บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


05 พฤศจิกายน 2553

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง น้ำท่วมใหญ่สงขลารูปแบบเดียวกันกับน้ำท่วมใหญ่โคราช >>>

สงขลา/อ่างเก็บน้ำ3แห่งสงขลายังรองรับน้ำได้อุตุใต้เตือนปีนี้ฝนตกมากกว่าทุกปี
ภูมิภาค ภาคใต้ สงขลา
Date Posted :24/10/2010
ภาพ วิวัฒน์ หมาดโกบ / ข่าว สันติภาพ รามสูต สงขลา /

อ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 3 แห่งของจังหวัดสงขลา ปริมาณน้ำยังอยู่ในสภาพปรกติ ยังสามารถรองรับน้ำได้อีก อุตุใต้ ระบุ ปีนี้เป็นช่วงปรากฏการณ์ลานิญา ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นมากขึ้น สำหรับในฤดูมรสุมลมตะวันออกเฉียงเหนือของภาคใต้ จะมีฝนตกมากขึ้นโดยฝนตกแต่ละครั้งจะมีปริมาณมาก หากระบายน้ำไม่ทันอาจเกิดน้ำท่วมได้

สำนักชลประทานที่ 16 จังหวัดสงขลา รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 3 แห่งของจังหวัดสงขลา ปริมาณน้ำยังอยู่ในสภาพปรกติ คือ อ่างเก็บน้ำคลองจำไหร ความจุ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 4 ล้านลูกบาศก์เมตรหรือ 74% อ่างเก็บน้ำคลองหลา ความจุ 21 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 11 ล้านลูกบาศก์เมตรหรือ 56 % และอ่างเก็บน้ำสะเดา ความจุ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 24 ล้านลูกบาศก์เมตรหรือ 43 % สำหรับอ่างเก็บน้ำสะเดา เป็นอ่างเก็บน้ำที่สำคัญของต้นน้ำคลองอู่ตะเภา ทำหน้าที่เป็นแก้มลิงกักเก็บน้ำในฤดูฝนและระบายน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง

ในขณะที่นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกระบุ ปีนี้เป็นช่วงปรากฏการณ์ลานิญา ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นมากขึ้น สำหรับในฤดูมรสุมลมตะวันออกเฉียงเหนือของภาคใต้ จะเริ่มประมาณปลายเดือนตุลาคมนี้ซึ่งจะเป็นช่วงเปลี่ยนฤดู ส่วนช่วงฤดูมรสุมเต็มที่ก็จะเป็นเดือนพฤศจิกายน

ที่ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง สภาพอากาศจะแปรปรวน มีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ร่องนี้ยิ่งแคบก็ยิ่งมีความรุนแรงมาก โดยจะมีฝนตกหนักมาก มีฟ้าคะนองรุนแรงเป็นเวลานานติดต่อกัน ถ้าร่องนี้พาดผ่านอยู่บริเวณใดหลายวันก็จะทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมาก ติดต่อกันจนเกิดน้ำท่วมได้ อีกทั้งอยู่ในช่วงปรากฏการณ์ลานิญา ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนตกมากขึ้นอยู่แล้ว ฝนที่ตกแต่ละครั้งจะมีปริมาณมากและเป็นเวลานาน หากบริเวณใดระบายน้ำไม่ทันอาจทำให้เกิดอุทกภัยน้ำได้

http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=118474

----------------------------------------------

(2010-11-01 23:32:52 น.)
น้ำท่วมจ.สงขลาวิกฤตหนัก ไฟดับหลายชุมชน

เมื่อเวลา 21.00 น.ที่ผ่านมาน้ำจากอ่างเก็บน้ำสะเดา จังหวัดสงขลา ได้ทยอยระบายน้ำเต็มความจุประมาณ 56 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีไปยังคลองต่างๆในจังหวัดสงขลา ส่งผลให้น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมหลายพื้นที่ในตัวเมืองอำเภอหาดใหญ่ ขณะที่หลายชุมชนไฟฟ้าดับเริ่มขาดแคลนอาหาร และน้ำดื่มกันแล้ว

โดยเฉพาะพื้นที่ในบ้านซอยพีเอสยู ต.คลองหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาไฟฟ้าถูกตัดทั้งหมด หลังจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักตั้งแต่ช่วงเที่ยงที่ผ่านมา โดยซอยพีเอสยูนี้น้ำท่วมสูงทุกปีเช่นเดียวกับหมู่บ้านต่างๆในต.คลองหงส์ ซึ่งตอนนี้ไฟฟ้าถูกตัดทั้งหมดแล้วเพราะทางเทศบาลต้องตัดไฟเพื่อความปลอดภัย ของประชาชน

นอกจากนี้ชลประทานเขต 16 จังหวัดสงขลาต้องระบายในอ่างเก็บน้ำสะเดาหลังความจุอ่างไม่สามารถเก็บน้ำได้อีกต่อไปแล้ว ซึ่งจะทำให้อ่างเก็บน้ำต่างอาทิ อ่างเก็บน้ำคลองอู่ตะเภา และอ่างเก็บน้ำร.1 มีน้ำเอ่อล้นขึ้นอีก ซึ่งล่าสุดทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้เปลี่ยนธงให้สัญญาณจากธงสีเหลืองที่ให้ เฝ้าระวังเป็นธงแดง ซึ่งหมายถึงน้ำจะท่วมฉับพลันภายใน 6 ชั่วโมงและให้ย้ายออกจากพื้นที่เสี่ยงโดยทันที นอกจากนี้ยังได้เตรียมงบฉุกเฉินกว่า 30 ล้านให้องค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่

ขณะที่ประชาชนได้ออกมาซื้อสินค้าเพื่อกักตุนอาหารในช่วงเย็นที่ผ่านมาเพราะเกรงว่าหากเกิดอุทกภัยจะหาซื้อของได้ยากลำบากมาขึ้น

http://kaodee.com/read/kaodee.wc/?id=9ab8d6dcce9014f1e498e63f8d4a7bbb&ch=34&c=17

----------------------------------------------

(2010-11-02 00:46:20 น.)
สถานการณ์น้ำท่วมอ.สะเดา-หาดใหญ่ วิกฤตหนัก

ชาวบ้านที่อยู่ริมคลองอู่ตะเภา และ คลอง ร.1 ซึ่งเป็นคลองสายหลักน้ำเริ่มเอ่อล้นตลิ่ง ทำให้ชาวบ้านริมคลองในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาต้องขนของหนีน้ำอย่างเร่งด่วน ขณะที่อ่างเก็บน้ำสะเดา เริ่มทยอยปล่อยน้ำบางส่วนออกเพื่อรักษาระดับน้ำในเขื่อนไม่ให้สูงจนเขื่อนแตก

ชาวบ้านในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลากว่า 20 คนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตรมาอาศัยที่สุสาน หลังกรมชลประทานตัดสินใจปล่อยน้ำจากแงเก็บน้ำสะเดาที่เต็มความจุ 56 ล้านลูกบาศก์เมตรให้เหลือ 50 ล้านลูกบาศก์เมตรเพื่อป้องกันเขื่อนแตก ทำให้อำเภอสะเดาที่รับน้ำด่านแรกน้ำท่วมสูงขึ้นไปอีก โดยน้ำจะไหลไปยังคลองต่างๆยังคลองร.1-ร.6 คลองเตย และ คลองอู่ตะเภา ซึ่งทำให้ประชาชนที่อาศัยริมคลองต่างๆต้องอพยพประชาชนภายใน 3-4 ชั่วโมงจากนี้

ขณะที่ชาวบ้านในอำเภอหาดใหญ่ ต่างหวาดผวาจากน้ำท่วมอาทิ ชาวบ้านในซอบพีเอสยู และหมู่บ้านลัดดานิเวศน์ ที่ถูกน้ำท่วมทุกปีต่างนำทรัพย์สินมีค่าอาทิ รถยนต์ ไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการสูญหาย และ ต้องนอนเฝ้าสิ่งของ แม้ทางเทศบาลนครหาดใหญ่จะเปลี่ยนสัญญาณเตือนภัยเป็นธงสีแดงแล้วก็ตาม โดยให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ทันที

http://kaodee.com/read/kaodee.wc/?id=6d6e7328d25f73202bebf22bea0e8eed&ch=34&c=17

----------------------------------------------

สงขลายันอ่างเก็บน้ำยังแข็งแรง แม้น้ำล้น

ขณะนี้อ่างเก็บน้ำคลองหลา อ.คลองหอยโข่ง และอ่างเก็บน้ำคลองสะเดา มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 90

นัยวิทย์ สายบัณฑิต ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ขณะนี้อ่างเก็บน้ำคลองหลา อ.คลองหอยโข่ง และอ่างเก็บน้ำคลองสะเดา มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 90 เนื่องจากฝนตกมาตลอดทั้งสัปดาห์ แม้จะมีการพร่องน้ำไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อเตรียมรองรับน้ำ ทำให้ขณะนี้น้ำไหลล้นสปิลเวย์แล้ว แต่ยังไม่เปิดประตูระบายน้ำ และยังคงตรวจสอบสภาพความแข็งแรงของอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่งไว้ตลอด ขอยืนยันว่ายังมีความมั่นคงแข็งแรงดี ไม่มีปัญหาเขื่อนแตกแน่นอนตามที่ชาวบ้านหวาดวิตกกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สภาพอากาศในจังหวัดสงขลาวันนี้ (23 พ.ย.) ฝนเริ่มลดลง แต่แหล่งน้ำหลายแห่งมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ยังเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัย
update : 2009-11-23 13:41:31

http://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&cd=8&ved=0CDoQFjAH&url=http%3A%2F%2Fwww.thaimuslim.com%2Foverview.php%3Fc%3D1%26id%3D6731&ei=LinUTKbxIcmrccGi8IIF&usg=AFQjCNHv3YvaojX2b3B1raWxgvlozRSPCw&sig2=1DEcJ5_WT4PLlIUYxe33ug

----------------------------------------------

โครงการอ่างเก็บน้ำคลองสะเดา

อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

...

ลักษณะโครงการ

เป็นโครงการประเภทอ่างเก็บน้ำประกอบด้วยตัวเขื่อนหลัก ตัวเขื่อนปิดช่องเขาขาดอ่างเก็บน้ำ และอาคารประกอบต่าง ๆ มีรายละเอียดโดยย่อดังนี้
- ตัวเขื่อน (MAIN DAM)
- ชนิดเขื่อนดินถมชนิดเดียวกันทั้งเขื่อน (HOMOGENOUS EARTHFILL DAM)

- ปริมาตรวัตถุถมตัวเขื่อน 1.341 ล้าน ลบ.ม.
- ความสูงตัวเขื่อน 34.50 ม.
- ความยาวของสันเขื่อน 672.50 ม.
- ความกว้างของสันเขื่อน 8.00 ม.
- ความกว้างฐานเขื่อนจุดที่ลึกที่สุด 210.00 ม.(ทรก.)
- ระดับสันเขื่อน +72.50 ม.(ทรก.)
- ระดับน้ำสูงสุด +70.28 ม.(ทรก.) ความจุ 67.23 ล้าน ลบ.ม.
- ระดับน้ำเก็บกัก +68.00 ม.(ทรก.) ความจุ 56.741 ล้าน ลบ.ม.
- ระดับเก็บกักน้ำต่ำสุด 52.00 ม.(ทรก.) ความจุ 1.35 ล้าน ลบ.ม.
- พื้นที่น้ำท่วมที่ระดับสูงสุด 8.6 ตร.กม.
- พื้นที่น้ำท่วมที่ระดับเก็บกัก 7.42 ตร.กม.
- พื้นที่น้ำท่วมที่ระดับต่ำสุด 0.64 ตร.กม.

- ตัวเขื่อนปิดช่องเขาขาด SADDLE DAM
- ชนิดเขื่อนดินถมชนิดเดียวกันทั้งเขื่อน
- ระดับสันเขื่อน +72.50 ม.(ทรก.)
- ความสูงของสันเขื่อน 5.00 ม.
- ความยาวของสันเขื่อน 411.00 ม.
- ความกว้างฐานเขื่อนที่ลึกที่สุด 8.00 ม.
- ความกว้างฐานเขื่อนจุดที่ลึกที่สุด 34.50 ม.

- ทางระบายน้ำล้น (SPILLWAY) ชนิดมีประตูบังคับพร้อมรางเปิดอ่างลดแรงน้ำ (SIDE CHANNEL AND CHUTE SPILLWAY)
- ความกว้าง 15.00 ม.
- ระดับสันฝาย +68.00 ม.(ทรก.)
- ความสูงของน้ำท่วมเหนือระดับน้ำสันฝาย 2.13 ม.

- อาคารระบายน้ำ (RIVER OUTLET)
- ชนิดอาคาร คสล. พร้อมประตูควบคุมเปิด - ปิดน้ำ
- บานประตูเป็นประตูบานเลื่อนชนิดรับความดันของน้ำ
- ระบายน้ำสูงสุดเฉลี่ย 234 ลบ.ม. / วินาที
...

http://irrigation.rid.go.th/rid16/sip/linkleft/sorbor/1/sadao/sadao.html

--------------------------------------------------

สถานีอุตุนิยมวิทยา ปริมาณฝน(มม.)24ชม. รวมตั้งแต่ต้นปี
วันที่ 31 ตุลาคม 2553
สงขลา 105.2 1,319.0
หาดใหญ่ 208.0 1,240.5
คอหงษ์ สกษ. 174.0 1,642.0
สะเดา 33.7 774.6

วันที่ 01 พฤศจิกายน 2553
สงขลา 358.0 1,677.0
หาดใหญ่ 188.8 1,429.3
คอหงษ์ สกษ. 278.0 1,920.0
สะเดา 174.7 949.3

วันที่ 02 พฤศจิกายน 2553
สงขลา 1.2 1,678.2
หาดใหญ่ 0.3 1,429.6
คอหงษ์ สกษ. 2.6 1,922.6
สะเดา 2.1 951.4

http://www.tmd.go.th/climate/climate.php

----------------------------------------------

หลังเกิดอุทกภัยที่จังหวัดนครราชสีมาครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปี
เมื่อช่วงกลางเดือนที่แล้ว และจนบัดนี้หลายพื้นที่ น้ำก็ยังท่วมอยู่
ซึ่งผมได้รวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ เก็บไว้ที่เรื่องนี้
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง โคราชน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 50 ปี ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าอดีตทำไมถึงท่วมหนักได้ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/10/1-200.html

และในช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน นี้เอง
ก็ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้นลักษณะเหมือนกับที่เกิดขึ้นที่โคราช
นั่นคือมีฝนตกหนักจริง กรณีสงขลาปริมาณน้ำฝนวันที่ 1 พ.ย.53
ทั้ง 4 จุด สูงกว่าที่วัดได้ที่นครราชสีมาช่วงน้ำท่วมหนัก
"ปริมาณน้ำฝน(มม.)24ชม.
วันที่ 01 พฤศจิกายน 2553

สงขลา 358.0
หาดใหญ่ 188.8
คอหงษ์ สกษ. 278.0
สะเดา 174.7"
และมีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนมาสมทบ
จนทำให้เกิดอุทกภัยที่มีน้ำมาแรงและเร็ว
แถมยังทำให้บางพื้นที่ในอำเภอสะเดา
น้ำท่วมสูงขึ้นไปถึง 2 เมตรกว่า

ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่กรมชลประทานก็ทราบดีว่า
อาจฝนตกหนักเพราะปรากฎการณ์ลานิญา
ตามข่าวในวันที่ 24 ต.ค. 53 ดังนี้
"สงขลา/อ่างเก็บน้ำ3แห่งสงขลายังรองรับน้ำได้อุตุใต้เตือนปีนี้ฝนตกมากกว่าทุกปี
... ปีนี้เป็นช่วงปรากฏการณ์ลานิญา ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นมากขึ้น สำหรับในฤดูมรสุมลมตะวันออกเฉียงเหนือของภาคใต้ จะมีฝนตกมากขึ้นโดยฝนตกแต่ละครั้งจะมีปริมาณมาก หากระบายน้ำไม่ทันอาจเกิดน้ำท่วมได้ ..."

แต่กลับยังคิดกักเก็บน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำสะเดาถึง 57%
ตามข่าว
เดียวกันในวันที่ 24 ต.ค. 53
ก่อนน้ำท่วมใหญ่สงขลา 1 สัปดาห์
"... อ่างเก็บน้ำสะเดา ความจุ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 24 ล้านลูกบาศก์เมตรหรือ 43 % ..."

ซึ่งถ้าทยอยระบายมาตั้งแต่มีข่าวน้ำท่วมใหญ่นครราชสีมา
และอีกหลายสิบจังหวัดทั้งทางภาคเหนือ อีสาน และกลาง
จนเหลือระดับต่ำกว่า 10% ก็ยังสามารถรับน้ำได้อีกมาก
จะได้ไม่ต้องเร่งระบายแข่ง ซ้ำเติมวิกฤตน้ำท่วมให้เลวร้ายไปอีกได้
ทั้งๆ ที่จุดประสงค์ของอ่างเก็บน้ำสะเดาอย่างหนึ่งก็คือ
ต้องการทำเป็นแก้มลิงกักเก็บน้ำในฤดูฝน
เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วม แล้วจะเข้าฤดูมรสุมไม่กี่วัน
เก็บน้ำไว้ในอ่างทำไมตั้ง 57%
"... สำหรับอ่างเก็บน้ำสะเดา เป็นอ่างเก็บน้ำที่สำคัญของต้นน้ำคลองอู่ตะเภา ทำหน้าที่เป็นแก้มลิงกักเก็บน้ำในฤดูฝนและระบายน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง ..."

และจากข่าวในวันที่ 1-2 พ.ย. 53
ก็พอเป็นประจักษ์พยานได้พอสมควรแล้วว่า
อ่างเก็บน้ำสะเดามีส่วนทำให้เกิดน้ำท่วมสงขลาหลายอำเภอยังไง
"(2010-11-01 23:32:52 น.)
น้ำท่วมจ.สงขลาวิกฤตหนัก ไฟดับหลายชุมชน

เมื่อเวลา 21.00 น.ที่ผ่านมาน้ำจากอ่างเก็บน้ำสะเดา จังหวัดสงขลา ได้ทยอยระบายน้ำเต็มความจุประมาณ 56 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีไปยังคลองต่างๆในจังหวัดสงขลา ส่งผลให้น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมหลายพื้นที่ในตัวเมืองอำเภอหาดใหญ่ ขณะที่หลายชุมชนไฟฟ้าดับเริ่มขาดแคลนอาหาร และน้ำดื่มกันแล้ว ... "

"(2010-11-02 00:46:20 น.)
สถานการณ์น้ำท่วมอ.สะเดา-หาดใหญ่ วิกฤตหนัก

ชาวบ้านที่อยู่ริมคลองอู่ตะเภา และ คลอง ร.1 ซึ่งเป็นคลองสายหลักน้ำเริ่มเอ่อล้นตลิ่ง ทำให้ชาวบ้านริมคลองในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาต้องขนของหนีน้ำอย่างเร่งด่วน ขณะที่อ่างเก็บน้ำสะเดา เริ่มทยอยปล่อยน้ำบางส่วนออกเพื่อรักษาระดับน้ำในเขื่อนไม่ให้สูงจนเขื่อน แตก

ชาวบ้านในอำเภอ สะเดา จังหวัดสงขลากว่า 20 คนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตรมาอาศัยที่สุสาน หลังกรมชลประทานตัดสินใจปล่อยน้ำจากแงเก็บน้ำสะเดาที่เต็มความจุ 56 ล้านลูกบาศก์เมตรให้เหลือ 50 ล้านลูกบาศก์เมตรเพื่อป้องกันเขื่อนแตก ทำให้อำเภอสะเดาที่รับน้ำด่านแรกน้ำท่วมสูงขึ้นไปอีก โดยน้ำจะไหลไปยังคลองต่างๆยังคลองร.1-ร.6 คลองเตย และ คลองอู่ตะเภา ซึ่งทำให้ประชาชนที่อาศัยริมคลองต่างๆต้องอพยพประชาชนภายใน 3-4 ชั่วโมงจากนี้ ... "

ข้อกังขาสุดท้าย
ทำไมเขื่อนในหลายจังหวัดในปีนี้
ถึงเร่งรีบระบายน้ำเพราะกลัวเขื่อนจะแตก
ทั้งๆ ที่โครงสร้างเขื่อนแทบทุกเขื่อน
ได้ออกแบบให้รับน้ำสูงสุดเกินระดับเก็บกักน้ำ
ยกตัวอย่างกรณีอ่างเก็บน้ำสะเดา
"- ระดับน้ำสูงสุด +70.28 ม.(ทรก.) ความจุ 67.23 ล้าน ลบ.ม.
- ระดับน้ำเก็บกัก +68.00 ม.(ทรก.) ความจุ 56.741 ล้าน ลบ.ม."
สามารถรับน้ำได้ถึง 67.23 ล้าน ลบ.ม.
แต่ถ้าเลยระดับเก็บกักน้ำ ที่ 56.741 ล้าน ลบ.ม.
น้ำจะล้นผ่านสปิลเวย์ ก็ไม่น่ากังวลเรื่องเขื่อนจะแตก
จนต้องรีบระบายน้ำออก
ทั้งๆ ที่ปีที่แล้วอ่างเก็บน้ำเดียวกันนี้
เจ้าหน้าที่ยังยืนยันว่าแข็งแรงดี
และไม่คิดจะเปิดประตูระบายน้ำ
ทำไมปีนี้ถึงมีข่าวกลัวเขื่อนจะแตกแทบทุกเขื่อน
ที่เป็นตัวการซ้ำเติมเร่งปล่อยน้ำ
จนเกิดน้ำท่วมหนักเป็นประวัติการณ์ในหลายจังหวัด
แถมเห็นตัวอย่างที่อื่นพึ่งจะเกิดน้ำล้นเขื่อนไม่กี่อาทิตย์
กลับไม่คิดทะยอยระบายน้ำออกมาก่อน
ประมาทหรือว่ามีวาระซ่อนเร้น
"สงขลายันอ่างเก็บน้ำยังแข็งแรง แม้น้ำล้น
ขณะนี้อ่างเก็บน้ำคลองหลา อ.คลองหอยโข่ง และอ่างเก็บน้ำคลองสะเดา มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 90
...

ทำให้ขณะนี้น้ำไหลล้นสปิลเวย์แล้ว แต่ยังไม่เปิดประตูระบายน้ำ และยังคงตรวจสอบสภาพความแข็งแรงของอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่งไว้ตลอด ขอยืนยันว่ายังมีความมั่นคงแข็งแรงดี ไม่มีปัญหาเขื่อนแตกแน่นอนตามที่ชาวบ้านหวาดวิตกกัน ..."

โดย มาหาอะไร
FfF