บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


09 สิงหาคม 2554

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ข้อมูลเศรษฐกิจยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ >>>

เครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาคของไทย
























http://www2.bot.or.th/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=409&language=TH

+++++++++++

รัฐบาลอภิสิทธิ์ จะเริ่มตั้งแต่ปลายปี 51 ถึงกลางปี 53
ดังนั้นก็ยึดหลักคร่าวๆ ว่า ปี 51 เป็นของพรรค พปช.
ส่วนปี 52 และ 53 จนถึงเดือน ก.ค.54 เป็นผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์
ลองไล่วิเคราะห์ข้อมูลสำคัญๆ ดูแต่ละตัว

ตัวเลข GDP
(2.1 ผลิตภัณฑ์รวม ณ ราคาคงที่ ปี 2531 (พันล้านบาท))
ถึงแม้ปี 53 จะมีอัตรา GDP สูงขึ้นถึง 7.8
แต่ก็สูงขึ้นเพราะเทียบกับที่ติดลบในปี 52 ที่ -2.3
แต่ถ้าดูเป็นมูลค่าเทียบกับรัฐบาลก่อนหน้า จะพบว่า
สูงขึ้นมาประมาณ 232 พันล้านบาทเองในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ปี 53 มี GDP รวม 4,596.1 พันล้านบาท
ปี 51 มี GDP รวม 4,364.8 พันล้านบาท

อัตราเงินเฟ้อ
กำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามข้อมูลที่ปรากฏ
2554 p อัตราเงินเฟ้อ = 111.15
2553 อัตราเงินเฟ้อ = 107.96
2552 อัตราเงินเฟ้อ = 104.50
2551 อัตราเงินเฟ้อ = 105.40

สินค้าส่งออก
ปี2553 เพิ่มขึ้น 28.4% ก็จริงแต่เทียบกับยอดส่งออกปี 2552 ที่ -13.9%
ถ้าดูเป็นจำนวนเงินรูป ดอลลาห์สหรัฐ จะเป็นไปตามนี้
สินค้าส่งออกปี 2553 = 193.6 พันล้านดอลลาห์ สรอ.
สินค้าส่งออกปี 2552 = 150.7 พันล้านดอลลาห์ สรอ.
สินค้าส่งออกปี 2551 = 175.2 พันล้านดอลลาห์ สรอ.
2 ปีเพิ่มขึ้น 18.4 พันล้านดอลลาห์ สรอ. เอง
อัตราแลกเปลี่ยนปี 2553 = 31.73 บาท/ดอลลาห์ สรอ.
อัตราแลกเปลี่ยนปี 2551 = 33.36 บาท/ดอลลาห์ สรอ.
ถ้าเทียบเป็นเงินบาทโดยคูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละปีก็จะได้
ปี 2553 ส่งออกได้ 6,142.928 พันล้านบาทโดยประมาณ
ปี 2551 ส่งออกได้ 5,844.672 พันล้านบาทโดยประมาณ
เพิ่มขึ้น 298.256 พันล้านบาทโดยประมาณ
หรือ 5.1 % ในสองปีที่ผ่านมา

เงินทุนสำรองและหนี้ต่างประเทศ
นับตัวเลขล่าสุดกลางปี 54 เลย
4.7 เงินสำรองทางการ (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
กลางปี 54 = 184.8
ปี 51 = 111.0

4.8 ภาระเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
กลางปี 54 = -24.8
ปี 51 = -6.9
(ภาระเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
ถ้าค่าติดลบ หมายถึง
การปกป้องเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้น
ด้วยการขายบาทซื้อดอลล่าห์
เท่ากับว่าจำนวนเงินที่ติดลบ
จะกลายมาเป็นทุนสำรองทันที
เมื่อครบกำหนดสัญญาซื้อขาย

ถ้าค่าเป็นบวก หมายถึง
การปกป้องเงินบาทไม่ให้อ่อนค่าลง
ด้วยการซื้อบาทขายดอลล่าห์
เท่ากับว่าจำนวนเงินเหล่านี้
จะต้องไปหักออกจากเงินทุนสำรอง
เมื่อครบกำหนดสัญญาซื้อขาย)

4.9 หนี้ต่างประเทศคงค้างทั้งสิ้น (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
กลางปี 54 = 106.0
ปี 51 = 76.1

ลองเปรียบเทียบเงินสำรองสุทธิจริงๆ (นำ 4.7 หัก 4.8 และ 4.9 ออก)
กลางปี 54 = 103.6
ปี 51 = 41.8
เพิ่มขึ้นจริงๆ 61.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
แต่ถ้าเป็นการเพิ่มขึ้นจากการขนเงินเข้ามาเก็งกำไร
ยิ่งมีเงินเก็งกำไรขนเข้าประเทศมากเท่าไหร่
ก็เสี่ยงขาดทุนค่าเงินเพิ่มขึ้นในวันที่เขาขนเงินกลับไป
เช่น
ขนเข้ามาช่วง 35 บาทต่อดอลล่าห์ 1 แสนล้านดอลลาห์
พอเงินนอกไหลเข้ามามากๆ เงินบาทก็แข็งค่าขึ้นโดยปริยาย
สมมุติเพิ่มขึ้น 5 บาท มาอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาห์
เขาก็ได้กำไรประมาณ 5 แสนล้านบาทประมาณนั้น

ดังนั้นเงินนอกที่เข้ามาช่วงนี้เยอะๆ
คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าน่าดีใจ
สำหรับอนาคต

ที่สำคัญจะเห็นยอดหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น
จากปี 2551 อยู่ที่ 76.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
พอมากลางปี 54 อยู่ที่ 106 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
แสดงว่าก่อหนี้จากต่างประเทศเพิ่มเฉพาะ 2 ปี
29.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ ถ้าแปลงเป็นเงินบาท
ให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 30 บาทต่อดอลลาห์สหรัฐ
ก็จะเป็นเงินบาทโดยประมาณ 897 พันล้านบาท
หรือก่อหนี้เพิ่มเกือบเก้าแสนล้านบาทในสองปีกว่าที่ผ่านมา

---------------------------------------------------

หนี้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจในประเทศ

<<< ข้อมูลฐานะการคลังไทยในวันนี้ ก่อนที่อีก 3-4 ปีจะมีหนี้เพิ่มอีกเท่าตัว >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/04/3-4.html
















































---------------------------------------------------

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ข้อมูลเงินคงคลังและเงินกู้สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/09/blog-post_1723.html

---------------------------------------------------

ดีแต่กู้


++++++++++

ไทยรัฐ
จ่อกู้ 2.2 ล้านล้านฟื้นเศรษฐกิจ
[14 ม.ค. 52 - 04:51]

ที่ประชุม ครม.วานนี้ (13 ม.ค.) อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 18 มาตรการ ด้วยงบประมาณกลางปี 115,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำเข้ารัฐสภาวันที่ 28 ม.ค.นี้ ภายใต้ 4 แผนงานคือ แผนงานฟื้นฟูและสร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ แผนงานส่งเสริมสร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงด้านสังคม แผนงานรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และรายจ่ายชดเชยเงินคงคลัง ประกอบด้วย 1. โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ โดยจัดสรรเงินให้ผู้ประกันตน และข้าราชการที่มีรายได้ประจำต่ำกว่า 14,000 บาทต่อเดือน ได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 2,000 บาทครั้งเดียวเมื่องบประมาณผ่านสภา เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม 8 ล้านคน และข้าราชการ 1.45 ล้านคน วงเงินรวม 18,970.4 ล้านบาท

2. โครงการช่วยเหลือคนตกงาน โดยการจัดอบรมผู้ว่างงานเพื่อเพิ่มศักยภาพ เป็นเวลา 6 เดือน ขณะ อบรมได้เงินช่วยเหลือยังชีพเดือนละ 5,000 บาทต่อเดือน วงเงินงบประมาณ 6,900 ล้านบาท ครอบคลุมผู้ว่างงาน 240,000 คน ก่อนขยายเพิ่มในงบประมาณปี 2553 ให้ครบ 500,000 คน 3. โครงการเรียนฟรีจริง 15 ปีตั้งแต่อนุบาล-ม.6 ฟรีค่าเทอม เสื้อผ้า ตำราเรียน และอุปกรณ์การศึกษา ใช้งบประมาณ 19,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองและนักเรียน 4. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน สานต่อกองทุนเอสเอ็มแอล เพื่อสร้างงานและวางรากฐานในชนบท 5. ต่ออายุโครงการ 6 เดือน 5 มาตรการ ทั้งน้ำ-ไฟ-รถเมล์-รถไฟ ที่จะต่ออายุออกไปอีก 6 เดือน แต่ปรับลดการใช้นำประปาฟรี เหลือเดือนละ 30 ลบ. เมตร และใช้ไฟฟ้าฟรีไม่เกินเดือนละ 90 หน่วย ใช้งบ 11,409.2 ล้านบาท

6. โครงการช่วยเหลือเงินยังชีพคนชรา โดยช่วยเหลือคนชราอายุเกิน 60 ปี ที่ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการ คนละ 500 บาทต่อเดือน จำนวน 3 ล้านคน รวมเป็นทั้งระบบช่วยเหลือ 5 ล้านคน ใช้งบ ประมาณ 9,000 ล้านบาท 7. ช่วยเหลือค่าครองชีพอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คนละ 600 บาทต่อเดือน ครอบคลุม 834,075 คน งบประมาณ 3,000 ล้านบาท 8. โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 2,000 ล้านบาท 9. โครงการถนนปลอดฝุ่น ลาดยางทางในชนบท ระยะทาง 490 กม. 1,500 ล้านบาท 10. โครงการจำหน่วยสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนรายได้น้อย โดยกระทรวงพาณิชย์ มีเป้าหมายทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนไม่ เอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งโครงการธงฟ้าลดค่าครอง ชีพวงเงิน 1,000 ล้านบาท

11. โครงการปรับปรุงสถานีอนามัยในชนบท วงเงิน 1,095.8 ล้านบาท 12. โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้กับช้าราชการตำรวจชั้นประทวน 532 แห่ง แห่งละ 3.4 ล้านบาท เป็นเงิน 1,808.8 ล้านบาท 13. โครงการลดผลกระทบธุรกิจท่องเที่ยว โดยจะจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในประเทศ การสนับสนุนส่งเสริมให้ส่วนราชการจัดสัมมนาต่างจังหวัด รวมทั้งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 1,000 ล้านบาท 14. โครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร และธุรกิจขนาดกลางและขยาดย่อม (เอสเอ็มอี) 500 ล้านบาท 15. โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ เพื่อชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้ความมั่นใจกับนักลงทุน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 325 ล้านบาท 16. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ขุดลอกคูคลอง 760 ล้านบาท 17. เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 2,391.3 ล้านบาท สุดท้าย 18. เป็นรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 19,139.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ ที่เมื่อง่ายเงินคงคลังไปก่อนจะต้องตั้งงบชดเชยคืน ซึ่งกรณีนี้เป็นรายการแถมที่ไม่เกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า งบประมาณกลางปีดังกล่าว เมื่อแยกแล้ว กระทรวงศึกษาฯรับสูงสุด 19,000 ล้านบาท รองลงมาคือ กระทรวงแรงงาน กว่า 16,000 ล้านบาท ขณะกระทรวงวัฒนธรรมได้รับเพียง 21.2 ล้านบาท กระทรวงคมนาคมได้เพียง 1,500 ล้านบาท จากเดิมที่เคยขอมากว่า 30,000 ล้านบาท กระทรวงพาณิชย์ได้เพียง 1,000 ล้านบาท จากที่เสนอขอกว่า 40,000 ล้านบาท กระทรวงเกษตรฯได้เพียง 2,000 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทยได้รับ 12,557 ล้านบาท เป็นต้น

นอกจากนี้ ในประชุม ครม.ได้เห็นชอบแผนบริหารราชการแผ่นดินระยะเวลา 3 ปี (52-54) ตาม ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ โดยสาระสำคัญได้ประมาณความต้องการใช้เงินตามนโยบายของรัฐบาลรวม 3 ปี มีวงเงินทั้งสิ้น 7.44 ล้านล้านบาท แต่มีรายได้ รัฐบาล 3 ปีเพียง 5.24 ล้านล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณรวม 3 ปีเป็นเงิน 2.2 ล้านล้านบาท หรือเท่ากับว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า รัฐบาลต้องกู้เงินเพื่อนำมากระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 2.2 ล้านล้านบาท.

-----------------------------------------------------

บอกว่าปีหน้าจะไม่ทำงบขาดดุลสูงอีก แต่สุดท้ายก็ทำจนได้
บอกว่าจะทำให้หนี้สาธารณะลดลง แต่สุดท้ายก็ทำให้เพิ่มขึ้นไปอีก

++++++++++

นายกฯ ยืนยัน ปีหน้าไทยจะไม่เกิดงบขาดดุล

นายกรัฐมนตรี ยืนยัน ปีหน้าไทยจะไม่ประสบปัญหางบประมาณขาดดุลในระดับสูงอีก หลังมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลจะนำงบประมาณทั้งหมดมาใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด โดยขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในระบบบริหารและวินัยการจัดการงบประมาณของรัฐบาล ว่าจะไม่ทำให้เกิดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น แม้ขณะนี้หนี้สาธารณะของไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 45 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำอยู่แล้ว

แต่รัฐบาลตั้งเป้าหมายจะทำให้หนี้สาธารณะลดต่ำลงจนหมดหนี้ในที่สุด สำหรับการจัดการด้านงบประมาณที่ผ่านมารัฐบาลสามารถจัดการปัญหาเศรษฐกิจได้เป็นที่น่าพอใจ จนสามารถลดวงเงินที่จะกู้ยืมกรณีพิเศษจาก 800,000 ล้านบาท เหลือเพียง 400,000 ล้านบาทได้ และลดการขาดดุลงบประมาณจาก 350,000 ล้านบาท มาอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับงบประมาณแบบสมดุล

โดยเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง รวมกับการจัดเก็บรายได้ ภาษีต่างๆ ช่วงปี 2553 ที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ได้สูงกว่าเป้าหมายที่ 1.65 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าในปีงบประมาณ 2554 จะสามารถจัดเก็บรายได้ได้มากขึ้นอีกกว่าร้อยละ 4 ซึ่งจะทำให้งบประมาณของประเทศไม่ขาดดุลในระดับสูงอีก

Source : กรมประชาสัมพันธ์
12 กันยายน 2553 เวลา 10:40 น.
http://archive.voicetv.co.th/content/21072

-----------------------------------------------------

'อภิสิทธิ์' แจงงบปี 54 ย้ำหนี้สาธารณคุมอยู่

ทั้งหมด 2.07 ล้านล้านบาท เป็นงบประมาณขาดดุลกว่า 4 แสนล้าน ชี้ไม่จำเป็นต้องกู้เงินเพิ่ม 4 แสนล้าน มุ่งเดินหน้าไทยเข้มแข็ง ดึงเงิน 1 แสนล้านเข้าระบบงบประมาณ...

นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 วันนี้ (30 พ.ค.) ว่า เครื่องมือสำคัญที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจที่สำคัญคือ งบประมาณ ปีนี้รัฐบาลได้จัดไว้ที่ 2,070,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณขาดดุลประมาณ 4 แสนกว่าล้านบาท โดยงบประมาณนี้เป็นการนำเอางบประมาณกลับเข้าสู่ภาวะปกติเช่นเดิม ใน 2 เหตุผล ประการแรกในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจปีที่แล้ว รัฐบาลมีความคิดว่าจะกู้เงินเป็นกรณีพิเศษถึง 8 แสนล้านบาท เพื่อเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า แต่หลังจากการบริหารประเทศ เศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง ฟื้นตัวได้ดีทำให้การกู้เงินอีก 4 แสนล้านบาท หลังจากที่ได้ออกเป็นพ.ร.บ. ก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่โครงการที่ดำเนินการผ่านเงินกู้เหล่านั้น ที่เป็นโครงการไทยเข้มแข็งในเรื่องถนน แหล่งน้ำ โรงเรียน โรงพยาบาล ยังคงเป็นความตั้งใจของรัฐบาลอยู่ เดิมการใช้เงินกู้จะใช้ใน 3 ปีข้างหน้าคือ นำการลงทุนจำนวน 1 แสนล้านบาท จากพ.ร.บ.กู้เงินฯ เข้ามาสู่ระบบงบประมาณ หมายความว่า ที่ได้มีการขาดดุลเพิ่มเติมนั้น ก็มีการนำเอาเงินงบประมาณ 1 แสนล้านบาท แล้วอีก 2 แสนล้านบาทก็ไปอยู่ในปีงบประมาณ ปี 2555-2556 จะดำเนินโครงการตามงบประมาณไทยเข้มแข็งได้ จึงต้องชี้แจงกับพี่น้องประชาชน

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า หากไม่เห็นบางโครงการในปี 2554 ก็จะเป็นการลงทุนในปี 2555-2556 การดึงเงินลงทุนกลับเข้ามาในงบประมาณ ทำให้มีการปรับอัตราการลงทุนเพิ่มขึ้นมาที่ 16% ทั้งที่จริงแล้วอยากได้เกิน 20% แต่ต้องตัดการลงทุนออกมา เนื่องจากขาดรายได้จากภาษีอาการ ลดต่ำลงเหลือร้อยละ 12 ดังนั้นงบประมาณส่วนนี้เป็นเครื่องยืนยันการกลับเข้ามาสู่ภาวะปกติ ส่วนรายจ่ายประจำในปี 2553 ที่หลายคนสงสัยว่า จะนำไปก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่ ต้องเรียนว่ารายจ่ายประจำกว่า 80% ของงบประมาณทั้งหมด ไม่ได้เป็นเงินเดือน หรือเงินบริหารภาคราชการเท่านั้น ส่วนหนึ่งยังเป็นรายจ่ายที่รัฐบาลมุ่งนำมาสร้างสวัสดิการให้กับพี่น้องประชาชน

“ดังนั้นงบประมาณที่จัดไว้เมื่อปี 2554 ก็ยังจัดไว้เพื่อโครงการเรียนฟรี 15 ปี เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 5 ล้านคน เบี้ยคนพิการอีก 8 แสนคน มีการเพิ่มงบประมาณติอหัวในโครงการรักษาพยาบาลฟรี หรือ 30 บาทเดิม นอกจากนี้ยังมีการจัดงบประมาณรายได้เกษตรกร ที่จะเพียงพอกับการดูแลเกษตรที่เพาะปลุก ข้าวที่ประกันรายได้ทั้ง 2 รอบ ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ฉะนั้นงบประมาณทั้งหมดนี้จะเป็นงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจที่นำโครงสร้างทางการเงินกลับมาสู่ภาวะปกติ มีการเดินหน้าในเรื่องสวัสดิการของพี่น้องประชาชนเป็นสำคัญเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และดำเนินการลงทุนในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็น” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า สำหรับการขาดดุลงบประมาณจำนวนกว่า 4 แสนกว่าล้านบาท จะทำให้ระบดับหนี้สาธารณะของประเทศไทยอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ คือ ร้อยละ 50 จากที่ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ มีการประเมินว่าระดับหนี้สาธารณะจะเกินร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติ และผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) และคาดว่าจะบริหารจัดการให้ลดลงได้ในระยะเวลาถัดไป เมื่อเทียบเคียงกับประเทศอื่นในโลก จะเห็นว่าประเทศในกลุ่มทวีปยุโรป และอีกหลายประเทศ ที่ดำเนินมาตรการณ์กระตุ้น ศก.กำลังประสบปัญหาหนี้สาธารณะที่เกินเลยร้อยละ 50 ไปจนถึงเกินร้อยละ 100 ก็มี

ไทยรัฐออนไลน์

โดย ทีมข่าวออนไลน์
30 พฤษภาคม 2553, 11:10 น.

http://www.thairath.co.th/content/eco/86249

----------------------------------------------------

บอกว่าจะไม่ทิ้งทวน แต่สุดท้ายทิ้งทวนไปหลายแสนล้านบาท

++++++++++

วันอาทิตย์ ที่ 1 พฤษภาคม 2554
'อภิสิทธิ์'ยันไม่อนุมัติงบทิ้งทวน ไม่ใช้รบ.รักษาการเอื้อพรรคการเมือง
โดย : bangkokbiznews , 17:52:00 น. ผู้อ่าน 36

นายกฯลั่นประชุมครม.นัดส่งท้ายอังคารนี้ จะไม่มีอนุมัติงบทิ้งทวน ยันจะไม่ใช้อำนาจรัฐบาลรักษาการเอื้อพรรคการเมืองช่วงเลือกตั้ง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์" กล่าวยืนยันถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีวันอังคาร( 2 พ.ค.) ที่จะถึงนี้จะไม่มีการอนุมัติในลักษณะเป็นการทิ้งทวน ว่า งานทางด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม รัฐบาลยังเดินหน้าอย่างต่อเนื่องและมีความคืบหน้าไปมาก และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีอนุมัติในส่วนของแม่กวงที่เชียงใหม่ ซึ่งจะช่วยทำให้มีการเติมน้ำและบริหารจัดการน้ำได้มากยิ่งขึ้นสำหรับพี่น้องในภาคเหนือ อย่างไรก็ตามในการประชุมครม.วันอังคารที่จะถึงนี้ ตนจะเชิญมีการเชิญรัฐมนตรีทุกกระทรวงหารือว่ามีงานจำเป็นเร่งด่วนใด ๆ ที่จะต้องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา

"การไปอนุมัติในลักษณะที่ชอบพูดกันว่าจะเป็นการทิ้งทวน โดยไม่มีการผ่านความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสภาพัฒน์ฯ หรือสำนักงบประมาณ แต่ว่าต้องมีความมั่นใจว่างานที่มีความจำเป็นเร่งด่วนจะได้มีการอนุมัติกันไป เพราะว่าพอเข้าสู่ช่วงของการเลือกตั้งแล้ว นอกเหนือจากกฎหมายที่ระบุเอาไว้ว่าอะไรที่คณะรัฐมนตรีทำได้ ทำไม่ได้ เราก็จะต้องคำนึงถึงมารยาททางการเมือง เคารพเจตนารมณ์ของพี่น้องประชาชน ซึ่งกำลังตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใดเข้ามาบริหารบ้านเมืองต่อไป แต่ก็ต้องย้ำครับว่าการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาตามความจำเป็นนั้น ยังทำได้อย่างเต็มที่ อันนี้เป็นหลักว่าในระบบของเรานั้นต้องไม่มีสุญญากาศครับ ทุกขณะเวลาก็ต้องมีรัฐบาลซึ่งสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ " นายกฯ กล่าวว่า

ยันจะไม่ใช้อำนาจรัฐบาลรักษาการเอื้อพรรคการเมืองช่วงเลือกตั้ง

นายอภิสิทธิ์ กล่าวยืนยันว่าจะไม่มีการเอารัดเอาเปรียบจากภาครัฐในเรื่องการเลือกตั้ง ว่า ในวันพรุ่งนี้ตนจะได้เดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะหัวหน้าพรรคการเมือง และหัวหน้ารัฐบาลด้วย ที่จะพูดคุยกับก.ก.ต. เพื่อดูแลว่าการเลือกตั้งนั้นมีความสุจริต เที่ยงธรรม เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลายเรื่อง ซึ่งมีความวิตกกังวลกันว่าจะมีการเอารัดเอาเปรียบจากภาครัฐบาลหรือไม่

"ผมขอยืนยันว่าไม่มีแน่นอน ตัวอย่างที่เห็นคือคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมามีมติว่า ป้ายประชาสัมพันธ์โฆษณาต่าง ๆ ซึ่งมีภาพของนักการเมือง หรือสปอตโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ ที่มีภาพของนักการเมืองนั้น ก็จะมีการยุติ ไม่มีการดำเนินการต่อ ได้สั่งให้เป็นมติของคณะรัฐมนตรีต่อไป เพื่อที่จะเป็นการพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ใจของรัฐบาลในการที่จะไม่เอารัดเอาเปรียบในเรื่องของการเลือกตั้ง นอกจากนี้ขอเรียกร้องไปยังสื่อมวลชนทุกแขนง ให้มีความระมัดระวังในการจัดสรรเวลา เปิดโอกาสให้ทุกพรรคการเมืองอย่างเหมาะสม เปิดโอกาสให้ทุกพรรคการเมืองสามารถที่จะนำเอาความคิดความอ่านต่าง ๆ มาเสนอต่อพี่น้องประชาชน เพื่อสามารถทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามความตั้งใจของพวกเราทุกคนว่า จะเป็นการเดินหน้าประเทศไทย " นายกฯ กล่าว

นายกฯ กล่าวต่อว่า ตนขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการจัดรายการฯ พร้อมขอบคุณประชาชนที่ติดตาม ห่วงใยการทำงานของรัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และแน่นอนที่สุด ที่วันนี้ต้องบอกว่าเป็นรายการสุดท้าย เพราะว่าหลังจากนี้ไปเมื่อมีการยุบสภาฯ แล้วก็คงไม่เหมาะสมที่ตนจะมาใช้สื่อของรัฐ ในฐานะนายกรัฐมนตรี พูดจาในสิ่งซึ่งอาจจะมีการมองว่าทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง ดังนั้นตนจึงขอถือโอกาสนี้ขอบคุณทุก ๆ ฝ่ายที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดรายการฯ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และก็ขอขอบคุณท่านผู้ชม พี่น้องประชาชน ที่ได้กรุณาติดตาม ติชมเสนอแนะ ห่วงใยกับการทำงานของรัฐบาล ซึ่งได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่านรายการในรายการนี้

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20110501/389039/อภิสิทธิ์ยันไม่อนุมัติงบทิ้งทวน-ไม่ใช้รบ.รักษาการเอื้อพรรคการเมือง.html

ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ

-----------------------------------------------------

ครม.รัฐบาลอภิสิทธิ์สั่งลา เทกระจาดงบฯกว่าแสนล้าน โค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง

วันที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 12:00:21 น.



(โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ มติชนรายวัน ฉบับ 2 พ.ค.2554)


ใน ที่สุด...ก็มาถึงโค้งสุดท้ายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ประกาศชัดว่าจะยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมนี้

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 พฤษภาคม ถือเป็นนัดสุดท้าย ซึ่งรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงต่าง "ทิ้งทวน" เสนอโครงการต่างๆ เข้าพิจารณากันเป็นหางว่าว ไม่นับรวม ครม.ก่อนหน้าวันที่ 26 เมษายน ที่อนุมัติกันมาราธอนกว่า 5-6 ชั่วโมง ตั้งแต่ 9 โมงเช้าไปจนถึงเกือบ 4 โมงเย็น มีวาระเสนอให้พิจารณาถึง 24 เรื่อง วาระจรอีก 15 เรื่อง แถมด้วยวาระเพื่อทราบอีก 21 เรื่อง รวมเป็นวงเงินที่อนุมัติภายในวันเดียวกว่า 66,113.76 ล้านบาท

โครงการที่เสนอขอเข้ามาและผ่านการอนุมัติส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ใช้งบฯจำนวนมาก และเป็นงบฯผูกพัน ขณะเดียวกัน ยังพบว่าโครงการที่ผ่านการอนุมัติแบ่งเป็น 2 จำพวกใหญ่ๆ คือ งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง โดยกระทรวงกลาโหมรับไปเต็มๆ กว่า 1.7 หมื่นล้านบาท กับโครงการที่เข้าข่ายประชานิยม ที่หวังผลคะแนนเสียงทางการเมือง

เพื่อให้มีผลต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นนั่นเอง!!

ไม่ว่าจะเป็นโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ตามที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เสนอ ซึ่ง ครม.อนุมัติกรอบสูงถึง 3,500 ล้านบาท แม้นายไตรรงค์จะยืนยันว่า จริงๆ แล้วโครงการนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,250 ล้านบาท คำนวณจากการชดเชยให้กิโลกรัม (กก.) ละ 1.50 บาท ในปริมาณปุ๋ย 1.5 ล้านตัน ให้สิทธิกับเกษตรกรที่เคยมาลงทะเบียนประกันรายได้เกษตรกรเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า โครงการนี้จะช่วยลดต้นทุนได้ถึง 20% และเพิ่มผลผลิตได้ 5% ต่อไร่ ช่วยลดต้นทุนทั้งระบบกว่า 1 หมื่นล้านบาทต่อปี


แม้ว่านักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ จะค้านกับแนวคิดดังกล่าว โดยอ้างว่าข้อเท็จจริงเกษตรกรยังคงซื้อปุ๋ยสูงกว่าราคาควบคุม สุดท้ายผลประโยชน์จึงตกอยู่กับบริษัทปุ๋ย อีกทั้งรัฐบาลยังมีโครงการประกันรายได้อยู่แล้ว ดังนั้น การชดเชยราคาปุ๋ยถือเป็นมาตรการช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อน

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังโดยนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ยังฉวยโอกาสช่วง ครม. 2 นัดส่งท้าย เสนอขออนุมัติออกสลากการกุศล 2 ครั้ง ครั้งแรกวงเงิน 8,000 ล้านบาท และครั้งถัดมาอีก 6,999 ล้านบาท ทั้งๆ ที่จากข้อมูลพบว่านับตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 จนถึงวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา มีสลากการกุศลที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้วกว่า 29,670 ล้านบาท ปัจจุบันสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้นำสลากเหล่านี้ออกขายเพียง 6,311 ล้านบาท จึงทำให้เหลือสลากการกุศลที่ยังไม่ได้นำไปจัดสรรโควต้า หรือไม่ได้นำไปวางแผนการจัดจำหน่ายอีก 23,359 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมาก

ไม่รู้ว่า รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการออกสลากมอมเมาประชาชนมากขนาดนี้ แล้วเหตุใดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กลับทักท้วงการอนุมัติสลากออนไลน์

ดูจะเป็นนโยบายที่สวนทางกัน...ใช่หรือไม่!!

ในทางตรงกันข้าม นโยบายสำคัญบางเรื่องที่ควรจะเร่งรัดให้มีผลปฏิบัติโดยเร็ว ทั้งๆ ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เงื้อง่ามานานเป็นปี แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถอนุมัติได้ ได้แก่ แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างภาษีรถยนต์ ซึ่งเอกชนถามไถ่และติดตามอย่างใจจดใจจ่อ เพราะจะก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการทำธุรกิจ กลับได้รับคำตอบจากนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่าเสนอไม่ทัน ทั้งที่ในฟากกระทรวงอุตสาหกรรมก็พยายามผลักดันอย่างเต็มที่ เนื่องจากโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่จะสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง

แต่ล่าสุดเมื่อวัน ที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ก็ยืนยันอีกครั้งว่า คาดว่าจะไม่สามารถเสนอได้ทันรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากยังเหลือเรื่องที่ต้องผ่านความเห็นชอบจาก ครม.อีกมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรณ์ว่าจะนำเข้า ครม.นัดสุดท้ายนี้หรือไม่

เช่นเดียวกับการแก้ปัญหาสินค้าราคาแพง ที่สินค้าหลายชนิดทำท่าขยับราคาขึ้นกันเป็นแถว จนสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภค กลับกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจาก ครม.น้อยลงทุกที โดย ครม.วันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา มีเพียงการมอบหมายให้นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ไปศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาไข่ไก่และเนื้อหมู เพื่อนำกลับมาเสนอ ครม.พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 3 พฤษภาคมนี้ ซึ่งไม่รู้ว่าจะหวังพึ่ง ครม.นัดสุดท้ายให้ช่วยแก้ปัญหาได้จริง หรือแค่แตะๆ ไว้ไม่ให้ประชาชนหงุดหงิดใจเท่านั้น

คงต้องจับตากันแบบห้ามกะพริบ สำหรับการประชุม ครม.นัดสั่งลานี้ ซึ่งเชื่อว่าจะมีการเสนอโครงการสารพัดเพื่อผูกพันงบประมาณเอาไว้ใช้ แน่นอนว่าเป็นการหวังผลซื้อใจประชาชนสำหรับการหาเสียงเลือกตั้งที่กำลังจะมี ขึ้น

โดยขณะนี้มีโครงการจาก 2 กระทรวงเศรษฐกิจหลักที่เสนอเข้ามามากกว่าใครเพื่อน ได้แก่ กระทรวงคมนาคม มีการเสนอโครงการเข้า ครม.กว่า 10 โครงการ มีการขอวงเงินงบประมาณรวมกันกว่า 32,393.05 ล้านบาท ขณะที่กระทรวงหลักอีกแห่ง คือ กระทรวงการคลัง ก็ไม่น้อยหน้า มีทั้งโครงการให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ปล่อยกู้ซื้อบ้าน ดอกเบี้ย 0% นาน 2 ปี ระยะเวลาผ่อน 30 ปี จากราคาบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท กำหนดวงเงินสินเชื่อถึง 50,000 ล้านบาท

ยังไม่รวมโครงการของบประมาณ อีก 20,000-30,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้สินเชื่อปุ๋ยราคาถูก รวมถึงโครงการประกันภัยพืชผลเกษตรผู้ปลูกข้าวอีก 2,000 กว่าล้านบาท รวมเบ็ดเสร็จแล้วเป็นเงินถึง 82,000 ล้านบาท

หากรวมโครงการที่เสนอเข้า ครม.นัดสุดท้าย คิดเป็นวงเงินสูงถึง 120,000 ล้านบาท!!

ยัง ไม่นับรวมโครงการจากกระทรวงอื่นๆ ที่มีกระแสข่าวว่า อาจใช้วิธี "สอดไส้" เข้ามาเป็นวาระจร เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการ ไม่ต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองหลายขั้นตอน

ส่วนผล ครม.จะออกหัวหรือก้อย ใครได้ใครเสีย แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะโยงไปสู่สนามการเลือกตั้ง ที่จะมีการจับกลุ่มหาก๊วน ต่อรองอำนาจ ทวงบุญคุณ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่หรือไม่

งานนี้ต้องรอดู...


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304310839&grpid=01&catid&subcatid

-----------------------------------------------------

พท.เรียกครม.ทิ้งทวนอนุมัติงบฯ "การประชุมนัดฮาโลวีน" ลุยร้องกกต.สอบ

วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16:11:26 น.

ที่พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 3 พ.ค. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งสุดท้ายที่มีวาระเข้าสู่ที่ประชุมมากถึง 162 วาระ ว่า ถือเป็นการพิจารณาอนุมัติงบทิ้งทวนแบบไม่เกรงใจประชาชน ไม่เคยมีที่ไหนในโลกที่พิจารณาวาระที่เข้าประชุมมากขนาดนี้ใน 1 วัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พูดมาตลอดว่า จะไม่ทำ แต่สุดท้ายก็ดีแต่พูด ขอเรียกการประชุมครม.ครั้งนี้ว่าเป็น "การประชุมนัดฮาโลวีน" ปล่อยผี เทงบฯ บางตัวเป็นการซื้อเสียงล่วงหน้า จึงอยากให้กกต.เข้ามาตรวจสอบการใช้งบฯ ด้วย หากมีความไม่ชอบมาพากลนายอภิสิทธิ์ และครม.ทั้งคณะต้องรับผิดชอบ เบื้องต้นตนและทีมงานจะยื่นเรื่องให้กกต.ตรวจสอบก่อน จากนั้นในสัปดาห์จะยื่นเรื่องให้ปปช.ตรวจสอบต่อไป

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304413900

-----------------------------------------------------

เรื่องจากปก
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ปีที่ 12 ฉบับที่ 3047 ประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 5 พฤษภาคม 2011
โดย -

ครม.ทิ้งทวนงบแฉประชุม3นัดแจก6.5แสนล้าน

อดีตกรรมการบริหารไทยรักไทยเหน็บ ครม. “อภิสิทธิ์” แน่มากที่กล้าอนุมัติงบประมาณทิ้งทวนแบบเทกระจาดก่อนยุบสภา แฉประชุม ครม. 3 นัดหลังสุดแจกไป 650,000 ล้านบาท “มาร์ค” แจงเร่งเห็นชอบเพราะไม่อยากให้งานสะดุด ระบุทุกยอดเป็นเรื่องเก่าที่อยู่ในแผนงานอยู่แล้ว “สุเทพ” ท้าตรวจสอบ

นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย โพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์ส่วนตัวโดยระบุถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมาว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พูดในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ว่า ครม. จะไม่ทิ้งทวนงบประมาณ แต่ผลการประชุม ครม. นัดท้ายชัดเจนว่ามีการพิจารณา 206 วาระ เทกระจาดงบประมาณไปกว่า 100,000 ล้านบาท ใช้เวลาประชุมกันนานกว่า 10 ชั่วโมง ซึ่งยาวนานที่สุดเท่าที่ประชุมกันมาในรัฐบาลนี้

“พูดได้คำเดียวว่านายแน่มาก นี่ไม่นับรวมการประชุม ครม. ก่อนหน้านี้ 2 นัดที่อนุมัติไปล่วงหน้า 457,000 กว่าล้านบาท ให้ซื้อเครื่องบินโดยไม่มีรายละเอียดโครงการก็ยังกล้าทำ ส่วนนัดที่แล้วอนุมัติทั้งหมด 66,113 ล้านบาท เมื่อรวมการประชุมนัดมาราธอนอีก 120,000 กว่าล้านบาท ประชุม ครม. 3 นัด อนุมัติไป 650,000 กว่าล้านบาท อย่างนี้ไม่เรียกทิ้งทวนแล้วจะเรียกอะไร พูดได้คำเดียวนายแน่มาก นายกล้ามาก กล้าแจกจ่ายอย่างทั่วถึง กล้าทำโดยไม่กลัวอะไรเลย”

ด้านนายอภิสิทธิ์ชี้แจงว่า ที่ ครม. นัดสุดท้ายต้องพิจารณาเป็นร้อยเรื่องเพราะกฎหมายกำหนดว่าเมื่อยุบสภาแล้วห้ามพิจารณาเรื่องที่มีผลผูกพันกับรัฐบาลชุดต่อไป

“มีหลายเรื่องที่ต้องพิจารณา เช่น งบช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม ประสบภัยแล้ง หากไม่อนุมัติต้องรอไปอีก 3 เดือน งบประมาณส่วนใหญ่ที่อนุมัติเป็นงบที่อยู่ในแผนงานอยู่แล้ว ส่วนมากเป็นเรื่องของเงินเดือนค่าตอบแทนของครู แพทย์ พยาบาล ส่วนงบของกระทรวงกลาโหมที่เห็นชอบไปเป็นเรื่องเก่า”

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ครม. ไม่ได้ทิ้งทวนเพื่อแจกจ่ายงบประมาณเอาใจพรรคร่วมรัฐบาล แต่ที่ต้องเร่งอนุมัติงบประมาณช่วงนี้เพราะกฎหมายกำหนดว่าเมื่อยุบสภาแล้วจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย หากไม่อนุมัติไว้ก่อนจะเกิดการชะงักงัน ทำงานไม่ได้ ต้องรอจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีก 3 เดือน

“เมื่อมีเรื่องค้างมากก็ต้องเร่งพิจารณา ซึ่ง ครม. ประชุมกันถึงตี 2 ไม่ใช่เรื่องทิ้งทวน แบ่งเค้กอย่างที่วิพากษ์วิจารณ์กัน ทุกเรื่องตรวจสอบได้”

นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา กล่าวว่า การกระทำของรัฐบาลถือว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากจะพ้นอำนาจแล้ว และการพิจารณากว่า 200 วาระในวันเดียวถือว่ามีเวลาน้อยที่จะทำได้อย่างรอบคอบ

“การอนุมัติงบประมาณจำนวนมากก่อนยุบสภาไม่กี่วันถือว่าไม่เหมาะสม คณะกรรมาธิการจะตรวจสอบรัฐบาลต่อไป”

นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า การประชุม ครม. นัดสุดท้ายพิจารณา 155 เรื่อง ใช้เวลา 15 ชั่วโมง ยืนยันว่าไม่ได้อนุมัติงบประมาณกว่า 400,000 ล้านบาทอย่างที่พูดกัน เพราะมีเรื่องของงบประมาณผูกพันที่เสนอเข้ามาด้วย ที่ต้องอนุมัติหลายเรื่องเพราะต้องการให้การทำงานต่อเนื่องไม่สะดุดในช่วงยุบสภา

“ตัวเลขงบประมาณที่อนุมัติสำรองจ่ายฉุกเฉินมีเพียง 13,745 ล้านบาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีงบโครงการประชาวิวัฒน์ 18 ล้านบาท งบกระทรวงกลาโหม 1,806 ล้านบาท งบฟื้นฟูปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ 1,385 ล้านบาท”

http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=10580

-----------------------------------------------------

รัฐบาลโต้ทิ้งทวนแสนล้านอ้างงบฯผูกพันอนุมัติจริงแค่หมื่นล….
Posted on พฤษภาคม 5, 2011 by สช.

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นัดสุดท้ายก่อนยุบสภา ที่ใช้เวลานับสิบชั่วโมงมีวาระการพิจารณานับร้อยเรื่อง จำนวนงบประมาณนับแสนล้าน ว่า งบประมาณที่อนุมัติส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่อยู่ในแผนเดิมส่วนมากเป็นเรื่องเงินเดือนค่าตอบแทนครูและแพทย์พยาบาล หากไม่ดำเนินการขณะนี้ อีก 2 เดือนก็ต้องอนุมัติ เพราะเป็นค่าตอบแทนที่ต้องทำดังนั้น ที่วิจารณ์ว่าเป็นการอนุมัติงบจำนวนมากนั้นเป็นเรื่องที่อยู่ในแผนอยู่แล้วกว่าแสนล้านบาทในส่วนของกระทรวงกลาโหมที่อนุมัติเป็นเรื่องเก่ายกเว้นปัญหาชายแดน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องงบประมาณการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ภัยแล้งที่ต้องเร่งอนุมัติ ถ้าไม่อนุมัติในการประชุมครม.ครั้งนี้ ต้องรอไปอีก 3 เดือน

’เทือก’แจงอนุมัติแต่เรื่องด่วน
ด้ายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์กล่าวในเรื่องเดียวกันว่าโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเลือกตั้งในช่วงที่ยุบสภารัฐมนตรี ครม.ไม่สามารถอนุมัติโครงการ ไม่สามารถอนุมัติการใช้จ่ายเงินงบประมาณได้ ทำให้ช่วงรักษาการไปจนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่เป็นเวลาประมาณ 3 เดือนหรือ 90 วัน ที่การบริหารราชการบ้านเมืองจะเกิดอาการชะงักได้ กระทรวง ทบวงกรม จึงรีบทำเรื่องเสนอขออนุมัติ ขอความเห็นชอบในโครงการสำคัญที่ต้องดำเนินการหรือขอใช้เงินเพื่อนำไปแก้ปัญหาของประชาชนและประเทศชาติช่วง 90 วันต่อไปนี้ เช่น เรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมครม.ก็ต้องเอาโครงการทั้งหมดที่จะช่วยฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมเข้ามาขอรับการอนุมัติจากครม. เพราะถ้าเลยช่วงนี้ไปแล้วทำไม่ได้ คนที่ประสบภัยน้ำท่วมก็เคว้งคว้าง หรือกรณีที่จะไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่อินโดนีเซียสิ่งที่จะต้องเป็นมติครม.ก็ต้องมาตัดสินกันก่อนทำให้เรื่องจากทุกกระทรวงประดังเข้ามาพร้อมกันวาระการประชุมจึงมีกว่าร้อยเรื่อง

ปัดทิ้งทวน-ชี้วาระแค่ร้อยเรื่อง
”จึงไม่ใช่การทิ้งทวนหรือแบ่งเค้ก อย่างที่กล่าวหากัน สิ่งเหล่านี้ตรวจสอบได้ โครงการทั้งหลายที่ครม.อนุมัติ ได้พิจารณาด้วยความรอบคอบ”นายสุเทพกล่าว และว่า เรื่องที่พิจารณามีไม่ถึง200 วาระ มีเพียง 103 เรื่อง แต่บางเรื่องอย่างน้อย7-8 เรื่อง ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเสนอร่างพ.ร.บ.ให้ครม.เห็นชอบ ตนก็แปลกใจว่าทำไมกระทรวงพยายามเอาเข้ามาพิจารณา และครม.ต้องถกอภิปรายกันนานมาก เพราะร่างพ.ร.บ.เหล่านี้ถึงครม.ให้ความเห็นชอบไป ก็ไม่สามารถส่งไปสภาฯได้เพราะสภาไม่บรรจุวาระแล้ว คาดว่ากระทรวงคงต้องการให้งานไม่หยุดชะงักในช่วง 90 วันดังกล่าว

ครม.ยันใช้งบกลางกว่าหมื่นล.
เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาลนายปณิธาน วัฒนายากร รักษาการรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นัดสุดท้ายเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า ใช้เวลารวมทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง มีวาระเพื่อพิจารณา 155 วาระ เป็นวาระจร 53 วาระ ไม่ถือว่าเป็นวาระที่มากผิดปกติ วาระจรก็มีไม่มาก วาระพิจารณาปกติมี102 วาระ ถือเป็นครม.อนุมัติในหลักการค่อนข้างมาก เห็นเอกสารล่วงหน้า อย่างเรื่องงบพัฒนารัฐวิสาหกิจที่อนุมัติล่วงหน้า ไปกว่า 4 แสนล้านบาทและบางตัวเป็นงบผูกพันงบประจำปี ในช่วงเวลาขณะนี้ส่วนใหญ่จะขอผูกพันไปถึงปี 2555 และอาจกลับเข้ามา ส่วนที่อนุมัติในหลักการไปหลายโครงการแล้วนั้น เป็นการบวกตัวเลขที่ซ้ำซ้อนทำให้ตัวเลขโดยรวมดูเหมือนจะสูงเป็นแสนล้าน ซึ่งสำนักงบประมาณยืนยันตัวเลขมาว่าของบกลางในรายการสำรองจ่ายฉุกเฉินเพื่อกรณีจำเป็นเร่งด่วนมีหลายโครงการตัวเลขอยู่ที่13,745.0939ล้านบาทไม่ใช่เป็นแสนล้านตามที่เป็นข่าว
แจงเหตุผลครม.เทกระจาด

นายปณิธานยังชี้แจงเหตุผลที่มีการอนุมัติงบประมาณจำนวนมาก มาจากเหตุผล 5 ประการคือ 1.รัฐบาลยุบสภาเร็วกว่ากำหนด ทำให้โครงการที่หน่วยราชการวางแผนว่าจะเสนอช่วงปลายปีต้องรวมกันในช่วงนี้2.หลายโครงการเป็นงบผูกพันข้ามปีไม่ควรนับรวมด้วย 3.รัฐบาลมีแผนปรับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ 4.มีเหตุอุทกภัยเกิดขึ้นใช้เงินเยียวยากว่า 1 พันล้าน และ 5.เกิดการสู้รบแนวชายแดนไทย-กัมพูชาต้องใช้เงินนับพันล้านซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ป้องกันอธิปไตยของชาติ
ย้ำอยากให้โครงการต่อเนื่อง

”รัฐบาลตั้งใจให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานที่ได้แถลงไป ไม่อยากให้โครงการเร่งด่วนหายโครงการที่เป็นโครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ ประสบภัยโครงการที่แก้ปัญหาตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาและค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งซึ่งเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่สูงมากลำดับ2ในงบกลางประมาณ3พันกว่าล้านบาทไม่ควรสะดุดแม้จะสามารถขออนุมัติจากกกต.ได้ แต่รัฐบาลอยากให้โครงการต่างๆ เดินหน้าต่อเนื่องโดยเฉพาะการแก้ปัญหาเร่งด่วน” นายปณิธาน กล่าว

กลาโหมรับทิ้งท้าย1.8พันล้าน
นายปณิธานกล่าวด้วยว่า ครม.ยังอนุมัติงบประมาณให้กระทรวงกลาโหม 1,806 ล้านบาทแบ่งเป็นการปรับค่าเบี้ยเลี้ยงทหารพราน172ล้านบาทเพิ่มจาก 55 บาทต่อวัน เป็น 120 บาท ค่าใช้จ่ายในการป้องกันชายแดนไทย-กัมพูชา 359 ล้านบาทค่าใช้จ่ายจัดหมู่เรือไปปราบโจรสลัดโซมาเลีย 355 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการจัดหากระสุนสำรองคงคลังอีก 920 ล้านบาท
ไฟเขียวงบเลือกตั้ง3.8พันล้าน

ด้านนายวัชระกรรณิการ์รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงเพิ่มเติมว่า ครม.อนุมัติงบประมาณสำหรับการเลือกตั้ง 3,817 ล้านบาทตามที่กกต.เสนอโดยนายกรัฐมนตรีย้ำให้ข้าราชการทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งอย่างเคร่งครัดและปฏิบัติตามมติครม.ปี 2543 ที่ให้ข้าราชการวางตัวเป็นกลางทางการเมืองรวมทั้งให้ปลดป้ายประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆของกระทรวงเพื่อไม่ให้เอื้อต่อประโยชน์ที่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง

ทร.โอดวืดเรือดำน้ำสงสัยเรื่องเงียบ
ในส่วนกองทัพเรือ (ทร.) พล.ร.อ.กำธรพุ่มหิรัญ ผบ.ทร.กล่าวถึง กรณีกระทรวงกลาโหมไม่ได้เสนอโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือรุ่น U-206 A จากเยอรมนี 6 ลำ วงเงิน 7.7 พันล้านบาทให้ที่ประชุมครม.วันที่ 3 พฤษภาคมพิจารณาว่ากองทัพเรือเสนอเรื่องนี้ไปทางสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่กระทรวงกลาโหมแจ้งว่าเสนอเข้าครม.ไม่ทัน ตนไม่ทราบรายละเอียดการประชุมสภากลาโหมครั้งที่ผ่านมา เป็นวาระเพื่อทราบเท่านั้นไม่ได้เป็นการอนุมัติในรายละเอียด คงต้องถามพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ส่วนนี้คงหมดหน้าที่ของตน เพราะทำดีที่สุดแล้วผู้บังคับบัญชาว่าอย่างไรตนก็ว่าอย่างนั้นถือว่าจบ

ชี้ต้องทำใจแต่ยืนยันความจำเป็น
”ส่วนจะเดินหน้าโครงการนี้อย่างไรต่อไปต้องไปดูว่ามีข้อบกพร่องส่วนใด ถึงทำให้การตัดสินใจไม่ชัดเจน หรือที่มีการระบุว่าเรือดำน้ำไม่สามารถดำน้ำได้ แต่คงไม่ใช่เรื่องเวลาเตรียมข้อมูลไม่ทันเพราะกองทัพเรือส่งเรื่องไปทางสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เรื่องอยู่ที่สำนักงานฯเป็นเวลา1 เดือนเต็ม ผมตอบได้แค่นี้ รายละเอียดคงต้องไปถามที่กระทรวงกลาโหม เราต้องยอมรับ แต่ยังยืนยันความจำเป็น”พล.ร.อ.กำธรกล่าว และว่า รู้สึกเสียดาย เพราะเป็นโครงการที่ดี

เล็งชงเข้าครม.รัฐบาลต่อไป
พล.ร.อ.กำธรยังกล่าวด้วยว่ามีผู้บังคับบัญชาหลายท่าน โดยเฉพาะอดีตผู้บัญชาการทหารเรือและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือเคยให้กำลังใจว่าตนทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ขณะนี้มีหลายท่านโทรศัพท์มาหาและบอกว่าเสียใจด้วยรวมทั้งขอให้ตนบอกสิ่งที่ถูกต้องให้ประชาชนได้รับทราบว่าจำเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ครูอาจารย์ และเด็กรุ่นหลังก็เห็นตรงกัน อย่างไรก็ตาม ไม่น้อยใจ จะทำหน้าที่ต่อไปส่วนจะมีความหวังในรัฐบาลต่อไปที่จะเสนอโครงการนี้อีกหรือไม่นั้น ตนย้ำว่ากองทัพเรือไม่มีเรือดำน้ำมา 60 ปีแล้ว เป็นความพยายามครั้งที่ 3 ที่ประสบความล้มเหลวอีกแล้วถ้าเราซื่อตรงในหน้าที่จรรยาบรรณ และวิชาชีพก็ต้องดำเนินการต่อไป

สธ.แจงใช้งบผลิตคน-ยกระดับรพ.
สำหรับกระทรวงสาธารณสุขนั้นนายจุรินทร์ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข เผยว่า จำนวนงบประมาณที่ครม.อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ที่ 14,200 ล้านบาท ในจำนวนนี้ 10,000 ล้านบาทจะใช้เพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์จัดหลักสูตรพยาบาล การจัดจ้างและบรรจุข้าราชการเพื่อรองรับการยกระดับโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 9,750 แห่งทั่วประเทศ พร้อมจัดสรรงบประมาณเป็นพิเศษ เพื่อผลิตพยาบาลวิชาชีพบรรจุใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความต้องการถึง 3,000 อัตรา โดยขณะนี้พยาบาลที่กำลังจะเรียนสำเร็จ 2,825 คน รวมกับการบรรจุพยาบาลวิชาชีพรุ่นพี่อีก 669 อัตรา ซึ่งเคยอยู่ในอัตราจ้างให้ได้เป็นข้าราชการเต็มตัวด้วย คาดว่าจะใช้งบประมาณ 4,200 ล้านบาท

วุฒิเล็งสอบเร่งอนุมัติแสนล้าน
ยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การประชุมครม.ครั้งประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องและบางส่วนต้องการให้มีการตรวจสอบ โดยนายจิตติพจน์วิริยะโรจน์สว.ศรีสะเกษประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา กล่าวว่า การที่ครม.ประชุมต่อเนื่องและอนุมัติโครงการต่างๆ มูลค่านับแสนล้านบาทจนถูกมองว่าเป็นการกระทำต่างตอบแทนให้กองทัพและพรรคร่วมรัฐบาลทั้งที่ อีกไม่กี่วันจะยุบสภาแล้วนั้นถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง และด้วยวาระการพิจารณาจำนวนมากกว่า 200 วาระ แต่ครม.มีเวลาพิจารณาน้อยมาก ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าการพิจารณาอนุมัติทำด้วยความรอบคอบมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น คณะกรรมาธิการฯจะนำเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา เพื่อให้มีการตรวจสอบรัฐบาลต่อไป

’ภูมิธรรม’ทวิต’นายแน่มาก’
เช่นเดียวกับ นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรมว.คมนาคมและอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทวิตข้อความผ่านเว็บไซต์www.twitter.com เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน ล่าสุดเป็นการโจมตีการประชุมคณะรัฐมนตรีซึ่งมีการผ่านวาระและอนุมัติงบประมาณเป็นจำนวนมากโดยระบุว่า”นายกฯพูดในรายการเชื่อมั่นปท.ไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ครม.จะไม่มีการทิ้งทวน…ผลการประชุมนัดสุดท้ายเมื่อวานชี้ชัดว่า…เชื่อมั่นปท.ไทยได้แต่เชื่อมั่นนายกฯไม่ได้ครับครม.นัดสั่งลาวานนี้…ช่างกล้าหาญจริงๆเทกระจาด206 วาระ กว่าแสนล้าน ใช้เวลาประชุมนานกว่า10ชั่วโมงแจกจ่ายกันทั่วถึงพูดได้คำเดียว…นายแน่มากนี่ไม่นับรวม การประชุมครม.ก่อนหน้านี้ 2 นัดอนุมัติไปล่วงหน้าก่อน 457.000 ล้านบาท ให้ซื้อเครื่องบินโดยไม่มีรายละเอียดโครงการเลย ยังกล้าทำส่วนนัดที่แล้วอนุมัติทั้งหมดไป 66.113 ล้านบาทและรวมการประชุมนัดมาราธอนอีก 1.2 แสนล้านบาท…รวม 3 นัด เป็นเงินกว่า 6.5 แสนล้านบาท อย่างนี้ไม่เรียกทิ้งทวน แล้วจะเรียกอะไรดีครับ..พูดได้คำเดียว..นายแน่มาก นายกล้ามาก…กล้าแจกจ่ายอย่างทั่วถึง กล้าทำโดยไม่กลัวอะไรเลย”
พท.ซัดรบ.ชูชก-แช่งท้องแตกตาย

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน โดยระบุว่าการประชุมครม.ดังกล่าวไม่รอบคอบและไม่ชอบมาพากลในหลายเรื่อง บางโครงการมีการสอดไส้ หรือเอื้อประโยชน์ต่างตอบแทนกัน เทงบแบบฝนตกทั่วครม.เปียกไปทุกกระทรวง ทบวง กรม เรียกว่าปิดประตูสุมหัวปล้นงบประมาณ แบบไม่เกรงกลัวสายตาใครเป็นมหกรรมสวาปามทิ้งทวนครั้งมโหฬารเป็นการประชุมครม.นัดปาร์ตี้อำลาของรัฐบาลชูชกเพราะตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามา จนถึงวันสุดท้ายมีข่าวเหล่านี้แทบไม่เว้นแต่ละวัน ตนขอสาปแช่งให้คนที่ทุจริตโกงกินงบประมาณของประชาชนท้องแตกตาย ไม่ได้กลับมาบริหารบ้านเมืองอีกต่อไป

แฉเล่ห์แจกงบมัดจำพรรคร่วม
ส่วนนายประชาประสพดีสส.สมุทรปราการพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า การประชุมครม.นัดสุดท้ายการอนุมัติโครงการหลายโครงการส่อทุจริตชัดเจนเพราะมีแค่ชื่อโครงการและวงเงินที่ขออนุมัติเท่านั้นแต่ไม่มีรายละเอียดเนื้อหา เท่าที่นับดูไม่ต่ำว่า 20 โครงการน่าสังเกตว่าการประชุมครม.แจกงบทิ้งทวนครั้งนี้เป็นการมัดจำล่วงหน้าเพื่อร่วมรัฐบาลต่อครั้งหน้าระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันหรือไม่เพราะต่างคนต่างได้ สมประโยชน์กันถ้วนหน้า วาระสุดท้ายแล้วก็ถลุงกันทิ้งทวนสนุกสนานแต่อยากถามว่าถ้าจับพลัดจับผลูพรรคนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ต้องตกไปเป็นฝ่ายค้าน จะกลับมาตรวจสอบงบพวกนี้หรือไม่

แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

http://suchons.wordpress.com/2011/05/05/รัฐบาลโต้ทิ้งทวนแสนล้า/

-----------------------------------------------------

สุดท้ายยังหวังดีแนะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อย่าทำเลียนแบบ

++++++++++

“อภิสิทธิ์” แนะ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” อย่าเน้นแต่มุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจ
สิงหาคม 8, 2011

เมื่อเวลา 12.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเตือนรัฐบาลชุดใหม่ว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจอาจกระทบกับเศรษฐกิจระยะยาวว่า การตัดสินใจเรื่องนโยบายการเงินการคลังจะต้องดูภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งขณะนี้มีความห่วงใยเรื่องสถานการณ์หนี้สินในต่างประเทศซึ่งอาจจะส่งผลกระทบในระยาวได้ ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดนโยบายให้รอบคอบและพร้อมที่จะรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายที่สมดุลระหว่างนโยบายการเงินและการคลัง ทั้งนี้การกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ใช่ความสำคัญลำดับที่หนึ่ง ยังมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อและเสถียรภาพ ถ้าจะมีการลงทุนต้องมีความชัดเจนว่าเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนระยะยาว

เมื่อถามว่า แม้จะมีการกำหนดเพดานหนี้สาธารณะแต่หากนโยบายยังเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดปัญหาหนี้ทะลุเพดานหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นโยบายใหม่หลายเรื่องอาจไม่ใช้งบประมาณ แต่อาจใช้วิธีให้สถาบันการเงินของรัฐเป็นผู้ออกเงิน และอาจจะนำมาบรรจุในงบประมาณในอีกหลายปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นต้องดูว่าจะกระทบกับหนี้สาธารณะ และกรอบการขาดดุลงบประมาณอย่างไร ส่วนการใช้เงินนอกงบประมาณจะกระทบเสถียรภาพสถาบันการเงินของประเทศอย่างไรนั้น ต้องดูว่าเงินที่จ่ายไปจ่ายไปในลักษณะใด และได้กลับคืนมาหรือไม่ ในกรอบเวลาเท่าใด รวมถึงมีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน ทั้งนี้ยังไม่เห็นตัวนโยบายที่เป็นทางการ คงต้องรอก่อนถึงจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ได้

http://www.isnhotnews.com/2011/08/อภิสิทธิ์”-แนะ-รัฐบาลยิ/

-----------------------------------------------------

ยิ่งมีเงินเก็งกำไรขนเข้าประเทศมากเท่าไหร่
ก็เสี่ยงขาดทุนค่าเงินเพิ่มขึ้นในวันที่เขาขนเงินกลับไป
เช่น
ขนเข้ามาช่วง 35 บาทต่อดอลล่าห์ 1 แสนล้านดอลลาห์
พอเงินนอกไหลเข้ามามากๆ เงินบาทก็แข็งค่าขึ้นโดยปริยาย
สมมุติเพิ่มขึ้น 5 บาท มาอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาห์
เขาก็ได้กำไรประมาณ 5 แสนล้านบาทประมาณนั้น
ดังนั้นเงินนอกที่เข้ามาช่วงนี้เยอะๆ
คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าน่าดีใจ
สำหรับอนาคต

+++++++++++++++

รมว.คลังเขียนบทความแจงประเด็น "กองทุนมั่งคั่ง" เชื่อช่วยแก้ปัญหาแบงค์ชาติขาดทุน 4 แสนล้านบาท
วันที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 08:00:00 น.

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ได้เขียนบทความในลักษณะถาม-ตอบชื่อ "ตอบคำถามบางเรื่องเกี่ยวกับกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ" ในหน้าเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

1 การนำเงินทุนสำรองไปลงทุนแบบกองทุนมั่งคั่งของชาติจะมีความเสี่ยงหรือไม่

ต้องยอมรับว่าการลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยงทั้งนั้น เช่นสมมุติให้กู้แก่โครงการรถไฟความเร็วสูงในเอเชีย ลักษณะความเสี่ยงก็อาจเกิดจากจำนวนผู้โดยสารมีน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่ก็น่าจะเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เนื่องจากเอเชียเป็นประเทศกำลังพัฒนา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับที่สูง ดังนั้น โครงการใดที่สนองความจำเป็นพื้นฐานถึงแม้หากจะบังเอิญมีปัญหาระยะสั้น แต่ในระยะยาวก็จะมีโอกาสฟื้นได้แน่นอน

แต่อย่าเข้าใจผิดว่าการที่ ธปท. นำเงินทุนสำรองไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและยุโรปดังที่ปฏิบัติอยู่ขณะนี้ไม่มีความเสี่ยงนะครับ เพราะที่แท้จริงมีความเสี่ยงทั้งในด้านราคาที่ขึ้นๆลงๆ และในด้านค่าเงินต่างประเทศที่อ่อนตัวเพราะมีการพิมพ์เงินออกมามากเกินไป

ทั้งนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่าปี 2553 ธปท. มีผลขาดทุนจากดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 117,473 ล้านบาท และยังมีขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์อีก 260,211 ล้านบาท จำนวนเงินที่สูงมหาศาลเช่นนี้คือปัญหาที่ควรจะต้องแก้ไขครับ

2 การนำเงินทุนสำรองไปลงทุนแบบกองทุนมั่งคั่งของชาติเป็นการแทรกแซง ธปท. หรือไม่

ไม่เป็นการแทรกแซง ธปท. ครับ แต่เป็นการช่วยกันคิดเพื่อแก้ปัญหา เพราะ ณ สิ้นปี 2553 ธปท. มีส่วนของทุนติดลบเป็นจำนวนเงินมหาศาล สูงถึง ติดลบ 431,829 ล้านบาท ถ้าเป็นธุรกิจเอกชนก็จะต้องปิดกิจการไปแล้ว นี่ไม่ใช่สี่แสนบาทนะครับ แต่เป็นสี่แสนล้านบาท

ถึงแม้ ธปท. ไม่ได้ขอให้รัฐบาลช่วยตั้งงบประมาณมาช่วยแก้ไขขาดทุนของ ธปท. แต่ทรัพย์สินของ ธปท. ก็เป็นทรัพย์สินของชาติ ซึ่งควรมีการบริหารจัดการให้ดีที่สุด นอกจากนี้ การที่ ธปท. ขาดทุนจำนวนมหาศาลเช่นนี้ ก็ทำให้ ธปท. ไม่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูซึ่งมีอยู่กว่าหนึ่งล้านล้านบาทได้ ทำให้รัฐบาลมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเพื่อกองทุนฟื้นฟูแต่ละปี 50-60,000 ล้านบาท และขณะนี้ ธปท. ก็ได้ขึ้นดอกเบี้ยไปอยู่ในระดับสูง ทำให้ภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลต้องจ่ายให้แก่กองทุนฟื้นฟูต้องสูงขึ้นไปด้วยทุกวัน จึงเป็นภาระต่อนโยบายทางการคลังอย่างมากครับ

3 จำนวนที่จะกันไปเป็นกองทุนมั่งคั่งของชาติควรจะมาจากบัญชีใดใน ธปท.

ผมได้ให้ ธปท. ไปศึกษา โดยในหลักการ จะไม่แตะต้องทองคำและเงินบริจาคของหลวงตา และจะไม่แตะต้องจำนวนที่ต้องใช้หนุนหลังการออกธนบัตร

4 ธปท. จำเป็นต้องกันทุนสำรองสภาพคล่องเอาไว้เท่ากับเงินที่ต่างชาติได้นำมาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรหรือไม่ เพื่อรองรับในกรณีที่ต่างชาติอาจจะขายและนำเงินกลับออกไป

ไม่จำเป็นครับ ต่างชาติที่หากจะรุมกันขายหุ้น ก็จะทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็จะทำให้ต่างชาติชะลอการขายกันเอง ส่วนคนไทยก็ไม่ต้องไปตื่นเต้นกับเขาและคอยรอรับซื้อเมื่อราคาลงต่ำก็พอ

นอกจากนี้ หากต่างชาติรุมกันนำเงินกลับออกไป เงินบาทก็จะอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ธปท. ก็ไม่ควรจะไปฝืนสภาพตลาด ธปท. ควรจะปล่อยให้ค่าเงินปรับลดลงตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทุ่มเงินทุนสำรองเข้าไปรองรับเอาไว้ดังเช่นในปี 2540

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1315072692&grpid=00&catid=&subcatid=

-------------------------------------------------------


โดย มาหาอะไร
FfF