บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


18 กุมภาพันธ์ 2556

<<< อดีตรมว.คลัง ออกมาแขวะ รมว.คลังคนปัจจุบัน แถมคุยอีกว่าแบงค์ชาติไม่มีวันเจ๊งค่าเงินบาท วันนี้เราจะมาชำแหล่ะว่าที่เขาว่าเป็นจริงหรือไม่ >>>


<<< อดีตรมว.คลัง ออกมาแขวะ รมว.คลังคนปัจจุบัน แถมคุยอีกว่าแบงค์ชาติไม่มีวันเจ๊งค่าเงินบาท วันนี้เราจะมาชำแหล่ะว่าที่เขาว่าเป็นจริงหรือไม่ >>>
  • Maha Arai คราว นี้เราจะมาชำแหล่ะคำพูดที่ว่าแบงค์ชาติไม่มีวันเจ๊งว่าจริงอย่างที่อดีตขุน คลังออกมาแก้ตัวแทนแบงค์ชาติตอนนี้จริงหรือไม่ เอาง่ายเลยแค่ย้อนกลับไปปี 40 เกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งนั่นหน่ะเขาเรียกว่าเจ๊งไหม
  • Maha Arai ถ้าลืมไปแล้วไปดูเรื่องวิกฤตต้มยำกุ้ง ที่หมวดเศรษฐกิจ เว็บ มาหาอะไรได้ เก็บเป็นซีรีย์ 5 ภาค ครบครันจุใจ http://maha-arai.blogspot.com
    <<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #1 เปิดเสรีการเงินไม่กี่ปี เป็นหนี้ต่างประเทศเพิ่มเท่าตัว >>>
    <<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #2 ความเชื่อมั่นที่ตกต่ำ ตอกย้ำการโจมตีค่าเงิน >>>
    <<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #3 สู้จนเจ๊ง >>>
    <<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #4 เด็กดี หนูลองยา IMF >>>
    <<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #5 จากประเทศลูกหนี้ พลิกกลับมาเป็นประเทศเจ้าหนี้ (จบ) >>>
    <<< หนังสือแสดงเจตจำนงค์กับ IMF ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง >
  • ตะวัน สีแดง แถม ธันวาคม 49 เจ้งเพราะใคร
  • Maha Arai กรณีการทุบค่าเงินจะเข้าใจง่าย และจะเห็นสภาพแบงค์ชาติเจ๊งจนต้องคลานไปขอความช่วยเหลือ IMF การปกป้องค่าเงินไม่ให้อ่อนเกินไปหรือแข็งเกินไปมันเป็นหน้าที่แบงค์ชาติ ที่ต้องทำไม่งั้นก็ต้องยุบเหลือแต่หน่วยงานพิมพ์แบงค์อย่างเดียว นอกจากนี้แล้วยังมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมปริมาณเงินในประเทศให้เหมาะสมถ้า ไม่เหมาะสมมากไปน้อยไปจะเกิดเงินเฟ้อเงินฝืดตามมา
  • Maha Arai การปกป้องการทุบค่าเงินจนเจ๊งก็เพราะว่าต้องนำเงินทุนสำรองหลักเช่นเงินสกุล ดอลลาห์สหรัฐไปขายเพื่อซื้อบาทเพื่อให้บาทแข็งดอลลาห์อ่อน ทำมากๆ เกินเค้าหรือเกินเงินทุนสำรองที่มีอยู่ไม่มีเงินสำรองหนุนหลังเงินบาท ก็ต้องคลานไปขอเงินทุนสำรองประเทศนั้นประเทศนี้มาช่วยหนุนรวมทั้ง IMF ทีต้องทำโปรแกรมสุดหินของเขาแลกเปลี่ยน
  • Maha Arai ส่วนกรณีการปั่นค่าเงินอาจดูว่าไม่เจ๊งเพราะยิ่งโดนปั่นก็ยิ่งมีมีเงินดอลลาห์มากขึ้น เหมือนมีเงินทุนสำรองมากขึ้นแล้วจะเจ๊งได้ยังไงใช่ไหม ทำไมจะไม่ได้หล่ะ
  • Maha Arai ทุกคนย่อมมีเครดิตประเทศก็เหมือนกัน เหมือนอย่างผมจะไปขอกู้เงินสักล้านแบงค์อาจหลับหูหลับตาปล่อยให้ แต่ถ้าเยอะกว่านั้นหรือเป็นสิบล้านอาจไม่ใช่กู้แบงค์เดียวหลายแบงค์แต่เขาตรวจเจอว่าไปกู้มากมายถามว่าสถานภาพของเราจะล้มละลายได้ยังในเมื่อมีรายได้ไม่พอใช้หนี้ชาตินี้ เช่นเดียวกันประเทศก็เหมือนกัน ไม่งั้นทุกประเทศก็พิมพ์แบงค์กันมโหฬารไม่ต้องสนใจอะไรเลยสิเช่นพิมพ์ไปเลย อีก 10 ล้านล้านบาท ไม่เจ๊งแน่นอน จริงหรือ
  • ขุน วาง พอมพ์แบ๊งค์ออกมาเยอะ ธปท ไม่เจ๊ง แต่ประเทศไทยน่ะฉิบหาย
  • Maha Arai การพิมพ์แบงค์เพื่อไปใช้ปกป้องค่าเงิน ก็ต้องหาทางมาดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบไม่งั้นเกิดเงินเฟ้อแบงค์มีค่าใกล้เคียงกับแบงค์กงเต๊กในทวีปแอฟริกาเคยมีข่าวประเทศหนึ่งพิมพ์แบงค์ตามใจชอบเอามันสุดท้าย เงินเป็นล้านๆ ซื้อขนมปังได้ก้อนเดียว เมื่อต้องออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องออกไปตัวเลขหนี้ที่ประจานอยู่ เรื่อยๆ นั่นแหล่ะคือความเชื่อมั่นที่จะลดลงเรื่อยๆ แล้วแต่ละประเทศว่ามีเครดิตแค่ไหน
  • Maha Arai แล้วแบบนี้คิดว่าจะมีปัญญาพิมพ์แบงค์เพิ่มแล้วออกพันธบัตรจนเป็นหนี้ 10 ล้านๆ บาทหรือมากกว่านั้นได้โดยประเทศยังอยู่กันสบายดีจริงหรือ ผมว่าที่ออกมาเถียงนี่หลายข้อก็โต้ตอบได้แต่ข้อนี้ตกม้าตายไม่งั้นเรา ตอกกลับไม่ได้หรอก อิอิ ที่สำคัญถ้าเกิดเงินเฟ้อมากๆ จากกำลังกลัวว่าเงินแข็งมันจะพลิกมากลัวว่ามันจะอ่อนเกินไปแล้วต้องคลานเข้า IMF อีกรอบเรียกว่าไม่ว่าแข็งไปอ่อนไปมีปัญหาได้ทั้งนั้ัน
http://www.facebook.com/maha.arai

---------------------------------------------------------- 

โพสต์เอง-ตอบเอง แบงก์ชาติไม่มีวันเจ๊งค่าบาท

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เวลา 16:30:10 น.

หมายเหตุ - เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้โพสต์ข้อความลงบนหน้าเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยใช้หัวข้อว่า "ไม่ควรกังวลขาดทุนแบงก์ชาติจนเกินเหตุ" มีเนื้อหาโดยละเอียดดังต่อไปนี้

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกและรัฐมนตรีคลัง ออกมาเตือนแบงก์ชาติว่าขาดทุนสี่แสนหรือห้าแสนล้านบาท ชาวบ้านฟังแล้วก็ย่อมตกใจเป็นธรรมดา เพราะตัวเลขสี่แสนหรือห้าแสนล้านบาทเป็นตัวเลขที่สูงมาก นี่ไม่ใช่ห้าแสน ?บาท? นะครับ แต่เป็นห้าแสน ?ล้านบาท? แต่สำหรับคนที่มีความรู้เศรษฐศาสตร์แล้ว ขาดทุนแบงก์ชาติเป็นเรื่องที่ไม่ต้องไปตื่นเต้นตกใจเกินไปหรอกครับ ในฐานะที่ผมเคยเป็นรองผู้ว่าการแบงก์ชาติ และผมเข้าใจกลไกการทำงานของธนาคารกลาง ผมจึงขออธิบายเพื่อเป็นความรู้

@ ทำไมแบงก์ชาติจึงขาดทุน

แบงก์ชาติขาดทุนเพราะเงินบาทแข็ง ดูตัวเลขง่ายๆ ถ้าประเทศมีทุนสำรองสองแสนล้านดอลลาร์ แล้วเงินบาทแข็งขึ้นหนึ่งบาทต่อดอลลาร์ เมื่อตีราคาปิดบัญชีปลายปี แบงก์ชาติก็จะขาดทุนสองแสนล้านบาท ถ้าแข็งขึ้นสองบาท ขาดทุนก็จะเพิ่มเป็นสี่แสนล้านบาท

แต่ในทางกลับกัน หากเงินบาทอ่อน ถ้าอ่อนลงหนึ่งบาทต่อดอลลาร์ จะกลับเป็นกำไรสองแสนล้านบาท ถ้าอ่อนสองบาท กำไรก็จะเพิ่มเป็นสี่แสนล้านบาท

@ ทำให้แบงก์ชาติไม่ต้องขาดทุนได้หรือไม่

ทำให้แบงก์ชาติไม่ขาดทุนนั้น ง่ายมาก เพียงแต่ให้แบงก์ชาตินั่งเฉยๆ กินเงินเดือนไปวันๆ ปล่อยให้เงินบาทแข็งไปตามภาวะตลาด โดยไม่ต้องเข้าไปแทรกแซง ทำเท่านี้ ก็จะไม่ขาดทุนแล้วครับ ทุนสำรองก็ไม่จำเป็นต้องมี

แต่ถ้าทำแบบนี้ ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก จะต้องปรับตัวอย่างหนัก สินค้าใดที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ต้องเลิกผลิต ต้องทำให้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นๆ เหมือนกับรถยนต์เยอรมนี ซึ่งราคาแพงขึ้นๆ มาตลอดยี่สิบปี แต่คนก็ยอมควักกระเป๋าซื้อใช้โดยตลอด เพราะคุณภาพเยี่ยมเหลือเกิน

ที่จริงประเทศเราควรทำแบบนี้ คือบีบให้ภาคเอกชนปรับตัว เพื่อพร้อมแข่งขันในเวทีโลกเต็มที่ แต่ถ้าทำแบบนี้รัฐจะต้องเน้นการศึกษา โดยเฉพาะด้านอาชีวะ เร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน ฝีมือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ฝีมือการตลาด ซึ่งต้องใช้เวลา

ดังนั้น ที่ผ่านมาแบงก์ชาติจึงได้เข้าไปแทรกแซงเพื่อให้เงินบาทแข็งตัวช้าลง เพื่อให้เวลาธุรกิจปรับตัว

สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว ธนาคารกลางเขาจะไม่ค่อยเข้าไปแทรกแซง เขาจะปล่อยให้ค่าเงินของเขาขึ้นลงตามตลาดเต็มที่

แต่บางประเทศทนไม่ได้ การเมืองกดดันให้ธนาคารกลางเข้าไปแทรกแซง กรณีนี้ธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ก็จะประสบปัญหาขาดทุน ไม่ต่างจากกรณีแบงก์ชาติของไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศที่มีข่าวปัญหาธนาคารกลางขาดทุน ก็คือสวิตเซอร์แลนด์ พิสูจน์ให้เห็นว่าแม้แต่ประเทศต้นแบบของระบบธนาคารก็มีปัญหานี้เกิดขึ้นได้

@ มีโอกาสที่เงินบาทจะกลับอ่อนตัวลงหรือไม่

เงินบาทจะไม่แข็งไปตลอดกาล ในช่วงที่ไทยใช้อัตราแลกเปลี่ยนระบบตะกร้า ระหว่างปี 2521-2540 นั้น เงินบาทอ่อนตัวโดยตลอด เป็นเวลาร่วมยี่สิบปี

ในช่วงนั้นไทยมีการลงทุนมาก มากจนเกินกำลังการออมภายในประเทศ ทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

เงินบาทที่อ่อนตัวนั้น ทำให้แบงก์ชาติมีกำไรทุกปี

ในช่วงนี้ภาวะการลงทุนลดลง การนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ไม่บูมเหมือนเดิม บัญชีเดินสะพัดกลับเป็นเกินดุล เงินบาทแข็ง ทำให้แบงก์ชาติขาดทุน

แต่ในระยะยาว เมื่อการลงทุนเอกชนกลับมาบูมเต็มที่ ประกอบกับรัฐบาลมีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกว่า 2.2 ล้านล้านบาท การนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์จะเพิ่มขึ้น เงินบาทที่แข็งก็จะกลับอ่อนลงได้ครับ

นอกจากนี้ สภาวะการเมืองของไทย หากเกิดปัญหาแบบเฉียบพลัน ก็จะทำให้เงินบาทอ่อนลงอีกด้วย

@ แบงก์ชาติจะเจ๊งเพราะขาดทุนหรือไม่

ธุรกิจทั่วไปหากขาดทุนติดต่อกันไประยะหนึ่ง ก็จะขาดเงินสดหมุนเวียน สภาพคล่องจะติดขัด และต้องปิดกิจการ

แต่ธนาคารกลางของทุกประเทศ เขาสามารถสร้างปริมาณเงินขึ้นมา เพื่อหล่อเลี้ยงตัวเองได้

ธนาคารกลางจึงเป็นองค์กรเดียวที่ไม่มีวันที่จะประสบปัญหาสภาพคล่อง เป็นองค์กรเดียวที่ไม่มีวันต้องถูกบีบให้ปิดกิจการ

จึงขอให้สบายใจนะครับ แบงก์ชาติไม่มีวันเจ๊ง

@ ธนาคารกลางของประเทศอื่นมีขาดทุนหรือไม่

มีครับ ถ้าประเทศใดค่าเงินแข็งและมีทุนสำรองมาก ย่อมขาดทุน

และถ้าประเทศนั้น ธนาคารกลางมีการแทรกแซงไม่ให้ค่าเงินแข็งเร็ว ยิ่งขาดทุนเพิ่มขึ้นไปอีก เป็นอย่างนี้ทุกประเทศ

ข้อมูลขาดทุนของธนาคารกลางทุกประเทศ เป็นข้อมูลสาธารณะ แบงก์ชาติจึงควรจะสำรวจ แล้วแสดงให้ประชาชนรับทราบว่ามีประเทศใดที่ธนาคารกลางขาดทุน

@ ประชาชนต้องรับภาระขาดทุนแบงก์ชาติหรือไม่

ไม่ต้องครับ

กรณีรัฐบาลขาดดุลงบประมาณเป็นภาระแก่ประชาชน เพราะในที่สุด รัฐบาลต้องเก็บภาษีมาชดเชย

แต่ธนาคารกลางของทุกประเทศนั้นอยู่นอกระบบงบประมาณ รัฐบาลไม่ต้องเก็บภาษีมาชดเชยขาดทุนแบงก์ชาติ ประชาชนไม่ต้องรับภาระขาดทุนนี้

และในระยะยาว เมื่อแนวโน้มเงินบาทแข็งตัวชะลอลงหรือเปลี่ยนเป็นอ่อนตัว ปัญหาขาดทุนแบงก์ชาติก็จะคลี่คลายไปเอง

@ ขาดทุนแบงก์ชาติเป็นหนี้สาธารณะหรือไม่

ไม่เป็นครับ

รัฐมนตรีคลังผู้ใดที่พูดว่า กลัวขาดทุนแบงก์ชาติไปเพิ่มหนี้สาธารณะ แสดงว่าไม่มีความรู้จริง

ขาดทุนแบงก์ชาติไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ หลักการนี้ใช้กับทุกประเทศครับ ไม่เฉพาะประเทศไทย

@ การแทรกแซงให้เงินบาทแข็งตัวช้าลง แบงก์ชาติจำเป็นต้องออกพันธบัตรแบงก์ชาติเป็นจำนวนมาก ถามว่าประชาชนต้องรับภาระดอกเบี้ยนี้หรือไม่ หรือต้องรับภาระชำระคืนหนี้ดังกล่าวหรือไม่ และหนี้เหล่านี้เป็นหนี้สาธารณะหรือไม่

กรณีที่รัฐบาลออกพันธบัตร ประชาชนต้องเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยโดยตรงครับ รัฐบาลต้องเก็บภาษีมาจ่ายเป็นดอกเบี้ย

แต่กรณีที่แบงก์ชาติออกพันธบัตร ประชาชนไม่ต้องรับภาระดอกเบี้ยใดๆ แบงก์ชาติเขารับภาระเองแต่

ผู้เดียว รัฐบาลไม่ต้องเข้าไปอุ้มดอกเบี้ยนี้เลยแม้แต่น้อย

ผู้ใดที่อธิบายแก่สื่อมวลชนว่าดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นแผนที่วางไว้ เพื่อทำให้ธนาคารพาณิชย์กำไร และเป็นภาระแก่ประชาชน ผู้นั้นให้ข้อมูลที่บิดเบือนครับ

กรณีรัฐบาลออกพันธบัตร ประชาชนต้องเป็นผู้รับภาระชำระคืนพันธบัตรนั้นโดยตรงอีกเช่นกัน

แต่กรณีแบงก์ชาติออกพันธบัตร ประชาชนไม่ต้องรับภาระชำระคืนใดๆ แบงก์ชาติเขาจะดูแลบริหารคืนเงินตามพันธบัตรที่ครบกำหนดเอง รัฐบาลไม่ต้องเข้าไปชำระหนี้แทนแม้แต่น้อย

กรณีรัฐบาลออกพันธบัตร ต้องนับเป็นหนี้สาธารณะทันที

กรณีแบงก์ชาติออกพันธบัตรจะไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ เพราะรัฐบาลไม่มีภาระต้องมาชำระหนี้แทนแบงก์ชาติครับ

ผู้ใดที่อธิบายแก่สื่อมวลชนว่าขาดทุนแบงก์ชาติ และพันธบัตรแบงก์ชาติ ต่อไปจะเป็นภาระแก่ประชาชน ผู้นั้นให้ข้อมูลที่บิดเบือนครับ

@ ขาดทุนจะกระทบการทำงานของแบงก์ชาติหรือไม่

นี่เป็นเรื่องเดียวที่ต้องระมัดระวังครับ

ไม่ต้องกังวลว่าขาดทุนจะทำให้แบงก์ชาติเจ๊ง เพราะแบงก์ชาติสร้างสภาพคล่องดูแลตัวเองได้เสมอ

ไม่ต้องกังวลว่าพันธบัตรแบงก์ชาติจะเป็นภาระแก่ประชาชน เพราะรัฐบาลไม่มีการเก็บภาษีไปชำระหนี้แทนแบงก์ชาติอยู่แล้ว

ไม่ต้องกังวลว่าขาดทุนแบงก์ชาติจะเป็นหนี้สาธารณะ เพราะรัฐบาลไม่มีภาระต้องชำระหนี้แทนแบงก์ชาติ

แต่ที่ควรจะกังวลคือขาดทุนกระทบการทำงานของแบงก์ชาติหรือไม่

@ การขาดทุนของแบงก์ชาติจะกระทบการทำงานของแบงก์ชาติได้อย่างไร

มีกรณีเดียวครับ หากแบงก์ชาติประสาทเสียและพยายามแก้ปัญหาการขาดทุนด้วยการพิมพ์เงินออกมาเกินความจำเป็น ก็จะทำให้เงินเฟ้ออุตลุด

เวลาที่แบงก์ชาติพิมพ์เงินออกมานั้น แบงก์ชาติไม่มีต้นทุน

พวกเราที่มีเงินอยู่ในกระเป๋าสตางค์ ไม่ว่าจะเก็บไว้นานเท่าใด จนธนบัตรเปื่อยแล้วเปื่อยอีก ก็จะไม่สามารถไปเรียกร้องขอดอกเบี้ยใดๆ จากแบงก์ชาติได้เลย

แต่ในขณะเดียวกันเงินที่พิมพ์ได้นั้น แบงก์ชาติสามารถนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือเอาไปให้แบงก์พาณิชย์กู้ ทำให้แบงก์ชาติได้ดอกเบี้ยโดยไม่มีต้นทุน

ข้อที่ควรกลัวจึงมีอย่างเดียวครับ ว่าหากแบงก์ชาติเสพติดการหากำไรแบบง่ายๆ เช่นนี้ แล้วพิมพ์เงินออกมาเกิน จะทำให้เงินเฟ้อ

ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงกำหนดให้แบงก์ชาติต้องทำข้อตกลงกับรัฐบาล เพื่อวางเป้าหมายเงินเฟ้อร่วมกัน เพื่อป้องกันมิให้แบงก์ชาติเสพติดเรื่องนี้

ซึ่งขณะนี้รัฐบาลและแบงก์ชาติก็มีข้อตกลงกันอยู่แล้วครับ

ดังนั้น เรื่องแบงก์ชาติขาดทุนจึงไม่ใช่เรื่องที่ใหญ่โต ถึงขั้นที่สมควรต้องตกใจกระตู้วู้

ขอให้ใจเย็นๆ ครับ

แต่ถ้ายังไม่หายตื่นเต้น จะอ่านข้างบนนี้ซ้ำก็ได้นะครับ

...............

สมภพ มานะรังสรรค์
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์

เงินที่ไหลเข้ามามากทำให้ตลาดหุ้นช่วงปลายปี 2555 ต่อเนื่องต้นปี 2556 ค่อนข้างหวือหวา เนื่องจากนักลงทุนเห็นว่าเศรษฐกิจไทยแข็งแรง หนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลมีโครงสร้างพื้นฐานที่จะลงทุนต่อเนื่อง และเห็นประโยชน์จากกระแสการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) รวมถึงการลงทุนในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียเริ่มอิ่มตัว เงินทุนจึงไหลมายังไทย ที่มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 2.75% แทนที่จะไปอินเดียที่มีดอกเบี้ยสูงถึง 7% เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไม่น่าไว้วางใจ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยจึงมีผลน้อยมากที่จะทำให้เงินทุนไหลเข้า

การบริหารจัดการค่าเงินบาทต้องบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ กระทรวงการคลังและ ธปท. ภาคเอกชนและผู้ประกอบการ รวมถึงภาคประชาชน โดยกระทรวงการคลังต้องดูแลการหารายได้ของภาครัฐ การใช้จ่ายทั้งในงบประมาณและนอกงบประมาณ ไม่ก่อหนี้มากเกินไปจากโครงการประชานิยมต่างๆ ที่ทำให้ระดับหนี้สาธารณะสูงขึ้น

ขณะที่ ธปท.เอง หากอัตราแลกเปลี่ยนหวือหวามากเกินไป ก็จะต้องเข้าไปแทรกแซงบ้าง แม้จะต้องขาดทุนก็ต้องยอมนำทุนสำรองที่มีอยู่ 1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ไปบริหารให้เกิดผลประโยชน์ และ ธปท.ควรประสานกับธนาคารพาณิชย์เพื่อดูแลค่าธรรมเนียมในการซื้ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (ฟอร์เวิร์ด) ว่ามีค่าธรรมเนียมสูงเกินไปหรือไม่ และดูแลความเหมาะสมของอัตราดอกเบี้ย ผู้กู้มีดอกเบี้ยสูงถึง 6-7% แต่ผู้ฝากได้รับดอกเบี้ยไม่ถึง 2% เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภค

ส่วนภาคเอกชนและผู้ประกอบการควรใช้โอกาสนี้ปรับปรุงคุณภาพการผลิต โดยการนำเข้าเครื่องจักรรวมถึงวัตถุดิบและพลังงาน เพื่อลดต้นทุนรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างแรงงานที่มีการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท หากมีหนี้ต่างประเทศก็ควรเร่งชำระหนี้และใช้โอกาสที่ค่าเงินบาทแข็งไปลงทุนยังต่างประเทศ เนื่องจากจะมีต้นทุนถูกลง มีการบริหารจัดการความเสี่ยง เช่น การทำฟอร์เวิร์ด

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360553031&grpid=01&catid=&subcatid=
 
----------------------------------------------------------
FfF