บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


22 มิถุนายน 2554

<<< พรรคเพื่อไทยมีนโยบายเยอะแยะ ทำได้จริงไหม เอาเงินที่ไหนมาทำ ก็พิสูจน์ง่ายๆ ด้วยการเลือกเบอร์ 1 เยอะๆ เดี๋ยวก็รู้ว่าทำได้จริงไหม >>>

ผมยึดแผ่นพับหาเสียงของยิ่งลักษณ์ เป็นหลักแล้วกัน
ว่าเลือกตั้งงวดนี้มีนโยบายหาเสียงอะไรบ้าง

<<< แผ่นพับหาเสียงพรรคเพื่อไทย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/05/blog-post_31.html

จะพบว่านโยบายเพียบแต่เทียบกับคู่แข่งไม่ได้
เพราะคู่แข่งมีน้อยจนเทียบกันไม่ติด
ก็เลยเกิดประเด็นโจมตีว่า
ทำได้จริงไหม เอาเงินมาจากไหน
ซึ่งเป็นประเด็นหาเสียงของคู่แข่งในช่วงโค้งสุดท้าย

เรื่องทำได้จริงไหม ก็ต้องลองให้เขาทำดูถึงจะรู้ผล
แต่ทีมเขามีผลงานมาก่อนที่ทำมากกว่าพูดหาเสียงไว้อีก
ลองไปดูได้ที่นี่เก็บละเอียดยิบ

<<< ผลงานระบอบทักษิณ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_05.html

ส่วนประเด็นเอาเงินมาจากไหน
ผมเดาว่ามาจาก 2 แหล่งดังนี้
แหล่งแรกมาจากการขายฝัน
เหมือนกับห้างพารากอนที่ขายฝัน
จนชนะการประมูล
เมื่อชนะการประมูลก็ให้เช่าที่ภายในห้างแก่ร้านค้าต่างๆ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบรนด์เนมนอกมากมาย
ได้เงินก็นำไปลงทุน หลายๆ โครงการก็ทำแบบนี้
โดยเฉพาะพวกสร้างบ้านขาย

แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่ต้องกู้มาลงทุน
จากโครงการที่นำไปเสนอหาแหล่งเงินทุน
และหลายๆ โครงการที่หาเสียงก็ต้องไปกู้เงินมาทำ
แต่ก็กู้ได้น้อยกว่ารัฐบาลนี้ที่เป็นแค่ 2 ปี
กู้เป็นล้านๆ บาททุบสถิติรัฐบาลทุกรัฐบาล
จนทำให้เพดานการกู้ก็ยิ่งเหลือน้อยนิดเข้าไปอีก
เหมือนคุณไปกู้ซื้อบ้านมาล้านหนึ่ง
งวดหน้าจะไปกู้อีกเครดิตที่จะได้รับวงเงิน
ก็จะเหลือน้อยลงไปด้วย
ถ้ากู้ได้น้อยไม่พอ
ก็เป็นเพราะฝีมือการถลุง
จนไม่มีเครดิตพอจะกู้เพิ่ม
ของพวกผลาญบ้านผลาญเมืองนั่นเอง
นี่ยังไม่พูดถึงเรื่องงบผูกพัน
ที่ไปแจกหลายกระทรวงเช่นของกลาโหม

<<< แผน 10 ปี กองทัพ จะทำงบประมาณผูกพันอีก 2 ล้านล้านบาท >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/02/blog-post_04.html

แล้วแตกต่างจากพรรค ปชป.ยังไง
ในเมื่อกู้มาเหมือนกัน
แตกต่างซิเพราะกู้มาเฉพาะบางโครงการ
นอกนั้นใช้วิธีการขายฝันระดมเงินมาทำ
และไม่ได้ดีแต่กู้ แต่เขาหาเงินได้ดีด้วย

ยกตัวอย่างสมัยทักษิณ
มีนโยบายประชานิยมมากมาย
เช่น แจกทุนการศึกษาเด็กๆ ได้เกือบล้านคน
โดยให้เขียนเรียงความแจกทุนการศึกษา
เขาเอาเงินมาจากไหน ก็ทำหวยบนดิน
เอาเงินที่รัฐไม่มีโอกาสได้เลย
จากพวกค้าหวยใต้ดินมาทำ
แล้วสมัยสุรยุทธ์มายกเลิก
ทำให้บางโครงการส่งเด็กไปเรียนต่อเมืองนอก
กำลังจะจบเหลือแค่ปีสุดท้ายหลายร้อยคน
ต้องกลับบ้านก่อนกลางคันเรียนไม่จบก็มี
แต่อภิสิทธิ์จะมาเลียนแบบแจกนั่นนี่บ้าง
แต่เงินที่หามาเน้นกู้อย่างเดียว
แต่ของเขาไม่ได้เน้นกู้
นี่คือตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า
ใช้เงินเก่งเหมือนกัน แต่หาเงินเก่งต่างกัน

กรณีหวยบนดิน คือสิ่งพิสูจน์
ความสามารถในการหาเงินเข้ารัฐ
เพื่อนำมาใช้ตามนโยบายต่างๆ
ไม่ใช่อาศัยแต่กู้มาใช้อย่างเดียว
เพราะไม่จีรังไม่มีใครเขาให้กู้ได้บ่อยๆ
แถมทำให้มีปัญหาด้านเครดิตของประเทศ
และรัฐบาลและจะส่งผลต่อประชาชน
ในการต้องมารีดภาษีเพิ่ม

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง เงินหวยบนดินเอาไปใช้อะไร >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_22.html

เมื่อตนเองไม่มีปัญญาคิดหาเงินเข้ารัฐ
วันๆ ดีแต่กู้มาทำ พอเห็นพรรคอื่นมีนโยบายมากมาย
ก็เลยคิดว่า จะต้องกู้มาหมดแบบที่ตนเองคิดและทำเหมือนกัน
ถึงได้ชอบออกมาตั้งคำถามแปลกๆ ว่า
จะเอาเงินที่ไหนมาทำ
ถ้าไม่มีปัญญาคิดและทำแบบเขา
ถ้าคิดว่าไม่มีปัญญาหาเงินมาใช้นอกจากกู้เขาอย่างเดียว
ก็ควรเว้นวรรคให้คนอื่นเขามาทำแทน
จะไม่ดีกับประเทศนี้กว่าหรือ

ล่าสุดทางฝั่งเพื่อไทยออกมาเฉลยแล้วดังนี้

--------------------------------------------------------------------

'เพื่อไทย' เร่ขายฝันรากหญ้า ทั้งแจกแถมสารพัด เอาแน่จำนำข้าวตัน 2 หมื่น

“โอฬาร” เจาะลึกนโยบายพรรค เพื่อไทย ฟุ้งเป็นรัฐบาลทำได้ทันที พุ่งเป้าใหญ่ขยับรายได้คนชั้นล่าง 2 เท่าตัวใน 5 ปี แจงเพิ่มค่าแรง 300 บาท–เงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ต้องผ่านการ อบรมอัพเกรดก่อน ส่วนแจกคอมพิวเตอร์พกพาจะให้เฉพาะ เด็ก ป.1 ปีละ 800,000 เครื่อง ชี้รับ จำนำข้าวเริ่มแน่ พ.ย.นี้ เตรียมแปร-สภาพผลิตข้าวธงฟ้าขายปีละ 6 ล้านตัน...

นายโอฬาร ไชยประวัติ ทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เปิดเผยถึงนโยบายของพรรคเพื่อไทยว่า นโยบายทั้งหมดได้คิดอย่างเป็นระบบ และวางกรอบนโยบายปฏิรูปและสร้างความมั่นคงแก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยปฏิรูปเศรษฐกิจจากฐานคนรากหญ้าและชนชั้นกลาง เพื่อกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมทันทีในปี 2555 โดยเฉพาะการดูแลเกษตรกรที่มีถึง 22 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ 66 ล้านคน แต่กลับมีรายได้รวมกันเพียง 15% ของคนชั้นสูงสุด 20% ของทั้งประเทศ ที่มีรายได้รวม 55% โดยเห็นได้จากรายงานของธนาคารโลกระบุว่า รายได้เฉลี่ยของคนฐานรากในไทยอยู่ที่ 30,000-40,000 บาท หรือไม่เกิน 50,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละ 3,000-4,000 บาท พรรคเพื่อไทยจึงมีเป้าหมายเพิ่มรายได้ของคนกลุ่มนี้เป็น 2 เท่าภายใน 5 ปี หรือมีรายได้เป็นปีละ 100,000 บาท

ส่วนนโยบายค่าจ้าง 300 บาทต่อวันนั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการไตรภาคี ถ้า พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล กระทรวงแรงงานก็ต้องอยู่ในการกำกับดูแลของพรรคเพื่อไทย จะเท่ากับมีเสียงฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายลูกจ้างที่เห็นด้วยกับนโยบายนี้แล้ว 2 ฝ่าย ส่วนฝ่ายที่ 3 คือนายจ้างก็ต้องสร้างความเข้าใจ ซึ่งจากการสำรวจในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีบริษัทขนาดเล็กและกลางจ่ายค่าแรงไม่ถึง 300 บาท เพียง 30% ส่วนบริษัทขนาดใหญ่จ่ายเกินหมด ดังนั้น บริษัทที่ต้องปรับค่าแรงจะมีเพียง 1 ใน 3 ซึ่งนายจ้างที่ต้องจ่ายเพิ่มจากวันละ 220-250-280 บาท เป็น 300 บาท ก็มี นโยบายภาษีมาผ่อนปรนให้ โดยจะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 20% ขณะเดียวกัน ลูกจ้างที่จะเพิ่มค่าแรงเป็นวันละ 300 บาท กระทรวงแรงงานจะฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือให้ตามที่นายจ้างต้องการ

สำหรับนโยบายจบปริญญาตรีเงินเดือน 15,000 บาทนั้น รัฐบาลไม่มีกลไกไปกำหนดอัตราเงินเดือนขั้นต่ำของภาคธุรกิจเอกชนได้ เพราะฉะนั้นต้องกำหนดวิธีดำเนินการในภาครัฐ โดยเริ่มจากกระทรวงศึกษาธิการที่มีข้าราชการเกษียณปีละ 30,000 คน ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ได้รับเงินเดือน 40,000- 50,000 บาท จึงไม่ยากที่จะมีเงินส่วนต่างดังกล่าวไปเพิ่มเงินเดือนให้เด็กจบใหม่ แต่เด็กจบใหม่ที่จะได้รับเงินเดือน 15,000 บาท ทันที ต้องผ่านการอบรมตามโครงการเพิ่มศักยภาพของรัฐบาลก่อน 1 ปี เพื่อให้เป็นครูพันธุ์ใหม่ ส่วนข้าราชการที่ทำงานอยู่เดิมแต่เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท ถ้าอยากได้รับเงินเดือนเพิ่มก็ต้องเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพเช่นกัน

ขณะที่โครงการ One Tablet per child หรือแจกคอมพิวเตอร์พกพาให้นักเรียนนั้น จะแจกเฉพาะเด็กนักเรียนที่เข้า ป. 1 จำนวน 800,000 คน ใช้เงินปีละ 4,000 ล้านบาท ใน ปีการศึกษาหน้า หรือเริ่มวันที่ 18 พ.ค. 2555 โดยเหตุที่แจกเฉพาะเด็ก ป.1 เนื่องจากเห็นว่ายังเป็นวัยที่พ่อแม่ใส่ใจอย่างใกล้ชิด แต่พ่อแม่ต้องรับการอบรมเพื่อใช้คอมพิวเตอร์พกพาด้วย ส่วนครูที่จะมาสอนจะมาจากครูพันธุ์ใหม่ที่ผ่านการอบรมจากโครงการของรัฐบาลมาแล้ว

นายโอฬาร กล่าวต่อถึงโครงการรับจำนำข้าวเปลือกว่า หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล จะให้ลงทะเบียนเพื่อทำบัตรเครดิตเกษตรกรทันที เพราะฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะเริ่มในเดือน พ.ย.-ธ.ค. โดยจะใช้กลไกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำแบบขายฝาก 100% ในราคาข้าวเปลือกเจ้าตันละ 15,000 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 20,000 บาท โดยใช้เงินหมุนเวียนปีละ 300,000 ล้านบาท ส่วนข้าวเปลือกที่ได้มาจะให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำไปสีเป็นข้าวสารบรรจุถุงเป็นข้าวธงฟ้าขายตามร้านโชห่วยทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนโดยเร็ว และจะเก็บสำรองเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร 6 ล้านตัน ซึ่งจะช่วยให้ไทยมีบทบาทกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกด้วย

“นโยบายทั้งหมดของพรรคเพื่อไทยได้จัดทำแผนบริหารการคลังไว้หมดแล้ว โดยมีรายจ่าย 13 โครงการหลักรวม 1,855,500 ล้านบาท เฉลี่ยต่อปี 371,100 ล้านบาท โดย 40% เป็นเงินจากงบประมาณ วงเงิน 742,500 ล้านบาท ที่เหลือ 10.8% เป็นเงินกู้ต่างประเทศ หรือ 199,800 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 34.3% หรือ 635,570 ล้านบาท เงินจากภาคเอกชน 15% หรือ 277,630 ล้านบาท ขณะที่การจัดทำงบประมาณจะขาดดุลไปจนถึงปี 2559 โดยปีงบ 2555 ขาดดุล 428,325 ล้านบาท ปีงบ 2556 ขาดดุล 341,168 ล้านบาท ปีงบ 2557 ขาดดุล 250,250 ล้านบาท ปีงบ 2558 ขาดดุล 138,175 ล้านบาท และปีงบ 2559 ขาดดุล 75,926 ล้านบาท”

ไทยรัฐออนไลน์

โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
28 มิถุนายน 2554, 06:00 น.

http://www.thairath.co.th/content/eco/182249

--------------------------------------------------------------------

โดย มาหาอะไร

FfF