บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


08 พฤศจิกายน 2553

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ใครได้ใครเสียอะไร ในการเผาห้าง ZEN #2 >>>

เซ็นทรัลพับแผนลงทุน 3-5 ปี

ผู้บริหารเซ็นทรัลยอมรับต้องทบทวนแผนลงทุนระยะ 3-5 ปี หลังเหตุจลาจลเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ สั่งชะลอโครงการไม่จำเป็น เดินหน้าเฉพาะโครงการลงทุนไปแล้วทั้งใน-ต่างประเทศ เตรียมขอ กทม.ไฟเขียวเปิดบริการพื้นที่ส่วนที่ไม่เสียหายภายใน 2-3 เดือน ขณะที่ "อิเซตัน" เตรียมเปิดใน 1 เดือน
นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เปิดเผยถึง การปรับตัวหลังจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์จลาจล ทำให้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ถูกไฟไหม้ ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้กลุ่มเซ็นทรัลต้องกลับมาทบทวนเม็ดเงินและแผนการลงทุนใหม่ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า หากโครงการใดไม่จำเป็นอาจต้องชะลอไว้ก่อน

ส่วนโครงการที่ดำเนินการไปบ้างแล้ว จะยังคงเดินหน้าต่อ เช่น โครงการก่อสร้างศูนย์การค้าใหม่ในเชียงใหม่ เชียงราย พระราม 9 ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาอิงภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ว่า จะเกื้อหนุนการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน

"กระแสเงินสดของกลุ่มเซ็นทรัล อยู่ในเกณฑ์ดี ทุกอย่างเดินหน้า แต่ต้องดูว่าเศรษฐกิจแบบนี้จะไปได้ไหมและเดินอย่างไร เวลานี้ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ ธุรกิจ มีทั้งมือที่ 3 มือที่ 4 เข้ามา การทำอะไรต้องระมัดระวังรอบคอบ" นายสุทธิธรรมกล่าว

ให้ ร.ฟ.ท.ยืดสัมปทานลาดพร้าวอีก 1 ปี

เบื้องต้นกลุ่มเซ็นทรัล ได้หารือกับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขอให้ประสานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ยืดอายุสัญญาเช่าโครงการเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าวออกไปอีก 1 ปี จากเดิมสัญญา 20 ปี เป็น 21 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับแผนชะลอการปิดบริการเพื่อปรับปรุงครั้งใหญ่ จากเดิมกำหนดปิดเซ็นทรัลลาดพร้าว วันที่ 30 พ.ค.นี้ โดยกลุ่มเซ็นทรัลตัดสินใจเลื่อนไปปิดในวันที่ 15 ก.พ. 2554 เพื่อให้ผู้ประกอบการมีพื้นที่และโอกาสในการจำหน่ายสินค้าอีกระยะหนึ่ง

นอกจากนั้น ยังประสานกับกรุงเทพฯ ขอเปิดพื้นที่บางโซนในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากไฟไหม้ เช่น ฝั่งห้างสรรพสินค้าอิเซตัน เพื่อเปิดบริการ หากได้รับอนุมัติ คาดว่าจะเปิดบริการห้างสรรพสินค้าอิเซตันได้ก่อน โดยส่วนนี้จะใช้เวลาปรับปรุงประมาณ 1 เดือน ขณะนี้ ได้ยื่นขออนุญาตจากสำนักงานเขตปทุมวัน ตามข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยไปเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการปรับปรุงซ่อมแซมศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ อาจจะปิดปรับปรุงส่วนที่ได้รับผลกระทบ หากพื้นที่ใดไม่ได้รับผลกระทบก็จะพยายามเปิดบริการเร็วที่สุด

ส่วนความเสียหายของห้างสรรพสินค้าเซนนั้น คาดว่าต้องใช้เวลาซ่อมแซม ปรับปรุงอย่างน้อย 1 ปี 6 เดือน โดยแนวทางก่อสร้างจะทุบหรือซ่อมแซมอย่างไรนั้น ต้องรอผลการสรุปจากกรุงเทพฯ อีกครั้ง

"เราต้องดับเบิ้ลความปลอดภัยให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน หากทุบก็ต้องทุบ ดื้อไม่ได้ ห้างเซนคงอยู่ในตำแหน่งเดิม แต่ต้องทำให้สวยงามยิ่งขึ้น"

เปิดเซ็นทรัลเวิลด์ส่วนที่เหลือใน 3 เดือน

ด้านนายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา กล่าวเสริมว่า หลังจาก กทม.หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบอาคารอย่างเป็นทางการ คาดว่าจะประเมินความเสียหาย และสรุปแนวทางปฏิบัติในเชิงโครงสร้างอาคารทั้งหมดได้ หลังจากนั้น กลุ่มเซ็นทรัลจะจัดประชุมผู้บริหารระดับสูง ว่า จะบริหารจัดการสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร ก่อนที่ซีพีเอ็นจะเรียกประชุมผู้ประกอบการร้านค้าย่อยของเซ็นทรัลเวิลด์ วันที่ 3 มิ.ย.นี้ เพื่อแจ้งมาตรการช่วยเหลือ และแนวทางดำเนินงานต่อไป รวมถึงแนวทางดำเนินมาตรการช่วยเหลือเยียวยา รวมทั้งให้ร้านค้าเข้าตรวจสอบพื้นที่เมื่อกรุงเทพฯ อนุญาตให้เข้าอาคารได้แล้ว

"ทุกอย่างต้องรอให้ทางการสรุปเรียบร้อย โจทย์จะนิ่ง ต้องดูไปตามหลักกฎหมาย วิศวกร คงพูดก่อนข้อมูลไม่ได้ วันนี้ (29 พ.ค.) รองผู้ว่าฯ กทม.ได้เข้าตรวจพื้นที่ตามกฎระเบียบ และน่าจะสรุปเรื่องอาคารและพื้นที่ได้ แต่เบื้องต้นประเมินว่าพื้นที่ศูนย์การค้าที่ไม่ได้รับความเสียหาย จะเปิดบริการได้อย่างเร็วใน 2-3 เดือนข้างหน้า" นายกอบชัยกล่าว

ด้านนายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหารการเงิน กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวด้วยว่า เวลานี้ยังสับสน วุ่นวาย และไม่รู้ว่าประกันจะครอบคลุมขนาดไหน รัฐบาลจะช่วยมากน้อยแค่ไหน เราก็คงเรียกร้องอะไรไม่ได้ ส่วนประกันของเซ็นทรัลยืนยันว่ายังไม่หมดอายุ

"กอร์ปศักดิ์" รับเซ็นทรัลขอเปิดบางส่วน

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวหลังตรวจสอบพื้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมผู้บริหารระดับสูงกลุ่มเซ็นทรัล วานนี้ (28 พ.ค.) ว่า ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ได้หารือ เพื่อขอเปิดบริการศูนย์การค้าบางส่วน ซึ่งคงทำได้ เพราะผู้บริหารเซ็นทรัลเวิลด์ ชี้แจงว่าส่วนของอาคารสำนักงาน และโรงแรมไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุไฟไหม้ ขณะที่ศูนย์การค้าในฝั่งอิเซตัน ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย แต่ศูนย์จะต้องมีการแบ่งแยกพื้นที่ส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน เพื่อความปลอดภัย

ส่วนงบประมาณเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ จลาจล ว่า ต้องดูว่าเป็นเงินเท่าไร ซึ่งคาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในสัปดาห์หน้า ขณะนี้ เงินช่วยเหลือรายละ 5 หมื่นบาท ได้รับการอนุมัติจาก ครม.แล้ว และเบื้องต้นมีผู้เดือดร้อนทั้งหมด 3,000 ราย แต่ยังไม่ทราบจำนวนรวมทั้งหมดของผู้ที่ได้รับความเสียหายจริงๆ เพราะยังคงมีผู้ประกอบการมาแสดงตนอยู่ตลอด ทำให้ยังไม่สามารถประเมินค่าความเสียหายทั้งหมดได้ เพราะบางพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ ก็ยังไม่สามารถเข้าไปดูได้ ทำให้การประเมินค่ายังไม่ชัดเจน

ขณะที่วานนี้ (29 พ.ค.) เวลา 13.00 น. ที่ศูนย์การค้าดิจิตอลเกตเวย์ สยามสแควร์ นายกอร์ปศักดิ์ และนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ร่วมเปิดกิจกรรมฟื้นฟูสยาม โดยนายกอร์ปศักดิ์ กล่าวถึง แนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าบริเวณเซ็นเตอร์พอยท์สยามสแควร์ ว่า ตนได้ดูพื้นที่บริเวณสยามสแควร์ เพื่อดูความช่วยเหลือจัดสรรพื้นที่สำหรับค้าขาย เพราะสิ่งสำคัญที่สุดขณะนี้ คือ ทำให้ผู้เดือดร้อนมีที่ทำมาหากินได้เร็วที่สุด

โดยสิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ คือ 1. รัฐบาลอนุมัติเงินช่วยเหลือกว่า 88 ล้านบาท ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างอาคารกึ่งถาวรเป็นร้านค้า ซึ่งรัฐบาลมีเงื่อนไขไม่เก็บค่าเช่าผู้ประกอบการนาน 6 เดือน และจุฬาฯ ได้เริ่มงานแล้ว เหลือเวลาอีก 25 วันจะดำเนินงานเสร็จ 2. ตั้งแต่วันนี้ไปนาน 1 เดือน ผู้ประกอบการจะมีเต็นท์ทำการค้า โดยจะจับฉลากจองพื้นที่ ซึ่งผู้ประกอบการทุกรายเห็นด้วย

"เงินเบื้องต้นที่ช่วยเหลือรายละ 5 หมื่นบาท จะเร่งให้เสร็จเร็วที่สุด เพราะผู้ประกอบการทั้งหลายเดือดร้อน คิดว่าทุกเรื่องน่าจะเสร็จภายใน 14 วัน"

ผู้ค้าเซ็นเตอร์วันขอเพิ่มวงเงินกู้

ด้านนายสกนธ์ กัปปิยจรรยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีโอ สุกี้ไทย เรสเทอรองส์ จำกัด ผู้บริหารร้านนีโอ สุกี้ และในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการค้ารายย่อยในศูนย์การค้าเซ็นเตอร์วัน กล่าวว่า ต้องการเรียกร้องให้ภาครัฐเพิ่มวงเงินกู้ ให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและรายใหญ่ เพราะมีมูลค่าความเสียหายค่อนข้างมาก โดยจะขอให้รัฐพิจารณาเพิ่มวงเงินกู้ให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย มูลค่าตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ขอกู้ได้สูงสุด 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษ เนื่องจากปัจจุบันภาครัฐได้อนุมัติวงเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยเพียง 3 แสนบาท และ 7 แสนบาท ดอกเบี้ย 3% ซึ่งไม่เพียงพอต่อการนำมาปรับปรุงร้านค้า

นายสิทธิศักดิ์ ภูมิโภคาวัฒน์ ตัวแทนกลุ่มร้านค้าขนาดกลางในย่านสยามสแควร์ ที่ได้รับความเสียหายเช่นกัน กล่าวว่า ขณะนี้ ร้านค้าขนาดกลางในสยามสแควร์ที่ถูกไฟไหม้ จำนวน 130 ร้านค้าเดือดร้อนมาก วงเงินที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือรายละ 5 หมื่นบาท และปล่อยกู้สูงสุดเพียง 3 แสนบาท ไม่เพียงพอต่อการทำธุรกิจหรือเปิดร้านใหม่ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อร้านค้ารายละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งรวมแล้วร้านค้าขนาดกลางในย่านสยามสแควร์เสียหายสูงถึง 300 ล้านบาท ขณะที่ค่าเช่าพื้นที่ต่อเดือนสูงเกิน 6 หมื่นบาท จึงต้องการให้รัฐวางมาตรการดูแลร้านค้าขนาดกลางที่เดือดร้อนด้วย เพราะตอนนี้แทบสิ้นเนื้อประดาตัว ทรัพย์สินในร้านถูกไฟไหม้ ไม่มีทุนประกอบธุรกิจ หรือสต็อกสินค้าที่จะนำไปวางขายในพื้นที่ใดๆ ได้เลย

จุฬาฯ เล็งของบเพิ่มอุ้มผู้ค้าสยาม

นายภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังพิจารณาขอเพิ่มวงเงินช่วยเหลือร้านค้ารายย่อยย่านสยามสแควร์เพิ่ม จากที่อนุมัติไปแล้ว 88 ล้านบาท ภายใต้กรอบวงเงินช่วยเหลือ 250 ล้านบาท เพราะมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นสูงถึง 600 ล้านบาท ส่วนแนวทางช่วยเหลือเบื้องต้นดำเนินการใน 3 แนวทาง คือ จัดตั้งเต็นท์จำหน่ายสินค้าชั่วคราว รองรับร้านค้าย่อยกว่า 200 แห่ง บริเวณสยามซอย 2 และซอย 3 เน้นประเภทเสื้อผ้า แฟชั่น การสร้างอาคารกึ่งถาวร ติดกับถนนอังรีดูนังต์ ให้ร้านอาหารเข้ามาเปิดบริการ รองรับได้ 10 ร้าน

นอกจากนี้ ยังใช้พื้นที่บริเวณลานจอดรถชั้น 5 อาคารสยามกิจ รองรับกลุ่มผู้ประกอบการสถาบันกวดวิชา 8 แห่งเปิดบริการ โดยทั้งหมดจะไม่มีการเก็บค่าเช่าพื้นที่เป็นเวลา 3-9 เดือน อยู่ระหว่างพิจารณา โดยมีผู้ประกอบการในย่านสยามสแควร์ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุจลาจลในครั้งนี้ เข้าลงทะเบียนรับความช่วยเหลือแล้ว 700 ราย

http://www.bangkokbiznews.com/2010/05/29/news_30967182.php?news_id=30967182

----------------------------------------------------------------------

"เซ็นทรัลฯ"ประกันหมื่นล้าน

"เซ็นทรัลเวิลด์" สำรวจโครงสร้างเสียหายเบื้องต้น 30% วางแผนปิดปรับปรุง 6 เดือน พร้อมเปิดบริการอีกครั้ง ยกเว้น "ห้างเซน" รอไฟเขียวหลัง กทม.ตรวจสอบ เผยประกันความเสี่ยงและความเสียหายวงเงินสูงสุด 1.3 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันทบทวน "ปิดลาดพร้าว" เป็นทางเลือกชดเชยรายได้ ส่วน "เซ็นเตอร์วัน" ขอกำลังทหาร-ตำรวจเพิ่มช่วงกลางคืน คาดเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท ด้าน ประกันภัย เตรียมเข้าประเมินความเสียหาย ถกปม "ก่อการร้าย" นัดหารือสมาชิกด่วนสัปดาห์หน้า
การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ที่เริ่มต้นตั้งแต่ 12 มี.ค.2553 จนถึงวันประกาศยุติชุมนุม 19 พ.ค. นั้น เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตทั้งทหารและพลเรือนไปแล้ว 80 คนและยังมีผู้บาดเจ็บ และอยู่ในห้องไอซียูอีกจำนวนมาก ขณะที่ความเสียหายด้านทรัพย์สินก็อยู่ในระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์การ ชุมนุมทางการเมืองไทย เนื่องจากมีการมาเผาอาคารของภาคธุรกิจหลายแห่ง ต่างจากอดีตที่การชุมนุมนั้น หน่วยงานราชการมักจะตกเป็นเป้าหมาย เช่น การเผาสำนักงานสลากกินแบ่ง สถานีตำรวจและกรมประชาสัมพันธ์ ในเหตุการณ์ 14 ต.ค.2516, 6 ต.ค.2519 และ 17-19 พ.ค.2535

ในการสลายการชุมนุม 19 พ.ค.2553 ส่งผลให้ตึกอาคารพาณิชย์ และธนาคาร ที่ถูกเผาในเขตกรุงเทพฯ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ระบุว่ามีจำนวน 38 แห่ง

อย่างไรก็ตามอาคารเซ็นทรัล เวิลด์ ที่มีมูลค่าก่อสร้างรวม 2.6 หมื่นล้านบาท ได้รับความสนใจจากสาธารณชน เป็นอย่างมาก เนื่องจากได้รับความเสียหายมากสุด ส่วนหนึ่งเพราะอยู่ท่ามกลางวงล้อมของผู้ชุมนุมมายาวนาน ตั้งแต่ 3 เม.ย.ถึง 19 พ.ค.2553 แต่ถึงกระนั้นก็ยังโชคดีที่ จุดที่ไฟไหม้นั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการทั้งหมด หรือคิดเป็น 30% ของโครงการ

อย่างไรก็ตาม นายนริศ เชยกลิ่น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี เซ็นทรัลพัฒนา หรือซีพีเอ็น ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา และเซ็นทรัลเวิลด์กล่าวกับ “รอยเตอร์” ว่า บริษัทได้ทำประกันของศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ 2 กรมธรรม์ ได้แก่ กรมธรรม์คุ้มครอง ความเสี่ยงและความเสียหายวงเงินสูงสุด 1.3 หมื่นล้านบาท และกรมธรรม์ประกันภัยจากการจลาจล ซึ่งครอบคลุมถึงการก่อการร้าย วงเงินสูงสุด 3.5 พันล้านบาท ซึ่งจะรวมความเสียหายต่อทรัพย์สิน และการหยุดประกอบกิจการ

ขณะที่นายณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด ซีพีเอ็น เปิดเผย “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า การสำรวจโครงสร้างอาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เบื้องต้นพบความเสียหายคิด เป็นสัดส่วนประมาณ 30% ของพื้นที่ทั้งหมด หรือเกิดความเสียหายในส่วนของพื้นที่ห้างสรรพสินค้าเซน และโซนเอเทรียม ขณะที่โครงสร้างส่วนใหญ่กว่า 60% ยังอยู่ในสภาพปกติ โดยหลังจากนี้ต้องรอให้กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำการตรวจสอบพื้นที่ และโครงสร้างอาคาร ตามระบบ และสรุปแนวทางดำเนินงานต่างๆ อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ บริษัทประเมินว่าจะใช้เวลา 6 เดือนเป็นอย่างเร็วเพื่อกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง หากสามารถเข้าทำการปรับปรุง ซ่อมแซม อาคารได้ ยกเว้นบริเวณอาคารห้างสรรพสินค้าเซน

พร้อมกันนี้ ซีพีเอ็นยังจะมีการทบทวนแผนการปิดบริการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว วันที่ 30 พ.ค.นี้ โดยอาจจะเลื่อนการปิดศูนย์ออกไปก่อน เพื่อเป็นช่องทางชดเชยรายได้ของเซ็นทรัลเวิลด์ที่ต้องปิดบริการยาวต่อเนื่อง มาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา

โดยก่อนหน้านี้ ซีพีเอ็น คาดว่ารายได้ปีนี้จะเติบโต14-15%จากปีก่อนแม้ต้องปิดให้บริการ

ชั่วคราวของเซ็นทรัลเวิลด์

“ความเสียหายอยู่ในระหว่างการขอรับการตรวจสอบจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบความเสียหายให้แน่ชัดโดยละเอียด และด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย จึงยังไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้เช่าเข้าไปในบริเวณพื้นที่ เกิดเหตุ จนกว่าจะได้รับการยืนยันด้านความปลอดภัยจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ส่วนแผนการซ่อมแซมพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายและการเปิดให้บริการนั้น บริษัทจะแจ้งให้ทราบหลังจากมีการตรวจสอบและประเมินความเสียหายทั้งหมดโดย ละเอียดก่อน”

นายณัฐกิตติ์ กล่าวว่า ศูนย์การค้าของซีพีเอ็นทุกศูนย์ทั่วประเทศ ได้ปิดให้บริการ วานนี้ (20 พ.ค.) ยกเว้น 3 ศูนย์ในภาคตะวันออก และกำหนดการเปิด-ปิดศูนย์จะพิจารณาและแจ้งให้ทราบวันต่อวัน

เซ็นเตอร์วันขอกำลังทหาร-ตำรวจเพิ่ม

นายรัฐพล ไกรจิรโชติ กรรมการผู้จัดการ ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กล่าวว่า ต้องการให้เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ เพิ่มกำลังดูแลด้านความปลอดภัยในช่วงเวลากลางคืนซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง ประสานงานขอกำลังเพิ่มเนื่องจากการประกาศเคอร์ฟิว ทำให้ทีมรักษาความปลอดภัยของบริษัทไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่

“เราค่อนข้างเป็นห่วงในเรื่องของสภาวการณ์ต่างๆ ที่ยังไม่ปกติ โดยเฉพาะการก่อเหตุซ้ำ ซึ่งได้ประสานทหาร ตำรวจ ขอกำลังเจ้าหน้าที่เพิ่มในช่วงกลางคืนเสริมกับทีมรักษาความปลอดภัยของบริษัท” นายรัฐพลกล่าว

สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอาคาร ประมาณการมูลค่ากว่า 400-500 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินต่างๆ โดยเฉพาะสต็อกสินค้าของผู้ประกอบการกว่า 300 รายภายในศูนย์ เบื้องต้นคาดว่ามูลค่าความเสียหายทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทอยู่ระหว่างตรวจสอบและประสานตัวแทนประกันภัยว่าจะครอบคลุม ความเสียหายในส่วนใดบ้าง

เซเว่นฯ งดบริการ 24 ชั่วโมงพื้นอันตราย

นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” กล่าวว่า เหตุจลาจลที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายต่อธุรกิจค่อนข้างมากแต่ยังไม่สามารถ ประเมินเป็นตัวเลขได้ในขณะนี้ เพราะยังไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย ส่วนมาตรการฉุกเฉินในขณะนี้บริษัทได้สั่งการให้ร้านสาขาที่อยู่ในบริเวณ พื้นที่อันตรายปิดบริการเร็วขึ้น ประมาณเวลา 18.00 น. หรือก่อนเวลา 20.00 น.เป็นไปตามประกาศเคอร์ฟิว ซึ่งพนักงานร้านจะต้องเดินทางออกจากพื้นที่และกลับถึงบ้านก่อนเวลา 20.00 น. กล่าวโดยภาพรวมเซเว่นอีเลฟเว่นยังเปิดบริการได้ทั้งในกรุงเทพฯ และร้านรอบนอก แต่ไม่ตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนต่างจังหวัดที่ไม่ใช่พื้นที่ควบคุมเปิดได้ 24 ชั่วโมงตามปกติ

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากเซเว่นอีเลฟเว่น กล่าวว่า ในเบื้องต้น คาดว่ามีร้านเซเว่นฯ ในเขตพื้นที่อันตรายต้องปิดบริการมากกว่า 50 แห่ง และมากกว่า 100 แห่งที่ไม่ได้เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ซึ่งเวลาเปิดบริการของแต่ละสาขาเป็นไปตามสถานการณ์ขณะนั้นเป็นหลัก

สยามพารากอน เสียหายเล็กน้อย

รายงานข่าวจากบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหารอาคารสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และสยามพารากอน แจ้งว่า ทีมปฏิบัติการของบริษัทได้ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุดในการดูแล รักษาความปลอดภัยอาคาร โดยทีมงานทุกคนได้มีการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ส่วนความเสียหายในเบื้องต้น พบว่า ธนาคารกรุงเทพฯ บริเวณประตูชั้นล่าง มีเพลิงไหม้เล็กน้อยและสามารถดับได้ภายใน 5 นาที ในส่วนของอาคารทั้ง 3 แห่ง มีกระจกแตกบ้างเล็กน้อย ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบสาเหตุที่ชัดเจนอีกครั้ง

ศูนย์การค้าปิดทั่วเมือง

จากการตรวจสอบธุรกิจศูนย์การค้า ร้านค้าปลีกต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในและย่านชานเมือง วานนี้ (20 พ.ค.) พบว่า ส่วนใหญ่ “ปิดให้บริการ” ตลอดทั้งวัน อาทิ เซ็นทรัล พลาซา ทั้งหมด ซีคอนสแควร์ ศูนย์การค้าชุมชน เช่น พาซิโอ ต่อเนื่องจากวันที่ 19 พ.ค. ที่ผู้ประกอบการได้ทยอยปิดบริการภายหลังกลุ่มป่วนเมืองเริ่มก่อเหตุจลาจล ทั่วเมืองๆ ตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 14.00-16.00 น. เป็นไปตามมาตรการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน ลูกค้าและประชาชน ส่วนกลุ่มเดอะมอลล์ ได้เปิดบริการศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ และดิ เอ็มโพเรี่ยม จนถึงเวลาประมาณ 17.00-18.00 น. ขณะที่ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต จะปิดให้บริการในเวลา 16.00 น.

ประกันภัยถกปม“ก่อการร้าย”หารือสัปดาห์หน้า

นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า จากกรณีที่เกิดการเผาอาคาร สำนักงาน ห้างร้านต่างๆ นั้น ณ ขณะนี้ เชื่อว่าอาคารสำนักงานส่วนใหญ่ที่ได้รับความเสียหาย ส่วนใหญ่ได้ทำประกันภัยเอาไว้อยู่แล้ว แต่ก็ต้องมาพิจารณาดูว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ถือว่าเป็นการก่อการร้ายหรือไม่ เพราะ ศอฉ.ได้ประกาศว่าเป็นการก่อการร้าย เพราะฉะนั้นต้องมาดูในรายละเอียดของกรมธรรม์ว่าแต่ละบริษัทได้มีการซื้อภัย ก่อการร้ายหรือไม่ พร้อมกับต้องดูในรายละเอียด และคำตีความของคำว่า “ภัยก่อการร้าย”

“ในขณะนี้จึงไม่สามารถระบุอะไรได้ว่ากรมธรรม์ประกัน ภัยจะให้ความคุ้มครองหรือไม่อย่างไร ต้องขอดูรายละเอียดของกรมธรรม์ก่อนว่ามีการซื้อประกันภัยการก่อการร้ายไว้ ด้วยหรือไม่ ส่วนการประเมินมูลค่าความเสียหาย นั้นยังไม่สามารถเข้าไปประเมินได้เช่นกัน ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่จะต้องให้บริษัทประเมินเข้าไปประเมินความเสียหาย ส่วนผู้เอาประกันรายเล็กไม่ต้องใช้บริษัทประเมินความเสียหายก็ได้”

ในสัปดาห์หน้า สมาคมประกันวินาศภัย จะเรียกสมาชิกทั้งหมดมาหารือถึงแนวทาง รวบรวมความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดแนวทางในการจ่ายสินไหมให้ไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมกับต้อง พิจารณาคำว่า “การก่อการร้าย” ด้วยว่าเป็นอย่างไร เพราะ ศอฉ.ได้ประกาศมาตลอดว่าเป็นการก่อการร้าย เพราะฉะนั้น ขณะนี้ยังให้รายละเอียดอะไรไม่ได้มากนัก

นายจีรพันธ์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นหากไม่ถือว่าเป็นภัยก่อการร้าย บริษัทประกันภัยต้องเข้าไปรับภาระอยู่แล้ว แต่บริษัทประกันภัยที่เข้าไปรับประกันนั้นไม่ได้รับทั้งหมดเต็มจำนวน เพราะต้องทำการรีประกันภัยต่อไปยังบริษัทประกันภัยในต่างประเทศ เพราะมีข้อจำกัดทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อยู่แล้วว่าจะสามารถรับประกันภัยได้ประมาณ 10% ของเงินกองทุนของแต่ละบริษัท

แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของแต่ละ บริษัทประกันด้วย เช่น อาจรับไว้แค่ 5% ที่เหลือต้องส่งให้ประกันภัยต่างประเทศทำการรับประกันภัยต่อ และที่สำคัญอาคารใหญ่ ก็ได้ทำประกันภัยเอาไว้กับบริษัทประกันภัยต่างประเทศอยู่แล้ว เช่น บริษัท A มีเงินกองทุน 2,000 ล้านบาท สามารถรับทุนประกันภัยได้ไม่เกิน 200 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินเอาประกันภัย ต้องแยกให้ออกระหว่างเงินเอาประกันภัย หรือทุนประกันภัย กับเงินกองทุน คนละตัวเลขกัน

มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นครั้งนี้เท่าที่ประเมิน คร่าวๆ อาคาร เซ็นทรัล เวิลด์ น่าจะมีความเสียหายมากที่สุด คิดว่าน่าจะหลายพันล้านบาท ยังไม่นับรวมกับบริเวณใกล้เคียง ซึ่งขณะนี้บริษัทประกันวินาศภัย ต้องทำการติดต่อกับบริษัทที่ทำการประเมินความเสียหายให้เข้ามาประเมินความ เสียหายเป็นลำดับต่อไป แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการในรายละเอียดต่างๆ ได้ เพราะบางอาคารยังไม่สงบยังมีไฟคุกรุ่นอยู่ ต้องให้ระยะเวลาด้วย แต่บริษัทประกันวินาศภัยก็ได้เร่งดำเนินการอยู่แล้ว

สำหรับเรื่องการ จ่ายค่าสินไหมทดแทน นั้น ยืนยันว่าไม่มีปัญหา สถานะทางการเงินของบริษัทประกันวินาศภัย ณ ขณะนี้แข็งแกร่ง และที่สำคัญยืนยันว่าการรับประกันต่างๆ นั้น ได้ถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้การดูแลของ คปภ.อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นไม่กระทบฐานะทางการเงินของบริษัทประกันวินาศภัย

ตรวจสอบสาเหตุชัดเจนก่อนจ่ายประกัน

นาย จุลพยัพ ศรีกาญจนา ประธานกรรมการบริหารบริษัทเอเชียประกันภัย1950จำกัดเปิดเผยว่า ในความคิดเห็นส่วนตัว มองว่า โดยทั่วไปแล้วต้องดูรายละเอียด เงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์ว่าบริษัทที่ได้รับความเสียหายนั้นได้ซื้อกรมธรรม์ ประกันวินาศภัยอะไรไว้บ้างและได้ซื้อภัยก่อการร้ายเพิ่มเติมหรือไม่และที่ สำคัญเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่ เซ็นทรัลเวิลด์นั้นมาจากสาเหตุอะไรใช่ภัยก่อการร้าย ภัยจลาจลหรือไม่ หากเป็นการขว้างปาสิ่งของ กระ-จกแตกก็เป็นพื้นฐานของการประกันภัยเบื้องต้น

“หากเป็นภัยก่อการร้ายส่วนใหญ่ เป็นข้อยกเว้นของการประกันภัย ยกเว้นว่าผู้เอาประกันภัยได้ซื้อความคุ้มครองภัยก่อการร้ายเอาไว้ ถึงจะได้รับความคุ้มครอง เพราะเวลาที่รัฐบาลแถลงการณ์ โดย ศอฉ. ได้ระบุออกมาตลอดว่าเป็นภัยก่อการร้ายเสมอ ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะต่างประเทศก็ได้รับฟังข่าวสารของไทยตลอด เพราะหากตีความว่าเป็นภัยก่อการร้าย เงื่อนไขก็ไม่คุ้มครองหากไม่ซื้อภัยก่อการร้ายเพิ่มเติม”

ดังนั้น ขึ้นอยู่กับว่าการตีความของคำว่า “ภัยก่อการร้าย” แต่ก็เป็นสิ่งที่แย้งกับของ กทม.ที่ระบุว่า การชุมนุมดังกล่าวเป็นการต่อต้านรัฐบาล ทำให้คนที่ชุมนุมไม่พอใจเข้าไปทำลายข้าวของ ไม่ใช่อุบัติเหตุ แต่มาจากการชุมนุม ที่เกิดจากความไม่พอใจ ทำให้เกิดการฉกฉวยโอกาส โกรธแค้น แต่ลักษณะของกลุ่ม นปช. เป็นการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาล ซึ่งในที่สุดแกนนำผู้ชุมนุมได้มอบตัว ทำให้ผู้ชุมนุมไม่พอใจระบาดไปทั่ว เกิดไฟไหม้กว่า 30 แห่ง เพราะฉะนั้นในความคิดเห็นส่วนตัวจึงมองว่าไม่น่าจะเข้าเงื่อนไขในกรมธรรม์

ส่วนกรณีที่เหตุการณ์ อาคาร world trad ที่สหรัฐอเมริกาได้รับความคุ้มครอง เนื่องจาก ได้มีการซื้อภัยก่อการร้ายเอาไว้ แต่สำหรับอาคาร สำนักงาน ของเอกชนในประเทศไทย ต้องเข้าไปดูในรายละเอียดก่อนว่ามีการซื้อภัยก่อการร้ายไว้ด้วยหรือไม่ เพราะฉะนั้นจึงบอกได้ไม่ชัดเจนว่าจะคุ้มครองหรือไม่ แต่องค์กรใหญ่ๆ น่าจะมีการซื้อภัยก่อการร้ายเอาไว้

หากอาคารสำนักงานต่างๆ ได้ซื้อภัยก่อการร้ายเอาไว้ ก็ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันก่อการร้ายในอัตรา 0.17% ของทุนประกัน ซึ่งเป็นอัตราเบี้ยประกันภัยที่สูงที่สุด เช่น ทุนประกัน 100 บาท ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยก่อการร้าย 0.17 บาท และโดยทั่วไปบริษัทประกันภัยจะรับความเสี่ยงภัยเอาไว้ไม่เกิน 10% ของเงินกองทุน

http://www.bangkokbiznews.com/2010/05/21/news_30921112.php?news_id=30921112

----------------------------------------------------------------------

ประกันจ่ายอ่วม!หมื่นล้านเคลมเผากรุง

อาฟเตอร์ช็อก! หลังแกนนำแนวรวมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) เข้ามอบตัวเพื่อยุติการชุมนุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจุดชนวนให้เกิดการจลาจล เผาทั่วกรุงทั้งห้างสรรพสินค้า ธนาคาร ร้านสะดวกซื้อ ตึกสูงรวม 36 จุด รวมไปถึงทรัพย์สินของรัฐและเอกชนในต่างจังหวัดจำนวนมากก่อให้เกิดความเสีย หายมูลค่ามหาศาล โดยทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่แยกราชประสงค์ ถูกไฟเผานานกว่า 10 ชั่วโมงจนตึกถล่ม......
ค่าเสียหายกรุงเทพฯ 4 หมื่นล้าน คาดประกันจ่าย 1 หมื่นล้าน
นายสุรชัย ศิริวัลลภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือไทยรี เปิดเผยว่า จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินเฉพาะใน เขตกรุงเทพมหานครจะมีมูลค่าประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท แต่ความเสียหายที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายคาดว่าจะอยู่ประมาณ 10,000 ล้านบาท

“เป็นเพียงการประเมินคร่าวๆ เท่านั้น ยังไม่ได้ตรวจสอบถึงสัญญาประกันภัยที่เจ้าของอาคารแต่ละแห่งทำประกันเอาไว้ เป็นอย่างไรและคุ้มครองมากน้อย หากไม่ได้ซื้อความคุ้มครองภัยจลาจลและ ก่อการร้ายไว้ จะไม่ได้รับความคุ้มครองบริษัทประกันภัยอาจจะไม่ต้องจ่าย อีกทั้งบางอาคารอาจจะทำประกันคุ้มครองความเสียหายบางส่วนไม่ได้ซื้อคุ้มครองความเสียหาย 100% จึงอาจทำให้วงเงินที่บริษัทประกันภัยจะต้องชดใช้ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทก็ได้”

สำหรับกลุ่มเซ็นทรัลมีการทำประกันภัยไว้ 2 กรมธรรม์ คือซื้อความคุ้มครอง ภัยก่อการร้ายวงเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,000 ล้านบาท และ ซื้อความคุ้มครองประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิด (All Risk : IAR) ที่คุ้มครอง ธุรกิจหยุดชะงักด้วยวงเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท

เฉพาะของบริษัทไทยรี นายสุรชัยกล่าวว่า เบื้องต้นคาดว่าค่าเสียหายน่าจะอยู่ประมาณ 300 ล้านบาท ในส่วนของ บิ๊กซีราชดำริที่ซื้อประกันภัยรวมก่อการร้ายไว้กับบริษัท

> ฟันธง! สินไหมปีนี้พุ่งอีก 50% เบี้ยแพงแน่/รัฐขอประกันช่วยจ่าย

นาย จีรพันธ์ อัศวะธนกุล กรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) และในฐานะนายกสมาคม ประกันวินาศภัย เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า การเผาทรัพย์สินครั้งใหญ่รอบนี้โดยเฉพาะเซ็นทรัลเวิลด์ส่งผลกระทบอย่างมาก ต่อแนวโน้มค่าสินไหมทดแทนประกันทรัพย์สินทั้งระบบในปีนี้ คาดว่าน่าจะเพิ่ม ขึ้นไม่ต่ำกว่า 50% จากปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันจะมีผลต่อการต่อสัญญาประกันภัยต่อปลายปีนี้บริษัทประกันภัยต่อจะปรับเบี้ยเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน ผลจากการปะทะกันของทั้งนปช.และรัฐบาลที่มีมาอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจยิ่งเติบโตช้าลง ทำให้ธุรกิจประกันวินาศภัยที่เติบโต ตามเศรษฐกิจขยายตัวลดลงตามไปด้วยคาดว่าปีนี้จะเติบโตได้แค่ 8% จากเป้าหมายเดิมที่ตั้ง 15% อย่างไรก็ดี ท่ามกลาง วิกฤติอาจจะมีโอกาส ประชาชนอาจจะหันมาซื้อประกันภัยมากขึ้น เนื่องจากเห็น ถึงความเสี่ยงที่มากกว่าเดิม อย่างคนที่ไม่ได้ซื้อประกันภัยจลาจล ก่อการร้ายคุ้มครองทรัพย์สินจะเริ่มซื้อ รวมไปถึงประกัน อุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ)

“ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์หากผู้ประกอบ การซื้อประกันอัคคีภัยและซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมกรณีเกิดความสูญเสียอัน เนื่องมาจากการก่อภัยจลาจล ก่อการร้ายไว้จะได้รับความคุ้มครอง แต่ถ้าซื้อเฉพาะประกันอัคคีภัยปกติไม่มีความคุ้มครองเพิ่มส่วนนี้จะไม่ได้ รับความคุ้มครอง เฉพาะลูกค้าของบริษัทเราเท่าที่มีข้อมูลมีร้านค้าในเซ็นทรัลเวิลด์ทำประกัน ทรัพย์สินไว้กับทุนประกันรวม ไม่เกิน 100 ล้านบาทแต่ไม่ได้ซื้อประกันก่อการร้ายไว้”

อย่างไรก็ดี นายจีรพันธ์ กล่าวว่า ทางศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ขอให้เราช่วยพิจารณาเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์ยืดหยุ่นกว่าปกติ ช่วยผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหาย ถ้าผู้ประกอบการซื้อแค่ประกันอัคคีภัยไว้ช่วยจ่ายสินไหมให้ได้หรือไม่ ซึ่งตนชี้แจงว่าติดสัญญาประกันภัยต่อกับต่างประเทศอยู่ โดยนำเรื่องนี้เข้าหารือที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา

> เทเวศ/ไทยเศรษฐกิจจ่ายบาน ชดเชยเซ็นทรัลเวิลด์ถล่ม

นาย อนันต์ เกษเกษมสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า แนวโน้มอัตรา สินไหมทดแทน (Loss Ratio) ประกันทรัพย์ สินทั้งประเทศในปีนี้ปรับเพิ่มขึ้นแน่นอนอย่างต่ำ 50% อีกทั้งเมื่อประเทศไทยมีความ เสี่ยงมากขึ้น อันดับความน่าเชื่อถือลดลงจะ มีผลต่อเบี้ยประกันภัยที่จะต่อสัญญารอบใหม่ปลายปีนี้ทางบริษัทประกันภัยต่อ ต่างประเทศ (รีอินเรอร์ส) จะปรับเพิ่มขึ้นทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ทำนองเดียวกับเหตุการณ์ 9/11 ขณะที่คนทำประกันภัยจะมากขึ้น

เฉพาะเทเวศ ค่าสินไหมทดแทนในปีนี้เพิ่มขึ้นมากแน่นอนแม้ยังประเมินตัวเลขแท้จริงไม่ได้ ก็ตามได้เนื่องจากรับประกันภัยทรัพย์สินของเซ็นทรัลเวิลด์ในส่วนห้างสรรพ สินค้าและโรงแรมไว้ โดยทำประกันภัยคุ้มครองความเสี่ยงภัยทุกชนิดรวมถึงทำ ประกันภัยก่อการร้ายบางส่วนไว้ แต่ไม่ขอเปิดเผยวงเงินความคุ้มครองเนื่องจากเป็นความลับของลูกค้าบอกได้ เพียงทุนประกันภัยเป็นหลักหมื่นล้านบาทขึ้นไป และได้ทำประกันภัยก่อการร้ายไว้บางส่วน อีกทั้งยังรับ ประกันภัยสยามพารากอนไว้บางส่วนด้วย

สำหรับห้างเซ็นเตอร์วันที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเคยทำประกันภัยไว้กับบริษัท แต่ไม่แน่ ใจว่าในปีนี้ได้ทำประกันภัยกับบริษัทหรือไม่อยู่ระหว่างตรวจสอบสัญญา กรมธรรม์

นายพุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย เปิดเผย “สยามธุรกิจ” แนวโน้มค่าสินไหม ทดแทนในปีนี้เพิ่มขึ้นแน่นอนโดยเฉพาะประกันทรัพย์สินคาดว่าเพิ่มขึ้นไม่ต่ำ กว่า 25% เนื่อง จากตึกส่วนใหญ่ที่ถูกไฟไหม้อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีมูลค่าสูงและทำประกันภัยไว้ส่วนใหญ่ซื้อครอบคลุมความเสี่ยงทุกด้วย แต่ต้องไป ดูเงื่อนไขในกรมธรรม์เพราะบางแห่งซื้อประกันอัคคีภัยไว้อย่างเดียว บางแห่งซื้อจลาจลและก่อการร้ายเพิ่มไว้ด้วย อีกทั้งยังซื้อประกันภัยคุ้มครองธุรกิจหยุดชะงักไว้ด้วย

“ทุกครั้งที่เกิดสินไหมรายใหญ่โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ (Man Made) ต่างประเทศจะขึ้นเบี้ยประกันภัยแพงกว่าความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติมีน้อย ขณะที่ความเสียหายที่เกิดจากคน ที่เชื่อมโยงกับความไม่แน่ นอนทางการเมืองทั้งสไตล์ จลาจลมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยต่างประเทศจะมีการปรับเงื่อนไข 2 รูปแบบคือขึ้นเบี้ยประกันหรือทำเป็นข้อยกเว้น ซึ่งความเสียหายครั้งนี้น่าจะรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปีก็ว่าได้ โดยกรณีของเซ็นทรัลเวิลด์ความเสียหายที่เกิดขึ้นใหญ่สุดในเอเชียในแง่ทุน ประกันและอันดับ 3 ของโลก

สำหรับไทยเศรษฐกิจประกันภัย นาย พุทธิพงศ์ กล่าว ทางเซ็นทรัลพัฒนา ผู้บริหารเซ็นทรัลเวิลด์ซื้อประกันภัยทรัพย์สินในส่วนของอาคารและโครงสร้าง อาคาร คุ้มครองภัยก่อการร้ายไว้กับบริษัทด้วยวงเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยบริษัทรับเสี่ยงเองน้อย มากกว่าเพราะกว่า 90% ทำประกันภัยต่อไปยังตลาดลอยด์สในลอนดอนไว้ ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายที่แท้จริงได้ต้องรอให้เจ้าที่สำรวจภัยเข้า ไปสำรวจก่อน

> แบงก์กสิกร-กรุงเทพโล่งอก ซื้อก่อการร้าย จลาจลไว้

ด้าน นายวาสิต ล่ำซำ รองกรรมการ ผู้จัดการ บมจ.เมืองไทยประกันภัย กล่าวกับ “สยามธุรกิจ” ว่า ธนาคารกสิกรไทยทุก สาขาทั่วประเทศทำประกันภัยคุ้มครองความเสี่ยงทุกด้านรวมก่อการร้ายและจลาจลไว้กับบริษัท เบื้องต้นเท่าที่ได้รับข้อมูลสาขาธนาคารที่ถูกเผาและเสียหายสิ้นเชิงคือที่ งามดูพลีและอนุสาวรีย์วงเงินความเสียหายจากข้อมูลที่ทางธนาคารออกข่าวรวม ประมาณ 15-20 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีสาขาอื่น อาทิ คลองเตย ดินแดงน่าจะเสียหายบางส่วน ทรัพย์สินถูกขโมยรวมไปถึงตู้เอทีเอ็มทั้งและนอกสาขา (สแตนด์อโลน) ขณะที่ทรัพย์สินในต่าง จังหวัดยังไม่รู้

“เรามีลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบ การพวกร้านค้าย่อยในย่านราชประสงค์เยอะรวมถึง ร้านค้าย่อยในสยามสแควร์ สยามเซ็นเตอร์ เท่าที่ดูน่าจะซื้อประกันอัคคีภัยทรัพย์สินทั่วไปไว้ ไม่ได้ซื้อก่อการร้าย หรือจลาจล”

สำหรับธนาคารกรุงเทพเท่าที่สอบถามข้อมูลไปยังบมจ.กรุงเทพประกันภัยทำประกันภัยทรัพย์สินคุ้มครองก่อการร้าย และ จลาจลลงทุกสาขาทั่วประเทศไว้กับบริษัท

หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ [ ฉบับที่ 1102 ประจำวันที่ 26-5-2010 ถึง 28-5-2010 ]
http://www.110team.com/index.php?option=com_content&task=view&id=608&Itemid=43

----------------------------------------------------------------------

ผู้จัดการรายวัน27 พฤศจิกายน 2545
เซ็นทรัลยกเลิกลงทุนเวิลด์เทรดฯ

เซ็นทรัล พัฒนา สุดทนปัญหาร้านค้าย่อยเวิลด์ เทรดเซ็นเตอร์ ประกาศยกเลิกโครงการลงทุนบริหารศูนย์เวิลด์ เทรดฯ หลังเจรจาให้ร้านค้าขยับพื้นที่เพื่อปรับโซนนิ่งใหม่นับเดือน ไม่สำเร็จ หวั่นเทงบลงทุนมหาศาล กลับได้ไม่คุ้มเสีย เก็บเงินไว้ลงทุน โครงการพระราม 9 ขอนแก่น และชลบุรี

แหล่งข่าวจากบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการที่บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) สนใจเข้าบริหารโครงการศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ หลังจากได้ดำเนินการประชุม กับเจ้าของร้านค้าภายในศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาศูนย์การค้าไปแล้วนั้น พบว่าร้านค้า ส่วนใหญ่แสดงความพึงพอใจที่เซ็นทรัลพัฒนาจะเข้ามาบริหารโครงการ และให้ความร่วมมือกับบริษัทเป็นอย่างดี เนื่องจากเห็นว่าแผนงานของบริษัทจะทำให้ศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เป็นศูนย์การค้าครบวงจร และดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาที่ศูนย์ฯ เพิ่มขึ้นมาก

โดย านค้าในกลุ่มดังกล่าวยินดีจะให้ความร่วมมือในการปรับปรุงร้านค้า และยอมรับข้อเสนอต่างๆ ของบริษัทตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเป็นอย่างดียิ่ง ทั้งนี้ร้านค้าส่วนใหญ่มีความต้องการให้ศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ พัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้นจากสภาพที่เป็นอยู่

อย่างไรก็ตามยังคงมีร้านค้าอีกกลุ่มหนึ่งจำนวน 30 ร้านค้า จากร้านค้าในเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ทั้งหมด 300 ร้านค้า ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าท้องถิ่นจำหน่ายสินค้าประเภทเพชรพลอย ทองคำแสดงความไม่พอใจ และไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าไปพัฒนาและปรับปรุงศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ซึ่งคณะผู้บริหารบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้พิจารณาแล้วเล็งเห็นว่าหากร้านค้ากลุ่มที่ไม่ให้ ความร่วมมือในการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์การค้ามีจำนวนมากนั้น อาจส่งผลให้แผนงานปรับปรุงและพัฒนาศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้ และไม่ส่งผลดีกับการเข้าไปบริหารโครงการแต่อย่างใด

ดังนั้นเซ็นทรัลพัฒนาจึงจะไม่เข้าลงทุนในโครงการศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ตามที่ได้แสดงความสนใจไว้ก่อนหน้านี้ โดยก่อนหน้านี้เซ็นทรัลพัฒนาได้ออกแบบจัดโซนนิ่งประเภทร้านค้าในเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ได้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อเห็นว่าตำแหน่งของบางร้านค้าจะต้องขยับพื้นที่ตามแบบที่บริษัทได้วางแผนไว้ เพราะในพื้นที่จุดอับของศูนย์บาง แห่งจะต้องใส่บันไดเลื่อนเพิ่มเข้าไปเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสะดวกสบายในการเดินชอปปิ้ง

โดยตั้งแต่กลางเดือนพ.ย.นี้ ผู้บริหารบริษัทในตระกูลจิราธิวัฒน์ ได้ไปเจรจากับเจ้าของร้านค้าที่จะต้องขยับขยายพื้นที่ แต่การเจรจาดังกล่าวไม่เป็นผล เจ้าของร้านที่ทั้งหมดที่เป็นสัญญาเซ้งพื้นที่ระยะยาว เหลือสัญญาอีก 12-15 ปี ไม่ยอมย้ายพื้นที่ตามแผนการปรับปรุงศูนย์ฯของบริษัท ทำให้เซ็นทรัลพัฒนาตัดสินใจยกเลิกการลงทุนโครงการดังกล่าว เพราะการเข้าไปลงทุนต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก หากร้านค้าไม่ให้ความร่วมมือด้วย ในอนาคตปัญหาอาจจะบานปลายถึงขั้นไม่จ่ายเงินค่าเช่าให้บริษัทก็ไม่ ซึ่งเป็นการเสี่ยงอย่างสูงที่จะเข้าไปลงทุน ทั้งที่ยังเจรจากันไม่รู้เรื่อง

"จากการเข้าไปเจรจากับร้านค้าในเวิลด์เทรดฯ ทำให้ทราบว่าจะมีแกนนำร้านค้าบางส่วนไม่ต้องการจ่ายหนี้เก่าที่ค้างกับเวิลด์เทรดฯ โดยปล่อยข่าวว่าหากเซ็นทรัลพัฒนาเข้ามาบริหารจะขึ้นค่าบริการส่วนกลาง จากเดิมอีก 10% ดังนั้นจึงไม่ต้องการให้เซ็นทรัลพัฒนาเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการเวิลด์เทรด สำเร็จ" แหล่งข่าวกล่าว

ที่ผ่านมาเซ็นทรัลพัฒนาได้รายงานตลาดหลักทรัพย์ว่าสนใจจะลงทุนในโครงการศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเท่านั้น ยังไม่ได้เข้าไปลงทุนอะไรทั้งสิ้น สำหรับแผนการเพิ่มทุนของบริษัทที่จะนำมาลงทุนใน เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ บริษัทก็ยังไม่ได้ดำเนินการอะไร แต่การเพิ่มทุนในอนาคตจะเตรียมไว้สำหรับขยายสาขาใหม่ เช่น พระราม 9 ขอนแก่น และชลบุรี ที่อยู่ ในแผนลงทุน 5 ปีของบริษัท

http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=4223

----------------------------------------------------------------------

ความสัมพันธ์ระหว่างเดอะมอลล์กับสยามพิวรรธน์
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( มกราคม 2553)

จุดกำเนิดของศูนย์การค้าสยามพารากอน ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มูลค่า 6 พันล้านบาท เกิดจากความร่วมมือของบริษัทยักษ์ใหญ่ในเมืองไทย 2 ราย กลุ่มเดอะมอลล์ และสยามพิวรรธน์ที่ร่วมทุนกันฝ่ายละครึ่ง

บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เป็นธุรกิจครอบครัวที่ดำเนิน ธุรกิจค้าปลีกมา 29 ปี บริหารโดยตระกูลอัมพุช ปัจจุบันบริหารงานโดยรุ่นที่ 2

โครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือครองโดยคน ตระกูลอัมพุชเกือบทั้งหมด คือบริษัทอัมพุชโฮลดิ้ง จำกัด, สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช, อัจฉรา รัตนทารส, บุษราคม ชันซื่อ, บริษัท สินไอยรา จำกัด, บริษัท สินปราการ จำกัด

สำหรับบริษัทสยามพิวรรธน์มีผู้ถือหุ้นหลากหลายจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น มีทั้งหมด 257 ราย ส่วนใหญ่ผู้ถือหุ้นจะถือในนามบุคคลมากกว่านิติบุคคล แต่ผู้ถือหุ้นนิติบุคคลจะเป็นกลุ่มธุรกิจ ค้าปลีก และธุรกิจสถาบันการเงิน

ผู้ถือหุ้นหลักประมาณ 8 กลุ่ม (ดูรายละเอียดในล้อมกรอบ รายชื่อผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทสยามพิวรรธน์) และผู้ถือหุ้นมากที่สุด คือบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 5,336,700 หุ้น อันดับที่ 2 พระราชวงศ์ 4,542,300 หุ้น อันดับที่ 3 กลุ่มตระกูล จารุวัสตร์ 1,735,700 หุ้น

อันดับ 4 ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,653,000 หุ้น อันดับ 5 ธนาคารกรุงเทพ 903,800 หุ้น อันดับ 6 ตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทย 683,300 หุ้น อันดับที่ 7 ตระกูลภิรมย์ภักดี 403,360 หุ้น อันดับ 8 ตระกูลศรีวิกรม์ 316,800 หุ้น

จะเห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามพิวรรธน์ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ประกอบการศูนย์การค้าอยู่แล้ว อย่างเช่นบริษัทเอ็ม บี เค ที่บริหารศูนย์การค้ามาบุญครอง หรือตระกูลจารุวัสตร์ บริหารศูนย์ การค้าสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ รวมถึงตระกูลศรีวิกรม์ บริหารธุรกิจค้าปลีกเกษรพลาซ่า อยู่บริเวณแยกราชประสงค์

สำหรับศูนย์การค้าสยามพารากอน บริหารงานโดย 2 บริษัท คือบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัทสยามพารากอน รีเทล จำกัด

ทั้ง 2 บริษัท มีบริษัทสยามพิวรรธน์และบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือหุ้นฝ่ายละ 50% บริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ มีบทบาทบริหาร อาคารและดูแลร้านค้าเช่าภายนอกที่ไม่ได้อยู่ในห้างสรรพสินค้า

ปัจจุบัน มีผู้ถือหุ้น คือบริษัทสยามพิวรรธน์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 5,099,997 หุ้น, ชาญชัย จารุวัสตร์, ชฎาทิพ จูตระกูล (น้องสาวชาญชัย จารุวัสตร์), ภาวิณี ศีตะจิตต์, สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช และบริษัทเดอะมอลล์ ชอปปิ้ง คอมเพล็กซ์ จำกัด 4,899,996 หุ้น

ส่วน บริษัทสยามพารากอน รีเทล มีหน้าที่บริหารห้างสรรพสินค้า มีผู้ถือหุ้นทั้งหมด 9 ราย คือบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือหุ้น 5,099,996 หุ้น, สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช, สุทธิพงษ์ อัมพุช, ชาญชัย จารุวัสตร์, ชฎาทิพ จูตระกูล, จินตนา กอวัฒนา และบริษัทสยามพิวรรธน์ โฮลดิ้งถือหุ้น 4,899,997 หุ้น

การถือหุ้นไขว้กันระหว่างบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ปกับบริษัท สยามพิวรรธน์นั้นเป็นการแบ่งบทบาทการทำงานให้มีความชัดเจน โดยกลุ่มเดอะมอลล์จะเป็นหลักในการบริหารบริษัทสยามพารากอน รีเทล รวมทั้งมีผู้บริหารจากเดอะมอลล์และศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียมเข้ามาช่วย บริหารงาน โดยเฉพาะในส่วนของห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตที่ผู้บริหารมีความรู้ และประสบ การณ์เชี่ยวชาญ มีศุภลักษณ์ อัมพุช และสุรัตน์ อัมพุชเป็นผู้บริหารหลัก สำหรับบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ มีชาญชัย จารุวัสตร์และชฎาทิพ จูตระกูล เป็นผู้บริหารหลักมีความชำนาญในการบริหารศูนย์การค้าอย่างสยามเซ็นเตอร์และ สยามดิสคัฟเวอรี่มาก่อน

แม้ว่าเศรษฐกิจจะซบเซาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ทั้งสอง บริษัทยังมีกำไรจากผลการดำเนินงาน (ดูตารางผลการดำเนินงานประกอบ)

ความร่วมมือของกลุ่มเดอะมอลล์และบริษัทสยามพิวรรธน์ในการสร้างศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นปรากฏการณ์ที่เล่าขานมาจวบทุกวันนี้

ในอนาคตทั้งสองบริษัทอาจจะสร้างความยิ่งใหญ่อีกครั้งก็เป็นได้

รายชื่อผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทสยามพิวรรธน์

กลุ่มผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามพิวรรธน์มีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จำนวน 257 ราย ผู้จัดการ 360 ํ จัดลำดับกลุ่มผู้ถือหุ้นหลักไว้ 8 กลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้

1. บริษัทเอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) 5,038,000 หุ้น และ 298,700 หุ้น

2. พระราชวงศ์ 4,524,300 หุ้น

3. ตระกูลจารุวัสตร์
ชฎาทิพ จูตระกูล 29,400 หุ้น และ 700 หุ้น
เด็กหญิงชญาภา จูตระกูล 39,200 หุ้น
พลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ 9,800 หุ้น
ชาลี จารุวัสตร์ 2,000 หุ้น
ชาญชัย จารุวัสตร์ 1,600 หุ้น

4. ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,653,000 หุ้น

5. ธนาคารกรุงเทพ 506,000 หุ้น และ 397,800 หุ้น

6. ตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทย
ม.ร.ว.สำอางวรรณ ล่ำซำ 15,360 หุ้น
สุภวรรณ ล่ำซำ (ปันยารชุน) 4,320 หุ้น
บัณฑูร ล่ำซำ 4,320 หุ้น
บรรยงค์ ล่ำซำ 71,900 หุ้น
ธนาคารกสิกรไทย 298,700 หุ้น และ 288,700 หุ้น

7. ตระกูลภิรมย์ภักดี
บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด 353,500 หุ้น
วุฒา ภิรมย์ภักดี 13,750 หุ้น
วาปี ภิรมย์ภักดี 7,950 หุ้น
ปิยะ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
จวบจันทร์ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
สันติ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
พรภิรมย์ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น

8. ตระกูลศรีวิกรม์
สิริมา ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
ชาญ ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
ชาย ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
กรกฎ ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
บริษัทศรีวิกรม์ กรุ๊ป โฮลดิ้ง 105,600 หุ้น

http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=84354

----------------------------------------------------------------------

Global Goodwill เซ็นทรัลกู้ชื่อแข่งสยามพารากอน
โดย บิสิเนสไทย - 25 สิงหาคม 2549 เวลา 13:20 น.

เซ็นทรัล ขอทวงคืน Global Goodwill ภาพลักษณ์ห้างสรรพสินค้าระดับหรูจาก เดอะมอลล์ หลังจากซัพพลายเออร์ระดับโลกเอนเอียงไปอยู่กับ “สยามพารากอน” กลยุทธ์ที่ต้องใช้เซ็นทรัลเวิลด์ เข้ามากอบกู้ พร้อมใช้จุดแข็งผนึกสาขาเซ็นทรัลกลางเมือง ที่มีอยู่ทั้งหมด สร้างจุดขาย ทั้งชิดลม เซน กับความโดดเด่นของเซ็นทรัลฟูดฮอล์ เพื่อ ชิงจุดยืนความน่า เชื่อถือจากเจ้าของสินค้า แบรนดห์ รูจับตาทำเลทองแหง่ ใหมส่ ถานทูตอังกฤษ ไม้เด็ด “จิราธิวัฒน์” เรียกตำแหน่งแชมป์กลับคืน

หากเปรียบขนาด ธุรกิจจากมูลค่าของยอดขายที่ปิดบัญชีไป ณ ปี 2548 บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ของครอบครัว “อัมพุช” อาจมีขนาดแค่ “กึ่งหนึ่ง” ของเซ็นทรัล กรุ๊ป ด้วยตัวเลขเพียง 4 หมื่นล้านบาทเศษ ดูห่างไกลลิบลับ กับยอด 8.7 หมื่นล้านบาทที่ “จิราธิวัฒน์” ทำได้ เดอะมอลล์ บนเส้นทางในธุรกิจค้าปลีกไทย ยังเป็นรองเซ็นทรัล ที่เครือข่ายได้ครอบคลุมถึง 5 กิจการ ไม่ว่า จะเป็น ค้าปลีก, ค้าส่ง, อสังหาริมทรัพย์, โรงแรม และอาหาร นี่ยังไม่นับรวมการมีกรรมสิทธิ์ครอบครอง ที่ดีทำเลทองอีกหลายแห่งที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

มีเพียงสิ่งเดียว ที่เซ็นทรัลต้องกลายเป็นรองก็คือ ซัพพลายเออร์สินค้าแบรนด์เนมหรูระดับโลก กลับไปอยู่ในมือเดอะมอลล์ กรุ๊ป มากกว่า การวัดผลมา จากโครงการยักษ์ใหญ่มูลค่า 2.6 หมื่นล้านบาท เซ็นทรัลเวิลด์ ที่คนตระกูล “จิราธิวัฒน์”ภูมิใจ กลับมีซัพพลายเออร์ สินค้าแบรนด์เนมระดับหรู ของโลกเพียง 30 กว่าแบรนด์ ที่เข้ามาร่วมสร้าง ประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ที่เพิ่งเข้ามา เปิดตัวในเมืองไทยเป็นครั้งแรก ขณะที่ศูนย์การค้าฯที่ห่างออกไปประมาณ 200- 300 เมตร อย่าง สยามพารากอน ที่ปลุกปั้นโดย คนในครอบครัวอัมพุช และพันธมิตร ได้รับความ สำเร็จอย่างท่วมท้นด้วยว่ามีแบรนด์หรูระดับโลก ที่เข้ามาจำหน่ายในห้างฯกว่า 300 แบรนด์ที่ยก ทัพมาเปิด “แฟลก ชิพ สโตร์” เกิดอะไรขึ้นกับ Global Goodwill ของ เซ็นทรัล?

เอ็มโพเรียม สร้างมูลค่าเดอะมอลล์ แม้ตระกูลจิราธิวัฒน์ จัดเป็น “ไทคูน” แห่งวง การค้าปลีกเมืองไทย จากยุคบุกเบิกของ เตียง จิราธิวัฒน์ จากห้างเซ็นทรัลเทรดดิ้ง ที่ขายหนังสือ และสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ในตรอกโรงภาษี เก่า ถนนสุริวงศ์ ตั้งแต่ปี 2490 ถึงปัจจุบันการ แข่งขันในธุรกิจค้าปลีกที่เซ็นทรัลมีชัยชนะมา โดยตลอด แต่ก็พลาดเมื่อ เดอะมอลล์ เปิดห้าง ดิเอ็มโพเรียม ย่านถนนสุขุมวิท “พวกเขาผิดพลาดมากที่ปล่อยให้เดอะมอลล์ สร้างดิเอ็มโพเรียมขึ้นมาได้ ทั้งที่น่าจะสกัดตั้งแต่ ตอนนั้น ด้วยขุมกำลังที่เหนือกว่า ก็ต้องยอมรับ ว่า ตอนนั้นไม่มีใครคาดคิดว่า เดอะมอลล์จะสร้าง ปรากฏการณ์ได้ เพราะปี 2540 ไม่มีใครกล้าลง ทุนสวนกระแสอย่างนั้น แถมยังกล้าจะไปจับตลาด ที่ตัวเองไม่เคยทำมาก่อนใครๆ ก็รู้กันว่าเดอะมอลล์ เข้มแข็งในตลาดแมส แม้จะไม่ใหญ่เท่าเซ็นทรัล” ซัพพลายเออร์ซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าหรูรายหนึ่ง สะท้อนกับ “บิสิเนสไทย” เดอะมอลล์ยุคนั้น มีเพียงนางสาวศุภลักษณ์ อัมพุชรองประธานกรรมการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ และขุนพลคู่ใจอย่างนายเกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ และ นายสมคิด ตันทัดวาณิชย์กุล ที่เดินไปเคาะประตู ตามสำนักงานของสินค้าแบรนด์เนมเพื่อ “ขายฝัน” ที่ยิ่งใหญ่ของตัวเอง โดยมีดิเอ็มโพเรียมเป็น เป้าหมาย

“ที่จริงเราไม่ได้ตั้งใจจะทำศูนย์การค้าไฮเอนด์ แต่ด้วยทำเลกลางใจเมือง เราเลยดึงซัพพลายเออร์ ที่เป็นแบรนด์เนมเข้ามาลงให้มากที่สุดและมี ดิสเคาท์ให้พวกเขาได้มาก เพราะเราต้องการต่าง จากที่อื่น ซัพพลายเออร์บางคนบอกว่า หลอกพวก เรามาลงที่เอ็มโพเรียมหรือเปล่า” นางสาวศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส ฝ่าย ปฏิบัติการบริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัดเล่าให้ ฟังถึงเหตุการณ์ช่วงหนึ่งในการบุกเบิกโครงการ ดิเอ็มโพเรียม

นายเกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ ผู้บริหารสายการ ตลาดบริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด บอกกับ “บิสิเนสไทย” ว่า “ที่ดินแปลงนั้นตอน แรกไม่มีอะไร มีแต่คนบอกว่าเราทำสวนกระแส ใช้เงินลงทุนไปกว่า 2 พันล้านบาท แต่คุณเชื่อ ไหมเราคืนทุนภายใน 2 ปีเท่านั้น เพราะเราโต ปีละ 25-30%” หาก Goodwill ของธุรกิจค้าปลีก คือ เครดิต การยอมรับทางการค้าจากซัพพลายเออร์ ก็นับ ว่ากลุ่มอัมพุช ได้เพิ่มมูลค่า “ความเชื่อถือ” การยอมรับให้กับซัพพลายเออร์อย่าง “ก้าวกระโดด” เพราะสิ่งนี้เองที่ช่วยต่อยอดให้ Local Goodwill กลายเป็น Global Goodwill ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี ทั้งๆ ที่ครอบครัวอัมพุชยังไม่คิดที่จะ “ตะลุย” ไปยังตลาดประเทศอย่างจริงจัง ผลการเติบโตจาก ดิเอ็มโพเรียม สกัดการขยาย อาณาจักรของจิราธิวัฒน์ ที่วางเป้าหมายไว้ที่ย่านปทุมวันเพราะไม่สามารถชนะการประมูลในการ พัฒนาพื้นที่โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ให้กลายเป็นศูนย์การค้าในระดับ World Class ได้ แต่กลับเป็นกลุ่ม เดอะมอลล์ ที่ได้งานไปเพราะ ผลงานของเอ็มโพเรียมทำให้สามารถพัฒนาให้เกิด ห้างสยามพารากอนในปัจจุบัน “รู้ไหม ทำไมเดอะมอลล์ได้ไป ก็เพราะคุณ แอ๊ว (ศุภลักษณ์ อัมพุช) กล้าขายในสิ่งที่ตัวเอง ไม่มี ขณะที่เซ็นทรัลขายความสำเร็จของตัวเองที่ มีมา แต่ไม่มี Case ตัวอย่าง ขณะที่เดอะมอลล์ มี เอ็มโพเรียม และ Waiting list รายชื่อแบรนด์ เนมหรู ระดับโลกยาวเหยียดมาโชว์ อันที่จริงสยาม พารากอน ก็คือ เอ็มโพเรียมสาขา 2 นั่นเองเพียง แต่ สาขาที่ 2 แห่งนี้ ใหญ่กว่าและดีกว่าเท่านั้น เอง” ทีมผู้บริหารเดอะมอลล์รายหนึ่ง ที่เข้าไป ร่วมประมูลในครั้งนั้นเล่าให้ “บิสิเนสไทย” ฟัง ทำไมยักษ์ค้าปลีกเบอร์ 1 ที่ “ยึดหัวหาด” ธุรกิจศูนย์การค้าในประเทศไว้ได้หมด จึงปล่อย ให้มีเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นมาได้ ?

กงสีเซ็นทรัล จุดอ่อนบนจุดแข็ง “คนจิราธิวัฒน์ มีบุคลิกความเป็นผู้นำสูง แต่ ความเด็ดขาดในการตัดสินใจมีหรือไม่? พวกเขา มีรูปแบบมากเกินไป ต้องห่วงสถานภาพ แม้จะเป็น จิราธิวัฒน์ด้วยกัน แต่ก็จิราธิวัฒน์หลายสาย ไม่ มีใครกล้าบุ่มบาม ถ้าพลาดเมื่อไร พี่น้องอีกสาย หนึ่งก็เตรียมตัวขึ้นทันที สิ่งเหล่านี้ทำให้การตัดสิน ใจต่างๆ ไม่ค่อยเฉียบขาด ขณะที่เดอะมอลล์ จะเป็น ในลักษณะของ One man show มีแม่ทัพอยู่ 2 คนพี่น้อง คือ สุรัตน์ (นายสุรัตน์ อัมพุช ประธาน กรรมการบริหารบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด) ผู้พี่ กับศุภลักษณ์ โดยเฉพาะศุภลักษณ์ จะมีวิสัย ทัศน์ในเรื่องการตลาดมาก และเป็นคนกล้าได้กล้า เสีย ส่วนสุรัตน์มีความคิดในเชิงผู้นำ แต่ออกแนว คอนเซอร์เวทีฟนิดๆ แต่ถึงบทตัดสินใจแล้ว ก็มัก จะเป็นฝ่ายสนับสนุนด้วยความรอบคอบ เพื่อกระตุก สองคนนี้จะบาลานซ์กันดีมาก” อดีตผู้บริหารระดับ สูงเดอะมอลล์กรุ๊ป รายหนึ่ง บอกกับ”บิสิเนสไทย” นายธีรพล แซ่ตั้ง กรรมการผู้จัดการบริษัท ทีเอสซี จำกัด และที่ปรึกษาทางด้านการตลาด บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด(มหาชน) ตั้งนิยามการบริหาร ธุรกิจของ “จิราธิวัฒน์” เป็น “เซ็นทรัลสไตล์” เขาอธิบายว่า วิธีคิดในการมองธุรกิจ เซ็นทรัลจะมี ระบบที่เป็นมาตรฐาน มีการสำรวจ วิจัยข้อมูล ตามสเต็ปการลงทุนในแต่ละครั้ง แต่ข้อเสียคือ บางครั้งก็ช้าจนเสียโอกาสไป เนื่องจากอยู่ในตลาด หลักทรัพย์ฯ ขณะที่เดอะมอลล์จะคิดนอกกรอบ การตัดสินใจแต่ละครั้ง จะใช้สามัญสำนึกมากกว่า จึงคล่องตัว และรวดเร็วกว่า

คนเซ็นทรัล ค่อนข้างอนุรักษ์นิยมมาก และ มักจะปลูกฝังวิสัยทัศน์ว่าจะต้องเป็น World Class เท่านั้น ที่ผ่านมาแม้จะปรับระบบกงสีตระกูลให้ อยู่ในรูปบริษัท รวมถึงการปรับบอร์ดธุรกิจตระกูล ให้เป็นมาตรฐานสากลขึ้น แต่เมื่อลงลึกในภาค ปฏิบัติ ก็ยังมีปัญหาที่จะไปให้ถึง World Class โดยเฉพาะท่าทีการปฏิบัติกับเอเยนต์ ที่ไม่ค่อย อะลุ้มอล่วยนัก เมื่อเทียบกับเดอะมอลล์แล้ว พวก เขาจะมีท่าทีผ่อนปรนมากกว่า “มีเรื่องเล่าอยู่เรื่องหนึ่ง ที่พวกจิราธิวัฒน์มัก จะเจ็บใจทุกครั้งเมื่อมีกล่าวถึงก็คือ ความพ่ายแพ้ ในสมรภูมิรามคำแหงอย่างราบคาบต่อเดอะมอลล์ ครั้งนั้น เดอะมอลล์กำลังเปิดสงครามอย่างเข้มข้น กับเซ็นทรัลสาขาหัวหมาก มีซัพพลายเออร์หลาย ราย เข้ามาฟ้องศุภลักษณ์ว่า พวกเขาถูกเซ็นทรัล บีบให้เลือกข้าง แต่พวกเขายืนยันที่จะเลือกฝั่ง เดอะมอลล์ จากนั้นมาเดอะมอลล์ก็ได้ส่วนลดสินค้า จำนวนมหาศาล ในการจัดโปรโมชันราคาถล่มจน เซ็นทรัล รามคำแหง ทุกวันนี้ ต้องเปลี่ยนไปเป็น บิ๊กซี” ซัพพลายเออร์อีกรายกล่าวเสริม ผู้บริหารรายหนึ่งของ เซ็นทรัล ยอมรับว่ามี บ้างที่ซัพพลายเออร์บางรายไม่พอใจกับข้อเสนอ เพราะในการดีลธุรกิจย่อมทั้งผู้พอใจและไม่พอใจ แต่ที่ผ่านมาเซ็นทรัลได้พยายามดูแลซัพพลายเออร์ ที่เป็นคู่ค้าอย่างดีที่สุด “ที่ผ่านมาเซ็นทรัลก็มี Waiting list แบรนด์ เนมหรูระดับโลกหลายแบรนด์เช่นเดียวกัน โดย เฉพาะที่เซ็นทรัลชิดลม หรือ เอ็กซ์คลูซีฟ แบรนด์ อย่าง Nars แต่เนื่องด้วยพื้นที่จำกัด ประกอบกับ โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ ก็ต้องการสร้างจุดต่างกับ คู่แข่ง โดยเน้นไลฟ์สไตล์ และคนรุ่นใหม่เพราะ มองว่าตลาดนี้ใหญ่กว่าตลาดสินค้าระดับหรูซึ่ง ปัจจุบันมีอยู่หลายแห่งทั้ง สยามพารากอน,เกษร, เอราวัณ และ เพนนินซูล่า”

Zen ตัวแก้เกมเซ็นทรัล คนในตระกูล “จิราธิวัฒน์” ตระหนักถึงการ แข่งขันในธุรกิจค้าปลีกว่าเกิดการเพลี่ยงพล้ำขึ้น นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด จึงได้ประกาศอย่าง ชัดเจนต่อหน้าสื่อมวลชนว่า เขาต้องการใช้โครง การเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นเสมือนเครื่องมือโฆษณา ที่จะสร้าง Global Goodwill ให้กับซัพพลายเออร์ ทั่วโลกก่อนที่เซ็นทรัล กรุ๊ป ทั้งองคาพยพ จะบุกตลาดต่างประเทศในอีก 4 ปีข้างหน้า หากแต่ข้อจำกัดทางการตลาด ที่พวกเขาได้วางตำแหน่งของโปรเจ็กต์ยักษ์มูลค่า 2.6 หมื่น ล้านบาทแห่งนี้ ให้เป็น “ไลฟ์สไตล์ ชอปปิ้ง คอมเพล็กซ์” ที่เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ทันสมัย อาจมีพลังไม่เพียงพอที่จะดึงดูดแบรนด์เนมระดับโลก เข้ามาได้เหมือนกับสยามพารากอน สิ่งหนึ่งที่เซ็นทรัลรู้ว่ายังมีเหนือกว่ากลุ่มเดอะ มอลล์ที่แม้วันนี้จะสามารถสร้าง Goodwill แบรนด์ ศูนย์การค้าจนได้รับการยอมรับจากทั่วโลกแล้ว แต่ความเข้มแข็งของ “ซูเปอร์มาร์เก็ต”และ “ดีพาร์ตเมนต์สโตร์” ยังไม่เท่ากับที่เซ็นทรัลมี “สิ่งที่เดอะมอลล์ ยังอ่อนด้อยในตอนนี้ แม้ ว่าแบรนด์ศูนย์การค้าไฮเอนด์ ทั้งเอ็มโพเรียม และ สยามพารากอนจะวิ่งฉิวติดลมบนระดับโลกไปแล้ว คือดีพาร์ตเมนต์สโตร์ และซูเปอร์มาร์เก็ต คือไม่ จับสินค้าต่างประเทศ ยังจับสินค้าแมสอยู่ เลยปล่อย ให้ชิดลมรักษาตลาดนี้ อย่างเหนียวแน่นไว้ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าจิราธิวัฒน์ลูกหลานเขามีหลายคนถูก ส่งไปเรียนเมืองนอกเป็นร้อยๆ สินค้าไหนเป็น เทรนด์มาจะถูกจับมาลงห้างทันที นี่คือสิ่งที่น่ากลัว ของทีมดีพาร์ตเมนต์สโตร์ของเซ็นทรัล และที่น่า จับตาคือ ซูเปอร์มาร์เก็ต หรู ที่ชื่อว่าเซ็นทรัลฟูด ฮอล และ เซน ดีพาร์ตเมนต์สโตร์” อดีตผู้บริหาร ระดับสูงของเดอะมอลล์กล่าว

นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ซี อาร์ ซี)ระบุว่า บริษัทจะใช้งบประมาณการลงทุน สำหรับโครงการเซ็นทรัลเวิลด์โดยใช้งบประมาณ 5,350 ล้านบาท โดยโครงการหลักๆ คือโครงการ CRC Flagship Store ที่เซ็นทรัลเวิลด์พลาซา จำนวน 2,600 ล้านบาท ได้ทำการเปิดไปในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา อาทิ เพาเวอร์บายเนื้อที่ 5,400 ตาราง เมตร, ซูเปอร์สปอร์ต เนื้อที่ 5,000 ตารางเมตร และเซ็นทรัลฟูดฮอล ฯลฯ โดยเฉพาะเซ็นทรัลฟู้ด ฮอล ที่มีพื้นที่ 8,000 ตารางเมตร ทศ ประกาศว่า จะวางไว้เป็น Best Food Store in Asia สำหรับห้างสรรพสินค้า เซน และ เซนเวิลด์ มีกำหนดเปิดปลายปี 2549 รูปแบบใหม่ของห้าง สรรพสินค้า เซน ขนาดสูง 20 ชั้น แบ่งเป็น ห้าง สรรพสินค้าเซน 7 ชั้น และที่เหลืออีก 13 ชั้น ได้รับการออกแบบให้เป็นเซนเวิลด์ภายใต้แนวคิด รีเทล ไลฟ์สไตล์

รูปแบบใหม่ของการดำเนินธุรกิจค้าปลีกของ กลุ่มเซ็นทรัล เซน 7 ชั้นแรก เนื้อที่ 50,000 ตาราง เมตร เน้นกลุ่มลูกค้า Young @ Heart ชื่นชอบ แฟชั่น นิยมความแปลกใหม่ ทันสมัย อาทิ สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง สินค้าตกแต่งบ้าน และ กิฟต์เซ็กชัน รวมถึง Food Loft ส่วนเซนเวิลด์ พื้นที่ 30,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยศูนย์ฟิตเนส สปา โยคะ ศูนย์ความ งาม และศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ชั้นนำ ซึ่งจะสะท้อน ความตั้งใจของทางเซ็นทรัล รีเทล ที่จะสร้างให้เซนและเซนเวิลด์ เป็น One Stop Shopping และเป็น Lifestyle Destination Center เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริม ความเป็นไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ การสร้าง ให้เป็น ไลฟ์สไตล์ เดสทิเนชันสโตร์ 20 ชั้นเชื่อมกัน ปั้น ให้เป็นแหล่ง Lifestye Village Activity

จับตา Focus Segment สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้น ในระยะยาวทางฝั่งเซ็นทรัล พัฒนา ยังวางแผนที่จะปรับภาพลักษณ์ แบรนด์ที่มีอยู่ภายใต้กลยุทธ์ Focus Segment โดย แบ่งกลุ่มแบรนด์ออกเป็น 5 กลุ่มแยกการทำตลาด ให้ชัดเจนขึ้น เพื่อบริการลูกค้าได้ตรงกลุ่มตามที่ นายกอบชัยเคยประกาศนโยบายไว้ตั้งแต่ปลายปี 2548

ทั้ง 5 รูปแบบนำเสนอไลฟ์สไตล์ทื่แตกต่าง กัน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว วัยรุ่น คนทำงาน และ คนที่มีกำลังซื้อสูง ให้ความสำคัญเท่าเทียมกัน ทั้งหมด ยกเว้น เซ็นทรัลเวิลด์พลาซาที่มีแห่งเดียว และวางตัวให้ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยเป็นพรีเมียม แบรนด์ ที่จะทำตลาดอย่างหนัก ประกอบด้วย เซ็นทรัล พลาซา – เป็นรูปแบบหลัก มีขนาดไม่ ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไป มีสินค้าและบริการที่ ครอบคลุม ปัจจุบันมีสาขา คือ ลาดพร้าว ปิ่นเกล้า แอร์พอร์ต เชียงใหม่ รามอินทรา รัชดา-พระราม 3 พระราม 2, เซ็นทรัล เวิลด์ — เป็น Flag Ship Store, เซ็นทรัล ทาวน์ — เป็นรูปแบบที่มีขนาด เล็กที่สุด เน้นความใกล้ชิดกับชุมชน ปัจจุบันมี 1 แห่ง คือ เซ็นทรัล ทาวน์ รัตนาธิเบศร์, เซ็นทรัล เฟสติวัล – เป็นรูปแบบ สำหรับเมืองท่องเที่ยว ที่มีสีสัน ตกแต่งแบบ holiday mood ให้ บรรยากาศ ผ่อนคลายขณะเดียวกันก็สนุกสนานปัจจุบันมี 2 แห่ง คือ พัทยา และ ภูเก็ต, เซ็นทรัล ซิตี้ — เป็น รูปแบบศูนย์การค้า City in City นอกจากเป็น ศูนย์การค้าแล้วยังรวมถึงศูนย์การทำงาน การ อยู่อาศัยและกีฬาอีกด้วย ปัจจุบันมีแห่งเดียว คือ บางนา เพื่อให้วิสัยทัศน์ที่วางไว้ เกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน เซ็นทรัลก็พยายามควานหามืออาชีพ ที่มีความ เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ มาดูแลซึ่งก่อนหน้าก็ได้ดึงตัว นายชาญชัย พันธ์โสภา อดีตประธานเจ้าหน้าที่ บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศ ไทย) จำกัด ได้เข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัล พัฒนา จำกัด(มหาชน) หรือซีพีเอ็น ช่วงสั้นๆ และได้ลา ออกไป

ล่าสุดพวกเขานำขุนพลการตลาดมือดีคนใหม่เข้ามา โดยครั้งนี้ ได้ดึงตัวมาจากซัมซุง คือ ดร.ณัฐกิตต์ ตั้งพูลสินธนา อดีตประธานเจ้าหน้าที่ บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิคส์ จำกัด ที่ฝากผลงานการปนั้ แบรนด์ซัมซุง ในคอนเซ็ปต์ ที่เรียกว่า “Technology Brand” ให้เป็นที่รู้จักอย่าง กว้างขวาง เข้ามาแทน อย่างไรก็ตาม นายชาญชัย ได้เคยกล่าวถึงแผน งานดังกล่าวนี้ ก่อนที่จะลาออกไปว่า สำหรับแนว ทางการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการตลาดดังกล่าว เบื้องต้นจะแบ่งการบริหารออกเป็น 6 กลุ่ม ได้ แก่ กลุ่มที่ดูแลในส่วนของโครงการเซ็นทรัลเวิลด์ กลุ่มที่ ดูแลเซ็นทรัลพลาซา กลุ่มที่ดูแลเซ็นทรัล ทาวน์ กลุ่มที่ดูแลกลุ่มเซ็นทรัลเฟสติวัล กลุ่มดูแลการตลาดคอร์ปอเรตมาร์เก็ตติ้ง และกลุ่มที่ดูมาร์เก็ตติ้งเซอร์วิส

“การปรับโครงสร้างทางการตลาดครั้งนี้ ก็เพื่อ ต้องการจะให้สามารถรองรับความต้องการของลูกค้า ในเชิงลึกได้มากขึ้น เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาด ในทุกด้าน โดยเน้นในกลยุทธ์การตลาดแบบ เซ็กเมนต์มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันความต้องการ ของลูกค้าในแต่ละพื้นที่มีความต่างกัน ประกอบ กับในอนาคตศูนย์การค้าของเซ็นทรัลเองจะมีความ ชัดเจนในเรื่องรูปแบบมากขึ้น ทำให้กลยุทธ์การ ตลาดของแต่ละแห่งมีรูปแบบที่ต่างกันไปด้วย” นายชาญชัยย้ำอีกว่า บริษัทฯไม่ได้มองว่าเฉพาะ แค่การเติบโตในเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงการเติบโตในตลาดต่างประเทศด้วย และบริษัทฯ ก็ต้องการจะเป็น Retail Developer อันดับ 1 ของ เมืองไทย ซึ่งกลยุทธ์การตลาดที่นำมาใช้นั้นไม่ ใช่แนวทางใหม่ แต่เป็นกลยุทธ์ที่บริษัทข้ามชาติ ใช้ เพื่อผลักดันทิศทางขององค์กรให้เป็นไปตาม เป้าหมาย ซึ่งหลังจากการปรับโครงสร้างสมบูรณ์ ราชดำริธงรบใหม่ หากจะพูดถึงทำเลทองที่กำลังเป็นที่จับตามอง ของนักช้อปกระเป๋าหนักยุคนี้ คงไม่พลาดที่จะเป็น ย่านราชดำริ ที่ ณ วันนี้กลุ่มเซ็นทรัลได้ปรับโฉม หน้าห้างสรรพสินค้าใหม่กลายเป็น เซ็นทรัลเวิลด์ แล้วจะทำให้ภาพของศูนย์การค้าที่บริษัทฯ ดูแล บริหารอยู่แต่ละแห่งมีคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจนมากขึ้น

สถานทูตอังกฤษ ทำเลทองเซ็นทรัล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารศูนย์การค้าไฮเอนด์ รายหนึ่งบอกกับ “บิสิเนสไทย” ว่าในระยะสั้น เซ็นทรัลเวิลด์จะแย่งแชร์จากสยามพารากอนไม่ได้ แต่กรณีนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของ เซน ดีพาร์ตเมนต์ สโตร์ และซูเปอร์มาร์เก็ต ว่าจะทำได้ดีแค่ไหน และ จะมีตัวสินค้า ที่แตกต่างและลักชัวรี มากกว่าพารากอนหรือเปล่า ถ้าทำตัวนี้ไม่ได้ ก็ไม่ได้สามารถชิงมาได้ แต่ถ้าทำโดดเด่นมากก็อาจจะแย่งลูกค้า กันเองระหว่างห้างสรรพสินค้าชิดลมกับเซน “จุดแข็งของกลุ่มเซ็นทรัล คือ สายเมอร์ชัน ไดซ์ มีความแข็งแกร่ง แต่ขาดโกลบอลแบรนด์ เขา เข้าใจคัสโตเมอร์รีเลชัน เข้าใจซีอาร์เอ็ม สำหรับ ครอบครัวอัมพุช ยังไม่สายเกินไป ถ้าจะหันมา ปรับปรุงตรงนี้ เพราะตอนนี้ตัวศูนย์การค้าได้ไป สร้างกู๊ดวิลไว้เรียบร้อยแล้ว”

สิ่งน่าจับตาต่อไปก็คือ การเชื่อมโยงเซ็นทรัล เวิลด์, บิ๊กซี, ห้างสรรพสินค้าชิดลม และโปรเจ็กต์ ใหม่อย่างสถานทูตอังกฤษ เบื้องต้นตระกูล “จิราธิวัฒน์” ต้องการสร้างเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นป้อมปราการขนาดยักษ์ ไม่ให้ชิดลม “พังทลาย” เพราะ ถูก”บีบ”ด้วยสยามพารากอน หากทำได้ตามแผน ก็คงจะแค่เสมอตัว แต่สิ่งที่เป็น “ไพ่ตาย” ของเซ็นทรัล คือ โครงการสถานทูตอังกฤษจะเป็นตัวชี้ขาด “ผมเชื่อว่าเซ็นทรัลจะต้องสร้างตรงนี้ให้ ลักชัวรี เวิลด์คลาส โดยต่อยอดจากชิดลม โดยสกัดลูกค้าไม่ให้ไปพารากอน เขาตัดสินใจได้ถูก มากๆ พวกเซ็นทรัลอ่านออก ทำอย่างไรจะดึงคนกลับ มาทางชิดลม ถ้าเป็นอย่างนั้น เอ็มโพเรียม และ พารากอนเหนื่อยเวลานั้นไม่แน่เซ็นทรัลเวิลด์อาจจะถูกปรับให้แมสขึ้น แต่ยุทธศาสตร์ทำเล ก็เสียเปรียบพารากอนตรงเรื่องรถไฟฟ้า ก็มีแฮนดี้แคปฉุดลงมาเหมือนกัน”

ก่อนหน้านี้ นายทศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เซ็นทรัล รีเทล ฯ ได้เคยระบุว่า พร้อมที่จะลงทุนกว่า หมื่นล้านบาท เพื่อเนรมิตที่ดิน 9 ไร่ บริเวณสถาน ทูตอังกฤษ ให้เป็นรีเทลคอมเพล็กซ์ เพื่อให้สุขุมวิท กลายเป็นชอปปิ้งสตรีท เทียบชั้นสิงคโปร์ โตเกียว ปารีส ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า คาดว่าโครงการ จะแล้วเสร็จในปี 2553 “การลงทุนในโครงการใหม่ดังกล่าว ต้องดูความ เหมาะสมและความถนัดของเซ็นทรัลเองเป็นหลัก ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาในการศึกษา โครงสร้างคือ การประกอบให้เข้ากับเซ็นทรัล ชิดลม การผสมผสานให้สมบูรณ์แบบและตอบ โจทย์ได้ว่าลูกค้าต้องการอะไร เมืองไทยต้องการ อะไร” ทศย้ำ

เกมทวง คืน Global Goodwill ของเซ็นทรัล กรุ๊ป แม้จะยังตัดสินชี้ขาดไม่ได้ ในระยะเวลาอัน สั้น แต่ทว่า สิ่งที่น่าติดตามมากกว่านั้น คือ การ เคลื่อนธุรกิจของกลุ่มเดอะมอลล์ ซึ่งจนถึงบัดนี้ พวกเขายังไม่มีแผนที่จะสยายปีกไปต่างประเทศ แม้ว่าจะมีนักลงทุนจากต่างประเทศหลายรายเข้า มารุมตอม เพราะต้องการปั้นสยามพารากอนให้ คืนทุนได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ถ้าวันหนึ่งนางสาวศุภลักษณ์ อัมพุช รอง ประธานกรรมการบริษัท สยามพารากอน ดีเวล ลอปเมนท์ จำกัด เกิดเปลี่ยนใจกะทันหัน และ นายสุรัตน์ผู้พี่เห็นดีด้วย วันนั้นการไปปักธงในต่าง ประเทศของเซ็นทรัล อาจจะพบคู่แข่งที่น่ากลัว ที่ มีชื่อว่า “สยามพารากอน” ที่มีขนาดพื้นที่จำนวนมาก ด้วยทำเลที่ตั้งเป็นจุดศูนย์กลางทางธุรกิจและการค้าส่งผลให้เกิดกำลังซื้อที่มากขึ้นทุกวัน และด้วยองค์ประกอบด้านขนส่ง มวลชนที่มีรถไฟฟ้า BTS วิ่งผ่านยิ่งทำให้จุดที่ตั้งบริเวณนี้กลายเป็นแหล่งชอปปิ้งที่ทันสมัย ดังนั้น จึงถือได้ว่ากลุ่มเซ็นทรัลตาถึงเป็นอย่างมากที่คว้า ทำเลตรงนี้เป็นยุทธศาสตร์ใหม่นับตั้งแต่ปี พ.ศ.นี้ เป็นต้นไป และหมายมั่นปั้นมือจะให้กลายเป็น แหล่งชอปปิ้งระดับอินเตอร์ที่จะสร้างชื่อเสียงให้ เป็นที่รู้จักของภูมิภาคเอเชียในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการยกเครื่องใหม่ทั้งหมด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเช่น การรีโนเวตพื้นที่เช่าเดิม ทั้งหมดตั้งแต่โซนเอถึงโซนเอฟ พร้อมจัดระเบียบ ในการใช้พื้นที่ไหม่ มีการขยายพื้นที่ห้างสรรพสินค้า เซนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หากเซ็นทรัลพัฒนาปล่อย เช่าพื้นที่ได้เต็มคาดว่ากลุ่มนี้จะนำโครงการขายเข้า กองทุนเซ็นทรัล รีเทลโกรธ ซึ่งเป็นกองทุน อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งโดยเซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN

ลาดพร้าว ยุทธศาสตร์สร้างชื่อ และหากจะย้อนอดีตทำเลยุทธศาสตร์ของกลุ่ม เซ็นทรัลนั้น ก็คงต้องนึกถึงสี่แยกลาดพร้าว ซึ่งถือว่าเป็นจุดกำเนิดเซ็นทรัลที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ ยอมรับของกลุ่มนักช้อปทุกระดับ จนกลายเป็นแบรนด์ติดปากมาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยศักยภาพของทำเลตรงสี่แยกลาดพร้าวนั้น จากเดิมเป็นที่โล่งว่างเปล่า ด้วยขนาดพื้นที่หลาย ไร่ ไม่มีนักลงทุนกลุ่มใดให้ความสนใจ มองว่ายาก ต่อการพัฒนา แต่สำหรับกลุ่มเซ็นทรัลนั้นกลับมอง ตรงกันข้าม คิดว่าทำเลตรงนี้จะต้องเป็นยุทธศาสตร์ ในการรุกธุรกิจได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นทำเล เชื่อมต่อระหว่างทางเข้าเขตเมืองพื้นที่ชั้นใน การคมนาคมสะดวกสามารถเดินทางได้คล่องตัว และ ที่สำคัญจะสามารถดึงกำลังซื้อจากลูกค้าที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงอย่าง บางเขน สะพานควาย ลาดพร้าว ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี กิจการห้างสรรพ สินค้าชั้นนำบนทำเลนี้ดำเนินไปได้อย่างดี แต่แล้ว เมื่อใกล้ถึงกำหนดระยะเวลาในการเช่าพื้นที่ต่อจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ส่งผลให้กลุ่มเซ็นทรัล ต้องคิดหนัก เนื่องจากทางการรถไฟซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน มีมติที่จะปรับรายละเอียดในการเช่าใหม่ หรือพูดง่ายๆ ว่ากำลังจะขึ้นค่าเช่า ในขณะเดียว กันก็กำลังอยู่ระหว่างการทำบิซิเนสแพลนในทำเล ตรงนี้ว่าจะให้เช่าต่อในราคาเท่าไหร่ หรือจะเป็น การเข้ามาถือหุ้นร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัล ล่าสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เจ้า ของที่ดินที่ยังไม่สรุปให้เซ็นทรัลต่อสัญญาเช่าที่ดิน อีก 30 ปี ทั้งๆ ที่กลุ่มเซ็นทรัลทำหนังสือแจ้งความ จำนงขอต่ออายุสัญญาไปแล้วก็ตาม ทั้งนี้โอกาสที่เซ็นทรัลพัฒนาจะมีโอกาสต่อ สัญญาได้มีอยู่ดังนี้คือ จะต้องมีข้อเสนอหรือทำตาม เงื่อนไขที่คณะกรรมการว่าด้วยการให้เอกชนเข้า ร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเจรจากับเอกชน และนโยบาย ของคณะกรรมการบริหารการรถไฟฯ หรือบอร์ด รฟท.ไม่ต้องการบริหารที่ดินเอง ทั้งนี้ยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่าเซ็นทรัลพัฒนา จะได้รับการต่อสัญญาเช่าที่ดินย่านลาดพร้าว แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีความเห็น ให้รฟท.ตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาเจรจากับผู้เช่ารายเดิมก็ตาม

2 ทำเลทองอนาคต และหากพูดถึงทำเลในอนาคตของกลุ่มเซ็นทรัล นั้นคงจะกล่าวได้ว่ายังมีทำเลทองอีก 2 แห่งที่กลุ่ม เซ็นทรัลจะทยอยขึ้นโครงการยักษ์อีก นั่นคือ ทำเลตรง สถานทูตอังกฤษ เขตติดต่อ กับห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล สาขาชิดลม ที่กลุ่มเซ็นทรัลประมูลมาได้เมื่อเร็วๆ ที่ผ่านมา ซึ่งทำเลตรงนี้ยังไม่มีบิซิเนสแพลนที่แน่ ชัดว่าจะพัฒนาเป็นอะไร คงต้องติดตามกันต่อไป แต่คิดว่าคงไม่ใช่โครงการเล็กๆ เพราะราคาที่ดิน ตรงนี้สูงมาก ตกตารางเมตรละ 2 แสนกว่าบาท ในขณะเดียวกันทำเลทองอีกแห่งที่คาดว่ากลุ่ม เซ็นทรัลจะคว้ามาเป็นเจ้าของในอนาคตอันใกล้ นี้อีกแห่งคือ ทำเลสวนลุมไนท์บาซาร์ หรืออดีต เคยเป็นโรงเรียนนายร้อยทหาร เป็นทำเลที่ตั้งตรงสี่แยกตัดกันระหว่างถนนวิทยุ พระรามสี่ และสาทร พื้นที่ตรงนี้มีขนาดหลายไร่มาก หากกลุ่มเซ็นทรัล ได้ไปเป็นเจ้าของคิดว่าน่าจะเกิดอภิมหาโครงการ อย่างแน่นอน จะเห็นว่ากลุ่มเซ็นทรัลนั้นเลือกทำเลยุทธศาสตร์ ที่อยู่ในเขตพื้นที่เมืองชั้นในมากขึ้น และแต่ละจุดนั้นจะกระจายจับกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนแทบ ทั้งสิ้น ซึ่งยุคนี้ต้องบอกได้ว่าใครๆ ก็อยากที่จะทำ การค้าหรือธุรกิจกับคนมีสตางค์เพราะมีกำลังซื้อ มากที่สุดในยุคเศรษฐกิจผันผวน การเมืองไม่นิ่ง เช่นนี้ และแม้ว่าแต่เดิมกลุ่มเซ็นทรัลมีธุรกิจหลัก ด้านค้าปลีกที่เน้นไปสร้างรายได้จากการขายสินค้า และเก็บค่าเช่าพื้นที่จากร้านค้าแต่ในวันนี้กลุ่มเซ็นทรัลวางบทบาททางธุรกิจขององค์กรใหม่อีก แบบด้วยการทำหน้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากการ นำที่ดินมาพัฒนาเป็นศูนย์การค้าและอาคาร สำนักงานให้เช่าด้วย

http://www.arip.co.th/businessnews.php?id=409699

----------------------------------------------------------------------

Link ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติม

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ใครได้ใครเสียอะไร ในการเผาห้าง ZEN >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/11/blog-post.html

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ปัญหาสยามสแควร์ของจุฬา และข้อกังขาว่าทำไมต้องเลือกเผาเฉพาะสยามสแควร์บางซอย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/10/blog-post_5032.html

<<< โฉมหน้าคนเผาตึก CTW และ ช่อง 3 พร้อมข้อกังขาว่า เป็นพวกใครกันแน่ที่ทำ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_24.html

<<< หลักฐานบางส่วนทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ที่แสดงให้เห็นว่าทหารยิงประชาชนจริง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_10.html

<<< จับพิรุธ คดีระเบิดสมานแมนชั่น บางบัวทอง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/10/blog-post_09.html

<<< ย้อนรอย ข้อกล่าวหาทักษิณสนับสนุนคนเสื้อแดงทำร้ายคนในชุมนุมเพชรบุรีซอย7 รวมถึงเผามัสยิด >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/04/blog-post_20.html

<<< ย้อนรอยคดีลอบวางระเบิดหลายจุดในกทม. ที่กล่าวหาว่าทักษิณทำ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/04/blog-post_7025.html

<<< ย้อนรอย คลื่นใต้น้ำป่วนเมืองช่วง คมช. ครองเมือง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/06/blog-post.html

----------------------------------------------------------------------

FfF