บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


06 กันยายน 2554

<<< การนิรโทษกรรมของทักษิณ ทั้งเฉลิมว่ามาก็ถูก ทั้งศาลว่ามาก็ถูก แต่ลึกๆ คดีทักษิณอาจจบแบบพลิกคดีไม่วันใดก็วันหนึ่ง >>>

ศาลชี้ไม่เคยมีฎีกาอภัยโทษ ทั้งที่ยังไม่รับโทษ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

โฆษกศาลยุติธรรม ระบุไม่เคยมีฎีกาอภัยโทษ ทั้งที่ไม่รับโทษบางส่วนตามเงื่อนไขกฎหมาย ด้านเฉลิมแจงกฎหมายไม่ได้เขียน พร้อมแจกเอกสารแจงปมถวายฎีกา ขณะที่ยิ่งลักษณ์ปัดเร่งถวายฎีกาช่วยทักษิณ

นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึง การถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีการทูลเกล้าถวายฎีกาฯ ก็ถือเป็นสิทธิการขอความเป็นธรรม แต่เนื่องจากกระบวนการทูลเกล้าถวายฎีกา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาลยุติธรรม ซึ่งขั้นตอนปฏิบัติจะมีกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม พิจารณากลั่นกรอง จึงไม่อาจให้ความเห็นใด ๆ ได้ และไม่ต้องการให้เกิดการชี้นำ หรือนำศาลยุติธรรมไปเป็นเครื่องมือของฝ่ายใด หรือผูกโยงกับการเมือง

ส่วนความเป็นไปได้ที่การทูลเกล้าถวายฎีกาขออภัยโทษทั้งที่จำเลยนั้นยังไม่เคยรับโทษบางส่วนมาก่อน นายสิทธิศักดิ์ กล่าวว่า ในอดีตไม่เคยปรากฏแนวทางกรณีดังกล่าวมาก่อน ซึ่งการขออภัยโทษ ก็มีตัวอย่างคดีของ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ ก็รับโทษมาแล้วบางส่วน จากข้อกล่าวหาหมิ่นเบื้องสูง ส่วนผลทางคดีอาญาจะสิ้นสุดผลเมื่อจับกุมตัวผู้กระทำผิด ซึ่งศาลมีคำพิพากษาแล้วมารับโทษ หรือจำเลย หรือผู้ต้องโทษนั้น เสียชีวิต ซึ่งไม่อาจนำตัวมาพิจารณาความผิดและรับโทษได้ ซึ่งคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษา เป็นการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีจำเลยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ใช่คดีการเมือง

เฉลิม ชี้กฎหมายไม่ได้เขียน ต้องรับโทษก่อนขออภัยโทษ

วันนี้ ( 5 กันยายน) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยโฆษกกระทรวงยุติธรรมออกมาระบุว่า ผู้ต้องหาต้องรับโทษก่อนถึงจะยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษได้ ว่า จริง ๆ แล้วนั่นก็เป็นแนวทางหนึ่ง แต่กฎหมายไม่ได้เขียนเช่นนั้น และไม่ได้ห้าม เพราะเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีกรณีที่คนไทยขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งนี่คือพระราชอำนาจโดยแท้จริง ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ตนจะไม่ขอพูดถึงรายละเอียดเรื่องนี้ เพราะเดี๋ยวจะเป็นประเด็น จึงอยากให้ถึงเวลาก่อน

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นดังกล่าว ไม่ควรไปสอบถามจากนายกรัฐมนตรี เพราะท่านนายกฯ มอบหมายให้ตนดูแลเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ หากพรรคฝ่ายค้านอยากรู้ขั้นตอน ให้ยื่นกระทู้สดมา ตนจะสวมวิญญาณอาจารย์กฎหมายอธิบายให้เข้าใจ

สำหรับที่คนมองว่า รัฐบาลดำเนินการเรื่องของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เร็วไปไหม เพราะเพิ่งจะเริ่มทำงานไม่นาน ร.ต.อ.เฉลิม ระบุว่า ไม่ควรพูดเช่นนั้น เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นพระราชอำนาจโดยแท้จริง และทำไมกรมราชทัณฑ์เพิ่งจะมาขยันตอนนี้ หลังจากยื่นฎีกาไปแล้วกว่า 2 ปี ตนก็สามารถอธิบายได้ทุกเม็ด และคงไม่มีใครไปกดดัน เพราะเป็นพวกพรรคประชาธิปัตย์ล้านเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว

ทั้งนี้ หลังจากการให้สัมภาษณ์ ผู้ติดตาม ร.ต.อ.เฉลิม ได้แจกเอกสารชี้แจงการขอพระราชทานอภัยโทษ โดยมีชื่อของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ลงนามรับรองไว้ตอนท้าย ซึ่งในเอกสารดังกล่าวอ้างอิงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งระบุว่า

1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 191 "พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ"

2.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259-267
"สำหรับผู้ที่ทูลเกล้าฯ และถวายเรื่องราวหรือผู้ถวายฎีกา
1.ผู้ต้องโทษคำพิพากษา (ม.259)
2.ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องฯ (259)
3.คณะรัฐมนตรี (ม.261 ทวิ)

สำหรับผู้ที่หลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา และศาลได้อ่านคำพิพากษาลับหลังให้ลงโทษจำคุก มีสิทธิ์ได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่

1.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใด ตัดสิทธิ์ห้ามผู้หลบหนีตามคำพิพากษาศาลจะยื่นถวายฎีกา

2.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องถูกจำคุกจริง ๆ นานเท่าใดจึงจะถวายฎีกาได้

3.การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจเฉพาะพระองค์ ไม่มีกฏหมายบัญญัติกรอบอำนาจของพระมหากษัตริย์ว่าจะอภัยโทษในกรณีใดบ้าง คดีประเภทใดอภัยโทษได้ คดีประเภทใดอภัยโทษไม่ได้ หรือการอภัยโทษจะต้องมีเงื่อนไขใดบ้าง ต้องจำคุกมาแล้วนานเท่าใด

4.เมื่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอภัยโทษมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การแปลกฏหมายว่า "ผู้หลบหนี จะต้องมามอบตัว และรับโทษจำคุกเสียก่อนจึงขออภัยโทษได้" นั้น เป็นการแปลกฏหมายตามความคิดเห็นส่วนตัว หรือเป็นการเข้าใจเอาเอง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้
...

http://hilight.kapook.com/view/62461

------------------------------------------------------

สำนักพระราชวัง ชี้หลักอภัยโทษต้องติดคุกก่อนตามกฎหมาย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กันยายน 2554 16:32 น.

ทีนิวส์เผย วงในสำนักพระราชวังชี้อภัยโทษ “นช.แม้ว” ต้องตามหลัก มาตรา 4 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ ปี 50 อยู่ในคุกก่อน ยันถ้าไม่ตรงตามกฎหมายก็ไม่ควรเสนอ ระบุคุณสมบัติต้องเป็นลูก เมีย หรือญาติสนิท

วันนี้ (5 ก.ย.) สำนักข่าวทีนิวส์ ได้เปิดเผยรายงานข่าวจากสำนักพระราชวัง ถึงการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องหาก่อการร้ายว่า ให้ยึดตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2550 ซึ่งมีความชัดเจนตามมาตรา 4 ที่ระบุว่า ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ ต้องมีตัวตนอยู่ในความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่ หรือที่อาศัยที่ศาล หรือทางราชการกำหนด การยื่นถวายฏีกาของพระราชทานอภัยโทษให้แก่ผู้ใด ต้องดำเนินการตามขั้นตอนและยึดกฎหมายวิธีการพิจารณาคดีความอาญาเป็นบรรทัดฐานอยู่แล้ว

กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งตามหลักการหากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เป็นไปตามกฏหมาย ก็ไม่ควรที่จะเสนอมา ขณะเดียวกัน กฎหมายยังกำหนดคุณสมบัติด้วยว่า ต้องเป็นบุตร ภรรยา หรือญาติสนิทรวมอยู่ด้วย

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000112385

------------------------------------------------------


ที่เฉลิมว่าไว้เหมือนเรื่องนี้ที่เราเขียนไว้เมื่อ 4 กรกฎาคม 2009

<<< ขั้นตอนการพระราชทานอภัยโทษ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/07/2540-21-225-7-259-267-1.html

ที่สื่ออ้างและที่ศาลอ้างก็ถูกอีกมีอย่างที่ว่าจริงมาตรา 4 ของ
พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๕o
แต่มันมีแทบทุกปีเลยแม้จะ copy กันมาช่วงต้นๆ
แต่รายละเอียดข้างในบางปีไม่ตรงกัน
เหมือนรัฐบาลไหนอยากช่วยใคร หรือพวกไหนเป็นพิเศษ
ก็ยัดเงื่อนไขเพื่อให้ครอบคลุมได้ทั้งนั้น
ตัวอย่างเช่น
พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๕๓
http://www.correct.go.th/correct2009/upload/files/information/53/150553-1.pdf

พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๔๙
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/00190346.PDF

แต่ละพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ในแต่ละปี
ที่แต่ละรัฐบาลออกกันมา มันครอบคลุมทั้งหมด
ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเป็นรายคน
เหมือนกรณีที่เฉลิมยกมา
หรือขั้นตอนการพระราชทานอภัยโทษ
ที่นำมาจากหน่วยงานรัฐดังนี้

------------------------------------------------------

การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป

คือ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์หรือผู้ต้องโทษ โดยการตราพระราชกฤษฎีกาตามการถวายคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 261 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในกรณีนี้ ทางราชการจะดำเนินการให้แก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ในทุกขั้นตอน โดยที่ผู้ต้องราชทัณฑ์มิต้องดำเนินการใด ๆ
การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป มักจะมีขึ้นในวโรกาสมหามงคลต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานบันพระมหากษัตริย์ เช่น เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก รัชมังคลาภิเษก เป็นต้น

การพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

คือ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์หรือผู้ต้องโทษเป็นรายบุคคล โดยการทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ตามการถวายคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่วนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยขององค์พระมหากษัตริย์

ผู้มีสิทธิยื่นเรื่องทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย ได้แก่

- ผู้ต้องโทษที่คดีถึงที่สุด
- ผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง อาทิเช่น บิดามารดา บุตร คู่สมรส
- สถานทูต (ในกรณีที่เป็นนักโทษชาวต่างประเทศ)
หมายเหตุ ทนายความไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาการยื่นฎีกาทูลเกล้า ฯ ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

1. ผู้ต้องโทษกรณีทั่วไป ยื่นได้ทันทีที่คดีถึงที่สุด
2. ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ต้องยื่นภายใน 60 วัน นับแต่คดีถึงที่สุด

ขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

ผู้ต้องโทษ (โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน) ที่คดีถึงที่สุดแล้ว และผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องสามารถยื่นเรื่องราวทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษผ่านเรือนจำ/ทัณฑสถาน หรือกระทรวงมหาดไทย หรือสำนักราชเลขาธิการ หรือกระทรวงการต่างประเทศ หรือสถานทูต หลังจากรับเรื่องแล้ว กรมราชทัณฑ์จะส่งไปสอบสวนเรื่องราวยังเรือนจำ/ทัณฑสถานที่ควบคุมผู้ต้องโทษ จากนั้นจะเสนอความเห็นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงนาม เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูล ฯ ผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักราชเลขาธิการ เมื่อทรงมีพระรบรมราชวินิจฉัยเช่นไร ก็จะส่งผลฎีกาดังกล่าวให้กรมราชทัณฑ์ทราบและดำเนินการพร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้ยื่นเรื่องราวทูลเกล้า ฯ ทราบ ตามแผนผังขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษนี้

------------------------------------------------------

".1. ผู้ต้องโทษกรณีทั่วไป ยื่นได้ทันทีที่คดีถึงที่สุด"
จะเห็นว่าไม่ได้ระบุต้องจำคุกก่อน หัวหมอก็ต้องแบบนี้
ถามว่าแล้วเขาเปิดช่องไว้ทำไม
การเขียนกฏหมายประเทศนี้อย่านึกว่าคนเขียนจะโง่
เขาฉลาดพวกนักกฏหมายเขาเปิดช่องเผื่อไว้
เช่น เผื่อกรณีที่เขาอยากช่วยกับไม่อยากช่วย
ที่พูดนี่ไม่ใช่เรื่องนี้น่ะทุกมาตราที่เกี่ยวกับคดีทั้งหลาย

หมายความว่ายังไง สมมุติกรณีนี้ ในอีก 100 ปี ข้างหน้า
สมมุติว่าองคมนตรีของกษัตริย์ตอนนั้นอยากช่วยพรรคพวก
ก็เสนอกษัตริย์ให้อภัยโทษได้ทันทีหลังศาลตัดสิน
เรียกว่าตัดสินปั๊บยื่นเรื่องปุ๊บก็อภัยโทษทันที
ก็สามารถทำได้ทั้งนั้นอย่างที่เฉลิมว่า
ไม่มีระยะเวลาการดำเนินการไ
ม่มีอะไรทั้งนั้นเขียนกว้างๆ

ที่สำคัญรัฐบาลสามารถออกพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษได้
สมมุติตัดข้อ 4 เก่าทิ้ง เพิ่มข้อใหม่ช่วยทักษิณก็ทำได้อีกนั่นแหล่ะ

แต่คดีนี้ ผมพบช่องทางแต่อาจทำไม่ได้ในยุคนี้ก็คือ
คำตัดสินของศาลที่ตัดสินคดีที่ดินรัชดาเป็นโมฆะ
เพราะว่าไม่อิงหลักคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
ที่มีผลผูกพันทุกศาล ทุกองค์กร
ในกรณีคำว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เขาตีความว่าถ้าทำงานในรูปคณะกรรมการ
ไม่ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแม้มีตำแหน่งกินเงินเดือนของรัฐก็ตาม

ซึ่งกองทุนฟื้นฟูเกี่ยวกับนายกเท่าที่เห็นคือ มติครม.
ที่ออกมาสมัยรัฐบาลชวนให้กองทุนฟื้นฟูไม่ต้องปฏิบัติตามมติครม.
ก็ตัดขาดเห็นๆ แถมมีคำสั่งในรูปมติครม.
ก็คือการทำงานในรูปคณะกรรมการไม่ใช่บุคคลเดียว
ไม่งั้นผลการตัดสินไม่ออกมาก้ำกึ่ง 5 ต่อ 4 เสียงหรอก
เพราะจบกฏหมายกันทั้งนั้นทำไมจะอ่านไม่เข้าใจ

ดังนั้นคดีนี้คงมีสักวันที่สามารถพลิกคำตัดสินเป็นโมฆะได้
ไม่วันใดก็วันหนึ่ง อาจเป็นวันที่ฟ้าเปลี่ยนสี ลมเปลี่ยนทิศ
ชีวิตเปลี่ยนไป อะไรอะไรก็อาจเปลี่ยนตาม ซึ่งได้ทั้งนั้น

เพราะถ้าไม่ยึดหลักทำตามคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
จะพูดได้ยังไงว่า คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
มีผลผูกพันทุกองค์กร ทุกศาล

โดย มาหาอะไร
FfF