บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


15 มีนาคม 2556

<<< ขอคัดค้านโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ล่วงหน้า เผื่อว่ามีใครมาปลุกกระแสให้สร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เพื่อแก้ปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ >>>


Maha Arai
<<< ขอคัดค้านโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ล่วงหน้า เผื่อว่ามีใครมาปลุกกระแสให้สร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เพื่อแก้ปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ >>>

ถูกใจ  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
เพราะมันไม่ปลอดภัยเกิดรั่วมาทีไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือฝีมือมนุษย์ เช่นกรณีรัสเซีย หรือที่ญี่ปุ่น และมาตรฐานพี่ไทยยังไงก็เสี่ยงสูง
ถูกใจ  1  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

ผู้พันสู้ ตัวจริง
นิวเคลียร์ ต้องมาตรฐานสากลถึงจะสร้างได้ครับ
ถูกใจ  27 กุมภาพันธ์

PCha Kkumpa
ผสมสนับสนุนการสร้างครับ ทุกเรื่องมีความเสี่ยงและยอมรับความเสี่ยงหลังการจัดการมาตรฐานได้ครับ
ถูกใจ  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
ก็มาตรฐานสากลทั้งนั้นไม่ใช่เหรอที่รั่วออกมา
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
ค้านหัวชนฝา การรั่วไหลออกมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้านและยังเสี่ยงต่อการถูกโจมตีถ้าเกิดสงครามมันไม่ใช่แค่ระเบิดแถวนั้นอย่างเดียวมันลามไปทั่ว อย่าคิดแค่วันนี้เอาเป้นว่าเอาไปตั้งที่ไหนก็มีคนค้านยกเว้นไม่ใช่ที่ใกล้บ้านตัวเอง
ถูกใจ  1  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
ถ้าคนกรุงเทพอยากได้ แถวไหนอยากได้มากเอาไปตั้งแถวนั้นดูได้รับประกันจากสนับสนุนจะเปลี่ยนมาเป็นคัดค้าน วิธีดราม่าตางๆ เพื่อปลุกกระแสอะไรอย่าคิดว่าประชาชนพ.ศงนี้จะไม่รู้ทันสารพัดที่มีบางรัฐบาลทำๆ กันมาอย่าคิดว่าไม่รุ้
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
เช่นทำให้รถติดมากๆ ที่ถนนสายที่จะอยากสร้างนั่นนี่ คนก็จะไม่คัดค้านเวลาจะสร้าง มุกแบบนี้ขอร้องว่าหากินได้แต่ในอดีต พ.ศงนี้ อ้าปากเราเห้นลิ้นไก่หมดแหล่ะ จะพูดหรือไม่ก็ตาม
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

อ้วน รักคุณพ่อคุณแม่
คุณจะแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานได้อย่างไรครับ เอาแค่เรื่องไฟฟ้านี่ละ เพราะประเทศต้องโต เศรษฐกิจขยายตัว GDP เพิ่มราวๆ 5% ต่อปี
ถูกใจ  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
“หลังจากที่มีการหารือกันมานาน ก็มีการตกลงกันแล้วว่าจะให้ยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ตลอดไป” โรเอตต์เกน กล่าวต่อผู้สื่อข่าวภายหลังจากที่มีการเจรจาหารือกันนาน 7 ชั่วโมง จนเวลาล่วงเข้าสู่วันใหม่ที่ห้องทำงานของนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล
“การตัดสินใจครั้งนี้เป็นไปด้วยความสอดคล้องต้องกัน, เด็ดขาด และชัดเจน” เขาสำทับ
ทั้งนี้ เยอรมนีมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งสิ้น 17 เตา โดยจำนวนนี้ 8 เตาอยู่ในสถานะปิดการทำงาน โดยที่ 7 จาก 8 เตาดังกล่าวเป็นเตาปฏิกรณ์ที่ใช้งานมายาวนานที่สุด รัฐบาลได้สั่งปิดเตาเหล่านี้ลงชั่วคราว 3 เดือนเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย หลังจากปัญหาวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะในญี่ปุ่นซึ่งลุกลามมาตั้งแต่ เดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้น ได้สร้างกระแสหวาดวิตกอย่างมากในเยอรมนี
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000066084
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

บุ๋ม อรวรานันท์
ไม่เป็นรัยค่ะ พม่าจะสร้างแถบๆ ชายแดนไทย ลาวก็ด้วย เด๋วเราซื้อเค้าก็ได้ ^^" มาตรฐานพม่า กะลาว โอเครกว่าไทยคุมเอง เนอะ
ถูกใจ  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
เขียนไว้หลายครั้งแล้ว แค่เลิกให้กฟผ.ผูกขาดชาวบ้านผลิตกระไฟฟาเสรีพลังงานธรรมชาติทั้งลมและแสงแดดบวกความร้อนทุกหมู่บ้านเป้นแนวคิดการกระจายจะสร้างความมั่นคงและมีเหลือเฟือมากกว่าแนวคิดรวบอำนาจหรือรวบทุกสิ่งทุกอย่างไว้ส่วนกลาง แนวคิดล้าหลังหากินกับส่วนแบ่งคอมมิสชั่นไร้วิสัยทัศน์ในโลกยุคใหม่บอกตรงๆ
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
ประเทศญี่ป่นเยอรมัน คงไม่ต้องพูดถึงมาตรฐาน เยอรมันสั่งประกาศยุติสร้างดรงไฟฟ้าพลังง่นนิวเคลียร์เพื่อเก็บประเทศไว้ให้ลูกหลน ซึ้งไหม ทำไมเขาถึงคิดยังงั้นทั้งๆ ที่เขามีตั้งหลายโรง ถ้ามันดีจริงเขาจะมากังวลอะไร
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

อ้วน รักคุณพ่อคุณแม่
ชาวบ้านใช้ไฟปีละ กี่เมกะวัตต์ ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องใช้ไฟฟ้ากำลัง ห้างสรรพสินค้าเปิดแอร์ทั้งวัน บ้านสมัยใหม่ไม่มีแอร์ก็ไม่ได้ จะเอาโรงไฟฟ้าชุมชนไปตั้งที่ไหน ลำพังในหมู่บ้านเล็กๆพอได้ ในชุมชนเมืองขนาดใหญ่ทำไง
ถูกใจ  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
การมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ไว้ในประเทศเยอะๆ ก็ไม่ต่างกับมีระเบิดนิวเคลียรืของข้าศึกมากองไว้รอจุดระเบิดดีๆ นี่เอง ไม่ต้องสร้างฐานยิงจากประเทศข้าศึกหรอกแค่เอาจรวดะรรมดามาถล่มก็ไม่ต่างกันมีความเสี่ยงทั้งในแง่สงครามที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และเสี่ยงจากสารพัดอุบัติเหตุปัจจุบัน ถ้ามันระเบิดและเผาไหม้หมดแถวนั้นก็พอโอเคแต่นี่มันรั่วไหลกระจายและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

อ้วน รักคุณพ่อคุณแม่
ประเทศที่กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เขาลดการใช้พลังงานลง เพราะไปเสพทรัพยากรจากการผลิตในโลกที่ 3 เช่น จีน เวียด ไทย ดังนั้นการใช้พลังงานจะไม่เพิ่มเท่าไรนัก
ถูกใจ  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
ถ้าทุกหมู่บ้านในไทยสร้างดรงไฟฟ้าพลังงานสิ่งแวดล้อมลมแดดความร้อนในพื้นที่ไอ้ที่สร้างไว้ปัจจุบันเหลือเฟือพอป้อนโรงงานอุตสาหกรรมไปอีกหลายชาติ
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
ประเทศที่มีเขาเริ่มกระแสต่อต้านรัฐบาลเขาไม่กล้าสร้างเพราะพลเมืองเขาต่อต้านหนักของมันดีจริงเขาไม่ต่อต้านหรอกพอเกิดเรื่องทีเขาถึงนึกถึงความปลอดภัยให้ลูกหลาน วิธีที่ทำได้มันมีแต่จะทำหรือเปล่าล่าสุดมีเซลพลังงานแสงอาทิตย์แผงไใหญ่สามารถผลิตไฟฟ้าป้อนแอร์บ้านได้แล้ว
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

อ้วน รักคุณพ่อคุณแม่
ญี่ปุ่นก็ต้าน เพราะแผ่นดินไหว แล้วสุดท้ายก็ต้องยอมให้ผลิตต่อ เพราะมันหาอะไรทดแทนไม่ได้ นี่ขนาดญี่ปุ่นเป็นประเทศร่ำรวย ประชากรมีคุณภาพมีการศึกษา ยังทำโซลาร์เซลล์ไม่ได้ คนไทยจะจัดหา จัดซื้อไหวมั๊ย ถ้าไม่เอาโรงไฟฟ้าเพิ่ม จะเอาอะไร
แก้ไขแล้ว  ถูกใจ  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
ไม่ต้องพูดถึงถ้านำไปติดบนรถทุกคันจนฮิตมันจะป้อนไฟฟ้าแต่ละบ้านได้ ออกแบบกันดีๆ นิดหน่อยสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจริงจังและมีการพัฒนาให้อิตก้ต่อเมื่อถึงวันที่ต้องดิ้นรน และรัฐมนโยบายส่งเสริม ถ้าผมเป็นรัฐบาลและส่งเสริมให้ฟรีภาษีประเคนส่งเสริมแนวที่ว่าทุกรูปแบบเท่าที่มีอยู่พอไปอีก 100ปีแน่นนอน
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
เคยทำจริงจังไหม งบ SML ส่งไปให้ทุกปีมันต้องมีสักปีที่ตังผลิต ถ้ามันมีอย่างเพียงพอคนเขาก็ไม่ดิ้นรนก็ถูกต้องพอถึงวันที่ต้องดิ้นรนเดี๋ยวเขาก้จัดการกันเองแหล่ะ ส่วนที่บอกญี่ป่นไม่เพียงพอคนญี่ปุ่นหรือประเทศไหนๆ ก็เหมือนคนไทยถ้ามันยังมีให้ใช้เพียงพอเขาจะไปดิ้นรนติดพลังงานทางเลือกทำไมหล่
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
การมีโรงไฟฟ้าเกิดปัญหาออะไรเดือดร้อนกระจายวงกว้างแต่ถ้าทุกหมู่บ้านทุกหน่วยงานราชการมีผลิตได้เองมันปลอดภัยระยะยาวไม่ว่าจะยามวิกฤตจากภัยพิบัติหรือสงครามใดๆ เพราะมันไม่ดับตามกันหมดเหมือนมีแต่ดรงงานโดนถล่มดับทั้งบ้านทั้งเมืองไม่อยู่ในสภาพนั้นอาจจินตนาการไม่ออกแต่วันหนึ่งก็อาจเจอได้อย่าคิดว่าไม่เจอฮึมๆ ทั้งในและนอกประเทศกันอยู่แบบนี
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Aec Temp
ไม่ต้องห่วงฮะโรงนิวเคลียร์ไม่ได้สร้างในช่วงนี้แน่นอนเพราะพลังงานก๊าซธรรมชาติยังมีใช้ผลิตไฟอีกหลายสิบปี/แต่ต้องสร้างแน่นอนในอนาคตและทุกประเทศด้วยฮะในตอนก๊าซในอ่าวไทยหมดและที่อื่นหมด/น้ำมันนำเข้าราคาแพงจัดทำเป็นไฟฟ้าไม่ได้พลังงานอื่นๆไม่มีมีก็ไม่พอ/ก็เลือกฮะจะเอาจุดเทียนอยู่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ได้ฮิฮิ/ลองไปดูนะฮะของ การไฟฟ้า กราฟไฟฟ้าใช้ก๊าซ70% ถ่านหิน % น้ำน้อยมาก % ลมน้อยสุด% แดดแทบน้อยมาก
แก้ไขแล้ว  ถูกใจ  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
ทีาน้อยมากเพราะต้นทุนยังสูงและมีทางเลือกอื่นตอนนี้วันที่คุณว่าน้ำมันหมดก๊าซหมดพลังงานแสงอาทิตย์จะมาเองเพราะตอนนี้ราคาเริ่มถูกลงและอันเล็กลงสามารถใช้กับแอร์ได้แล้วเรียกว่าต่อไปจะไปแนวนี้หมดดังนั้นเลิกขู่ว่าน้ำมันหมดก๊าซหมดโลกจะทำยังไงหรือต้องไปใช้นิวเคลียร์กันได้แล้ว
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
อยู่ที่นโยบายและวิธีคิดว่าจะกระจายการผลิตหรือรวมศูนย์การผลิตไฟฟ้าแบบปัจจุบันถ้ากระจายโลกยุคหน้าจะไปแนวรถทุกคนเป็นรถไฟฟ้าไม่ต้องเติมไฟเป็นหมื่นกิโลก็ยังได้มีคนวิจัยออกมาแล้วเพียงแค่มีนโยบายส่งเสริมจริงจังลดภาษีนั่นนี่ให้พิเศษ
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
และต่อยอดให้รถทุกคันผลิตไฟฟ้าทั้งขณะวิ่งและจอดด้วยเซลพลังงานแสงอาทิตย์ หรือการปั่นไดชาร์จแบบปัจจุบันหรือพลังงานกังหันลมหน้ารถหรื พลังงานความร้อนเลหลือพอนพกับไปใช้ไฟบ้านง่ายๆออกแลบการสับเปลี่ยนหรือที่ชาร์จไฟบ้านโดนตรง
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
ดังนั้นมันอยู่ที่วิถีคิดของคน ไม่ได้อยู่ที่ข้อจำกัดพลังงานไปแนวทีาเราว่าจนสิ้นโลกก็มีไฟฟ้าใช้โดยไม่ต้องพึ่งก๊่าซหรือนิวเคลียร์เลยด้วยซ้ำต่อไปทุกห้างและโรงงานนอกจากใช้ไฟของการไฟฟ้าแล้วก็ต้องผลิตไฟเองซึ่งตอนนี้อาจแพงและกลัวไม่คุ้มทุนที่จะทำอนาคตมันจะถูกลงและผลิตไฟฟ้าได้ดีและนานหลายสิลปีตอนนี้ก็เริ่มแล้วแต่ยังไม่ฮิตทำแบบทีาว่าไม่เห็นต้องคิดพึ่งโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ให้เสี่ยงเลยอยู่ที่วิธีคิดมักง่ายหรือมองอนาคตยาวๆ
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
ที่สำคัญไม่มีประเทศไหนปลื้มสินค้าเกษตรจากประเทศที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เยิะๆหรอกรวมไปถึงการท่องเที่ยงตอนนี้อาจมองไม่ออกอนาคตจะแข่งกันเรื่องสุขภาพคนยิ่งมีเงินเขาจะสนใจสุจภาพอันดับแรกๆสินค้าจากประเทศที่ปลอดสารพิษจะได้รับการพิจารณาในอันดับต้นๆ และถ้าเกิดเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีปรัญหาอีกก็จะเกิดกระแสต่อต้านอีกลามไปทั่วโลกอีกมันคุ้มที่ไหนในอนาคตที่จะไปแนวนั้น
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

Maha Arai
ญี่ปุ่นเขาประกาศเลิกใน30ปีของใหม่ไม่สร้างเพิ่มของเก่าเกิน40ปีปิดเรียกว่าเตรียมการเลิกใช้เป็นขั้นเป็นตอน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1347434711&grpid=03&catid=03
ถูกใจ  แก้ไข  27 กุมภาพันธ์

http://www.facebook.com/maha.arai

------------------------------------------------------

“เยอรมนี” เผยแผนปิดโรงไฟฟ้านุก ยุติพึ่งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ปี 2022
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์30 พฤษภาคม 2554 21:12 น.


เยอรมนีเตรียมหันหลังให้กับพลังงานนิวเคลียร์อย่างสิ้นเชิง
       เอเอฟพี - เยอรมนีกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าชาติแรก ที่จะหันหลังให้กับพลังงานนิวเคลียร์อย่างสิ้นเชิง โดยประกาศวันนี้ (30) ถึงแผนการปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดและยุติการพึ่งพาพลังงานปรมาณูในการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศอย่างถาวรภายในปี 2022 ทั้งนี้ รัฐบาลแดนดอยช์ให้เหตุผลว่า วิกฤตเตาปฏิกรณ์หลอมละลายและสารกัมมันตรังสีรั่วไหลในญี่ปุ่นทำให้ต้องเร่งทบทวนนโยบายนี้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายมองว่าสาเหตุแท้จริงส่วนหนึ่งอยู่ที่กรุงเบอร์ลินมุ่งลดกระแสเดือดดาลของประชาชนลง ภายหลังนโยบายต่ออายุใช้งานเตาปฏิกรณ์ก่อนหน้านี้ได้สะเทือนคะแนนนิยมของพรรครัฐบาลอย่างหนัก จนส่งผลให้พ่ายแพ้การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในช่วงหลังๆ นี้
      
       นอร์เบิร์ต โรเอตต์เกน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของเยอรมนี ประกาศการตัดสินใจของรัฐบาลเมื่อเช้าวานนี้ ว่าจะยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศภายในปี 2022 นี้ หลังจากที่ผลกระทบด้านลบของพลังงานนิวเคลียร์จากวิกฤตการณ์ที่ญี่ปุ่นได้ปลุกกระแสตื่นกลัวในเยอรมนีมากขึ้นไปอีก โดยโรเอตต์เกน ยืนยันว่า นโยบายดังกล่าวจะไม่มีการ “กลับลำ” อย่างแน่นอน
      
       “หลังจากที่มีการหารือกันมานาน ก็มีการตกลงกันแล้วว่าจะให้ยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ตลอดไป” โรเอตต์เกน กล่าวต่อผู้สื่อข่าวภายหลังจากที่มีการเจรจาหารือกันนาน 7 ชั่วโมง จนเวลาล่วงเข้าสู่วันใหม่ที่ห้องทำงานของนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล
      
       “การตัดสินใจครั้งนี้เป็นไปด้วยความสอดคล้องต้องกัน, เด็ดขาด และชัดเจน” เขาสำทับ
      
       ทั้งนี้ เยอรมนีมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งสิ้น 17 เตา โดยจำนวนนี้ 8 เตาอยู่ในสถานะปิดการทำงาน โดยที่ 7 จาก 8 เตาดังกล่าวเป็นเตาปฏิกรณ์ที่ใช้งานมายาวนานที่สุด รัฐบาลได้สั่งปิดเตาเหล่านี้ลงชั่วคราว 3 เดือนเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย หลังจากปัญหาวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะในญี่ปุ่นซึ่งลุกลามมาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้น ได้สร้างกระแสหวาดวิตกอย่างมากในเยอรมนี
      
       ส่วนเตาปฏิกรณ์เครื่องที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ในโรงไฟฟ้าครืมเมล ทางตอนเหนือของประเทศนั้น ได้ปิดการใช้งานมาแล้วเป็นหลายปีสืบเนื่องจากปัญหาขัดข้องทางเทคนิค
      
       รัฐมนตรีเมืองเบียร์ผู้นี้ ให้รายละเอียดของแผนการของรัฐบาลว่า เตาปฏิกรณ์ 8 เตาที่ปิดทำงานไปก่อนแล้วเหล่านี้ ก็จะให้ปิดใช้งานถาวรโดยไม่เร่งปฏิกิริยาแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ขึ้นมาใหม่ ขณะที่อีก 6 เตาจะทยอยปิดการทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2021 ส่วนอีก 3 เตาที่เหลือ ซึ่งเป็นเตาปฏิกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดของประเทศนั้น จะยุติการทำงานลงภายในสิ้นปี 2022
      
       การตัดสินใจปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าวจะทำให้เยอรมนีกลายเป็นประเทศยักษ์อุตสาหกรรมชาติแรกที่ประกาศแผนยุติการใช้พลังงานปรมาณูแบบถาวร อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ก็ได้นำมาซึ่งปัญหาท้าทายสำหรับรัฐบาลในภายภาคหน้าว่าจะสามารถจัดหาแหล่งพลังงานอื่นมาผลิตไฟฟ้าทดแทนส่วนที่จะขาดหายไปจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งมีสัดส่วนราว 22 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศได้อย่างไร
      
       ทว่าเรื่องนี้ รัฐมนตรีโรเอตต์เกนได้ให้คำมั่นว่า “เราขอรับรองว่าจะสามารถแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้อย่างทั่วถึงทุกคนและทุกเวลาแน่นอน” แต่กระนั้นเขาก็ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าจะอาศัยแหล่งพลังงานอื่นใดมาทดแทน
      
       การตัดสินใจของรัฐบาลเบอร์ลินเมื่อวานนี้ถือเป็นการกลับไปยึดเค้าโครงตารางเวลาตามที่อดีตรัฐบาลชุดผสมของพรรคโซเชียล เดโมแครต-กรีน เคยประกาศไว้เมื่อ 1 ทศวรรษก่อน ซึ่งตามตารางเวลาเดิมนั้นกำหนดให้มีการปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมดภายในปี 2010 ที่ผ่านมา แต่แล้วก็เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงแมร์เคิล ที่ตัดสินใจจะขยายเวลาการทำงานของเตาปฏิกรณ์ทั้ง 17 เตาต่อไปอีกเฉลี่ย 12 ปี ซึ่งทำให้เตาปฏิกรณ์จะถูกใช้งานไปจนกระทั่งถึงกลางทศวรรษที่ 2030
      
       การปรับเปลี่ยนนโยบายของประเทศโดยรัฐบาลแมร์เคลคราวนั้นได้จุดกระแสความไม่พอใจเป็นวงกว้างในหมู่ชาวเยอรมันเรื่อยมา ก่อนจะระเบิดขึ้นเป็นการประท้วงต่อต้านนิวเคลียร์ไปทั่วประเทศ หลังเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ที่ญี่ปุ่นจนสร้างความเสียหายแก่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ และเกิดวิกฤตแท่งเชื้อเพลิงเตาปฏิกรณ์หลอมละลายเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้รัฐบาลของแมร์เคิลต้องทบทวนนโยบายด้านพลังงานใหม่อย่างเร่งด่วน
      
       นอกจากนี้ ผลของการที่แมร์เคิลวกไปวนมาเกี่ยวกับนโยบายนิวเคลียร์ซึ่งเป็นประเด็นอ่อนไหวของประเทศนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมานั้น ก็ได้สั่นคลอนคะแนนนิยมของพรรคคริสเตียน เดโมแครต ยูเนียน (ซีดียู) ของเธอนับแต่บัดนั้น ดังสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนจากเหตุการณ์การเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา เมื่อพรรคกรีนส์ ซึ่งชูนโยบายต่อต้านนิวเคลียร์อย่างเด็ดเดี่ยว สามารถถีบพรรคซีดียู หล่นลงมาเป็นอันดับ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นนครรัฐเบรเมน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่พรรคกรีนส์สามารถกวาดคะแนนเสียงแซงหน้าพรรคซีดียู ที่เป็นพรรคแนวอนุรักษนิยมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งทั่วไป

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000066084

------------------------------------------------------


ญี่ปุ่นเตรียมเลิกใช้"พลังงานนิวเคลียร์"ภายใน 30 ปี

วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 16:30:05 น.



สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า รัฐบาลเตรียมยกเลิกการพึ่งพาพลังงานจากนิวเคลียร์ภายในอีกราว 3 ทศวรรษข้างหน้า ภายใต้นโยบายใหม่ของรัฐบาล หลังเกิดเหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะเมื่อปีก่อน

หนังสือพิมพ์มาอินิชิ ชิมบุน รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยว่า รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ จะประกาศเจตนารมณ์ครั้งนี้ โดยการปิดเตาปฏิกรณ์ทุกแห่งให้ได้ภายในช่วงปี 2030 ซึ่งหากทำได้ จะเป็นไปในแนวทางเดียวกับเยอรมนี ที่ประกาศปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทุกแห่งให่ได้ภายในปี 2022 ท่ามกลางกระแสการคัดค้านที่เริ่มก่อตัวแล้วทั่วโลก

มาอินิชิ ชิมบุนระบุว่า รัฐบาลจะตัดสินใจอย่างเป็นทางการถึงประเด็นดังกล่าวในที่ประชุมว่าด้วยพลังงานและสิ่งแวดล้อมในช่วงสุดสัปดาห์นี้ เพื่อยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์โดยถาวร

ญี่ปุ่นเร่งทบทวนนโยบายด้านพลังงานใหม่ทั้งหมด หลังเกิดเหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะเมื่อเดือนมี.ค.ปีที่แล้ว ซึ่งสารรังสีรั่วไหลหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ และทำให้ทางการสั่งตรวจสอบความปลอดภัยของเตาปฏิกรณ์ทุกแห่งในประเทศหลังจากนั้นไม่กี่เดือน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น หรือดีพีเจ ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ได้กล่าวถึงการออกนโนบายใหม่ที่ระบุว่า ญี่ปุ่นควรใช้ทรัพยากรทางการเมืองเพื่อประเมินสถานการณ์เพื่อให้จำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ปฏิบัติการเป็นศูนย์ ภายในช่วงปี 2030 โดยอ้างถึง 3 หลักการ ได้แก่ การไม่สร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มอีก, ยุติการใช้โรงไไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป  และอนุญาตให้มีการเปิดโรงไฟฟ้าขึ้นอีกครั้ง เฉพาะกรณีที่โรงไฟฟ้าผ่านการตรวจสอบความปลอดแล้วเท่านั้น

นอกจากนั้นดีพีเจยังกล่าวว่า ญี่ปุ่นควรหันมาใช้พลังงานที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ ดำเนินมาตรการประหยัดพลังงานต่อไป รวมถึงการใช้ดัชนีชี้วัดที่เหมาะสม อีกทั้งการพัฒนาทรัพยากรในน่านน้ำใกล้เคียง และหาวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด ในการนำแก๊สธรรมชาติและพลังงานใต้พิภพอื่นๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เมื่อปีที่แล้ว เยอรมนีกล่าวว่า จะปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 17 แห่งให้ได้ภายในปี 2022  ขณะที่อิตาลี ผลการลงประชามติ ยังคงปฏิเสธการใช้พลังงานนิวเคลียร์ต่อไป หลังยุติลงอย่างสิ้นเชิงหลังเหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล เมื่อปี 1986  ส่วนสวิตเซอร์แลนด์ ได้อนุมัติแผนการการปิดเตาปฏิกรณ์ 5 แห่ง ภายในปี 2034 อย่างไรก็ดี พบว่าหลายประเทศในเอเชีย กำลังมีความพยายามผลักดันให้มีการใช้พลังงานดังกล่าว

ญี่ปุ่นใช้พลังงานนิวเคลียร์ผลิตกระแสไฟฟ้า 1 ใน 3 หล่อเลี้ยงประเทศก่อนที่จะเกิดเหตุอุบัติภัยนิวเคลียร์โรงไฟฟ้าฟูกุชิมะ   นายกรัฐมนตรีโนดะ กล่าวว่า นโยบายพลังงานใหม่ที่คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปลายสัปดาห์นี้ จะพิจารณาข้อเสนอแนะของพรรคดีพีเจด้วย



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1347434711&grpid=03&catid=03

------------------------------------------------------

« เมื่อ: เม.ย. 19, 07, 09:21:15 »


การพยายามแสวงหาพลังงานทางเลือกหรือพลังงานเพื่อมาทดแทนพลังงานจากคาร์บอน ซึ่งนับว่าจะมีราคาสูงขึ้นและมีปริมาณน้อยลง เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ หันไปสนใจสร้างพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า แต่อีกด้านหนึ่งของเหรียญ จากการใช้ประโยชน์จากนิวเคลียร์ยังคงสร้างความกังวลให้กับผู้ที่เคยประสบกับภัยร้ายแรงของพลังงานอานุภาพสูงนี้ มาแล้ว

ไม่ว่าจะในกรณีของฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ส่งผลกระทบมาถึงปัจจุบัน รวมทั้งความหวาดหวั่นของนานาประเทศ จากกรณีการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือและอิหร่าน

นอกเหนือจากความกังวลด้านการทหารและความมั่นคงของโลกแล้ว ยังมีเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุในหลายแห่งทั่วโลกที่เป็นบทเรียนให้ประเทศที่ต้องการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และแม้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของ บริษัทอิเล็กทริซิเต้ เดอ ฟรอง หรือ EDF ในฝรั่งเศส เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา จะไม่ได้มีความรุนแรงจนน่าเป็นกังวลนัก

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเย็นวันจันทร์ที่ 9 เม.ย. เมื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ แจ้งว่า เกิดเหตุขัดข้องทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ทางบริษัทจำต้องปิดเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 3 ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเขตเดมพิริเย่นั้น เป็นอีกครั้งหนึ่งที่โลกต้องระมัดระวังการใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้ เพราะอุบัติเหตุจากนิวเคลียร์ไม่ได้มีเพียงระดับที่เกิดขึ้นครั้งนี้เท่านั้น

หากแต่จากการจัดอันดับตามมาตราวัดเหตุการณ์ที่เกิดจากนิวเคลียร์นานาชาติ หรือที่เรียกว่า INES (international nuclear event scale) ระบุว่า ยังมีความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์อยู่ถึง 7 อันดับ และโลกก็ได้บทเรียนและประสบกับเหตุการณ์ทั้ง 7 อันดับความรุนแรงมาแล้ว

ทั้งนี้ เมื่อย้อนดูระดับความรุนแรงของเหตุการณ์จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตั้งแต่ระดับที่ 1-7 ที่เคยเกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะพบว่ามีเหตุการณ์รุนแรงที่ยังอยู่ในความทรงจำของหลายคนไม่เคยลืม

เริ่มตั้งแต่ความรุนแรงระดับที่ 7 ที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนเบิล ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่รุนแรงที่สุด เนื่องจากมีการปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีปริมาณมาก ในบริเวณกว้าง และยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

โดยเหตุการณ์เชอร์โนเบิลเกิดเมื่อ 26 เม.ย.2529 ทางตะวันออกของสหภาพโซเวียต (ประเทศยูเครนในปัจจุบัน) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากเจ้าหน้าที่เดินเครื่องของโรงงานฝ่าฝืนระเบียบการเดินเครื่อง คือ จงใจปลดระบบควบคุมอัตโนมัติ และระบบความปลอดภัยบางส่วนออก เป็นเหตุให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขาดน้ำหล่อเย็น จึงเกิดการระเบิดของไอน้ำที่รุนแรงดันทะลุหม้อปฏิกรณ์และอาคารปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำให้สารกัมมันตภาพรังสีแพร่กระจายในวงกว้าง มีผู้เสียชีวิต 31 คน และบาดเจ็บ 203 คนทันที และหลายแสนคนต้องอพยพออกจากพื้นที่แห่งนั้นในทันทีหลังเกิดเหตุการณ์

ผลที่ตามมาหลังเหตุการณ์ได้ทำให้ยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ได้รับผลกระทบเรื่องการปนเปื้อนจากสารกัมมันตภาพรังสี ด้านเยอรมนี นอร์เวย์ สวีเดน ออสเตรีย อิตาลี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ได้รับผลกระทบจากเมฆกัมมันตภาพรังสี

จนกระทั่งในปี พ.ศ 2539 องค์การอนามัยโลกสรุปผลการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้น พบว่าอัตราการเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเด็กเพิ่มขึ้นโดยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน คาดว่าเป็นผลมาจากการได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทั้งนี้ไม่พบความผิดปกติของการเกิดโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว แต่ประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีผลกระทบทางรังสีมีอาการทางประสาทเพิ่มขึ้น เนื่องจากความหวาดกลัวอันตราย แม้ในระยะหลังจะได้รับการฟื้นฟูดูแลให้หมดความวิตกกังวลบ้างแล้วก็ตาม

ส่วนในเหตุการณ์ความรุนแรงระดับ 6 เคยเกิดขึ้นแล้วที่โรงงานสกัดเชื้อเพลิงที่มายัค ในสหภาพโซเวียต (ปัจจุบันอยู่ในประเทศรัสเซีย) เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2500 โดยเกิดจากระบบหล่อเย็นในถังเก็บกากนิวเคลียร์นับหมื่นตันทำงานผิดพลาด ทำให้เกิดระเบิดที่มีความรุนแรงเทียบเท่ากับการระเบิดของระเบิดทีเอ็นทีจำนวน 75 ตัน และส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 200 คน จากการถูกกัมมันตภาพรังสี และอีกกว่าหมื่นคนต้องอพยพจากบ้าน ขณะที่อีก 450,000 คนไม่มีที่กำบังกัมมันตภาพรังสี

การระเบิดครั้งนี้ทำให้ประชาชนในรัสเซียเกิดความวิตกกังวลจากโรคที่เกิดจากกัมมันตภาพรังสีที่ตนไม่เคยพบมาก่อน และจนถึงปัจจุบันรัฐบาลรัสเซียยังประกาศให้ประชาชนที่มีความจำเป็นในการเดินทางผ่านบริเวณนี้ ต้องปิดกระจกให้มิดชิดและห้ามลงจากรถเด็ดขาดไม่ว่าจะในกรณีใด

ส่วนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าหลังเหตุการณ์เกิดขึ้นได้มีฝนตกลงมาทำให้ทะเลสาบและแม่น้ำทีช่าปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี อีกทั้งยังส่งผลให้ลมที่พัดเอาฝุ่นที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีจากก้นทะเลสาบคาราเชย์ไปตกที่เมืองโอเซิร์กอีกทอดหนึ่งด้วย

ด้านความรุนแรงระดับ 5 ได้เกิดขึ้นที่ โรงไฟฟ้าทรีไมล์ ไอซ์แลนด์ ที่ตั้งอยู่ในรัฐ เพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2522 โดยมีสาเหตุจากขาดน้ำหล่อเย็นในแกนเครื่องปฏิกรณ์ ทำให้เชื้อเพลิงหลอมละลาย มีรังสีรั่วไหลออกจากอาคารคลุมปฏิกรณ์สู่ภายนอก แม้รังสีที่รั่วออกมาจะมีปริมาณเล็กน้อยแต่ยังนับว่าเป็นอุบัติเหตุในอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์สหรัฐที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะไม่มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บใดๆ แต่เหตุการณ์นี้ก็ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์อยู่ไม่น้อย

ส่วนเหตุการณ์ความรุนแรงระดับที่ 4 ได้เกิดขึ้นที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แซง-โรรอง ในฝรั่งเศส เมื่อปี 2523 ซึ่งต่อมาบริษัทเจ้าของโรงงานได้ออกเปิดเผยถึงสาเหตุว่า เกิดจากความผิดปกติที่แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องที่ 2 ที่มีรอยแตกรอบอุปกรณ์ fuel charges แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้ปล่อยสารรังสีปริมาณเล็กน้อย และไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงมากนัก มีเพียงแต่ผลจากความเสียหายของแกนปฏิกรณ์บางส่วนที่จะกระทบต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานอย่างเฉียบพลัน

ขณะที่ความรุนแรงระดับที่ 3 ที่เกิดขึ้นในโรงงานสกัดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ธอร์ปในอังกฤษ เมื่อวันที่ 9 พ.ค.2548 แม้จะเป็นความรุนแรงในระดับที่มีการปล่อยสารรังสีปริมาณน้อยมาก และประชาชนได้รับรังสีต่ำกว่าปริมาณที่กำหนด ส่วนผู้ปฏิบัติงานกลับได้รับรังสีเกินปริมาณกำหนด

อีกทั้งจากการตรวจสอบภายหลังยังพบข้อมูลเพิ่มเติมระบุว่า มีการรั่วของกัมมันตภาพรังสีกว่า 83,000 ลิตรในถังเก็บจากกล้องวงจรปิด ซึ่งรั่วออกมาตั้งแต่กลางเดือน เม.ย.ในปีเดียวกัน และแม้ว่าจะไม่มีการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพ รังสีไปสู่สิ่งแวดล้อมและไม่มีผู้เสียชีวิต แต่บริษัทบริติชนิวเคลียร์ กรุ๊ป ผู้เป็นเจ้าของโรงงานก็ถูกปรับเป็นเงินกว่า 500,000 ปอนด์

ส่วนเหตุการณ์ความรุนแรงระดับ 2 เกิดขึ้น ในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟอร์สมาร์ค ประเทศสวีเดน เมื่อ 25 กรกฎาคม 2549 เนื่องจาก เกิดความผิดพลาดในระบบกระแสไฟฟ้าของ เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่งโชคดีที่ยังสามารถป้องกันความเสียหายไว้ได้ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจทำให้มีการปนเปื้อนของสารกัมมันตภาพรังสีได้ด้วยเช่นกัน

จนมาถึงเหตุการณ์ของความรุนแรงระดับที่ 1 ได้เกิดขึ้นกับบริษัทอิเล็กทริซิเต้ เดอ ฟรองซ์ ในฝรั่งเศส ตามที่กล่าวไปแล้ว

ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
http://www.marinerthai.com/forum/index.php?topic=724.0


------------------------------------------------------
FfF