บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


04 พฤศจิกายน 2553

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ใครได้ใครเสียอะไร ในการเผาห้าง ZEN >>>

เนื่องจากมีข้อกังขามากมาย
เกี่ยวกับเรื่องการเผาห้าง ZEN
ในช่วงการสลายม็อบวันที่ 19 พ.ค. 53
และมีการกล่าวหาว่าเสื้อแดงเป็นคนทำ
แต่จากหลักฐานที่เห็นหน้าคนร้ายชัดๆ
แต่กลับไม่มีใครไปเร่งรัดจับกุม
เพื่อจะได้ไปควบคุมตัวบงการ
ตามที่เคยเขียนไว้ในเรื่องนี้
<<< โฉมหน้าคนเผาตึก CTW และ ช่อง 3 พร้อมข้อกังขาว่า เป็นพวกใครกันแน่ที่ทำ >>>http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_24.html

ก็เลยทำให้คดีนี้ ดูเหมือนถูกตัดตอน
ไม่สามารถเดาได้ว่า จริงๆ ใครเป็นคนสั่งให้ทำ
ท่ามกลางข้อกังขามากมายที่ว่า


ทำไมห้าง Isetan (อิเซตัน) ที่อยู่ข้างๆ ไม่โดนเผา
เพราะคนบงการให้เผารู้ว่าเป็นห้างของชาวญี่ปุ่น
กลัวมีปัญหาบานปลายใหญ่โตหรือไม่

หรือห้างสยามพารากอนทำไมโดนแค่นิดหน่อยแถวหน้าห้าง
ในขณะที่ห้าง ZEN โดนเผาเละ และหน้าห้างสยามพารากอน
แถวสยามสแควร์ ซอย 4-5 ก็โดนเผาเละ
เพราะคนบงการให้เผา รู้จักผู้ถือหุ้นห้างนี้หรือไม่

และคนชุดดำที่ รปภ. ห้าง ZEN ระบุว่ามีทั้งปืนและระเบิด
แถมมีรายงานว่ามีการยิง M79 เข้าไปในในห้างด้วย
ทำไมไม่เห็นมีทหารที่เข้าสลายม็อบวันนั้น
โดนอาวุธเหล่านั้นจนบาดเจ็บล้มตายบ้าง
เห็นมีทั้งปืน ทั้งระเบิด ทั้งอาร์พีจี
หรือมีอาวุธเหล่านั้น
เพื่อบุกเผาห้างตามที่ได้รับงานมาเพียงอย่างเดียว
และข้อกังขาที่สำคัญ
ทำไมทั้ง ศอฉ. และรัฐบาลอภิสิทธิ์
ไม่เห็นกระติอรือรนคิดที่จะตามหาจับกุม
มือเผาที่มีภาพถ่ายทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวจะๆ
เห็นหน้าชัดๆ แบบนั้น
ทำไมไม่นำออกมาเผยแพร่ประกาศจับทางทีวี
เพราะกลัวถ้าจับได้ จะสาวไปถึงตัวบงการหรือไม่

ทำให้ไม่สามารถชี้ชัดๆ ลงไปได้ ว่าใครบงการจริงๆ
ผมลองไปรวบรวมข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้
แล้วมาทำการวิเคราะห์ว่า
มีใครได้ใครเสียอะไร ในกรณีเผาห้าง ZEN
ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

วิเคราะห์เปรียบเทียบ ใครได้ใครเสียอะไร ในการเผาห้าง ZEN

ผู้ได้/เสียสิ่งที่ได้สิ่งที่เสีย
กลุ่มผู้เผา1. ทรัพย์สินที่เข้าไปขโมย
2. ค่าจ้างที่รับงานมาเผา
1. อาจมีบางคนบาดเจ็บหรือตาย
กลุ่มคนเสื้อแดง1. ความสะใจชั่ววูบสำหรับบางคน1. โดนกล่าวหาว่าเป็นผู้เผา และถูกนำไปขยายผลว่า เป็นผู้ก่อการร้าย
2. เสียภาพม็อบสันติ อหิงสา
3. คนเสื้อแดงที่ตายเกือบร้อยคน บาดเจ็บพันกว่าคน ก่อนหน้าเหตุการณ์จราจลเผา สถานที่ต่างๆ อาจโดนเหมาว่าเป็นพวกเดียวกับพวกที่เผา แทนที่คนทั่วไปจะเห็นใจหรือช่วยเรียกร้องความเป็นธรรมที่ถูกกระทำ ก็อาจสมน้ำหน้า ซ้ำเติมแทน
ผู้มีอำนาจ1. ได้นำเหตุการณ์นี้ไปขยายผลโจมตีคนเสื้อแดงว่า เป็นผู้ก่อการร้ายทั้งในและต่างประเทศ
2. ได้หน้าในการออกมาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ
1. เสียหน้าที่สลายม็อบจนเกิดการจราจล
คู่แข่งเซ็นทรัล1. ได้โอกาสทางธุรกิจเพิ่มเพราะไร้คู่แข่งในช่วงเวลาไม่กี่เดือน1. บางห้างได้รับความเสียหายเล็กน้อย เช่น สยามพารากอน เป็นต้น
เครือเซ็นทรัล1. ได้เบี้ยประกันภัยก่อนหมดประกันทั้ง 2 บริษัทในเครือ รวมแล้วประมาณหมื่นล้านบาทขึ้น ซึ่งบางกรมธรรม์ กำลังหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
2. ได้รับการต่ออายุสัมปทานห้างเซ็นทรัลลาดพร้าวไปอีก 1 ปี จาก รฟท. โดยรัฐบาลสั่งให้ช่วย รายได้รวม 1 ปี ในอีก 21 ปี ข้างหน้า หลายหมื่นล้านบาท
3. ได้โอกาสปรับปรุงโฉมห้าง ZEN ใหม่ เพื่อต่อกรกับคู่แข่งที่สำคัญในย่านนั้น
1. เสียโอกาสทางธุรกิจหลายเดือนให้คู่แข่ง
2. เสียงบประมาณในการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารที่ถูกเผา

ยังมีข้อมูลสำคัญของห้าง ZEN
ก่อนถูกเผาและเครือเซ็นทรัล
เท่าที่หามาได้จากสื่อต่างๆ ดังต่อไปนี้
จากข่าว
หมดหวังเช็คช่วยชาติพยุงตลาดหุ้น
มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับยอดขายของห้าง ZEN ดังนี้
"...ในส่วนของ ZEN ได้ตั้งเป้ายอดขายของปีนี้เพิ่มขึ้น 30% จากปีก่อนที่ 1.8 พันล้านบาท..."

แสดงว่าในปี 2551 ห้าง ZEN มียอดขาย 1.8 พันล้านบาท

กรณีอายุสัมปทานที่เพิ่มขึ้นอีก 1 ปี
มีมูลค่าเท่ากับยอดขายและรายได้ในเครือเซ็นทรัล
ของห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว 1 ปี ในอีก 21 ปี ข้างหน้า
ซึ่งคาดว่าหลายหมื่นล้านบาท
เฉพาะบริษัท CPN มีรายได้จากเซ็นทรัลลาดพร้าวปัจจุบัน
18% ของรายได้รวมบริษัท CPN

ไม่รวมรายได้ของบริษัทในเครือ
ที่เกี่ยวพันกับห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว
ทั้งทางตรงและทางอ้อมอีก 4 กลุ่มธุรกิจ
คือ
- ธุรกิจค้าปลีก อาทิ เพาเวอร์บาย, ซูเปอร์สปอร์ต, โรบินสัน, ท็อปส์, ห้างเซน

- ธุรกิจค้าส่ง บริษัทนำเข้าและจำหน่ายสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง
- ธุรกิจโรงแรม
- ธุรกิจอาหาร เช่น มิสเตอร์โดนัท, อานตี้แอนส์, ร้านสเต็กเปปเปอร์ลันช์ เป็นต้น

ค่าเช่าที่ทำสัญญาจ่ายให้ รฟท. ใน 21 ปี ข้างหน้า
ไม่ถึง 2 พันล้าน น้อยกว่ารายได้ที่หาได้ในปัจจุบันในแต่ละปีหลายเท่าตัว
ยังหาเรื่องอ้างมาขอขยายอายุสัมปทานไปอีก 1 ปี
ทั้งๆ ที่ไม่ใช่สาขาที่โดนไฟไหม้ด้วย
ถ้าธุรกิจอื่นโดนและเลียนแบบกรณีเซ็นทรัล
รัฐบาลนี้จะยอมทำตามอย่างง่ายๆ แบบนี้หรือไม่

จากข่าว กลุ่มเซ็นทรัลอาศัยช่วงชุนมุน ขอขยายเวลาเช่าเซ็นทรัลลาดพร้าว
"... ขั้นตอนในการดำเนินการต้องเหมือนกับการต่อสัญญาเช่าครั้งแรกที่เซ็นทรัลได้อายุสัญญา 20 ปี อีกทั้งคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต้องให้ความเห็นชอบก่อน ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมและรฟท.ไม่มีสิทธิแสดงความเห็น เพราะเป็นเรื่องที่ครม.ต้องตัดสินใจว่าจะอนุมัติขยายสัญญาหรือไม่ แต่ทั้งนี้หากมีการขยายสัญญาเช่า เซ็นทรัลจะต้องจ่ายค่าเช่าให้กับรฟท.และต้องนับเป็นปีที่ 21 เช่น ค่าเช่าในปีที่ 20 กำหนดให้เซ็นทรัลจ่ายให้รฟท.1,700 ล้านบาท ดังนั้นในปีที่ 21 เซ็นทรัลจะต้องจ่ายมากกว่า 1,700 ล้านบาทตามสัญญา ..."

ข่าว เซ็นทรัลกรุ๊ป ถึงเวลาต้องผลัดรุ่น
"... ห้างเซ็นทรัล สาขาชิดลมไฟไหม้ ในช่วงปลายปี 2538 หลัง CPN เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นได้เพียง 9 เดือน ..."
โดย มาหาอะไร

-------------------------------------------------

ธุรกิจ
วันที่ 21 พฤษภาคม 2553 14:09
เซ็นทรัลลั่นสร้าง 'ห้างเซน' ใหม่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เซ็นทรัลส่งสาส์นถึงเพื่อนพนักงานปลุกใจเข้มแข็ง พร้อมลั่นจะสร้าง “ห้างเซน” ใหม่ให้ยิ่งใหญ่เป็นแลนด์มาร์คของกรุงเทพฯ

นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ส่งสาส์นถึงเพื่อนพนักงาน ระบุว่า จากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น และได้ลุกลามเป็นการก่อวินาศกรรมในพื้นที่ห้างสรรพสินค้าเซน ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายให้แก่ห้างสรรพสินค้าเซนทั้งหมด (ไม่รวมอาคารสำนักงานเซนเวิลด์) ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ พนักงานทุกท่าน และทุกฝ่ายในพื้นที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวังภายในห้างสรรพ สินค้าเซน ได้ดำเนินการป้องกันอย่างสุดความสามารถ แต่กลุ่มผู้ก่อการร้ายได้ใช้อาวุธหนักเข้าขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของ พนักงานในพื้นที่ รวมถึง เจ้าหน้าที่ของทางราชการอีกด้วย

"ผมในนามคณะผู้บริหารบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ขอขอบคุณเพื่อนพนักงานทุกท่านและทุกฝ่ายที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ความสามารถ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ความปลอดภัยในชีวิตเพื่อนพนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทางคณะผู้บริหารไม่ต้องการให้เกิดความสูญเสียในชีวิตพนักงานคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่าของบริษัทไปในเหตุการณ์ดังกล่าว"

คณะผู้บริหารขอยืนยันว่าห้างสรรพสินค้าเซนจะกลับมาใหม่อย่างยิ่งใหม่อีกครั้ง และบริษัทฯ จะทำให้ห้างสรรพสินค้าเซนเป็นแลนด์มาร์ค บนถนนสายช้อปปิ้งของกรุงเทพฯ และสร้างความประทับใจให้ลูกค้า และความภาคภูมิใจให้กับคณะผู้บริหาร เพื่อนพนักงานทุกคน โดยขอให้เพื่อนพนักงานร่วมแรงร่วมใจทำหน้าที่ของตัวเองให้เต็มความสามารถ เพื่อผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ให้ได้

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณเพื่อนพนักงานทุกท่านที่ส่งกำลังใจและความห่วงใยต่อเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นมายังผม และคณะผู้บริหาร ทั้งนี้ คณะผู้บริหารต้องขอขอบคุณเพื่อนพนักงานทุกท่านที่ได้ทุ่มเทกำลังกายและใจใน การปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ในห้วงเวลาอันยากลำบากเช่นนี้ ขอให้เพื่อนพนักงานเข้มแข็ง มีกำลังใจสู้ต่อไป ร่วมกันสร้างความรัก ความสามัคคี เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้น กับบริษัทและประเทศไทยตลอดไป

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20100521/116827/เซ็นทรัลลั่นสร้าง-ห้างเซน-ใหม่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม.html
-------------------------------------------------
วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 09:09:09 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เซ็นทรัลลั่นฟื้นเซ็นทรัลเวิลด์6เดือนเสร็จ มีเงินตุน7พันล้าน จ่อเลื่อนปิดซ่อมสาขาลาดพร้าว

เปิดคลัง "เซ็นทรัล" พบฐานะสุดแกร่ง ซีพีเอ็นเผยมีเงินอยู่ในกระเป๋าแล้วกว่า 7 พันล้าน บวกกับเงินประกันอีกก้อนใหญ่ เดินหน้าลงทุน 4 โปรเจ็กต์ยักษ์ "ทศ จิราธิวัฒน์" ปลุกขวัญพนักงาน ลั่นสร้าง "เซน" โฉมใหม่ให้เป็นแลนด์มาร์กช็อปปิ้งสตรีต ควบคู่ฟื้นฟูเซ็นทรัลเวิลด์ใน 6 เดือน จ่อเลื่อนปิดซ่อมสาขาลาดพร้าว

แม้ว่าความเสียหายของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์จะยังไม่สามารถสรุปเป็นตัวเลขได้ และทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจไปไม่น้อย ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูอีกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน แต่กลุ่มเซ็นทรัลยังมีแผนเดินหน้าลงทุนโครงการอื่น ๆ ตามที่ได้ประกาศไว้ นอกจากนี้การกระจายความเสี่ยง ด้วยการแบ่งธุรกิจเป็น 4 ขาหลัก ๆ ทำให้เซ็นทรัลยังเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีฐานะแข็งแกร่งเช่นเดิม สะท้อนจากการที่ TRIS คงอันดับเครดิตบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ที่ระดับ "A+" ด้วยแนวโน้ม "stable" หรือ "คงที่"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามแผนการดำเนินงานปี 2553-2555 ซีพีเอ็นมีแผนจะเปิดศูนย์การค้าเพิ่ม 4 โครงการ ประกอบด้วยโรงแรมฮิลตัน พัทยา บีช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 3 ปีนี้ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 9 ขณะนี้เริ่มการก่อสร้างแล้วและคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในไตรมาส 4 ปี 2554 ส่วนศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงราย ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่ ได้เตรียมที่ดินไว้เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีโครงการในต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่ง

นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ซีอาร์ซี) ได้ส่งสารแสดงความขอบคุณพนักงานสำหรับการปฏิบัติงานในช่วงที่เกิดวิกฤตที่ผ่านมา พร้อมทั้งยืนยันกับพนักงานว่าจะสร้างห้างสรรพสินค้าเซนให้กลับมายิ่งใหญ่ และทำให้เป็นแลนด์มาร์ก บนถนนสายช็อปปิ้งของกรุงเทพฯ และขอให้พนักงานร่วมแรงร่วมใจ เพื่อผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้

แหล่งข่าวจากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น กล่าวว่า ขณะที่ เซ็นทรัลเวิลด์อยู่ระหว่างการพื้นฟู บริษัทยังจะเดินหน้าลงทุนตามแผนที่ประกาศไว้ต่อไป โดยฟื้นฟูเซ็นทรัลเวิลด์ ส่วนหนึ่งก็จะมาจากเงินประกัน ส่วนโครงการใหม่ก็ได้มีการเตรียมงบฯลงทุนไว้แล้ว

นอกจากนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เช่าพื้นที่ในส่วนของเซ็นทรัลเวิลด์ มีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะตัดสินใจเลื่อนการปิดรีโนเวต เซ็นทรัล ลาดพร้าว ที่จะมีในวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ออกไปก่อน ซึ่งเรื่องนี้จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริษัทในเร็ว ๆ นี้

@ เตรียมงบฯลงทุนกว่า 7 พันล้าน
ทั้ง 4 โครงการนี้จะใช้เงินทุนจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน รวมถึงการระดมทุนผ่านการโอนสินทรัพย์ให้แก่ CPNRF และเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ และด้วยฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและการได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ A+ ซีพีเอ็นจึงได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ประกอบด้วย และเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบด้วยวงเงินกู้ยืมระยะสั้น 4,000 ล้านบาท ปัจจุบันยังไม่มีการเบิกใช้ และวงเงินกู้ยืมระยะยาว ที่ยังมีวงเงินกู้ยืมที่ยังไม่ได้เบิกใช้อีก 3,350 ล้านบาท

ปัจจุบัน ซีพีเอ็นมีโครงการภายใต้การดูแล 15 โครงการ เป็นในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 9 โครงการ และ 6 โครงการในต่างจังหวัด ประกอบด้วยศูนย์การค้า 15 โครงการ มีพื้นที่ค้าปลีกให้เช่ารวม 808,839 ตารางเมตร อาคารสำนักงาน 6 โครงการ มีพื้นที่ให้เช่ารวม 129,984 ตารางเมตร

ไตรมาสแรกที่ผ่านนมา ซีพีเอ็นมีรายได้ 2,734.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกับปีก่อน เหตุผลหลักมาจาก 3 โครงการใหม่ที่เปิดช่วงปลายปี คือ อุดรธานี ชลบุรี และขอนแก่น ประกอบกับการปรับอัตราค่าเช่าพื้นที่เพิ่มขึ้น 5% จากรายได้เต็มของโครงการเซ็นทรัล ขอนแก่น, เซ็นทรัล พัทยา บีช และส่วนลดค่าเช่าที่ลดลงจากเซ็นทรัลเวิลด์

@ ฐานธุรกิจสุดแกร่ง
ทั้งนี้ กลุ่มเซ็นทรัลได้ปรับโครงสร้างธุรกิจออกเป็น 5 กลุ่ม
1. ธุรกิจค้าปลีก ในนามของเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือซีอาร์ซี ที่มีร้านค้าปลีกในความดูแล อาทิ เพาเวอร์บาย, ซูเปอร์สปอร์ต, โรบินสัน, ท็อปส์, ห้างเซน

2. ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในนามของเซ็นทรัลพัฒนา หรือซีพีเอ็น ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา


3. ธุรกิจค้าส่ง ในนามของเซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป หรือซีเอ็มจี บริษัทนำเข้าและจำหน่ายสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง
4. ธุรกิจโรงแรม หรือเซ็นทารา โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท

และ 5. ธุรกิจอาหาร ในนามเซ็นทรัล เรสเตอรองต์ กรุ๊ป ที่ประกอบด้วยมิสเตอร์โดนัท, อานตี้แอนส์, ร้านสเต็กเปปเปอร์ลันช์ เป็นต้น


การมีโครงสร้างที่มุ่ง "กระจายความเสี่ยง" ซึ่งเกิดขึ้นมาก่อนปี 2540 ด้วยการกระจายความรับผิดชอบให้ทายาทแต่ละคนแยกกันไปบริหารจัดการทำให้ธุรกิจ แต่ละสายแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก

ก่อนหน้านี้นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ซีพีเอ็น ได้ระบุถึงแผนการลงทุนของกลุ่มว่า นอกจากการลงทุนในประเทศ ซีพีเอ็นยังได้เตรียมงบฯไว้ประมาณ 1,000 ล้านบาท สำหรับการลงทุนในประเทศจีน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง ซึ่งได้มีการศึกษาความเป็นไปได้แล้วและจะเป็นการลงทุนร่วมกับพันธมิตร

ขณะที่นายนริศ เชยกลิ่น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี กับสายงานบริหารสินทรัพย์ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็นกล่าวในเรื่องนี้ว่า คาดว่าโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จและพร้อมเปิดในปี ค.ศ. 2012 ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของรายได้ในประเทศ และตามแผนภายใน 5 ปี โครงสร้างรายได้ของกลุ่มจะมาจากต่างประเทศ 10%

ภาพรวมของซีพีเอ็น ไตรมาสแรกมีรายได้ 2,734.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกับปีก่อน เหตุผลหลักมาจาก 3 โครงการใหม่ที่เปิดช่วงปลายปี คือ อุดรธานี ชลบุรี และขอนแก่น ประกอบกับการปรับอัตราค่าเช่าพื้นที่เพิ่มขึ้น 5% จากรายได้เต็มของโครงการเซ็นทรัลขอนแก่น, เซ็นทรัล พัทยา บีช และส่วนลดค่าเช่าที่ลดลงจากเซ็นทรัลเวิลด์

@ คาดใช้เวลาฟื้นฟู 6 เดือน
ส่วนการเร่งซ่อมแซมฟื้นฟูเซ็นทรัลเวิลด์ นายนริศกล่าวว่า ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างประเมินความเสียหาย และยังไม่สามารถบอกเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทำประกันเซ็นทรัลเวิลด์ 2 กรมธรรม์ ได้แก่ กรมธรรม์คุ้มครองความเสี่ยงและความเสียหายวงเงินสูงสุด 1.3 หมื่นล้านบาท และกรมธรรม์ประกันภัยจากการจลาจล ซึ่งครอบคลุมถึงการก่อการร้าย วงเงินสูงสุด 3.5 พันล้านบาท และรวมความเสียหายต่อทรัพย์สิน และการหยุดประกอบกิจการ

สำหรับห้างเซน ที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซีอาร์ซี ซึ่งได้รับความเสียหายทั้งหมด ได้ทำประกันไว้ 2 กรมธรรม์เช่นกัน และก็ต้องมาพิจารณาอีกว่าสามารถเคลมประกันได้เท่าไร

ส่วนของแนวทางการซ่อมแซม สำหรับห้างเซนคงจะต้องสร้างใหม่ โดยจะใช้วงเงินที่ทำประกันมาเป็นงบฯลงทุน ซึ่งยังตอบไม่ได้ว่าต้องใช้งบฯลงทุนเท่าไร แต่ไม่สูงถึง 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลามากกว่า 6 เดือน ขณะที่เซ็นทรัลเวิลด์ จากการเข้าไปตรวจสอบของเจ้าหน้าที่บริษัท พบว่าส่วนพลาซ่าทั้งหมดได้รับความเสียหายไม่มากนัก โครงสร้างต่าง ๆ ไม่มีปัญหา คาดว่าจะใช้เวลาไม่นานซ่อมแซมก่อนเปิดให้บริการอีกครั้ง ขณะที่โรงแรมเซ็นทาราไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

@ "ราชประสงค์" เปิดปลายสัปดาห์หน้า
นายชาย ศรีวิกรณ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจย่านราชประสงค์ กล่าวว่า คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงแผนการฟื้นฟู ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอไปยังรัฐบาล นอกจากมาตรการเยียวยาความเสียหาย ก็คือการเร่งสร้างเรื่องของความเชื่อมั่นในระบอบการปกครอง และประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาลที่ต้องดีกว่านี้ ขณะเดียวกันก็จะต้องมีความชัดเจนในแผนการฟื้นฟูในส่วนที่เกิดความเสียหาย

จากการลงพื้นที่สำรวจ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดเส้นราชประสงค์จนถึงปทุมวัน ขณะนี้ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าสำรวจและเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อยก่อน และคาดว่าศูนย์การค้าและร้านค้าต่าง ๆ ในย่านสยามสแควร์ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ จะพร้อมเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายสัปดาห์หน้า

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1274442401&grpid=00&catid=no

-------------------------------------------------

"เซ็นทรัล" แจงตลาดหุ้นได้รับประกันภัยครอบคลุมเหตุจลาจล 3.5 พันล้าน-ธุรกิจหยุดชะงัก
วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 11:05:46 น.

เมื่อวันที่ 24 พ.ค.53 นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ เลขานุการบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ตามที่ CPN ได้ทำสัญญาเช่าระยะยาวที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโครงการเซ็นทรัลเวิลด์ในนามกอง ทุนรวมธุรกิจไทย 4 จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อันประกอบด้วย

1) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
2) อาคารสำนักงานเซ็นทรัลเวิลด์
3) ห้างสรรพสินค้าเซ็น ซึ่งเป็นผู้เช่าพื้นที่ระยะยาว (เซ้ง) ของ CPN
4) ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน ซึ่งเป็นผู้เช่าพื้นที่ระยะยาว (เซ้ง) ของ CPN

5) ที่ดินบางส่วน ซึ่ง CPN ให้เช่าช่วงกับกลุ่มบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ในการก่อสร้างและประกอบธุรกิจโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

สืบเนื่องจากเหตุการณ์จลาจลและเกิดเพลิง ไหม้โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา จากการตรวจสอบในเบื้องต้นคาดว่าส่งผลให้ทรัพย์สินของโครงการเซ็นทรัลเวิลด์ ได้รับความเสียหาย ดังนี้
-
ห้างสรรพสินค้าเซ็น ได้รับความเสียหายเป็นส่วนใหญ่

- ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ได้รับความเสียหายบางส่วน

ทั้งนี้ CPN ได้ทำประกันภัยทุกประเภทความเสียหายไว้แล้ว สำหรับมูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการตรวจสอบและการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอิสระที่เกี่ยวข้องและบริษัทประกันภัย
ในกรณีการปิดให้บริการ เพื่อปรับปรุงพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายในส่วนห้างสรรพสินค้าเซ็น ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน รวมถึงพื้นที่ของผู้เช่าระยะยาวอื่นๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของ CPN อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นผู้เช่าพื้นที่ระยะยาว (เซ้ง) ซึ่งไม่มีการชำระค่าเช่ารายเดือน สำหรับผู้เช่าที่เป็นสัญญาเช่าระยะสั้นและชำระค่าเช่ารายเดือน CPN จะได้รับการคุ้มครองค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้ตามกรมธรรม์ธุรกิจหยุด ชะงัก (Business Interruption) ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันภัยประเภทหนึ่งที่ CPN ทำไว้

ทั้งนี้ CPN จะเร่งดำเนินการเพื่อให้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์สามารถเปิดให้บริการได้ โดยเร็ว โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญสำหรับศูนย์การค้าโครงการอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของ CPN อีก 14 แห่ง ยังเปิดให้บริการตามปกติ

วันเดียวกัน นายบัลลังก์ แก้วปานกัน เลขานุการคณะกรรมการบริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จํากัด (มหาชน) แจ้งว่า บริษัทได้รับ ประกันภัย ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ จากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) สำหรับความคุ้มครองภัยก่อการร้าย การจลาจล และการกระทำที่เป็นเจตนาร้ายในวงเงิน 3,500 ล้านบาท และได้เอาประกันภัยต่อไปยังตลาดประกันภัยลอยด์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมีกลุ่มบริษัทผู้รับประกันภัยต่อรายใหญ่จำนวน 5 ราย ตกลงรับประกันภัย ในสัดส่วน 99.95% ของทุนประกันภัยทั้งหมด โดยบริษัทฯมีส่วนรับผิดชอบเองเพียงร้อยละ 0.05 ของวงเงินทุนประกันภัยทั้งหมด หรือประมาณ 1.75 ล้านบาท เริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลาประมาณ 12.45 นาฬิกา ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้อันเกิดจากการจลาจล ทำให้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ได้รับความเสียหาย ซึ่งบริษัทฯได้ดำเนินการแจ้งเหตุดังกล่าวไปยังผู้รับประกันภัยต่อที่ประเทศ อังกฤษเรียบร้อยแล้ว และได้แต่งตั้งให้บริษัทสำรวจภัย ชื่อ บริษัท แมคลาเรน จำกัด เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสำรวจภัยและความเสียหายซึ่งหากสามารถประเมินความ เสียหายได้แล้วจะแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ และนักลงทุนโดยทั่วไป ได้ทราบความคืบหน้าต่อไป

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1274671137&grpid=&catid=05

-------------------------------------------------

วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4213 ประชาชาติธุรกิจ

"เซ็นทรัลเวิลด์" ที่นี่มีตำนาน จาก "วังเพชรบูรณ์" ถึง ซีพีเอ็น

เพิ่งเปิดมาได้ 3 ปีเศษ ๆ เท่านั้น "เซ็นทรัลเวิลด์" ศูนย์การค้าระดับภูมิภาคของเซ็นทรัลพัฒนา หรือ ซีพีเอ็น ก็ต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว

หลังจากที่กลายเป็น "ผู้เคราะห์ร้าย" ที่โดน "หางเลข" จากการชุมนุมทางการเมืองที่สี่แยกราชประสงค์ซึ่งลงเอยด้วยการจุดไฟเผา เซ็นทรัลเวิลด์เป็นการระบายอารมณ์ หลังแกนนำประกาศสลายการชุมนุม

แม้ความเสียหายของทั้งศูนย์การค้าและส่วนอื่น ๆ ของโครงการโดยรวมอาจจะไม่หนักหนาสาหัสนัก ยกเว้นพื้นที่ในส่วนของห้างสรรพสินค้าเซน ซึ่งคาดว่าอาจจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6-8 เดือน เป็นอย่างน้อย

เป็นการเสียโอกาสทางธุรกิจ เสียโอกาสการทำมาค้าขายที่ม็อบเสื้อแดง หยิบยื่นให้ก่อนจะสลายการชุมนุม

ทั้ง ๆ ที่เซ็นทรัลเวิลด์กำลังเป็นดาวดวงเด่นที่กำลังมาแรงในแง่ของการสร้างรายได้ ให้ซีพีเอ็นอย่างเป็นกอบเป็นกำ และขยับตัวขึ้นมาเป็นศูนย์การค้าที่ทำรายได้แซงหน้าสาขาลาดพร้าวภายในระยะ เวลาสั้น ๆ

เป็นที่รับ ทราบกันว่า พื้นที่ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ในอดีตที่ผ่านมาเป็นที่ตั้งเดิมของวัง เพ็ชรบูรณ์ วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ต่อมาเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯสิ้นพระชนม์ มี นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นได้ซื้อที่ดินบริเวณวังเพื่อก่อสร้างห้างไทยไดมารู จากนั้น บริษัท วังเพชรบูรณ์ โดยนายอุเทน เตชะไพบูลย์ ได้เช่าที่ดินนี้จากสำนักงานทรัพย์สินฯเพื่อก่อสร้างห้างสรรพสินค้า

ย้อนกลับไป ซีพีเอ็นรับสิทธิเข้าบริหารโครงการเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ต่อจากบริษัท วังเพชรบูรณ์ จำกัด ของเจ้าสัว อุเทน เตชะไพบูลย์ หลังจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ บริษัทวังเพชรบูรณ์ลงนามในสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อ วันที่ 23 ธันวาคม 2545

จากก่อนหน้านี้ที่ วังเพชรบูรณ์ที่เช่าที่ดินจาก สนง.ทรัพย์สินฯ และได้เริ่มโครงการเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์มาตั้งแต่ปี 2525 และเปิดให้บริการเมื่อปี 2532

หลังจากที่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2540 วังเพชรบรูณ์มีปัญหาทางด้านการเงินและผิดสัญญาเช่าจน สนง.ทรัพย์สินฯและธนาคารเจ้าหนี้ต้องฟ้องร้องดำเนินคดีมา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2544

เมื่อบริษัทวังเพชรบูรณ์ประสบปัญหาทางการ เงิน ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างโรงแรมและอาคารสำนักงานให้แล้วเสร็จ สนง.ทรัพย์สินฯจึงเปิดโอกาสให้บริษัทอื่นเข้ามาประมูลเป็นผู้บริหารศูนย์การ ค้า

ครั้งนั้นบริษัทที่เสนอตัวเข้ามาคือกลุ่มเซ็นทรัลและเดอะมอลล์ และเซ็นทรัลเป็น กลุ่มที่ได้รับการคัดเลือก

"ยศ เอื้อชูเกียรติ" ในฐานะที่ปรึกษา สนง.ทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นระบุว่า "...ที่เลือกกลุ่มเซ็นทรัลเพราะมีความน่าเชื่อถือ มีการทำธุรกิจดังกล่าวอยู่แล้วและสถานะทางการเงินดี สัญญาที่ทำขึ้นน่าพอใจและมีค่าตอบแทนที่เป็นธรรม แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ พร้อมกันนี้เซ็นทรัลยังได้สิทธิเช่าพื้นที่ลานด้านหน้าของเวิลด์เทรดด้วย"

เบื้องต้นกลุ่มเซ็นทรัลต้องควักกระเป๋าถึง 1 หมื่นล้านบาท สำหรับการลงทุนเพื่อปรับโฉมและสานต่อโครงการเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ที่ยืดเยื้อมาเกือบ 20 ปี พร้อมวาดฝันที่จะเนรมิตโครงการนี้ให้เป็นศูนย์การค้าที่ครบวงจร และมีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด โดยจะมีทั้งศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน โรงแรมระดับหรูหรา 5 ดาว

พร้อมทั้งปิดตำนาน เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ด้วยการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เซ็นทรัลเวิลด์ โดยโครงการนี้มีระยะสัญญาเช่า 30 ปี และต่อได้อีก 30 ปี

กลุ่มเซ็นทรัลต้องลงทุนกับโครงการนี้ถึง 2.6 หมื่นล้านบาท และใช้เวลาประมาณ 3 ปี ในการสานต่อโครงการขนาดใหญ่บนพื้นที่กว่า 60 ไร่ ให้เสร็จเรียบร้อยลงตัวและสามารถเปิดให้บริการได้อย่างเป็นทางการในช่วงกลาง ปี 2549

โดยโครงการนี้ มีพื้นที่รวมทั้งหมดกว่า 800,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ ศูนย์การค้าประมาณ 550,000 ตารางเมตร อาคารสำนักงาน 51 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 100,000 ตารางเมตร และโรงแรมขนาด 5 ดาว จำนวน 400 ห้อง

ทั้งหมดนี้เซ็นทรัล ได้รวบรวมเอา แม็กเนตต่าง ๆ มารวมไว้อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ร้านค้าแบรนด์เนม ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงหนัง ศูนย์ประชุมนานาชาติ ศูนย์แสดงนิทรรศการ เป็นต้น

ไม่เพียงแต่เซ็นทรัลเวิลด์จะเป็นโครงการ ศูนย์การค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของเมืองไทยเท่านั้น "กอบชัย จิราธิวัฒน์" ผู้กุมบังเหียนซีพีเอ็น ยังหมายมั่นปั้นมือจะทำให้เซ็นทรัลเวิลด์กลายเป็นเอเชีย พรีเมี่ยม ช็อปปิ้ง พาราไดส์ด้วย

ปัจจุบันเซ็นทรัลเวิลด์เป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน รองจาก เอส.เอ็ม. ซิตี้ นอร์ธ อี.ดี.เอส.เอ. (SM City North EDSA) ของประเทศฟิลิปปินส์ และมีพื้นที่ขายมากเป็นอันดับสามของโลก

ก่อนจะเปิดให้บริการ กลุ่มเซ็นทรัลกดเครื่องคิดเลขบวกลบคูณหาร แล้วและคาดว่าโครงการที่มีมูลค่ากว่า 26,000 ล้านบาทนี้จะสามารถ "คุ้มทุน" ได้ภายใน 7 ปี หลังเปิดให้บริการ...แต่เวลาผ่านมาครึ่งทาง เซ็นทรัลก็ต้องหยุดกลับไปเริ่มต้นนับใหม่

หน้า 36

http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02spe01270553&sectionid=0223&day=2010-05-27

-------------------------------------------------

CPN -BECร่วงหนักหลังไฟไหม้
30 พฤษภาคม 2553 22:34 น.

ราคาหุ้น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN และบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC รูดตามคาดหลังถูกเพลิงไหม้ได้รับความเสียหาย วานนี้พบราคาหุ้นรูดลงตั้งแต่เปิดตลาด โดย CPN ปิดที่ 18.60 บาท ลดลง 1.80 บาท คิดเป็น 8.82% มูลค่าซื้อขาย 193.34 ล้านบาท ขณะBEC ปิดที่ 22.40 บาท ลดลง 0.40 บาท หรือ 1.75% มูลค่าซื้อขาย 72.69 ล้านบาท ตามลำดับ แม้ผู้บริหารของทั้งสองบริษัทจะออกโรงชี้แจงความเสียหายที่เกิดขึ้น

นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ เลขานุการบริษัท บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หรือ CPN แจ้งว่าตามที่บริษัทได้ทำสัญญาเช่าระยะยาวที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโครงการ เซ็นทรัลเวิลด์ในนามกองทุนรวมธุรกิจไทย 4 จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อันประกอบด้วย

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ อาคารสำนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ห้างสรรพสินค้าเซ็น ซึ่งเป็นผู้เช่าพื้นที่ระยะยาว (เซ้ง) ของ CPN

ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน ซึ่งเป็นผู้เช่าพื้นที่ระยะยาว (เซ้ง) ของ CPN 16:28 24/5/2553และที่ดินบางส่วน ซึ่ง CPN ให้เช่าช่วงกับกลุ่มบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ในการก่อสร้างและประกอบธุรกิจโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

สืบเนื่องจากเหตุการณ์จลาจลและเกิดเพลิงไหม้โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 53 ที่ผ่านมา จากการตรวจสอบในเบื้องต้นคาดว่าส่งผลให้ทรัพย์สินของโครงการเซ็นทรัลเวิลด์ ได้รับความเสียหาย ดังนี้
- ห้างสรรพสินค้าเซ็น ได้รับความเสียหายเป็นส่วนใหญ่
- ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ได้รับความเสียหายบางส่วน

ทั้งนี้ CPN ได้ทำประกันภัยทุกประเภทความเสียหายไว้แล้ว สำหรับมูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการตรวจสอบและการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ อิสระที่เกี่ยวข้องและบริษัทประกันภัย

ในกรณีการปิดให้บริการเพื่อปรับปรุงพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายในส่วนห้าง สรรพสินค้าเซ็น ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน รวมถึงพื้นที่ของผู้เช่าระยะยาวอื่นๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของ CPN อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นผู้เช่าพื้นที่ระยะยาว (เซ้ง) ซึ่งไม่มีการชำระค่าเช่ารายเดือน สำหรับผู้เช่าที่เป็นสัญญาเช่าระยะสั้นและชำระค่าเช่ารายเดือน CPN จะได้รับการคุ้มครองค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้ตามกรมธรรม์ธุรกิจหยุด ชะงัก (Business Interruption) ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันภัยประเภทหนึ่งที่ CPN ทำไว้

อย่างไรก็ดี CPN จะเร่งดำเนินการเพื่อให้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์สามารถเปิดให้บริการได้ โดยเร็ว โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ สำหรับศูนย์การค้าโครงการอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของ CPN อีก 14 แห่ง ยังเปิดให้บริการตามปกติ

นายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC แจ้งว่า หนึ่งในเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ เหตุเพลิงไหม้อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานของกลุ่มบริษัทบีอีซี เวิลด์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 53 ดังนั้น กลุ่มบริษัทบีอีซี เวิลด์ ขอชี้แจงผลกระทบดังนี้
1.) เหตุเพลิงไหม้อาคารมาลีนนท์ นั้น เกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ที่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ มิได้เป็นผู้ เช่าใช้พื้นที่ อันได้แก่ พื้นที่ส่วนกลาง หรือพื้นที่ที่ใช้โดยผู้เช่ารายอื่น


2.) กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ถูกกระทบจากน้ำดับเพลิงที่ไหลท่วมห้องควบคุมไฟฟ้าของระบบ ออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งค่าซ่อมแซมในส่วนนี้มีเพียงประมาณ 100,000บาท และรถยนต์ของฝ่ายข่าวของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ จำนวน 2 คัน ที่มีมูลค่าตามบัญชีประมาณ 350,000 บาท ซึ่งจอดอยู่หน้าอาคารได้ถูกเพลิงไหม้ไปด้วย


3.) สืบเนื่องจากเกิดเหตุความวุ่นวายบริเวณหน้าอาคารมาลีนนท์ ฝ่ายบริหารได้ประสานงานกับภาครัฐเพื่อช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายพนักงานออก จากอาคาร ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารเห็นควรให้ระงับการอกอากาศรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 ตั้งแต่เวลา 15.45 น. ของ วันที่ 19 พฤษภาคม 53 ต่อเนื่องมาจนถึงเวลา 11.30 น.ของวันที่ 21 พฤษภาคม53 รวมผลกระทบจากการสูญเสียรายได้จากการขายโฆษณาของกลุ่มบริษัท ในช่วง เวลาระงับการออกอากาศประมาณ 45 ชั่วโมง ทำให้กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ขาดรายได้ประมาณ 120 ล้านบาท อย่างไรก็ตามกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่อง ต้นทุนรายการในช่วงเวลาที่ไม่ได้ดำเนินงานตามปกตินั้นไปได้ส่วนหนึ่ง

http://www.manager.co.th/asp-bin/PrintNews.aspx?NewsID=9530000071572

-------------------------------------------------

21/06/2010
บล. กิมเอ็ง แนะ "ซื้อ" CPN

บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) - ซื้อ
ราคาปิด (บาท) 19.40
ราคาเป้าหมาย (บาท) 24.50
SET Index 791.85
กลับมามีแนวโน้มเชิงบวก
ราคาหุ้นสะท้อนผลกระทบจากเหตุจลาจลแล้ว

เรากลับมามีความเห็นเชิงบวกต่อ CPN จากการที่เซ็นทรัลเวิลด์คาดว่าจะเปิดบริการได้ในอีกเพียง 4-6 เดือนโดยคาดว่าพื้นที่บางส่วนจะทยอยเปิดได้ในช่วงเดือน ต.ค. และบางส่วนจะเปิดในเดือน ธ.ค. ห้างอิเซตันจะเปิดในวันที่ 24 มิ.ย. นี้ ส่วน Zen ซึ่งได้รับความเสียหายมากคาดว่าจะเปิดภายใน 14 เดือน เรายังเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของ กายภาพและการหยุดชะงักของธุรกิจจะถูกครอบคลุมโดยประกันภัย ในขณะที่โครงการอื่นๆ ของ CPN ยัง มีอัตราการเข้าเช่าสูง นอกจากนั้นโครงการใหม่ๆ ที่จะทยอยเปิดก็ยังคงเป็นไปตามกำหนดเดิมไม่ว่าจะเป็นโรงแรมฮิลตันพัทยาบีช เซ็นทรัลพระราม 9 เซ็นทรัลเชียงราย เซ็นทรัลพิษณุโลก และ เซ็นทรัลเชียงใหม่ เราเชื่อว่าราคาหุ้นปรับตัวลดลงสะท้อนผลกระทบที่เซ็นทรัลเวิลด์แล้ว เราจึงปรับคำแนะนำจาก ซื้อเมื่ออ่อนตัว มาเป็น ซื้อ

ประกันภัยน่าจะครอบคลุมความเสียหาย

ประกันภัยของ CPN น่าจะครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เซ็นทรัลเวิลด์ ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยเหตุจลาจลซึ่งคุ้มครองความเสียหายทั้งหมดหรือว่าเป็น ประกันภัยก่อการร้ายและสงครามกลางเมืองซึ่งคุ้มครองความเสียหายและความสูญ เสียทางธุรกิจโดยมีวงเงินคุ้มครองไม่เกิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยรายได้ที่หายไปในช่วงที่หยุดดำเนินงาน 6-8 เดือนคาดว่าประมาณ 1.1-1.5 พันล้านบาท รวมกับค่าซ่อมแซมส่วนเซ็นทรัลเวิลด์ และ ค่าก่อสร้าง Zen บางส่วน (พื้นที่ 18,000 ตารางเมตร) คาดว่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ดังนั้นรวมแล้วค่าเสียหายน่าจะอยู่ภายในวงเงินคุ้มครอง อย่างไรก็ดี CPN อาจไม่ต้องรับผิดชอบค่าก่อสร้าง Zen เนื่องจากปัจจุบัน CPN ไม่ได้รวมสินทรัพย์ของ Zen ในงบการเงินของบริษัทและไม่ได้รับรู้รายได้จาก Zen ด้วยเนื่องจากพื้นที่ Zen ถูกเซ้งระยะยาวกับเจ้าของเดิมจนถึงปี 2563

เปิดเซ็นทรัลลาดพร้าวต่อไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์

CPN มีการเลื่อนปิดปรับปรุงเซ็นทรัลลาดพร้าวออกไปจากเดิมที่คาดว่าจะมีการปิดปรับปรุงตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. จนถึงเดือน พ.ย. ปีนี้ แต่จากความเสียหายจากการปิดบริการที่เซ็นทรัลเวิลด์ทำให้ CPN ขยายเวลาเปิดบริการเซ็นทรัลลาดพร้าวต่อไปจนถึงประมาณเดือน ก.พ. 2554 หลังจากนั้นจึงจะปิดปรับปรุงภายในระยะเวลา 6 เดือน สำหรับรายได้จากเซ็นทรัลลาดพร้าวมีสัดส่วน 18% ของรายได้รวม ซึ่งสูงเป็นอันดับสองรองจากเซ็นทรัลเวิลด์ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ 19-20% ของรายได้ของ CPN ส่วนการปรับปรุงอาคารสำนักงานที่เซ็นทรัลลาดพร้าวยังคงเป็นไปตามกำหนดการณ์เดิม โดยเริ่มทยอยปรับปรุงแล้วและคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือน พ.ย. นี้ โดยมีอัตราเข้าเช่าเต็ม และจะมีการปรับขึ้นค่าเช่า 10-15%

ขอขยายอายุสัญญาเช่าที่ดินเซ็นทรัลลาดพร้าว

บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา ซึ่งเป็นคู่สัญญากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ยื่นขอขยายอายุสัญญาเช่าที่ดินบริเวณเซ็นทรัลลาดพร้าวระยะเวลา 20 ปี (ปี 2551-2571) ออกไปอีก 2 ปี จากสัญญาสิ้นสุดปี 2571 ไปเป็นปี 2573 เนื่องจากมีการเลื่อนปิดปรับปรุงเซ็นทรัลลาดพร้าวเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เซ็นทรัลเวิลด์ อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อยในการขอขยายระยะเวลา สัญญาเช่า เนื่องจากเซ็นทรัลลาดพร้าวไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุจลาจล อีกทั้งการที่ CPN มีการเลื่อนปิดปรับปรุงเซ็นทรัลลาดพร้าวจากเดือน มิ.ย.-พ.ย. ปีนี้ ไปเป็นเดือน ก.พ.-ก.ค. ปี 2554 ก็ยังทำให้ IRR ของโครงการเซ็นทรัลลาดพร้าวยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี (ยกเว้นว่าจะมีการเลื่อนปิดปรับปรุงไปอีก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ IRR หากไม่มีการขยายอายุสัญญาเช่ากับ ร.ฟ.ท.)

Earnings summary

Year End Dec 31 2007 2008 2009 2010F 2011F

Sales (Btmn) 7,895 8,599 10,934 11,436 13,053

EBITDA (Btmn) 3,868 4,479 9,134 5,585 6,392

Normalised earnings (Btmn) 1,783 2,186 2,293 2,283 2,753

Earnings (Btmn) 1,783 2,186 4,952 2,283 2,753

EPS (Bt) 0.82 1 2.27 1.05 1.26

PER (x) 23.7 19.3 8.5 18.5 15.4

EV/EBITDA (x) 13 12.5 6.4 11.3 10

Free cash flow (Btmn) -851 -4,631 -2,478 -1,715 -291

CF/share (Bt) 1.4 1.4 3.5 2 2.3

BVPS (Bt) 6 6.7 8.6 9 10

P/BV (x) 3.2 2.9 2.3 2.1 1.9

DPS (Bt) 0.33 0.33 0.58 0.31 0.38

Dividend yield (%) 1.70% 1.70% 3.00% 1.60% 2.00%

Net debt/equity (x) 0.6 0.8 0.8 1 0.9

ROA (%) 5.00% 5.40% 10.50% 4.30% 4.90%

ROE (%) 13.60% 15.20% 29.00% 11.70% 13.10%

Source : Company reports and KELIVE Research estimates.

ที่มา : หุ้น ทัน หุ้น
http://www.igetweb.com/www/setpluss/index.php?mo=3&art=464544

-------------------------------------------------

ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 12 กรกฎาคม 2553 00:00
เปิดใจ 'จิราธิวัฒน์' เสียศูนย์..เซ็นทรัลเวิลด์ถูกเผา
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด

หลังห้างฯเซนวอดไปกับเปลวเพลิงพร้อมกับการปิดให้ บริการเซ็นทรัลเวิลด์นานเกือบสองเดือน วันนี้คนตระกูล "จิราธิวัฒน์" เปิดใจว่าอยู่ภาวะ"เสียศูนย์"

แม้เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ที่นำไปการเผาอาคารหลายแห่งในกรุงเทพฯ จะจบลงไปแล้ว แต่ภาพที่ยังหลอนคนในตระกูล "จิราธิวัฒน์" ไม่หาย นั่นคือ การเผาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 หลังกลุ่มผู้ชุมนุมส่วนหนึ่ง ไม่พอใจที่แกนนำ นปช.บางคนที่เข้ามอบตัว

ส่งผลให้ห้างสรรพสินค้าเซนถูกเพลิงลุกไหม้ต่อเนื่องหลายชั่วโมง ค่อยๆ ทรุดตัวลงมาจนวอดไปทั้งอาคาร นำไปสู่การปิดให้บริการของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์นานเกือบสองเดือนแล้ว แม้จะเริ่มเปิดให้บริการห้างสรรพสินค้าอิเซตันเมื่อปลายเดือน มิ.ย. 2553 ก็ตาม

ที่ผ่านมาคนใน ตระกูลนี้เก็บตัวเงียบไม่ยอมพูดถึงเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น อาจเป็นเพราะยังทำใจไม่ได้ แต่มาถึงวันนี้พร้อมแล้วที่จะ “เปิดใจ” ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ในอาเซียน

สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ผู้บริหารซึ่งดูแลภาพรวมธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ปีหนึ่งๆ มีรายได้รวมกันกว่าแสนล้านบาท โดยในปี 2552 กลุ่มเซ็นทรัลมียอดขายรวมทั้งสิ้น 1.1 แสนล้านบาท

กับคำถามจี้ใจที่ว่า...ทำไมถึงต้องเป็นเซ็นทรัลเวิลด์ ??? “สุทธิธรรม” บอกว่า...

“ถ้าจะพูดติดตลกหน่อยก็คือ ของเราเท่ที่สุด ดีที่สุด ดังที่สุด ถ้าไปเผาตึกอื่นไม่ดัง เหมือนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่นิวยอร์ก ถ้าจะเผาก็ต้องเผาที่นั่น แม้เซ็นทรัลเวิลด์จะเปลี่ยนชื่อจากเวิลด์เทรด หลบชื่อนี้ไปแล้วก็ยังหนีไม่พ้น

ผมเป็นคนเปลี่ยนชื่อ ตั้งแต่วันแรกพี่วิรุฬ (เตชะไพบูลย์ ผู้ดำเนินกิจการศูนย์การค้าเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ เดิม) ให้ผมไปพบ กว่าจะคุยกันจบก็ปีครึ่ง ในใจผมแต่แรกก็ไม่เอาชื่อเวิลด์เทรดฯอยู่แล้ว เพราะชื่อนี้ผมไม่ชอบ” สุทธิธรรมเล่า แม้เขาจะจะเป็นคนไม่เชื่อเรื่องโชคลาง สักนิด ก็ตาม

“คนก็บอกว่าเป็นอาถรรพ์หรือเปล่า เป็นเรื่องโชคลางไหม ผมไม่ได้คิดอะไรมากในเรื่องนั้นอยู่แล้ว ไม่คิดว่าเขามาเผาเพราะชื่อเวิลด์เทรดฯ แต่เพราะที่นี่เป็นเหมือนแลนด์มาร์ก เคาท์ดาวน์ก็ต้องใช้ที่นี่ คนรู้จักทั่วโลก มีคนพูดต่างๆ นานา ว่า เป็นวังเพชรบูรณ์เดิมหรือเปล่า ผมก็เฉยๆ จริงๆ ผมอ่านข้ามหมดเลย ผมไม่ได้ลบหลู่ แต่ผมไม่ได้เชื่อเรื่องพวกนี้” สุทธิธรรม ย้ำ

เขายังเห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือว่ายังไม่หนักที่สุดที่เคยเจอ เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ไฟไหม้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลชิดลม เมื่อปลายปี 2538 ซึ่งตอนนั้นต้องถือว่า "หนักที่สุด" แล้ว

ทว่าเหตุการณ์นี้ถือว่า “ตื่นเต้นที่สุด”

“ที่บอกว่าตื่นเต้นที่สุด เพราะไม่รู้ว่าพอเกิดขึ้นแล้วจะเกิดอะไรต่อ ไม่รู้ว่าใครเผา ถ้ารู้ว่าใครเผาก็ไม่รู้อีกว่าใครสั่งเผาอีก อย่างเซ็นทรัลชิดลมไฟไหม้เราก็รู้ว่าไหม้เพราะอะไร ไหม้หมดเลยต้องปิดร้านไปเป็นปีเสียหายมาก แต่โอเคก็ได้เงินประกันมาพอสมควรถึงแม้จะไม่คุ้ม กับธุรกิจที่ต้องหยุดชะงัก ต้องเริ่มใหม่”

สำหรับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สุทธิธรรม ให้คำจำกัดความว่า ทำให้กลุ่มเซ็นทรัล “เสียศูนย์” ไม่ต่างกับรถยนต์ที่ต้องมาตั้งศูนย์กันใหม่

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบ่น เสียดาย “รายได้” ที่หายไปโผล่ที่คู่แข่งจากการปิดกิจการเกือบสองเดือน ไม่นับการปิดๆ เปิดๆ ให้บริการซึ่งตอนนั้นยอดขายก็หายไปกว่า 50% เนื่องจากในบรรดาศูนย์การค้าทั้ง 15 แห่งของเซ็นทรัล เซ็นทรัลเวิลด์ขายดีที่สุด

“ถือว่าเราเสียศูนย์ เราไม่ได้ค้าขายก็กระทบเรื่องมาร์เก็ตติง ทำให้คู่แข่งมีผลพลอยได้จากเซ็นทรัลเวิลด์ที่กำลังโต โดยเฉพาะศูนย์การค้าใหม่ๆ ที่ได้ประโยชน์ไปเต็มๆ ไม่ต้องโฆษณา หรือพารากอน และเกสร ก็ได้อานิสงส์”

ส่วนการประเมินความเสียหายจากเหตุการณ์ เพลิงไหม้ และความเสียหายจากธุรกิจที่หยุดชะงัก (Business Interruption) นั้น สุทธิธรรม บอกว่า จนถึงวันนี้บริษัทประกันยังอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหายร่วมกับผลสรุปของทางตำรวจ

อย่างไรก็ตาม วงเงินประกันที่ทางบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ทำไว้ ประกอบด้วย การประกันภัยคุ้มครองภัยก่อการร้าย การจลาจล และการกระทำที่เป็นเจตนาร้ายที่ทำไว้ในวงเงิน 3,500 ล้านบาท และการประกันภัยในส่วนของชอปปิงพลาซา ในลักษณะ Industrial all risk ที่ทำไว้ในวงเงิน 13,000 ล้านบาทนั้น

เขาเห็นว่า วงเงินประกันที่ทำไว้ยังไงก็ “ไม่ครอบคลุม” ความเสียหายที่เกิดขึ้น

“ยังไงก็ไม่มีทาง Cover เพราะทำประกันไว้น้อยมาก คร่าวๆ เรารู้อยู่แล้วว่าไม่พอ”

เขายังยอมรับว่า การปิดให้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงการเปิดๆ ปิดๆ ในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่สี่แยกราชประสงค์ ทำให้ยอดขายรวมของกลุ่มเซ็นทรัลในปี 2553 พลาดเป้า จากที่เคยตั้งเป้ายอดขายรวมไว้ที่ 1.18 แสนล้านบาท

ทว่าเขายังมองโลกในแง่ดีว่ารายได้จะพลาดเป้าไม่เกิน 2% ของรายได้รวม หรือไม่เกิน 2,360 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้ส่วนหนึ่งที่เพิ่มขึ้นจากการที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าวที่เลื่อนการปิดปรับปรุงออกไป

เขายังระบุว่า CPN มีรายได้จากค่าเช่าเซ็นทรัลเวิลด์ไม่ถึง 20% ของรายได้ โดยในปี 2552 CPN มีรายได้ 16,164.47 ล้านบาท หรือ ไม่เกิน 3,232 ล้านบาท อีกทั้งยังไม่ได้ส่งผลกระทบเต็มปี เนื่องจากเซ็นทรัลเวิลด์ไม่ได้ปิดให้บริการทั้งปี “สุทธิธรรม” ระบุ

ร่วมถึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสด (Cash Flow) ที่เขาระบุว่า หนี้สินต่อทุน (D/E) ของกลุ่มเซ็นทรัลยังไงก็จะสูงไม่เกินสูงเกิน 1

สุทธิธรรม ยังหวังว่า หลังจากห้างสรรพสินค้าอิเซตันเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อปลายเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา จะตามมาด้วยการเปิดให้บริการของเซ็นทรัลเวิลด์ราวเดือน ก.ย. 2553 เพื่อให้ทันกับการจัดงานเคาท์ดาวน์ ฟื้นเซ็นทรัลเวิลด์ให้กลับมาอยู่ในความนิยมอีกครั้ง ส่วนห้างสรรพสินค้าเซนจะเปิดให้บริการได้อีกครั้งในเดือน ส.ค.- ก.ย. 2554

ดังนั้นจากผลกระทบที่เกิดขึ้น ในมุมมองของสุทธิธรรมจึงเห็นว่า ไม่เข้าตำราเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

โดยเขายืนยันว่า กลุ่มเซ็นทรัลจะยังคงเดินหน้าตามแผนลงทุนในปี 2553 ที่ตั้งไว้ที่ 16,000 ล้านบาท แม้ว่างบในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งจะจัดไว้เพื่อปรับโฉมศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ก็ตาม

“เราก็ต้องคุยกันในบอร์ดว่า เราเสียหายแค่นี้ เงินหายไปเท่าไหร่ เมื่อดูแล้วก็คิดว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ได้มากนัก เมื่อเทียบกับตัวเลขของทั้งกลุ่ม ขณะที่เซนจัดเป็นพื้นที่ที่เป็นการเซ้งระยะยาว จึงไม่กระทบต่อการรับรู้รายได้ของCPN เห็นง่ายๆ หลังเหตุการณ์รุนแรงหุ้นตกวันสองวันก็กลับมาเหมือนเดิม เพราะนักลงทุนมองว่าไม่ได้กระทบระยะยาว”

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ปรับงบการลงทุน แต่สุทธิธรรม ยอมรับว่า จากนี้ไปกลุ่มเซ็นทรัลจะต้องปรับกลยุทธ์ลงทุน โดยหันมา “เพิ่มน้ำหนัก” ในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ให้มากขึ้น สอดรับกับแผนของกลุ่มฯที่ต้องการขยายการลงทุนไปในต่างจังหวัดมากขึ้น

"การไปต่างจังหวัดหรือขยายสาขาในกรุงเทพฯ จะต้องคำนึงถึงเรื่อง CSR เพื่อช่วยรัฐอีกที เพราะรัฐบาลยังทำไปไม่ถึง หลายอย่าง โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม คนในหมู่บ้านเล็กๆ ยังมีความเป็นอยู่ไม่ทัดเทียมกับคนที่อยู่ในเมืองหรืออำเภอที่ใหญ่กว่า คุณภาพชีวิตก็ต่างกัน

เราจะทำเป็นโครงการนำร่องในบางหมู่บ้านที่จะ ต้องช่วยพัฒนาให้เขามีความ เป็นอยู่ คุณภาพชีวิตดีขึ้น หากเป็นโครงการที่ดีภาครัฐก็จะได้นำไปต่อยอด" สุทธิธรรม ระบุ แต่ยังอุบงบด้าน CSR ว่าจะทุ่มลงไปมากน้อยแค่ไหน

โดยเขาปฏิเสธว่า การเพิ่มน้ำหนักด้าน CSR ไม่เกี่ยวข้องกับความกังวลว่า ใคร? จะมาเผาอีกรอบ

“ถามว่าเรากลัวเสื้อแดงไหม เราไม่กลัว มีความเสี่ยงเดียวกับเสื้อแดงคือหากรัฐบาลยังคุยไม่รู้เรื่อง เขาก็ถือโอกาสหาแพะรับบาป เราไม่ได้เกี่ยวกับเสื้อแดงเลย เรากับเสื้อแดงก็รักกันดี เรากับเสื้อเหลืองก็รักกันได้ เราไม่มีสีเสื้อ” เขาว่าอย่างนั้น

พลิกดูแผนลงทุนของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก (CRC) พบว่า ในช่วง 1-2 ปีนี้ มีแผนจะขยายศูนย์การค้าไปยังเชียงราย ตามมาด้วยพิษณุโลก เชียงใหม่ และลำปาง

เขายังอยากจะ ถึงบรรดาบริษัทขนาดใหญ่ในเมืองไทย ว่า ควรจะหันไปให้ความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม โจทย์คือการทำอย่างไรให้ความเจริญทัดเทียมกัน ไม่รวยกระจุก จนกระจาย

นอกจากนี้ ในแง่ของการรักษาความปลอดภัย “สุทธิธรรม” บอกว่าต่อจากนี้ไป จะประมาทไม่ได้ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า “เหตุการณ์อย่างนี้ไม่มีใครมาช่วยคุณ” โดยเฉพาะระบบรักษาความปลอดภัยของเซ็นทรัลเวิลด์

“ตอนนี้เราได้ตั้งหน่วยงานด้านรักษาความปลอดภัยขึ้นมาใหม่ ให้มีศูนย์บัญชาการอยู่ที่เซ็นทรัลชิดลม โดยมอบหมายให้มีคนดูแลเฉพาะ เป็น Head ระดับฝ่ายเพื่อ manage ทั้งหมด รายงานตรงกับผู้บริหาร”

เขายังเข้าใจเปรียบเปรยท่าทีของรัฐในการแก้ไขปัญหาเพลิงไหม้ที่เซ็นทรัลเวิลด์ที่ช่วงที่ผ่านมาว่า

“เหมือนเราจ่ายภาษีให้รัฐบาลไปซื้อปืน แต่เขาไม่ซื้อปืนมาใช้กับเรา เรากลับถูกคนเอาปืนมายิง เพราะเราไม่มีไลเซ่นใช้ปืน ถ้ารัฐบาลไม่ทำ ต่อไปเราก็ต้องมีปืนแทนรัฐบาล” นั่นหมายถึง การเพิ่มดีกรีของระบบรักษาความปลอดภัย

ขณะที่แผนการรุกการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในจีนยังคงเดินหน้า แต่ไม่ได้เร่งมากขึ้นเพราะอยากหนีไปลงทุนนอกประเทศ “สุทธิธรรม” บอก

“ไม่น่าจะไปมากขึ้น เพราะเงินมีน้อยลง ก็คงจะเหมือนเดิม คือที่จีน มีหลายที่เราลงนามสัญญาไว้แล้ว ที่จะเปิดปีหน้าก็ที่เซิ่นหยาง นอกจากนี้คาดว่า CRC จะได้ลงนามสัญญาแน่ๆ ในปีนี้ก็อีก 6-7 แห่ง

ในส่วนของ CPN แม้ตอนนี้ยังไม่มีข่าวดี แต่ก็ศึกษาไปแล้ว 3-4 ศูนย์ หนึ่งในนั้นได้ลงนาม Letter of Intent ไปแล้ว ซึ่งยังไม่รู้ว่าถึงสิ้นปีซีพีเอ็นจะได้ลงนามกี่ศูนย์”

เขายังประเมินผลกระทบใน 5 กลุ่มธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัล ได้แก่ กลุ่มธุรกิจค้าปลีก (CRC) กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (CPN) กลุ่มธุรกิจค้าส่ง (CMG) กลุ่มธุรกิจอาหาร (CRG) และกลุ่มธุรกิจโรงแรม (CHR) ว่า กลุ่มธุรกิจที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดน่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจโรงแรม เพราะจนถึงปัจจุบันท่องท่องเที่ยวต่างชาติยังคงบางตา

“กระทบอยู่แล้ว มีเรื่องอย่างนี้ อยู่ๆ มีการเผา เดินขบวน ที่เห็นชัดๆ อย่างธุรกิจจัดประชุมมีเยอะมาก แต่ตอนนี้หายไปเยอะ ผู้จัดไม่กล้าจัด เพราะเขากลัวขาดทุน ถ้าจัดไปแล้วคนไม่มา”

สุทธิธรรมยังบอกว่า ในช่วง 6 เดือนที่เหลืออยู่ สิ่งที่กลุ่มเซ็นทรัล จะต้องเร่งดำเนินการคือ การทำมาร์เก็ตติ้ง โดยได้ตั้งงบไว้สูงถึง 300 ล้านบาท เพื่อหวังดึงลูกค้าเก่าที่แปรใจให้กลับมา โดยจะอัดแคมเปญหนักๆ ในช่วงปลายปี

"ต้องรุกด้านมาร์เก็ตติงมากขึ้น แคมเปญแรงๆ มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะงานเคาท์ดาวน์ปลายปี เราจะโฆษณาไปตอนนี้ไม่มีประโยชน์เพราะตึกยังไม่เปิด ผมว่าเซ็นทรัลเวิลด์ดังอยู่แล้ว location ดีอยู่แล้ว ศูนย์เราได้รางวัลระดับโลก (ได้รับรางวัล Best of the Best จากสมาคมศูนย์การค้าโลก) เชื่อว่าพอเราเปิดมาคงดีกว่าเดิม ไม่แย่กว่าเดิมอยู่แล้ว และต้องได้รับความนิยมไม่น้อยกว่าเดิม" เขาตั้งความหวัง

ส่วนกรณีที่กลุ่มเซ็นทรัลขอต่อสัญญาเช่าที่ดินและ ทรัพย์สินของการรถไฟ แห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธิน (เซ็นทรัล ลาดพร้าว) ออกไปอีก 2 ปี ไปจนถึงปี 2573 นั้น สุทธิธรรมชี้แจงว่าเป็นคนละเรื่อง (เดียวกัน) กับการที่เซ็นทรัลเวิลด์ถูกเผา

เนื่องจากเหตุผลที่แท้จริงเป็นเพราะ กลุ่มเซ็นทรัลต้องจ่ายค่าเช่าใหม่ให้ กับ ร.ฟ.ท.ขณะที่ไม่สามารถไปเพิ่มค่าเช่ากับร้านค้าได้ เนื่องจากเซ็นทรัลเวิลด์ยังไม่ได้ปิดปรับปรุง ซึ่งเป็นผลจากเหตุเพลิงไหม้ที่เซ็นทรัลเวิลด์

"ที่ต้องขอต่อสัญญา เพราะเราจ่ายค่าเช่าใหม่ให้กับรถไฟฯไปแล้ว แต่เราไม่ได้รับค่าเช่าใหม่จากร้านค้าเพราะเราไม่ได้ปิดเพื่อ Renovate ถ้าเกิดเซ็นทรัล ลาดพร้าวปิด เซ็นทรัลเวิลด์ก็ ปิด ก็ขาดที่ช้อป เราก็ต้องเปิดลาดพร้าวต่อ ทั้งๆ ที่ไม่อยากเปิดเท่าไหร่ แต่ต้องเปิดเพื่อให้เซ็นทรัลไม่หายไปหมด เราก็บอกทางรถไฟฯไปว่า เนื่องจากเราปิดปรับปรุงช้าไปเป็นปี ก็ควรจะต่อสัญญาให้เราอีกปีหรือสองปี แต่ไม่ใช่ไม่จ่ายค่าเช่านะเราจ่ายด้วย"

เขายังระบุว่า ลึกๆ แล้ว การที่เซ็นทรัล ลาดพร้าวไม่ได้ปิดปรับปรุง รัฐควรจะมีส่วนรับผิดชอบ จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้น

"ถ้าเผื่อรัฐบาลเห็นใจ และถ้ามองลึกๆ ก็เป็นความผิดของรัฐบาลที่ทำให้เกิดเรื่องพวกนี้ขึ้น ไม่สามารถจบได้สวย แล้วก็ที่เราเช่าก็เป็นของรัฐ รัฐก็ควรจะช่วย"

กลุ่มเซ็นทรัล คงต้องลุ้นกันต่อไปว่า ท้ายที่สุด รัฐจะตัดสินใจอย่างไรในเรื่องนี้

@เบื้องหลังเหตุการณ์ที่ "ตื่นเต้นที่สุด"

สุทธิธรรมเล่าว่า วันแรกที่กลุ่มคนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนมาชุมนุมประท้วงที่สี่แยกราชประสงค์ เป็นวันแรกเช่นกัน ที่ผู้บริหารกลุ่มเซ็นทรัล ไหวตัวไปตั้งศูนย์บัญชาการ หรือ "วอร์รูม" นอกพื้นที่ที่เขาไม่ขอเปิดเผยสถานที่ แต่จากการสอบถามคนในวงการค้าปลีก ระบุว่า พื้นที่บริเวณเซ็นทรัล ลาดพร้าว น่าจะเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมที่สุดแล้วที่จะตั้งเป็นศูนย์บัญชาการ เพราะอยู่ใจกลางเมือง และห่างจากจุดที่มีการชุมนุมพอสมควร

"เรามีวอร์รูมตั้งแต่เดินขบวน บอกไม่ได้เป็นความลับ วอร์รูมจะมีเจ้าหน้าที่ประจำ 24 ชั่วโมง มีผู้บริหารระดับหนึ่งประจำอยู่เพื่อประเมินสถานการณ์ก่อนรายงานตรงถึงผู้ บริหารระดับสูงได้ทุกเมื่อ เช่น เหตุการณ์แบบนี้จะเปิดหรือปิดห้างกี่โมง วอร์รูมเราจะมี Message ถึงเราตลอดทุกสิบนาที หรือทุกครึ่งชั่วโมง แล้วแต่ความเคลื่อนไหว" สุทธิธรรม เล่าและว่า ตอนที่เกิดเหตุการณ์บอร์ดชุดเล็ก ชุดใหญ่ เรียกประชุมด่วนกันหมด

เขายังบอกว่า รู้สึกตกใจเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมย้ายมาชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ ยิ่งเมื่อการชุมนุมเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้ประกอบการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ละแวกนั้นเริ่มนั่งไม่ติด ต้องนัดรวมตัวเพื่อพูดคุยกันเป็นระยะ อาทิ สยามเซ็นเตอร์ (ชฎาทิพ จูตระกูล) สยามพารากอน (ศุภลักษณ์ อัมพุช) และ เกสร (ชาย ศรีวิกรม์) เป็นต้น

"คุณแป๋ม (ชฎาทิพ) อยากให้ผมไปประชุมที่สยาม ผมก็บอกว่า ไม่มีใครอยากไปเสี่ยง ใกล้ไป ก็บอกว่าประชุมที่ลาดพร้าวดีที่สุด ก็ประชุมกันหลายครั้งหลายครา ประชุมว่าเราต้องทำอะไรเหมือนๆ กัน และพอเลิกชุมนุมแล้วจะเป็นอย่างไร ต้องช่วยพนักงาน ช่วยผู้ที่เกิดปัญหาอย่างไร

เราไม่เคยคิดว่าจะมีการเผา เพียงคิดกลัวว่าจะมีคนบุกเข้าไปขโมยของ บางคนก็คิดว่า เดี๋ยวจะเลิกๆ ชุมนุม แล้ว เราเตรียมตัวกวาดถนน กวาดบ้าน ก็ไม่เลิกอีกแล้ว"

สุทธิธรรม ยังเล่าถึง วินาทีที่เห็นห้างสรรพสินค้าเซนถูกเผาว่า..

"สะเทือนใจ ทุกคนยืนน้ำตาปริบ ร้องไห้ไปหลายคน ก็เห็นแล้วตกใจ จริงๆ เป็นเหตุสุดวิสัย ทำใจว่าเราต้องสู้ต่อไป เสียหายจุดนี้ไม่เท่ากับเสียหายทั้งกลุ่ม แต่ก็ไม่ใช่จิ๊บจ๊อย ก็พอสมควร แต่พอถอยหลังแล้วต้องกลับมาสู้ต่อ เราสูญเสียลูกค้าให้คนอื่นไป เราเรียกกลับมาอย่างไร"

เขายังระบุว่า รู้สึกเสียใจกับประเทศไทยว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ พลเมืองไทยมีน้อยกว่าเวียดนาม แต่ทำไมยังมีปัญหาเรื่องการบริหารคน

"ที่ผมเสียใจมากจริงๆ ก็เรื่องประเทศไทยว่า ผมอยู่มาขนาดนี้ มีความสุขขนาดนี้ ประเทศไทยมาเป็นอย่างนี้ แล้วรุ่นน้องรุ่นลูกผมน่าสงสารเขา ประเทศเราเสียชื่อเสียงไปทั่วโลก ทำให้คนอื่นมองเราไม่ค่อยดี รอยยิ้มหายไปไหน มาสู้กัน ทำไมไม่ปรองดอง สามัคคี"

สุทธิธรรมยังเห็นว่า สิ่งที่ท้าทายในปีนี้ ไม่ใช่เรื่องของเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องของ เสถียรภาพทางการเมือง

"เศรษฐกิจ ไทยไปได้ มีเรื่องการเมืองไม่มีเสถียรภาพ แต่ก็มีข่าวดีเรื่องเงินหยวนแข็งค่า มีการชุมนุมประท้วงที่จีน ทำให้คนรู้ว่า ทุกประเทศก็มีความเสี่ยงอยู่ ไปจีนก็ไม่ใช่ว่าดีตลอด ทำให้นักลงทุนกลับมามองอาเซียนมากขึ้น ทำให้เราเขย่งๆ เดิน โผล่หัวในน้ำได้บ้าง มีปัจจัยการเมืองเป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้สะดุดไปสะดุดมา อุตสาหกรรมที่กระทบมากที่สุดคือท่องเที่ยว ซึ่งกระทบต่อมายังธุรกิจค้าปลีก"

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20100712/342433/news.html

-------------------------------------------------

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553
FW: ช้อป" CPN ลุ้นกำไรพลิกฟื้น หุ้นเริงร่ารับแกรนด์โอเพ่น เซ็นทรัลเวิลด์

-----Original Message-----
From: News
Sent: Tuesday, September 28, 2010 8:37 AM
To: News 1
Subject: ช้อป" CPN ลุ้นกำไรพลิกฟื้น หุ้นเริงร่ารับแกรนด์โอเพ่น เซ็นทรัลเวิลด์

"ช้อป" CPN ลุ้นกำไรพลิกฟื้น หุ้นเริงร่ารับแกรนด์โอเพ่น เซ็นทรัลเวิลด์
โบรก หนุน "ซื้อ" CPN มองราคาเหมาะสมถึง 38.00 บาท หลังพ้นวิบากกรรม การเมืองแยกราชประสงค์ วันนี้เปิดห้าง "เซ็นทรัลเวิลด์" ทำนายผลงาน Q3/53 จะแจ่มแจ๋ว ส่วนแบ่งค่าเช่าศูนย์การค้าแห่งอื่นที่พุ่งตามดีมานด์ผู้บริโภค 2H/53 แววกำไรฉายเด่น สะท้อนปัจจัยบวกการเปิด 3 โครงการใหม่ทั้ง เชียงราย พิษณุโลก พระราม 9 ในปี 54
บทวิเคราะห์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) แนะนำ "ซื้อ" CPN ให้ราคาเป้าหมายที่ 38.00 บาท เนื่องจากทาง CPN เตรียมกลับมาเปิดให้บริการ Central World (CW) ในวันนี้ หลังต้องปิดให้บริการไปเกือบ 6 เดือน (3 เม.ย. - 27 ก.ย. 53) เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองในประเทศ ทำให้คาดปัจจัยดังกล่าวจะกระทบต่อกำไรของ CPN ในระยะสั้น รวมทั้งเชื่อกำไรของ CPN ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน Q2/53 และจะปรับตัวดีขึ้นใน Q3/53 เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1.บริษัทฯ ได้รายได้ค่าเช่าเต็มไตรมาสจาก The Of ces at CW (เทียบกับเพียง 2 เดือนใน 2Q53)
2.บริษัทฯ น่าจะได้ส่วนแบ่งรายได้ค่าเช่าจากร้านค้าปลีกที่สูงขึ้นจากผู้เช่าพื้นที่ ค้าปลีกในศูนย์การค้าอื่นๆ ที่คิดจากเปอร์เซ็นต์ยอดขายตามแนวโน้มการจับจ่ายใช้สอยของ ผู้บริโภคที่สูงขึ้นใน 2H/53
ขณะที่บริษัทฯ เชื่อว่ามูลค่าความเสียหายจริงของ CW จะได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวนจากกรมธรรมประกันภัย มูลค่าความเสียหายจริง แม้ตัวเลขเงินชดเชยของ CW ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่บริษัทเชื่อจะได้ข้อสรุปและเม็ดเงินชดเชยเข้ามาใน Q4/53
ดังนั้น จากปัจจัยข้างต้นฝ่ายวิเคราะห์มองจะเป็นผลดีในระยะกลาง จึงได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรในปี 54 - 55 อีก 3.3 - 8.9% เพื่อสะท้อนโครงการใหม่ 3 แห่ง กล่าวคือ เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย, เซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก และเซ็นทรัลพลาซา พระราม 9 ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 54
อนึ่งวันนี้ CW จะเปิดให้บริการ Phase I (พื้นที่ศูนย์การค้าส่วนใหญ่ คิดเป็นเกือบ 80.0% ของพื้นที่เช่าสุทธิของ CW จำนวน 1.87 แสนตรม. ไม่รวมพื้นที่ในชั้น 5, 6, และ 7 ของ Zone A และพื้นที่ที่ติดกับ Zen Department Store ในทุกชั้น) ก่อนในวันที่ 28 ก.ย. 53 ทั้งนี้ Phase I เป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด ส่วน Phase II (พื้นที่กว่า 1 หมื่นตรม. ในชั้น 5, 6, และ 7 ของ Zone A) น่าจะพร้อมเปิดให้บริการได้ในเดือน ธ.ค. 53 เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นโซนอาหาร ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากเหตุไฟไหม้ โดย Phase III (พื้นที่ที่เหลือซึ่งติดกับ Zen กล่าวคือ ร้านค้า 2 - 3 ห้องในทุกๆ ชั้นที่ติดกับ Zen) คาดพร้อมเปิดให้บริการได้ใน Q2/54 ในขณะที่ห้าง Zen เองจะพร้อมเปิดให้บริการใหม่ได้ใน Q3/54 ทั้งนี้ตึก Zen ถูกไฟไหม้ และถล่มลงมาทั้งหมดจากเหตุไฟไหม้ เพราะผลกระทบของการชุมนุมทางการเมืองที่แยกราชประสงค์ ทำให้ CPN ต้องตัดสินใจปิด CW ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 53 และเหตุไฟไหม้เกิดขึ้นในวันที่ 19 พ.ค. 53--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์ดิจิตอล Investor Station
post by เกมส์ ที่ 18:50
http://stock.fund.in.th/2010/09/fw-cpn.html

-------------------------------------------------

นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
เซ็นทรัลกรุ๊ป ถึงเวลาต้องผลัดรุ่น
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์

โครงสร้างธุรกิจในเครือจิราธิวัฒน์

ประวัติศาสตร์ 70 ปี เซ็นทรัลกรุ๊ป
ตำนานเซ็นทรัลยุคแรก คือชีวิตและผลงาน นี่เตียง แซ่เจ็ง
สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ เซ็นทรัลกรุ๊ป เติบใหญ่ได้ในยุคของเขา
CRC หัวหอกธุรกิจของเซ็นทรัลกรุ๊ป
Family Council รูปแบบการจัดการกงสีอย่างมีระบบ
สุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ ผู้นำกลุ่มเซ็นทรัล คนต่อไป ?

เซ็นทรัลกรุ๊ป
เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น, บจก.
เซ็นทรัลพัฒนา, บมจ.
สุทธิชาติ จิราธิวัฒน์
สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์
สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์
Retail

11 ปีที่แล้ว ก่อนการเสียชีวิตของ พี่ใหญ่-สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ เซ็นทรัลกรุ๊ป ได้มีการจัดกระบวนทัพโดยมีการแบ่งกลุ่มความรับผิดชอบทางธุรกิจในกลุ่มจิรา ธิวัฒน์รุ่นที่ 2 ไว้อย่างชัดเจน แต่จากความผันแปรทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา อาจมีความจำเป็นที่พี่น้องในตระกูลนี้ จะต้องหันกลับมาทบทวนกันใหม่อีกครั้ง

วันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา ผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป ของธุรกิจในกลุ่มค้าปลีกของเซ็นทรัลกรุ๊ป กว่า 40 ชีวิต ได้ไปร่วมสัมมนากันที่โรงแรมเซ็นทรัล วงศ์อำมาตย์ พัทยา

การสัมมนาครั้งนี้ใช้เวลา 3 วัน ได้มีการระดมสมองของระดับบริหาร เพื่อกำหนดภารกิจ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ของกลุ่มค้าปลีก ในเครือเซ็นทรัลในอีก 5-7 ปีข้างหน้า โดยมีสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) ในฐานะประธานกลุ่มค้าปลีก เป็นผู้นำการสัมมนา

บทสรุปจากการสัมมนาครั้งนี้ ระดับบริหารของ CRC จะนำมาร่างเป็นแผนปฏิบัติการ สำหรับการรุกในธุรกิจค้าปลีกในอนาคต ว่าจะ มีทิศทาง ที่ชัดเจนอย่างไร

"การร่างแผนจะเสร็จภายใน 1 เดือนหลังการสัมมนาเราจะประกาศแผนปฏิบัติการครั้งนี้ในที่ประชุม MIM (Management Information Meeting) ได้ก่อนปีใหม่" สุทธิชาติกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ย้อนกลับไป เมื่อครั้งที่สุทธิชาติเข้ามารับผิดชอบในฐานะประธานกลุ่มค้าปลีก เซ็นทรัลกรุ๊ปใหม่ๆ เมื่อกลางปี 2532 เขาต้องการให้ธุรกิจในกลุ่มนี้ มีการทบทวนตัวเอง และกำหนดกรอบทิศทางเดินให้เด่นชัดในทุกช่วง 5-7 ปี ดังนั้น จึงกำหนดให้ผู้บริหารทุกฝ่ายมีการทำแผนระยะยาว 5 ปีออกมา

การทบทวนตัวเองครั้งล่าสุดก่อนหน้านี้ เกิดขึ้นเมื่อคราว ที่เขาได้ประกาศ Segmen- tation ของกลุ่มค้าปลีก ในปี 2536 ซึ่งหลังจากนั้น ธุรกิจค้าปลีกในเครือเซ็นทรัล ได้แตก Segment ใหม่ๆ ออกมา สร้างสีสันให้กับวง การค้าปลีกบ้านเราเป็นอย่างมาก

"แผนที่เราจะประกาศใน MIM รอบนี้ เราเน้นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับทีมงาน การสร้างยอดขาย และมุ่งเน้นทำแต่ธุรกิจหลัก"

CRC เป็นบริษัทแม่ ที่ดูแลธุรกิจค้าปลีก ของเซ็นทรัลกรุ๊ป กลุ่มธุรกิจค้าปลีกครบวงจร ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เซ็นทรัลกรุ๊ป เริ่มต้นจากธุรกิจค้าปลีก และยังคงถือว่าธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มมาโดยตลอด

แม้ว่าปัจจุบันในเซ็นทรัลกรุ๊ป จะแตกแขนงธุรกิจออกไปถึง 5 กลุ่มแล้วก็ตาม (อ่านในประวัติศาสตร์ 70 ปี เซ็นทรัลกรุ๊ป)

ปี 2542 ธุรกิจค้าปลีก สามารถทำรายได้ให้ถึง 74.2% ของรายได้ รวมทั้งหมดของเซ็นทรัลกรุ๊ป ซึ่งสูงถึง 70,000 ล้านบาท

ผู้ที่รับผิดชอบธุรกิจค้าปลีก จึงเท่ากับดูแลหัวใจของเซ็นทรัลกรุ๊ป

เซ็นทรัลกรุ๊ป เป็นบริษัท ที่ก่อตั้งขึ้นโดยตระกูลจิราธิวัฒน์

และจิราธิวัฒน์จะยังคงความเป็นเจ้าของเซ็นทรัลกรุ๊ปต่อไปอีกนาน โดยไม่มีวันเปลี่ยน

ตั้งแต่ ปี 2499 หลังจากห้างเจ็งอันเต็ง วังบูรพา ต้นแบบของห้างเซ็นทรัลดีพาทเม้นท์สโตร์ ถือกำเนิดขึ้น จนสยายปีกมาเป็นเซ็นทรัลกรุ๊ป ในปัจจุบันจิราธิวัฒน์ตั้งแต่รุ่นที่ 1-เตียง จิราธิวัฒน์ รุ่นที่ 2- สัมฤทธิ์, วันชัย จิราธิวัฒน์ คือ ผู้ที่กุมหัวใจในการบริหารธุรกิจของตระกูล โดยมี น้องๆ และรุ่นลูก เป็นกำลังสำคัญมาโดยตลอด

"จุดเด่นของตระกูลนี้ คือ มีความสามัคคีในหมู่พี่น้อง ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นเสมอมา" ผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของตระกูลจิราธิวัฒน์มานาน ตั้งข้อสังเกต

ความเป็นปึกแผ่นของพี่น้อง และการประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ทำให้คนทั่วไปมองจิราธิวัฒน์ และเซ็นทรัลกรุ๊ปเป็นภาพ ที่ทับซ้อนกัน

"คนส่วนใหญ่มองว่าเซ็นทรัล คือ จิราธิวัฒน์ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องทั้งหมด"

จนถึงขณะนี้ Generation ของจิราธิวัฒน์ มาถึงรุ่นที่ 4 มีสมาชิกในตระกูลมากถึง 164 คน แต่คนที่เป็นจิราธิวัฒน์โดยกำเนิด และเข้ามามีส่วนร่วมเป็นผู้บริหารอยู่ในเซ็นทรัล กรุ๊ป ในปัจจุบันมีอยู่ไม่เกิน 50 คนเท่านั้น (รายละเอียดดูตารางจิราธิวัฒน์รุ่น 2-3 ที่กำลัง มีบทบาทอยู่ในเซ็นทรัลกรุ๊ป)

เป็นสิ่งยืนยันความจริงในประเด็น ที่ว่า แม้ว่าเซ็นทรัลกรุ๊ปจะเป็นของจิราธิวัฒน์ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ใช้นามสกุลจิราธิวัฒน์ทุกคน จะมีสิทธิเข้ามามีส่วนร่วมในเซ็นทรัลกรุ๊ป

"เราต้องมองบริษัทเป็นใหญ่ ไม่ใช่เอาตัวบุคคลเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น ถ้าคนในความสามารถไม่ถึง เราไม่ให้เขาทำ" สุทธิชาติบอก

มีการวิเคราะห์กันว่า จากประสบการณ์ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น มาจนถึงทุกวันนี้ ระดับแกนนำของตระกูลจิราธิวัฒน์ ได้เรียนรู้หลักการสำคัญประการหนึ่ง นั่นคือ การที่จะสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับองค์กรธุรกิจ ของตระกูล ให้สามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง และแข็งแรงได้นั้น จะต้อง มีการบริหารครอบครัว และคนในตระกูลให้ดีด้วย

ในยุคของเตียง จิราธิวัฒน์ (2470-2511) สิ่งที่เขาพร่ำสั่งสอนรุ่นลูกทั้ง 26 คน คือ หลักของความขยัน อดทน ประหยัด รู้จัก และรักในการค้าขาย

ซึ่งเป็นหลัก ที่คนจีนยุคเสื่อผืนหมอนใบ ที่พากันอพยพจากเมืองจีน เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย ประสบความความสำเร็จมาแล้วนักต่อนัก

ลูกที่มีความใกล้ชิด และได้รับการสั่งสอนโดยตรงจากเตียงมากที่สุดคือ ลูก 3 คนแรก-สัมฤทธิ์,วันชัย และสุทธิพร เพราะเป็นกำลังหลักของตระกูลในช่วงเริ่มต้นการก่อร่าง สร้างตัว

รุ่นน้องรองๆ ลงไป แม้จะทันได้รับการ อบรมสั่งสอนจากเตียง แต่ความใกล้ชิดก็ไม่เท่าลูก 3 คนแรก เพราะในช่วงนั้น กิจการของเซ็นทรัลเริ่มใหญ่โตขึ้น และจำนวนพี่น้องก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามมาด้วย

บทบาทหลักจึงตกอยู่ที่สัมฤทธิ์ ในฐานะพี่ชายคนโต

ในยุคของสัมฤทธิ์ (2511-2535) เป็นยุคของการวางรากฐานตระกูลให้มีความมั่นคง พร้อม ที่จะเติบโตควบคู่กันไปกับธุรกิจ

ยุคของเขา เป็นช่วงที่กิจการเซ็นทรัลกรุ๊ปอยู่ในช่วงของการขยายตัว ขณะเดียวกันจำนวนคนในตระกูลก็เริ่มเพิ่มสูงขึ้น เพราะทั้งตัวเขา และรุ่นน้องๆ ต่างเริ่มมีครอบครัว มีลูกในรุ่นที่ 3 ให้เข้ามาอยู่ในความรับผิดชอบ

หลักการหลายอย่างที่สัมฤทธิ์นำมาใช้ในการปกครองคนในครอบครัว ก็ เพื่อเตรียมคนในตระกูล ให้พร้อมเข้ามาอยู่ในธุรกิจ เพื่อร่วมกันสร้างธุรกิจให้เจริญเติบโตขึ้น

เขากำหนดให้พี่น้องทุกคนต้องอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน รับประทานข้าวเย็นพร้อมกัน เพื่อให้เกิดความสามัคคี และใช้โต๊ะกินข้าวตอนเย็นเป็นห้องประชุมย่อย เพื่อปรึกษาหารือเรื่องธุรกิจ

ข้อกำหนดนี้ ทำให้พี่น้องในตระกูลจิราธิวัฒน์มีความสามัคคีกัน อย่างแนบแน่น และพร้อมจะร่วมมือกันพัฒนาธุรกิจของตระกูลให้เติบโตยิ่งขึ้น

เขากำหนดสถานศึกษาให้คนในตระกูล โดยลูกผู้ชายจะต้องเรียนในโรงเรียนอัสสัมชัญ ลูกผู้หญิงจะต้องเข้ามาร์แตร์เดอี วิทยาลัย เพื่อให้ทุกคนได้มีความรู้ภาษาอังกฤษ และทุกคนมีโอกาสได้เข้ารับการศึกษาจากต่างประเทศ

"ในครอบครัวจิราธิวัฒน์ สัมฤทธิ์ วันชัย และสุทธิพร เป็นเพียง 3 คนที่ไม่ได้ไปเรียนต่างประเทศ เพราะอยู่ในช่วง ที่ครอบครัว กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว ดังนั้น เขาจึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก" คนที่ใกล้ชิดกับตระกูลนี้ เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ทั้งโรงเรียนอัสสัมชัญ และมาร์แตร์เดอี วิทยาลัย เป็นโรงเรียน ที่เกิดขึ้นจากนักสอนศาสนาชาวตะวันตก การเรียนการสอนส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องภาษา และวัฒนธรรมทางตะวันตก การที่สัมฤทธิ์บังคับให้รุ่นน้องๆ ต้อง ผ่านการศึกษาจากทั้ง 2 สถาบัน เปรียบเสมือน การปลูกฝังให้คนในตระกูลจิราธิวัฒน์ มีแนว ความคิดในเชิง ที่อิงตะวันตกค่อนข้างมาก ซึ่ง สิ่งเหล่านี้ กลับมาเป็นผลดีต่อธุรกิจค้าปลีก ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของตระกูลในภายหลัง เพราะเป็นธุรกิจ ที่มีการผันแปรตลอดเวลา คนที่ทำธุรกิจนี้จะต้องรู้จักปรับเปลี่ยน ให้ทันแนวคิดการค้าสมัยใหม่ ซึ่งมีต้นแบบมาจากทางตะวันตก

"ค้าปลีกทุกอย่างไม่เหมือนกันทุกวัน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา" สุทธิชาติบอก

ว่ากันว่าแนวคิดในการเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกของสัมฤทธิ์ เกิดขึ้นเนื่องจากในช่วง ที่เขาสั่งหนังสือจากต่างประเทศเข้ามาขาย ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของธุรกิจก่อน ที่จะขยายตัวมาเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เขาใช้เวลาอ่านหนังสือเหล่านี้ค่อนข้างมาก และได้เห็นข้อ ได้เปรียบในแนวความคิดของทางตะวันตก ที่มีมากกว่าทางฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะวิธีการค้าขายดั้งเดิมแบบไทยๆ ซึ่งเขาและน้องๆ ก็ได้นำแนวคิดเหล่านี้มาปรับใช้กับห้างเซ็นทรัล

ในยุคของสัมฤทธิ์ เขาจะเป็นคนคัดเลือกคนในตระกูล ในรุ่นน้อง รุ่นลูก และรุ่นหลาน ให้เข้าไปรับผิดชอบงานส่วนต่างๆ ของเซ็นทรัลกรุ๊ปด้วยตัวเอง แต่หลักในการคัดเลือกตัวบุคคลของเขา ยึดตามความสามารถ ไม่ยึดตามศักดิ์อา-หลาน หรือหลักความอาวุโส และหลักการนี้ก็ยังคงได้รับการยึดถือมาโดยตลอด

"เรื่องงานเราไม่นับตามหลักอาวุโส ใครมีความสามารถด้านไหน ก็ให้ทำด้านนั้น จะนับลำดับศักดิ์ก็ไม่ได้ เพราะหลานมีอายุมากกว่าอา เรานับตามอายุ อย่างยุวดี (ลูกสาวคนที่ 3 ของสัมฤทธิ์) เป็นหลาน จริยา, สุทธิสาร (ลูกสาว-ลูกชาย คนสุดท้องของเตียง) เป็นอา สุทธิสาร ต้องเคารพคุณยุวดี เพราะคุณยุวดีอายุมากกว่า"

สัมฤทธิ์ เป็นผู้นำตระกูล และผู้นำเซ็นทรัลกรุ๊ป เป็นเวลาถึงกว่า 20 ปี สามารถวางรากฐานให้กับทั้งเซ็นทรัลกรุ๊ป และตระกูลจิราธิวัฒน์ได้อย่างแน่นหนา

หลังจากสัมฤทธิ์เสียชีวิตลงในปี 2535 วันชัยน้องชายคนต่อจากเขาได้ขึ้นมาเป็นผู้นำตระกูลแทน หลังจากเข้ารับตำแหน่งประธานเซ็นทรัลกรุ๊ปมาก่อนหน้าแล้ว 3 ปี

ยุคนี้เป็นช่วง ที่คนในตระกูลจิราธิวัฒน์ เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ขณะเดียวกัน ในการทำธุรกิจก็เริ่มมีความสลับซับซ้อน และการแข่งขันกันสูงขึ้น

ยุคนี้เป็นยุคที่วันชัยมองเห็นแล้วว่า การจะนำพากิจการเซ็นทรัลกรุ๊ปให้ก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างราบรื่น จะต้องทำ 2 ส่วนไป พร้อมเพรียงกัน คือ วางระบบธุรกิจให้เกิดความชัดเจน โปร่งใส และการสร้างระบบครอบครัว ก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่น เอื้อต่อ การพัฒนาคนรุ่นใหม่ๆ ให้พร้อมเข้ามารับช่วงธุรกิจ

การสร้างระบบครอบครัว วันชัยดำริให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมา เรียกเป็น Family Council ของตระกูลจิราธิวัฒน์ กรรมการชุดนี้ จะเข้ามามีบทบาทในการวางรากฐานให้กับครอบครัวจิราธิวัฒน์ เพื่อให้เติบใหญ่ได้อย่างมีระบบต่อไปในอนาคต

เขามองไกลไปข้างหน้า โดยยึดหลักการเดิมของเตียง บิดาของเขา ที่ต้องการสร้างครอบครัวให้ใหญ่ แต่จะทำอย่างไร ที่ครอบครัวใหญ่แล้วยังคงมีความกลมเกลียว สมานสามัคคี กันอย่างแนบแน่น

ซึ่ง Family Council จะต้องเข้ามากำหนดกฎระเบียบตรงนี้ให้มีความชัดเจน

นอกจากนี้ Family Council จะต้องเข้ามาดูในเรื่องสวัสดิการ การดูแลคนในครอบครัว ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีการศึกษา เพื่อเตรียม ความพร้อมของคนในรุ่นหลังๆ ในการเข้ามารับผิดชอบในธุรกิจของตระกูล

"คนที่อยู่ในครอบครัวของเรา เข้ามาทำธุรกิจของครอบครัวจำนวนไม่น้อย ซึ่งตรงนี้ ถ้าเขาเรียนหนังสือดี ได้รับโอกาสดี มีพื้นฐาน จิตใจดี ครอบครัวเขาดี เขาก็มีสิทธิ์ ที่จะทำธุรกิจให้ดีขึ้น ไม่ต้องมานั่งห่วงใยครอบครัว" ดร.สุทธิพันธ์ ลูกชายคนที่ 7 จากบุญศรี ภรรยาคนที่ 2 ของเตียง ในฐานะเลขาธิการ Family Council ของตระกูลจิรา ธิวัฒน์ บอกกับ "ผู้จัดการ"

"เราทำธุรกิจมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน และต่อไป จะเป็นรุ่นเหลน รุ่น 4 รุ่น 5 ซึ่งพอมาถึงตรงนี้เขาอาจไม่รู้แล้วว่า รุ่นคุณทวด คุณปู่ เขาเป็นกันมาอย่างไร" ดร.สุทธิพันธ์กล่าวถึงอีกวัตถุประสงค์หนึ่งในการจัดตั้ง Family Council (รายละเอียดอ่านใน Family Council รูปแบบการจัดการกงสีอย่างมีระบบ)

การจัดระบบธุรกิจในยุคของวันชัย (2535-ปัจจุบัน) เป็นช่วง ที่เซ็นทรัลกรุ๊ปได้จัดโครงสร้างของธุรกิจ ที่กระจัดกระจายให้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ และการจัดวางกำลังคน ในตระกูลไว้ตามจุดต่างๆ

ในยุคนี้ ได้ชูบทบาทบริษัทเซ็นทรัลกรุ๊ป ซึ่งเป็นโฮลดิ้ง คัมปะนีของตระกูล ให้เป็นแกน นำ โดยเข้าไปถือหุ้นใหญ่ และคอยกำกับนโยบายการดำเนินงานของบริษัทในเครือ

มีวันชัยเป็นประธาน สุทธิพร น้องชาย คนถัดจากเขาเป็นรองประธาน และสุทธิชัย ซึ่งเป็นคนดูแลด้านการเงินของเซ็นทรัลมาตลอด รองประธาน และประธานอำนวยการฝ่ายการเงิน

ส่วนธุรกิจในเครือทั้งหมด ได้มีการแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 - ค้าปลีก มีสุทธิชาติ เป็นประธาน

กลุ่มที่ 2 - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีสุทธิธรรม เป็นประธาน

กลุ่มที่ 3 - โรงแรม และรีสอร์ต

กลุ่มที่ 4 - ฟาสต์ฟูด มีสุทธิเกียรติ เป็นประธาน

กลุ่มที่ 5 - ผลิต และค้าส่ง มีสุทธิศักดิ์ เป็นประธาน

บุคคล ทั้งหมดเป็นคนในตระกูลจิราธิวัฒน์รุ่นที่ 2 ซึ่งในรุ่นนี้มีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 26 คน โดยคนที่เหลือได้ถูกกระจายออกไปดูแลงาน หลักๆ ของทั้ง 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มค้าปลีก มีสุกัญญา พร้อมพันธ์ ดูแลด้านการเงิน, สุทธิลักษณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ CRC, บุษบา จิราธิวัฒน์ ดูแลห้างสรรพสินค้าเซน, วัลยา จิราธิวัฒน์ ดูแลฝ่ายพัฒนาธุรกิจ, นาถยา จิราธิวัฒน์ ดูแลโรบินสัน, จริยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ และสุทธิสาร จิราธิวัฒน์ รองผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหารสินค้า ห้าง Power Buy

กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีสุทธิเดช จิราธิวัฒน์ เป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ และสุทธิภัค จิราธิวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

กลุ่มโรงแรม มีสุพัตรา ประมิติธนการ เป็นรองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และกลุ่มผลิต และค้าส่ง มีมุกดา เอื้อวัฒนะสกุล ดูแลด้านการเงิน และปิยพรรณ ชูเทศะ ดูแลผลิตภัณฑ์เครื่องกีฬา

"ต่อไปถ้าจะพูดกันถึงเรื่องของธุรกิจ เราจะต้องมองไป ที่เซ็นทรัล กรุ๊ป และถ้าจะพูดถึงเรื่องจิราธิวัฒน์ ให้มาดู ที่ Family Council" ดร.สุทธิพันธ์พยายามแยกภาพ ที่ซ้อนทับ กันอยู่ระหว่างความเป็นจิราธิวัฒน์ กับเซ็นทรัล ให้ชัดเจนขึ้น

ในขณะที่จิราธิวัฒน์รุ่นที่ 2 ยังคงเป็น กลุ่มคนที่มีบทบาทหลักในธุรกิจของเซ็นทรัลกรุ๊ป แต่ในยุคนี้ ก็มีจิราธิวัฒน์รุ่นที่ 3 ที่เริ่มขยายบทบาทแทรกเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจมากขึ้น

จิราธิวัฒน์รุ่นที่ 3 ที่ค่อนข้างมีบทบาทสำคัญ เช่น ยุวดี พิจารณ์จิตร ลูกสาวคนที่ 3 ของสัมฤทธิ์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลดีพาทเม้นท์สโตร์ (CDS) กอบชัย จิราธิวัฒน์ ลูกชายของวันชัย เป็นรอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) หรือปริญญ์ จิราธิวัฒน์ ลูกชายของสัมฤทธิ์ เป็นกรรมการบริหาร ดูแลเรื่องการ เงิน เซ็นทรัลกรุ๊ป ฯลฯ (รายละเอียดดูตารางจิราธิวัฒน์รุ่น 2-3 ที่กำลังมีบทบาทอยู่ในเซ็นทรัลกรุ๊ป)

สังเกตได้ว่าจิราธิวัฒน์รุ่นที่ 3 ที่เข้ามามีบทบาทส่วนใหญ่ในขณะนี้ จะเป็นลูกของจิราธิวัฒน์รุ่นที่ 2 ที่เกิดจากหวาน ภรรยาคนแรกของเตียง

ซึ่งประกอบไปด้วยสัมฤทธิ์, วันชัย, สุทธิพร, มุกดา เอื้อวัฒนสกุล, สุทธิเกียรติ และสุทธิชาติ

มีเพียง พงษ์ และพลินี ศกุนตนาค ซึ่งเป็นลูกของลิดา (ภายหลังเปลี่ยนกลับมาใช้นามสกุลจิราธิวัฒน์) ลูกสาว ที่เกิดจากบุญศรี ภรรยาคนที่ 2 ของเตียงเท่านั้น ที่ได้เข้ามามีบทบาทอยู่ในธุรกิจของตระกูลแล้ว

ส่วนจิราธิวัฒน์รุ่นที่ 3 ที่เหลือ ถ้าไม่อยู่ในระหว่างการศึกษา ก็ทำงานอยู่ในบริษัทอื่น ที่อยู่นอกเซ็นทรัลกรุ๊ป

ซึ่งคนกลุ่มนี้ จะเป็นกำลังสำคัญของเซ็นทรัลกรุ๊ปต่อไปในอนาคต

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจิราธิวัฒน์กลุ่มนี้ จะมีสิทธิ์เข้ามาอยู่ในเซ็นทรัลกรุ๊ปได้ทั้งหมด

"เราดูที่ความสามารถเป็นหลัก" สุทธิชาติย้ำ

ในยุคของวันชัย เป็นช่วง ที่เซ็นทรัลกรุ๊ป มีการ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากยุคก่อน ที่สัมฤทธิ์ได้เคยวาง รากฐานไว้

เป็นช่วงเดียวกับ ที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างหวือหวา

ตั้งแต่วันชัยขึ้นมารับตำแหน่งประธานเซ็นทรัล กรุ๊ปในเดือนสิงหาคม 2532 ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว เซ็นทรัลกรุ๊ปก็ได้อาศัยจังหวะเช่นนี้ เปลี่ยนรูปแบบการระดมทุน โดยการผลักดันบริษัทโรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่า เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงต้นปี 2533 ซึ่งสามารถระดม เงินได้ก้อนใหญ่ไว้ใช้ในการขยายกิจการ

การนำธุรกิจในเครือเข้าตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นการเปลี่ยนแนวทางการบริหารเงินของเซ็นทรัลกรุ๊ป เพราะกลุ่มนี้ถนัดในการกู้เงินจากสถาบันการเงิน เพื่อนำมาใช้ในโครงการมาตลอด ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น

โครงการใหญ่ ที่ต้องใช้เงินกู้มากที่สุด คือ โครงการเซ็นทรัลพลาซา ที่ต้องอาศัยเงินกู้ส่วนหนึ่งจากต่างประเทศ เพราะในช่วงปี 2521 ที่เริ่มโครงการ ใหม่ๆ ธนาคารภายในประเทศไม่มีความมั่นใจในสถานการณ์ จึงไม่ค่อยเต็มใจปล่อยกู้ให้มากนัก มีเพียงธนาคารกรุงเทพ ที่ปล่อยสินเชื่อให้ 600 ล้านบาท กับธนาคารศรีนคร อีก 100 ล้านบาท

ซึ่งเงินกู้จากต่างประเทศก้อนดังกล่าว เคยทำให้เซ็นทรัลกรุ๊ปเจ็บปวดไม่น้อย ภายหลังจากการประกาศลดค่าเงินบาทในปี 2524 และ 2527

และได้กลายเป็นประสบการณ์ ที่ทำให้เซ็นทรัลกรุ๊ปไม่นิยมกู้เงินจากต่างประเทศ แม้ว่าปัจจัยหลายประการ จะเอื้ออำนวยให้อย่างมากในภายหลัง

นอกจากการฟื้นตัวของตลาดหุ้นแล้ว ในภาคพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในยุคนี้ก็จัดได้ว่าบูมสุดขีด เดือนมีนาคม 2538 เซ็นทรัลกรุ๊ป ได้ผลักดันให้บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) บริษัทหลักทางด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกแห่งหนึ่ง

CPN มีสุทธิธรรมเป็นคนดูแล

การเข้าจดทะเบียนของ CPN ถือเป็น Strategic Movement ครั้งสำคัญของเซ็นทรัลกรุ๊ป

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ กลุ่มค้าปลีก (CRC) กลุ่มธุรกิจหลักของตระกูล ซึ่งมีสุทธิชาติเป็นคนดูแล

และเป็นผลกระทบด้านบวก !!!

ในกลุ่มจิราธิวัฒน์รุ่นที่ 2 สามารถแบ่งช่วงทายาทธุรกิจ ออกได้เป็น 2 ยุค ยุคแรกคือ กลุ่มบุคคล ที่ทำงานใกล้ชิดกับเตียงตั้งแต่ยังบุกเบิกธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยสัมฤทธิ์, วันชัย, สุทธิพร ซึ่งต่อมาภายหลังจากการเปิดห้างเซ็นทรัลสาขาสีลมใหม่ๆ ในปี 2511 สุทธิเกียรติกับสุทธิชัยเพิ่งเรียนจบมาจากนอกก็เข้ามาอยู่ร่วมในกลุ่มนี้ ด้วย

ในปี 2529 "ผู้จัดการ" เคยขนานนามทั้ง 5 คนนี้ว่า เป็น 5 เสือเซ็นทรัล เพราะเป็น กลุ่ม ที่มีบทบาทนำในธุรกิจ ทุกๆ ด้าน

หลังจากนั้น เป็นลูกสาว ประกอบด้วย สุจิตรา มุกดา และรัตนา ก็เริ่มเข้ามาช่วยธุรกิจ ในช่วงนี้

ส่วนจิราธิวัฒน์รุ่น 2 ยุคถัดมา ซึ่งเข้ามามีบทบาทในธุรกิจของตระกูล เมื่อเริ่มมีการขยายตัวไปแล้วระดับหนึ่ง แกนนำของคน รุ่นนี้คือ สุทธิชาติ และสุทธิธรรม

ทั้งคู่ ถือเป็นพี่น้อง ที่ทำงานเข้าขากันได้อย่างดียิ่ง

ทั้งสุทธิชาติ และสุทธิธรรม เริ่มเข้ามามีบทบาทในธุรกิจ พร้อมๆ ไปกับการเปิดห้างเซ็นทรัลสาขาชิดลม โดยสุทธิชาติเริ่มต้นจากการดูแลการพัฒนาบุคลากร และสุทธิธรรมดูแลการโฆษณา และส่งเสริมการขาย

ผลงานของทั้งคู่ ทำให้สาขาชิดลมเป็น สาขา ที่ประสบความสำเร็จ สามารถทำกำไรได้ ตั้งแต่เปิดเป็นปีแรก และยังคงเป็นห้าง ที่มีกำไร สูงสุดอยู่จนถึงปัจจุบัน

ภายหลังของการแบ่งกลุ่มรับผิดชอบในปี 2532 โดยสุทธิชาติดูแลกลุ่มค้าปลีก และสุทธิธรรมดูแล CPN เป็นช่วง ที่กลุ่มค้าปลีกของเซ็นทรัลกรุ๊ป มีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด

มีการขยายรูปแบบห้างสรรพสินค้าประเภทใหม่ นอกเหนือจาก ห้างเซ็นทรัลดีพาทเม้นท์สโตร์อีกหลายประเภท ทั้งคอนวีเนียนสโตร์ ซูเปอร์เซ็นเตอร์ การแยกซูเปอร์มาร์เก็ตออกมาดำเนินกิจการเองต่างหากในชื่อว่า ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลอดจนการซื้อกิจการห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เพื่อหวังเจาะลูกค้ากลุ่ม C โดยเฉพาะ

แม้กระทั่งการออกไปเปิดห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ ก็เคยวางแผนเอาไว้ (รายละเอียดอ่านใน CRC หัวหอกธุรกิจเซ็นทรัลกรุ๊ป)

การขยายตัวของกลุ่มค้าปลีก ดำเนินควบคู่ไปกับการขยายตัวของ CPN โดย CPN จะเป็นคนรับภาระการลงทุนก่อสร้างตัวอาคาร และบริหารอาคาร โดยให้ CRC เป็นลูกค้า เซ้งพื้นที่อาคารทำเป็นห้างสรรพ สินค้า

ซึ่งเป็นการตัดภาระการลงทุนก่อสร้างตัวอาคารออกไปจาก CRC ทำให้ CRC สามารถทำธุรกิจห้างสรรพสินค้าได้อย่างเต็มที่

ส่วน CPN ก็ไม่ต้องพะวงในเรื่องของเงินทุน เพราะสามารถระดมทุนได้จากตลาดหลักทรัพย์

Strategic Movement ครั้งนี้ ทั้ง CRC และ CPN มีแต่ได้กับได้ทั้ง 2 ฝ่าย

จากการขยายงาน ที่เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดของเซ็นทรัลกรุ๊ปในยุคนี้ ได้เปิดช่องว่างให้คนนอกตระกูลจิราธิวัฒน์ สามารถแทรกเข้า มามีบทบาทในเซ็นทรัลกรุ๊ปมากขึ้น เพราะยังเป็นช่วง ที่จิราธิวัฒน์รุ่นที่ 3 หลายคนยังไม่พร้อม ที่จะเข้ามารับผิดชอบงานในธุรกิจของตระกูล

ความไม่พร้อมดังกล่าว ไม่ได้หมายความว่าคนกลุ่มนี้ยังเด็กเกิน ไป แต่เป็นเพราะกฎของตระกูล ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ในภายหลัง บังคับให้คนรุ่นนี้จะต้องออกไปทำงานหาประสบการณ์จากบริษัทอื่นๆ ก่อนระยะหนึ่ง จึงจะสามารถ กลับเข้ามาทำงาน ในเซ็นทรัลกรุ๊ปได้

"เรากำหนดไว้เลยว่าอย่างน้อยต้องทำงานข้างนอกมาแล้ว 6 ปี ถึงค่อยกลับเข้ามา" สุทธิชาติย้ำกับ "ผู้จัดการ"

ในยุคของวันชัย เซ็นทรัลกรุ๊ปต้องผ่านพ้นอุปสรรคสำคัญถึง 2 ครั้ง

ครั้งแรกเมื่อห้างเซ็นทรัล สาขาชิดลมไฟไหม้ ในช่วงปลายปี 2538 หลัง CPN เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นได้เพียง 9 เดือน

สาขาชิดลม ถือเป็นหัวใจของเซ็นทรัลกรุ๊ป เพราะนอกจากจะเป็นห้างต้นแบบของห้างเซ็นทรัลหลายสาขาแล้ว ยังเป็นฐานบัญชา การสำคัญของเซ็นทรัลกรุ๊ป

การเกิดไฟไหม้ขึ้น ที่ห้างนี้ นอกจากจะทำให้สาขานี้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสูญเสียรายได้ เนื่องจากเหตุการณ์เกิด ขึ้นในช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่แล้ว

ยังทำลายเอกสารสำคัญของเซ็นทรัลกรุ๊ปไปเป็นจำนวนมาก

แต่เซ็นทรัลกรุ๊ปก็ใช้จังหวะ ที่จะต้องรื้อตัวอาคาร เพื่อสร้างใหม่ ถือโอกาสปรับระบบ การทำงานภายใน นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามา ใช้ เพื่อทำให้ระบบการทำงานได้มาตรฐานขึ้น

อุปสรรคครั้ง ที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540

อาจนับได้ว่าเซ็นทรัลกรุ๊ปโชคดีกว่านักธุรกิจในเมืองไทยอีกหลายกลุ่ม เพราะเคยมีประสบการณ์เจ็บปวดมารอบหนึ่งแล้วเมื่อครั้งประเทศไทยลดค่าเงินบาท ในปี 2524 กับปี 2527 ทำให้สัดส่วนเงินกู้ต่างประเทศของ เซ็นทรัลกรุ๊ปมีไม่มาก

"เรามีเพียงโรบินสัน ที่มีเงินกู้ต่างประเทศสูงถึง 300 ล้านดอลลาร์" สุทธิชาติกล่าว

ผลกระทบที่เซ็นทรัลกรุ๊ปได้รับคือ ขาดเงินสด เพื่อนำมาใช้ในการขยายงาน เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยเงินกู้ให้

และ เช่นเดิม เซ็นทรัลกรุ๊ปได้ฉวยจังหวะ ที่เกิดวิกฤติในครั้งนี้ หันกลับมาพิจารณาตัวเองใหม่ มีการปรับทิศทางการลงทุน โครงการใด ที่ลงทุนไปแล้ว มีแนวโน้มว่าจะไม่มีกำไร ได้ตัดทิ้งไป เหลือไว้เฉพาะโครงการที่มีความจำเป็น หรือเป็นธุรกิจ ที่เซ็นทรัลกรุ๊ปมีความถนัด

"แต่ก่อนเราอยากจะทำอะไร ก็จดทะเบียนตั้งบริษัทเป็นว่าเล่น มีเกือบ 200-300 บริษัท แต่ตอนนี้เราปิดหมด เหลือทิ้งไว้เฉพาะ ที่สำคัญจริงๆ" สุทธิชาติบอกกับ "ผู้จัดการ"

โดยเฉพาะ CRC สุทธิชาติประกาศเป็นนโยบายออกมาตั้งแต่วิกฤติใหม่ๆ เลยว่า จะไม่ขยายสาขาของเซ็นทรัลดีพาทเม้นท์สโตร์ไป อีก 3 ปี โดยใช้เวลาในช่วงนี้ ทำการล้างบ้านใหม่

เป็นแนวทางคล้ายกับ ที่เคยทำไว้เมื่อครั้งไฟไหม้สาขาชิดลม

"การล้างบ้าน หมายถึง การจัดสรรทำใหม่ให้เข้า ที่ เพราะตอนนั้น เราขยาย เรารับคนมากเกินไป ตอนนี้เราต้องมาดูว่าอะไร ที่อ้วนๆ คนมากไป ต้องจับมารวมกันใหม่ ให้คนกลุ่มเดียวทำ"

ถือเป็นการพลิกฟื้นอุปสรรค ที่เผชิญอยู่ให้เป็นโอกาสเป็นครั้ง ที่ 2 ในยุคที่วันชัยเป็นประธานกรรมการเซ็นทรัลกรุ๊ป

ปัจจุบัน วันชัยอายุ 75 ปี แต่ก็ยังทำงานอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเขารับตำแหน่งประธานมาแล้วถึง 11 ปีเต็ม

สุทธิพร น้องคนถัดจากวันชัย หลายปีก่อนเขาสุขภาพไม่ดี ช่วงนี้ จึงมุ่งทำงานทางด้านศาสนา เป็นตัวแทนให้กับเซ็นทรัลกรุ๊ป นำกฐินพระราชทานไปถวายตามวัดต่างๆ เป็นหลัก

ทั้ง 2 คน นับวันยิ่งห่างจากงานประจำวันในธุรกิจของตระกูลมากขึ้นตามอายุ

ในขณะที่ภาคธุรกิจเอง มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติจากฝั่งตะวันตก

ธุรกิจที่จะต้องอยู่รอดได้ในช่วงนี้ จะต้องมีความกระฉับกระเฉง และก้าวทันแนวคิดของทุนต่างชาติ

คนที่ติดตามการเคลื่อนไหวในกลุ่มเซ็นทรัลมาอย่างต่อเนื่อง มองสถานการณ์ของเซ็นทรัลกรุ๊ปในขณะนี้ แล้วเริ่มมีความรู้สึกว่าอีกไม่นานอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นใน เซ็นทรัลกรุ๊ป ทั้งนี้ เพราะมีสัญญาณบ่งชี้บางประการ แสดงออกมาให้เห็น

ประการแรก - ระยะเวลา 3 ปีที่กลุ่มค้าปลีกของเซ็นทรัลกรุ๊ป ชะลอการขยายตัว ใกล้จะหมดลงแล้ว และในปีหน้า โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการใหม่ของ CPN ที่พระราม 2 จะสร้างเสร็จ ซึ่งกลุ่มค้าปลีกของ เซ็นทรัลกรุ๊ปก็จะขยายสาขาไปเปิดในโครงการ ดังกล่าวด้วย ทั้งเซ็นทรัลดีพาทเม้นท์สโตร์, ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, Power Buy และ Super Sport

ซึ่งหมายความได้ว่า เซ็นทรัลกรุ๊ปจะเริ่ม กลับมารุกใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ประการที่ 2 - ในกลุ่มจิราธิวัฒน์รุ่นที่ 2 ขณะนี้ได้เริ่มมีแนวคิด ที่จะโยกย้ายสายงาน ในความรับผิดชอบของแต่ละคนใหม่ หลังจาก มีการแบ่งกลุ่มกันมาแล้วกว่า 10 ปี

ขณะเดียวกัน ก็จะมีการปรับย้ายสายงานของจิราธิวัฒน์รุ่นที่ 3 ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และอาจจะมีการคัดเลือกคนในรุ่นเดียวกัน ที่ มีประสบการณ์ และความพร้อม เข้ามาทำงาน ในเซ็นทรัลกรุ๊ปเพิ่มมากขึ้น

เป็นการจัดกระบวนทัพ เพื่อเตรียมต่อสู้ในสมรภูมิธุรกิจ ที่กำลังเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะการรุกเข้ามาของยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกจากต่างประเทศ

"เรื่อง การเปลี่ยนแปลง คงจะต้องเข้า ไปคุยในบอร์ดของเซ็นทรัลกรุ๊ป โดยปีหน้าเป็น ปีที่เราจะคัดเลือกตัวบุคคล ส่วนการ Rotate เป็นปีถัดไป" สุทธิชาติสรุปกับ "ผู้จัดการ"

สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเซ็นทรัลกรุ๊ปช่วง หลังจากนี้ไป เป็นเรื่อง ที่ต้องติดตามเป็นอย่างยิ่ง

http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=68

------------------------------------------------

หมดหวังเช็คช่วยชาติพยุงตลาดหุ้น

เลิกหวังเช็คช่วยชาติ 2 พันบาทพยุงตลาดหุ้นไทยวันนี้ กูรูชี้กลุ่มค้าปลีกได้ประโยชน์เต็มๆ หลังประชาชนเลือกซื้อของจำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่ฟากตลาดหุ้นรับข่าวดีไปตั้งแต่ปีมะโว้แล้วไม่มีผลลงทุน แถมเศรษฐกิจและการเมืองยังไม่น่าไว้วางใจ โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อแดงเดินหน้าชุมนุมใหญ่กดดัน ฟันธง! ช่วงนี้ไม่ใช่จังหวะซื้อหุ้น ขายลดพอร์ต ปลอดภัยกว่า

เช็คช่วยชาติ 2 พันบาทส่งตรงถึงมือผู้ประกันตนที่มีรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทวันนี้ (26 มี.ค.52) เป็นล็อตแรกแล้ว ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เข็นกลยุทธ์เด็ดกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคภายในประเทศช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ หวังกอบกู้เศรษฐกิจไทยฟื้นโดยเร็ว โดยนายกฯ ระบุว่า การแจกเช็คช่วยชาติ 2 พันบาท จะทำให้เกิดการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจและถือเป็นจุดหนึ่งที่จะเสริมราย ได้ให้กับผู้มีรายได้น้อยในช่วงเศรษฐกิจตกสะเก็ด ขณะเดียวกันยังเป็นการช่วยพยุงเศรษฐกิจ ซึ่งช่วง 2 เดือนจากนี้ รัฐบาลจะมีมาตรการเพื่อนำงบประมาณกลางปีออกมาใช้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยให้การลงทุนกลับมาคึกคักได้ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปีนี้
ล่าสุด นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาระบุว่า เช็คเงินสดช่วยชาติ 2 พันบาท เป็นมาตรการของรัฐบาลช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพแก่ผู้ที่มีรายได้น้อยจำนวน เกือบ 10 ล้านคน โดยจะแจกล็อตสุดท้ายวันที่ 9 เมษายน 2552 เพื่อนำไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งเช็คช่วยชาติ ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่เห็นผลได้ทันที นอกเหนือจากการช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชนแล้ว ยังส่งผลรวมต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยเม็ดเงินที่รัฐบาลอนุมัติประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เมื่อถึงมือประชาชนกว่า 9 ล้านคน และประชาชนนำไปใช้จ่ายสับเปลี่ยนมือในระบบเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดการจ้างงานในภาคเศรษฐกิจได้กว่า 8 หมื่น ถึง 1 แสนคน และมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี 0.2% โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นและลดลงของจีดีพีทุก 1% จะทำมีผลต่อให้อัตราการจ้างงานในประเทศถึง 3 - 3.5 แสนคนโดยยืนยันว่านโยบายแจกเช็คครั้งนี้ถือเป็นนโยบายระยะสั้น และรัฐบาลจะไม่มีมาตรการดังกล่าวออกมาเป็นครั้งต่อไป เนื่องจากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ที่คาดว่าได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่อาจเกิดขึ้นช่วงนี้
อย่างไรก็ตาม มีผู้ประกอบการร้านค้าหลายแห่งทั่วประเทศพร้อมใจเข้าโครงการเช็คช่วยชาติดัง กล่าว หวังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศให้ฟื้น โดยเบื้องต้นพบว่า 21 สถานประกอบการในภาคเอกชน ซึ่งมีเครือข่าย และสาขาอยู่ทั่วประเทศ ประมาณ 3,146 ราย ร่วมกับกระทรวงการคลังร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันให้รับเช็คช่วยชาติรวม ถึงเพิ่มมูลค่าเช็ค ลดราคาสินค้าถึง 20 % และทอนเงินได้ หากผู้มีสิทธินำไปใช้ในการชำระค่าสินค้า ประเภทอุปโภค บริโภค ตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ต่าง ๆ แม้กระทั่งการนำไปชำระเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าโดยสารรถประจำทาง ซึ่งถือเป็นการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันตามปกติ
รายชื่อภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการเบื้องต้น ได้แก่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (BIGC), บริษัทในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) (MAJOR), บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (MTI), บริษัทในเครือเซ็นทรัลรีเทล 7 แห่ง,บริษัท ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TWZ),บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CPALL),บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) (ROBINS), บริษัท ไมด้า แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) (MIDA),บริษัท ซี พี เฟรทมาร์ท จำกัด, ร้านแม็ค-โดนัล,ร้านเคเอฟซี , ร้านพิซซ่าฮัท,ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส, ร้านอินเด็ค ลิฟวิ่งมอล, กิฟฟารีน, ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์, บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด, บริษัทไทยสกายลาร์ค จำกัด, สมาคมโรงพยาบาลเอกชน, องค์การค้าของ สกสค. (คุรุสภา), บริษัท ส.ศิริแสง จำกัด, บริษัท ไดมอนด์ ไชน์ ฮอลิเดย์ จำกัด, บริษัท ผู้จัดงานแสดงสินค้า เวิลด์ แฟร์ และบริษัท ลีน่า คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด นอกจากนี้ยังมี ผู้ประกอบการหลายรายทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกแคมเปญจูงใจให้เกิดกำลังซื้อกันอย่างคึกคัก
ทั้งนี้ ต้องติดตามต่อไปสำหรับมาตรการเช็คช่วยชาตินี้ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก น้อยเพียงใด แต่สำหรับฟากตลาดหุ้นไทยแล้ว การแจกเช็คช่วยชาติ ไม่ได้มีนัย
สำคัญ เนื่องจากราคาหุ้นส่วนใหญ่ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่กลับมา ได้มีแรงซื้อเข้ามาอย่างหนาแน่นจนราคาหุ้นรับข่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากทั้งเศรษฐกิจ และปัญหาการเมืองที่กำลังทวีความร้อนแรงในขณะนี้
โดยวานนี้ (25 มี.ค.52) กระทรวงการคลังประกาศหั่นเป้าจีดีพีปี 2552 ติดลบ 2.5% หรืออยู่ในช่วงติดลบ 3-2% ซึ่งต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจีดีพีปี 2552 จะขยายตัว 1% หรืออยู่ในช่วง 0-2% และลดลงจากปี 2551 ที่ขยายตัว 2.6% จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขณะที่คาดเงินเฟ้อทั้งปีอยู่ที่ 0.7% ลดลงจากเดิมคาดอยู่ที่ 1% ส่วนอัตราการว่างงานปีนี้เพิ่มเป็น 3.8% สูงกว่าครั้งก่อนที่คาดอยู่ที่ 2.5% ขณะเดียวกันกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ กลุ่มเสื้อแดง ยังเดินหน้ากดดันรัฐบาลต่อเนื่อง และวันนี้มีการประกาศชุมนุมใหญ่ที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อกดดันรัฐบาล ซึ่งน่าจะเป็นตัวแปรกดดันการลงทุนอย่างมาก
ปิดการซื้อขายวานนี้ SET Index ปิดอยู่ที่ระดับ 436.92 จุด ลดลง 1.24 จุด หรือ 0.28% มูลค่าการซื้อขาย 7,919.91 ล้านบาท ขณะที่หุ้นที่ได้ประโยชน์จากนโยบายแจกเช็คช่วยชาติส่วนใหญ่ปรับลดลง โดย MAJOR ปิดที่ 6.80 บาท ลดลง 0.10 บาท หรือ 1.45% มูลค่าการซื้อขาย 9.25 ล้านบาท, ราคาหุ้น BIGC ปิดที่ 40.75 บาท ลดลง 1.75 บาท หรือ 4.12% มูลค่าการซื้อขาย 2.72 พันล้านบาท, ราคาหุ้น CPALL ปิดที่ 12.40 บาท ลดลง 0.10 บาท หรือ 0.80% มูลค่าการซื้อขาย 151.01 ล้านบาท, ราคาหุ้น TWZ ปิดที่ 1.20 บาท ลดลง 0.02 บาท หรือ 1.64% มูลค่าการซื้อขาย 2.14 ล้านบาท, ราคาหุ้น SINGER ปิดที่ 1.07 บาท ลดลง 0.02 บาท หรือ 1.84% มูลค่าการซื้อขาย 0.59 ล้านบาท, ราคาหุ้น MAKRO ปิดที่ 65.50 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 8.20 ล้านบาท, ราคาหุ้น MME ปิดที่ 0.78 บาท เพิ่มขึ้น 0.01 บาท หรือ 1.30% มูลค่าการซื้อขาย 2.96 ล้านบาท, ราคาหุ้น MTI ปิดื้ 40.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท หรือ 2.56% มูลค่าการซื้อขาย 0.05 ล้านบาทและ ราคาหุ้น ROBINS ปิดที่ 6.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาท หรือ 1.67% มูลค่าการซื้อขาย 7.29 ล้านบาท


****นครหลวงไทย ฟันธงกลุ่มค้าปลีกได้เฮรับเช็ค 2 พัน หลังเป็นสินค้าจำเป็นประจำวัน แต่ชี้ไม่ช่วยพยุงตลาดหุ้นไทย
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวถึง กรณีเช็คช่วยชาติ 2,000 บาทรอบแรกที่จะถึงมือประชาชนในวันนี้ว่า กลุ่มธุรกิจประเภทค้าปลีกน่าจะได้รับผลประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวสูงสุด เนื่องจากในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่กลุ่มคนที่รับเช็คจะระมัดระวังในการจับ จ่ายใช้สอยมากขึ้นโดยจะเลือกซื้อสินค้ามีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตก่อน ส่วนกลุ่มอาหารสำเร็จรูปและกลุ่มบันเทิงก็น่าจะเป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่ได้รับ ผลประโยชน์เช่นกัน ขณะเดียวกัน มองว่าเม็ดเงินจากโครงการเช็คช่วยชาติที่เข้าสู่ระบบประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาทน่าจะช่วยพยุงไม่ให้กลุ่มธุรกิจค้าปลีกในช่วงไตรมาส 2 ทรุดตัวลง
สำหรับผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้น มองว่าราคาหุ้นกลุ่มค้าปลีกได้ปรับตัวขึ้นตอบรับประเด็นข่าวดังกล่าวเรียบ ร้อยแล้ว โดยที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับตัวขึ้นกว่า 6 % ซึ่งสวนทางกับภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ทรุดตัวลงกว่า 3 % อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเชื่อว่ากลุ่มธุรกิจค้าปลีกจะประครองตัว และเห็นการเติบโตของธุรกิจได้ ถึงแม้ว่าอัตราการเติบโตจะไม่มากเท่ากับปีที่ผ่านมาก็ตาม
กลยุทธ์การลงทุนกลุ่มค้าปลีก แนะนำรอซื้อเมื่ออ่อนตัว โดยมองว่า CPALL มีความโดดเด่นสุดในกลุ่มทั้งในแง่ของการรักษากำไรและยอดขายต่อสาขาไว้ให้ เติบโตได้ในระดับที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ขณะเดียวกันสัดส่วนผลิตภัณฑ์ของ CPALL ส่วนใหญ่เป็นประเภทอาหาร จึงได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจไม่มาก แนะนำซื้อเมื่ออ่อนตัว ประเมินราคาเหมาะสม 12.80 บาท นอกจากนี้ HMPRO และ MAKRO ถือเป็นอีก 2 หลักทรัพย์ที่น่าสนใจ โดยแนะนำรอซื้อเมื่ออ่อนตัว ประเมินราคาเหมาะสม 4.60 บาท และ 83 บาทตามลำดับ
ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 วงเงิน 1.56 ล้านล้านบาทของรัฐบาลที่จะนำมาลงทุนในระบบสาธารณูประโภค มองว่าเป็นมาตรการที่ดีและจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาวได้ แต่สาเหตุที่มาตรการดังกล่าวยังไม่ส่งผลต่อตลาดฯ อย่างมีนัยสำคัญ อาจเป็นเพราะนักลงทุนยังคงรอความชัดของกรอบเงินกู้ รวมไปถึงรูปแบบโครงการก่อน อย่างไรก็ดี เชื่อว่าในะระยะต่อไปหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคจะตอบรับแผนกระตุ้นรอบ 2 อย่างแน่นอน จึงแนะนำซื้อลงทุนระยะยาวหุ้นกลุ่มดังกล่าว โดยมองว่า CK มีความโดดเด่นสุดในกลุ่ม เนื่องจากมีพื้นฐานที่ดี ประกอบกับมีเม็ดเงินลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีในหลายบริษัทฯ ประเมินราคาเหมาะสม 4.50 บาท นอกจากนี้ SEAFCO และ STEC ถือเป็นอีก 2 หลักทรัพย์ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 เช่นกัน ประเมินแนวรับ 3.55 บาท และ 3.80 บาทตามลำดับ


****บล.เอเซีย พลัส ชี้ค้าปลีกได้ประโยชน์เต็มๆ จากเช็คช่วยชาติ เชียร์ซื้อ BIGC และ CPALL
นายเตชธร ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ธุรกิจที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ที่รัฐบาลเตรียมจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท/เดือน ซึ่งจะจ่ายชุดแรกในวันที่ 26 มี.ค.นี้ น่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากได้รับเงินจากการอุปโภคบริโภคเข้ามาโดยตรง โดยเฉพาะบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (BIGC) และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CPALL) ที่เป็นห้างร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคหลากหลายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้เชื่อว่าผู้ที่ได้รับเงินช่วยเหลือน่าจะให้ ความสำคัญกับการจับจ่ายสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และคาดว่าเม็ดเงินการจับจ่ายใช้สอยดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของ บริษัทจดทะเบียนประมาณไตรมาส 2 ปี 2552
อย่างไรก็ตาม แนะนำซื้อ BIGC แนวรับ 39 บาท แนวต้าน 42 บาท ส่วน CPALL ประเมินแนวรับ 12.20 บาท แนวต้าน 12.80 บาท


****บล.กรุงศรีอยุธยา เชื่อยังมีแรงเก็งกำไรหุ้นอุปโภคบริโภครับข่าวเช็คช่วยชาติ แต่ภาพรวมตลาดฯ ยังถูกกดดันจากกลุ่มเสื้อแดง - ปัจจัยนอกประเทศ
นายธนัท รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงกรณีเช็คช่วยชาติวงเงิน 2 พันบาท ที่จะมอบให้กับประชาชนที่มีรายไม่เกิน 15,000 บาท รอบแรกในวันนี้ น่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจับจ่ายใช้สอย การอุปโภคบริโภค เนื่องจากประชาชนอาจจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปเลือกซื้อของใช้ที่มีความจำเป็น กับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยน่าจะเป็นประเด็นข่าวบวกในระยะสั้นนี้
ขณะเดียวกัน ข่าวดังกล่าวก็ส่งบวกต่อผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกียวโยงกับการขายสินค้าที่ ใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นสินค้าจำเป็น อาทิ BIGC, CPALL, ROBINS และ MAKRO เพราะหากผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ทำให้ยอดขายที่เดิมเคยอาจจะถูกกดันจากภาวะเศรษฐกิจกลับมาดูดีขึ้นได้ ซึ่งอาจจะทำให้มีแรงเก็งกำไรเข้ามาในหุ้นกลุ่มดังกล่าว
แต่อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นไทยในระยะนี้ มีโอกาสที่จะแกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบๆ เนื่องจากไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามากระตุ้นการลงทุน ประกอบกับ ตลาดฯ ก็ตอบรับข่าวแผนที่สหรัฐฯ ได้ประกาศรายละเอียดแผนรับซื้อหนี้เสียสถาบันการเงินเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลังจากนี้คงต้องติดตามถึงปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ รวมถึงการประกาศผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ โดยหากประกาศออกมาย่ำแย่กว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์เอาไว้อาจจะมีผลกดดันต่อ บรรยากาศการลงทุนทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย แต่ถ้าหากตัวเลขผลการดำเนินงานที่ประกาศออกมาไม่ย่ำแย่กว่าที่คาด ก็ไม่น่าจะมีผลต่อบรรยากาศการลงทุน
นอกจากนี้ ต้องติดตามชุมนุมมใหญ่ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ หรือ กลุ่มเสื้อแดง เพราะอาจจะมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง โดยกลุ่มเสื้อแดงอาจจะดึงประเด็นการยุบสภาฯ เข้ามาเป็นปัจจัยกดดันต่อรัฐบาลชุดนี้ และอาจจะทำให้อุณหภูมิทางการเมืองร้อนแรงมากขึ้น
อย่างไรก็ดี ในช่วงระหว่างการซื้อขายอาจจะมีแรงเก็งกำไรเข้ามาเป็นบางกลุ่มที่ได้รับ ประโยชน์ อาทิ กลุ่มอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ แนะนำ ทยอยซื้อ CPALL


****บล.ไซรัส แนะลดพอร์ตลงทุน ลดเสี่ยง หลังเชื่อการเมืองกดดันหนัก
นายทวีรัตช์ มัททวีวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บล. ไซรัส กล่าวว่า แนวโน้มในวันนี้ ดัชนีฯ มีความเสี่ยงต่อการปรับตัวลง โดยมีแรงกดดันจากประเด็นการเมือง กรณีการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มเสื้อแดงเป็นหลัก ซึ่งแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและรัฐบาลน่าจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้มี ความรุนแรงเกิดขึ้น แต่ก็ถือว่าเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นเสี่ยงเสถียรภาพรวมไปถึงความมั่น คงของรัฐบาล จึงเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะชะลอการลงทุนเพื่อติดตามสถานการณ์ ทำให้มูลค่าการซื้อขายมีแนวโน้มเบาบาง ประกอบกับมาตรการการเข้าซื้อหนี้เสียของสถาบันการเงินสหรัฐฯ ยังต้องรอการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่แน่ชัด เพราะหากรัฐบาลประเมินราคาต่ำกว่าตลาดมากอาจเป็นผลให้ธนาคารต้องเพิ่มทุนและ ตั้งสำรองมากขึ้น ซึ่งถือเป็นข่าวลบต่อระบบการเงินอีกครั้ง
กลยุทธ์ แนะนำขายลดพอร์ต แนวรับ 430 จุด แนวต้าน 444 จุด


****TWZ โดดร่วมช่วยชาติ เช็ค 2,000 แลกมือถือ 2,490 บาท
นายพุทธชาติ รังคสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)(TWZ) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ขานรับนโยบายรัฐ ออกโปรโมชั่นช่วยชาติ นำ
“เช็คช่วยชาติ” 2,000 บาทของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) มาแลกซื้อโทรศัพท์มือถือยี่ห้อทีดับบลิวแซดและนกเทล 5 รุ่นนิยม ราคาตั้งแต่ 2,290-2,490 บาทได้ทันที หรือรับสิทธิส่วนลดพิเศษสุด 500 บาท เมื่อนำเช็คช่วยชาติมาซื้อมือถือทีดับบลิวแซดและนกเทลราคา 2,590 บาทขึ้นไป


****BIGC เตรียมโปรโมชั่นเรียกลูกค้าเต็มที่ ฟุ้งเพิ่มมูลค่าเงินเกิน 2 พันบาทแน่
นางสาวรำภา คำหอมรื่น รองประธานฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BIGC กล่าวว่า บริษัทฯ เตรียมกลยุทธ์รองรับการใช้เช็ค 2 พันบาทในหลายรูปแบบ แต่ที่สำคัญรับรองว่าจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สูงกว่าเงิน 2 พันบาทอย่างแน่นอน โดยอาจมีทั้งลักษณะของการตั้งโต๊ะแลกเช็คเงินสดที่ให้มูลค่าเพิ่ม รวมถึงให้สิทธิพิเศษในการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในราคาไม่เกิน 2 พันบาท หรือในช่วงที่ใกล้จะเปิดเทอม ผู้บริโภคจะเข้ามาซื้อหาอุปกรณ์เรียนรวมถึงชุดนักเรียนมาก ทางห้างอาจจะเป็นการลดแลกแจกแถมในแคมเปญ Back To School
นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของโทรศัพท์มือถือราคาถูกที่จะทำให้ผู้บริโภคได้ใช้เงิน 2 พันบาทอย่างคุ้มค่า และเป็นการใช้เงินทีเดียวทั้งก้อนเพื่อความสะดวกและการประหยัดค่าใช้จ่ายใน การแลกเช็ค


****** เครือเซ็นทรัลฯ คาดช่วงจัดแคมเปญเช็คช่วยชาติระหว่าง 25 มี.ค. - 1 พ.ค.นี้ ดันยอดขายกว่า 1 พันลบ.หรือ 5%
นายอลัน นามชัยศิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวคาดว่าในช่วงวันที่ 25 มี.ค. ถึงวันที่ 1 พ.ค.ในแคมเปญช็อปช่วยชาติจะช่วยหนุนยอดขายของเครือเซ็นทรัลรีเทลฯ ให้เพิ่มขึ้นกว่า 1 พันล้านบาท หรือ 5% จากการที่ผู้ประกันตนนำเช็คมาซื้อสินค้าที่มีทั้งส่วนลดและโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม จะสามารถเป็นจุดดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ในช่วงการจัดแคมเปญดังกล่าวบริษัทฯ ใช้งบประมาณในการลงทุนและให้ส่วนลดแก่ผู้ประกันตนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท ถึง 500 ล้านบาท ซึ่งเป็นการให้ความร่วมมือกับรัฐบาลและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น สำหรับนโยบายของรัฐบาลเช็คช่วยชาติ 2 พันบาทนั้นเป็นนโยบายที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี และช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท เหมือนกับประเทศไต้หวันที่ยังคงใช้มาตรการดังกล่าวแล้วมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตามในส่วนของ ZEN ได้ตั้งเป้ายอดขายของปีนี้เพิ่มขึ้น 30% จากปีก่อนที่ 1.8 พันล้านบาท เพราะ ZEN มีมาตรการที่จูงใจลูกค้าทั้งทุกกลุ่มพร้อมทั้งในช่วง High Season เดือนมี.ค.เม.ย. และพ.ค.ทางห้าง ZEN จะจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม ตามเคาส์เตอร์ปกติเพื่อกระตุ้นยอดขายเช่นกัน

http://www.efinancethai.com/hotnews/hot/h_250309h.asp

-------------------------------------------------
ธุรกิจ
วันที่ 24 มิถุนายน 2553 14:55
ห้างอิเซตันเปิดวันนี้ ผู้บริหารญี่ปุ่นยันไทยยังน่าลงทุน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ห้างสรรพสินค้าอิเซตันเปิดจำหน่ายวันแรกวันนี้ ลดราคา สินค้า 20-80% จูงใจ ผู้บริหารญี่ปุ่นยันไม่คิดถอนการลงทุนจากไทย

วันนี้(24มิ.ย.) ห้างสรรพสินค้าอิเซตันได้เปิดจำหน่ายเป็นวันแรก หลังเกิดเหตุชุมนุมและเพลิงไหม้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมกับผู้บริหารชาวญี่ปุ่นของห้างอิเซตัน และผู้บริหารกลุ่มเซ็นทรัล ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ

นายทาเคชิ อิโต กรรมการผู้จัดการใหญ่ ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน กล่าวว่า อิเซตันเป็นห้างของญี่ปุ่นที่เปิดสาขาในไทย 18 ปีแล้ว และยังไม่คิดถอนการลงทุนจากประเทศไทย เพียงแต่ยอมรับว่าหวั่นเกรงจะเกิดเหตุชุมนุมกระจายไปยังพื้นที่เศรษฐกิจอื่นที่กว้างใหญ่กว่านี้ ซึ่งบริษัทแม่ยังจับตาอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนตัวที่ได้เดินทางมาไทยในช่วงหลังเกิดเหตุการณ์ พบว่า คนไทยยังยิ้มแย้มแจ่มใส สะท้อนเห็นว่าเมืองไทยยังน่าอยู่น่าลงทุน จึงอยากให้การเมืองสงบ ส่วนการเปิดช่วงแรก ได้ลดราคาสินค้าเพื่อจูงใจตั้งแต่ 20-80%

นายนริศ เชยกลิ่น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา เปิดเผยว่า ได้เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยเข้มงวดกว่าปกติ โดยเร็ว ๆ นี้จะใช้เงินเบื้องต้น 10 ล้านบาท นำระบบสแกนวัตถุระเบิดและอาวุธมาติดตั้งทางเข้าออกทุกด้าน ส่วนการเปิดห้างอิเซตันในขณะที่กำลังซ่อมแซมในส่วนของพลาซ่า อาจมีผลต่อการจับจ่ายบ้าง แต่ก็ใช้บิลบอร์ดขนาดใหญ่กั้นไว้ ซึ่งคาดว่าพลาซ่าจะเปิดได้เดือนตุลาคมนี้ หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนห้างสรรพสินค้าเซน ที่ถูกไฟไหม้ทั้งหมด กำลังรอประเมินโครงสร้าง คาดเปิดได้ทั้งหมดสิงหาคมปีหน้า

สำหรับบรรยากาศด้านหน้าห้างสรรพสินค้า บรรดาพ่อค้าแม่ค้าแผงลอยได้เริ่มมาตั้งร้านจำหน่ายเป็นวันแรกเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ระบุตรงกันว่าขายได้น้อย เพราะลูกค้ายังไม่มาก ขณะเดียวกัน ได้มีประชาชนนำดอกไม้ธูปเทียนมาสักการะ พระตรีมูรติ และพระพิฆเนศ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้านหน้าห้างอิเซตัน

น.ส.อมรรัตน์ ดาเดเลาะ เจ้าของร้านดอกไม้กล่าวว่า วันนี้ต้องลงทุนถึง 20,000 บาท เพื่อซื้อทั้งโต๊ะ ร่ม อุปกรณ์ และดอกไม้ เนื่องจากสิ่งของถูกขโมยไปทั้งหมด แต่วันนี้ขายได้น้อย จากปกติวันพฤหัสบดีจะเป็นวันไหว้ แต่กลับมีคนมาน้อยมาก คาดว่าคนยังไม่มั่นใจในการจับจ่ายและความปลอดภัยในบริเวณหน้าห้างฯ พร้อมกับร้องเรียนว่า มีผู้ค้าแผงลอยนับร้อยรายที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือในฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากทางการเลย แม้ว่าจะไปลงทะเบียนไว้ที่เขตปทุมวันแล้วก็ตาม

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20100624/339511/ห้างอิเซตันเปิดวันนี้-ผู้บริหารญี่ปุ่นยันไทยยังน่าลงทุน.html

-----------------------------------------------------------

100ค้าปลีกฮือขู่บุกทำเนียบ 'เซ็นทรัล'นำทัพชนรัฐบาล

กลุ่มทุนค้าปลีกยักษ์ออกโรงผนึกกำลังผู้ประกอบการกว่า 100 บริษัท เปิดประชุมลับซาวน์เสียงคัดค้านร่างพ.ร.บ. ค้าปลีกค้าส่งฯ ก่อนสร้างเครือข่ายยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี - รมต.พาณิชย์ ระบุเชนสโตร์ – เอสเอ็มอี รวมถึงธุรกิจสิ่งทอ เครื่องหนัง อาหาร กระทบกราวรูด ด้าน ก. พาณิชย์ เร่งดันร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกฯ เข้าสนช.เต็มสปีด คาดสัปดาห์หน้ารู้ผล
ขณะที่ร่างพ.ร.บ. การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ ฉบับของกระทรวงพาณิชย์ และฉบับคณะกรรมาธิการพาณิชย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อยู่ระหว่างการพิจารณา และยังไม่มีทีท่าว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนตามที่กำหนดไว้นั้น ล่าสุดกลุ่มผู้ประกอบการศูนย์การค้า นำโดยนายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (CPN) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา และประธานสมาคมศูนย์การค้าไทย ได้ออกมาเคลื่อนไหว ด้วยการเรียกประชุมผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ในศูนย์การค้าเซ็นทรัล เพื่อรับฟังความคิดเห็นและนำเสนอแนวทางการแก้ไขเบื้องต้น
โดยนายกอบชัย กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หลังจากที่ได้ศึกษาร่าง พ.ร.บ. ค้าปลีกค้าส่งฯ ทั้งสองฉบับพบว่า มีหลายมาตราที่ยังขาดความชัดเจน และจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการค้าปลีกในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่มีเชนสโตร์ อาทิ ร้านอาหาร ร้านเสื้อผ้าแฟชั่น ร้านเครื่องหนัง ร้านหนังสือ เป็นต้น โดยมาตราที่เข้มข้นและมีผลกระทบมากที่สุดคือ มาตรา 24 ของร่าง พ.ร.บ. ค้าปลีกค้าส่งฯ ฉบับ สนช. ซึ่งค่อนข้างมีความซับซ้อน และยากต่อการปฏิบัติ ซึ่งในฐานะที่บริษัทเป็นผู้บริหารศูนย์การค้า และมีเครือข่ายร้านค้าที่ร่วมเป็นพันธมิตรจำนวนมาก จึงเรียกประชุมร้านค้าเช่าที่มีเชนสโตร์ เพื่อบอกกล่าวความคืบหน้าและผลที่เกิดขึ้นจากร่างพ.ร.บ. ค้าปลีกค้าส่งฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็น และแนวทางการปฏิบัติ
หลังจากนั้นจะมีการจัดทำหนังสือ เพื่อยื่นต่อนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาหอการค้า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ เพื่อชี้แจงถึงแนวทางการใช้กฎหมายที่ผิดวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาในภาคธุรกิจค้าปลีก นอกจากนี้ยังมีการแบ่งการทำงานด้วยการให้ผู้ประกอบการแต่ละธุรกิจนำเสนอเรื่องไปยังหน่วยงานที่สังกัด เช่น ธุรกิจแฟชั่นเสื้อผ้า จะนำเสนอต่อสภาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ธุรกิจเครื่องหนัง นำเสนอต่อสภาอุตสาหกรรมเครื่องหนัง เป็นต้น เพื่อให้ช่วยผลักดันและบอกต่อถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว
ทั้งนี้จากการสอบถามผู้ประกอบการายหนึ่งกล่าวว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการอัพเดทข้อมูล เพราะที่ผ่านมาหลายฝ่ายคิดว่าการจัดทำร่างพ.ร.บ. ค้าปลีกค้าส่งฯ มีผลกับกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีก ประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือดิสเคาน์สโตร์เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในวงกว้าง ทั้งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงธุรกิจกับร้านโชวห่วยเลย
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการค้าปลีกจากเชนสโตร์ที่เข้าร่วมประชุมกว่า 100 รายนั้นส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ค้าปลีกค้าส่งฯ ทั้งสองฉบับ เพราะขาดความชัดเจน อีกทั้งที่ผ่านมาเชื่อว่าผู้จัดทำร่างไม่ได้คิดถึงผู้ประกอบการธุรกิจอื่นๆในวงกว้าง
"ต่อไปหากจะเปิดสาขาใหม่ ต้องขออนุญาต ต้องแจ้งคณะกรรมการ และอีกหลายต่อหลายเรื่องกว่าจะได้รับการอนุมัติหรือเปิดสาขาได้คาดว่าต้องใช้เวลา 6-12 เดือน แทนที่ธุรกิจจะเดินหน้าได้เร็วขึ้น ก็ลำบาก" ผู้ประกอบการรายหนึ่งกล่าว
ด้านนายตะติยะ ซอโสตถิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ค้าปลีกค้าส่งฯ ดังกล่าวมีผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีก ศูนย์การค้าในวงกว้าง แม้ซีคอนสแควร์จะไม่มีแผนลงทุนศูนย์การค้าใหม่ แต่การดำเนินธุรกิจย่อมมีการรีโนเวต หรือลงทุนในศูนย์ตลอดเวลา เพื่อรองรับกับการแข่งขันที่รุนแรง และพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ที่ผ่านมาผู้ประกอบการศูนย์การค้าภายใต้สมาคมศูนย์การค้าไทยได้มีการหารือถึงปัญหาและเตรียมที่จะเดินสายชี้แจงปัญหาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ. ค้าปลีกค้าส่งฯ ฉบับกระทรวงพาณิชย์ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา ว่า ล่าสุดแล้วเสร็จ และนำเสนอต่อมายังกระทรวงพาณิชย์แล้วในวันอังคาร (25 ก.ย. ) ที่ผ่านมา และได้มีการประชุมเพื่อทำความเข้าใจเป็นครั้งสุดท้าย และคาดว่าจะสามารถเสนอเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า ก่อนส่งต่อยังสนช. เพื่อประกาศใช้ในเร็วๆนี้
อนึ่งในมาตรา 24 ของร่าง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ ฉบับสนช. มีสาระสำคัญดังนี้ (1) การประกอบธุรกิจซึ่งมีขนาดพื้นที่ขายของสถานประกอบกิจการขายสินค้าแห่งใดแห่งหนึ่ง ตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป (2) การประกอบธุรกิจที่มียอดรายได้ในปีที่ผ่านมาของทุกสาขารวมกันตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป (3) การประกอบธุรกิจที่มีขนาดพื้นที่ขายของสถานประกอบกิจการขายสินค้าต่ำกว่า 1,000 ตร.ม.ที่ใช้ชื่อในการประกอบธุรกิจ โดยมีส่วนหนึ่งส่วนใดของชื่อ ประกอบด้วย ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการ ของผู้ประกอบธุรกิจนั้นเองหรือโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลอื่นที่เป็นเจ้าของชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการ จะต้องขออนุญาต ประกอบธุรกิจ

Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th)
Wednesday, September 26, 2007 06:47

http://www.takchamber.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5313519&Ntype=1

-----------------------------------------------------

เซ็นทรัลวอนรัฐ หยุดแทรกแซง ธุรกิจค้าปลีก
20 หอทั่วปท.มอบโล่"เนวิน"คุมค้าปลีกนอก


กลุ่มเซ็นทรัล วอนรัฐบาลหยุดล้วงลูกธุรกิจค้าปลีก ระบุการแก้ปัญหาต้องให้เอกชนดำเนินการกันเอง ส่วนรัฐทำหน้าที่เพียงออกกติกาควบคุมเท่านั้น ด้าน"เนวิน"เตรียมสรุปผลพิจารณาลงโทษ 6 ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ เสนอคณะอนุกรรมการแข่งขันทางการค้าชุดใหญ่วันที่ 9 ต.ค.นี้

นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (เซ็นทรัลรีเทล) ได้ออกมาเรียกร้องต่อรัฐบาลถึงแนวทางการแก้ปัญหาภาคธุรกิจค้าปลีกว่า รัฐบาลควรจะดูแลควบคุมโดยการออกนโยบาย แต่ไม่ใช่การเข้าไปแทรกแซงในทุกจุดที่เกิดปัญหา

"เมื่อมีปัญหาหรือข้อเสียเกิดขึ้น ก็ต้องแก้เฉพาะที่จุดเสีย แต่ขณะนี้กลายเป็นว่า รัฐเข้ามามีบทบาทไปทุกเรื่องและไปดึงเอาสิ่งที่เป็นข้อจำกัดของแต่ละประเทศมามากกว่า ซึ่งจะเป็นผลเสียในระยะยาว จึงอยู่ที่นโยบายรัฐจะเข้ามาเล่นแค่ไหน ควรหรือไม่ควร"นายทศ กล่าว

เขากล่าวว่า ทั้งในธุรกิจค้าปลีกหรือธุรกิจอื่นๆ รัฐควรจะเข้ามามีบทบาทให้น้อยที่สุด การสร้างมาตรการควบคุมออกมา เป็นสิ่งที่กระทำได้ เพราะในทางปฏิบัติผู้ประกอบการ ต้องดำเนินตามกฎหมายประเทศไทยอยู่แล้ว แต่การที่ธุรกิจจะต้องผ่านขั้นตอน กระบวนการต่างๆมากมาย ซึ่งไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ย่อมมีปัญหาตามมาแน่นอน

ส่วนแนวทางแก้ปัญหาภาคธุรกิจค้าปลีกของภาครัฐ ผ่านกฎหมายธุรกิจค้าปลีกของรัฐ นายทศ กล่าวว่า ไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนของผู้ประกอบการไทยมากนัก เพราะความเป็นธุรกิจคนไทย อย่างไรก็ต้องลงทุนในเมืองไทย แต่อาจจะมีปัญหาทางด้านโซนนิ่ง ที่ยังไม่ทราบว่าจะออกมาอย่างไร

ขณะที่ผู้ค้าปลีกข้ามชาติ ซึ่งมีทางเลือกมากกว่านักธุรกิจไทย อาจจะมีผลในแง่การลงทุนที่อาจหันไปมองประเทศที่มีขั้นตอนการปฏิบัติง่ายกว่า ปัจจุบันเมืองไทยกำลังมีปัญหาต่างจากอดีต ที่การดำเนินธุรกิจค่อนข้างเสรี

ย้ำยังไม่ได้รับหนังสือลงโทษ

ส่วนกรณีที่คณะอนุกรรมการแข่งขันทางการค้า มีข้อระบุในเบื้องต้นว่า พฤติกรรมการค้าของผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่ง 5 รายใหญ่ เข้าข่ายประพฤติการค้าไม่เป็นธรรมตามมาตรา 29 ในพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าซึ่งจะมีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าพิจารณาในเร็วๆ นี้ โดยเซ็นทรัลรีเทล เป็น 1 ใน 5 ผู้ประกอบการซึ่งได้รับการร้องเรียนจากซัพพลายเออร์ กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการดำเนินงานของศูนย์เติมและกระจายสินค้า หรือ ศูนย์อาร์ซี

นายทศ กล่าวว่า ได้เข้าไปชี้แจง 2 ครั้งแล้ว ปัจจุบันทางกระทรวงพาณิชย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ยังไม่มีหนังสืออย่างเป็นทางการ ระบุถึงความผิดมาแต่อย่างใด นอกจากการรับทราบทางสื่อต่างๆ โดยได้รับแจ้งว่าจะมีการชี้แจงในวันที่ 2 ต.ค. นี้ เท่านั้น แต่กระทั่งปัจจุบัน ยังไม่มีหนังสือชี้แจงแต่อย่างใด

"ที่บอกว่าเราผิดเรื่องเวลา ไม่เห็นเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งหมดเป็นเรื่องของการค้า ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยน ช่วงหลังซัพพลายเออร์ ที่มีปัญหาหรือได้รับความเดือดร้อน ไม่เคยมาคุยกับเรา แต่ไปคุยกับกระทรวงฯ กลายเป็นว่าเรื่องทุกอย่างผ่านกระทรวงฯ โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าใครมีปัญหาและต้องการอย่างไร การจะต้องเปลี่ยนระบบทั้งหมด เพื่อคน 2-3 คนเป็นเรื่องตลก" นายทศ กล่าว

"ที่ผ่านมาซัพพลายเออร์ที่มีปัญหา มีเพียง 10 กว่ารายเท่านั้น ที่เข้ามาเจรจาและจัดการแก้ไขร่วมกันไปเรียบร้อยไปแล้ว"

"เนวิน"เตรียมเสนอลงดาบ 9 ต.ค.นี้

ด้านนายเนวิน ชิดชอบ รมช.พาณิชย์ กล่าวถึงการที่คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อร้องเรียนของกรณีห้างเซ็นทรัล ขอยืนยันว่า คณะอนุกรรมการแข่งขันทางการค้าพิจารณาอย่างเป็นธรรมที่สุด เพราะมีการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน โดยผู้ส่งสินค้าผ่านระบบอาร์ซี สามารถส่งสินค้าได้เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ตั้งแต่ 20.00-08.00 น.ของอีกวัน แต่ซัพพลายเออร์ทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกระบบอาร์ซีสามารถส่งสินค้าได้เพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น คือตั้งแต่ 02.00-04.00 น. "กระทรวงพาณิชย์ยืนยันว่า ยึดมั่นในระบบการค้าเสรี แต่การค้าเสรีทั่วโลกต้องมีกติกา แม้กระทั่งองค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) ยังต้องมีการเจรจา วางกรอบกติกาให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกๆ ฝ่าย"นายเนวิน ระบุ นายเนวิน กล่าวอีกว่าในวันที่ 9 ต.ค.นี้ ตนจะทำรายงานผลการพิจารณาทั้งหมด พร้อมหลักเกณฑ์การปฏิบัติ ให้กับคณะกรรมการชุดใหญ่ ที่มีนายอดิศัย โพธารามิก รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน

" ผมเชื่อว่าสิ่งที่คณะอนุกรรมการฯดำเนินการไปนั้นเป็นธรรมแล้ว ไม่ได้เลือกปฏิบัติ ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงคงไม่มีข้อร้องเรียนแน่นอน" ขณะเดียวกันวานนี้ (1 ต.ค.) ผู้แทนหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด 20 จังหวัด และสมาคมผู้ค้าปลีก-ส่งไทย ประมาณ 50 คน นำโดยนายสมควร นกหงษ์ ประธานหอการค้าจ.ชลบุรี นายสมชาย พรรัตนะเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และนายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ รองประธานหอการค้าจ.นครราชสีมา มอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่นายอดิศัย และนายเนวิน ชิดชอบ ที่เร่งผลักดันการออก พ.ร.บ.ว่าด้วยการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ….และการจัดระเบียบการค้าปลีก

ขอบคุณรมต.ช่วยแก้ปัญหาค้าปลีก นายทวิสันต์ กล่าวว่าหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด สมาคมค้าปลีก-ส่งไทย ขอบคุณรัฐมนตรีพาณิชย์ ที่ให้ความสำคัญผลักดันกฎหมาย จัดการแก้ปัญหาค้าปลีก เพื่อคนไทย เพราะปัญหาค้าปลีกได้กระทบกับผู้ประกอบการรายย่อย เอสเอ็มอี 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบลทั้งหมด รวมทั้งการบริโภคของประเทศด้วย การเข้ามาของค้าปลีกรายใหญ่ทำให้มีการบริโภคเกินตัวของคนไทย การที่รัฐบาลแก้ปัญหาจึงช่วยเหลือคนไทย ขณะที่นายอดิศัย กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์พยายามบริหารงานให้เกิดความสมดุล กับทุกฝ่าย โดยงานที่แก้ปัญหามักมี 2 ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้น แต่ต้องคำนึงถึงประเทศชาติเป็นหลัก ทุกฝ่ายจะต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน ส่วนปัญหาของธุรกิจค้าปลีกที่เกิดขึ้น เป็นเพราะการปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลง แต่ไทยจะไปปิดกั้นการลงทุนจากต่างประเทศไม่ได้ ขณะเดียวกันต้องพยายามหาทางเพื่อให้อยู่รอดด้วยตัวเองให้ได้ รับตัวเอง เน้นการบริหารจัดการของตนเองด้วย ให้มีความสะดวก ราคาไม่แพง และเชื่อมโยงเครือข่ายให้ใหญ่ขึ้น เพื่อต่อสู้ภายในประเทศและต่อสู้กับต่างประเทศ สำหรับการแก้ไขปัญหาการค้าปลีกของกระทรวง ทั้งการจัดระเบียบการค้าปลีกและการเร่งผลักดัน พ.ร.บ.ว่าด้วยการประกอบธุรกิจการค้าปลีกค้าส่งนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการอย่างรอบคอบ และสอบถามข้อมูลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในหลายระดับ

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums/http/www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I1791850/I1791850.html

--------------------------------------------------

ลุ้นเซ็นทรัลลาดพร้าวต่อสัญญาเป็น22ปี ยกเจตนารัฐช่วยเหยื่อการเมือง19พ.ค.
วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 09:45:06 น.

ร.ฟ.ท.ยังไร้คำตอบขยายสัญญาเช่าที่ให้ เซ็นทรัล ลาดพร้าว อีก 2 ปี จาก 20 ปี เหตุเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน กลุ่มเซ็นทรัลยังหวัง ชี้เป็นเจตนาของรัฐอยากช่วยผู้ได้รับผลกระทบการเมือง 19 พ.ค. เผยผู้ประกอบการ-เอสเอ็มอี ได้ประโยชน์ด้วย

นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และศูนย์การค้าเซ็นทรัลทุกสาขา เปิดเผยถึงกรณียังไม่ได้รับการต่อสัญญาบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าวออกไปอีก 2 ปี (เพิ่มเติมจากที่ได้รับการต่ออายุแล้ว 20 ปี) ตามคำขอของกลุ่มเซ็นทรัลเพื่อชดเชยผลกระทบจากกรณีได้รับผลกระทบในเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ว่า เชื่อว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะคู่สัญญา คงจะมีการเจรจาเรื่องนี้ ซึ่งการเสนอขอต่ออายุสัญญาออกไปอีก 2 ปีนั้น เห็นว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องการเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา และไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเซ็นทรัลเท่านั้นที่ได้ แต่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ รวมทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อีกหลายส่วนได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐในครั้งนี้ด้วย ส่วนค่าเสียหายจากเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา เข้าใจว่าภาครัฐได้ดำเนินการอยู่แล้ว หากรัฐบาลได้ดำเนินการแล้ว บริษัทคงจะไม่ดำเนินการเรียกร้องอะไรในส่วนนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้บริษัทได้ยื่นข้อเสนอขอรับการชดเชยด้วยการขอขยายอายุสัญญาเช่าที่ดินบริเวณดังกล่าวออกไปอีก 2 ปี จากที่เพิ่งได้รับการต่อสัญญาระยะเวลา 20 ปี เพื่อรองรับผลกระทบจากเซ็นทรัลเวิลด์ แต่ ร.ฟ.ท.ได้ทำหนังสือหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าการขอต่ออายุอีก 2 ปี เข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หรือไม่ แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่รับพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่การหารือเรื่องข้อกฎหมาย และการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา มีข้อสรุปว่าการขอขยายสัญญามีมูลค่าเกิน 1 พันล้านบาท ต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1285036540&grpid=03&catid=05

-----------------------------------------------------------

กลุ่มเซ็นทรัลอาศัยช่วงชุนมุน ขอขยายเวลาเช่าเซ็นทรัลลาดพร้าว
โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 4 มิถุนายน 2553 14:36 น.

*กลุ่มเซ็นทรัล ฉวยจังหวะชุนมุน ยื่นรัฐบาลขอขยายสัญญาเช่าสามเหลี่ยมดินแดงอีก 1ปี แลกไม่ปลดคนออก-ไม่เก็บค่าเช่า

*คมนาคมโยน รฟท.ตัดสิน อ้างไม่มีอำนาจขยายสัญญา

*ประธานบอร์ดรฟท. สั่งรฟท.ตั้งคณะกรรมการมาตร13 ศึกษาข้อกม.หวั่นครหาเอื้อเอกชน

ท่ามกลางการเร่งเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง จากการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงบริเวณย่านธุรกิจสำคัญหลายแห่งและเกิดการวางเพลิงเผาอาคารห้างร้าน สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจทั้งระบบ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้ารายย่อยที่ต่างได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว แต่กลับมีกลุ่มนายทุนโดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัล พัฒนา อาศัยจังหวะที่รัฐบาลเยียวยาช่วยเหลือผู้ประกอบการ เสนอให้รัฐบาลขยายสัญญาเช่าบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง(เซ็นทรัลลาดพร้าว) ออกไปอีก 1 ปี แลกกับการไม่ต้องไล่พนักงานออกและไม่เก็บค่าเช่าผู้ค้ารายย่อยที่จะย้ายไปขายของที่เซ็นทรัลลาดพร้าว โดยเรื่องดังกล่าวเสนอไปยังคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมโดยมีกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขานุการนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธาน ที่เห็นดีเห็นงามกับข้อเสนอดังกล่าว โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของภาครัฐว่าจะเสียผลประโยชน์หรือไม่ โดยให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้พิจารณาว่าจะขยายอายุสัญญาหรือไม่

โสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แม้ว่าจะไม่ตอบรับหรือปฏิเสธกับข้อเสนอที่เซ็ลทรัลเสนอ แต่ก็ได้สั่งให้ประธานบอร์ดรฟท.และผู้ว่ารฟท. ตั้งคณะกรรมการมาตร13 เพื่อศึกษาว่าการขยายสัญญาเช่าขัดกับข้อกฏหมายหรือไม่

สุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า การขยายอายุสัญญาเช่าที่บริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธิน จาก 20 ปีเป็น21 ปีให้กับบริษัท เซ็นทรัล อินเตอร์พัฒนา จำกัด ตามที่เซ็นทรัลยื่นข้อเสนอให้รัฐบาล โดยอ้างถึงผลกระทบกรณีศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ถูกเผานั้น ตนมองว่าเรื่องดังกล่าวกระทรวงคมนาคมไม่มีอำนาจพิจารณา แต่เป็นเรื่องที่รฟท.จะต้องพิจารณารวมถึงหาข้อมูลเปรียบเทียบ เพราะเกรงว่าจะถูกครหาว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน ซึ่งขั้นตอนจากนี้รอหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล เพราะเซ็นทรัลเสนอผ่านรัฐบาลโดยหลังจากได้รับหนังสือแล้ว กระทรวงคมนาคมจะส่งเรื่องให้รฟท.ในการแต่งตั้งตัวแทนจาก รฟท.เข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการตามมาตรา 13 จากนั้นส่งหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักอัยการ สภาพัฒน์ เข้าร่วมเป็นกรรมการ ทั้งนี้คณะกรรมการตามมาตรา 13 จะมีอำนาจสิทธิขาดในการพิจารณาตัดสินในเรื่องนี้ เพราะผู้บริหารรฟท. กระทรวงคมนาคม หรือรัฐบาลไม่สามารถที่จะสั่งการได้ และผลการพิจารณาของคณะกรรมการชุดนี้ถือเป็นที่สุดไม่ว่า ผลออกมาอย่างไรทุกฝ่ายต้องยอมรับ

ส่วนกรอบแนวทางหลักในการพิจารณา คณะกรรมการฯ จะพิจารณาในรายละเอียดข้อกฎหมายว่าสามารถต่อสัญญาเช่าพื้นที่ได้หรือไม่ และมีเงื่อนไขอะไร รวมถึงศึกษาเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าข้อเสนอของเซ็นทรัลมีข้อดี ข้อเสียหรือเป็นประโยชน์กับ รฟท.หรือไม่ รวมถึงการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้ามาประเมินผลทางธุรกิจทั้งนี้คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 – 3 เดือน

สุพจน์กล่าวอีกว่า “เรื่องดังกล่าวต้องทำให้รอบคอบ เพราะอาจถูกครหาว่า รฟท.ไปเอื้อประโยชน์ให้กับเซ็นทรัลได้ ซึ่งในเงื่อนไข ทางเซ็นทรัลต้องปรับปรุงพื้นที่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่การมาขอชดเชยโดยยืดอายุสัญญาอีก 1 ปี เท่ากับว่าเวลาที่ปรับปรุงพื้นที่ 6 เดือนได้ไปฟรีและยังมีเวลาอีก 6 เดือนในการสร้างรายได้อีกด้วย ดังนั้นหากจะต่ออายุก็ต้องจ่ายค่าใช้พื้นที่ตามสัญญาและคิดตามอัตราต่อในปีที่ 21 จะยกเว้นให้ฟรี 1 ปี คงเป็นไปไม่ได้”

สอดคล้องกับทวีศักดิ์ สุทธิเสริม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน รฟท.ที่บอกว่า รฟท.จะต้องตั้งคณะกรรมการมาตร13 ขึ้นมา เพราะการขยายอายุสัญญาเช่าตามที่เซ็นทรัลร้องขอนั้น ขั้นตอนในการดำเนินการต้องเหมือนกับการต่อสัญญาเช่าครั้งแรกที่เซ็นทรัลได้อายุสัญญา 20 ปี อีกทั้งคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต้องให้ความเห็นชอบก่อน ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมและรฟท.ไม่มีสิทธิแสดงความเห็น เพราะเป็นเรื่องที่ครม.ต้องตัดสินใจว่าจะอนุมัติขยายสัญญาหรือไม่ แต่ทั้งนี้หากมีการขยายสัญญาเช่า เซ็นทรัลจะต้องจ่ายค่าเช่าให้กับรฟท.และต้องนับเป็นปีที่ 21 เช่น ค่าเช่าในปีที่ 20 กำหนดให้เซ็นทรัลจ่ายให้รฟท.1,700 ล้านบาท ดังนั้นในปีที่ 21 เซ็นทรัลจะต้องจ่ายมากกว่า 1,700 ล้านบาทตามสัญญา

“การนำเคสเซ็นทรัลเวิลด์ซึ่งเช่ากับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาอ้างกับรฟท.ไม่ได้ เพราะผู้ให้เช่าเป็นคนละรายกัน อีกทั้งเหตุเกิดที่เซ็นทรัลเวิลด์ ไม่ใช่เกิดที่เซ็นทรัลลาดพร้าว ดังนั้นการจะมาขอขยายสัญญาโดยอ้างเพื่อแลกกับช่วยเหลือผู้ค้านั้นคนละเรื่องกัน เรื่องช่วยเหลือผู้ค้าก็ต้องช่วย แต่การต่อขยายสัญญาจะต้องทำเป็นขั้นเป็นตอนและต้องเก็บค่าเช่าเพิ่มอีก 1 ปีด้วย เพราะหากไม่เก็บค่าเช่า รฟท.ก็จะตอบสังคมตอบผู้เช่ารายอื่นไม่ได้” ทวีศักดิ์กล่าว

ทั้งนี้การต่อสัญญาเช่าบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธิน ระหว่างบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เกิดขึ้นเมื่อปลายปี2551 ช่วงสันติ พร้อมพัฒน์ นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและดูเป็นไปด้วยความรีบร้อน ไม่มีการเปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ มีต่อสัญญาเช่าเกิดขึ้นระหว่างที่มีการประชุมครม.สัญจรในจังหวัดทางภาคเหนือ โดยทั้งนี้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าการต่อสัญญาเช่าดังกล่าวก็เพื่อให้ทันก่อนที่จะมีการยุบพรรคพลังประชาชนในขณะนั้น ซึ่งสุดท้ายเซ็นทรัลก็ได้ต่อสัญญาตามที่ต้องการ โดยสัญญาเช่าฉบับล่าสุดมีอายุสัญญา 20 ปี โดยผลตอบแทนตลอด 20 ปี เป็นจำนวนเงิน ทั้งสิ้น 21,298,833,000 บาท คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 11,580,001,322 บาท โดยแบ่งเป็นการชำระค่าเช่าล่วงหน้า (upfront fee) 5 งวด ใน 4 ปี ประมาณ20 %ของมูลค่าปัจจุบัน เป็นเงิน 2,611,103,000 บาท และผ่อนชำระค่าเช่ารายปีอีก 20 งวด รวม 18,687,730,000 บาท ไม่รวมค่าปรับปรุง ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่รฟท.จะได้รับจากการต่ออายุสัญญา

http://www2.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9530000077198

-------------------------------------------

อัด เซ็นทรัล หาช่องต่อสัญญา

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2010

คมนาคมจวก CPN ขอต่อสัญญาเซ็นทรัล ลาดพร้าว อีก 1 ปี เป็นการฉวยโอกาส ทั้งที่ตัวเองไม่ได้รับความเสียมากนัก ระบุความจริงอยากได้รับการชดเชยช่วงที่ต้องปิดปรับปรุงอาคารตามสัญญาที่เซ็นกับรถไฟฯมากกว่า ด้านรองผู้ว่าการการรถไฟฯเผยพร้อมพิจารณาให้หากได้รับคำสั่งเป็นทางการ เชื่อไม่ต้องรื้อทั้งสัญญา แต่ใช้การบันทึกแนบท้ายได้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลขอขยายอายุสัญญาเช่าพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จาก 20 ปี เป็น 21 ปี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการก่อจลาจลและเผาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ว่า เบื้องต้นต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร เพราะสัญญาเช่าพื้นที่ 20 ปี ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงต้องมาทบทวนอัตราค่าเช่าหรือค่าตอบแทนต่างๆ ใหม่

อย่างไรก็ตามเห็นว่าความจริงแล้ว CPN ไม่ได้รับความเสียหายอะไรมากนัก การมายื่นข้อเสนอดังกล่าว เสมือนเป็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสของตัวเองมากกว่า? ซึ่งการปรับแก้สัญญาคงเป็นไปได้ยาก และไม่แน่ว่าจะต้องรื้อสัญญาทั้งหมดมาพิจารณาใหม่เพื่อขยายอายุเพียงแค่ 1 ปีหรือไม่

เรื่องนี้ต้องเข้าคณะกรรมการตามมาตรา 22 เพราะต้องดูรายละเอียดอีกหลายอย่าง ว่าจะทำได้หรือเปล่า ปรับเปลี่ยนอะไร อย่างไรบ้าง ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่าเป็นความเห็นแก่ตัวของ CPN เพราะที่จริงเขาก็ไม่ได้รับความเสียหายอะไรมากนัก เหมือนเขามาพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสของตัวเองที่จะขอขยายเวลา 1 ปี เพื่อชดเชยที่เขาต้องปิดปรับปรุงอาคารเซ็นทรัล ลาดพร้าว อยู่แล้ว ตามสัญญาที่เซ็นกับการรถไฟฯ คือ ถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไร เขาก็ต้องปิดปรับปรุงตามปกติ แล้วจะมาเรียกร้องอะไรไม่ได้ แต่พอเกิดเหตุนี้ขึ้นกลายเป็นว่ามาเรียกร้องเพื่อหาทางชดเชยรายได้ช่วงที่ต้องปิดปรับปรุง แหล่งข่าว กล่าว

นายอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า หากได้รับคำสั่งจากรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ร.ฟ.ท.ก็พร้อมพิจารณาให้ ซึ่งคณะกรรมการตามมาตรา 13 หรือ 22 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน จะเป็นผู้ดูแลรายละเอียดรวมทั้งความเหมาะสมและอัตราผลประโยชน์ตอบแทน อีกทั้งต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลด้วยว่า จะให้ ร.ฟ.ท.ช่วยเหลือ CPN ในลักษณะใดเพราะสถานที่เกิดเหตุ คือ เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญากับ ร.ฟ.ท. เช่น หากมีการต่อสัญญาจริง จะให้ ร.ฟ.ท.คิดผลตอบแทนโดยอิงกับหลักเกณฑ์เซ็นทรัล ลาดพร้าว หรือจะให้คิดอัตราแบบช่วยเหลือ

ทั้งนี้เบื้องต้นทราบว่า CPN จะขอขยายเวลาการปิดปรับปรุงอาคารเซ็นทรัล ลาดพร้าว ที่จะดำเนินการในเดือนพฤษภาคม 2553 ออกไปอีก 1-2 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการและพนักงานจากเซ็นทรัลเวิลด์ย้ายมาดำเนินงานที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว ก่อน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบให้กับธุรกิจที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้าทั้ง 2 แห่งดังกล่าว และเมื่อเซ็นทรัล ลาดพร้าว ปิดปรับปรุงแล้ว CPN ก็จะเสียโอกาสในการทำธุรกิจ จึงขอต่ออายุสัญญาอีก 1 ปีเพื่อชดเชย โดย ร.ฟ.ท.เชื่อว่าจะสามารถพิจารณาให้ได้ และไม่ต้องรื้อสัญญาเช่าทั้งหมด แต่ใช้วิธีบันทึกแนบท้ายสัญญาแทน

ตอนนี้เรายังไม่ได้รับเรื่องจากรัฐบาลอย่างเป็นทางการ คือ ทราบจากข่าวเท่านั้น ถ้ารัฐบาลส่งเรื่องมาแล้ว เราก็พร้อมพิจารณาให้ ตอนนี้เราจะทำอะไรเองไม่ได้เพราะพื้นที่เกิดเหตุ คือ เซ็นทรัลเวิลด์ไม่ใช่คู่สัญญากับเรา ซึ่งเหตุที่ CPN เขาเลือกเซ็นทรัล ลาดพร้าว ทั้งที่เขามีสาขาเยอะแยะ ก็เพราะว่าเซ็นทรัล ลาดพร้าว กำลังจะปิดปรับปรุง ดังนั้น ร้านที่มีสาขาทั้งเซ็นทรัลเวิลด์และลาดพร้าว อย่างสตาร์บัค แมคโดนัล ก็จะโดนปิดแบบ 2 เด้ง เขาเลยอยากขอขยายเวลาการปิดปรับปรุงที่ลาดพร้าวออกไปอีก 1-2 ปี เพื่อชดเชยให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ก่อน และพอถึงเวลาที่ต้องปิดปรับปรุงจริง เขาก็เสียโอกาสการทำธุรกิจ เลยอยากขอต่อสัญญาออกไปอีก 1 ปี เพื่อชดเชยรายได้ของเขาเอง ซึ่งเราก็ต้องแล้วแต่รัฐบาลว่าจะให้เราทำอย่างไร นายอิทธิพล กล่าว

http://www.kaohoon.com/daily/index.php?option=com_content&view=article&id=1010:lbrglbrg&catid=99:2010-04-30-03-41-37&Itemid=121
-------------------------------------------------
รฟท.จ่ออุ้มกลุ่มเซ็นทรัลชง'กก.ร่วมทุนฯ'ตัดสินต่อสัญญาเช่าที่ดินอีก 1 ปี

ผู้บริหารการรถไฟฯ ไม่กล้าขัดใจรัฐบาล เตรียมโยนให้ คณะกรรมการตามพรบ.ร่วมทุนฯ เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดว่าว่าจะต่อสัญญาเช่าที่ดิน 'เซ็นทรัล ลาดพร้าว'หรือไม่ หลัง 'กอร์ปศักดิ์'ขอให้ช่วยเยียวยาเอกชนจากเหตุจราจลวางเพลิงศูนย์การค้าย่านราชประสงค์

นายอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลขอขยายอายุสัญญาเช่าพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยม พหลโยธิน(ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว) ซึ่งเป็นที่ดินของร.ฟ.ท. จาก 20 ปี เป็น 21 ปี โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการก่อจลาจลและเผาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์นั้น หากรฟท.ได้รับนโยบายจากรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ก็พร้อมพิจารณาให้

http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:zC1MuAuJwKgJ:202.172.18.8/stockfocusnews/index.php%3Foption%3Dcom_multisitescontent%26view%3Darticle%26id%3D1350:-1--%26catid%3D1:2010-01-28-10-46-17%26Itemid%3D8%26site_id%3DCorehoon+&cd=34&hl=th
-------------------------------------------------
ผู้จัดการรายสัปดาห์18 สิงหาคม 2551
CPN เข้าวินต่อสัญญาเช่าที่ ร.ฟ.ท.ผลงานแรกพิสูจน์ "นคร จันทศร”

“นคร จันทศร” โชว์ผลงานชิ้นโบแดง สรุปผลต่อสัญญาเช่าที่ดินสามเหลี่ยมพหลโยธิน กลุ่มเซ็นทรัลเข้มวินไม่พลิกโผ ด้วยมูลค่า 21,000 ล้านบาท สูงกว่า MBK 35% อายุสัญญา 20 ปี เตรียมเสนอครม.อนุมัติใน 1 เดือน คาดเซ็นสัญญาทันก่อนหมดสัญญา

ความวุ่นวายของการต่อสัญญาเช่าบริเวณ สามเหลี่ยมพหลโยธิน ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)กับกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา(CPN) ที่จะหมดสัญญาลงในวันที่ 18 ธ.ค.นี้ มีมานาน 2-3 ปี เริ่มตั้งแต่สมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีการเจรจาต่อสัญญากันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ เนื่องจากภาครัฐเรียกเก็บค่าเช่าที่สูงเกินจริง ส่งผลการเจรจาครั้งนั้นล้มเหลว

จนมาถึงรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ก็มีการเจรจาต่อสัญญากันอีกรอบ โดยครั้งนั้นได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมีพลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ได้ทำหนังสือถึงธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขณะนั้น โดยเสนอให้ร.ฟ.ท.เปิดประกวดราคาคัดเลือกเอกชนรายใหม่เข้ามาร่วมประมูลด้วย เพื่อให้ร.ฟ.ท.ได้รับค่าเช่ามากกว่าเดิม ซึ่งคาดว่าหากมีการเปิดประกวดราคาร.ฟ.ท.อาจได้ผลตอบแทนถึง 50,000 ล้านบาท ในอายุสัญญา 30 ปี สุดท้ายก็ไม่มีบทสรุปเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้ หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง การต่อสัญญากับกลุ่มเซ็นทรัลได้บทสรุปแล้วโดยคณะกรรมการตามมาตรา 13 โดยมีนคร จันทศร ผู้ว่าการร.ฟ.ท.เป็นประธาน กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา 13 ได้ข้อสรุปแล้วว่า ร.ฟ.ท.จะต่อสัญญาเช่ากับผู้รับสัมปทานรายเดิม คือ กลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา อายุสัญญา 20 ปี ในวงเงินผลตอบแทน 21,000 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญา

“ตอนนี้การเจรจาต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินจบแล้ว หลังจากที่มีการประชุมคณะกรรมการครั้งสุดท้ายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนขั้นตอนที่เหลือก็จะตรวจร่างสัญญาเพื่อเสนอให้อัยการสูงสุดพิจารณา จากนั้นก็เสนอบอร์ดเพื่อให้พิจารณาก่อนเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อนำเข้า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติ ซึ่งภายใน 90 วัน คาดว่าจะสามารถต่อสัญญาเช่าได้ก่อนหมดสัญญา”นครกล่าว

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การต่อสัญญาครั้งนี้ยึดตามหลักของกรมธนารักษ์และมาบุญครองกับจุฬาฯ โดยมีระยะเวลา 20 ปี ส่วนผลตอบแทนนั้น เดิมอยู่ที่ 11,000 ล้านบาท แต่ทางเซ็นทรัลฯขอใช้วิธีผ่อนชำระ ดังนั้นร.ฟ.ท.จึงจะต้องคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยคงที่ 6 % ส่งผลให้ร.ฟ.ท.ได้รับผลตอบแทนอยู่ที่ 21,000 ล้านบาท

“ถามว่า 30 ปีตลอดอายุสัญญาได้มั้ย ตอบว่าได้ แต่เนื่องจากเป็นอาคารขนาดใหญ่ การบูรณะบำรุงรักษาอาคารต้องใช้เวลานาน ขณะที่ 20 ปี การบำรุงรักษาทำได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถนำเรื่องดังกล่าวเสนอเข้าครม.ได้ภานใน 1 เดือนหลังจากนี้ ”แหล่งข่าวกล่าว

แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวว่า ในช่วงของอายุสัญญา 20 ปี หากพบว่าทางเซ็นทรัลฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น จะต้องแบ่งผลตอบแทนให้ร.ฟ.ท.เพิ่มอีก 5% ทุกๆ 3 ปี และการคิดค่าเช่าในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้น เช่นในปีแรกอาจเก็บที่ 600-650 ล้านบาท และปีต่อๆไปจะค่อยๆเพิ่มขึ้นจนถึงหลักพันล้านบาท นอกจากนี้ผู้รับสัมปทานจะต้องลงทุนปรับปรุงอาคารทั้งหมดเป็นเงิน 2,400 ล้านบาท ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี หลังจากที่มีการต่อสัญญา นอกจากนี้ในสัญญาฉบับใหม่ไม่ได้ระบุว่าหากหมดสัญญาทางกลุ่มเซ็นทรัลฯจะเป็น ผู้ได้รับการต่อสัญญาอีกครั้ง ซึ่งอาจมีการเปิดประมูลหาผู้ลงทุนรายอื่นต่อไป

ทั้งนี้เดิมผลตอบแทน ที่ทางเซ็นทรัลเสนอให้กับร.ฟ.ท.ในครั้งแรกเพียง 8,500 ล้านบาทตลอดระยะเวลา 20 ปี ซึ่งในครั้งนั้นผู้บริหารร.ฟ.ท.เห็นว่าน้อยเกินไป จึงมีการเจรจาต่อรองกันจนสรุปที่ ตัวเลข21,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ามาบุญครองถึง 35% หากคิดค่าเช่าต่อตร.มจะพบว่าค่าเช่าต่อตร.มของมาบุญครองอยู่ที่ 4,000 บาทต่อปี ขณะที่ค่าเช่ากลุ่มเซ็นทรัลฯอยู่ที่ตร.มละ 5,200 บาทต่อปี

ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.เคยระบุว่า การต่อสัญญากับเซ็นทรัล ได้ยึดรูปแบบการต่อสัญญาสัมปทานเช่าทรัพย์สินและที่ดินระหว่างจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยกับมาบุญครองเซ็นเตอร์ โดยทางจุฬาฯ ได้ตกลงต่ออายุสัญญาให้อีก 20 ปี มูลค่าโครงการรวม 25,310 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินงวดแรก สำหรับค่าตอบแทนของการได้สิทธิการทำสัญญาก่อนรายอื่น 2,450 ล้านบาท ส่วนค่าเช่าจะแบ่งชำระ 20 งวด พร้อมดอกเบี้ยอีก 6% คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 22,860 ล้านบาทจากเดิมที่จุฬาฯทำสัญญาสัมปทานกับมาบุญครอง 30 ปี มูลค่าโครงการรวม 885 ล้านบาท

สำหรับสัญญาสัมปทานเช่าที่ดิน พหลโยธินเดิมเริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2521 ซึ่งอยู่ในสมัยของสง่า นาวีเจริญ เป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.และจะหมดอายุสัญญาวันที่ 18 ธ.ค.2551 รวมเวลา 30 ปี พื้นที่ 47.22 ไร่ หรือ 75,558.65 ตารางวา โดยกำหนดว่ากลุ่มเซ็นทรัลฯต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ให้ร.ฟ.ท. 16 ล้านบาท ค่าเช่าปีละ 3 ล้านบาท โดยปีแรกนับแต่วันลงนาม ร.ฟ.ท.จะไม่คิดค่าเช่าที่ดิน หลังจากนั้นตั้งแต่ปีที่ 2 , 3 และ 4

เซ็นทรัล ต้องชำระค่าเช่าอัตรา 25% , 50% และ 100% ตามลำดับของอัตราค่าเช่าที่ดิน และนับตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป กลุ่มเซ็นทรัลฯต้องจ่ายค่าเช่าที่ดิน เพิ่มขึ้นอัตโนมัติในอัตรา 5% ต่อปีของค่าเช่าครั้งสุดท้าย ณ วันครบรอบปีต่อไป จนกว่าจะหมดสัญญาเช่าในวันที่ 18 ธ.ค.2551 และเมื่อครบกำหนดแล้ว อาคาร ,สิ่งก่อสร้าง และระบบต่างๆที่ใช้ในกิจการของโครงการทั้งหมด ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของร.ฟ.ท.

http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=72246
-------------------------------------------------
รปภ. ผู้สวมวิญญาณปกป้อง CTW

“เขาสวมชุดดำ ปิดหน้า โพกผ้าพันคอสัญลักษณ์เสื้อแดง มือถือปืนอาก้าพกระเบิด มีการยิงขู่และไล่ยิงใส่ผม”

ไพร...... ชายวัย 45 ปี จากที่ราบสูงโคราช ไม่ได้คิดสวมวิญญาณ “บรูซ วิลลิส” ตำรวจ แต่ในฐานะหัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยประจำเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน เขาจำต้องดูแลความปลอดภัยอาคาร และ อพยพผู้คนที่หลงเหลือออกนอกอาคารอย่างสุดชีวิต
“เขาสวมชุดดำ ปิดหน้า โพกผ้าพันคอสัญลักษณ์เสื้อแดง มือถือปืนอาก้าพกระเบิด มีการยิงขู่และไล่ยิงใส่ผม” ไพรวรรณ เริ่มเล่านาทีเผชิญหน้าปฏิบัติการเผาเมือง ก่อนพาไปตระเวนดูจุดเกิดเหตุใต้ลานจอดรถของห้าง

พวกเขาต้องการเข้าไป วางเพลิง มันเห็นพวกผมออกมา ก็ใช้ปืนยิง ผมต้องวิ่งลงไปชั้นใต้ดิน มันวิ่งตามแล้วมีเสียงปืนดังขึ้น ผมต้องหลบตัวข้างผนังตึกติดกับทางลงบันได ถ้าโผล่ออกไปตอนนั้นโดนยิงหัวแน่ แต่ไม่ใช่หนีอย่างเดียวนะ เรารอเวลาเป็นของเราเพื่อเข้าชาร์จด้วย”

ช่วงจังหวะนั้นลานจอดรถมืด สลัว ทัศนวิสัยไม่เอื้อต่อการปฏิบัติการใดๆ ไพร.....ต้องซ่อนตัว หายใจให้เบาที่สุด ตั้งสติรอจังหวะ ขณะที่นักรบดำย่ามใจวิ่งลงบันไดตามมา ปลายกระบอกปืนยื่นโผล่มุมเสา นาทีนั้นหัวหน้า รปภ. ตัดสินใจว่า...ใครดีใครอยู่!!!

เทพีแห่งโชคเข้าข้างไพร........เขา ชิงจังหวะก่อน สาวหมัดขวาตรงทิ่มใส่ใบหน้า พร้อมถีบ ยอดหน้าอกไปอีกหนึ่งดอก ส่งผลให้นักรบชุดดำเสียหลักเซถลา ปืนอาก้าหลุดมือ ไพร...ไม่รอช้าแย่งชิงปืนมาได้ พร้อมเล็งไปที่นักรบชุดดำ คราวนี้นักรบนิรนามตกเป็นฝ่ายเสีย
เปรียบ หมดทางสู้กระกระสนวิ่งหนีสุดชีวิตไปด้านข้างลานจอดรถ

“ผมตั้งสติประสบการณ์มีเยอะมาก ยังไงผมชาร์จอยู่แล้ว ชีวิตถึงชีวิตถ้าแย่งปืนไม่ได้ ชีวิตผมคงดับ”

ทว่าหลังนักรบชุดดำเสียเหลี่ยมให้การ์ดหมัดสั่งรายนี้ ใช่ว่าไพร......จะอยู่ในความปลอดภัย เพราะผ่านไปเพียง 20 นาทีนักรบชุดดำรวบรวมแดงฮาร์ดคอร์อีก 5-6 คน รุกเข้ามาด้านข้างลานกว้างเซ็นทรัลเวิลด์อีกครั้ง คราวนี้นักรบชุดดำรายเดิมที่หลบหนีไปเดินเข้ามาชี้หน้าเขาด้วยอาการคับแค้น ใจ จากนั้นสั่งลูกน้องระดมขว้างระเบิดเข้าไปภายในลานจอดรถใต้ดินหมายปลิดชีวิต

การปะทะภายในลานจอดรถใต้ดินเกิดขึ้นรอบสอง แต่คราวนี้ผู้กล้าต้องรักษาระยะห่าง “มีการโยนระเบิดเข้ามาหลายลูก ควันโขมงทั่วลานจอดรถ สะเก็ดระเบิดตกไปโดนรถยนต์เสียหาย กระโปรงรถเป็นรูพรุน ถึงตอนนั้นจำเป็นต้องหลบข้างเสา มีลูกน้องรปภ. ผมอีก 3 คน เข้ามาช่วยตะโกนบอกว่า ให้หัวหน้าถอยก่อน สถานการณ์ไม่ปลอดภัย ในที่สุดพวกเราต้องถอยร่น ซึ่งก็เป็นจังหวะที่นักรบชุดดำรุกคืบเข้ามา ทุบกระจกรถยนต์เสียหายไปหลายคัน ก่อนค้นเอาทรัพย์สินในรถผู้บริหารไปด้วย”

หลังจากนั้นมีความพยายามจากกลุ่มคนเสื้อแดง 50-60 คนทุบกระจกและนำถังแก๊ส เข้าไปภายในอาคาร ฝ่าย รปภ. ที่อยู่ในความควบคุมของไพร.............กว่า 40 ชีวิต พยายามผลักดันอย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามมีทั้งอาวุธปืน ระเบิด ทำให้ต้องระวังตัว ขณะเดียวกันยังมีอีกภารกิจด่วนต้องรีบลำเลียงแม่บ้าน คนงานที่ติดอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์อีกกว่า 300 ชีวิต ออกไปตามเส้นทางเชื่อมต่อสยามพารากอน ทุกคนได้รับการคุ้มครองออกจากพื้นที่ด้วยความปลอดภัย ไม่ตกเป็นเหยื่ออารมณ์ของกลุ่มนักรบชุดดำ

“เจ้านายบอกว่าต้องช่วยกัน ผลักดัน คุ้มครองความปลอดภัยเซ็นทรัลเวิลด์แต่ถ้าไม่ไหวให้ออกไปก่อน เจ้านายมาดูแล้วเห็นว่า รปภ. ไม่เพียงพอ กลุ่มผู้ชุมนุมเยอะ ต่อต้านไม่ไหว ถ้าต่อต้านแล้วเอาไม่อยู่ก็ต้องเซฟชีวิต

เจ้านายเคยย้ำอย่าไปทะเลาะ เบาะแว้งกับเขา ขนาดไม่ทะเลาะก็ทำถึงขนาดนี้ ฝ่ายอาคารเสียหายขนาดไหนซ่อมแซมได้ เอาชีวิตไว้ก่อน พวกผมเอาไม่อยู่จริงๆ”

หัวหน้า รปภ.ที่ต้องกินนอนร่วมกับลูกน้องตลอดช่วงกลุ่มคนเสื้อแดงปักหลักชุมนุมร่วม สองเดือน ทิ้งท้ายว่า “เสียใจมากที่คนไทยทำกันแบบนี้ มันไม่ใช่ต่างประเทศมาสู้กับเรา แต่นี่คนไทยต่อสู้กับคนไทยด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล นปช. จะเอา อย่างไร ก็ไม่อยากให้คนไม่รู้เรื่องต้องพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย”

วันนี้ ไพร......และลูกน้องในชุดเครื่องแบบเชิ้ตขาวกางเกงดำ ยังปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยเซ็นทรัลเวิลด์อย่างแข็งขันต่อไป แม้สภาพตึกต้องพังพินาศไปด้วยน้ำมือคนไทยเช่นเดียวกับเขา และหวังว่าอาชีพการรักษาความปลอดภัยต่อจากนี้คงไม่ต้องมาเผชิญความเลว ร้ายอย่างที่เกิดขึ้นกับเซ็นทรัลเวิลด์อีก

http://www.talkystory.com/site/article.php?id=10517
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1888481
-------------------------------------------------

Link ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติม

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ใครได้ใครเสียอะไร ในการเผาห้าง ZEN #2 >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/11/blog-post_08.html

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ปัญหาสยามสแควร์ของจุฬา และข้อกังขาว่าทำไมต้องเลือกเผาเฉพาะสยามสแควร์บางซอย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/10/blog-post_5032.html

<<< โฉมหน้าคนเผาตึก CTW และ ช่อง 3 พร้อมข้อกังขาว่า เป็นพวกใครกันแน่ที่ทำ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_24.html

<<< หลักฐานบางส่วนทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ที่แสดงให้เห็นว่าทหารยิงประชาชนจริง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_10.html

<<< จับพิรุธ คดีระเบิดสมานแมนชั่น บางบัวทอง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/10/blog-post_09.html

<<< ย้อนรอย ข้อกล่าวหาทักษิณสนับสนุนคนเสื้อแดงทำร้ายคนในชุมนุมเพชรบุรีซอย7 รวมถึงเผามัสยิด >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/04/blog-post_20.html

<<< ย้อนรอยคดีลอบวางระเบิดหลายจุดในกทม. ที่กล่าวหาว่าทักษิณทำ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/04/blog-post_7025.html

<<< ย้อนรอย คลื่นใต้น้ำป่วนเมืองช่วง คมช. ครองเมือง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/06/blog-post.html

-------------------------------------------------

FfF