บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


22 ตุลาคม 2553

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง โคราชน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 50 ปี ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าอดีตทำไมถึงท่วมหนักได้ >>>

กราฟเปรียบเทียบปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง
จากคุณ redearth


กราฟเส้นสีแดงคือปีปัจจุบัน ที่แสดงให้เห็นว่า
น้ำยังไม่เต็มอ่างเก็บน้ำลำตะคองดี
แม้จะผ่านวันที่ฝนตกหนักในวันที่ 15 ไปแล้ว 2 วัน


















http://www.internetfreedom.us/showthread.php?tid=13232
http://water.rid.go.th/flood/flood/res_table.htm

--------------------------------------------------

Daily News Online
หวั่นเขื่อนแตก ลำตะคองปล่อยน้ำ
วันอาทิตย์ ที่ 17 ตุลาคม 2553 เวลา 19:06 น

ลำตะคองสุดอั้น!!! รับน้ำไม่ไหวหวั่นเขื่อนแตก เตรียมปล่อยน้ำคืนนี้ ประกาศเตือนชาวบ้านใต้เขื่อน ระวัง

เมื่อเวลา 17.45 น.วันที่ 17 ต.ค. ได้มีประกาศจากศูนย์วิทยุตำรวจ สภ.สีคิ้ว ศูนย์วิทยุ สภ.สูงเนิน ศูนย์วิทยุหน่วยกู้ภัยสว่างแสงธรรมสูงเนิน ศูนย์วิทยุหน่วยกู้มูลนิธิพรหม ธรรมสีคิ้ว และวิทยุชุมชนบางสถานีในพื้นที่ ว่าได้รับแจ้งจากกรมชลประทานว่าอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีความจุในการกักเก็บน้ำได้ ถึง 310 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้ฝนได้ตกอย่างรุนแรงในท้องที่ อ.ปากช่อง ซึ่งอยู่เหนือเขื่อน เป็นเหตุให้น้ำไหลเข้าตัวเขื่อน เป็นจำนวนมากจนเหลือเพียง 30%เท่านั้น น้ำก็จะล้นเขื่อน ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ สำนักงานชลประทานลำตะคอง จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกจากเขื่อนภายในเวลา 24.00 น.คืนนี้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแตกร้าว ของตัวเขื่อนซึ่งอาจจะเกิด อันตรายกับประชาชนที่อาศัยอยู่ใต้เขื่อน

ดังนั้น จึงขอประกาศให้ประชาชนที่อาศัย อยู่ตามที่ลุ่ม ริมลำตะคอง รีบเก็บสิ่งของขนย้ายไปอยู่บนพื้นที่สูง นอกจากนั้นยังขอให้ทุกฝ่ายออกประกาศเตือนพร้อมเตรียมตัวให้การช่วยเหลือประชาชนเมื่อ​มีเหตุน้ำท่วมเกิดขึ้นในทันที

ส่วนอ่างเก็บน้ำเขื่อนซับประดู่ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดเล็กสามารถกักเก็บน้ำได้ 27.67 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งอยู่ในเขต อ.สีคิ้ว ก็เช่นกัน ก่อนหน้านี้ได้ประกาศบอกชาวบ้าน ว่าทางเขื่อนไม่สามารถจะรองรับน้ำที่กำลังจะล้นได้ จึงจำเป็นจะต้องระบายน้ำออกซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของ อ.สีคิ้ว โดยเฉพาะ อ.สูงเนิน ที่รับน้ำโดยตรงจะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเตือนให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในรัศมีใต้เขื่อนเก็บสิ่งของขึ้นอยู่ในที่ สูง ซึ่งหลังจากที่มีการประกาศแล้ว ทำให้ชาวบ้านที่ทราบข่าว พากันตกใจเก็บข้าวของกันจ้าละหวั่นและยังวิตกกันว่า ถ้าหากเขื่อนทั้ง 2 แห่งเปิดประตูระบายน้ำออกมาพร้อมๆ กัน ประชาชนทั้งเมืองโคราชจะต้องได้รับความเดือนร้อนอีกหลาย เท่าทวีคูณและอาจจะถึงกับเกิดความสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นได้

ส่วนทางด้าน พล.ต.ท.เดชาวัต รามสมภพ ผบช.ตร.ภาค 3 ได้วิทยุสั่งการให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกสถานีในเขตประสบภัย น้ำท่วมคือ 1.ให้ผู้บังคับบัญชาทุกสถานี จัดส่งผู้ใต้บังคับบัญชาไปร่วม กับฝ่ายปกครอง ออกช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน 2.ออกไปให้การช่วยเหลือประชาชนที่ถูกน้ำท่วม โดยครอบครัวใดไม่มีที่อยู่อาศัย ก็จัดที่อยู่ให้และป้องกันเหตุร้ายให้ด้วย 3.ให้ผู้บังคับบัญชานำลูกน้องออกตรวจพื้นที่ทั้งกลางวัน และกลางคืนเพื่อป้องกันเหตุร้ายจากมิจฉาชีพรวม ถึงให้เฝ้าระวังบุคคลแปลก หน้าที่ส่อพฤติกรรมมีพิรุธ ซึ่งถ้าหากพื้นที่แห่งไหนไม่ปฎิบัติตาม ก็จะพิจารณาลงโทษต่อไป.

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=98640&categoryID=561

------------------------------------------------------------------

นี่คือหลักฐานสำคัญ ที่ชี้ให้เห็นว่า
มีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนในคืนวันที่ 17
ทั้งๆ ที่สามารถยั้งไว้ไม่เร่งรีบระบายน้ำออกมามากๆ ได้
เหมือนปี 2551 ช่วงรัฐบาล พปช. และ พท
ที่ปริมาณน้ำจากกราฟเส้นสีเขียว
ก็ไม่ได้น้อยกว่าปีนี้เส้นสีแดงแถมยังมากกว่าอีก
แต่ไม่มีปัญหาน้ำท่วมเท่าปีนี้

<<< หลักฐานการหลอกลวงชาวบ้าน เรื่อง เขื่อนไม่ได้ปล่อยน้ำ >>>http://maha-arai.blogspot.com/2010/10/blog-post_6338.html

หลังเขื่อนลำตะคองปล่อยน้ำในตอนกลางคืนวันที่ 17 แล้ว
ในวันรุ่งเช้าวันที่ 18 น้ำเริ่มทะลักเข้าใส่หลายอำเภอทันที
ทั้ง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน และเขตเทศบาลนครนครราชสีมา
โดยเฉพาะบ้านเรือนริมฝั่งลำตะคอง และ โรงพยาบาลหลายแห่งด้วย
ข่าว 2 ชิ้นนี้จึงพิสูจน์ฟันธงได้เลยว่า
น้ำท่วมหลายพื้นที่ของโคราช
เกิดจากการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนแน่นอน
แต่จะจงใจหรือไม่ ก็คิดกันเอาเองแล้วกัน
เพราะจากสถิติปี 51
เขื่อนเคยเก็บน้ำได้สูงกว่านี้ยังเก็บได้
แต่ทำไมปีนี้ถึงรีบปล่อยน้ำออกจากเขื่อนแบบนี้

---------------------------------------------------------------------

โคราช-คืบหน้าน้ำท่วมเขตเทศบาลนครนครราชสีมา เช้า 18ตค.53
ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ / นครราชสีมา

สถานการณ์น้ำท่วมเขตเทศบาลนครนครราชสีมาล่าสุดศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบ​อุทกภัยประกาศแจ้งเตือนประชาชนอพยพขึ้นที่สูงล่าสุดมีรายงานผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมแ​ล้ว 3 ราย
นครราชสีมา เช้ามืดวันนี้ (18 ต.ค. 2553) ระดับน้ำในลำตะคองซึ่งไหลผ่านตัวเมืองนครนครราชสีมาได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็​วจนเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมสองฝั่งลำตะคองตลอดทั้งสาย
ตั้งแต่อำเภอสีคิ้ว ผ่านอำเภอสูงเนิน เรื่อยมาจนถึงเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ส่งผลให้บ้านเรือนหลายพันหลังคาเรือนเดือดร้อนอย่างหนัก โดยเฉพาะบริเวณถนนมิตรภาพ แยกนครราชสีมา น้ำในลำน้ำลำตะคองได้เอ่อทะลักเข้าท่วมโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา และโรงเรียนเพาะชำ 4 เทศบาลนครนครราชสีมา นอกจากนี้ด้วยประมาณน้ำในลำน้ำลำตะคองมีปริมาณที่สูงอย่างมาก ยังได้ทำให้กำแพงของโรงพยาบาลเซนเมรี่ ที่อยู่ติดกับลำน้ำพังทลายลงมา ส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมภายในพื้นที่ของโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ยังคงมีผู้ป่วยและญาติ รวมถึง คณะแพทย์พยาบาลของโรงพยาบาลติดอยู่ภายในโรงพยาบาลหลายร้อยชีวิต ซึ่งขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการลำเลียงผู้ป่วยและบรรดาญา​ติๆออกจากโรงพยาบาลได้แล้วส่วนหนึ่ง แต่ยังคงมีอีกนับร้อยชีวิตที่ยังคงรอการให้ความช่วยเหลืออยู่ภายในโรงพยาบาล ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับการขนย้ายออกจากโรงพยาบาลในเบื้องต้น จะเป็นผู้ป่วยหนัก ซึ่งขณะนี้ได้นำผู้ป่วยที่ลำเลียงออกมาทั้งหมดส่งไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ​ฯ – ราชสีมา ก่อนในเบื้องต้น จนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลาย ขณะที่ปริมาณน้ำที่ทะลักเข้ามายังได้เข้าท่วมลานจอดรถของโรงพยาบาลซึ่งมีรถของบรรดาญ​าติผู้ป่วยและแพทย์พยาบาลจอดอยู่สูงกว่า 1.50 เมตร ทำให้รถยนต์นับลอยคันจมอยู่ใต้น้ำทั้งหมด

เช่นเดียวกันกับที่ บริเวณถนนช้างเผือก เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาน้ำลำตะคองได้ไหลเอ่อทะลักเข้าท่วมภายใ​นโรงพยาบาลเกือบทั่วพื้นที่ทั้งหมดแล้ว ล่าสุดระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร เจ้าหน้าที่ต้องขนย้ายอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และอพยพผู้ป่วยขึ้นไปอยู่บนอาคารสูง โดยทางกองทัพภาคที่ 2และเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้นำรถบรรทุกขนาดใหญ่ และเรือท้องแบนไปช่วยเหลือแล้ว

อย่างไรก็ตามทางโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้ฝากประชาสัมพันธ์มายังผู้ป่วยนัด​ หรือผู้ป่วยที่ต้องการมารักษากับทางโรงพยาบาล หากอาการไม่หนัก หรือยาที่แพทย์ให้ยังคงมีเหลือก็ควรที่จะเลื่อนนัดออกไปก่อน 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลาย แต่หากผู้ป่วยที่อาการหนักจำเป็นเดินทางมาที่โรงพยาบาลทางเจ้าหน้าที่ก็จะเตรียมรถบร​รทุกขนาดใหญ่ไว้คอยบริการรับส่ง โดยหากสงสัยสามารถโทรศัพท์ติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 044-235071 ในวันเวลาราชการ

ทั้งนี้เมื่อกลางดึกที่ผ่านมาเวลาประมาณ 23.00 น. ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดนครราชสีมา
ได้ออกประกาศฉบับที่ 3 แจ้งเตือนประชาชนในเขตเทศบาลนครราชสีมาที่อาศัยอยู่ริมฝั่งลำตะคอง และบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ให้เตรียมรับมือกับน้ำที่กำลังไหลเข้าเมือง และอพยพสิ่งของเครื่องใช้ไปไว้ในที่สูง ซึ่งคาดการณ์ว่าช่วงเช้าวันนี้ (18 ต.ค. 53) ปริมาณน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีก 70 เซนติเมตร

อย่างไรก็ตามขณะนี้ที่จังหวัดนครราชสีมามีรายงานผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท​่วมครั้งนี้แล้ว 3 ราย แบ่งเป็น อำเภอปากช่อง 1 ราย และอำเภอด่านขุนทดอีก 2 ราย และยังมีประชาชนติดอยู่ภายในบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมอีกเป็นจำนวนมาก โดยในวันนี้ (18 ต.ค. 53) นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา จะขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินตรวจสภาพน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อประเมินสถานกา​รณ์ และวางแผนสั่งการแก้ไขปัญหาต่อไป

http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=117350
----------------------------------------------------------------

วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4255 ประชาชาติธุรกิจ
วิกฤตเมืองโคราช...จมใต้บาดาล เศรษฐกิจ-การค้า-เกษตรเสียหายยับ

นับเป็นเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง เพราะเพียงไม่กี่ชั่วโมงที่จังหวัดนครราชสีมาต้องตกอยู่ในสภาพจมใต้บาดาลในรอบ 100 ปี โดยเริ่มจากช่วงค่ำวันที่ 15 ต.ค. 53 น้ำฝนและน้ำที่เร่งระบายจากเขื่อนลำพระเพลิง อำเภอปักธงชัย ได้ทะลักเข้าท่วมทำให้เมืองทั้งเมืองของปักธงชัยจมอยู่ใต้น้ำ ระดับสูงกว่า 1-2 เมตร รวมถึงบริษัท จิม ทอมสัน ผู้ผลิตผ้าไหมปักธงชัยรายใหญ่ของไทยก็ถูกน้ำท่วมเช่นกัน ตลอดวันที่ 16 ต.ค. น้ำไหล่บ่าเข้าท่วมเขตอุตสาหกรรมนวนคร โคราช และอำเภอปากช่อง

วันที่ 17 ต.ค. ประมาณ 19.00 น. ระดับน้ำในลำน้ำลำตะคองซึ่งไหลผ่านตัวเมืองนครราชสีมา ได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ติดกับลำน้ำตลอดทั้งสาย โดยเฉพาะชุมชนมิตรภาพซอย 4, บ้านตะคองเก่า, ตลาดประปา, ถนนช้างเผือก, วิทยาลัยอาชีวศึกษา, ร.ร.อนุบาลนครราชสีมา, ร.ร.สุรนารีวิทยา ระดับน้ำสูงกว่า 80 ซ.ม.

ขณะที่น้ำลำตะคองที่ไหลผ่านด้านหลังโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ได้ทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็วภายในโรงพยาบาล คณะแพทย์ พยาบาลเร่งขนย้ายอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และอพยพผู้ป่วยขึ้นไปอยู่บนอาคารสูงอย่างอลหม่าน มีญาติผู้ป่วย คณะแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่จำนวนมากติดอยู่ภายในโรงพยาบาล

ส่วนที่โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ นครราชสีมา และโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับลำตะคอง ก็ถูกน้ำท่วมสูง และยังไหลเข้าท่วมถนนมิตรภาพ ทะลักเข้าสู่สถานีขนส่งแห่งที่ 2 นครราชสีมา หรือ บขส.ใหม่ และตลาด สุรนครเมืองใหม่

วันที่ 18 ต.ค. 53 ในช่วงเช้ามืด น้ำที่ล้นจากเขื่อนลำตะคอง ได้ไหลผ่านอำเภอสีคิ้ว, สูงเนิน, ขามทะเลสอ และท่วมอำเภอเมืองอย่างรวดเร็ว ประชาชนได้รับความเดือดร้อนหนัก โดยเฉพาะบริเวณหมู่บ้านวีไอพี น้ำท่วมจนถึงหลังคาบ้าน โรงพยาบาลเซนต์เมรี่น้ำทะลักเข้าท่วมชั้นที่ 1 รถยนต์ทั้งแพทย์ พยาบาล และของผู้ป่วยเกือบ 200 คัน จมอยู่ใต้น้ำ ต้องอพยพผู้ป่วยไปอยู่ที่โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา

ขณะที่โรงพยาบาลมหาราชถูกน้ำทะลักเข้าท่วมภายในโรงพยาบาล ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร จำเป็นต้องหยุดรับผู้ป่วยใหม่ และเลื่อนนัดผู้ป่วยออกไปก่อน 1 สัปดาห์

ในช่วงบ่าย จังหวัดนครราชสีมาได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติด้านอุทกภัยเป็น 24 อำเภอ จากพื้นที่ 32 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง, สูงเนิน, ปากช่อง, สีคิ้ว, ปักธงชัย, ขามทะเลสอ, โนนแดง, คง, เสิงสาง, หนองบุญมาก, จักราช, เฉลิมพระเกียรติ, เทพารักษ์, ด่านขุนทด, บ้านเหลื่อม, โนนสูง, โชคชัย, พิมาย, โนนไทย, ห้วยแถลง, สีดา ขามสะแกแสง, ชุมพวง และครบุรี

วิกฤตน้ำท่วมฉับพลันในโคราชครั้งนี้ สร้างความเสียหายมหาศาล เพราะสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม การค้าพาณิชย์ และพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ

ที่สำคัญหลังจากนี้น้ำที่ท่วมตัวเมืองโคราชจะถูกระบายออกไปยังพื้นที่อำเภอรอบนอก ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นระลอกคลื่นไปสู่แหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจส่งออก ทั้งข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และแหล่ง ปลูกผัก ผลไม้ ป้อนตลาดอีสานใต้และกรุงเทพฯ กำลังซื้อปลายปีหายไปแน่นอน จากนี้ไปต้องร่วมแรงร่วมใจกันฟื้นฟูโคราชครั้งใหญ่

หน้า 23

ที่มา
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02phu02211053§ionid=0211&day=2010-10-21
----------------------------------------------------------------
สังเกตุจังหวะการปล่อยน้ำ
ทำไมต้องเที่ยงคืนปล่อยก่อนหน้านั้นไม่ได้เพราะอะไร
เที่ยงคืนชาวบ้านเขาจะเผ่นไปทางไหน
บอกมาก็ตอนเย็นแล้วแถมไม่ได้ออกทีวี
ส่วนใหญ่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่ไม่ดัง
ถ้าเกิดสึนามิไม่ออกทีวี คิดว่าชาวบ้านเขาจะรู้ทั่วถึงไหม
แล้วข่าวลือข่าวจริงเขาจะแน่ใจได้ยังไง
แถมช่างเลือกเวลาน้ำมาถึงแถวโคราชตอนรุ่งเช้าพอดี
เช้าบ้านยังงัวเงียกันอยู่เลยจะไปเฝ้าระวังอะไรกัน

---------------------------------------------------

สถิติฝนสูงสุด 1 วัน ทั่วประเทศ คัดมาเฉพาะที่เกิน 200 มม.

++++++++++++++++++++++++

กลุ่มงานสารสนเทศและพยากรณ์น้ำ

รุปรายงานข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายวันส่วนอุทกวิทยา สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
( รายงานใช้ข้อมูลกรมชลประทาน และกรมอุตุฯ เวลา 07.00 น. ของทุกวัน )

หน่วยงาน รหัสสถานี  สถานที่ตั้งสถานีสำรวจปริมาณน้ำฝน           สถิติฝนสูงสุด 1 วัน (มม.)กรมอุตุฯ  16072      จ.ลำปาง อ.เถิน                                         310.0
กรมอุตุฯ  40013      จ.แพร่ อ.เมือง                                          218.2
กรมอุตุฯ  70013      จ.อุตรดิตถ์ อ.เมือง                                      206.4
กรมอุตุฯ  63072      จ.ตาก เขื่อนภูมิพล อ.สามเงา                           380.6
กรมอุตุฯ  63032      จ.ตาก อ.แม่สอด                                        207.4
กรมอุตุฯ  39013      จ.พิษณุโลก อ.เมือง                                     265.7
กรมอุตุฯ  38092      จ.พิจิตร อากาศเกษตร อ.เมือง                          220.7

กรมอุตุฯ  30013      จ.หนองคาย อ.เมือง                                     226.6
กรมอุตุฯ  68013      จ.อุดรธานี อ.เมือง                                       274.5
กรมชลฯ  24130      จ.นครพนม ที่ทำการชลประทาน                          377.7
กรมอุตุฯ  24013      จ.นครพนม อ.เมือง                                      459.2
กรมอุตุฯ  24042      จ.นครพนม สกษ. ต.ขามเฒ่า  อ.เมือง                   272.6
กรมชลฯ  50330      จ.สกลนคร บ้านท่าห้วยหลัว(Kh.74) อ.บ้านม่วง          202.8
กรมอุตุฯ  50013      จ.สกลนคร อ.เมือง                                       228.9
กรมอุตุฯ  50122      จ.สกลนคร สกษ. ต.ห้วยยาง อ.เมือง                      212.6
กรมอุตุฯ  64013      จ.มุกดาหาร อ.เมือง                                      269.4
กรมอุตุฯ  14092      จ.ขอนแก่น อากาศเกษตรท่าพระ                          200.4
กรมชลฯ  11221      จ.กาฬสินธุ์ บ้านแก่งยาว ( E.54 ) อ.กุฉินารายณ์         205.3
กรมชลฯ  49111      จ.ร้อยเอ็ด บ้านท่าไคร้ ( E.18 ) กิ่ง อ.ทุ่งเขาหลวง       237.7
กรมชลฯ  05100      จ.ชัยภูมิ โครงการชลประทานชัยภูมิ อ.เมือง               205.5
กรมอุตุฯ  67013      จ.อุบลราชธานี อ.เมือง                                    203.9
กรมอุตุฯ  67093      จ.อุบลราชธานี สกษ.ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีรวงศ์               254.3
กรมชลฯ  76060      จ.อำนาจเจริญ อ่างเก็บน้ำร่องน้ำซับ   อ.เมือง              229.0
กรมอุตุฯ  57202      จ.ศรีสะเกษ อากาศเกษตร ต.หญ้าปล้อง  อ.เมือง           263.4

กรมชลฯ  26311      จ.นครสวรรค์ สะพานบ้านเกยไชย ( N.67 ) อ.ชุมแสง     212.7
กรมชลฯ  26281      จ.นครสวรรค์ บ้านหางราย ( Ct.7 ) อ.แม่เปิน             270.0
กรมอุตุฯ  19013      จ.ลพบุรี อ.เมือง                                           203.4
กรมชลฯ  13651      จ.กาญจนบุรี บ้านลินถิ่น ( K.54 ) อ.ทองผาภูมิ           219.4

กรมชลฯ  44191      จ.ปราจีนบุรี บ้านแก่งดินสอ ( Kgt.15A ) อ.นาดี         232.5
กรมชลฯ  03231      จ.ฉะเชิงเทรา บ้านท่ากลอย ( Kgt.18 ) อ.สนามชัยเขต  220.0

กรมชลฯ  37550      จ.เพชรบุรี บ้านจาโปรง ( B.11 ) อ.หนองหญ้าปล้อง      215.5
กรมชลฯ  37101      จ.เพชรบุรี เขื่อนแก่งกระจาน ( B.5 ) อ.แก่งกระจาน     260.3
กรมอุตุฯ  37012      จ.เพชรบุรี อ.เมือง                                        248.3
กรมชลฯ  45231      จ.ประจวบคีรีขันธ์ บ้านแกลง (Gt.9) อ.ทับสะแก          217.3
กรมชลฯ  45221      จ.ประจวบคีรีขันธ์ บ้านบางสะพาน (Gt.7) อ.บางสะพาน   264.5
กรมชลฯ  10191      จ.ชุมพร บ้านท่าแซะ ( X.64 ) อ.ท่าแซะ                 279.0
กรมชลฯ  10201      จ.ชุมพร บ้านหาดแตง ( X.46A ) อ.ท่าแซะ              278.8
กรมชลฯ  10251      จ.ชุมพร อนามัยสลุย อ.ท่าแซะ                             240.0
กรมชลฯ  10261      จ.ชุมพร อนามัยธรรมเจริญ อ.ท่าแซะ                      340.0
กรมชลฯ  61341      จ.สุราษฎร์ธานี บ้านไชยา ( X.103 ) อ.ไชยา             309.4
กรมอุตุฯ  61013      จ.สุราษฎร์ธานี อ.เมือง                                     457.1
กรมชลฯ  27161      จ.นครศรีธรรมราช บ้านท่าใหญ่ ( X.55 ) อ.ลานสกา     252.4
กรมชลฯ  27401      จ.นครศรีธรรมราช บ้านหัวนา ( X.149 ) อ.นบพิตำ      297.8
กรมชลฯ  27371      จ.นครศรีธรรมราช ชป.ไม้เสียบ อ.ชะอวด                 212.2
กรมชลฯ  27481      จ.นครศรีธรรมราช บ้านคีรีวงศ์ อ.ลานสะกา                280.6
กรมชลฯ  58421      จ.สงขลา บ้านบางศาลา ( X.90 ) อ.คลองหอยโข่ง       270.3
กรมอุตุฯ  58022      จ.สงขลา อ.หาดใหญ่                                     262.5
กรมอุตุฯ  58112      จ.สงขลา สกษ.คอหงษ์ อ.หาดใหญ่                        315.7
กรมชลฯ  29131      จ.นราธิวาส บ้านปาเสมัส ( X.119A ) อ.สุไหงโก-ลก    328.7

กรมอุตุฯ  46013      จ.ระนอง อ.เมือง                                         510.7
กรมชลฯ  34230      จ.พังงา บ้านหินดาน ( X.187 ) อ.ตะกั่วป่า              301.6
กรมอุตุฯ  43033      จ.ภูเก็ต สถานีสนามบิน  อ.ถลาง                          303.1
กรมชลฯ  65141      จ.ตรัง บ้านหินดาน ( X.139 ) อ.ปะเหลียน              221.5
กรมอุตุฯ  65012      จ.ตรัง อ.เมือง                                            208.0
กรมอุตุฯ  55012      จ.สตูล อ.เมือง                                           238.8

หมายเหตุ :
สถานีกรมชลประทานได้รับข้อมูล ณ เวลา 07.00 น. ของวันนี้ ( รวม 159 สถานี )
สถานีกรมอุตุนิยมวิทยาได้รับข้อมูล ณ เวลา 07.00 น. ของวันนี้ ( รวม 119 สถานี )

ที่มา http://water.rid.go.th/itcwater/rain.htm

---------------------------------------------------------------------------

สถิติฝนสูงสุด 1 วัน ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา
ที่กำลังเกิดน้ำท่วมใหญ่ในขณะนี้
++++++++++++++++++++++++
หน่วยงาน รหัสสถานี  สถานที่ตั้งสถานีสำรวจปริมาณน้ำฝน        สถิติฝนสูงสุด 1 วัน (มม.)กรมชลฯ  25791      จ.นครราชสีมา ศูนย์อุทกวิทยาฯ อ.เมือง          170.8
กรมอุตุฯ  25013      จ.นครราชสีมา อ.เมือง                           136.0
กรมอุตุฯ  25272      จ.นครราชสีมา อากาศเกษตรปากช่อง             116.4
กรมอุตุฯ  25092      จ.นครราชสีมา อ.โชคชัย                         172.6
 
ที่มา http://water.rid.go.th/itcwater/rain.htm
--------------------------------------------------------------------------
สถิติฝนสูงสุด 1 วัน เฉพาะจังหวัดนครราชสีมาในช่วงเวลาเกิดน้ำท่วมใหญ่

++++++++++++++++++++
สรุปลักษณะอากาศรายวันสถานีอุตุนิยมวิทยา    อุณหภูมิ (°C)      ลมสูงสุด           ปริมาณฝน (มม.)
.              สูงสุด  ต่ำสุด ทิศ   ความเร็ว(กม./ชม.)  เวลา   24ชม.  รวมตั้งแต่ต้นปี
วันที่ 13 ตุลาคม 2553
นครราชสีมา    31.6  24.4  E        27.80         13:29     1.4      1,172.0
โชคชัย         31.0  24.2  ENE    18.53         11:30      0.2      1,221.2
ปากช่อง สกษ. 28.3  22.8  E        18.53         13:34    10.2      1,129.8

วันที่ 14 ตุลาคม 2553
นครราชสีมา    29.7  24.9  ESE     22.24         09:45   25.5     1,197.5
โชคชัย         30.4  25.0  ENE     14.83         10:40   30.6     1,251.8
ปากช่อง สกษ. 28.0  22.4  W       14.83          17:01   14.1     1,143.9

วันที่ 15 ตุลาคม 2553
นครราชสีมา    26.1  24.0  NE       25.95         10:09   116.3    1,313.8
โชคชัย         27.4  23.5  ENE     12.97          14:15   102.8    1,354.6
ปากช่อง สกษ.  24.5  22.1  W       16.68          11:28   110.3    1,254.2

วันที่ 16 ตุลาคม 2553
นครราชสีมา    25.1  23.0  NNE     29.65          08:39   52.6    1,366.4
โชคชัย         25.4  22.2  NNE     12.97          19:00   37.8    1,392.4
ปากช่อง สกษ.  24.5  21.5  W       20.39          13:51   60.1    1,314.3

วันที่ 17 ตุลาคม 2553
นครราชสีมา    27.9  22.5    - ได้รับรายงานบางส่วน -             6.6    1,373.0
โชคชัย         27.3  22.1  NNE     16.68          01:00    1.0    1,393.4
ปากช่อง สกษ.  25.7  21.5  WSW   18.53          17:10    9.9    1,324.2

วันที่ 18 ตุลาคม 2553
นครราชสีมา    30.6  23.8    - ได้รับรายงานบางส่วน -               7.5    1,380.5
โชคชัย         29.6  23.6  ESE      11.12          13:35   22.8    1,416.2
ปากช่อง สกษ. 29.5  22.5  WSW    20.39          14:05   22.0    1,346.2

วันที่ 19 ตุลาคม 2553
นครราชสีมา    29.8  23.5    - ได้รับรายงานบางส่วน -              2.2    1,382.7
โชคชัย         30.0  23.5  NNE      12.97          14:00    35.0   1,451.2
ปากช่อง สกษ.  29.5  22.0  E         18.53          12:10     9.2    1,355.4

วันที่ 20 ตุลาคม 2553
นครราชสีมา    30.0  24.1    - ได้รับรายงานบางส่วน -             ไม่มีฝน   1,382.7
โชคชัย         30.2  23.4  E         14.83          12:30    ไม่มีฝน   1,451.2
ปากช่อง สกษ.  29.2  22.5  E         27.80          14:10   ไม่มีฝน   1,355.4

ที่มา http://www.tmd.go.th/climate/climate.php
-----------------------------------------------------------

การเมือง : คุณภาพชีวิต
วันที่ 18 ตุลาคม 2553 15:38
สถิติเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย
โดย : *Researchers & Rewriter*

เหตุการณ์สำคัญเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทยที่ผ่านมา ก่อนมาถึงครั้งล่าสุดท่วมจ.นครราชสิมาน้ำล้นคันกั้นน้ำเขื่อนลำพระเพลิง

น้ำท่วมกรุงเทพฯ ครั้งใหญ่ ปี2526 และปี2538

พ.ศ. 2526 เกิดเหตุการร์น้ำท่วมกรุงเทพอย่างหนัก สาเหตุจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือ-ภาคกลาง ประกอบกับพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคมนานกว่า 4 เดือน จึงส่งผลกระทบเกิดปัญหาวิกฤตน้ำท่วมในปี 2526 โดยเฉพาะปัญหาจราจรที่รถกับเรือใช้เส้นทางเดียวกัน

ปี พ.ศ. 2538 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กรุงเทพฯ ประสบกับน้ำท่วม ในช่วงที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ยังเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร น้ำเหนือหลากท่วมอยุธยา ปทุมธานี หมู่บ้าน white house ตอนเหนือของกรุงเทพฯ น้ำท่วมร่วม 2 เดือน

ส่วนปี พ.ศ.2549 นั้นเกิดอุทกภัยทางภาคเหนือ ทำให้น้ำเหนือไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดที่โดนหนักๆ เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง แต่สำหรับกรุงเทพฯ นั้นน้ำท่วมเฉพาะบางส่วนที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งไม่รุนแรงเท่าปี พ.ศ.2538

ภัยพิบัติกะทูน ปี 2531

เวลาตีสองของวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 ชาวบ้าน ต.กะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช ต้องประสบชะตากรรมเลวร้ายที่สุดในชีวิต เมื่อจู่ ๆ น้ำป่าจากภูเขาเหนือหมู่บ้านได้ซัดเอาดินโคลน หินและท่อนซุงขนาดใหญ่เข้าถล่มบ้านเรือนจนราพณาสูร

ชั่วข้ามคืน หมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นทะเลโคลน ซากปรักหักพังของบ้านเรือนนับพันหลังถูกทับถมอยู่ใต้ท่อนซุงกองมหึมา ชาวบ้านมากกว่า 700 ชีวิต ต้องสังเวยให้แก่ภัยพิบัติครั้งนี้

น้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่ ปี2543 ปี2548

วันที่ 21-23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เกิดฝนตกหนัก 3 วัน 3 คืน ทำให้น้ำจากเขตเทือกเขาสันกาลาคีรี บริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ไหลบ่าเข้าท่วมตัวเมืองชั้นในซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกะทะอย่างรวดเร็ว และถือเป้นเหตุการณ์น้ำท่วมมือครั้งที่เลวร้ายที่สุด สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท จำนวนผู้เสียชีวิตตามประกาศจากทางราชการ 35 คน แต่จำนวนผู้เสียชีวิตจริง ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ สูงถึง 233 คน ไม่รวมชาวต่างประเทศ

เกิดอุทกภัยซ้ำอีกครั้งใน 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา และเขตรอบนอกของตัวเมืองหาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 13-20 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งผลไม่รุนแรงเท่าในปี พ.ศ. 2543 แต่มีผู้ประสบความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก

น้ำป่าถล่ม อ.วังชิ้น แพร่ ปี 2544

กลางดึกของวันที่ 4 พฤษภาคม 2544 น้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัยไหลทะลักเข้าถล่มใส่หมู่บ้านหลายตำบลของ อ.วังชิ้น จ.แพร่ มีผู้เสียชีวิต 23 ราย สูญหาย 16 คน บาดเจ็บ 58 คน ถือเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ของจ.แพร่ จำได้จนขึ้นใจเลยว่า ฝนตกติดต่อกันถึง 3 วัน 3 คืนกระทั่งประมาณตีหนึ่งก็ไหลทะลักเข้ามาในพื้นที่อย่างรุนแรงจนถนน-สะพานถูกตัดขาด บ้านเรือนถูกน้ำพัดหายไป 45 หลังคาเรือน

น้ำท่วม-ดินถล่มบ้านน้ำก้อ เพชรบูรณ์ ปี2544

ขณะที่ฝนกำลังตกลงมาราวฟ้ารั่วในคืนวันที่ 11 สิงหาคม 2544 ณ บ้านน้ำก้อ ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ชาวบ้านกำลังหลับใหลอย่างมีความสุข โดยไม่มีใครรู้สึกตัวว่าน้ำป่าบนภูเขาสูงกำลังเคลื่อนตัว ถาโถมเข้าใส่หมู่บ้านที่อยู่ในรัศมีทางน้ำอย่างรวดเร็ว ด้วยความบ้าคลั่งของน้ำป่าที่หอบเอาทั้งดินโคลน และต้นไม้ ได้ซัดเอาบ้านเรือนหลายสิบหลังหายไปในพริบตาในกลางดึกของวันนั้น เช้าวันรุ่งขึ้นหลังสิ้นฤธิ์ของน้ำป่า บ้านน้ำก้อ เหลือแต่สิ่งปรักหักพัง และซากศพ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้กลืนชีวิตคนหนุ่มสาว ไม่เว้นแม้เด็กและคนชราไปถึง 147 คน

ซุง-โคลนถล่มจมแม่ระมาด-ตากปี 2547

วันที่ 22 พฤษภาคม 2547 ฝนกระหน่ำลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา น้ำป่าจากบนเขาได้พัดเอาโคลนและท่อนซุงที่มีคนลักลอบตัดไว้ ลงมาถล่มเขตเทศบาลแม่ระมาด จ.ตาก ผู้คนหายไปกับสายน้ำและจมอยู่ใต้ทะเลโคลนจำนวนมาก บ้านถูกพัดหายไปทั้งหลังนับร้อย เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 4 ราย และสูญหายอีกนับ 10 ชาวบ้าน 6,019 คน จาก 2,113 ครอบครัวได้รับความเดือดร้อน

เชียงใหม่น้ำท่วมหนัก ปี 2548

วันที่ 14 สิงหาคม 2548 ภายหลังฝนถล่มหนักในภาคเหนือตอนบน ทำให้หลายจังหวัดถูกน้ำท่วมจมบาดาล กระแสน้ำเหนือ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง ได้ทะลักเข้าท่วมตัวเมืองเชียงใหม่อย่างรวดเร็ว มีระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 50 ปี บ้านเรือนราษฎรในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่นับพันหลังถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย ตลาดวโรรส ตลาดลำไย ตลาดไนท์บาซาร์ระดับน้ำสูงร่วม 70 ซม. พื้นที่บางแห่งระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร

ฝนถล่ม-น้ำท่วมภาคใต้ ปี2548

ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตั้งแต่วันที่ 14-24 ธ.ค.2548 มีพื้นที่ประสบภัยรวม 8 จังหวัด คือ สงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ตรัง ยะลา และสตูล มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 1.6 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 25 ราย แบ่งเป็น จ.สงขลา 13 ราย ตรัง 2 ราย ปัตตานี 1 ราย พัทลุง 3 ราย ยะลา 4 ราย นครศรีธรรมราชและสตูลจังหวัดละ 1 ราย และยังมีผู้สูญหายไปอีก 1 ราย ที่ จ.ยะลา มูลค่าความเสียหายประมาณ 600 ล้านบาท

อุทกภัยและโคลนถล่ม 5 จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง ปี 2549

เหตุการณ์ที่ฝนตกผิดปกติในพื้นที่เป็นเวลาหลายวัน ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ทำให้ดินบนภูเขาไม่สามารถอุ้มน้ำฝนที่ตกลงมาได้ ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วม และดินถล่มในช่วงกลางคืนของวันที่ 22 พฤษภาคม 2549ต่อเนื่องถึงเช้ามืดของวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้มากที่สุด มีผู้เสียชีวิตถึง 75 คน จากจำนวนผู้เสียชีวิตและสูญหายทั้งหมด 116 ราย ใน 5 จังหวัดที่ประสบเหตุการณ์อุทกภัยและโคลนถล่มครั้งนี้

"น่าน"วิกฤติ! น้ำท่วมหนักสุดในรอบ 43ปี

อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตอนบน ประกอบกับร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ จ.น่าน เกิดน้ำท่วมหนักจนสถานการณ์เข้าสู่ขั้นวิกฤติ

น้ำในแม่น้ำน่านมีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ ริมตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ อ.ท่าวังผา ได้รับผลกระทบมากที่สุด จากการวัดปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านที่จุด อ.ท่าวังผา เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา พบว่าปริมาณน้ำขึ้นสูงถึง 9.30 เมตร ซึ่งเลยจุดวิกฤติที่ 7 เมตร ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ริมฝั่ง 2 ตำบล รวม 6 หมู่บ้าน คือ ต.ป่าคา และ ต.ศรีภูมิ บ้านเรือนกว่า 3,000 หลังคาเรือนจมอยู่ใต้บาดาล ระดับน้ำสูงถึง 3 เมตร เรียกว่าท่วมเกือบมิดหลังคาบ้าน ชาวบ้านต้องอพยพหนีตายขึ้นไปอยู่บนที่สูง

สำหรับเขตเทศบาลเมืองน่าน ระดับน้ำในแม่น้ำน่านได้ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมแม่น้ำน่าน อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ บ้านท่าลี บ้านพวงพยอม และบ้านดอนศรีเสริม ขณะที่ นายธาดา สุขปุณพันธ์ ผอ.ศูนย์อุทกวิทยาและระดับน้ำ ภาคเหนือตอนบน กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ระดับน้ำที่วัดได้บริเวณสะพานผาขวาง อ.ท่าวังผา สูงถึง 13.50 ม. จากปกติ 6.50 เมตร และ น้ำท่วมครั้งนี้มีความรุนแรงเทียบเท่าเมื่อปี 2506 หรือ 43 ปีที่ผ่านมา

ต่อมาปี 2553 ได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันสองวันสองคืน ตั้งวันที่ 17 ก.ค. จนถึงเช้าวันที่ 18 ก.ค. 2553 ทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และดินถล่มปิดทางเข้าหมู่บ้าน อ.ปัว และ อ.ท่าวังผา ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมหนักอีกครั้งหนึ่งในจ.น่าน

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20101018/358303/สถิติเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย.html
--------------------------------------
สถิติภูมิอากาศที่มีค่าต่ำที่สุด และสูงที่สุดของประเทศไทย

อุณหภูมิที่สูงที่สุด 44.5 ํC ( 112.1 ํF ) อ.อุตรดิตถ์ 27 เมษายน พ.ศ.2503
อุณหภูมิที่ต่ำที่สุด (พื้นราบ) -1.4

ํC
(29.5
ํF

) สถานีตรวจอากาศเกษตร อ.เมือง จ.สกลนคร 2 มกราคม พ.ศ.2517
อุณหภูมิที่สูงที่สุด (เทือกเขาและยอดเขา) -3.5

ํC
(25.7


ํF

) โครงการหลวงแม่แฮ จ. เชียงใหม่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำที่สุด 9% อ.เมือง จ.เลย 23 มีนาคม พ.ศ.2526
Extreme Minimum Relative humidity 9% อ.เมือง จ.เชียงราย 23 เมษายน พ.ศ.2533
ลมแรงที่สุด ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 157.5 กม./ชม. ท่าอากาศยานกุรงเทพ กรุงเทพมหานคร 29 มีนาคม พ.ศ.2500
ฝนมากที่สุดใน 1 วัน (ใน 24 ชั่วโมง) 674.6 มม. อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 21-22 พฤศจิกายน พ.ศ.2531
ฝนมากที่สุดใน 1 วัน (07.00วานนี้-07.00วันนี้) 625.9 มม. อ.เมือง จ.นราธิวาส 1 มกราคม พ.ศ.2498
ฝนมากที่สุดใน 1 เดือน 2,1062 มม. อ.คลองใหญ่ จ.ตราด กรกฎาคม พ.ศ.2540
ฝนมากที่สุดใน 1 ปี 6,810.1 มม. อ.เมือง จ.ระนอง พ.ศ.2474
ฝนน้อยที่สุดใน 1 ปี 452.6 มม. อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ.2522
-----------------------------------------------------------------------

จากสถิติฝนสูงสุด 1 วัน ทั่วประเทศ
ซึ่งผมคัดมาเฉพาะเกิน 200 มม.
เทียบกับสถิติฝนสุงสุด 1 วัน ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา
พบว่าสถิติสถานีที่วัดได้สุงสุด จ.นครราชสีมา
อยู่ที่ อ.โชคชัย วัดได้ 172.6 มม.
และสถานีที่เคยวัดได้สุงสุดแต่ต่ำกว่าสถานีอื่นอยู่ที่
อากาศเกษตรปากช่อง วัดได้ 116.4 มม.
และน้ำท่วมหนักครั้งล่าสุด
ที่มีการกล่าวกันว่าหนักสุดในรอบ 50 ปีบ้าง 70 ปีบ้าง
งวดนี้ตกหนักสุดที่วันที่ 15 ตุลาคม 2553
ที่ตัวเมืองนครราชสีมาวัดได้ 116.3 มม.
ที่ อ.โชคชัย วัดได้ 102.8 มม.
ที่ ปากช่อง สกษ. วัดได้ 110.3 มม.
ซึ่งล้วนแล้วแต่น้อยกว่าอดีตแทบทั้งสิ้น
แล้วทำไมถึงท่วมหนักมากกว่าอดีต
ขนาดว่าหนักสุดในรอบ 50 ปีแบบนี้
ก็เพราะว่ามีการปล่อยน้ำจากเขื่อน
มากกว่าเป็นเพราะฝนตกหนัก
เพราะถ้าเป็นเพราะฝนตกหนัก
ข้อมูลในอดีตก็ต้องมีที่ จ.นครราชสีมา เคยท่วมหนักกว่านี้
ซึ่งดูจากสถิติเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย
ก็ไม่พบว่ามี จ.นครราชสีมา เคยท่วมหนักมาก่อน
ทั้งๆ ที่เคยมีสถิติตกหนักมากกว่าปัจจุบันนี้
ดังนั้นสาเหตุที่แท้จริงในการท่วมหนักครั้งนี้
คงหนีไม่พ้นเขื่อนปล่อยน้ำออกมา
โดยเกรงว่าน้ำจะล้นเขื่อนบ้าง เขื่อนจะแตกบ้าง
ทั้งๆ ที่ฝนงวดนี้ตกหนักมากแค่ 1 วันเดียว
วันอื่นๆ ตกธรรมดา หรือหนักน้อยกว่ามาก
ลองไล่ดูข้อมูลสถิติฝนสุงสุด 1 วัน
ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ในแต่ละวันได้
แต่ทำไมเขื่อนถึงลนลานต้องรีบปล่อยน้ำออกมาสมทบ
จนทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของ จ.นครราชสีมา
ทั้งๆ ที่บางเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกตั้ง 30%
รองรับได้อีกเยอะเชี่ยวแหล่ะ ไม่ใช่น้อยๆ
หลักจากปล่อยน้ำออกมา
จนเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินชาวบ้านครั้งใหญ่แล้ว
ก็รีบมาปฏิเสธว่าเขื่อนว่าไม่ได้ปล่อยน้ำ
ตามไปอ่านการจับผิดเรื่องนี้ได้ที่นี่

<<< หลักฐานการหลอกลวงชาวบ้าน เรื่อง เขื่อนไม่ได้ปล่อยน้ำ >>>http://maha-arai.blogspot.com/2010/10/blog-post_6338.html

จะเห็นว่าในอดีตที่เคยๆ ท่วมแต่ละที่
มักใกล้เขื่อนขนาดใหญ่ ๆ
และมักเป็นเพราะเขื่อนปล่อยน้ำแทบทั้งนั้น
ในเมื่อการปล่อยน้ำของเขื่อนแต่ละครั้ง
สร้างความเสียหายใหญ่หลวงหลายๆ ครั้ง
ต่อไปเขื่อนไหนจะปล่อยน้ำแล้วไม่แจ้งผ่านทีวี
ให้ถือว่าเป็นการลอบทำร้ายประชาชนได้หรือไม่
ซึ่งขนาดจะมีน้ำป่าไหลหลากยังออกข่าวแจ้งล่วงหน้า
แล้วเขื่อนจะปล่อยน้ำรู้เวลาชัวร์แน่นอน
ทำไมไม่คิดออกข่าวให้รับทราบอย่างทั่วถึง
และควรให้ทราบล่วงหน้าสัก 2-3 วันก็ยังดี
เพราะชาวบ้านจะได้ขนย้ายทรัพย์สินและอพยพได้ทัน
ไม่ต้องเร่งรีบจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้
และชาวบ้านรวมทั้งผม
ก็ยังสงสัยกรณีน้ำท่วมครั้งใหญ่ครั้งนี้ว่า
มีใครจงใจอยากให้เป็นแบบนี้หรือไม่

อีกอย่างเมื่อฝนตกหนักมากปกติน้ำก็จะท่วมอยู่แล้วทุกที่
แต่มันจะไม่เสียหายมากหรือทำความเสียหายมาก
ถ้ามันค่อยๆ เพิ่ม คงมีเฉพาะทรัพย์สินที่ขนย้ายไม่ทันอาจเสียหายได้
แต่ถ้ามันเกิดจากพวกเขื่อนปล่อยน้ำร่วมด้วย
กระแสน้ำจะทั้งแรงทั้งเร็วนั่นแหล่ะจะมีผลเสียหายมากขึ้น
อย่าปฏิเสธว่าเขื่อนไม่ได้ปล่อยน้ำ
ทั้งปล่อยเองและน้ำล้นออกมาจากเขื่อนก็ถือว่ามาจากเขื่อน
ต้องไปดูปัญหาการจัดการ เขื่อน
ว่าทำได้ดีไหมไม่ใช่ชะล่าใจแบบนี้

----------------------------------------

ลำตะคอง ไม่หวั่นน้ำท่วม ชี้เขื่อน เก็บน้ำไปอีกเพียบ!!
ผอ.โครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาลำตะคอง ไม่หวั่นน้ำท่วมแม้ยังฝนกระหน่ำโคราชหนัก ยันรับมือได้แน่นอน ขณะที่ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคอง ยังไม่พ้นวิกฤติ เหลือน้ำอยู่เพียง 30 %

นครราชสีมา – วานนี้ (24 ส.ค. 53) แม้สถานการณ์ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในช่วงนี้จะทำให้หลายพื้นที่ในภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกิดน้ำท่วมอย่างหนัก แต่มาจนถึงวันนี้ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ลุ่มบริเวณใต้อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ที่เคยเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอย่างหนักในช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคมของทุกปี โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครราชสีมา จนถึงขณะนี้ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะเกิดน้ำท่วมเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมาแต่ อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมาในจังหวัดนครราชสีมาขณะนี้ยังมีปริมาณที่ น้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา ประกอบกับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำหลักที่เป็นแหล่งต้นน้ำของสายน้ำหลักอย่างลำน้ำลำตะคองมีปริมาณน้ำอยู่ในระดับต่ำ และยังสามารถกักเก็บน้ำได้อีกจำนวนมาก

นาย จักรกฤช แจ้งกรณ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง เปิดเผยว่า ปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้า สู่อ่างเก็บน้ำลำตะคองเพิ่มสูงขึ้น โดยล่าสุดระดับน้ำ ณ วันที่ 23 ส.ค.2553 อยู่ที่ 101 ล้าน ลบ.ม. จากความจุกักเก็บทั้งหมด 324.39 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น32 % ของความจุ เพิ่มขึ้นจากเมื่อวันที่ 1 ส.ค.2553 ที่มีปริมาณน้ำเหลืออยู่ 89 ล้าน ลบ.ม. แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำที่มีอยู่ขณะนี้ยังไม่เพียงพอที่จะกักตุนไว้ให้ประชาชนในพื้นที่ ได้ใช้ไปถึงช่วงฤดูแล้งปี 2554 โดยทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคองยังหวังว่าจะมีปริมาณฝนตกลงมาใน พื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำลำตะคองต่อเนื่องไปอีก เพื่อให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทางโครงการฯ ได้ตั้งเป้าที่จะกักตุนน้ำในอ่างฯ ให้ได้อย่างน้อย 170 ล้าน ลบ.ม. ก่อนสิ้นสุดฤดูฝนของปีนี้ ในประมาณปลายเดือนสิงหาคม 2553 เพื่อให้พอเพียงต่อการใช้ในการอุปโภค-บริโภคในปีหน้า

ส่วนปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ใต้อ่างเก็บน้ำอย่างต่อเนื่องเช่น เดียวกัน ซึ่งก็ส่งผลดีต่อพื้นที่เพาะปลูก ทำให้มีการเพาะปลูกข้าวในเขตชลประทานของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอ งในพื้นที่ 5 อำเภอ ซึ่งประกอบด้วย อ.สีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ เมือง และเฉลิมพระเกียรติ ทำการเพาะปลูกไปแล้วกว่า 100,000ไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดกว่า 160,000 ไร่ โดยสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลดีต่อการกักเก็บน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมาในช่วงนี้ทำให้ปริมาณน้ำในลำน้ำต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ทางอ่างเก็บน้ำจึงสามารถปิดการระบายน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำได้เป็นระยะๆ ทั้งนี้ปริมาณน้ำในลำน้ำต่างๆ ในพื้นที่ใต้อ่างเก็บน้ำ ที่เพิ่มสูงขึ้นได้สร้างความกังวลให้หน่วยงานภาครัฐรวมถึงประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ที่จะต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมจากน้ำในลำน้ำลำตะคองล้นตลิ่งเอ่อท่วมบ้าน เรือนที่อยู่ติดกับลำน้ำเป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าทางอ่างเก็บน้ำ จะไม่มีการระบายน้ำออกจากอ่างฯก็ตาม แต่เนื่องจากพื้นที่รับน้ำใต้อ่างเก็บน้ำนั้น มีพื้นที่กว้างครอบคลุม 5 อำเภอ และจะไหลลงมารวมตัวอยู่ในลำน้ำลำตะคอง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มรับน้ำ

โดยในส่วนนี้ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ได้เตรียมแผนรับมือไว้พร้อมแล้ว โดยได้สั่งเตรียมเครื่องสูงน้ำจำนวน 11 เครื่อง และเครื่องผลักดันเปลี่ยนเส้นทางน้ำอีก 12 เครื่อง เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ประจำประตูระบายน้ำหลัก ทั้ง 4 แห่งของเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งประกอบด้วย ประตูระบายน้ำข่อยงาม ต.หัวทะเล อ.เมือง , ประตูระบายน้ำกันผม ต.พระพุทธ อ.เฉลิมพระเกียรติ , ประตูระบายน้ำจอหอ อ.เมือง และประตูระบายน้ำด้านหลังโรงเรียนสุรนารี ภายในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา นำไปติดตั้งเพื่อเร่งระบายน้ำที่เกินปริมาณและจะล้นตลิ่งได้อย่างทันท่วงที แต่อย่างไรก็ตามยังยืนยันว่าแม้จะมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนนี้ ก็จะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างแน่นอน เนื่องจากลำน้ำต่างๆยังสามารถรองรับน้ำได้อีกจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการเตรียมแผนรับมือไว้พร้อมแล้วอีกด้วย
http://www.koratdailynews.com/2010/08/25/ลำตะคอง-ไม่หวั่นน้ำท่วม/

------------------------------------------------------------

แต่ช่วงหน้าแล้งวิกฤตแบบนี้

++++++++++++++++++++

สถานการณ์น้ำเขื่อนลำตะคองวิกฤตกว่าปี 2547
พื้นที่ จังหวัดนครราชสีมามีฝนตกใต้อ่างเก็บน้ำเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ปริมาณน้ำเหลือน้อยกว่าทุกปี โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำลำตะคอง เหลือน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปี2547 คาดว่าหากยังไม่มีมรสุมเข้ามาในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ จะเข้าขั้นวิกฤตมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
นายสงัด สายใหม่ ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงปริมาณฝนในช่วงนี้ว่า สภาพอากาศทำให้หลายพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมามีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่บริเวณอำเภอปากช่อง ,สีคิ้ว ,สูงเนิน ,ด่านขุนทด ,วังน้ำเขียว ,ปักธงชัย และอำเภอครบุรี แต่ถือว่าเป็นปริมาณที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในส่วนของน้ำฝนที่ลงสู่อ่างเก็บน้ำต่างๆก็ยังมีไม่มากนัก และตกลงในพื้นที่ใต้อ่างเก็บน้ำเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงระหว่างต้นเดือนสิงหาคมถึงปลายเดือนกันยายนจะมีปริมาณฝนตกมาก ขึ้น จึงขอให้เกษตรกรที่กำลังจะทำการเพาะปลูกพืชในช่วงนี้เตรียมดินไว้ให้พร้อม ล่วงหน้า
ด้านเจ้าหน้าที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำละตะคองเหลือน้อยกว่าน้ำต้นทุนปี 2547 โดยวัดระดับน้ำในวันนี้ได้ 86 ล้านลูกบาตรเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 27.65 จากปริมาณความจุทั้งหมด ซึ่งถือว่ายังน้อยอยู่ และไม่สามารถปล่อยน้ำมาให้เพื่อใช้ในการเกษตรได้ ดังนั้นเกษตรกรที่จะทำการเพาะปลูกในช่วงนี้ จึงต้องใช้น้ำฝนอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้จากการเปรียบเทียบระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองวันที่ 15 กรกฏาคม ปี 2547 ที่มีน้ำเหลืออยู่ 112 ล้านลูกบาตรเมตร ก่อนที่จะเข้าขั้นวิกฤตที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2548 ที่เหลือน้ำเพียง 43 ล้านลูกบาตรเมตร แต่ปัจจุบันระดับน้ำเหลือเพียง 86 ล้านลูกบาตรเมตร หากฝนทิ้งช่วงหรือไม่มีมรสุมเข้ามาในช่วงเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ก็จะทำให้สถานการณ์น้ำเข้าขั้นวิกฤตเป็นประวัติการณ์มากกว่าปี 2548 อย่างแน่นอน.

15 กรกฎาคม 2553 เวลา 20:30 น. : 0m 57s
homcup
Reporter
http://www.kctv.co.th/content/1645/สถานการณ์น้ำเขื่อนลำตะคองวิกฤตกว่าปี2547


-----------------------------------------------------------------

ตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า
แม้ฝนตกไม่หนักมากในพื้นที่
ต่ก็เจอน้ำท่วมหนักอยู่ดี
เพราะเป็นทางน้ำผ่าน

+++++++++++++++++++++++++++

วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 11:11:52 น. มติชนออนไลน์

เจ้าพระยาทะลักเมืองนนท์เทศบาล-บางขวาง-บางกรวยเต็มๆ พ่อเฒ่าเคราะห์ร้ายไฟไหม้ซ้ำหมดตัว ตายแล้ว56

เจ้าพระยาทะลักท่วมเมืองนนท์ระดับสูง บางกรวยหลายหมู่บ้านจมน้ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 26 ตุลาคม ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขต จ.นนทบุรี เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยน้ำได้ทะลักแนวป้องกันน้ำท่วมของเทศบาลนครนนทบุรี เข้าท่วมถนนนนทบุรี 1 บริเวณโค้งข้างกรมราชทัณฑ์ ไปจนถึงหน้าเรือนจำกลางบางขวาง สูง 20-30 เซนติเมตร ระยะทางกว่า 500 เมตร และถ.นนทบุรี 1 บริเวณโครงตลาดจิตเทวัญ น้ำท่วมสูง 20 เซนติเมตร บ้านพักทหารกรมพลาธิการ ทหารบก และบ้านเรือนประชาชน วัดตำหนักใต้ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณดังกล่าวถูกน้ำท่วมสูง 30-50 เซนติเมตร

ต่อมา นายสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรี เทศบาลนครนนทบุรี ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปเสริมแนวกระสอบทรายบริเวณดังกล่าว เพื่อให้ให้ท่วมท่วมข้ามถนนนนทบุรี 1 เข้ามาในเขตเมืองได้

ด้าน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี แนวป้องกันน้ำท่วมของเทศบาลเมืองบางกรวย และริมแม่น้ำเจ้าพระยา และริมคลองบางกรวย ได้พังหลายจุด ส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมกระจายในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะหมู่บ้านศรีบัณฑิต หมู่บ้านเทพประทาน ชุมชนวัดลุ่ม ชุมชนวัดจันทร์ น้ำท่วมสูง 30-50 เซนติเมตร บ้านเรือนกว่า 3,000 หลังได้รับความเดือดร้อน ส่วนถนนบางกรวย-ไทรน้อย รถยังสามารถวิ่งได้อยู่ ซึ่งนายสุรศักดิ์ วิชินโรจน์จรัล นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองบางกรวย ได้ระดมเจ้าหน้าที่ออกช่วยเหลือประชาชน และเสริมแนวป้องกันน้ำท่วมเพื่อไม่ให้ท่วมถนนบางกรวย-ไทรน้อย ซึ่งเป็นเส้นทางหลักของเทศบาลเมืองบางกรวย
...

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1288063382&grpid=00&catid=

-----------------------------------------------------------------




























-----------------------------------------------------------------
กรณี นครราชสีมา ตกหนักมาก
ประมาณไม่เกิน 120 มม.
ที่นนทบุรี ถ้ามีฝนตกก็คงไม่กี่ มม.
แต่น้ำท่วมสูงระดับ 30-50 ซม. แล้ว
ซึ่งกรณี 120 มม.(มิลลิเมตร) ถ้
าแปลงเป็น ซม.(เซ็นติเมตร) ก็แค่ 12 ซม.
อยากรู้ว่าสูงเท่าไหร่ ลองเอาไม่บรรทัดมาวัดดู
ถ้าวัดจากเท้าแบบไม่สวมรองเท้า
ก็จะเลยตาตุ่มมาหน่อยเดียวเองไม่ถึงครึ่งหน้าแข้งผู้ใหญ่ด้วยซ้ำ
ในขณะที่ 30-50 ซม. เกือบระดับหัวเข่า
จนเลยหัวเข่าไปหน่อยหนึ่งแล้ว
นี่เป็นข้อยืนยันว่า น้ำท่วมตัวเมืองนครราชสีมา
สาเหตุใหญ่คือเขื่อนปล่อยน้ำมาหรือน้ำล้นออกมา
ซึ่งจนบัดนี้ผมยังไม่เห็นภาพเขื่อนที่มีน้ำล้นทะลักเลย
ใครมีให้ชมแนะนำด้วยอยากเห็น
ใครอยู่แถวโคราชวานถ่ายภาพเขื่อนลำตะคองหลายๆ มุม
มาให้ชมบ้าง เผื่อจะได้แน่ใจว่าล้นจริงอย่างที่ว่า
แล้วถึงจะมาหาสาเหตุที่ล้น
แน่นอนน้ำป่าและฝนที่ตกหนักเลยตาตุ่ม
ย่อมทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนล้น
แต่ถ้าเขื่อนไม่มีน้ำมากก็น่าจะรับอยู่
ไม่ล้นทะลักแบบนี้
แต่อยากเห็นรูปที่สุด
เหมือนกรณี ระเบิดแถวบางบัวทอง
ฟังเขาว่าไม่เท่าเห็นหลักฐานจะๆ
แล้ววิเคราะห์เองว่าเป็นอย่างที่เขาว่ามาไหม

<<< จับพิรุธ คดีระเบิดสมานแมนชั่น บางบัวทอง >>>
สรุป ถ้าเราไม่หาสาเหตุที่แท้จริงเอาไว้
อนาคตก็อาจเกิดปัญหาซ้ำรอยเดิมอีก
สาเหตุที่แท้จริงมีหลายเรื่องแต่ตัวการใหญ่
ที่ช่วยถล่มให้ท่วมหนักคือเขื่อน
ถ้าเกิดกรณีล้นหรือเร่งระบายออกมากๆ
เพราะเขื่อนทำหน้าที่หลายอย่างเกินไป
เลยเกิดปัญหาเพราะคนจัดการไม่ดีพอเช่น
ระบายน้ำและเก็บน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า
เก็บน้ำไว้จ่ายให้เกษตรกร
ระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วม
จะเห็นว่ามีทั้งระบายและเก็บน้ำไว้
เก็บไว้มากเกินก็เกิดน้ำท่วมได้ง่าย
เพราะเขื่อนจะเต็มเร็ว
ไม่เก็บเอาไว้ก็จะมีปัญหาหน้าแล้งไม่มีใช้
หรือพอมีน้อยๆ ก็ไม่จ่ายให้เกษตรกรเก็บเอาไว้กลัวหมด
เขื่อนปัจจุบันจึงไม่สามารถใช้เพื่อเก็บน้ำได้อย่างเต็มที่
จะแก้ได้เต็มที่ต้องมีอ่างใหญ่ๆ ว่างๆ พอรับน้ำสักวันสองวันหรืออาทิตย์
แล้วค่อยๆ ทยอยปล่อยออก
ไม่เช่นนั้นถ้ามีอยู่ในเขื่อนมากๆ ก็เต็มเร็วล้นเร็ว
ใครบ้านอยุ่แถวเขื่อนไม่ว่าจะใต้เขื่อนเหนือเขื่อน
มีโอกาสโดนน้ำท่วมฉับพลันหมด

นี่ไม่รวมกรณีลอบวางเพลิงแล้วอาสามาดับเพลิง
ถ้าสืบได้ว่าเป็นกรณีหลัง
ก็ต้องไม่หยุดเคลื่อนไหว
เพราะถ้าอะไรทำแล้วสกัดกั้นการเคลื่อนไหวของม็อบได้
อนาคตคงได้ใช้วิธีเหล่านั้นตลอดไป
เช่นเดียวกับการคง พรก.ฉุกเฉิน
คนรับกรรมคือชาวบ้านที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง น้ำท่วมใหญ่สงขลารูปแบบเดียวกันกับน้ำท่วมใหญ่โคราช >>>http://maha-arai.blogspot.com/2010/11/blog-post_05.html

โดย มาหาอะไร

FfF