บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


14 มกราคม 2553

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง 6 ข้อกล่าวหาที่ใช้ในการยึดทรัพย์ทักษิณ >>>

ไปเจอคำอธิบายที่เว็บนี้
http://shincase.googlepages.com
ความจริงเรื่องพวกนี้น่าจะลงทุนเผยแพร่ให้กระจาย
เพราะถ้าข้อเท็จจริงทำไว้แล้วไม่กระจาย
คนส่วนใหญ่ชาวบ้านก็ไม่มีใครรับรู้
แต่ข้อกล่าวหา กระจายได้ทุกวัน
มันก็เหมือนกับเพลงที่ไม่เพราะ
แต่ถ้าได้ฟังทุกวันก็ฮิตขึ้นมาได้เหมือนกัน
จึงขอรวบรวมนำมาเก็บไว้ที่นี่อีกแห่ง
เพื่อช่วยกระจายให้คนทั่วไปได้รับทราบ
ถ้าใครผ่านมาเจอแล้วคิดว่ามีประโยชน์
ที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะชนได้รับรู้มากๆ
ก็ช่วยกันนำไปเผยแพร่ต่อให้เยอะๆ

นอกจากนี้ ยังมีคำชี้แจงเรื่องข้อกล่าวหาพวกนี้แนวนักบัญชี
เชิญ Download ไปศึกษาได้ไม่ผิดหวัง
ข้อมูลหลักฐานการวิเคราะห์ทางบัญชีเยอะดี
คลิก ที่นี่ เพื่อ Download มุมมองของนักบัญชีต่อข้อกล่าวหาที่ใช้ในการยึดทรัพย์ทักษิณ

แถมคำคมสำหรับวันนี้
"เหตุผล เป็นศัตรูกับความอยุติธรรม"


โดย มาหาอะไร

-------------------------------------------------------------------------------

กรณี คตส ได้มีคำสั่งอายัดทรัพย์อดีตนายกฯทักษิณ
โดยกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ เพราะใช้อำนาจรัฐ
เอื้อประโยชน์บริษัท เอไอเอส และ ชินแซทเทลไลท์ ในหลายกรณี

(1) ให้ทีโอทีลดส่วนแบ่งรายได้มือถือ
(2) และปรับเกณฑ์การคำนวณ
(3) ออกกฏหมายแปลงส่วนแบ่งรายได้เป็นภาษีสรรพสามิต
(4) ให้ทีโอทีเช่าดาวเทียมทั้งที่ไม่จำเป็น
(5) สั่งให้เอ็กซิมแบงค์ปล่อยกู้พม่าเพื่อซื้อดาวเทียม
(6) เอาการเจรจาเอฟทีเอ เอื้อดาวเทียมแลกกับประโยชน์ของชาติ

โดยรวมๆ แล้วเพื่อปั่นราคาหุ้นขึ้นเพื่อขายหุ้นราคาสูง
ซึ่งบิดเบือนจากข้อเท็จจริง

-------------------------------------------------------------------------------

(1) ให้ทีโอทีลดส่วนแบ่งรายได้มือถือ
1. ประเด็นแก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า (Prepaid)

• AIS ได้รับการแก้ไขสัญญาภายหลังจากที่ DTAC ได้รับการแก้ไขสัญญากับ TOT แล้ว

การแก้ไขข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า (Prepaid) ของ AIS นั้น เกิดจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2544 DTAC ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากับ TOT ในการจ่ายส่วนแบ่งรายได้จากเดิม อัตราที่ DTAC ต้องจ่ายให้กับ TOT เลขหมายละ 200 บาทต่อเดือน เป็นการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ที่ DTAC จ่ายให้กับ TOT ในอัตราร้อยละ 18 ของรายได้จากบริการโทรศัพท์ประเภทบัตรเติมเงิน (Prepaid) ตลอดอายุสัญญา

AIS จึงได้ร้องขอความเป็นธรรมจาก TOT ในหลักการเดียวกันกับ DTAC ได้รับอนุมัติ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 AIS ก็ได้รับอนุมัติจาก TOT ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากับ TOT เรื่องการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กับ TOT สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรเติมเงิน (Prepaid) ในอัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าหน้าบัตรบริการโทรศัพท์แบบเติมเงิน (Prepaid) ตลอดอายุสัญญา และต้องชำระส่วนแบ่งรายได้เป็นรายเดือนจากเดิมที่ต้องชำระเป็นรายปี

ทั้งนี้เพื่อให้ AIS สามารถแข่งขันกับ DTAC ได้ ขณะเดียวกัน TOT ก็ได้กำหนดไว้ในสัญญาฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 6 ข้อที่ 7 ว่า “ เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการบริษัทจะต้องลดราคาค่าบริการให้ประชาชน โดยในปีที่11-ปีที่15 ของปีดำเนินการตามสัญญาหลักในอัตราเฉลี่ยโดยรวมของแต่ละปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของค่าบริการที่ผู้ใช้บริการต้องชำระในปีที่ 11(พ.ศ. 2544) และในอัตราเฉลี่ยโดยรวมของแต่ละปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของค่าบริการที่ผู้ใช้บริการต้องชำระในปีที่11(พ.ศ. 2544) สำหรับปีที่16–ปีที่25 ของปีดำเนินการตามสัญญาหลัก “

• ประชาชนได้เลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในราคาที่ถูกลง

ผลของการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาระหว่าง TOT กับ DTAC และ TOT กับ AIS เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2544 และ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 ตามลำดับ เป็นผลให้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน (Prepaid) ให้กับลูกค้าผู้ใช้บริการโดยไม่ต้องจ่ายรายเดือน ทำให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน (Prepaid) เลือกใช้บริการได้ตามความพอใจและสามารถเลือกจ่ายค่าบริการในอัตราที่ถูกกว่าผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรายเดือน (Postpaid) เป็น การเปิดโอกาสให้กับประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ง่าย ขึ้น เนื่องจากราคาค่าใช้บริการรายเดือนแบบบัตรเติมเงิน (Prepaid) ถูกลง ดังจะดูได้จากรายงานวิจัยของบริษัท Merrill Lynch ที่ระบุว่าอัตราค่าบริการเฉลี่ยรายได้ต่อเลขหมาย ARPU ของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 800 บาท ในปี 2544 และประมาณ 343 บาท ในไตรมาสที่สองของปี 2549

แผนภูมิ อัตราARPU ย้อนหลัง (หน่วย: บาท)












ที่มา: Merrill Lynch

• จำนวนยอดผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น TOT ก็ได้รับส่วนแบ่งรายได้สูงขึ้น

เมื่ออัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรเติมเงิน (Prepaid) ถูกลง เป็นผลให้ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยรวมเติบโตประมาณ 1000% ในระหว่างปี 2544 ถึง 2549 คือจากจำนวนลูกค้าโดยรวมประมาณ 4.6 ล้านเลขหมาย ในปี 2544 เป็นประมาณ 41 ล้านเลขหมาย ในปี 2549 และ AIS ก็มีอัตราผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เติบโตจากประมาณ 3.2 ล้านเลขหมาย เป็นประมาณ 19.96 ล้านเลขหมาย ในปี 2549 ตลอดระยะเวลากว่า 16 ปี ที่ผ่านมา AIS ได้ปฏิบัติตามสัญญาฯ ด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ AIS ได้ลงทุนอุปกรณ์แล้วยกให้ TOT ตามสัญญาจนถึงปัจจุบันเป็นมูลค่าประมาณกว่า 140,000 ล้านบาท พร้อมทั้งได้ส่งส่วนแบ่งรายได้ให้กับ TOT ตั้งแต่ ตุลาคม 2533 จนถึง กุมภาพันธ์ 2550 เป็นเงินประมาณ 83,400 ล้านบาท และชำระภาษีสรรพสามิต ตั้งแต่ มกราคม 2546 จนถึง กุมภาพันธ์ 2550 เป็นเงินประมาณ 31,400 ล้านบาท และ คาดว่าจนถึงสิ้นสุดอายุสัญญา อนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอีก 9 ปี ข้างหน้า (พ.ศ. 2558) TOT อาจจะได้รับส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้นอีก มากกว่า 100,000 ล้านบาท

http://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais

-------------------------------------------------------------------------------

(2) และปรับเกณฑ์การคำนวณ
2. แก้ไขสัญญาข้อตกลงปรับเกณฑ์การลดส่วนแบ่งรายได้ให้ TOT

เรื่องนี้ไม่ได้แก้ไขแต่เป็นการเพิ่มเติมส่วนแบ่งรายได้ให้กับ TOT ทั้งนี้สืบเนื่องจากที่ TOT ไม่สามารถติดตั้งขยายระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) ได้ทันต่อการขยายสถานี (Base Station) เพื่อบริการแก่ประชาชนผู้ใช้บริการของ AIS ได้ทัน AIS จึงได้ขออนุญาตลงทุนขยายระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) ในส่วนที่ TOT ไม่สามารถจัดสร้างได้ทันและยกให้เป็นทรัพย์สินของ TOT ในทันทีที่เปิดใช้บริการ (BTO) โดยที่ AIS มีสิทธิใช้ระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) จนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน ต่อมาปรากฏว่ามีส่วนที่เหลือใช้ซึ่ง TOT และ AIS มีความเห็นตรงกันว่าควรจะให้ประชาชน หน่วยงานอื่นๆ หรือ บริษัทเอกชนต่างๆ สามารถขอเช่าใช้ได้ TOT จึงได้กำหนดส่วนแบ่งรายได้ขึ้นมาใหม่ โดย กรณีเป็น ”ผู้ใช้บริการของ TOT” TOT ได้รับร้อยละ 25 AIS ได้รับร้อยละ 75 ตลอดอายุสัญญา กรณีเป็น”ผู้ใช้บริการของ AIS” TOT ได้รับร้อยละ 22 AIS ได้รับร้อยละ 78 ตลอดอายุสัญญา ซึ่ง AIS มีหน้าที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) นั้นตลอดจนอายุสัญญา

http://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais

-------------------------------------------------------------------------------

(3) ออกกฏหมายแปลงส่วนแบ่งรายได้เป็นภาษีสรรพสามิต
3. ตราพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต

พระ ราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม ที่ประกาศใช้เมื่อปีพ.ศ. 2546 นั้น มีผลบังคับกับทุกบริษัทที่ให้บริการโทรคมนาคมทุกราย เช่น AIS, DTAC ,TRUE, TT&T และ ทุกบริษัทต้องปฎิบัติเหมือนกัน ไม่มีบริษัทใดได้รับสิทธิพิเศษ หรือมีรายจ่ายน้อยลงแต่ประการใดเลย ทุกบริษัทยังคงมีภาระจ่ายโดยรวมเท่าเดิม

ใน ส่วนของภาครัฐยังคงได้รับเงินรายได้เท่าเดิม เพียงแต่วิธีการจัดส่งรายได้นั้นให้มีการปรับเปลี่ยนจากเดิมที่คู่สัญญาภาค เอกชนจะดำเนินการจัดส่งรายได้โดยตรงสู่องค์กรเดียว คือ TOT หรือ CAT หลังจากนั้นหน่วยงานภาครัฐทั้งสองจะจัดสรรเงินดังกล่าวให้กระทรวงการคลังใน ฐานะผู้ถือหุ้นต่อไป ให้เปลี่ยนเป็นการแบ่งจ่ายส่วนหนึ่งมาให้แก่กรมสรรพสามิตโดยตรงเป็นประจำทุก เดือน ทำให้กระทรวงการคลังได้รับเงินส่วนแบ่งรายได้ส่วนที่เป็นภาษีสรรพสามิตในแต่ ละเดือนทันที โดยไม่ต้องรอรับการจัดสรรจาก TOT และ CAT ในปลายปี ต่อไป

http://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais

-------------------------------------------------------------------------------

(4) ให้ทีโอทีเช่าดาวเทียมทั้งที่ไม่จำเป็น
กรณีที่ 4 ข้อกล่าวหาของคตส กรณีอดีตนายกฯให้ทีโอทีเช่าดาวเทียมทั้งที่ไม่จำเป็น

ตลอด สิบกว่าปีที่ผ่านมา ทีโอทีเป็นผู้ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมรายใหญ่ที่สุดและเป็นผู้ให้บริการสื่อ สารดาวเทียมรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายกฯอานันท์ ชวน บรรหาร ชวลิต ทักษิณ ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยเดิมใช้งานดาวเทียมสองส่วนใหญ่ๆคือ (1) การให้บริการโทรศัพท์ชนบท (จากทั้งหมดราวหนึ่งแสนเลขหมาย เป็นส่วนดาวเทียมเกือบ 2 หมื่นเลขหมาย ค่าใช้จ่ายราว 2 พันล้านบาทต่อปี) ตามนโยบายรัฐบาลในการให้บริการประชาชนในท้องถิ่นห่างไกล ตั้งแต่ปี 2539 เป็นสัญญาสิบปี ทยอยสิ้นสุดในปี 2549 และ 2550 และ (2) การ ให้บริการเครือข่ายดาวเทียมสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแก่หน่วยราชการและเอกชน อื่นๆจำนวนมาก และเป็นเครือข่ายเสริมภายในของทีโอที เช่น เครือข่าย TDMA และ ISBN ตั้งแต่สมัยไต้ฝุ่นเกรย์ที่ตัดขาดภาคใต้ของไทยเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว สัญญาสิบปีเหล่านี้ก็ทยอยสิ้นสุดในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเช่นกัน ซึ่งทีโอทีต้องหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้บริการต่อเนื่อง

ต่อมาในช่วงปี 2545 ทีโอทีก็กลายเป็นผู้ให้บริการไอพีสตาร์รายใหญ่แก่กระทรวงศึกษาฯ สำหรับโครงการอินเทอร์เน็ทโรงเรียนห่างไกลกว่า 1 หมื่นแห่ง (SchoolNet)

ดังนั้น การที่ทีโอทีเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมไอพีสตาร์ในฐานะเป็นผู้ให้บริการหลักไอพีสตาร์แต่ผู้เดียวในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2549 ได้ค่าเช่าราคาพิเศษ 475 ล้านบาทต่อปี (ตามโครงสร้างราคาค่าเช่าดาวเทียมของกระทรวงไอซีที) เพราะทีโอทีเห็นประโยชน์จากโครงการนี้ คือ (1) โครงการ โทรศัพท์ชนบทที่สัญญาเก่าสิ้นสุดลง ซึ่งทีโอทีต้องใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อให้บริการประชาชนห่างไกลอย่างต่อเนื่อง มิให้เดือดร้อนเกิดปัญหาการหยุดบริการ ซึ่งเทคโนโลยีไอพีสตาร์ช่วยทีโอทีประหยัดต้นทุนจาก 2 พันล้านบาทเหลือเพียงราว 4 ร้อยล้านบาทต่อปี การประหยัดร่วม 1800 ล้านบาทต่อปีก็คุ้มกับค่าเช่าแล้วอย่างมาก (2) ช่องสัญญาณดาวเทียมไอพีสตาร์ส่วนที่เหลือ ก็สามารถใช้ให้บริการเครือข่ายข้อมูล และอินเทอร์เน็ทความเร็วสูง (บอร์ดแบนด์) ได้อีกหลายหมื่นราย ในราคาต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำ (ค่าเช่าช่องสัญญาณราคาต่ำเพราะเป็นผู้ให้บริการหลักรายใหญ่) ทำให้มีกำไรขั้นต้นหรือมารจิ้นสูง ทั้งบริการเดิมแก่หน่วยราชการ เอกชน และโรงเรียนนับหมื่นแห่ง และผู้ใช้รายย่อยตามบ้านและบริษัทต่างๆเพิ่มอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีบริการอินเทอร์เน็ทความเร็วสูงผ่านสาย โทรศัพท์ (เอดีเอสแอล) และสอดคล้องกับเป้าหมายการขยายให้บริการบอร์ดแบนด์ 1 ล้านหน่วย โดยใช้ไอพีสตาร์เป็นกลยุทธ์เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้บริการบอร์ดแบนด์ของทีโอทีให้ครอบคลุมทุกแห่งทั่วประเทศ

จนถึงปลายปี 2549 ทีโอทีให้บริการทั้งโดยตรงเองและผ่านผู้ร่วมให้บริการอื่นๆทั้งหมดกว่า 45,000 จุด แต่เนื่องจากวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้ทีโอทีไม่ได้มีการจัดซื้ออุปกรณ์ปลายทางเพื่อให้บริการผู้ใช้เพิ่มเติม อีกเลยตั้งแต่ปลายปี 2549 ทั้งที่มีความต้องการของลูกค้ารอใช้งานจำนวนมากหลายหมื่นจุดตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ที่ผู้ใช้ระดับนี้หากไม่เพิ่ม ที่สิ้นปี 2550 ทีโอทีจะมีรายได้สะสมของบริการไอพีสตาร์ประมาณ 930 ล้านบาท มีค่าเช่าช่องสัญญาณไอพีสตาร์สะสมราว 875 ล้าน บาท เป็นผลประกอบการที่เป็นบวกในเพียงสองปี ในบรรยากาศที่ถดถอยเช่นนี้ นับได้ว่าดีมากแล้ว ซึ่งปกติแล้วการลงทุนโครงการโทรคมนาคมจะใช้เวลาคืนทุนหลายปี เช่น 3-5 ปี ไม่ใช่กำไรทันทีในปีแรก ทีโอทีเองก็ลงทุนในหลายโครงการที่ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน เช่น เช่น เอดีเอสแอลหรือไทยโมบาย เป็นต้น ซึ่งตามแผนธุรกิจแต่เดิม ทีโอทีประมาณว่าจะคืนทุนโครงการไอพีสตาร์ใน 3 ปี (จากโครงการ 7 ปี) อยู่แล้ว หลังจากนั้นก็จะมีกำไรเป็นพันล้านบาทต่อปี นับว่าดีมากหากเปรียบเทียบธุรกิจอื่นๆ ที่มีการลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูงกว่ามาก เช่น เอดีเอสแอลหรือไทยโมบาย และโดยที่ไอพีสตาร์เป็นเทคโนโลยี่ที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกในขณะนี้ สามารถทำให้ต้นทุนการให้บริการบอร์ดแบนด์ต่ำที่สุดโดยเฉพาะบริการชนบท และได้เปรียบการแข่งขันกับบรรดาเทคโนโลยีดาวเทียมอื่นๆ

ศักยภาพ ขนาดตลาดบอร์ดแบนด์ในไทยมีหลายล้านราย ขณะที่ช่องสัญญาณไอพีสตาร์ส่วนที่คลุมประเทศไทยสามารถให้บริการบอร์ดแบนด์ รายย่อยได้เกือบ 2 แสนราย ซึ่งทีโอทีมีโอกาสที่จะทำการตลาดได้ทั้งหมดอันอาจรายได้มากกว่า 3 พันล้านบาทต่อปี และกำไรมารจิ้น สูง ดังนั้น ทีโอทีจะได้ประโยชน์จากโครงการไอพีสตาร์มาก ทั้งในแง่ลดต้นทุนบริการชนบท และสร้างรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี มากกว่าต้นทุนค่าเช่าช่องสัญญาณมาก มิใช่ความไม่จำเป็นหรือไม่มีกำไรดังที่กล่าวหา

http://shincase.googlepages.com/totleaseipstar

-------------------------------------------------------------------------------

(5) สั่งให้เอ็กซิมแบงค์ปล่อยกู้พม่าเพื่อซื้อดาวเทียม
กรณีที่ 5 อดีตนายกฯสั่งให้เอ็กซิมแบงค์ปล่อยกู้พม่าเพื่อซื้อดาวเทียม

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของไทย (EXIM BANK) ให้ เงินกู้แก่ประเทศพม่า ซึ่งมีบางส่วนที่ซื้อสินค้าและช่องสัญญาณดาวเทียมจากบริษัทชินแซท ซึ่งเป็นเรื่องถูกต้องตามหลักการ โดยที่รัฐบาลไทยไม่ได้เอื้อประโยชน์เป็นพิเศษต่อบริษัทชินแซทหรือไอพีสตาร์

ช่วงเดือนตุลาคม ปี 2546 รัฐบาล กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ได้ลงนามร่วมมือกัน เรียกว่า “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ลุ่มน้ำอิระวดี - เจ้าพระยา – แม่โขง” หรือ ACMECS กระทรวงต่างประเทศไทยประกาศให้วงเงินกู้ (เครดิตไลน์คล้ายโอดี) แบบรัฐต่อรัฐ (G2G Loan) เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศดังที่เคยทำมาหลายปีก่อนหน้าแล้ว ราวประเทศละ 100 ล้านเหรียญ ผ่าน EXIM Bank ของ รัฐบาล ในกรณีชำระค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อจากบริษัทไทยสำหรับโครงการสาธารณูปโภค เช่น ระบบขนส่ง ถนน สะพาน ชลประทาน โทรคมนาคม ผู้กู้ต้องเป็นหน่วยงานรัฐ รัฐบาลประเทศผู้กู้จะค้ำประกันการชำระคืนเงินกู้ (ไม่ใช่เงินช่วยเหลือให้เปล่า)

ตั้งแต่ปี 2541 ภาครัฐและเอกชนของพม่าหลายหน่วยงานซื้อบริการดาวเทียมไทยคม(และภายหลังไอพีสตาร์) และอุปกรณ์ต่างๆจากบริษัทชินแซท เช่น บริษัทโทรคมนาคมแห่งพม่า (Myanmar Post and Telecom: MPT) บริษัทวิทยุและโทรทัศน์แห่งพม่า (Myanmar Radio and TV: MRTV) และบริษัทเมียนมาร์เทเลพอร์ท ชำระเงินจากงบประมาณของตนเอง

ในปี 2547 บริษัท MPT เปิดประมูลจัดซื้ออุปกรณ์ดาวเทียมเพื่อขยายการสื่อสารในชนบท (ต่อเนื่องจากที่เคยใช้ไทยคมและระบบอื่นๆอยู่หลายปี) ในที่สุด MPT ตัดสิน ใจเลือกซื้อไอพีสตาร์ราว 9.5 ล้านเหรียญ แต่แรกจะชำระโดยใช้งบประมาณของตนเหมือนที่แล้วมา แต่ภายหลังเลือกชำระเงินจากวงเงินกู้นี้ MPT ในฐานะผู้ซื้อเป็นผู้เลือกวิธีจ่ายเงินโดยใช้วงเงินกู้ ไม่ใช่ผู้ขายคือบริษัทชินแซทเป็นผู้เลือกให้ (ผู้ขายยินดีรับชำระเงินจากผู้ซื้อ ไม่ว่าจากงบประมาณหรือเงินกู้) รัฐบาลไทยมิได้ไปตัดสินใจแทนหรือไปกำหนดให้เลือกปฏิบัติใดๆ และหากผู้ซื้อคุณสมบัติถูกต้อง (เป็นบริษัทของรัฐ เป็นสาธารณูปโภค เป็นสินค้าจากไทย) รัฐบาลไทยก็ต้องให้กู้

จากวงเงินกู้ 3 ประเทศราว 300 ล้านเหรียญ พม่าใช้ชำระค่าไอพีสตาร์ 9.5 ล้านเหรียญ (ราว 330 ล้านบาท) หรือเพียง 3% ของทั้งหมด (ขณะที่ลาวหรือกัมพูชาใช้ไทยคม/ไอพีสตาร์มาตลอด แต่ไม่เคยใช้เงินกู้นี้เพื่อชำระเลย) แสดงให้เห็นว่า

1) รัฐบาลไทยมิได้พยายามเป็นพิเศษเพื่อช่วยบริษัทชินแซท และบริษัทชินแซทก็มิได้พยายามแสวงหาประโยชน์พิเศษจากโครงการเงินกู้นี้

2) ต่อมาปี 2549 MPT ซื้อไทยคม/ไอพีสตาร์เพิ่มอีกนับร้อยล้านบาท แต่จ่ายจากงบประมาณตนเอง ทั้งที่คุณสมบัติถูกต้องและวงเงินกู้เดิม 100 ล้านเหรียญยังใช้ไม่หมด แสดงให้เห็นว่าทางพม่าก็ไม่ได้พยายามเป็นพิเศษเพื่อใช้วงเงินกู้นี้

3) ครั้งที่นายกฯสุรยุทธ์เดินทางไปพม่าเมื่อปลายปี 2549 ผู้นำพม่าก็หารือเพิ่มและขยายเวลาวงเงินกู้ และนายกฯไทยก็ตอบรับ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยก็ยังดำเนินการนโยบายนี้อย่างต่อเนื่อง

MPT จัด ซื้อโดยการเปิดประมูลหลายเจ้าแข่งขันกัน เลือกซื้อไอพีสตาร์เพราะเป็นเทคโนโลยีก้าวหน้าที่สุดในโลก ถึงแม้ไม่มีเงินกู้นี้ โครงการนี้สร้างรายได้และกำไรให้ MPT มาจ่ายเงินกู้หรืองบประมาณได้ ไม่ใช่โครงการที่มีแต่ต้นทุน ไม่ก่อรายได้ (เงินกู้เป็นเงินต้องจ่ายคืน ไม่ใช่เงินให้เปล่า หากไม่มีเหตุผลการใช้งาน MPT ก็ไม่ซื้อไม่จ่ายแน่นอน รวมทั้งการติดตั้งส่งมอบต้องดี ทุกวันนี้ก็ใช้งานอยู่)

นโยบาย หรือข้อตกลงของรัฐจะไม่เลือกปฏิบัติ หากรัฐบาลไทยให้วงเงินกู้กับรัฐบาลต่างชาติอยู่แล้ว เมื่อรัฐบาลต่างชาติแจ้งใช้วงเงินกู้สำหรับโครงการต่างๆ โดยโครงการมีคุณสมบัติถูกต้องแล้ว รัฐบาลไทยจะเลือกปฏิบัติปฏิเสธบางโครงการไม่อนุมัติเงินกู้ไม่ได้

รัฐบาลพม่าไม่มีปัญหาเครดิตหรือการชำระเงินโครงการที่รัฐบาลมีภาระผูกพัน (รัฐบาล พม่ามีรายได้จำนวนมากจากสัมปทานต่างๆ เช่น ปตท จ่ายค่าแก๊สและน้ำมันให้พม่าปีละสี่ห้าหมื่นล้านบาท ประเทศต่างๆให้วงเงินกู้จำนวนมากแก่รัฐบาลพม่าเพื่อส่งเสริมการขายของ เช่น จีน ญี่ปุ่น ดอกเบี้ยก็ต่ำกว่าของรัฐบาลไทย) ไทยอยู่ในฐานะพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ (แร่ธาตุ ป่าไม้ ประมง น้ำมัน ก๊าซ) จากพม่า มากกว่าพม่าพี่งพาสินค้าหรือเงินจากไทย ประเทศใหญ่ๆหลายแห่งช่วยเหลือพม่าดีกว่าไทยมาก โดยเหตุผลต่างๆ เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติ หรือ การเมือง (จีน อินเดีย แย่งกันเอาใจพม่า จีนใช้พม่าเป็นทางออกทะเลด้านตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งต่อท่อน้ำมันเชื่อมด้วย) การที่รัฐบาลไทยไม่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้ากับพม่า (หรือ กระทั่งสร้างความบาดหมางไม่พอใจกับรัฐบาลพม่า เช่นการไปดูถูกรัฐบาลพม่าที่ใช้ไทยคมเป็นกรณีฉ้อฉลหรือคอรัปชั่นกับอดีต นายกฯไทย หรือรัฐบาลพม่าไม่มีเครดิต รัฐบาลไทยต้องให้กู้แบบเสี่ยง) จะ ส่งผลร้ายต่อไทยมาก เพราะการสร้างความสัมพันธ์และการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านเป็น นโยบายที่สำคัญมากของทุกรัฐบาล โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหากับไทยในหลายแง่เช่นพม่า ทั้งด้านชายแดน ชนกลุ่มน้อยแยกดินแดน ยาเสพติด แรงงานผิดกฏหมาย

EXIM Bank ของ รัฐบาลทุกประเทศ มีภารกิจและวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนผู้ผลิต/ผู้ขายให้ส่งออกสินค้าไป ต่างประเทศ ด้วยการให้เงินกู้แก่ผู้ซื้อต่างประเทศที่มีเครดิต (โดยเฉพาะผู้ซื้อภาครัฐ) เป็นนโยบายส่งเสริมการส่งออกที่กระทำกันทั่วไป เช่น กรณีบริษัทชินแซทซื้อดาวเทียมและบริการยิงดาวเทียมไทยคม 1 ถึง 5 จากสหรัฐและฝรั่งเศส ก็มี EXIM Bank ของรัฐบาลสหรัฐและฝรั่งเศสให้เงินกู้แก่บริษัทชินแซท (รวมถึงปัจจุบันกว่า 4 หมื่นล้านบาท) กรณี JBIC ให้การท่าฯกู้เงินสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ มีเงื่อนไขต้องใช้บริษัทญี่ปุ่นก่อสร้าง

ช่องสัญญาณไอพีสตาร์ที่ MPT เช่าน้อยกว่า 1% ของช่องสัญญาณไอพีสตาร์ทั้งดวง วงเงิน 9.5 ล้านเหรียญ (ราว 330 ล้านบาท) น้อยกว่า 1% ของ ยอดรายได้ของกลุ่มบริษัทชินคอร์ปเกือบหนึ่งแสนล้านบาทต่อปี สะท้อนว่าอดีตนายกฯ รัฐบาลไทย รัฐบาลพม่า หรือ กลุ่มบริษัทชินคอร์ป ไม่มีแรงจูงใจทำผิดเสื่อมเสียจริยธรรมเพื่อให้ได้มา

MPT ซื้อและใช้ไทยคมและไอพีสตาร์จากชินแซทมานานเป็นปกติต่อเนื่องอยู่แล้ว กล่าวได้ว่า หากไม่มีโครงการเงินกู้นี้ MPT เพื่อชำระ ก็ยังซื้อไทยคมและไอพีสตาร์อยู่ดี (ดังเช่นก่อนหน้าและหลังโครงการเงินกู้นี้) หรือหากเป็นรัฐบาลอื่นที่ไม่ใช่รัฐบาลนายกทักษิณที่มีโครงการเงินกู้นี้ (เพราะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) แล้ว MPT ซื้อและใช้ไทยคมและไอพีสตาร์จากชินแซท ก็คงใช้เงินกู้นี้จากรัฐบาลไทยเพื่อชำระเช่นกัน (เพราะทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีคุณสมบัติเข้าข่าย)

http://shincase.googlepages.com/eximbanktoloanmyanmar

-------------------------------------------------------------------------------

(6) เอา การเจรจาเอฟทีเอ เอื้อดาวเทียมแลกกับประโยชน์ของชาติ
กรณีที่ 6 อดีตนายกฯเอาการเจรจาเอฟทีเอ เอื้อดาวเทียมแลกกับประโยชน์ของชาติ

บริษัทชินแซทไม่เคยได้ประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับ FTA รัฐบาลไทยไม่เคยเอื้อหรือช่วยไทยคมตอนเจรจา FTA กับต่างประเทศแต่อย่างใด สามารถตรวจสอบบันทึกได้จากกระทรวงไอซีทีและกระทรวงพานิชย์

กรณี FTA ไทย-ออสเตรเลีย เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ส่วนโทรคมนาคม เขียนว่า “ออสเตรเลียจะไม่จำกัดโควตาของปริมาณบริการดาวเทียมและมือถือ และจะไม่จำกัดการถือหุ้นของบริษัทไทยในบริษัท Optus และ Vodafone แต่ไม่สัญญาที่ให้บริษัทไทยถือหุ้นในบริษัท Telstra”

ข้อเท็จจริงคือ กรณีข้อความส่วนโทรคมนาคมใน FTA ฝั่ง ออสเตรเลียข้างต้น ไม่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยหรือบริษัทชินแซทเลย เพราะประเทศออสเตรเลียเปิดเสรีโทรคมนาคมมาก ไม่จำกัดโควตาบริการดาวเทียมและมือถือกับประเทศใดและอนุญาตให้ต่างชาติถือ หุ้นได้เต็มที่อยู่แล้ว หากต้องการซื้อหุ้น เอกชนก็เจรจาเองได้ เช่น บริษัทมือถืออันดับสอง Optus (ต่างชาติสิงคโปร์คือ Singapore Telecom ถือหุ้น100%) และ บริษัทมือถืออันดับสาม Vodafone (ต่างชาติอังกฤษคือ Vodafoneถือหุ้น100%)

ยิ่งไปกว่านั้น บริษัททั้งสามมีมูลค่าใหญ่มาก เช่น Telstra ที่ รัฐบาลออสเตรเลียเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มีมูลค่าในตลาดหลักทรัพย์ราว 2.8 ล้านล้านบาท ใหญ่เกินกว่าที่บริษัทไทยจะไปซื้อหุ้นหรือลงทุน (บริษัทโทรคมนาคมใหญ่ที่สุดของไทย คือ เอไอเอส มีมูลค่าน้อยกว่าสามแสนล้านบาท เล็กกว่า 10 เท่า) แต่เหตุที่รายการเหล่านี้ปรากฏใน FTA โดยที่ไม่ เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทย ก็เพราะเป็นเทคนิคการเจรจาที่ออสเตรเลียทำเพื่อให้ดูเหมือนยอมให้ฝ่ายไทยมาก ในหัวข้อที่เปิดรับการค้าและการลงทุนโทรคมนาคมจากต่างชาติ 100% อยู่แล้ว

ส่วนกรณีที่มีการกล่าวหาว่าอดีตนายกฯนำเรื่อง FTA ไปแลกเรื่องวงโคจรดาวเทียมไทยคม-4 หรือไอพีสตาร์กับรัฐบาลจีนนั้น ข้อเท็จจริงคือ บริษัทชินแซทไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับ FTA จีน

ไทยลงนามเป็นส่วนหนึ่งของ FTA ระหว่างอาเซียนกับจีนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2545 ส่วนกรณีการประสานงานดาวเทียมไทยคม-4กับดาวเทียมเอเชียแซท-4 ของฮ่องกง ฝ่ายไทยและฮ่องกงตกลงกันได้ด้วยทางออกทางเทคนิคอย่างฉันท์มิตร ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2546 อันเป็นวิถีทางหนึ่งที่ปฏิบัติกันทั่วโลก ในการเจรจาประสานงานความถี่วงโคจรดาวเทียม (หากตกลงกันไม่ได้ก็มีปัญหาการใช้งานทั้งคู่ ไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง)

ดาวเทียมเอเชียแซท-4 เป็นของบริษัทฮ่องกง ไม่ใช่ของจีน รัฐบาลฮ่องกงเพียง “ยื่นเรื่อง” ไปสู่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ผ่านรัฐบาลจีนเท่านั้น ตามนโยบาย “หนึ่งประเทศสองระบบ” ทางการจีนจะไม่ก้าวก่าย รัฐบาลฮ่องกงหรือจีนคงไม่ยอมแลก FTA กับเอกชนไทยกับอุตสาหกกรมที่รัฐบาลจีนคุมเข้มมากเช่นโทรคมนาคม (ปัจจุบันไม่มีต่างชาติได้รับใบอนุญาตให้บริการโทรคมนาคมในจีน ถึงแม้มีเงื่อนไข WTO ก็ตาม)

http://shincase.googlepages.com/ftanegotiationstobenefit

-------------------------------------------------------------------------------

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ข้อกล่าวหาทั้งหมดที่ใช้เพื่อหวังยึดทรัพย์ทักษิณ >>>