บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


19 กุมภาพันธ์ 2553

<<< ปัญหามากมายที่ยังค้างคาใจในเครื่อง GT200 >>>

1. สถาบันไหนยอมรับได้ กับผลทดสอบที่ออกมาถูก 4 ใน 20 ครั้ง หรือให้ประมาณ 20% ว่าสอบผ่าน แม้แต่สถาบันการศึกษา ทำข้อสอบต่ำกว่า 50% ยังถือว่าสอบตกอย่าว่าแต่ 20% เลย แถมถ้าลองทดสอบการเดาให้คนทำเฉลย 20 ข้อกับคนทดสอบกาข้อ A B C D แบบมั่วๆ ผลออกมาเผลอๆ ยังมากว่า 20% เลย อ่านข่าวเกี่ยวกับผลทดสอบได้ที่เรื่อง มิติใหม่GT-200 ใช้แบบไสยศาสตร์ ข้างล่างนี้

2. วงจรที่แปลงไฟฟ้าสถิตไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อให้มีไฟไปหล่อเลี้ยงวงจรอิเล็คทรอนิคส์ในเครื่อง(ถ้ามี) ให้ทำงานได้ มีแล้วหรือในโลกนี้ และหน้าตาของวงจรเป็นยังไง โดยเฉพาะที่เป็นวงจรไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่สามารถแปลงไฟจากร่างกายมนุษย์ให้มีไฟฟ้าหลายๆ โวลท์ ได้

3. ชิปและวงจรของการ์ดจอคอมพิวเตอร์ที่นำมาแสดง ในการแถลงของกองทัพ ช่วยทำให้เครื่อง GT200 ทำงานได้ยังไงหรือ
http://www.youtube.com/watch?v=yBCslUXAJ-c&feature=player_E M B E Dded&hd=1

ภาพประกอบนำมาจากกระทู้พันทิพที่นี่
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8896582/X8896582.html









ซึ่งดูเหมือนไป copy มาจากเว็บโฆษณาขาย การ์ดจอ คอมพิวเตอร์ด้วย
เสมือนหนึ่งว่า คนไทยไม่รู้เรื่องอะไร ถึงกล้าออกทีวีหลอกลวง
หรือทหารไทยที่ออกมาแถลงไม่รู้เรื่องพื้นฐานง่ายๆ ด้านไอทีเลย













4. มีการอ้างว่าต้องใส่แบตเตอรี่เข้าไปถึงใช้ได้ผลดี แบตเตอรี่ที่ว่าหน้าตาเป็นยังไง แล้วที่อ้างว่า ห้ามผ่าตัวเครื่องจะผิดสัญญา แล้วเวลาจะใส่แบตเตอรี่เข้าไป ต้องทำยังไงต้องส่งให้บริษัทใส่ให้ทุกครั้งใช่หรือไม่ หรือมีช่องใส่แบตแบบง่ายๆ ภายนอกเครื่องจริงหรือไม่ ถ้ามีใส่ตรงไหน และทำไมสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ถึงระบุให้เครื่องที่จะจัดหาไม่ต้องมีแบตเตอรี่ แล้วก็จัดหาได้ แสดงว่าเป็นการอ้างมั่วแถไปเรื่อยใช่หรือไม่เรื่องที่ว่าต้องมีแบตเตอรี่ถึงจะทำงานได้ผล ถ้ามีแบตเตอรี่แล้วทำงานได้ผลดีกว่า ทำไมสถาบันนิติวิทยาศาตร์ถึงต้องล็อคสเป็ค ต้องการเครื่องที่ไม่ใช้แบตเตอรี่เท่านั้น ตามประกาศ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เรื่อง สอบราคาซื้อ เครื่องตรวจพิสูจน์สารเสพติดชนิดพกพา จำนวน 2 ชุด แบบนี้มีความผิดหรือไม่
"1. คุณลักษณะทั่วไป
เป็นเครื่องมือตรวจสสารระยะไกล กลาง ไกล เครื่องเล็ก กะทัดรัด แบบมือถือ สามารถตรวจวัตถุสสารที่แอบซ่อนได้ในระยะไกลๆ โดยไม่จำเป็น ต้องมีการสัมผัส และไม่ต้องใช้แบตเตอรี่
"

ภาพ: สำนักข่าวอิศรา

5. มีสัญญาห้ามผ่าเครื่องออกมาดูจริงหรือไม่ ถ้าโปร่งใสจริงมีสัญญาที่ว่าจริง ทำไมไม่นำสัญญาที่ว่ามาแสดงให้ดู แล้วทำไมประเทศอื่นถึงผ่าเครื่องออกมาพิสูจน์ จนจับได้ว่าเป็นเครื่องลวงโลก ข้างในเป็นวงจรปลอมๆ Card ก็ของปลอมทำงานไม่ได้ ไม่มีไฟไปหล่อเลี้ยงวงจร จนสั่งห้ามขายและกำลังเล่นงานบริษัทที่ขายอยู่ในตอนนี้ ทำไมทำได้ ดูกรณีต่างประเทศผ่าเครื่องให้ดูได้ที่นี่
http://maha-arai.blogspot.com/2010/01/blog-post_521.html

และการที่หน่วยงานของรัฐไปทำสัญญาลักษณะเสียค่าปรับเกินราคาเครื่องมากๆ แบบนี้ มีความผิดหรือไม่ มันน่าไม่ถูกต้องอยู่หลายอย่างน่ะเราว่า ลองดูรายละเอียดเกี่ยวกับการทำสัญญาได้ที่นี่
http://www.m-society.go.th/document/news/news_4547.doc

แถมเครื่องที่ว่ามีการตรวจรับผ่านหน่วยงานต่างๆ มาได้ยังไง ยกตัวอย่างสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ที่มี TOR ดังต่อไปนี้ โดยเฉพาะ ข้อ 2.2 นี้
"2.2 สามารถตรวจหาสารเสพติดในระยะไม่น้อยกว่า 200 เมตร และสามารถตรวจสอบผ่านกำแพงได้
"


ประกาศ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
เรื่อง สอบราคาซื้อ เครื่องตรวจพิสูจน์สารเสพติดชนิดพกพา จำนวน 2 ชุด


สถาบันนิติวิทยา ศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องตรวจพิสูจน์สารเสพติดชนิดพกพา จำนวน 2 ชุด
โดยมีรายละเอียดดัง นี้

1. คุณลักษณะทั่วไป
เป็นเครื่องมือตรวจสสารระยะไกล กลาง ไกล เครื่องเล็ก กะทัดรัด แบบมือถือ สามารถตรวจวัตถุสสารที่แอบซ่อนได้ในระยะไกลๆ โดยไม่จำเป็น ต้องมีการสัมผัส และไม่ต้องใช้แบตเตอรี่
2.คุณลักษณะเฉพาะ
2.1 เป็นอุปกณรณ์สำหรับตรวจหาสารเสพติดใช้งานได้โดยง่าย
2.2 สามารถตรวจหาสารเสพติดในระยะไม่น้อยกว่า 200 เมตร และสามารถตรวจสอบผ่านกำแพงได้
2.3 สามารถตรวจหาสารเสพติด ได้ทั้งด้านซ้ายและขวา 180 องศา ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือสลับมือที่ถืออุปกรณ์
2.4 ขนาดเล็ก กระชับมือ
2.5 มีน้ำหนักไม่เกิน 150 กรัม
2.6 สามารถใช้งานโดยไม่ต้องต่อสายไฟตรง หรือทำงานโดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่

3. อะไหล่และอุปกรณ์
3.1 บัตรการตรวจสารเสพติด ที่สามารถใช้ตรวจหาสารเสพติด เช่น เฮโรอีน กัญชา แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน ผิ่น มอร์ฟีน
3.2 กล่องหรือกระเป๋าบรรจุเครื่องมือป้องกันการกระแทก และป้องกันน้ำ

4. อื่นๆ
4.1 เป็นของใหม่ ไม่เก่าเก็บ และไม่เคยใช้งานมาก่อน
4.2 มีคู่มือการใช้เครื่องมือ ทำการทดสอบเครือ่งมือจนสามารถใช้งานได้ดี
4.3 อบรมผู้ใช้จนสามารถใช้งานได้
4.4 รับประกันคุณภาพไม่น้อยกว่า 1 ปี

ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมี คุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่สอบราคาซื้อดังกล่าว
2. ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้ แจ้งเวียนชื่อแล้ว
3. ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยเว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้ สละสิทธิ์ความคุ้มกันนั้น
4. ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคาให้แก่ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ณ วันประกาศสอบราคาซื้อ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการ สอบราคาซื้อครั้งนี้
กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 22 ตุลาคม 2551 ถึง 7 พฤศจิกายน 2551 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. ณ งานพัสดุ สำนักงานเลขานุการกรม สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ชั้น 11 อาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนลทาวเวอร์ ถนนแจงวัฒนะ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 เวลา 10.30 น. น.
ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ งานพัสดุฯ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ชั้น 11 อาคารจัสมินอินเตอิร์เนชั่นแนลทาวเวอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทุรี ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.gprocurement.go.th หรือ www.cifs.moj.go.th หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2100 3846 ในวันและเวลาราชการ

ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551




( พันโทเอนก ยมจินดา )
ตำแหน่ง
รองผู้อำนวยการ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
รักษาราชการแทนผุ้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสร์


สำเนาถูกต้อง

( นายศักดิ์ดา สารจันทร์ )
ตำแหน่ง
เจ้าพนักงานพัสดุ 4

http://view.gprocurement.go.th/01_procure/view_online_notice.php?id=238534&display_status=A


6. ถ้าต้องการพิสูจน์ความจริง เพื่อปกป้องชีวิตผู้ใช้งานและชาวบ้านทั่วไป ที่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของเครื่อง รวมทั้งเงินงบประมาณจำนวนมากที่ใช้ซื้อเครื่องแบบนี้ การยอมผ่าออกมาดูหรือทำตกแตกสักอัน เพื่อพิสูจน์สิ่งที่มีอยู่ข้างใน ถ้าเป็นสิ่งหลอกลวงมีวงจรหลอกๆ ทำงานไม่ได้ มี Card หลอกๆ ทำงานไม่ได้จริงๆ สามารถจับกุมเจ้าของบริษัทและฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายได้ มากกว่าที่นำมาอ้างว่ากลัวจะถูกปรับหรือไม่ ยิ่งถ้าพิสูจน์ได้ว่า เป็นเครื่องลวงโลก สัญญาที่ทำก็เป็นสัญญาลวงโลกมีความผิดแน่นอน คุ้มหรือไม่ที่จะกล้าพอยอมให้ผ่าตัวเครื่องออกมาดู หรือกลัวชาวบ้านจะรู้ความจริงว่าข้างในไม่มีอะไรหรือมี วงจรลวงโลกทำงานไม่ได้จริง อยู่ข้างในตัวเครื่อง ความพยายามในการปกป้องคนผิดทุกวิถีทาง ทั้งบริษัทที่มาต้มตุ๋น ทั้งผู้ได้ค่าคอมมิชชั่น ทั้งผู้กลัวมีผลกระทบกับคดีที่ตนนำเครื่องนี้ไปอ้าง ทั้งการกลัวเป็นความผิดของคนที่จัดซื้อและผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือค่าโง่ของรัฐบาลที่จะถูกชำแหละออกมา เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึง คุณธรรมจริยธรรมความซื่อสัตย์สุจริตที่ชอบนำมาอ้างกัน ว่าจริงๆ แล้วมีอย่างที่พูดหรือไม่ ถ้ากรณีนี้ไม่มีคนผิด ไม่มีคนรับผิดชอบ คดีฉ้อโกงในไทยก็คงไม่มี ที่มีคงไปปรักปรำชาวบ้าน เพราะขนาดเห็นๆ หลักฐานมากมายยังลอยนวลอยู่ได้แบบนี้

--------------------------------------------------------------

เรื่องนี้จะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบว่า
อภิสิทธิ์ยังมีสภาพเป็นนายกอยู่หรือไม่
หรือเป็นนายกแต่ในนาม
เข้าลักษณะหุ่นเชิด
ที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจอะไร


โดย มาหาอะไร

--------------------------------------------------------------

มิติใหม่GT-200 ใช้แบบไสยศาสตร์

โดย ไทยรัฐ
18 กุมภาพันธ์ 2553, 13:57 น.

Pic_65826

ผลทดสอบเครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT-2005เหมือนสนิมกัดกร่อนหน่วยงานความมั่นคงของประเทศไทย

ค่อนข้าง ชัดเจน ผลทดสอบเครื่องมีความถูกต้อง 4 ใน 20 ครั้ง...ไม่แตกต่างจากการเดาสุ่ม

ประวัติความเป็นมา GT-200 ในประเทศไทย เริ่มรู้จักแพร่หลายในหน่วยงานทหารของกองทัพบก...ราวปี 2547 ขอยืมมาจากกองทัพอากาศเพื่อฝึกใช้งาน พร้อมทั้งมีการสั่งซื้อสมัย พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน เป็นผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)


หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด (อีโอดี) กรมสรรพาวุธทหารบก นำจีที 200 มาใช้ปฏิบัติภารกิจร่วมกับทหาร

ถัดมา ในปี 2548 มีการขออนุมัติจัดซื้อจีที 200 ด้วยวิธีพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งมาใช้กันเต็มพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี 2550...ผ่านกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน.

ส่ง ต่อไปยังกองทัพภาคที่ 1, 2, 3, 4 หมุนเวียนสับเปลี่ยนลงไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่มานานกว่า 4 ปีเต็ม

ปัจจุบัน คาดว่า...หน่วยงานความมั่นคง มีเครื่องจีที 200 และอัลฟา 6 ใช้ทั่วประเทศ ราว 1,000 เครื่อง

นับเฉพาะ จีที 200 "กองทัพบก" มี 800 เครื่อง...สนนราคาเครื่องละ 1.4 ล้านบาท เฉพาะพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา มี 535 เครื่อง

"กองทัพอากาศ" จัดซื้อในปี 2547 จำนวน 9 เครื่อง ราคา 1.2 ล้านบาท รวมค่าการ์ด 18 ใบ ต่อมา ในปี 2551...จัดซื้อเพิ่ม 17 เครื่อง

สนนราคาเครื่องเปล่า ...อยู่ที่เครื่องละ 700,000-800,000 บาท

"กองทัพเรือ" ใช้ในหน่วยนาวิกโยธินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 10 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1.4 ล้านบาท

"สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)" ใช้ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ เช่นเดียวกัน จำนวน 20 เครื่อง...ราคาเครื่องละ 900,000-1,600,000 ล้านบาท

"กองบัญชาการ ปราบปรามยาเสพติด (ปส.)" มีใช้จำนวน 5 เครื่อง สนนราคาเครื่องละ 1.2 ล้านบาท... "สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)" จำนวน 10 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1.5 ล้านบาท

"สถาบันนิติวิทยาศาสตร์" มีใช้ 6 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1.1 ล้านบาท เป็นการทยอยซื้อปีละ 1-2 เครื่อง ช่วงปี 2550-2552

แล้วก็มาถึงช่วงต้นปี 2553 ก็มี "รุ่นไม้ล้างป่าช้า"...ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำเองกับมือ

ถ้า จำไม่ผิดชื่อรุ่นของแท้ น่าจะเป็น "เจดี 300... (JD-300)"

ไม่รู้ว่า ...ผลิตไปแล้วจำนวนกี่เครื่อง แต่สนนราคาต่อเครื่องถูกอย่างน่าใจหาย อยู่ที่เครื่องละ 159 บาท

ทีมงานเว็บไซต์ GT200.org หนึ่งในผู้ติดตาม เฝ้าดูประสิทธิภาพเครื่อง GT-200 มานานพอสมควร แถลงว่า... "หากท่านเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่ใช้เครื่องมือดังกล่าวอยู่ ท่านมีสิทธิ์โดยชอบที่จะปฏิเสธการใช้เครื่องมือทันที...

หากผู้ บังคับบัญชายังบังคับให้ใช้ต่อไป ท่านสามารถอุทธรณ์ ร้องเรียนคำสั่งดังกล่าว หรือนำเรื่องขึ้นสู่ศาลในที่สุดได้"

วันนี้ การพิสูจน์ว่าเครื่องที่ใช้ไม่ได้อยู่แล้วให้เห็นว่าใช้ไม่ได้...ไม่ใช่ เรื่องวิเศษอะไร

เวลายาวนานแรมปีตั้งแต่ปีที่แล้ว หรือกว่าสองสัปดาห์ที่ข่าวเข้าสู่กระแสสังคม ความเสียหายที่เกิดขึ้นสะสมในแต่ละวันประมาณค่าไม่ได้ ทั้งที่เป็นตัวเงินและชีวิตของพี่น้องประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการ

"วันนี้ไม่ใช่ความสำเร็จ เพียงแต่เป็นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นตามครรลอง... ความจริงแล้วอาจเป็นวันแห่งความอับอายด้วยซ้ำว่า...ของที่ใช้การไม่ได้ กว่าจะพิสูจน์และยอมรับโดยภาครัฐว่าใช้ไม่ได้ ต้องกินเวลามากถึงเพียงนี้...


เจษฎา

ซ้ำ ร้าย ระยะเวลาระหว่างการพิสูจน์ รัฐบาลไทยยังปล่อยให้ใช้เครื่องมือนี้อยู่ต่อไปโดยไม่มีการดำเนินการใดๆ"

วันนี้จึงไม่มีการฉลองใดๆ ในทีมงานของเรา และจะไม่หยุดแค่นี้ เราจะเรียกร้องขยายผลต่อไป ดังต่อไปนี้

1. ให้หยุดใช้เครื่อง GT-200 เครื่อง Alpha-6 และเครื่องอื่นที่มีหลักการดาวซิ่งโดยเร็วที่สุด เพราะเป็นการใช้อำนาจรัฐที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

2. ให้ตรวจสอบการจัดซื้อในอดีต ตัวแทนจำหน่าย และบริษัทผู้ผลิต

3. ให้การจัดซื้ออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีราคาแพงของรัฐในอนาคต ต้องมีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรเข้าร่วมตรวจสอบ

4. ให้ความรู้กับสาธารณชนเกี่ยวกับกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์และหลักการทาง วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เหล่านี้

"ย้ำว่า...หากเป้าหมาย ทั้ง 4 ข้อ ยังไม่บรรลุผล เราจะไม่หยุด...ขอให้ท่านทั้งหลายติดตาม ยืนเคียงข้างเราด้วย"

หลายคนอาจสงสัยเว็บไซต์จีที 200 เป็นหน่วยงาน หรือองค์กรใดกันแน่?


คำเฉลยอยู่ในรายละเอียดแสดงตนที่ระบุว่า www.GT200.org ก่อตั้งมาจากปมปัญหาเรื่องเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดและสารเสพติดที่มีมานาน แล้ว แต่เพิ่งจะได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในประเทศไทย หลังการเผยแพร่ข่าวของสำนักข่าวบีบีซีและการต่อสู้ของชุมชนวิทยาศาสตร์หว้า กอ

เมื่อกลายเป็นประเด็นสาธารณะที่ทุกคนจับตามองและมีแนวโน้มว่าฝ่าย รัฐบาลไทยจะถ่วงเวลาในการตอบโจทย์ของสังคม ทั้งที่ทราบดีอยู่แล้วว่ามีปัญหามาตั้งแต่ปี 2552

ในฐานะกลุ่มนัก วิทยาศาสตร์และวิศวกรไทยที่เห็นแก่ประเทศชาติ จึงจัดทำ GT-200.org จับตาเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดและเป็นกลาง ผ่านข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และหลักเหตุผล

มุ่งหมายให้บุคคลทั่วไป สามารถติดตามเรื่องราวที่เกิดขึ้น เรียนรู้หลักการทางวิทยาศาสตร์และทำความเข้าใจได้อย่างง่ายๆ

"ผลลัพธ์ จากเรื่อง GT200 นี้นอกจากช่วยพี่น้องชาวใต้แล้ว ยังเป็นการช่วยให้การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องกับคนไทย...กระตุ้น จิตสำนึกการมีส่วนร่วมของคนไทยทุกคนในสังคมที่ควรเป็นหูเป็นตาในเรื่องสำคัญ ของชาติ"

เราเคยบอกแล้วว่า...สถิติความแม่นยำของเครื่อง "จีที 200" หากจะพูดสั้นๆ แบบภาษาชาวบ้าน "ถ้าได้ 9 ครั้งขึ้นไปจาก 20 ครั้ง...ถือว่ามีกึ๋นตามหลักสถิติ สมควรทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาว่าเป็นกึ๋นจริงหรือโกงการทดสอบ"
ถ้าได้ 8 ครั้งหรือน้อยกว่า...ถือว่าลวงโลก "ผู้ใช้ถึงตาย...คนขายติดคุก"

ส่วน การรายงานผลเป็น เปอร์เซ็นต์ (%) หรือร้อยละ คุณต้องตั้งคำถามว่าเป็นเปอร์เซ็นต์ของอะไร เทียบกับอะไร...ถ้าไม่บอกตัวเลขนั้นไม่มีความหมาย...ไม่ต้องกังวลหรือใส่ใจ

การทดลองทางวิทยาศาสตร์ต้องทำซ้ำได้และมีหลักการรองรับ เราเชื่ออย่าง ไอสไตน์ว่า... "ต่อให้ทดลองกี่ครั้งก็ตาม ไม่อาจพิสูจน์ว่าทฤษฎีถูกต้อง แต่การทดลองเพียงครั้งเดียวอาจพิสูจน์ว่าทฤษฎีผิดได้"

นั่นหมายความ ว่า...ผลที่ออกมา บอกว่าใช้ไม่ได้ก็คือใช้ไม่ได้ แต่ถ้าบอกว่าใช้ได้ คำตัดสินนี้ไม่ถือเป็นที่สุด และอาจจัดให้ทดลองซ้ำใหม่ หรือทำการทดลองเชิงลึกเช่นการผ่าพิสูจน์ต่อไปได้

ใครที่ยังกังขา ...ผลการทดสอบ GT-200 ถูก 4 ครั้ง จากทั้งหมด 20 ครั้ง มาถึงขั้นนี้แล้ว...นอกจากจะไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ ไม่แน่ว่าคนคนนั้นอาจจะมีความเชื่อหนักไปทางไสยศาสตร์.

--------------------------------------------------------------

ดูวีดีโอ การใส่การ์ดเครื่องลวงโลก

http://www.youtube.com/watch?v=wAldoWTEb5c&feature=related

--------------------------------------------------------------

แฉยุค “หมัก-ชาย-มาร์ค” ผลาญ 700 ล้านซื้อ “จีที 200”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กุมภาพันธ์ 2553 06:16 น.

การทดสอบประสิทธิภาพเครื่อง จีที 200 ที่ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย วันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา

เครื่องอัลฟา 6 ที่กรมการปกครองใช้งบประมาณหลายร้อยล้านบาทซื้อมาใช้

เปิดรายละเอียดการจัดซื้อ “”จีที 200” และ “อัลฟา 6” เครื่องตรวจหาสารระเบิดลวงโลก จากยุครัฐบาล “สมัคร-สมชาย” ถึงยุค “มาร์ค” จัดซื้อไปแล้วเกือบ 1 พันเครื่อง ผลาญเงินงบประมาณไปกว่า 746 ล้านบาท แฉกรมการปกครองยุค “ยี้ห้อย” คุม มท.โหมสั่งปลายปี 52 เกือบ 500 เครื่อง งบฯ ร่วม 350 ล้าน

ในที่สุดผลการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาระเบิดและสารเสพติด ยี่ห้อ Global Tech รุ่น GT200 หรือ จีที 200 ก็ออกมาแล้วว่าไม่สามารถใช้งานได้จริง จากผลการทดสอบ 20 ครั้ง โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปรากฏว่าตรวจหาระเบิดพบเพียง 4 ครั้ง ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สั่งให้ยกเลิกการจัดซื้อเครื่อง จีที200 เพิ่มเติมทันที และกำลังพิจารณายกเลิกการจัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 ซึ่งอ้างหลักการทำงานเดียวกัน

การจัดซื้อเครื่อง จีที 200 เข้ามาใช้ในประเทศไทยนั้น เริ่มมีตั้งแต่ปี 2547 เพื่อนำมาใช้ในการตรวจหาวัตถุระเบิดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากนั้นก็มีการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องทุกรัฐบาล จนมาถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

จากการตรวจสอบของ “ASTVผู้จัดการออนไลน์” พบว่า ตั้งแต่ปี 2551 ในช่วงรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช มาจนถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ มีหน่วยงานราชการของไทยทำสัญญาซื้อ จีที 200 และ อัลฟา 6 แล้ว 13 ครั้ง รวมจำนวน 954 เครื่อง คิดเป็นเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 746,546,500.00 บาท

ทั้งนี้ ในช่วงรัฐบาลนายสมัคร มีการทำสัญญาจัดซื้อเครื่องจีที 200 และ อัลฟา 6 จำนวน 6 ครั้ง ได้แก่ 1.กรมสรรพาวุธทหารบก จัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 4 ครั้งจากบริษัท เอวีเอ แซทคอม จำกัด แบ่งเป็น

1.1.การจัดซื้อตามสัญญาลงวันที่ 14 มีนาคม 2551 จำนวน 33 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 900,000 บาท รวมเป็นเงิน 29,700,000 บาท

1.2.การจัดซื้อตามสัญญาลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 จำนวน 68 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 900,000 บาท รวมเป็นเงิน 61,200,000 บาท

1.3.การจัดซื้อตามสัญญาลงวันที่ 18 สิงหาคม 2551 จำนวน 2 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 900,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,800,000 บาท

1.4.การจัดซื้อตามสัญญาลงวันที่ 3 กันยายน 2551 จำนวน 19 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 900,000 บาท รวมเป็นเงิน 17,100,000 บาท

2.สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) จัดซื้อเครื่อง อัลฟา 6 จากบริษัท แจ็คสัน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 2 ครั้ง แบ่งเป็น

2.1.การจัดซื้อตามสัญญาลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 จำนวน 10 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 424,800 บาท รวมเป็นเงิน 4,248,000 บาท

2.2. การจัดซื้อตามสัญญาลงวันที่ 26 สิงหาคม 2551 จำนวน 5 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 424,800 บาท รวมเป็นเงิน 2,124,000 บาท

มาถึงช่วงรัฐบาลนายสมชาย แม้จะมีอายุเพียงช่วงสั้นๆ แต่ก็มีการทำสัญญาซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 1 ครั้ง โดยกรมสรรพาวุธ กองทัพบก ซื้อจากบริษัท เอวีเอ แซทคอม จำกัด ตามสัญญาลงวันที่ 13 กันยายน 2551 จำนวน 18 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 900,000 บาท รวมเป็นเงิน 16,200,000 บาท

นอกจากนี้ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ได้ซื้อเครื่องอัลฟา 6 รุ่น SE จากบริษัท เอเอสแอลเอ็ม เทรดดิง จำกัด จำนวน 2 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 447,000 บาท รวมเป็นเงิน 894,000 บาท

เข้าสู่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีหน่วยงานต่างๆ สั่งซื้อเครื่อง จีที 200 และเครื่องอัลฟา 6 ทั้งหมด 5 ครั้ง ได้แก่ 1.กรมสรรพาวุธทหารบก จัดซื้อเครื่องจีที 200 จากบริษัท เอวีเอ แซทคอม จำกัด 2 ครั้ง ตามสัญญาลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 จำนวน 222 เครื่อง ในราคาเรื่องละ 900,000 บาท รวมเป็นเงิน 199,800,000 บาท และตามสัญญาลงวันที่ 28 เมษายน 2552 จำนวน 30 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 900,000 บาท รวมเป็นเงิน 27,000,000 บาท

2.กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การดูแลของพรรคภูมิใจไทย จัดซื้อเครื่อง อัลฟา 6 จากบริษัท ยูจีซี เอ็นจีเนียริง จำกัด ตามสัญญาลงวันที่ 12 มีนาคม 2552 จำนวน 63 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 530,952.38 บาท รวมเป็นเงิน 33,450,000 บาท และจัดซื้อจากบริษัท เปโดรกรุงเทพฯ จำกัด ตามสัญญาลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 จำนวน 479 เครื่อง ในราคาเครื่องละ 729,000 บาท รวมเป็นเงิน 349,430,500 บาท

และ 3.กรมราชองครักษ์ จัดซื้อเครื่องตรวจหาสารระยะไกลและอุปกรณ์ ยี่ห้อ Global Technial รุ่น GT200 จากบริษัท เอวีเอ แซทคอม จำกัด ตามสัญญาลงวันที่ 31 มีนาคม 2552 จำนวน 3 เครื่อง ในราคาเรื่องละ 1,200,000 บาท รวมเป็นเงิน 3,600,000 บาท

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000022750

-----------------------------------------------------

FfF