บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


13 มกราคม 2555

<<< 8 ราชนิกูล 120 นักวิชาการ อาจารย์ ทนาย และนักเขียน เสนอแก้ไข ม.112 >>>



บางกอกโพสต์รายงานข่าว "8 ราชนิกูล" ส่งจม.ถึงนายกฯ แนะรบ.ปรับปรุงแก้ไข ม.112

วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:30:00 น.




หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับประจำวันที่ 12 มกราคม 2555 รายงานว่า
ราชนิกูลกลุ่มหนึ่งได้ออกมาเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

บางกอกโพสต์ระบุว่า ราชนิกูลผู้มีชื่อเสียงจำนวน 8 คน ได้แก่ หม่อม ราชวงศ์สายสวัสดี สวัสดิวัตน์ (ธิดาในหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ หรือ ท่านชิ้น - มติชนออนไลน์), หม่อมราชวงศ์สายสิงห์ ศิริบุตร (ธิดาในหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ - มติชนออนไลน์), หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ (ธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ - มติชนออนไลน์), นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (อดีตเอกอัครราชทูต - มติชนออนไลน์), พลเอก หม่อมราชวงศ์กฤษต กฤดากร, หม่อมราชวงศ์ภวรี สุชีวะ (รัชนี) (ธิดาในหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง), หม่อมราชวงศ์โอภาส กาญจนะวิชัย และนายสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ได้ลงนามในจดหมายที่ส่งไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มกราคม ซึ่งมีเนื้อหาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายมาตรา ดังกล่าว

จดหมายที่ส่งไปถึงนายกรัฐมนตรีมีเนื้อหาระบุว่า จำนวนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญในช่วงเวลา 7 ปี จากจำนวน 0 คดี ในปี พ.ศ.2545 มาเป็น 165 คดี ในปี พ.ศ.2552 ซึ่งข่าวคราวเกี่ยวกับคดีความเหล่านั้นได้ถูกรายงานไปทั่วโลก และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมากขึ้นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

จดหมายของราชนิกูลกลุ่มนี้ยังได้อ้างถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2548 ซึ่งทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่าการลงโทษจับกุมคุมขังบุคคลผู้วิพากษ์วิจารณ์ สถาบันนั้น มีแต่จะก่อปัญหาให้แก่พระองค์เอง ("แต่ อย่างไรก็ตาม เข้าคุกแล้ว ถ้าเป็นการละเมิดพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เองเดือดร้อน เดือดร้อนหลายทาง ทางหนึ่งต่างประเทศเขาบอกว่าเมืองไทยนี่พูดวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ ว่าวิจารณ์ไม่ได้ก็เข้าคุก มีที่เข้าคุก เดือดร้อนพระมหากษัตริย์" - พระราชดำรัส 4 ธันวาคม 2548)

"นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระ ราชดำรัสดังกล่าว มีรัฐบาลหลายชุดหมุนเวียนกันเข้ามาบริหารประเทศ แต่ไม่มีรัฐบาลชุดใดเลยที่จะริเริ่มดำเนินการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ รวมทั้งรัฐบาลชุดปัจจุบัน" จดหมายที่ส่งถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุ

"เมื่อครั้งที่รัฐบาลจัดกิจกรรมเฉลิมพระ เกียรติเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 7 รอบ ในปี พ.ศ.2554 รัฐบาลควรใช้โอกาสนั้น ทำความเข้าใจในพระราชประสงค์ของในหลวงต่อประเด็นดังกล่าวด้วย" นายสุเมธ หนึ่งในผู้ร่วมลงชื่อในจดหมายกล่าวและว่า ราชนิกูลกลุ่มนี้ได้พบปะกันในช่วงสิ้นปี 2554 เพื่อร่วมครุ่นคิดในประเด็นว่าด้วย "การ บังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ในทางที่ผิดซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายเช่นนั้นที่มีต่อประเทศไทย ทั้งภายในไทยเองและภายนอกประเทศ"

"ที่สำคัญสุดเหนือสิ่งอื่นใด พวกเราต้องการให้มีการคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายมาตราดังกล่าว" นายสุเมธ ให้สัมภาษณ์

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ราชนิกูลกลุ่มนี้ออกมาเสนอให้รัฐบาลปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ แต่กลับไม่มีการระบุอย่างเด่นชัดว่าเนื้อหาของกฎหมายในส่วนใดที่ควรได้รับ การแก้ไข

"พวกเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เราคิดว่านี่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งต้องแสวงหาหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิด ขึ้น" นายสุเมธกล่าวและว่า เป็น หน้าที่ของรัฐบาลชุดนี้ที่จะทำการปกป้องสถาบัน และในกรณีนี้ ยังถือเป็นการเอาใจใส่ต่อความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สังคมไทยกำลังแตกแยก ประชาชนแบ่งออกเป็นฝักฝ่ายอย่างสุดขั้ว รัฐบาลจึงควรให้ความสนใจกับคำแนะนำของในหลวง ก่อนจะดำเนินมาตรการอื่นใด

ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในวันที่ 12 มกราคมว่า ยังไม่ได้รับจดหมายจากราชนิกูลกลุ่มนี้

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326360201&grpid=00&catid=19&subcatid=1905

13 มกราคมเวลา 10:33 น.
  • ถูกใจ Wake Up Guys
    • Maha Arai เช้าวันนี้อากาศสดใส แต่เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว เรามาพูดเรื่องเบาๆ กันก็แล้วกัน คือเรื่อง ม.112 ไปเจอข่าว 8 ราชนิกูล ส่งจม.ถึงนายกตามไปอ่านเนื้อข่าวได้ด้านบน
      13 มกราคมเวลา 10:35 น.
    • Maha Arai ผมเคยรวบรวมข่าวสารพัดเกี่ยวกับราชวงศ์ของอังกฤษที่นี่น่าสนใจ ใครไม่เคยอ่านแนะนำอย่างแรง
      <<< การเปิดโอกาสให้วิจารณ์ราชวงศ์อังกฤษโดยไม่ผิดกฏหมาย ทำให้ราชวงศ์อังกฤษปรับปรุงตัวให้ทันยุคสมัยก่อนที่จะสายเกินแก้ >>>
      http://maha-arai.blogspot.com/2011/03/blog-post_16.html
      13 มกราคมเวลา 10:39 น.
    • Maha Arai การที่อาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ก็ดี การที่ราชนิกูลกลุ่มนี้ออกมาเคลื่อนไหวให้แก้ไขก็ดี มองดูเผินๆ อาจไม่มีอะไรแต่จริงๆ ผมว่ามันเหมือนสัญญาณเปิดโอกาสให้แก้ไขได้ แต่ไม่ใช่ยกเลิกไปเลยอะไรแบบนั้น แต่นักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลฝ่ายค้านก็ดี คงไม่กล้าไปแตะเพราะกลัวโดนเล่นทางการเมือง โดนเฉพาะพวกฝ่ายค้านจ้องเอามาขยายผล
      13 มกราคมเวลา 10:42 น.
    • Maha Arai คือมันยังมีพวกนักอิงแอบอ้างจงรักพร้อมขยายผลเพื่อหวังผลทางการเมืองอยู่หลายกลุ่มทั้งเสื้อเหลืองทั้งเสื้อฟ้า พอกัน ดังนั้นเรื่องนี้ถ้าจะแก้ต้องมีเงื่อนไขชัดเจนระบุกลางแผ่ให้เห็นว่าจะแก้ยังไงถ้าจะแก้ แต่ก็นั่นแหล่ะฝ่ายการเมืองเขาก็คงไม่กล้าเข้าไปยุ่งมากอันนี้ต้องทำใจ เพราะเห็นข่าวตั้งแต่ก่อนปีใหม่แล้วว่าไม่อยากแตะ เพราะมันมีพวกจ้องนำมาขยายผล ทั้งๆ ที่พวกราชนิกูลจำนวนหนึ่งเขายังเห็นพ้องว่าต้องมีการปรับปรุงเพื่อไม่ให้นำม.112 มาใช้เพื่อหวังผลทางการเมืองมากกว่าปกป้องสถาบันอย่างที่ชอบพูดกัน อะไรแบบนั้น ถ้าไม่แก้ ก็ยังมีช่องให้พวกแอบอ้างจงรักอาศัยช่องทางหาเสียงหาประโยชน์จากการทำมาเป็นพวกนักจงรักฝ่ายเดียวพวกอื่นไม่ ซึ่งอนาคตจะมีปัญหาหนักแน่ๆ เพราะการเมืองเข้าไปที่ไหนสถาบันไหนเละแน่ๆ และยากแก่การตั้งตรงกลางได้ สุดท้ายคนก็จะเห็นปัญหามากมาย ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มมีคนเห็นปัญหาแล้วไม่งั้นคงไม่กล้าเสี่ยงตายมาเรียกร้องให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ดีขึ้นเพิ่มมากขึ้นแน่ๆ
      13 มกราคมเวลา 10:49 น.
    • Maha Arai สุดท้ายอยากฝากคำคมไว้ว่า
      "สิ่งใดที่มนุษย์สร้างขึ้นมา สิ่งนั้นมนุษย์สามารถแก้ไขได้"
      13 มกราคมเวลา 10:52 น.
    • Maha Arai ต่อให้พระพุทธรูป มนุษย์สร้างขึ้นมา แล้วเกิดมีศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์มีคนนับถือบูชา รวมไปถึงวัดวาอารามต่างๆ ด้วย เมื่อถึงวันหนึ่งเกิดปัญหาจนกระทบกับโครงสร้างหรือทำให้เกิดการแตกบิ่นหรือไม่สวยดั่งเดิมไม่ว่าจากเหตุการณ์ใดฝีมือใครก็ตามเช่นพระพรหมที่โดนทุบก็เหมือนกัน มนุษย์สามารถที่จะแก้ไขหล่อขึ้นใหม่ ซ่อมแซมให้ดีดังเดิมได้ถ้ายังหวังอยากให้สิ่งนั้นคงอยู่ต่อไปนานเท่านาน นอกจากไม่สนใจ จะแตกสลายล้มลงมาหรือกลายเป็นเศษซากแล้วก็ปล่อยเลยตามเลยให้คนเหยียบย่ำไปมาจากสิ่งที่คนบูชาจนกลายมาเป็นสิ่งที่คนเดินเหยียบไปมาเหมือนเศษอิฐเศษปูนในที่สุด
      13 มกราคมเวลา 10:57 น.
    • บุปผา มาซูดะ หายไปนานเลยนะคะ
      13 มกราคมเวลา 11:04 น.
    • Maha Arai รัฐธรรมนูญมนุษย์ก็เขียนขึ้นมา กฏหมายต่างๆ มนุษย์ก็เขียนขึ้นมา ย่อมแก้ไขได้หมดไม่ใช่แตะต้องไม่ได้ ไม่ว่ามาตราใด รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยกับฉบับปัจจุบันหรือหลายฉบับในอดีต ก็มีมาตรานั้นไม่มีมาตรานี้ถอดเข้าถอดออกแทบทุกมาตราไม่เว้นแม้แต่มาตรา 112 ที่กำลังดังในช่วงนี้ด้วยซ้ำ อดีตก็ไม่มี หรือมีก็ไม่เปิดช่องเท่า รธน.50 ที่จงใจเขียนเพื่อหวังผลทางการเมืองทั้งฉบับ ของฝ่ายผู้มีอำนาจที่ยึดประเทศได้ในตอนนั้นเรียกว่าแทบทุกเรื่องไม่ใช่เฉพาะมาตรานี้ เขียนล็อคไว้หมด ไหนๆ ก็เกิดปรากฏการณ์ราหูอมแล้วคายรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 10 ธ.ค.ปีที่แล้ว เดาว่าคงมีรธน. ฉบับประชาชนเกิดขึ้นอีกในไม่ช้า เพราะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้้แล้วช่วงก่อนรัฐธรรมนูญปี 40 จะเกิด แต่ก็นานอีกหลายปีทีเดียวกว่าจะได้รัฐธรรมนูญใหม่ในตอนนั้นประมาณ 5 ปี เพราะนักการเมืองไม่สนใจอยากจะแก้กัน
      13 มกราคมเวลา 11:05 น.
    • Maha Arai ที่หายไปเพราะ อู้อยู่ อิอิ ตอนนี้เริ่มกลับมาอู้อีกแล้ว วันนี้ก็เริ่มด้วยเรื่องเบาๆ สาระไม่มากก่อน ต่อไปค่อยสาระจังมากขึ้น อิอิ
      13 มกราคมเวลา 11:07 น.
http://www.facebook.com/maha.arai

------------------------------------------------------

เผย 118 ชื่อ รณรงค์แก้ ม.112 “ชาญวิทย์” นำขบวน-“ปราบดา-นิธิ” ร่วมวง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มกราคม 2555 12:19 น.




รายชื่อ คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ที่ถูกเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
การจัดกิจกรรม “แก้ไขมาตรา 112” ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 15 ม.ค.55 โดยมีการเปิดตัวคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112

นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี และอาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา และอดีตคนเดือนตุลา

ASTVผู้จัดการ – เผย 118 รายชื่อคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ยกเลิกความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร เปลี่ยนบทกำหนดโทษอ่อนลง นำโดย “ชาญวิทย์-7 นิติราษฎร์” พบส่วนมากเป็นอาจารย์และนักเขียน “เกษียร-นิธิ-สมชาย-รังสรรค์” พร้อม “ปราบดา-บินหลา-ซะการีย์ยา-อุทิศ” ด้าน “เสกสรรค์” ร่วมวงพร้อมลูกชาย “วรรณสิงห์” ส่วน “บก.ลายจุด-อภิชาติพงศ์-วิศิษฎ์” เอ็นจีโอเสื้อแดงและผู้กำกับดังเอาด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรม “แก้ไขมาตรา 112” ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อรณรงค์ข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยมีการเปิดตัวคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ซึ่งจัดทำตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ซึ่ง นางกฤตยา อาชวนิจกุล ตัวแทนคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ระบุว่า นับแต่การรัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา สถิติการจับกุมด้วยมาตรา 112 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉพาะปี 2553 มีการฟ้องรองถึง 478 ข้อหา นอกจากนี้ ความ “จงรักภักดี” ยังได้กลายเป็นอาวุธสำหรับข่มขู่คุกคาม และสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชน และความอ่อนไหวต่อมาตรานี้มักทำให้ผู้ถูกกล่าวหาถูกกระทำอย่างไม่เคารพสิทธิ ขั้นพื้นฐาน เช่น ไม่อนุญาตให้ประกันตน ดำเนินการไต่สวนด้วยวิธีปิดลับ อีกทั้งยังต้องพบกับการกดดันจากสังคมรอบข้างอย่างมาก

คณะรณรงค์ดังกล่าวยังกล่าวอ้างด้วยว่า มาตรา 112 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้สถานการณ์สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ของประเทศไทยตกต่ำอย่างถึงที่สุด โดยรายงานปี 2554 องค์กรฟรีดอมเฮาส์เปลี่ยนสถานะเสรีภาพของไทยจากกึ่งเสรีเป็นไม่เสรี ส่งผลให้เราอยู่ในสถานภาพเดียวกับเกาหลีเหนือ พม่า จีน คิมบา โซมาเลีย ปากีสถาน ล่าสุด คดี “อากง” (นายอำพล สงวนนามสกุล) และ นายโจ กอร์ดอน ได้ทำให้ชื่อเสียงประเทศไทยดังไปทั่วโลก จนองค์กรระหว่างประเทศและประเทศต่างๆ ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับมาตรา 112 ขณะเดียวกัน ภายในประเทศไทย การเรียกร้องเคลื่อนไหวให้แก้ไขมาตรา 112 ซึ่งในบรรดาการเคลื่อนไหวนี้ กลุ่มนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขมาตรา 112 เพื่อให้สังคมร่วมกันพิจารณา โดยมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ

1.ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร
2.เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
3.แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครอง สำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
4.เปลี่ยนบทกำหนดโทษ โดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสามปีสำหรับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และไม่เกินสองปีสำหรับ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
5.เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
6.เพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และ
7.ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด ให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น แทนพระองค์”

สำหรับการผลักดันรณรงค์ครั้งนี้ ต้องการรวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวน 10,000 รายชื่อ โดยต่อไปนี้จะรณรงค์โดยคณะรณรงค์ 112 หรือ “ครก.112” การรณรงค์นี้ใช้เวลา 112 วัน อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีการเปิดเผยรายชื่อ แต่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้มีการเปิดเผยรายชื่อคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.) ซึ่งจากการเรียบเรียงพบว่ามีจำนวน 118 รายชื่อ มีรายชื่อซ้ำกัน 2 ชื่อ ได้แก่

1.นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี และอาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปะวัฒนธรรม และบรรณาธิการอาวุโสสำนักพิมพ์ในเครือมติชน
3.นายอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักเขียนบทภาพยนตร์
4.นายอานันท์ กาญจนพันธุ์ นักวิชาการด้านมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5.นายเอกกมล สายจันทร์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6.นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7.น.ส.ขวัญระวี วังอุดม ผู้ช่วยอาจารย์ ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
8.นายวัฒนา สุกัณศีล อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9.นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์
10.นายปูนเทพ ศิรินุพงษ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์
11.น.ส.วันรัก สุวรรณวัฒนา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12.นายอนุสรณ์ รุณโณ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13.วาด รวี (นามปากกา) หรือนายรวี สิริอิสสระนันท์ นักเขียน และเจ้าของวารสารหนังสือใต้ดิน
14.น.ส.มุกหอม วงษ์เทศ นักเขียน และบุตรสาวนายสุจิตต์ วงษ์เทศ
15.นายวิจักขณ์ พานิช นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ศาสนา และบุตรชายของศาสตราจารย์ น.พ.วิจารณ์ พานิช ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
16.นายวัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา อดีตแกนนำกลุ่มเพื่อนนักเขียน กวี เพื่อประชาธิปไตย (เครือข่ายคนเสื้อแดง) และอดีตคนเดือนตุลา
17.พิเชษฐ์ แตงทอง
18.นายอุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรท์ ปี 2552
19.ประกาย ปรัชญา (นามปากกา) นักเขียน
20.นายอติภพ ภัทรเดชไพศาล อาจารย์ประจำวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคอลัมนิสต์ด้านดนตรี
21.น.ส.นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ บรรณาธิการอาวุโสฝ่ายบริหาร บมจ.เนชั่นบรอดแคสติ้งฯ
22.น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท
23.น.ส.เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ สำนักงานกฎหมายสิทธิชน
24.นายวินัย ผลเจริญ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
25.น.ส.กานดา นาคน้อย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Purdue สหรัฐอเมริกา
26.นายไชยันต์ รัชชกูล อาจารย์ประจำสถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ และนักวิชาการกลุ่มสันติประชาธรรม
27.นายชาญณรงค์ บุญหนุน หัวหน้าภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
28.นายพิพัฒน์ สุยะ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
29.นายนิติ ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
30.นางสุวิมล รุ่งเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
31.นายนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
32.นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีต สสร.2540 และอดีต ส.ว.ตาก
33.นายชัยศิริ จิวะรังสรรค์ ศิลปินอิสระผู้ร่วมงานกับนายอภิชาติพงศ์
34.นายยศ ตันตสมบัติ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
35.นางโกสุมภ์ สายจันทร์ ประธานโครงการเอเชียศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
36.นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์
37.นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
38.นายชัชวาลย์ บุญปัน อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
39.นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์
40.นายเกษียร เตชะพีระ (ชื่อซ้ำกันกับลำดับที่ 6 -ผู้เรียบเรียง)
41.นายชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
42.นางสาวนลินี ตันธุวนิตย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
43.นายปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรท์ ปี 2545 และบุตรชายนายสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น
44.นายสุรพศ ทวีศักดิ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาหัวหิน เจ้าของนามปากกา "นักปรัชญาชายขอบ" ในเว็บไซต์ประชาไท
45.นางสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ นักเขียนเจ้าของนามปากกา “คนชายขอบ” และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
46.นายวชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน
47.นายอนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียนเจ้าของฉายา “มุราคามิเมืองไทย”
48.นายซะการีย์ยา อมตยา นักเขียนรางวัลซีไรท์ ปี 2553 และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ thaipoetsociety.com
49.นายกฤช เหลือสมัย นักเขียนประจำกองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ
50.น.ส.ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ระหว่างบรรทัด
51.นายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ผู้สื่อข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
52.นางจิตรา คชเดช ผู้ประสานงานกลุ่มคนงานไทรอาร์ม และอดีตประธานสหภาพไทรอัมพ์
53.น.ส. ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ และอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนฯ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
54.นายประเวศ ประภานุกูล ทนายความของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือดา ตอปิโด ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
55.นายเก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแกนนำกลุ่มประกายไฟ
56.นายคมลักษณ์ ไชยยะ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
57.นายเชษฐา พวงหัตถ์ อจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
58.เอมอร หิรัญราช
59.น.ส.นฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
60.นายธนาพล ลิ่มอภิชาต อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
61.นายผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
62.นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา และอดีตคนเดือนตุลา
63.นายธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติ ศาสตร์ไทย มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา และอดีตคนเดือนตุลา
64.นายฉลาดชาย รมิตานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาและศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
65.นายวัฒนา สุกัณศีล อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
66.นางกฤตยา อาชวนิจกุล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
67.นายฉลาดชาย รมิตานนท์ (ชื่อซ้ำกันกับลำดับที่ 64-ผู้เรียบเรียง)
68.นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์
69.น.ส.สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมสาสตรื และแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์
70.นายประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
71.นายเชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
72.นางมรกต ไมยเลอร์ (เจวจินดา) อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
73.นายวรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียน บรรณาธิการนิตยสารไรท์เตอร์
74.น.ส.ไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการวารสารอ่าน ในเครือวารสารฟ้าเดียวกัน
75.นายคำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2535 เจ้าของนามปากกา “ลาว คำหอม” และแกนนำกลุ่มนักเขียน กวี เพื่อประชาธิปไตย (เครือข่ายคนเสื้อแดง)
76.นายอธิคม คุณาวุฒิ นักเขียน และผู้ก่อตั้งนิตยสารเวย์
77.นายทองธัช เทพารักษ์ นักเขียนการ์ตูนและคอลัมนิสต์
78.นายวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักเขียน นายแบบ และบุตรชายนายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตคนเดือนตุลา
79.นายวินัย ปราบริปู ศิลปินชาว จ.น่าน
80.นายธิติ มีแต้ม นักเขียน อดีตบรรณาธิการหนังสือปาจารยสาร
81.นพ.ริติภูมิ จุฑาสมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ และคอลัมนิสต์เจ้าของนามปากกา “ปีกซ้ายพฤษภา” เว็บไซต์ประชาไท
82.นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง และผู้ก่อตั้งมูลนิธิกระจกเงา
83.น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ เจ้าหน้าที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาชิกเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และทนายความของนายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
84.นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
85.นายพฤกษ์ เถาถวิล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
86.นายชัชวาลย์ ศรีพาณิชย์ อดีตนายกสมาคมธรรมศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
87.นายโกวิท แก้วสุวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชานาฎยสังคีต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
88.นางพวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
89.นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
90.นายเกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
91.นายรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
92.นายทักษ์ เฉลิมเตียรณ ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา
93.นายธเนศวร์ เจริญเมือง ที่ปรึกษา รมช.ศึกษาธิการ (นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล) อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอดีตคนเดือนตุลา
94.นางปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
95.นายธเนศ อาภรณ์สุวรรณ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
96.น.ส.ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
97.นายเกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
98.น.ส.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์
99.นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์
100.นายอภิชาต สถิตนิรามัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
101.นายยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
102.นายอัครพงษ์ ค่ำคูณ อาจารย์ประจำโครงการเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์
103.น.ส.ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน นักแปลอิสระ
104.นายพิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปล
105.นางดวงมน จิตร์จำนงค์ อาจารย์ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
106.นายวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์และนักเขียนบทภาพยนตร์
107.นายเรืองรอง รุ่งรัศมี นักเขียน และช่างภาพ
108.เดือนวาด พิมวนา หรือ น.ส.พิมใจ จูกลิ่น นักเขียน
109.บินหลา สันกาลาคีรี หรือนายวุฒิชาติ ชุ่มสนิท นักเขียนรางวัลซีไรท์ ปี 2548 และบรรณาธิการนิตยสารไรท์เตอร์
110.นายศุภชัย เกตุการุณกุล นักเขียน และช่างภาพ
111.นางอุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
112.นายแดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
113.น.ส.ภาวิณี ชุมศรี ทนายความ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
114.น.ส.อันธิฌา ทัศคร อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นักเขียน เจ้าของนามปากกา อธิฌลา
115.นายพงศาล มีคุณสมบัติ นักวิชาการอิสระ
116.นายชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
117.นายบุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
118.นายเวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
119.นายฉลอง สุนทราวาณิชย์ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
120.นายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000007103

------------------------------------------------------
FfF