขนถ่ายปิโตรเลียมเหลว 100.00
16 บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) [PTTCH] ปิโตรเคมี 49.16
17 บริษัท พีทีทีฟีนอล จำกัด [PPCL] ปิโตรเคมี 40.00
18 บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) [IRPC] ปิโตรเคมี 36.68
19 บริษัท พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง จำกัด [PTTME] บริการบำรุงรักษาโรงงานและวิศวกรรม 40.00
20 บริษัท เอ็ชเอมซี โปลีเมอร์ จำกัด [HMC] ปิโตรเคมี 41.44
21 บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด [PTTAC] ปิโตรเคมี 48.50
22 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) [TOP] การกลั่นน้ำมัน 49.10
23 บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) [PTTAR] การกลั่นน้ำมัน 48.65
24 บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด [SPRC] การกลั่นน้ำมัน 36.00
25 บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) [BCP] การกลั่นน้ำมัน 36.00
26 กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท.(กัมพูชา) จำกัด [PTTCL] การตลาดน้ำมัน 100.00
27 Subic Bay Energy Co, Ltd. [SBECL] การตลาดน้ำมัน 100.00
28 บริษัท ปตท.ธุรกิจค้าปลีก จำกัด [PTTRB] รับจ้างบริหารงานและการตลาดน้ำมัน 100.00
29 บริษัท ปตท.กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด [PTTGE] ปิโตรเลียม 100.00
30 บริษัท รีเทล บิซิเนส อัลไลแอนซ์ จำกัด [RBA] รับจ้างบริหารงานและการตลาดน้ำมัน 49.00
31 บริษัท Business Service Alliance จำกัด [BSA] รับจ้างบริหารงาน 25.00
32 KELOIL-PTT LPG Sdn,Bhd. [KPL] บรรจุและขาย LPG 40.00
33 บริษัท ไทยลู้บเบล็นดิ้ง จำกัด [TLBC] ผสมและบรรจุน้ำมันหล่อลื่น 48.95
34 บริษัท เวียดนามแอลพีจี จำกัด [VLPG] บรรจุและขาย LPG 45.00
35 บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด [THAPPLINE] ท่อขนส่งน้ำมัน 33.19
36 บริษัท ปิโตรเอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด [PA (Thailand)] การตลาดน้ำมัน 35.00
37 บริษัท ปตท.มาร์ท จำกัด [PTTMART] รับจ้างบริหารงาน 49.00
38 บริษัท ปิโตรเอเชีย (Huzhou) จำกัด [PA (Huzhou)] การตลาดน้ำมัน 25.00
39 บริษัท ปิโตรเอเชีย (Maoming) จำกัด [PA (Maoming)] การตลาดน้ำมัน 20.00
40 บริษัท ปิโตรเอเชีย (Shantou) จำกัด [PA (Shantou)] ธุรกิจ LPG 15.00
41 บริษัท บริการน้ำมันอากาศยาน จำกัด [IPS] บริการเติมน้ำมันอากาศยาน 46.67
42 บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด [FPL] ท่อขนส่งน้ำมัน 2.76
43 บริษัท เชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) [BAFS] บริการเติมน้ำมันอากาศยาน 7.06
44 กลุ่มการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท.ค้าสากล จำกัด [PTTT] ลงทุนในโครงการต่างๆ ในประเทศ 100.00
45 อื่นๆ บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด [EnCo] ธุรกิจพาณิชย์ 50.00
46 บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด [PTT ICT] บริการสื่อสารและเทคโนโลยี 20.00
47 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) [TIP] ประกันภัย 13.33

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

http://th.wikipedia.org/wiki/ปตท.  

-------------------------------------------------------
โดย มาหาอะไร
FfF