บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


24 เมษายน 2552

<<< ค่าการตลาดน้ำมัน ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ สูงกว่า หลายรัฐบาลที่ผ่านมา >>>

ปล่อยให้ค่าการตลาด
สูงเกิน 2 บาทมาหลายเดือน
เพิ่งรู้สึกว่าแพงไป

-----------------------------------------------------------

ธุรกิจ
วันที่ 24 เมษายน 2552 11:49
พลังงานจี้ลดราคาน้ำมัน หลังค่าการตลาดสูง

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
รมว.พลังงานจี้ผู้ค้าน้ำมันลดราคา หลังพบในช่วง 2 วันที่ผ่านมาราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มลด ดันค่าการตลาดปรับตัวสูงขึ้น

นพ. วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ผันผวนทำให้ผู้ค้าน้ำมันปรับราคาขึ้นไป แต่ขณะนี้ราคาเริ่มลดลงและ

ค่าการตลาดในช่วง 2 วันนี้ได้ปรับสูงขึ้น โดยล่าสุดราคาน้ำมันทุก ประเภทอยู่ในระดับสูงกว่า 2 บาท เช่น เบนซิน 91 อยู่ที่ 2.80 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 2.60 บาทต่อลิตร

ไบโอดีเซลบี 2 อยู่ที่ 2.30 บาทต่อลิตร ดังนั้นจึงเป็นสัญญาณที่ผู้ประกอบการน่าจะมีการปรับลดราคาน้ำมันให้แก่ประชาชนบ้าง

อย่าง ไรก็ตาม การค้าน้ำมันเป็นตลาดเสรี ทางกระทรวงพลังงานคงไม่สามารถเข้าไปสั่งการให้ผู้ค้าลดลงราคาได้ แต่ค่าการตลาดที่สูงระดับนี้น่าจะเป็นสัญญาณส่งให้ผู้ประกอบ

การลดราคาน้ำมันทุกชนิดลงมากได้ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (25 เม.ย.) เป็นต้นไป

--------------------------------------------

นี่มีข่าวจี้จะสองเดือนกว่าแล้ว
วันนี้ก็มีข่าวจี้อีก
ราคายังไม่ลดลงเท่าไหร่เลย
แถมเบนซิน95 ปล่อยให้โขกตั้ง 7 บาทกว่า

สงสัยถ้าประชาชนไม่ร่วมจี้
อีกสองเดือนข้างหน้า
ก็คงมีข่าวจี้ๆ แบบนี้อีก

--------------------------------------------------------------

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552
คมชัดลึก > เศรษฐกิจ - การตลาด > เศรษฐกิจ
จี้ผู้ค้าปรับลดเบนซินติงค่าการตลาดสูง

คม ชัดลึก :พลังงานจี้ผู้ค้าน้ำมันลดราคาน้ำมัน เบนซิน หลังพบค่าการตลาดสูงมาก ด้าน กบง.เดินหน้าเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่ม คาดจัดเก็บอีก 2 ครั้ง จะครบอัตราเงิน

ภาษีที่เหลือค้างจากที่ลดไปก่อนหน้านี้

นพ. วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กล่าวว่า ที่ประชุม กบง.ประกาศเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อ

เพลิงขึ้นเป็นครั้งที่ 4 มีผลวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ หลังจากเข้าไปลดเก็บเงินกองทุนน้ำมัน เพื่อช่วยลดภาระการขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยจัดเก็บ

ในส่วนของแก๊สโซฮอล์อีก 60 สตางค์ และบี 2 อีก 20 สตางค์ คาดว่าจะจัดเก็บอีก 2 ครั้ง จะครบอัตราเงินภาษีที่เหลือค้าง และคาดว่าจะใช้เงินกองทุนน้ำมันเข้าไปดูแลราคาน้ำมัน

ไม่เกิน 4,000 ล้านบาท ตามที่ประมาณการไว้เดิม ซึ่งการจัดเก็บเพิ่มเงินกองทุนน้ำมันครั้งนี้ ไม่มีผลทำให้ต้องปรับขึ้นราคาน้ำมัน เนื่องจากเป็นการลดค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันที่

ได้รับ ส่งผลให้ค่าการตลาดในส่วนของแก๊สโซฮอล์ เหลือในอัตราประมาณ 1.90 บาท อี 20 อัตรา 2.74 บาท อี 85 อัตรา 2.27 บาท บี 2 อัตรา 1.36 บาทและ บี 5 อัตรา 2.56

บาทต่อลิตร

"เป็นที่น่าสังเกตว่า ค่าการตลาดในส่วนของน้ำมันเบนซินในขณะนี้สูงมาก แม้ว่าการค้าน้ำมันจะ เป็นตลาดเสรี แต่ผู้ค้าก็ควรจะคำนึงถึงผลกระทบประชาชน โดยควรจะลดมาอยู่ใน

อัตรา ที่เหมาะสม เพราะล่าสุดค่าการตลาดเบนซิน 91 อยู่ในอัตรา 2.86 บาท ส่วนเบนซิน 95 อัตรา 7.46 บาทต่อลิตร" นพ.วรรณรัตน์กล่าวและว่า ในการประชุม กบง.ครั้งต่อไป

จะพิจารณาแนวทางการทยอยนำเงินกองทุน น้ำมันไป ชำระหนี้การนำเข้าก๊าซแอลพีจีของ บมจ.ปตท.จำนวน 8,020 ล้านบาท โดยจะเป็นการทยอยชำระและจากราคาแอลพีจีที่ปรับ

ลดลง ก็คาดว่าจะชำระได้เร็วกว่าเดิมที่มองว่าจะชำระหมดภายใน 2 ปี

พล. อ.เลิศรัตน์ รัตนวาณิช ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่กระทรวงการคลังปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เพราะทำให้ประชาชนเดือดร้อน เนื่อง

จากราคาน้ำมันของไทยสูงกว่าต่าง ประเทศ เพราะต้องนำมาจ่ายภาษีที่สูงขึ้น โดยแนวทางที่ถูกต้องรัฐบาลควรจะลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันในอนาคต และควรจะปล่อยลอยตัวราคา

แอลพีจี เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้น้ำมัน

--------------------------------------------------------------

ความรู้เรื่องโครงสร้างราคา
สังเกตุกราฟค่าการตลาดสีดำ
มีนิดหน่อยประมาณ 2 บาท














รายละเอียดโครงสร้างน้ำมันแต่ละลิตร
ว่าต้องจ่ายภาษีและกองทุนน้ำมันเท่าไหร่















สังเกตุกราฟค่าการตลาด
ตั้งแต่ปี 39 ถึงปี 49 ไม่เกิน 2 บาท















คนถือหุ้นใหญ่ปตท.
ก็คือกระทรวงการคลัง
และนอมินี 2 กองทุนวายุภักดิ์
นอกนั้นรายเล็กรายน้อย















การแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกแห่งได้
ก็เพราะ พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจที่ออกโดยรัฐบาลชวน 2
ตามข้อตกลงที่ไปทำกับ IMF ฉบับที่ 2 และ ฉบับที่ 5
หลังพรบ.ตัวนี้ออกมา
ก็มีรัฐวิสาหกิจที่แปรเสร็จเร็วก็คือ โรงไฟฟ้าราชบุรี
บ.ลูก กฟผ. และอีกหลายรัฐวิสาหกิจจ่อกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
กรณีปตท.มาเข้าตลาดสมัยทักษิณ
ที่จริงทำมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ชวนแล้ว
มาหร้อมเอาตอนต้นรัฐบาลทักษิณ
ผู้ถือหุ้นใหญ่จากวันนั้นจนวันนี้ก็ยังเป็นกระทรวงการคลัง
ถือหุ้นเกือบ 70% ได้
นอกนั้นรายเล็กรายน้อยหลายหมื่นคน

-------------------------------------------------------------

เพื่อให้ภาพชัดเจนขึ้น "ผู้จัดการ"
ได้รวบรวมสาระสำคัญของหนังสือแสดงเจตจำนงจากฉบับที่ 1-8
ที่ไทยได้ตกลงไว้กับไอเอ็มเอฟ (LOI1-8)
ที่เกี่ยวเนื่องกับการออกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม
ซึ่งจะเห็นถึงพัฒนาการต่างๆที่รัฐบาลไทยจำนนต่อต่างชาติดังนี้

LOI ฉบับที่ 1 (14 สิงหาคม 2540)
(พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)
- พันธกรณีในการดำเนินนโยบาย
เน้นในการจัดการพื้นฐานทางเศรษฐกิจและวางระเบียบใหม่
ในการดูแลสถาบันการเงิน-การคลังของประเทศให้เข้มงวด
แต่ไม่มีพันธะที่จะต้องออกฎหมายมาใช้บังคับ
ใน LOI ฉบับที่ 1 มีการกำหนดไว้ชัดเจนข้อหนึ่งว่า
รัฐบาลไทยจะไม่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินมาชำระแทนเอกชน
ซึ่งทางไอเอ็มเอฟก็เห็นด้วยอยู่แล้ว
เนื่องจากเป็นการไม่ยุติธรรมแก่คนไทยทั้งประเทศ
ที่จะต้องไปรับผิดชอบหนี้สิน ของภาคเอกชน

LOI ฉบับที่ 2 (25 พฤศจิกายน2540)
เริ่มรัฐบาลชวน(20 พฤศจิกายน 2540)
- ได้มีการทบทวนมาตรการหลายอย่างที่ทำมาในช่วง LOI 1
โดยเฉพาะการปรับเพดานการกู้เงินต่างประเทศเพิ่มขึ้น
และยกเลิกตลาดเงินตราต่างประเทศ 2 ตลาด(Two-tier system)
- ขณะเดียวกันเริ่มใช้มาตรการบีบบังคับสถาบันการเงิน
ด้วยกฎเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- ปรับปรุงพ.ร.บ.ล้มละลาย
ให้เจ้าหนี้สามารถบังคับหลักประกันได้ในเวลาเร็วขึ้น
- ประกาศให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นข้างมาก
ในสถาบันการเงินได้เป็นเวลา 10 ปี
- กำหนดเป้าหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
โดยเสนอให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายที่จำเป็น

LOI ฉบับที่ 3 (24 กุมภาพันธ์ 2541)
- กำหนดกรอบในการแก้ไขพ.ร.บ.ล้มละลาย
โดยพิจารณาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
อาทิ การทำธุรกิจของคนต่างด้าว

LOI ฉบับที่ 4 (26 พฤษภาคม 2541)
- นำแนวทางในการประเมินมูลค่าหลักประกันมาใช้
โดยทบทวนกฎหมายธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการบันทึกบัญชี
ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกในการปรับปรุงมาตรฐานบัญชีใหม่ให้เป็นสากล
และการร่างกฎหมายการบัญชีใหม่
- เน้นการเปิดเสรีมากขึ้น เสนอให้แก้ไขกฎหมายปว.281
และกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับการลงทุนทั้งหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์

LOI ฉบับที่ 5 (25 สิงหาคม 2541)
- เพื่อสนองนโยบายเปิดประเทศ รัฐบาลได้เสนอแก้ปว.281
ให้เป็นพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
- แก้กฎหมายล้มละลาย ในประเด็นกระบวนการบังคับหลักประกัน
และข้อกฎหมายเกี่ยวกับการให้กู้ยืม
เพื่อเป็นเงื่อนไขจูงใจให้ทั้งเจ้าหนี้
- แก้ไขกฎหมายประมวลกฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติอาคารชุด
- อนุมัติร่างแก้ไขพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารพาณิชย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจ
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และเครดิต ฟองซิเอร์
- เพิ่มความเข้มงวดระบบบัญชี
- ออกพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
- ปรุงกฎหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
โดยการออกพ.ร.บ.ทุน
ให้อำนาจในการแปลงทุนเป็นหุ้น
และแปลงรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด
แก้ไข พ.ร.บ. การเดินอากาศ
ให้ขายหุ้นส่วนใหญ่ของการบินไทยให้ต่างชาติได้

LOI ฉบับที่6 (1 ธันวาคม 2541)
- ดำเนินการต่อเนื่องในรายละเอียดของกฎหมายล้มละลาย และปว.281
- ขณะที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสถาบันการเงิน
มีการออกกฎหมายมา หลายฉบับ
คือ กฎหมายจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต (เครดิตบูโร)
พ.ร.ก.ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้ควบรวมการกันได้
- พ.ร.ก.จัดตั้งเอเอ็มซีแก้ไขพ.ร.บ.เงินตรา

LOI ฉบับที่ 7 ( 23 มีนาคม 2542)
- เน้นนโยบายการจัดการข้อพิพาทระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนไทย
โดยแก้ไข พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลาย
และวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฉบับใหม่ และผลักดันกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบังคับหลักประกัน 2 ฉบับ
พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ร.บ. อาคารชุด และเร่งออกกฎหมาย
ฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกส่วนหนึ่ง

LOI ฉบับที่ 8 ( 21 กันยายน 2542)
- ดำเนินการต่อเนื่อง เสนอให้แก้ไขกฎหมาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับใหม่
ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้ธปท.
(รวมบัญชี ล้างขาดทุนกองทุนฟื้นฟู) กฎหมายเงินตรา
ซึ่งจะทำให้การบริหารเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
มีความยืดหยุ่นสูง
- ร่างกฎหมายรับประกันเงินฝาก


---------------------------------------------

ส่วนสาเหตุที่แพงขึ้นผิดปกติตอนนี้
ก็คือการขึ้นภาษีอีก 2 บาทและเลิกงดเก็บอีก 3 บาท
กับการทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่
ปล่อยให้ปั๊มได้ค่าการตลาดเกิน 2 บาท
ถ้าเบนซินปกติฟาดกันหลายบาททีเดียว
กราฟที่เอามาให้ดูยังไม่ Update
ล่าสุดเป็นเดือนแล้วมั้ง
ขึ้นแก๊สโซฮอส85 เป็น 5 บาทด้วย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เรื่องนี้

<<< ไม่รู้ว่าคนที่ได้เงินแจก 2,000 จะคุ้มไหม ที่ต้องจ่ายปีหนึ่งคนละ 5-6 พันบาททุกปี >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/03/blog-post_8500.html

อีกอย่างการปล่อยให้ค่าการตลาดสูงๆ
เงินไม่ได้เข้ารัฐนอกจากได้จากภาษี
ที่ผู้ค้าน้ำมันทั้งหลายมีกำไร

เงินส่วนใหญ่เป็นรายได้ของผู้ค้าน้ำมัน
ดังนั้นการปล่อยให้ค่าการตลาดสูงๆ
ไม่ได้นำเงินมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
หรือทำให้รัฐมีเงินเพิ่มมากมายอะไร
นอกจากทำให้ผู้ค้าน้ำมัน
มันขายน้ำมัน
มีกำไรมากขึ้นเท่านั้น

โดย มาหาอะไร

ขอมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดภาษีที่เพิ่มแต่ละตัว











โดย ....4จุด

-------------------------------------------

<<< ประชาชนจนๆ ต้องตายก่อน >>>
<<< ติดตามสถานการณ์น้ำมันและโครงสร้างราคาน้ำมันล่าสุด >>>
<<< โครงสร้างราคาน้ำมัน ล่าสุด >>>
<<< งบกำไรขาดทุน ปตท. ปี 51 >>>
<<< ข้อมูลโครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกล่าสุด >>>
<<< กราฟราคาน้ำมันขายปลีก ที่แสดงให้เห็นว่าราคาขายตอนนี้เริ่มผิดปกติ >>>
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง การกระจายหุ้น ปตท. >>>
<<< ค่าการตลาดน้ำมัน ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ สูงกว่า หลายรัฐบาลที่ผ่านมา >>>