บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


25 เมษายน 2552

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง การกระจายหุ้น ปตท. >>>

มีการกล่าวหาเรื่องการกระจายหุ้น ปตท.
ราวกับว่ามีนักการเมืองมาถือหุ้นใหญ่ปตท.
หรือได้ประโยชน์มากมาย
อันที่จริงเมื่อเวลาผ่านไป
คนลืมหรือไม่ได้ติดตามตั้งแต่ตอนนั้น
อาจถูกบิดเบือนกันได้
จึงต้องรวบรวมข้อมูลมาบันทึกไว้อีกครั้ง

----------------------------------------------

รายงานพิเศษ
มายาคติคนไทยกรณี ปตท.
อภิสิทธิ์นักการเมืองจองหุ้น ปตท.
คำร่ำลือที่เกินจริง ที่ถูกเชื่อง่าย.........

บท ความชิ้นนี้ ปรับปรุงขึ้นจากข้อเขียนส่วนหนึ่งในหนังสือ “ปตท. ไม่อยากตาย ก็ต้องโต: ทางสามแพร่งของบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทย” โดย วิษณุ โชลิตกุล เพื่อชี้ให้เห็นแง่มุมบางประการกับคำกล่าวหาในเรื่องการแปรรูปปตท.จากรัฐ วิสาหกิจ มาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งศาลปกครองสูงสุดจะตัดสินในวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคมนี้ ..........

ใน ความสำเร็จอย่างล้นหลามที่ใช้เวลาในการจองหุ้นเพียงแค่ 77 วินาทีในการขายหุ้นจองปตท.ปลายปี 2544 ซึ่งคนในวงการรัฐบาลและตลาดหลักทรัพย์ไทยโหมประโคมกัน ได้กลายเป็นภาพตรงกันข้ามขึ้นมาทันที หลังจากที่ปรากฏรายชื่อนักลงทุนรายย่อยที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)นำมาเปิดเผยเมื่อเวลาผ่านไป

ปรากฎว่า ในรายชื่อระดับหัวแถวของนักลงทุนที่ได้รับหุ้นจองเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่เป็นรายชื่อผู้ใกล้ชิดนักการเมืองซีกรัฐบาลได้รับการจัดสรรหุ้น จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น นายทวีฉัตร จุฬางผมร หลานชายนายสุริยะ รุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้กำกับดูแลปตท.(ในขณะนั้น) ได้หุ้นไป 2.1 ล้านหุ้น

นายประยุทธ มหากิจสิริ รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย(ในขณะนั้น)และเครือญาติ ที่ได้หุ้นปตท.รวมกันถึง 5.1 ล้านหุ้น

คน ตระกูลดังรับอานิสงส์ทั่วหน้า นอกจากนี้หากพิจารณารายชื่อนักลงทุนรายย่อยที่ได้รับการจัดสรรหุ้นปตท.กว่า 1 หมื่นคนในขณะนั้นจะพบว่ามีกลุ่มบุคคลที่มีนามสกุลเดียวกันได้รับการจัดสรร หุ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มบุคคลที่มีชื่อเสียงและตระกูลดังในสังคมทั้งสิ้น เช่น จิราธิวัตน์ ได้หุ้นรวมกัน 9 แสนหุ้น ตรีทองได้หุ้นรวมกัน 3 แสนหุ้น ตระกูลนำศิริกุล ได้หุ้นรวมกัน 5 แสนหุ้น ลีนะบรรจง ได้หุ้นรวมกัน 4 แสนหุ้น ไม่เพียงเท่านั้นยังมีนักการเมืองและบุคคลใกล้ชิดนักการเมืองทั้งซีกรัฐบาล และฝ่ายค้านอีกหลายสิบคนที่ได้รับการจัดสรรหุ้นปตท.ในครั้งนั้นอย่างทั่ว ถึง เช่น นายบุญชู ตรีทอง,นางนกน้อย นิมมานเหมินท์ (ภรรยาของนายธารินทร์ อดีตรมว.คลัง) ,นายเกษม รุ่งธนะเกียรติ , นายนิสสัย เวชชาชีวะ,นายกันตธีร์ ศุภมงคล,นายอานันท์ ปันยารชุน และ นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นต้น (ดูรายละเอียดบางส่วนของรายชื่อนักลงทุนในตารางประกอบ)

ข้อ เท็จจริงที่ปรากฎว่า ยอดรวมจำนวนหุ้นที่คนเหล่านี้ได้รับไปผ่านการจองซื้อ มี 25.56 ล้านหุ้น เมื่อคิดจากจำนวนหุ้นที่แบ่งให้กับนักลงทุนรายย่อย 480 ล้านหุ้น จะมีสัดส่วนเท่ากับ 5.3% ของจำนวนหุ้นที่แบ่งให้นักลงทุนรายย่อย และหากเทียมกับจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายรวม 800 ล้านหุ้น จะมีสัดส่วนเพียง 3.1% เมื่อนำไป เทียบกับจำนวนหุ้นรวมหลังเพิ่มทุนของปตท. จำนวน 2,800 ล้านหุ้น หุ้นดังกล่าวจะมีสัดส่วนเพียงแค่ 0.09% เท่านั้น

สัดส่วน ของกลุ่มคนที่ระบุมา จึงไม่มีนัยสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงข้อกล่าวหาในเวลาต่อมาว่าใช้อภิสิทธิ์ แสวงหาลาภอันมิควรได้ แต่รายชื่อดังกล่าว ก็เป็นเชื้อไฟที่ดีสำหรับการกล่าวหาในลักษณะสาดโคลนทางการเมืองได้ง่ายที่ สุด โดยเฉพาะสังคมที่มีความรู้สึกเปราะบางกับพฤติกรรมคอรัปชั่นของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ

รายชื่อของคนเหล่านี้ ถูกนำไปขยายความในลักษณะ tall tales (เรื่องเล่าที่เกินจริง) ในทันทีโดยนักวิชาการ กลุ่มต่อต้านการปฏิรูป และกลุ่มนักฉวยโอกาสทางการเมือง ผ่านสื่อมวลชนต่างๆ เพื่อระบุถึงความไม่ชอบมาพากลของการขายหุ้นจองของ ปตท. ในปลายปี พ.ศ.2544 โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อน การคอรัปชั่นทางนโยบาย และ การใช้อภิสิทธิ์แสวงค่าเช่าส่วนเกินทางเศรษฐกิจ

ใน การเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้น ก.ล.ต. ได้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า ไม่ถือเป็นความผิดปกติ การที่นายทวีฉัตรได้รับการจัดสรรหุ้นสูงสุด 2.2 ล้านหุ้น เพราะรับจัดสรรในรูปการจองผ่านธนาคารพาณิชย์ 1 แสนหุ้น ในฐานะลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ และเป็นหุ้นในส่วนของผู้มีอุปการคุณของ ปตท. อีก 2.1 ล้านหุ้น

ส่วนรายของนายประยุทธ และนางสุวิมล มหากิจศิริ นั้น กลต. ก็ได้ชี้แจงว่า นายประยุทธได้ซื้อผ่านธนาคาร 1 แสนหุ้น และได้รับการจัดสรรผ่านบริษัทหลักทรัพย์และในฐานะผู้มีอุปการคุณอีก 1.96 ล้านหุ้น ส่วนของนางสุวิมลก็ซื้อผ่านธนาคาร 1.1 ล้านหุ้น และจัดสรรผ่านตลาดหลักทรัพย์และในฐานะผู้มีอุปการคุณอีก 4.46 แสนหุ้น ซึ่ง ก.ล.ต. ถือว่าถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทุกประการ ฯ

ในช่วงที่ ราคาหุ้นของปตท.ที่ซื้อขายในตลาด แสดงอาการหลุดจอง ข้อกล่าวหาดังกล่าว ดูมีน้ำหนักต่ำและไม่น่าเชื่อถือ แต่เมื่อราคาหุ้นกลับทะยานขึ้นมาในระดับที่สูงขึ้นเหนือ 50 บาท ในเวลาต่อมา ก็เข้าทางของกลุ่มต่อต้านการแปรรูป และสื่อบางแห่งที่สามารถใช้จินตนาการทางลบ สร้างเรื่องให้ใหญ่เกินจริงขึ้นมา โดยพยายามคำนวณว่า หากคนเหล่านี้ ยังคงถือหุ้นเอาไว้ จนถึงตอนที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นมาในระดับที่”ได้กำไร”แล้ว จะได้กำไรเท่าใด

ตัวอย่างเช่นสื่อหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์แหน่งหนึ่ง คำนวณกันง่ายๆเลยว่า หากคนเหล่านี้ถือหุ้นทั้งหมดที่ได้รับมา จนถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2546 (หลังจากหุ้นปตท. เข้าซี้อขายในตลาดแล้ว 19 เดือน) ซึ่งราคาปิดของหุ้น อยู่ที่ 66 บาท นายทวีฉัตรจะมีกำไรจากราคาหุ้นเมื่อหักลบต้นทุนในช่วงที่ซื้อครั้งแรกถึง 95 ล้านบาทเลยทีเดียว นายประยุทธ มหากิจสิริและเครือญาติ จะมีกำไรถึง 158 ล้านบาท ตระกูลจิราธิวัตน์ จะมีกำไรถึง 27.9 ล้านบาท ตระกูลตรีทอง จะมีกำไรถึง 9.3 ล้านบาท ตระกูลนำศิริกุล จะมีกำไรถึง 15.5 ล้านบาท ตระกูล ลีนะบรรจง จะมีกำไรถึง 12.4 ล้านบาท

จินตนาการที่เพริดแพร้วดังกล่าว แม้จะไม่มีข้อพิสูจน์เลยว่า รู้ได้อย่างไรว่า คนเหล่านี้ถือหุ้นเอาไว้? หรือขายหุ้นทิ้งไปแล้ว? (เนื่องจากคนเหล่านี้ ไม่ปรากฏรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 20 อันดับแรก ซึ่งยากที่บุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.จะตรวจสอบได้เลย เว้นแต่โดยคำสั่งศาล) แต่ก็มีส่วนเร้าอารมณ์เพื่อปลูกฝังทัศนคติต่อต้านการแปรรูปได้อย่างง่ายดาย ในเวลาต่อมา

นิทานจอมปลอมดังกล่าว ต่อมาถูกขยายใหญ่โตมากขึ้นไปอีกว่า สาเหตุที่นักการเมืองและเครือญาติ ตลอดจนคนใกล้ชิดผู้มีอำนาจในการจัดสรรหุ้นปตท.ในครั้งนั้น ส่วนใหญ่ยังคงถือหุ้นไว้เป็นจำนวนมากเป็นเวลายาวนาน เพราะได้หุ้นมาในราคาพาร์ 10 บาท ไม่ใช้ราคาจองซื้อ 35 บาท ตามที่เข้าใจกัน

ไม่ เพียงเท่านั้น นักต่อต้านการแปรรูปบางคน โดยเฉพาะคนที่ถือว่า น่าจะมีความรู้เรื่องตลาดทุนได้ดี อย่าง นายวุฒิพงศ์ เพียบจริยวัฒน์ ซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจัดอับดับความน่าเชื่อถือบริษัทแรกของไทย (ทริส เรตติ้ง (ประเทศไทย)จำกัด)มาก่อน ก็กลับใช้วิธีการเบี่ยงเบนอย่างน่าประหลาดในการกล่าวหาว่า หุ้นปตท.ก็เหมือนหุ้นพลังงานอื่น กำลังถูกต่างชาติครองงำหลังแปรรูป เพราะดูเมื่อรายชื่ออันดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 20 อันดับ แรกตามทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ไทย ล้วนปรากฏชื่อของบริษัทต่างชาติที่ซ้ำซ้อนกัน

ข้อมูลที่เหมาเชื่อ เอาเองอย่างนี้ สำหรับคนที่คุ้นเคยกับตลาดหุ้น ย่อมรู้ดีว่า รายชื่อของบริษัทต่างชาติเหล่านี้ ซึ่งมักจะลงท้ายด้วยคำ nominee ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ถือหุ้นแทนนักลงทุนอื่นๆ(ทั้งที่เป็นคนไทยหรือต่างชาติ )ที่ไม่ต้องการระบุชื่อของตนเองด้วยเหตุผลต่างๆกัน เพื่อเหตุผลในการเก็งกำไรมากกว่าเพื่อถือหุ้นระยะยาวโดยมีเป้าหมายในเชิง มุ่งเป็นกรรมการ หรือ มุ่งยึกอำนาจบริหาร ไม่ใช่ต่างชาติจริงเป็นผู้ถือหุ้น เรื่องเล่าเกินจริงประสบความสำเร็จ ได้ถูกขยายความเพิ่มเติมโดยนักการเมืองฝ่ายค้าน ได้ถือโอกาสนำเรื่องนี้ไปอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณในกลางปี 2546 โดยเฉพาะนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ซึ่งนายสุริยะก็ได้ตอบตีในรัฐสภาไปว่า “...เรื่องหลานของผม ทวีฉัตร จุฬางผมร ไม่ใช่เพิ่งมาซื้อหุ้นตอน ปตท…. ถ้าไปดูประวัติเวลาหุ้นบริษัทใหม่ๆ ที่ออก IPO ทาง กลต. จะมีประกาศรายชื่อ 20 อันดับแรกว่าใครไปซื้อบ้าง หลานผมติดอันดับ 5 อันดับ 6 อันดับ 7 ติดอยู่เรื่อย เพราะฉะนั้นคือ เค้ามีการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อยู่ตลอด และท่านทราบไหมครับ วันที่ท่านอภิปรายฯ ผม ถ้าผมจำไม่ผิด วันที่ 23 พ.ค. 2545 วันที่ท่านบอกว่าไปเอื้อให้หลาน วันนั้นหุ้น ปตท.ราคา 33.50 บาท ต่ำไปกว่าราคาจอง 1.50 บาท ซึ่งวันนั้นหลานผม ก็ขาดทุนไปแล้ว 3 ล้านกว่าบาท รมต.กระจอกจริงๆ จะช่วยหลานทั้งทีทำให้หลานขาดทุน …?

คำ ตอบโต้ดังกล่าว ไม่ได้มีผลให้เรื่องเล่าลือเกินจริงเงียบหายไป เพราะยังมีการนำมาเล่าซ้ำกันอีกหลายๆครั้งไม่รู้จบ จนถึงปัจจุบัน เมื่อตอกย้ำความไม่ชอบมาพากลในการแปรรูปให้ได้ แถมยังมีคนเจตนาที่จะยินยอมเชื่อโดยไม่ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงอยู่ส่วน หนึ่ง ด้วยจนถึงทุกวันนี้ ข้อกล่าวหานี้ยังไม่หมดไปจากความเชื่อของคนบางกลุ่ม ซึ่งอาศัย ฎการวกกลับของจิตวิทยาฝูงชน”ที่ต่อต้านรัฐบาลทักษิณเป็นตัวแปร สำคัญในการ สร้างภาพความฉ้อฉลในการแปรรูป ปตท. ทั้งที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ชัดเจนว่า มีจริงหรือไม่

ในขณะที่คนเหล่านี้ ไม่ยอมแม้จะพูดถึง การขายรัฐวิสาหกิจที่ล้มเหลวของรัฐบาลเดียวกัน ในกรณี NFC (ชื่อเดิม หรือ ปุ๋ยแห่งชาติ) และ บางจากฯ ในลักษณะ”ขายทิ้งสมบัติชาติ” ที่รุนแรงกว่า ปตท.หลายเท่าแม้แต่น้อย

......................ล้อมกรอบ

ข้อเท็จจริงอย่างย่อ

ก่อน เข้าตลาดหุ้นปลายปี 2544 ภายหลังจากการแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนละปรับโครงสร้างหนี้รวมทั้งตัดขาดทุน สะสมที่เคยมีอยู่มากก่อนหน้านั้น ปตท. มีหนี้สินทั้งสิ้น 224,494 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้น 40,425 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่ระดับ 4.6 เท่า โดยมีมูลค่าหุ้นทางบัญชี หรือ book value ที่หุ้นละ 14.78 บาท โดยมีการกระจายหุ้นใหม่ให้กับประชาชนทั่วไป 850 ล้านหุ้นในราคาวางแผนไว้หุ้นละ 35 บาท ช่วงแรกที่เสนอขาย เป็นจังหวะไม่ดี เพราเพิ่งเกิดวิกฤตการเมืองโลกหลังจากวันที่ 11 กันยายน 2544 มาไม่นาน กองทุนต่างประเทศได้รวมตัวกันกดราคารับซื้อเหลือเพียงหุ้นละ 31 บาทอ้างว่า ราคาแพงเกินไปทำให้ปตท.ปรับแผนมากระจายหุ้นที่จะขายต่างชาติมารวมกับที่จะ ขายให้คนไทยในประเทศเป็น 600 ล้านหุ้น ซึ่งปรากฏว่า มีคนจองล้นหลามในการเปิดขายครั้งแรก 220 ล้านหุ้น ใช้เวลาเพียงแค่ 1.17 นาทีเท่านั้นก็หมดเกลี้ยง ต้องทำการเปิดใหม่โดยปรับปรุงวิธีการเดิมให้ดีขึ้น ท้ายสุดจึงขายหุ้นได้ทั้งหมดในราคา 35 บาทต่อหุ้นสำเร็จ ซึ่งในขณะนั้น ก็ยังมีบทวิเคราะห์ว่า ราคาหุ้นแพงเกินไปวันนี้ มูลค่าทางบัญชีของหุ้นปตท. อยู่ที่ 114.53 บาทต่อหุ้น ในขณะที่ราคาซื้อขายในกระดาอยู่ที่ระดับ 350 บาทต่อหุ้น ก็ยังมีคนเชื่อว่า การขายหุ้นเพื่อแปรรูปครั้งนั้นเป็นการขายชาติ และเป็นการฉ้อฉล ทั้งที่โดยข้อเท็จจริง กระทรวงการคลัง ไม่เคยขายหุ้น ปตท.ออกมาแม้แต่หุ้นเดียวนับแต่ปี 2544 เป็นต้นมา..................................
วันที่ 13 ธ.ค. 2550 แสดงข่าวมาแล้ว 215วัน 5ช.ม.

ที่มา
http://www.kaohoon.com/pg.news...aspx?cid=10922&PageIndex=1


------------------------------------------------

หุ้นปตท.ตอบรับกระแสการลงทุน จองซื้อผ่านสาขาธนาคารตัวแทนจำหน่ายกว่า 2,500 สาขาหมดอย่างรวดเร็ว
ธนาคารไทยพาณิชย์
www.ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2001 14:03:15 น.

กรุงเทพฯ--16 พ.ย.--ธ.ไทยพาณิชย์
ตามที่บมจ.ได้เสนอขายหุ้นมสามัญจำนวน 800 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นเพิ่มทุน 750 ล้านหุ้น และหุ้นเดิมของกระทรวงการคลัง 50 ล้านหุ้นโดยขายให้กับนักลงทุนในประเทศ

60% และนักลงทุนต่างประเทศ 40% ซึ่งได้เปิดให้มีการเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป 220 ล้านหุ้นในวันที่ 15-16 และ 19-20 พฤศจิกายน นี้ ที่ทุกสาขาทั่วประเทศของ

ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา
โดยเมื่อวานนี้ (15 พ.ย.) ซึ่งเป็นวันแรกของการเปิดจองซื้อหุ้น ปตท. นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมด้วยนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ รองกรรมการผู้

จัดการใหญ่กลุ่มธรุกิจก๊าซธรรมชาติ บมจ. ปตท. ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัยประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) คุณชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการ

ใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ผู้แทนกลุ่มธนาคารตัวแทนจำหน่ายอีก 4 ธนาคาร และที่ปรึกษาทางการเงิน ได้เข้าร่วมชม "การเปิดระบบการจองซื้อหุ้น ปตท. ผ่าน

ระบบ online ธนาคารไทยพาณิชย์" ณ ห้องไทยพาณิชย์ 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ซึ่งผลปรากฎว่า ประชาชนและนักลงทุนรายย่อยได้ให้ความสนใจจองซื้ออย่างล้น

หลามผ่าน สาขาของ ทั้ง 5 ธนาคาร ซึ่งมีรวมกันกว่า 2,500 แห่งทั่วประเทศ โดยในส่วนของการจองหุ้น จำนวน 220 ล้านหุ้นนั้น ประชาชนและนักลงทุนรายย่อยให้ความสนใจ

จองหุ้นหมดภายในเวลาเพียง 1.25 นาที และสำหรับจำนวนหุ้น 340 ล้านหุ้น ซึ่งรวมในส่วนสำรองอีก 120 ล้านหุ้นนั้น หมดภายในระยะเวลา 4.4 นาที
โดยการเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนและนักลงทุนรายย่อยในครั้งนี้ ได้มีการเสนอขายผ่านกลุ่มธนาคารที่เป็นตัวแทนทั้ง 5 ธนาคาร เพื่อให้มีการกระจายหุ้นสู่รายย่อย

มากที่สุดตรงตามประสงค์ของบมจ. ปตท. และภาครัฐที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้ร่วมเป็นเจ้าของ ปตท. มากที่สุดซึ่งเป็นนโยบายหลักของการแปรรูปปตท.โดย ได้เปิดให้มีการ

เสนอ ขายแก่ประชาชนทั่วไปและนักลงทุนรายย่อยในวันนี้เป็นวัน แรก ซึ่งกลุ่มธนาคารที่เป็นตัวแทนจำหน่ายทั้ง 5 ธนาคารได้เปิดให้จองได้ในเวลา 9.30 น. อย่างพร้อมเพรียงกัน

โดยผ่านการจองดัวยระบบการของแบบ Online ที่มีธนาคารไทยพาณิชย์เป็น ศูนย์เชื่อมต่อธนาคารตัวแทนจำหน่ายอื่นๆ เข้าสู่ระบบกลางการจองซื้อ ซึ่งรูปแบบเชื่อมต่อระบบจาก

ทุกธนาคารที่ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายนั้น เป็นไปตามรูปแบบตามที่แต่ละธนาคารตกลงเป็นผู้เลือกใช้ โดยระบบการจองซื้อหุ้นสามัญของปตท.ในครั้งนี้นั้น ได้ใช้ระบบการจอง

ก่อน ได้ก่อน ผ่านระบบกลางการจองซื้อ ซึ่งเป็นระบบการจองซื้อเดียวกันกับที่ธนาคารไทยพาณิชย์ใช้ในการจองซื้อหุ้น สามัญของบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง และหุ้นกู้ของบมจ.

เยื่อกระดาษสยาม ที่ผ่านมา
นายสมชาย สัญญลักษณ์ศิริ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายธุรกิจตลาดทุนได้ให้สัมภาษณ์ว่า ยอดการซื้อหุ้นทั้งหมดจากกลุ่มธนาคารที่เป็นตัวแทนจำหน่ายจากทั้ง 5 ธนาคารนั้น มี

จำนวนรายการทั้งหมด 12,505 รายการ คิดเป็นจำนวนหุ้นประมาณ 363 ล้านหุ้น และคิดเป็นจำนวนเงินทั้งหมดประมาณ 12,693 ล้านบาท โดยมีการกระจายหุ้นในช่วงหุ้นของ

การจองซื้อ ดังนี้
ช่วงจำนวนหุ้น สัดส่วนของจำนวนรายการ
1,000-5,000 หุ้น 35%
5,001-10,000 หุ้น 20%
10,001-30,000 หุ้น 18%
30,001-60,000 หุ้น 9%
60,001-100,000 หุ้น 18%
เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของจำนวนรายการในแต่ละช่วงจำนวน หุ้นดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเป็นการกระจายสู่รายย่อยที่มีการจองหุ้นไม่เกิน 10,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนถึง 55%

ซึ่งนับได้ว่าประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของ ปตท. ที่ต้องการกระจายหุ้นสู่ประชาชนชาวไทยที่เป็นรายย่อยมากที่สุดทั่วทุกภาคของ ประเทศ โดยรายละเอียดของจำนวน

รายการจองซื้อหุ้นที่กระจายตามภาคต่างๆ ในส่วนเฉพาะของธนาคารไทยพาณิชย์นั้น มีดังนี้
ภาค จำนวนรายการ
(รายการ)
กรุงเทพ-ปริมณฑล 2,776
ภาคกลาง 601
ภาคตะวันออก 298
ภาคอีสาน 351
ภาคเหนือ 289
ภาคใต้ 296
สำหรับผลการจองซื้อของผู้ที่อยู่ในส่วนของการสำรองนั้น ผู้จองซื้อสามารถติดต่อรับทราบผลการจัดสรรได้ที่แต่ละสาขาซึ่งเป็นหน่วยงาน ขายของแต่ละธนาคารที่ท่านได้

ติดต่อขอจองซื้อไว้ โดยจะทราบผลประมาณวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้และสำหรับกรณีของผู้จองซื้อรายย่อยที่ไม่ได้รับการจัดสรรนั้น จะได้รับการคืนเงินค่าจองซื้อหุ้นภายในระยะเวลา

14 วันนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการจองซื้อ
อนึ่ง บมจ.ปตท. มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั้วไปใน ครั้งนี้ไปใช้เพื่อการลงทุนในโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

(Transmission) ตามแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2545-2553 และเพื่อชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนดประมาณ 12,000 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้าง

เงิน ทุนของบมจ. ปตท.ให้มีความเหมาะสม ทั้งนี้การจำหน่ายหุ้นดังกล่าว นอกจากจะเป็นการสร้างเสถียรภาพในการบริหารงานให้กับ ปตท. ในอนาคตแล้ว ยังมีส่วนเพิ่ม

เสถียรภาพของสถานะราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ให้มั่นคงเข้มแข็งได้อีกด้วย--จบ--

---------------------------------------------------

กะเทาะเกณฑ์กระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจใหม่ อย่าเพ้อฝันกำไรบานเบิก!

ยัง คงเป็นประเด็นคุกรุ่นไม่สิ้นสุด สำหรับการชุมนุมคัดค้านการ แปรรูป รัฐวิสาหกิจของพนักงาน การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) ต่อกรณีการแปรรูปกฟผ. ด้วยการ

นำกิจการ เข้าระดมทุนจดทะเบียน ในตลาด หลักทรัพย์ตามรอย รัฐวิสาหกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) PTT บริษัท ท่าอากาศยาน แห่งประเทศไทย จำกัด (

มหาชน) AOT บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) EGCOMP หรือบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) THAI

แม้ กระทรวงการคลัง และรัฐบาลจะโอนอ่อนผ่อน ตามกระแสเรียกร้องของพนักงานรัฐวิสาหกิจ แล้ว ด้วยการรื้อหลักเกณฑ์การแปรรูปและกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจใหม่ที่รัฐยังคงต้อง

ถือหุ้น ใหญ่ไม่น้อยกว่า 50% ของทุนจดทะเบียนภายหลังการแปรรูปแล้ว โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ ที่ประกอบกิจการด้านไฟฟ้า

และ ประปาด้วยแล้ว รัฐจะยังคงถือหุ้นไม่น้อยกว่า 75% ของทุนจดทะเบียน รวมทั้งกำหนด หลักเกณฑ์เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มบุคคลหนึ่ง บุคคลใดหรือต่างชาติเข้ามาถือหุ้นใหญ่ ใน

รัฐวิสาหกิจที่ได้แปรรูป ไปแล้ว อันเป็นหลักประกันที่ว่าภายหลังการแปรรูปและกระจายหุ้น รัฐวิสาหกิจนับจากนี้ ผลประโยชน์จะตกไปถึงมือประชาชน และนักลงทุน รายย่อยอย่าง

แท้จริง

แต่ภายใต้หลักเกณฑ์การแปรรูปดังกล่าว กำลังสร้างเป็นข้อกังขาให้กับ หลายฝ่ายว่า จะทำให้เส้นทางการแปรรูปและกระจายหุ้นเป็นไปตามเป้าหมาย ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ การ

บริหารงานเหมือนภาคเอกชน เพื่อให้ประชาชน ได้รับบริการที่ดีขึ้น และลดภาระของรัฐบาล รวมทั้งสร้างความโปร่งใสและ การตรวจสอบที่มีระบบ มีการเปิดเผยข้อมูลต่อ

สาธารณชน นอกเหนือจากการ ส่งเสริมและพัฒนาตลาดทุนหรือไม่

หรือ จะทำให้รัฐวิสาหกิจเหล่านี้เป็นแค่ “หุ้นไม้ประดับ” ที่จะกลับกลายมา เป็นหอกข้างแคร่ ให้เส้นทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคตอันใกล้ต้องถูก “ปิดประตูลั่นดาล” หนทาง

เกิดหรือไม่

เกณฑ์แปรรูป-กระจายหุ้นใหม่

http://www.thairath.co.th/thairath1/2547/scoop/economic/apr/12/images/s_eco2.jpg

เกณฑ์ การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ที่กระทรวงการคลัง นำเสนอขอ ความเห็นชอบ ต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อ 7 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐาน ในการ นำรัฐวิสาหกิจเข้า จด

ทะเบียน ในตลาด หลักทรัพย์นั้น เมื่อนำรัฐวิสาหกิจ เข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว รัฐบาลจะยังคงถือหุ้น ข้างมากไม่น้อยกว่า 50% ของทุนจดทะเบียน และสำหรับ รัฐ

วิสาหกิจที่ประกอบ กิจการด้านไฟฟ้า และน้ำประปา รัฐจะยังคงถือหุ้นไม่น้อยกว่า 75% ของทุนจดทะเบียน

ขณะ เดียวกันได้กำหนดหลักเกณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือ ต่างประเทศจะถือหุ้นเกินกว่า 5% ของทุนจดทะเบียนไม่ได้ เว้นแต่กรณีที่ผู้ถือหุ้นเป็นส่วนราชการรัฐวิสาหกิจตาม

กฎหมาย ว่าด้วยวิธีงบประมาณ กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติ ครม. และนักลงทุนต่างประเทศ จะถือหุ้นรวมกันเกินกว่า 25% ของทุนจดทะเบียนของบริษัทไม่ได้

ที่สำคัญยังกำหนดเกณฑ์จัดสรรหุ้นให้ แก่ประชาชนทั่วไป โดยวิธีการจัดสรรแบบขั้นบันได และให้โอกาสกับผู้จองซื้อหุ้นจำนวนน้อยได้รับการจัดสรรก่อน (ดังตาราง) โดยไม่มีการ

จัดสรร หุ้นให้ผู้มีอุปการคุณ นักการเมือง และลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์เป็นกรณีพิเศษ

ขณะ ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจนั้น นอกจากจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจำนวน 8 เท่าของ เงินเดือนแล้ว รัฐและกระทรวงการคลังยังเพิ่มทางเลือกให้แก่พนักงานในการซื้อหุ้นด้วยการ

จัดจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ถ้าไม่ต้องการจ่ายรัฐก็ยังจะจ่ายแทนให้อีกด้วย

ทั้ง นี้ รัฐวิสาหกิจที่จ่อคิวจะต้องดำเนินการกระจายหุ้นตามหลักเกณฑ์ใหม่ในช่วงปี 2547-49 นั้น มีทั้งสิ้น 12 ตัว ซึ่งนอกเหนือจากบริษัท AOT ที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว ยังมี

การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่, การไฟฟ้านครหลวง, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น, บริษัท กสท โทรคมนาคม, องค์การสื่อสารมวลชนแห่ง

ประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.), ที่มีแผนจะดำเนินการในปี 2547-48 ขณะที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การประปา นครหลวง (กปน.), การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.), การท่าเรือ

แห่ง ประเทศไทย, การทางพิเศษ แห่งประเทศไทยและองค์การเภสัชกรรมนั้น มีแผนที่จะกระจายหุ้นและนำกิจการ เข้าจดทะเบียนระดมทุนในช่วงปี 2548-49

แน่ นอน! เกณฑ์การแปลงสภาพ และกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจใหม่ที่จะดำเนินการ จากนี้ไปจะ เป็นไปตามกระแส เรียกร้องของสหภาพรัฐวิสาหกิจ และอาจจะสอดรับกับแนวนโยบาย

ของรัฐบาล ที่

คาดหวังเอาไว้สูงยิ่งว่าจะทำให้หุ้นรัฐวิสาหกิจเหล่านี้สร้างความคึกคักให้กับนักลงทุน สร้างมาร์เก็ตแค็ป ให้กับตลาดได้

แต่ความคาดหวังดังกล่าว อาจเป็นสิ่งเพ้อฝัน หากนักลงทุนเหล่านี้ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการลงทุนในตลาดทุนที่ดีพอ!

โบรกเกอร์หวั่นอนาคต “ไม้ประดับ”

http://www.thairath.co.th/thairath1/2547/scoop/economic/apr/12/images/s_eco3.jpg

แม้ ในอดีต จะไม่เคยมีการกำหนดเกณฑ์ บังคับ ให้ต้องกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจ ให้ประชาชน และนักลงทุนทั่วไป แต่จากนโยบายของรัฐบาลทุก สมัยที่ ต้องการแปรรูปและขายหุ้น

ให้กับ ประชาชนเพื่อ ให้มีส่วนได้เป็นเจ้าของ รัฐวิสาหกิจนั้น ทำให้ในการกระจายหุ้น ไอพีโอ ของทุกรัฐวิสาหกิจที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น บริษัทการบินไทย, บริษัท ปตท., บริษัท โรง

ไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (มหาชน) และบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT จึงมีการเปิด ให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อ ผ่านสาขาของธนาคารทั่วประเทศ โดยมีการกัน

หุ้นส่วนนี้ไว้ จัดสรรให้ประชาชนประมาณ 30% ของจำนวนหุ้นที่จัดสรรให้ นักลงทุนในประเทศ

แต่ หลายต่อหลายกรณีของการลงทุนในหุ้นรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ นักลงทุนรายย่อยและประชาชน ทั่วไปที่ไม่มีความรู้ ขาดข้อมูลข่าวสารการลงทุนต่างต้อง “เจ็บตัว” และเข็ดขยาดกัน

มานัก ต่อนักแล้ว ที่เห็นได้ชัดก็คือการกระจายหุ้นของบริษัทการบินไทย ที่เปิดขายให้ประชาชน ในราคา 60 บาท เมื่อ 12 ปีก่อน โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อขั้นต่ำ 200-500

หุ้น โดยมีการกระจายให้แก่รายย่อยกว่า 200,000 รายนั้น ปรากฏว่าหลังจากหุ้นการบินไทย เข้าทำการซื้อขายในตลาด ปรากฏว่าราคาหุ้นที่ทำการซื้อขายได้เคลื่อนไหวอยู่ใน

ระดับต่ำกว่า จองอยู่ในช่วง 35-50 บาท มาโดยตลอดโดยไม่สามารถยืนเหนือระดับราคาจองได้เลย

และ ก็ด้วยเหตุนี้ เมื่อการบินไทยต้องทำการขายหุ้นเพิ่มทุนอีก 400 ล้านหุ้นเมื่อปลายปี 2546 โดยกำหนดราคาไว้ต่ำเพียงหุ้นละ 50 บาท จึงปรากฏว่านักลงทุนรายย่อยโดยทั่วไปต่าง

เข็ดขยาดไม่ให้ความสนใจหุ้นเพิ่มทุนเจ้าจำปีนี้ แม้แต่น้อย จนต้องเอาหุ้นส่วนนี้ออกไปขาย ให้กองทุนรับซื้อไว้แทน

เช่น เดียวกับหุ้นของบริษัท ปตท. ที่เปิดให้ ประชาชนจองซื้อในราคา 35 บาท เมื่อ 2 ปีก่อน โดยในครั้งนั้นมีประชาชนแห่เข้า จองซื้อกันแน่นขนัดใช้เวลาเพียง 1.17 นาที แต่เมื่อ

นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาด กลับปรากฏว่าราคาหุ้น ปตท. ถูกทุบต่ำกว่าราคาไอพีโอ เป็นเวลากว่า 2 เดือน พร้อมๆกับกระแสโจมตีที่ว่า รัฐหลอกให้นักลงทุนรายย่อย ต้องพากัน เจ็บตัว

ถั่ง โถม เข้าใส่รัฐ อย่างหนัก แม้ในที่สุดราคาหุ้น ปตท. จะสามารถ ทะยานขึ้นโชว์ความ แข็งแกร่งขึ้นมา สูงสุดได้กว่า 180 บาท แต่จะมีรายย่อยสักกี่รายที่ถือหุ้นตัวนี้ยาวมาจนถึง

วันนี้

ขณะ ที่หุ้นของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT ที่เพิ่งกรีธาทัพเข้าไป จดทะเบียนในตลาดล่าสุดเมื่อขวบเดือนเศษๆ ที่ผ่านมานั้น ก็ยืนอยู่เหนือราคาจองแบบ

ปั้มๆน้ำ ทำท่าจะ “ลูกผีลูกคน” ไม่แพ้กัน ดีแต่ว่าได้กระแสกองทุนวายุภักษ์ที่อัดฉีดเม็ดเงินกว่า 30,000 ล้านบาทเข้าไปโอบอุ้มและไล่ราคาหุ้นรัฐวิสาหกิจนี้ จึงได้ทะยานขึ้นมาอยู่ใน

ระดับ 50-55 บาทได้

นั่น เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า การกระจายหุ้นให้กับรายย่อยและประชาชนทั่วไป ไม่ได้เป็นเครื่อง รับประกัน หรือการันตีว่า จะทำให้ผู้คนเหล่านี้ได้อานิสงส์ลืมตาอ้าปาก หรือได้กำรี้

กำไรกลับ ไป เป็นกอบเป็นกำอย่างที่กำลังขวนขวายกันอยู่ในเวลานี้ อีกทั้งระดับราคาหุ้นที่ซื้อขายเคลื่อนไหว ในตลาดนั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องร้อยแปดพันเก้าเข้ามาเกี่ยวข้อง

นายก้อง เกียรติ โอภาสวงการ ผู้คร่ำหวอดและเชี่ยวชาญด้านตลาดทุน ได้กล่าว ถึงประเด็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนและนักลงทุนทั่วไปได้จอง ซื้อหุ้น รัฐวิสาหกิจก่อนนั้นว่าเป็น

เรื่องที่ดี เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ในการเป็น เจ้าของรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจที่ประชาชนใช้บริการ แต่สิ่งที่ต้องควร ระวังและทำความเข้าใจคือ ประชาชนหรือนัก

ลงทุน รวมทั้งพนังงาน รัฐวิสาหกิจที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น จะต้องมีความรู้และ ความเข้าใจ การลงทุนอย่างแท้จริง ไม่ใช่หวังเพียงเข้ามาจอง ซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น เท่านั้น

เพราะการลงทุนในตลาดหลัก ทรัพย์นั้น มีความเสี่ยงสูงพอๆกับผลตอบแทน ที่สูงเช่นกัน หากมีการลงทุนอย่างเข้าใจ และศึกษาข้อมูล บทวิเคราะห์ และตัดสินใจ อย่างรอบคอบ

ความเสี่ยงในการลงทุน ก็อาจจะลดลง และนักลงทุนหน้าใหม่ ควรลงทุน ถือหุ้นในระยะกลางถึงยาว ไม่ใช่มุ่งแต่จะมาหากำไรระยะสั้น และที่สำคัญเงินที่จะนำมาเงินทุน ในตลาด

หุ้น ต้องเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของเงินออม ระยะยาว ไม่ใช่ขนเอาเงิน ออมที่มีทั้งหมดมาทุ่มลงทุน หากมั่นใจ ว่ามีความรู้ความเข้าใจการลงทุน ในตลาดหุ้นอย่างแท้จริงแล้ว ย่อมไม่

มีปัญหาแต่หากไม่ม ีเวลาและไม่มีความเข้าใจการลงทุน ก็น่าจะให้มืออาชีพเป็นผู้บริหารเงินให้

เพราะหุ้นจองมีทั้งกำไรและขาดทุน อย่าโลภมองเห็นแต่ว่าจะกำไรอย่างเดียว

การ ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือนักลงทุนโดยทั่วไปคิดแต่เพียงว่า รัฐจะต้องกัน หุ้นรัฐวิสาหกิจตัวนั้นตัวนี้ และจะต้องได้สิทธิ์ซื้อหุ้นรัฐวิสาหกิจก่อน โดยไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจ

ในตลาดทุนดีพอ หวังเพียงแค่ซื้อมาเพื่อจะ ขายไป เอากำไรแค่สั้นๆ โดยไม่เข้าใจป’จจัยพื้นฐานของการลงทุนนั้น

สำหรับ “ทีมเศรษฐกิจ” แล้ว ถือว่าจุดนี้เป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่งต่อการลงทุน ในตลาดหลักทรัพย์ และโดยเฉพาะอนาคตของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพราะหา ไม่แล้วหุ้นรัฐ

วิสาหกิจ เหล่านี้ อาจจะทำให้นักลงทุนที่ซื้อไป ต้องเจ็บตัว จนอาจจะเกิดรายการประท้วงมาราธอนซ้ำรอยเหมือนกรณี “ลุงช่วยกองทุน รวมออมสิน” ได้ทุกเมื่อ

ถึงเวลานั้น อนาคตการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและกระจายหุ้นสู่รายย่อย อาจพังครืน!.

http://www.thairath.co.th/thairath1/images/thairath.logo.gif

ปีที่ 55 ฉบับที่ 16975 วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม 2547
ทีมข่าวเศรษฐกิจ


--------------------------------------------------

โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่จริงๆ
















โดย มาหาอะไร

-----------------------------------------------

<<< ประชาชนจนๆ ต้องตายก่อน >>>
<<< ติดตามสถานการณ์น้ำมันและโครงสร้างราคาน้ำมันล่าสุด >>>
<<< โครงสร้างราคาน้ำมัน ล่าสุด >>>
<<< งบกำไรขาดทุน ปตท. ปี 51 >>>
<<< ข้อมูลโครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกล่าสุด >>>
<<< กราฟราคาน้ำมันขายปลีก ที่แสดงให้เห็นว่าราคาขายตอนนี้เริ่มผิดปกติ >>>
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง การกระจายหุ้น ปตท. >>>
<<< ค่าการตลาดน้ำมัน ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ สูงกว่า หลายรัฐบาลที่ผ่านมา >>>