บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


30 เมษายน 2556

<<< สังคมใดปล่อยให้คนไม่เที่ยงธรรมมาทำหน้าที่ผดุงความเที่ยงธรรมสังคมนั้นย่อมเสื่อมแล้ว >>>

สังคมใดปล่อยให้คนไม่เที่ยงธรรมมาทำหน้าที่ผดุงความเที่ยงธรรมสังคมนั้นย่อมเสื่อมแล้ว

http://maha-arai.blogspot.com/2010/03/blog-post_3939.html?m=1

https://www.facebook.com/maha.arai

--------------------------------------------------

“วสันต์” รับศาล รธน.วินิจฉัยคดี “สมัคร” สุกเอาเผากิน!! ทำคนเข้าใจผิด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 มีนาคม 2556 16:03 น.

 เสวนาศาลรัฐธรรมนูญ รองอธิการบดีธรรมศาสตร์ ชี้ศาลตกที่นั่งลำบาก เหตุชาวบ้านไม่เคารพกติกา ไม่ยอมรับอำนาจ แนะทำความเข้าใจประชาชน “ประสงค์” ชี้คำวินิจฉัย “สมัคร” ทำชาวบ้านสับสน “วสันต์” รับประชาชนไม่เข้าใจโวหารยาก จึงต้องตั้งโฆษกช่วยแจง เผยคดีอดีตนายกฯ ชิมไปบ่นไป ตัวอย่างพิพากษาแบบ “สุกเอาเผากิน” ใช้ไม่ได้ เหตุนำข้อกฎหมายขึ้นพิจารณาก่อนแทนข้อเท็จจริง สุดท้ายคนเข้าใจผิด แต่ยันแก้ไขแนวทางแล้ว
   
       วันนี้ (15 มี.ค.) ที่ จ.เพชรบุรี การเสวนาศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง “การรักษาดุลยภาพทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย” นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญกำลังตกที่นั่งลำบากเพราะขณะนี้สถานการณ์ทางการเมืองไม่ปกติ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการไม่เคารพกติกา และไม่ยอมรับการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการรักษาดุลยภาพระหว่างสถาบันทาง การเมืองกับองค์กร, กลุ่มการเมือง หรือกลุ่มมวลชนของพรรคการเมือง สิ่งที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ คือ การทำความเข้าใจกับประชาชน โดยอาศัยกลไกของสื่อและกลไกของสถาบันทางการเมืองอื่นที่ยึดโยงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ หน่วยงานด้านความมั่นคง และสถาบันการศึกษา มาช่วยกันทำความเข้าใจกับกลุ่มการเมืองหรือกลุ่มมวลชน
   
       ด้านนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา เห็นว่า ที่ผ่านมาประชาชนยังคงสับสนและบางครั้งก็มีการต่อต้านการทำหน้าที่ของศาล อาทิ คำวินิจฉัยที่ให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการอ้างถึงพจนานุกรม
   
       ขณะที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ปัญหาการยอมรับของกลุ่มการเมืองหรือกลุ่มมวลชนส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ ประชาชนไม่เข้าใจคำวินิจฉัย เพราะมีการใช้สำนวนโวหารที่เข้าใจยาก เป็นการนำถ้อยคำและรูปแบบของศาลยุติธรรมมาใช้ ซึ่งจำเป็นต้องตั้งทีมโฆษกมาช่วยอธิบายความและสื่อสารกับประชาชน
   
       “บางครั้งคำวินิจฉัยของศาลก็เป็นแบบ “สุกเอาเผากิน” อย่างกรณีการทำอาหารของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี คำวินิจฉัยที่ออกมาเป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะโดยหลักการแล้วต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ได้ข้อยุติก่อนว่ามีการรับ เงินจริงหรือไม่ และเข้าข่ายเป็นลูกจ้างหรือพนักงานหรือไม่ แต่ในกรณีนั้นกลับนำข้อกฎหมายขึ้นมาพิจารณาก่อน พอประชุมลงมติเสร็จก็พยายามแถลงคำวินิจฉัยกลางให้ได้ในบ่ายวันนั้น สุดท้ายแล้วคนก็เข้าใจแค่ว่าทำกับข้าวแล้วผิดกฎหมาย ซึ่งตุลาการแต่ละคนเห็นข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น และพยายามแก้ไขด้วยการพิจารณาก่อนว่าในคำร้องนั้นๆ มีแนวทางวินิจฉัยกี่แนวทาง แล้วก็เขียนคำวินิจฉัยกลางแต่ละแนวทางขึ้นมาเป็นตุ๊กตาเอาไว้ก่อน จากนั้นตุลาการแต่ละคนจะไปอ่านสำนวนแล้วเขียนคำวินิจฉัยส่วนตนมาเสนอในที่ ประชุมตุลาการเพื่อลงมติ มติออกมาตรงกับแนวทางใดก็นำคำวินิจฉัยกลางในแนวทางนั้นมาปรับปรุงถ้อยคำแล้ว แถลงต่อสาธารณชน” ประธานศาลรัฐธรรมนูญกล่าว

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000032054
--------------------------------------------------

-------------------------------------------------
FfF