บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


15 พฤษภาคม 2552

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง เขาพระวิหาร >>>

เหตุผลใดไทย จึงแพ้คดีปราสาทพระวิหาร

เขาพระวิหาร

บทความโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

... คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็นเพราะว่า ประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก...

ประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารกลายเป็นหัวข้อที่สาธารณชนให้ความสนใจอีกครั้ง เมื่อประเทศกัมพูชายื่นเรื่องการขอเสนอให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตาม อนุสัญญา Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage โดยที่ประเทศไทยคัดค้านการยื่นฝ่ายเดียวของกัมพูชา โดยอ้างเรื่องความสมบูรณ์ทางวิชาการด้านโบราณคดีและการที่ทั้งสองประเทศยัง ตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับเขตแดน

แม้คดีนี้จะผ่านความรับรู้ของคนไทยมายาวนานแล้วก็ตามแต่ปรากฏว่ามีคนไทยน้อยมากที่รู้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในเรื่องนี้

เหตุผลที่คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็น เพราะว่าประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก

และด้วยเหตุที่คนไทยรู้จักกับคดีนี้น้อย จึงอาจมีการบิดเบือนข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากคดีนี้มีสองประเด็นใหญ่ที่ต้องพิจารณาคือ ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลและการพิจารณาขั้นเนื้อหา จึงขอแยกอธิบาย ดังนี้

ประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลโลก

ประชาชนคนไทยมักจะสงสัยอยู่เสมอว่า ทำไมประเทศไทยต้องไปขึ้นต่อสู้คดีต่อศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีอธิปไตย มีเอกราช การขึ้นต่อสู้คดีของประเทศไทยมิเท่ากับเป็นการเสียเอกราชหรือ

ประเด็นนี้ เป็นประเด็นข้อกฎหมายที่สลับซับซ้อน หากใช้ความรู้สึกชาตินิยมหรือสามัญสำนึกย่อมไม่เข้าใจว่าทำไมประเทศไทยต้อง ขึ้นศาลโลก ผู้เขียนจะขออธิบายช่องทางการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเสียก่อนว่ามีวิธีการใด บ้าง การยอมรับเขตอำนาจศาลโลกนั้นทำได้อยู่สามประการคือ

ประการแรก การ ยอมรับเขตอำนาจการพิจารณาคดีโดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาใดอนุสัญญาหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่า หากมีปัญหาในการตีความสนธิสัญญา ให้ศาลโลกเป็นผู้พิจารณา

ประการที่สอง ประเทศคู่พิพาทตกลงทำความตกลงยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นเฉพาะกรณีๆ ไป กล่าวคือ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นมาแล้ว รัฐคู่พิพาทได้ทำสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาลเฉพาะข้อพิพาทนั้น และ

ประการที่สาม รัฐได้ทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาล ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐกำหนดไว้

ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลโลก (ทั้งศาลโลกเก่าและใหม่) ของประเทศไทยนั้นเป็นประเด็นที่คนไทยไม่ใคร่ได้กล่าวถึง อาจเป็นเพราะว่าเป็นประเด็นข้อกฎหมายมากเกินไปประชาชนทั่วไปจึงไม่ค่อยได้ สนใจ

อีกทั้งทางการก็มิได้ชี้แจงประเด็นนี้ต่อสาธารณชน มากนักทั้งๆ ที่ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก และเป็นประเด็นที่หากมีการกล่าวถึงในวงกว้างแล้วก็อาจมีผลกระทบต่อผู้ เกี่ยวข้องได้ แต่เนื่องจากประเด็นนี้สำคัญ ผู้เขียนจึงมิอาจหลีกเลี่ยงที่จะข้ามไปได้จึงขอกล่าวถึง ดังนี้

ประเทศไทยได้ทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก ทั้งหมด 3 ฉบับ ดังนี้

ฉบับแรกทำ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1929 และเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ในปี ค.ศ.1930 โดยคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ "ศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ" (Permanent Court of International Justice : PCIJ) เป็นเวลา 10 ปี

ฉบับที่สอง รัฐบาลไทยทำคำประกาศโดยมิวัตถุประสงค์เพื่อ "ต่ออายุ" (renew) เขตอำนาจศาลโลกเก่า โดยคำประกาศฉบับที่สองนี้ทำเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1940 โดยคำประกาศที่สองนี้เริ่มมีผลใช้บังคับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1940

ฉบับที่สาม รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1950 ซึ่งหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สอง (ที่ต่ออายุคำประกาศฉบับแรก) หมดอายุเป็นเวลา 14 วัน

มีข้อสังเกตที่น่าสนใจและเป็นประเด็นข้อกฎหมายที่ฝ่ายไทยนำมาอ้างก็คือ ศาลโลกเก่านั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1946 และตามธรรมนูญของศาลโลกใหม่ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ" (International Court of Justice : ICJ) นั้นมาตรา 36 วรรค 5 ได้กำหนดว่า ให้การยอมรับเขตอำนาจ "ศาลโลกเก่า" โอนถ่ายไปยัง "ศาลโลกใหม่" หากว่า คำประกาศนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่หรือกล่าวง่ายๆ คือ ยังไม่ขาดอายุนั่นเอง

ข้อต่อสู้เกี่ยวกับการคัดค้านเขตอำนาจศาลโลกใหม่ที่ทนายความฝ่ายไทยต่อ สู้ในชั้นของการคัดค้านเขตอำนาจของศาลโลกใหม่นั้นมีว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ยุติลงอันเป็นผลมาจากการสิ้นสุดของศาล โลกเก่า ดังนั้น คำประกาศต่ออายุเขตอำนาจศาลโลกเก่าเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 จึงไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป

อีกทั้งคำประกาศดังกล่าวมิใช่คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ ดังนั้น ศาลโลกใหม่จึงไม่มีเขตอำนาจ

แต่ข้อต่อสู้นี้อ่อนมาก ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามที่รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 นั้น ไม่สามารถใช้เป็นเหตุผลในการต่ออายุยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ เพราะว่า คำประกาศฉบับที่สามนี้ ทำหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สองหมดอายุแล้วสองอาทิตย์

ศาลโลกเห็นว่า สิ่งที่จะต่ออายุได้นั้น สิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว อีกทั้งรัฐบาลไทยก็รู้ดีว่าขณะที่ทำคำประกาศฉบับที่สามนั้นทำหลังจากที่ศาล โลกเก่าได้สิ้นสุดลงแล้วกว่าสี่ปี (ศาลโลกเก่าสลายตัวเมื่อปี ค.ศ.1946 แต่คำประกาศฉบับที่สามทำเมื่อปี ค.ศ.1950) ข้ออ้างของประเทศไทยจึงฟังไม่ขึ้น

ประเด็นต่อไปมีว่า ในเมื่อคำประกาศฉบับที่สามฟังไม่ได้ว่าเป็นคำประกาศต่ออายุยอมรับเขตอำนาจ ศาลโลกเก่าแล้ว ผลในทางกฎหมายของคำประกาศฉบับที่สามคืออะไร ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามเป็นคำประกาศใหม่ ที่แยกเป็นเอกเทศออกจากคำประกาศฉบับแรกและฉบับที่สอง

และหากพิจารณาเนื้อหาของคำประกาศที่สามแล้ว ศาลโลกเห็นว่า เป็นการประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ โดยอิงเงื่อนไขจากคำประกาศฉบับแรก

ดังนั้น ศาลโลกจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลโลกมีเขตอำนาจพิจารณาข้อพิพาทที่รัฐบาลกัมพูชาฟ้องรัฐบาลไทย ข้อต่อสู้ทางกฎหมายของฝ่ายไทยฟังไม่ขึ้น


ประเด็นเรื่องเนื้อหาของข้อพิพาท

คําร้องของกัมพูชาที่สำคัญที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร การนำเสนอพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายนั้นมีดังนี้

ฝ่ายไทยเสนอว่า หากพิจารณาตามสนธิสัญญาที่สยามทำกับประเทศฝรั่งเศส (ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสปกครองกัมพูชา) เมื่อปี ค.ศ.1904 ซึ่งตามสนธิสัญญาจะใช้ "สันปันน้ำ" (watershed) ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งไทย แต่หากพิจารณาตามแผนที่ ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งกัมพูชา

ขออธิบายตรงนี้เลยว่าหลังจากที่มีการทำสนธิสัญญาทวิภาคีในปี ค.ศ.1904 ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งคณะกรรมการผสมขึ้น และไม่นานนัก คณะกรรมการชุดนี้ก็มิได้ทำงานอีกต่อไป ต่อมา ฝ่ายไทยได้ร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสจัดทำแผนที่ขึ้น ข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนที่เจ้าปัญหาฉบับนี้ มีดังนี้

ประการแรก แผนที่ นี้เป็นการร้องขอจากฝ่ายไทยให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้น แผนที่นี้ทำขึ้นที่กรุงปารีส การที่ประเทศร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้นนั้นเป็นเพราะว่าในขณะนั้น ประเทศไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการทำแผนที่

ประการที่สอง การปักปันเขตแดนแล้วลงมาตราส่วนลงในแผนที่เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของประเทศฝรั่งเศส โดยที่ฝ่ายไทยไม่มีส่วนร่วมเลย

ประการที่สาม การทำแผนที่นี้ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการผสมแต่อย่างใด ในประเด็นนี้ผู้พิพากษาฟิสต์มอริสซึ่งเป็นหนึ่งในองค์คณะกล่าวว่า คณะกรรมการผสมไม่เคยแม้แต่จะ "เห็น" แผนที่นี้ อย่าว่าแต่ "รับรอง" เลย เป็นการร้องขอฝ่ายเดียวจากรัฐบาลไทย

ประการที่สี่ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดและเป็นเหตุผลสำคัญที่ศาลโลกวินิจฉัยให้ประเทศไทยแพ้ก็คือ แม้ ประเทศไทยจะไม่มีส่วนในการทำแผนที่ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยคัดค้านหรือประท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสอยู่หลายครั้งที่จะทักท้วงหรือประท้วงถึงความคลาด เคลื่อนหรือความผิดพลาดของแผนที่

โอกาสที่จะประท้วงความไม่ถูกต้องของแผนที่ เช่น กรณีการเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือกับประเทศฝรั่งเศสที่ทำขึ้นในปี ค.ศ.1925-1937 แต่ไทยก็มิได้ทักท้วง

ซึ่งศาลโลกเห็นว่า การนิ่งเฉยของประเทศไทยเป็นเวลานานเท่ากับเป็นการยอมรับความถูกต้องของแผนที่แล้ว จะมาปฏิเสธในภายหลังนั้น ไม่อาจกระทำได้ เป็นการปิดปากประเทศไทยว่าจะมาปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ไม่ได้

ยิ่งไปกว่านั้น ทาง การของไทยเองยังได้ทำแผนที่ใช้ขึ้นเองอีกด้วยในปี ค.ศ.1937 โดยแผนที่ที่เจ้าหน้าที่ของไทยเป็นผู้จัดทำ ได้แสดงว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ประเด็นนี้ไทยอ้างว่า แผนที่ที่ไทยทำขึ้นเองฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทหารเป็นการภายใน เท่านั้น แต่ศาลโลกไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของไทยในประเด็นนี้

เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหารก็คือ การที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ไปเยือนกึ่งเป็นทางการที่ปราสาทพระวิหาร ในครั้งนั้น กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารเกียรติยศรับการเสด็จอย่างเต็มที่ และยังชักธงชาติของประเทศฝรั่งเศสด้วย

ซึ่งศาลโลกเห็นว่า เท่ากับประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารว่าเป็นของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส) อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ผู้พิพากษาศาลโลกท่านหนึ่งคือ ท่านเวลลิงตัน คู ซึ่งเป็นตุลาการเสียงข้างน้อยได้ทำความเห็นแย้งว่า ในเวลานั้นกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแล้ว แต่ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย อีกทั้งพระองค์ยังตรัสว่า การมาเยือนปราสาทพระวิหารนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง

นอกจากนี้ สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ไทยแพ้คดีอาจเป็นผลมาจากการตั้งรูปคดีที่ผิดพลาดมา ตั้งแต่ต้น แทนที่ประเทศไทยจะปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ ควรรับประเด็นเรื่องแผนที่ แล้วยกข้อต่อสู้ว่า ในกรณีที่ข้อความในสนธิสัญญาที่ให้ใช้ "สันปันน้ำ" แย้งกับ "แผนที่" ในกรณีนี้ให้ถือว่าข้อความในสนธิสัญญามีค่าบังคับเหนือกว่า

ซึ่งอนุสัญญาแวร์ซายส์ มาตรา 29 ก็มีข้อความทำนองนี้ อีกทั้งก็มีคดีที่ศาลตัดสินให้ความน่าเชื่อถือของสนธิสัญญายิ่งกว่าแผนที่

จริงหรือที่ "การนิ่งเฉย" หรือ "กฎหมายปิดปาก" มิใช่เป็นหลักกฎหมาย

หลังจากที่ไทยแพ้คดี นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวลานั้นกล่าวทำนองว่าศาล โลกนำหลักกฎหมายที่ไม่ชัดเจนมาตัดสินคดี ที่น่าคิดก็คือ ทำไมทนายฝ่ายไทยไม่ทราบ หรือว่า "หลักกฎหมายปิดปาก" หรือ "การนิ่งเฉย" นั้น ศาลโลกหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเคยนำมาใช้หลายคดีแล้ว

อีกทั้งนักกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังได้เขียนบทความเรื่อง "หลักกฎหมายปิดปากที่ใช้ในศาลระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ของหลักกฎหมาย ดังกล่าวกับการนิ่งเฉย" (Estoppel before Internationals and Its Relation to Acquiescence) เขียนโดยนักกฎหมายระหว่างประเทศชื่อ Bowett ลงในวารสาร British Yearbook of International Law ปี ค.ศ.1957 และบทความชื่อ "หลักกฎหมายปิดปากในกฎหมายระหว่างประเทศ" โดย Mcgibborn ในวารสาร International and Comparative Law Quarterly ปี 1958 ซึ่งตีพิมพ์ก่อนที่ศาลโลกจะตัดสินประมาณ 3-4 ปี

ไม่อาจคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าฝ่ายไทยได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ แต่ไม่ว่าฝ่ายไทยจะได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ประเด็นที่น่าคิดก็คือ ทนายความของฝ่ายไทยน่าจะย่อมรู้ถึงหลักกฎหมายปิดปากเป็นอย่างดี

เพราะหลักว่าด้วย "การถูกการตัดสิทธิ" (Preclusion) หรือ "การนิ่งเฉย" อาจเทียบได้หรือมีผลเท่ากันกับ "หลักกฎหมายปิดปาก" อันเป็นหลักกฎหมายอังกฤษ หรือแองโกลแซกซอน

บทส่งท้าย

สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้

หากประเทศไทยจะเสียดินแดนอีกครั้งคงไม่ใช่เพราะนำข้อมูลการต่อสู้ทาง กฎหมายคดีความเอาไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านหรือเกิดจากความไม่รักชาติ ไม่สามัคคีอย่างที่คนไทยหลายคนเข้าใจกัน (ซึ่งรวมถึง พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ด้วย) แต่เกิดจากความไม่รอบคอบ ความประมาท และไม่รู้จักหน้าที่ของตนเองมากกว่า เหมือนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสามจังหวัดภาคใต้ของเรา




ข้อมูลจาก

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

http://hilight.kapook.com/view/20151

--------------------------------------

ขึ้นทะเบียน เขาพระวิหาร ลำดับเหตุการณ์ไทย ตกลงเขมร


หนึ่งในผลงานรัฐบาลชุดปัจจุบันถูกโจมตีอันดับต้นๆ คือการทำข้อตกลงที่ไทยจะสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียน "ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก" ของกัมพูชา ในเงื่อนไขให้ขึ้นทะเบียน "เฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหาร" โดยฝ่ายกัมพูชาจะจัดทำ "แผนที่ฉบับใหม่" แสดงขอบเขตปราสาทเขาพระวิหารประกอบคำขอขึ้นทะเบียน

ฝ่ายรัฐบาล โดยนายนพดล ปัทมะ รมว.การต่างประเทศ ยืนยันพร้อมแสดงแผนผังบริเวณปราสาทที่ฝ่ายกัมพูชาจะใช้ยื่นต่อยูเนสโกขอขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลก ว่า กรมแผนที่ทหารตรวจสอบบริเวณดังกล่าวอย่างละเอียดแล้ว ไม่มีส่วนใดล้ำเข้ามาในดินแดนที่ไทยอ้างสิทธิ์

เรื่องราวพิพาทระหว่างประเทศที่กลายเป็น "ข้อตกลง" กันได้ แต่กลับเป็นข้อพิพาทภายในประเทศ มีลำดับเหตุการณ์ในระยะหลัง ดังนี้
- 12 พ.ค. นายนพดล ปัทมะ รมว.การต่างประเทศแจ้งว่า จะเดินทางไปยังเกาะกง กัมพูชา ในวันที่ 14 พ.ค. เพื่อร่วมเปิดถนนสายที่ 48 กับนายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และวาระนี้จะหารือถึงการทำบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ว่าให้มีการบริหารและจัดการร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งต้องรีบคุยกันเพราะเวลาเหลือน้อย เนื่องจากเรื่องการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกในเดือนกรกฎาคม ที่ควิเบก ประเทศแคนาดา

- 14 พ.ค. นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศแถลงว่า การปักปันเขตแดนทางบกหรือพื้นที่ทับซ้อนบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร และเรื่องพื้นที่ทางทะเลบริเวณไหล่ทวีปที่กัมพูชาและไทยอ้างสิทธิ์ทับซ้อน กัน เป็นการเจรจา 2 กรอบที่แยกออกจากกัน ทั้งในเรื่องคณะกรรมการที่รับผิดชอบและในสาระของแต่ละเรื่อง นอกจากกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ยังมีหน่วยงานราชการอื่นๆ ร่วมในการเจรจาด้วย

- 14 พ.ค. หลังร่วมพิธีเปิดถนนสายที่ 48 ที่เกาะกง นายนพดล หารือกับ นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา จากนั้นเปิดเผยว่า กัมพูชามีท่าทีที่อ่อนลงและผ่อนปรนมากขึ้นในเรื่องเขาพระวิหาร หลังจากไทยและกัมพูชาเห็นต่างกันมานาน ในคำวินิจฉัยของศาลโลกเมื่อปี 2505 ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ตัดสินว่าตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา ทางกัมพูชาจึงตีความ ว่าเส้นเขตแดนน่าจะเป็นไปตามคณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศส แต่ไทยอ้างสิทธิ์ของไทยว่า เส้นเขตแดนนั้น ศาลโลกระบุว่าไม่มีเขตอำนาจ
นายนพดล ย้ำว่า การแบ่งพื้นที่ทับซ้อนทางบกและการแบ่งพื้นที่ทางทะเลกับเขาพระวิหารแยกออก จากกันสาระสำคัญอยู่ที่ไทยไม่เคยคิดจะเอาเขาพระวิหารไปแลกเปลี่ยนกับก๊าซ ธรรมชาติและน้ำมัน และปฏิเสธว่าเรื่องการเปิดถนนสาย 48 ไม่เกี่ยวกับการลงทุนในกัมพูชาของพ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเริ่มสร้างมา 3-4 ปีแล้ว

- 22 พ.ค. นายนพดล กับ นายสก อาน หารือที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยมีผู้แทนระดับสูงของยูเนสโกเข้าร่วมด้วย ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ดังนี้

1.ไทยจะสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกซึ่งเสนอโดยกัมพูชา

2.กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหาร โดยฝ่ายกัมพูชาจะจัดทำแผนที่ฉบับใหม่แสดงขอบเขตปราสาทเขาพระวิหารเพื่อใช้ แทนแผนที่ฉบับเดิมที่กัมพูชาใช้ประกอบคำขอขึ้นทะเบียน

3.การขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิ์ของ แต่ละฝ่ายในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิ การเขตแดนร่วม

4.ทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันจัดทำแผนบริหารจัดการในพื้นที่ที่อ้างสิทธิ์ทับ ซ้อนโดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระดับสากล เพื่อเสนอคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาภายในวันที่ 1 ก.พ.2553

- 30 พ.ค. กรณีที่ถูกวิจารณ์ว่า แผนที่ที่ทางกัมพูชายื่นให้ฝ่ายไทยรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของไทยประมาณ 200 เมตร นายนพดล ชี้แจงว่า ไทยถือแผนที่คนละฉบับกับกัมพูชา ไทยใช้แผนที่ แอล 7017 มาโดยตลอดตั้งแต่ศาลโลกมีคำวินิจฉัยและทุกหน่วยงานของไทยใช้แผนที่ฉบับดัง กล่าวเช่นกัน

- 5 มิ.ย. กระทรวงการต่างประเทศได้รับแผนที่ฉบับใหม่จากฝ่ายกัมพูชาที่จะใช้แทนแผนที่ เดิมที่ยื่นไว้เมื่อปี 2549 และได้ขอความร่วมมือกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ตรวจสอบข้อมูลในภูมิประเทศจริงเพื่อความถูกต้องชัดเจน

- 16 มิ.ย. แผนที่ฉบับใหม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ

- 17 มิ.ย. แผนที่ฉบับใหม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยมติครม. มอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วม กับ นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเพื่อยืนยันข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายตามที่ตกลงกันไว้ใน การหารือที่กรุงปารีสด้วย

- 18 มิ.ย. นายนพดลลงนามในข้อตกลงร่วมกับกัมพูชาเมื่อ 22 พ.ค.2551 จากนั้นเปิดแถลงข่าวแสดงแผนที่ยืนยันว่า ไทยไม่เสียดินแดน

ข้อมูลและภาพประกอบจาก
http://hilight.kapook.com/view/25562
----------------------------------------------
ปองพล แฉการเมืองไทย ทำให้เสียเขาพระวิหาร

เขาพระวิหาร

สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

นาย ปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าวถึงปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ว่า การประชุมเพิ่งเริ่มเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา (6 กรกฎาคม) พิจารณาการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน 47 แห่งเป็นมรดกโลก จึงเลื่อนการพิจารณาปราสาทพระวิหาร ไปพิจารณาเป็นลำดับสุดท้าย (คืนวันที่ 7 กรกฎาคม ตามเวลาท้องถิ่น) เพื่อให้ได้มีโอกาสพิจารณากันอย่างถี่ถ้วน และป้องกันการก่อให้เกิดความบาดหมางระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ นายปองพล กล่าวต่อว่า วาระการพิจารณาประเด็นปราสาทพระวิหารคงไม่สามารถเลื่อนการพิจารณาออกไปอีก ได้ ส่วนประเด็นรัฐบาลไทยเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกร่วมนั้น เคยเสนอมาหลายครั้ง แต่ทางรัฐบาลกัมพูชาไม่ยินยอม ต้องการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยดำเนินการเช่นนี้มาถึง 2 ปีแล้ว ทำให้มีความได้เปรียบ รวมทั้งกรรมการทั้ง 21 ชาติ มีข้อมูลพร้อมแล้ว สำหรับการตัดสินใจ เนื่องจาก icomos หน่วยทำงานให้คณะกรรมการมรดกโลกในการวิเคราะห์วิจัย ทำรายงาน และประเมินเสนอแนะเกี่ยวกับมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทำรายงานเผยแพร่เรื่องนี้ออกไปหมดแล้ว รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ก็ช่วยรัฐบาลกัมพูชาล็อบบี้กรรมการทั้ง 21 ชาติ ได้หมดแล้วเช่นกัน

นายปองพล กล่าวต่ออีกว่า ในปี 2548 ประเทศไทยมีอำนาจในการต่อรองเรื่องนี้ รัฐบาลไทยได้เจรจาต่อรองกระทั่งรัฐบาลกัมพูชายินยอมให้เสนอขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกัน อย่าง ไรก็ตาม หลังเกิดการปฏิวัติ ในปี 2549 เปลี่ยนรัฐบาล ความไม่แน่นอนในประเทศไทยเกิดขึ้น รัฐบาลกัมพูชาที่ดำเนินการเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ จึงไปขอความร่วมมือจากสหรัฐอเมริกาช่วยเจรจาประเด็นนี้ให้ ทำให้หลายประเทศเป็นกลางหันไปสนับสนุนรัฐบาลกัมพูชา หลังได้รับเชิญไปชมปราสาทพระวิหารแล้ว
"ประเด็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายนพดล ปัทมะ) ไปลงนามเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่ประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 สนับสนุนรัฐบาลกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไม่มีผลต่อการลงมติครั้งนี้แต่อย่างใด เพราะรัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญเรื่องตัวปราสาทพระวิหาร ถือเป็นอัจฉริยภาพในการสร้างสรรค์เพียงประเด็นเดียว ตามคำพิพากษาของศาลโลก ไม่ได้ล้ำดินแดนของประเทศไทยแต่อย่างใด" นายปองพลกล่าว


ข้อมูลจาก


http://hilight.kapook.com/view/26201

-------------------------------------------------

แฉแผนที่ใหม่เขาพระวิหาร ไทยส่อเสียดินแดน
แผนที่เขาพระวิหาร

กองทัพกดดัน นพดล บี้เขมรปรับแผนที่กินแดนไทย
ประเด็นการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเขาพระวิหาร ที่ทางการกัมพูชากำลังพยายามเสนอองค์การยูเนสโกพิจารณารับรอง ขณะที่รัฐบาลไทยไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว ทำให้ประชาชนและบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย โดยเฉพาะชาวศรีสะเกษ ระแวงว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะทำให้ไทยสูญเสียดินแดนให้ประเทศเพื่อนบ้านอีก หรือไม่?
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน รายการ "คม ชัด ลึก" ซึ่งออกอากาศทางเนชั่น แชนแนล สถานีโทรทัศน์ไททีวี ได้จัดเวทีสนทนาในเรื่องนี้ โดยมี นายปองพล อดิเรกสาร ผู้ผลิตรายการด้านมรดกโลก นายกษิต ภิรมย์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ร่วมสนทนา นอกจากนี้ยังสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายทิวา รุ้งแก้ว ประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ดำเนินรายการ

ถาม : ทั้งที่กระทรวงการต่างประเทศพยายามอธิบายเรื่องนี้ แต่ทำไมคนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยและระแวงว่าไทยจะเสียดินแดนหากเขาพระวิหาร ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก

นพดล : เราต้องเข้าใจข้อเท็จจริงก่อนว่า เมื่อปี พ.ศ.2505 ศาลโลกได้ตัดสินให้เฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ต่อมามีปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนจำนวน 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่ทั้งไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิครอบครอง โดยเริ่มแรกนั้น กัมพูชายื่นเรื่องต่อคณะกรรมการมรดกโลกขอให้รับรองเขาพระวิหารทั้งส่วนที่ เป็นตัวปราสาทและพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรด้วย

ซึ่งในการเจรจาที่ปารีส ผมได้คัดค้านเรื่องนี้ไป ไม่ยอมรับที่กัมพูชาเสนอ และได้เจรจาขอให้ทางการกัมพูชายื่นขอเฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ได้เท่านั้น ซึ่งทางการกัมพูชาก็ยินยอมตามที่คัดค้าน โดยเราเสนอให้ทางการกัมพูชาจัดทำแผนที่ใหม่ ที่ระบุเฉพาะพื้นที่ตัวปราสาท ยื่นให้คณะกรรมการพิจารณามรดกโลก ส่วนพื้นที่ทับซ้อนกัมพูชาไม่ได้แตะ แผนที่ฉบับที่กัมพูชาทำขึ้นใหม่นั้น กระทรวงต่างประเทศได้ประสานให้กรมแผนที่ทหารตรวจสอบแล้ว ซึ่งกรมแผนที่ทหารก็รับรองว่าถูกต้องแล้ว

ถาม : ในส่วนที่นอกเหนือจากตัวปราสาททำไมเราจึงไม่ขอขึ้นทะเบียนมรดกร่วมกับกัมพูชา

นพดล : ทางการกัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโกไป ตั้งแต่ปี 2549-2550 ซึ่งขณะนั้นเราไม่ได้มีการเสนอร่วม ซึ่งไม่เข้าใจว่าเพราะอะไร เพราะตอนนั้นผมยังไม่ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จึงไม่ทราบ แต่พอผมมาเป็นรัฐมนตรี ทราบเรื่องนี้เข้าเห็นว่ากัมพูชาเขามีการล็อบบี้ยูเนสโกไปมากแล้ว และได้ขอยื่นทั้งตัวปราสาทและพื้นที่ทับซ้อน ผมจึงต้องคัดค้า เพราะว่ากลัวจะเสียดินแดน แต่หากในอนาคตเราจะเสนอพื้นที่ที่เหลือก็ต้องไปหารือกัน ซึ่งเป็นเรื่องของอนาคต

เรื่อง นี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน การเจรจาเป็นไปด้วยความเหนื่อยยาก แต่ก็ได้ต่อรองไปว่าเรากับกัมพูชายังมีผลประโยชน์ร่วมกันในทางอื่น ทั้งเรื่องพื้นที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ไทย-ลาว-กัมพูชา และเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง หากเขาไม่แก้แผนที่เราก็มีมาตรการอื่นไว้รองรับ ทั้งสภาความมั่นคงเองก็มีแผนการดำเนินการอย่างชัดเจน ซึ่งรองนายกฯ ซก อาน และนายกฯ ฮุน เซน ของกัมพูชา ก็อยากเป็นมิตรกับเรา เพราะก่อนหน้านี้ความสัมพันธ์ก็เคยสะดุดมาแล้ว เรื่องที่คนกัมพูชาเผาสถานทูตของเรา

ถาม : การยินยอมครั้งนี้มีผลสืบเนื่องมาจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยหรือไม่

นพดล : เรื่องเขาพระวิหารกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เป็นคนละเรื่องกัน ไม่ได้นำมาเกี่ยวข้องกัน เรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลมีการเจรจากันมากว่า 10 ปี ยังไม่จบ ซึ่งยังต้องเจรจากันต่อไป

ถาม : เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหวาดระแวงว่าไทยเสี่ยงจะเสียดินแดนหรือไม่

ปองพล : แล้วแต่มุมมอง แต่สำหรับผมเกิดคำถามว่า ทำไมเราจึงไม่เสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วม ซึ่งที่ผ่านมาทั่วโลกเขาก็มีตัวอย่างที่ทำกัน เช่น แคนาดากับสหรัฐ บราซิลกับอาร์เจนตินา ปัจจุบันมรดกโลกมีอยู่ 851 แห่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรม 660 แห่ง มรดกทางธรรมชาติ 166 แห่ง ที่เหลือเป็นแบบผสม ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกมีการยื่นเรื่องขอให้ขึ้นทะเบียนพื้นที่ของตัวเองเป็น มรดกโลกปีละไม่น้อยกว่า 40 แห่ง แต่คณะกรรมการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนได้แค่ 20 แห่งต่อปีเท่านั้น และหลายแห่งมีการยื่นเรื่องที่ยาวนาน ไม่เห็นต้องรีบร้อน เขาพระวิหารก็เช่นกัน มีการยื่นเรื่องมากว่า 16 ปีแล้ว ทำไมรัฐบาลชุดนี้จึงลุกลี้ลุกลนยินยอมไป

รัฐมนตรีต่างประเทศบอกว่ามีการ เจรจากับกัมพูชาแล้ว ทำไมจึงไม่เจรจาในพื้นที่ที่ทับซ้อน ซึ่งอยู่ในฝั่งเรา เพื่อให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกันไปเลย ซึ่งต้องใช้เวลาในการเจรจา ไม่ต้องรีบร้อน

ถาม : ในมุมมองคุณกษิต เหตุการณ์ครั้งนี้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนหรือไม่

นายกษิต : การพิจารณายื่นเรื่องเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ทุกฝ่ายน่าจะหารือกัน ทางออกที่ดีที่สุดคือการยื่นเรื่องร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่สำคัญคือต้องพูดกันให้ชัดเจน อย่างกรณีที่นายนพดลบอกว่ากัมพูชาตกลงที่จะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท แล้วก็หมายความว่าพื้นที่ที่บอกว่าเป็นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ก็ต้องเป็นของเรา ซึ่งเขายินยอมจริงหรือเปล่า

ผมรู้สึกว่าการดำเนินการครั้งนี้ทุกอย่างเป็นเรื่องลับไปหมดอธิบายไม่ชัดเจน และน่าระแวงสงสัย และเห็นว่ารัฐบาลควรจะมีการแถลงในสภาให้ชัดเจน เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นเรื่องของคนไทยทุกคน ไม่ใช่เป็นเรื่องของรัฐบาลเพียงหน่วยงานเดียว

อีกทั้งผมไม่เชื่อว่า หากกัมพูชาเสนอไปเพียงเฉพาะตัวปราสาทแล้วยูเนสโกจะประกาศเป็นมรดกโลกได้ เพราะตามหลักการแล้ว สิ่งที่จะเป็นมรดกโลกได้ต้องมีความสมบูรณ์ กรณีเขาพระวิหารตัวปราสาทอยู่ในกัมพูชา อีกส่วนอยู่ฝั่งไทย หากขึ้นทะเบียนเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งไม่น่าจะมีความสมบูรณ์

ศาล โลกตัดสินชัดเจนแล้วว่า เฉพาะตัวปราสาทเป็นของเขมร จึงไม่มีพื้นที่ทับซ้อน พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่อ้างกันต้องเป็นของไทย จึงไม่มีความจำเป็นใดที่เราจะไปพัฒนาร่วมกับกัมพูชา เพราะเรามีความพร้อมอยู่แล้ว แต่ที่มีปัญหาอยู่ เป็นเพราะเหตุผลอื่นหรือไม่ อย่างเช่นเรื่องเกาะกง และพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ผมไม่เชื่อหรอกว่ากระแสข่าวนี้สื่อมวลชนรายงานกันเอง แต่น่าจะหลุดลอดมาจากคนในกระทรวงต่างประเทศ ที่ผ่านมาจึงมีปัญหาโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงขึ้น

ถาม : ชาวศรีสะเกษ หนักใจและระแวงที่จะเสียดินแดนอีกหรือไม่

ทิวา : ได้ ยินรัฐมนตรีนพดล พูดแล้วหนักใจมาก ที่ผ่านมาเราเสียเขาพระวิหารให้กัมพูชาก็เพราะการเขียนแผนที่ของฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกก็ตัดสินให้ชัดเจนแล้วว่า เฉพาะตัวปราสาทเท่านั้นเป็นของเขมร แต่ต่อมากลับมีเรื่องพื้นที่ทับซ้อนมากอีก เหมือนกับว่าไม่มีการทำตามคำสั่งศาล ซึ่งไม่ถูกต้องคำสั่งศาลระบุชัดเจนแล้วว่าเฉพาะตัวปราสาทเป็นของเขมร พื้นที่ที่เหลือก็ต้องเป็นของไทย

ทิวา : ผม รู้สึกว่ารัฐมนตรีจะลุกลี้ลุกลนทำเรื่องนี้ให้จบๆ พื้นที่เขาพระวิหารตอนนี้มีชาวกัมพูชาเข้ามาอยู่ในพื้นที่ไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2537-2538 ซึ่งคนศรีสะเกษต่อต้านเรื่องนี้มาโดยตลอด แต่เจ้าหน้าที่รัฐกลับบอกว่าเป็นพื้นที่ละเอียดอ่อน ซึ่งผมเห็นว่าก่อนที่จะไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น รัฐบาลควรจะนำแผนที่ที่อ้างว่าตกลงกับกัมพูชาได้แล้วมาแสดงต่อสาธารณชนให้ รับรู้ก่อน และต้องจัดการให้คนเขมรที่อาศัยอยู่ที่เขาพระวิหารออกไปจากพื้นที่ของไทย ก่อน หลังจากนี้จะเปิดเวทีให้ความรู้แก่ชาวศรีสะเกษเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป

ขณะที่ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร ระบุว่ารัฐบาลและคนไทย ทั้งข้าราชการประจำทั้งทหาร พลเรือนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งต้องตัดสินใจว่าจะปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของชาติหรือไม่ อย่าให้เป็นการชักจูงโดยตกอยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมือง ซึ่งยกวาทกรรมเรื่อง คลั่งชาติหรือชาตินิยมมาเบี่ยงเบนประเด็นในการตัดสินใจกรณีขึ้นทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหารของกัมพูชา

สิ่งที่รัฐบาลทำวันนี้ คือ รัฐบาลไปยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนแต่ฝ่ายเดียว ไปยอมรับแผนที่ของกัมพูชาที่ไม่ยอมรับอธิปไตย ตาม มติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 และยังยอมไปทำแถลงการณ์ร่วมในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันโดยยังไม่มีความชัดเจน ในเรื่องเขตแดนแม้แต่น้อย ผลเสียตามกฎหมายปิดปากก็จะเกิดขึ้น เมื่อรัฐบาลไทยไม่ยับยั้งหรือคัดค้าน คนไทยควรร่วมกันยับยั้งหรือคัดค้านโดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิ ชุมชน และส่งเรื่องไปตามขั้นตอนและเวลาอย่างเร่งด่วนผ่านองค์การยูเนสโกในประเทศ ไทย ไปยังคณะกรรมการมรดกโลก โดยขอให้นักวิชาการ ข้าราชการประจำองค์กรภาคประชาชน สื่อและประชาชนทุกคนมาร่วมกัน

สำหรับหน่วยงานที่มีหน้าที่ทุก หน่วยต้องสอดส่องบันทึกการกระทำที่ไม่ยอมรับมติคณะรัฐมนตรี 2505 เรื่องเขตแดนไทยตามวิธีการในระบอบประชาธิปไตย ในทางคู่ขนานต้องนำเข้าเจรจาในคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ส่งเรื่องเข้ารัฐสภา และ/หรือดำเนินการทางการทูตอื่นๆ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องขึ้นอยู่กับความเสมอภาคและเคารพอธิปไตย ของทั้งสองฝ่ายอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้

แถลงการณ์ระบุอีกว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องความต้องการเปลี่ยนเส้นเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลของไทย เพื่อหวังผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มการเมือง โดยมีเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นสื่อบังหน้า

ข้อควรระลึก คือ 1. หากไม่ยืนยันเขตอธิปไตยหรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 ไทยจะเสียดินแดนให้กัมพูชา 2. แผนที่ใหม่ของกัมพูชามีนัยเป็นการยืนยันท่าทีของกัมพูชาที่ไม่ยึดถือ เขตอธิปไตย หรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 3. เมื่อไม่มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้ชัดเจนเสียก่อน แต่เลือกแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมและออกแถลงการณ์ร่วม ไทยจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบและเสียดินแดนให้กัมพูชาในที่สุด

ทุกฝ่ายจึงควรตั้งสติ ใช้เหตุผล และใช้ประโยชน์จากเบาะแสของคณะวิจัย พิจารณาให้หลุดพ้นจากการถูกบิดเบือน เบี่ยงเบน หลุมพราง และภาพที่ถูกสร้างขึ้น ค่าแห่งความทรงจำเรื่องปราสาทเขาพระวิหารในฐานะมรดกอารยธรรมของมนุษยชาติจะ ได้ไม่เป็นเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือดินแดนไทย

ข้อมูลและภาพประกอบจาก



http://hilight.kapook.com/view/25456

-----------------------------------------------

ปชป.ยื่นศาล รธน.ชี้ขาดแถลงการณ์ร่วม “นพดล” เป็นโมฆะ
29 มิ.ย. 2008 - 06:15

ปชป.ยื่นคำร้องผ่านรองประธานสภาฯ ให้ศาล รธน.วินิจฉัยแถลงการณ์ร่วมจดทะเบียน “พระวิหาร” เป็นโมฆะ ชี้เข้าข่ายหนังสือสัญญา ต้องนำเข้าสภาก่อนตาม ม.190 พร้อมจี้รัฐบาลลูกกรอกหยุดกล่าวหายุยงคลั่งชาติ “สุขุมพันธุ์” โต้ รมต.เขมร ยันไม่ใช่เกมการเมือง ย้ำ 2 ชาติต้องขอจดมรดกโลกร่วมกัน ด้าน “ชูศักดิ์” ตีกันพันธมิตรฯ ยื่นฟ้องศาล

วันนี้ (28 มิ.ย.) เมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะได้ยื่นหนังสือคำร้องต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 51 เห็นชอบให้นายนพดล ปัทมะ รมว.การต่างประเทศ ลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้มีการจดทะเบียนปราสาทพระ วิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ในวันที่ 18 มิ.ย.51 เป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และเป็นโมฆะ เนื่องจากการแถลงการณ์ร่วมถือเป็นหนังสือสัญญา และจะต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาก่อน

ทั้งนี้ เมื่อเช้ามืดที่ผ่านมา ศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้ รมว.ต่างประเทศและรัฐบาลไทยปฏิบัติตามเนื้อหาในแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว เนื่องจากอาจทำให้ไทยเสียดินแดนบริเวณเขาพระวิหารโดยถาวร โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ทางพรรคฯ เตรียมจะยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยว่าการลงนามในแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวเป็นโมฆะด้วย เพราะถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่ระบุว่าการทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อนดำเนินการเรื่องนี้ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลยุติกระบวนการใส่ร้ายพรรคประชาธิปัตย์ ที่กล่าวหาว่ายุยงให้คนไทยคลั่งชาติ

ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเงา กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้นำประเด็นการขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารของ ประเทศกัมพูชาเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ตามที่นายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา กล่าวพาดพิงแต่อย่างใด เพราะทราบดีว่าไม่มีหนทางใดที่จะล้มรัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้ แต่พรรคประชาธิปัตย์ขอย้ำจุดยืนว่า ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาควรขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารร่วมกัน

“เชษฐา” เชื่อไม่กระทบสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา

พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เชื่อว่าปัญหานี้จะไม่กระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แม้ว่าเรื่องเขตแดนจะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน พร้อมยืนยันพรรคร่วมรัฐบาลไม่เคยกดดันให้ปรับคณะรัฐมนตรีหลังอภิปรายไม่ไว้ วางใจนายกรัฐมนตรี และ 7 รัฐมนตรี แต่เป็นดุลพินิจที่นายกรัฐมนตรีต้องพิจารณาเอง ซึ่งพรรคไม่ขอเข้าไปก้าวล่วง อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหากมีการปรับจริงก็เป็นเพียงบางตำแหน่งไม่ใช่ปรับใหญ่

** “ตือ” เชื่อสถานการณ์คลี่คลาย

นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า สถานการณ์ความรุนแรงต่างๆ อันเกิดจากปราสาทเขาพระวิหารจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามนำมติคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการลงนามในร่างคำแถลงการณ์ร่วมปราสาทเขาพระ วิหารกับประเทศกัมพูชา ซึ่งคงจะมีเพียงแต่ความรู้สึกที่มีต่อรัฐบาลเท่านั้น ทั้งนี้เห็นว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศที่จะดำเนินการชี้แจงทำ ความเข้าใจกับประชาชนในช่วงที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ส่วนที่ทางกลุ่มพันธมิตรจะนำประเด็นนี้มาฟ้องร้องดำเนินคดีกับขณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าสามารถดำเนินการได้เพราะถือว่าเป็นสิทธิ

พร้อมกันนี้ นายสมศักดิ์ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคชาติไทยยืนยันไม่เคยต่อรองกับพรรคกลังประชาชน เพื่อให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี โดยแลกกับคะแนนลงมติไว้วางใจ ขณะเดียวกันปฏิเสธไม่ขอตอบตำถามว่า ขณะนี้ถึงเวลาในการปรับคณะรัฐมนตรีแล้วหรือไม่เพียงแต่เห็นว่ารัฐบาลควรรับฟังกระแสสังคม

** “ชูศักดิ์” ยันไม่แก้มติ ครม.

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องทบทวนหรือปรับแก้มติกรณีปราสาทพระวิหาร หลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพราะเป็นเพียงการคุ้มครองชั่วคราวเท่านั้น ทั้งยังไม่เห็นความจำเป็นที่ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะนำ กรณีนี้ไปดำเนินการฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งเรื่องนี้ยืนยันได้ว่า ไม่มีรัฐมนตรีคนใดที่ประสงค์จะให้เกิดความเสียหายหรือเสียดินแดนให้กับ ประเทศกัมพูชา แต่เพราะประเด็นดังกล่าวถูกนำไปเชื่อมโยงเป็นประเด็นทางการเมืองจึงต้องมี การออกมาโต้แย้งต่างๆ เกิดขึ้น

** “สุวิทย์" อ้าง “เขาพระวิหาร” ผิดพลาดต้องแก้ไข

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวว่า ก่อนการลงมติในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล นายกรัฐมนตรีได้คุยประเด็นเขาพระวิหารว่า อะไรที่ผิดก็ควรแก้ไข ซึ่งทางพรรคได้เสนอให้แก่มติคณะรัฐมนตรี ไม่ให้กระทบกับมติคณะรัฐมนตรีปี 2505

ส่วนการชี้แจงในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 นายสุวิทย์ ยืนยัน เงินรายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลค้างกระดาน ส่งชำระกองทุนทั้งหมดไม่ได้ตกหล่นอยู่ที่ใคร ทุกอย่างตรวจสอบได้

ส่วนเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี ส่วนตัวไม่สามารถให้ความเห็นได้ เพราะการตัดสินใจขึ้นอยู่กับ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรียังไม่ได้เรียกพรรคร่วมรัฐบาลหารือ อย่างไรก็ตาม การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ไม่มีผลกระทบกับพรรคเพื่อแผ่นดิน

----------------------------------------------

นพดล ยืนยันแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ไม่เข้าข่าย ม.190

ศาลรัฐธรรมนูญ 4 ก.ค.-“นพดล” เดินทางเข้าชี้แจงปมปราสาทพระวิหารต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ไม่เข้าข่าย ม.190 ของรัฐธรรมนูญ ระบุจะทำหนังสือถึงคณะกรรมการมรดกโลก ยกเลิกสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารออกไปก่อนตามคำสั่งศาล ปกครอง อ้างเหตุลงนามในแถลงการณ์ร่วม ทำตามมติคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ที่รัฐบาล “พล.อ.สุรยุทธ์” สนับสนุน ศาลนัดสืบต่อวันที่ 7 ก.ค.

นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวภายหลังชี้แจงต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกว่า 2 ชั่วโมง ว่า สามารถชี้แจงข้อสงสัยได้ทุกประเด็น โดยเฉพาะเรื่องการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชา ว่าไม่เข้าข่ายหนังสือสัญญา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพราะการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไม่มีเจตนาให้เป็นหนังสือที่มีผลผูกพันทาง กฎหมาย หรือผูกนิติสัมพันธ์ และไม่มีผลกระทบกับเขตแดนทั้งสองประเทศ ไม่มีใครได้ใครเสีย อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายวันนี้ (4 ก.ค.) จะทำเอกสารชี้แจงเพิ่มเติมให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงท่าทีไทยต่อการสนับสนุนขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารว่า ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศแคนาดา ไทยจะทำหนังสือเลื่อนการพิจารณา และยกเลิกการสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนไปก่อน ตามคำสั่งศาลปกครองกลาง จนกว่าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ เพื่อสงวนสิทธิ์ในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกันในอนาคตตามความต้องการ ของคนไทย

นายนพดล ยังนำคำแปลมติของคณะกรรมการมรดกโลกอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 31 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งอยู่ในช่วงรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มาแสดง โดยอ้างว่า ที่ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ทำตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ที่ระบุว่าไทยสนับสนุนอย่างแข็งขันให้กัมพูชาเสนอปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งตนห่วงว่ากัมพูชาจะหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาใช้เป็นประโยชน์ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นายนพดล ให้สัมภาษณ์ มีชายคนหนึ่งตะโกนว่านายนพดล ข้ามประตูศาลเข้ามา ทำให้นายนพดล ตกใจและหยุดให้สัมภาษณ์ ก่อนจะขึ้นรถกลับทันที ขณะที่มีประชาชนร่วม 10 คน ยืนรอให้กำลังใจอยู่ด้านหน้าประตูทางออก จนมีปากเสียงกันเล็กน้อย แต่เจ้าหน้าที่ระงับเหตุไว้ก่อนจะบานปลาย โดยมีการถ่ายภาพผู้ที่คัดค้านนายนพดลไว้ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลรัฐธรรมนูญ นัดพิจารณาคำร้องเรื่องดังกล่าวต่อ ในวันจันทร์ที่ 7 ก.ค. เวลา 09.30 น.-สำนักข่าวไทย

----------------------------------------------

ศาลชี้ นพดล ทำแถลงร่วมกัมพูชา ขัดกฎหมาย

นพดล ปัทมะ

ศาลรธน.ชี้ชัด นพดล ทำแถลงร่วมขัดกฎหมายทำสัญญาต่างประเทศผ่านสภา
ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 วินิจฉัยชี้ขาดว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย - กัมพูชา เพื่อสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2

นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 วินิจฉัยชี้ขาดว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย - กัมพูชา เพื่อสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2 ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน

ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้ลงนามในคำวินิจฉัยเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะส่งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา เพื่อแจ้งผู้ร้อง และแจ้งไปยังผู้เกี่ยวข้องต่อไป

นายไพบูลย์ เปิดเผยว่า ตุลาการฯ 1 เสียงที่เห็นว่าแถลงการณ์ร่วมไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น คือ นายเฉลิมพล เอกอุรุ ซึ่งให้ความเห็นว่า เป็นหนังสือสัญญาแต่ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของศาลจะมีผลนับแต่วันที่ศาลมีคำวินิจฉัยโดยปกติ
ข้อมูลจาก

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

http://hilight.kapook.com/view/26266

--------------------------------------------

‘วรเจตน์’ ยันหลักวิชา ศาลปกครองไม่มีเขตอำนาจเหนือคดีเขาพระวิหาร

วันที่ 30 มิ.ย.51 นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ให้สัมภาษณ์ในรายการทีวีออนไลน์ประชาไท ‘บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา’ (ออนไลน์ในวันที่ 2 ก.ค.นี้) กรณีที่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ มอบอำนาจให้นางอัจฉรา แสงขาว ทนายความยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองกลางออกหมายเรียก รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้จัดการเว็บไซต์ประชาไท และนายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการเว็บไซต์ประชาไท มาสอบถามเพื่อดำเนินการลงโทษในข้อหาละเมิดอำนาจศาล กรณีที่นายวรเจตน์ได้ให้ความเห็นต่อคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง

ทั้งนี้ นายสุวัตร เป็นหนึ่งใน 9 ผู้ฟ้องนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และคณะรัฐมนตรีกระทำการมิชอบด้วยกฎหมายโดยไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร และต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว

วรเจตน์กล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นในทางวิชาการซึ่งถือเป็นกระบวนการตรวจสอบอำนาจศาลที่พึงมี และเป็นเรื่องที่สังคมสามารถถกเถียงได้ว่าความคิดเห็นของเขาถูกต้องตามหลักวิชาหรือไม่ นอกจากนี้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาทางปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 65 ยังระบุชัดว่า ผู้ใดวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาของศาลโดยสุจริตด้วยวิธีการทางวิชาการ ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

วรเจตน์ กล่าวว่า กรณีของการละเมิดอำนาจศาลนั้นเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ต้องมีผู้ฟ้องร้อง แต่เป็นเรื่องที่ศาลพิจารณาและดำเนินการเอง การมีคนอื่นไปจัดการแทนทั้งที่ศาลยังไม่ได้ทำอะไรดังที่เกิดขึ้นจึงนับเป็นเรื่องประหลาดมาก

“ถ้าการพูดของผมทำให้ทางพันธมิตรฯ ไม่พอใจหรือไม่ชอบ ผมก็ช่วยไม่ได้เพราะผมแสดงความเห็นโดยสุจริตในทางวิชาการ เรื่องแบบนี้จะต้องใจกว้างและดูเหตุดูผลประกอบกัน ไม่ใช่ใช้วิธีการในลักษณะแบบนี้มาปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของบุคคล ซึ่งผมเห็นว่าไม่ถูกต้อง ผมไม่ได้พูดถึงตัวเองแต่กำลังพูดถึงคนอื่นๆ ซึ่งหลายคนในวันนี้ไม่กล้าพูด เพราะกลัวว่าพูดแล้วจะโดนด่า ถูกประณามอย่างสาดเสียเทเสีย ทุกคนกลัวหมด ก็ปล่อยให้คนกลุ่มหนึ่งมีความถูกต้องอยู่ในมือ” วรเจตน์กล่าว

อย่างไรก็ตาม หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มธ.ยังคงยืนยันว่าศาลปกครองไม่มีเขตอำนาจเหนือคดีที่รัฐบาลไทยจะไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมกับรัฐบาลกัมพูชา ด้วยเหตุที่ว่าศาลปกครองมีหน้าที่ตรวจสอบการกระทำหรือคำสั่งในทางปกครอง แต่กรณีที่รัฐบาลไทยไปตกลงในแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชานั้นไม่ถือเป็นการกระทำในทางปกครอง แต่เป็นการกระทำในทางรัฐบาล ซึ่งมีกลไกการตรวจสอบผ่านระบบรัฐสภาอยู่แล้ว หากศาลเข้ามาตรวจสอบในการกระทำทางรัฐบาลจะกลายเป็นว่าศาลเข้ามาบังคับบัญชาฝ่ายบริหาร ซึ่งขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ

“เวลาพูดถึงฝ่ายบริหารมี 2 ส่วนใหญ่ คือ ฝ่ายการเมือง เช่น คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี กับฝ่ายประจำ เช่น ปลัด ข้าราชการประจำ คดีที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายประจำอยู่ในขอบเขตของศาลปกครองทั้งหมด แต่พวกที่เป็นคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทำการได้ 2 ลักษณะ คือ การกระทำในทางรัฐบาล เป็นการบริหารโดยแท้ เช่น การวางนโยบายต่างๆ กับอีกลักษณะหนึ่งคือการกระทำทางปกครองคือ ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติออกคำสั่งหรือสั่งการ ถ้าเป็นการกระทำทางปกครองสามารถฟ้องศาลปกครองให้มาตรวจสอบว่าการใช้อำนาจนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่การกระทำทางรัฐบาล ถ้าศาลเข้ามาควบคุมตรวจสอบในด้านนโยบายก็จะกลายเป็นศาลเข้ามาบังคับบัญชาฝ่ายบริหารในทางนโยบาย” วรเจตน์กล่าว

วรเจตน์ขยายความเรื่องนี้ว่า กฎหมายมีความจำกัดในตัวเอง ไม่สามารถนำไปตัดสินทุกเรื่องในสังคมได้ ดังนั้นในทางกฎหมายจึงต้องทำให้ชัดเจนที่สุด เรื่องในระดับนโยบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือการประกาศสงครามเป็นเรื่องในทางการเมือง เป็นการกระทำในทางรัฐบาล โดยหลักวิชาแล้วการกระทำแบบนี้ปลอดจากการตรวจสอบโดยตุลาการ เพราะการกระทำเหล่านี้ไม่ได้ก่อให้เกิดการกระทบสิทธิของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยตรง แต่เป็นเรื่องของส่วนร่วม การกระทำทางรัฐบาลโดยปกติจะตรวจสอบกันทางรัฐสภา ถือเป็นการตรวจสอบกันทางการเมือง แต่อาจมีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ

นอกจากนี้เขายังยกตัวอย่างที่คล้ายคลึงกัน เมื่อปี 2550 ภาคประชาชนเคยยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราวกรณีเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ให้รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ระงับการลงนาม แต่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ 178/2550 ไม่รับคำร้องโดยให้เหตุผลว่าการฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดีต้องการให้มีการระงับการลงนาม ซึ่งเป็นการกระทำที่คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจในทางรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องในทางปกครอง ศาลจึงไม่รับพิจารณา

วรเจตน์กล่าวต่อว่า สภาพการณ์ของกรณีปราสาทเขาพระวิหารก็มีลักษณะแบบเดียวกันกับกรณี JTEPA คือ เป็นเรื่องในทางระหว่างประเทศ แต่คราวนี้ตัวผู้ฟ้องใช้เทคนิคในการฟ้อง ไม่ได้ฟ้องตัวแถลงการณ์ แต่เลี่ยงไปฟ้องขั้นตอนก่อนเกิดแถลงการณ์ อาจเพราะคนฟ้องรู้ว่าตัวแถลงการณ์ร่วมนั้นฟ้องไม่ได้เพราะยังมีปัญหาว่านับเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไรก็ตาม วรเจตน์เห็นว่ามันเป็นกระบวนการอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่สามารถจะไปตัดแบ่งฟ้องกระบวนการก่อนหน้านั้นได้ แต่ศาลปกครองก็อธิบายว่าอันนี้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งหากอธิบายเช่นนี้ครม.ก็ใช้อำนาจตามพ.ร.บ.การบริหารราชการแผ่นดินทั้งสิ้น ทำให้สามารถฟ้องศาลปกครองได้ทุกเรื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ศาลปกครองเข้ามาคุมฝ่ายบริหาร ทั้งๆ ที่ในเชิงความรับผิดชอบในระบบประชาธิปไตย ฝ่ายบริหารรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร

“ที่แย้งเรื่องนี้ก็แย้งตามหลักที่ศาลปกครองสูงสุดเคยตัดสินไว้และคิดว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์แล้ว ทำไมวันนี้ศาลปกครองกลางจึงพิจารณาอีกอย่างหนึ่ง เรื่องนี้คงต้องขึ้นถึงศาลปกครองสูงสุด และเป็นที่น่าจับตาดูว่าศาลสูงจะตัดสินอย่างที่ตนเองเคยตัดสินไว้ไหมในปี 2550 เพราะเป็นเรื่องแบบเดียวกัน” วรเจตน์กล่าว

โดย : ประชาไท วันที่ : 1/7/2551

http://www.prachatai.com/05web/th/home/12698

-----------------------------------------------

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความรัฐธรรมนูญ หรือ แก้ รัฐธรรมนูญ?

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ตัวบทของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดาวน์โหลด ได้ที่
http://www.concourt.or.th/download/Center_desic/51/center6-7_51.pdf
1. หัวใจของการวินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมไทยกัมพชูาเรื่องเขาพระวิหาร ต้องให้สภาพิจารณา คือ การตีความว่า แถลงการณ์ร่วมฯ เข้าข่าย หนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่ต้องให้สภาพิจารณา ตามมาตรา 190 วรรคสอง ของ รัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่
2. มาตรา 190 วรรคสอง กำหนดให้ หนังสือสัญญาฯ ที่ต้องให้สภาพิจารณา คือ หนังสือสัญญาฯ ที่มีลักษณะ 5 ประการ แต่ข้อที่อาจเข้าข่ายกรณีนี้ มีอยู่ 2 ประการ คือ เป็นหนังสือสัญญาฯที่ "มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย" หรือเป็น หนังสือสัญญาที่ "มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง"
3. หัวใจของการวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ คือ การ "ตีความ" เงื่อนไขแรกข้างต้นนี้ ให้ "คลุม" ถึง แถลงการณ์ร่วม ให้ได้ กล่าวคือ แทนที่จะถือตาม รธน.ว่า หนังสือสัญญาฯทีต้องให้สภาพิจารณา คือหนังสือสัญญาที่ "มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย" ซึ่งความจริง ข้อความนี้ใน รธน.สมควรจะชัดแจ้งอยู่ในตัวเองแล้ว คือ มี provision หรือ ข้อกำหนด คือ "มีบท" ให้ "เปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย" ศาลฯเอง ก็ยอมรับโดยนัยว่า ข้อความนี้ในรัฐธรรมนูญ ถ้าตีความตามตัวอักษรก็หมายความว่า หนังสือสัญญาฯที่เข้าข่าย จะต้องมี "บทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต" ดังที่เขียนในคำวินิจฉัย (หน้า 23) ว่า "ถ้อยคำที่ใช้...ดูเหมือนว่าจะต้องปรากฏชัดในข้อบทหนังสือสัญญาว่ามีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย...จึงต้องขอความเห็นชอบของรัฐสภา"
แต่ถ้าเป็นเช่นนั้น แถลงการณ์ร่วมฯ ก็ต้องไม่เข้าข่าย ดังที่ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ยอมรับไว้เอง ในคำวินิจฉัยว่า "คำแถลงการณ์ร่วม...ไม่ปรากฏสาระสำคัญอย่างชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่อันเป็นอาณาเขตประเทศไทย" (คำวินิจฉัย หน้า 24)

สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญทำ คือ "ตีความ" ให้ ข้อกำหนดของ รธน.ที่ตามตัวอักษรแล้วต้อง "ปรากฏชัด" (คำของศาลเอง) ในหนังสือสัญญาว่า ว่ามี "บทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต" ให้กว้างขึ้น ในการทำเช่นนี้ ผมเกรงว่า สิ่งที่ศาลฯทำ เกือบจะเท่ากับการ เขียนข้อความในรัฐธรรมนูญใหม่เสียเอง เพราะข้อความเดิมของ รัฐธรรมนูญนั้น มีความชัดเจนอยู่แล้วว่า หนังสือสัญญาที่ "มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต"

แต่ศาลกลับเสนอว่า

"แต่หากแปลความเช่นว่านั้น ก็จะไม่เกิดผลตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ที่มุ่งจะตรวจสอบควบคุมการทำหนังสือสัญญาก่อนที่ฝ่ายบริหารจะไปลงนามให้มีผลผูกพันประเทศ ซึ่งจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้"

เป็นความจริงว่า รัฐธรรมนูญมี "ความมุ่งหมาย...ที่จะมุ่งตรวจสอบควบคุมการทำหนังสือสัญญา..."

แต่ไม่ได้หมายความว่า รัฐธรรมนูญ มี "ความมุ่งหมาย..ที่จะมุ่งตรวจสอบควบคุมการทำหนังสือสัญญา" ทุกกรณี การที่ต้องมีระบุไว้ในวรรคสอง เป็น 5 ประการ ก็คือ การกำหนดว่า มีกรณีใดบ้าง ที่ต้องการให้มีการ "ตรวจสอบควบคุมการทำหนังสือสัญญาก่อนที่ฝ่ายบริหารจะไปลงนาม"

และในกรณีเรื่องอาณาเขต ก็ระบุไว้แล้วว่า หมายถึงกรณีที่ "มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต"

แต่สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนุญทำ คือ "ตีความ" หรือ (ดังที่ผมเสนอข้างต้น) เกือบๆจะเป็นการเขียนข้อความใหม่ให้รัฐธรรมนูญเสียเองว่า

"จะต้องแปลความว่าหากหนังสือสัญญาใด...มีลักษณะของหนังสือสัญญาที่อาจมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรืออาจมีผลเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่..." (หน้า 23)

คำถามคือ ถ้าเช่นนั้น ทำไมรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เขียนไว้แต่แรกว่า หนังสือสัญญาที่ต้องผ่านสภา คือหนังสือสัญญาที่

"อาจมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย.."

แต่รัฐธรรมนูญกลับเขียนว่า
"มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย"
ข้อความทั้งสองนี้ มีความแตกต่างกันอย่างมาก ขณะที่ข้อความเดิมของรัฐธรรมนูญมีความหมายเฉพาะเจาะจงชัดเจน ข้อความที่เป็นการ "ตีความ" ของศาลรัฐธรรมนูญ กลับมีลักษณะคลุมเคลือ เข้าข่าย "ครอบจักรวาล"

เรื่องอาณาเขตประเทศนั้น ถ้าไม่มี "บท" หรือ "ข้อกำหนด" ให้ "เปลี่ยนแปลง" อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ไม่มีผลใดๆทางกฎหมายให้ "เปลี่ยนแปลง" ได้ทั้งสิ้น การพูดว่า "อาจมีผลเปลี่ยนแปลง" จะให้หมายความว่าอย่างไร?
4. น่าสังเกตด้วยว่า เมื่อถึงตอนสรุปวินิจฉัยจริง แม้แต่ข้อความ "ตีความ" ที่คลุมกว้างกว่าตัวบทจริงของรัฐธรรมนุญนี้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญเองก็ไม่ได้ใช้ กลับไปใช้ หรือเขียน คำอื่นเพิ่มขึ้นมาอีก ดังนี้ (หน้า 24)

"ตำแถลงการณ์ร่วม...แม้จะไม่ได้ปรากฏสาระสำคัญอย่างชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่อันเป็นอาณาเขตประเทศไทยก็ ตาม แต่เมื่อพิจารณาข้อบททั้งหมดในคำแถลงการณ์ร่วมประกอบกับแผนที่หรือแผนผังแนบ ท้ายซึ่งจัดทำขึ้นโดยประเทศกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว อันประกอบเป็นส่วนหนึ่งของคำแถลงการณ์ร่วมแล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแผนที่ดังกล่าวได้กล่าวอ้างถึงพื้นที่ N.N.๒ และ N.๓ โดยที่ไม่ได้มีการกำหนดเขตของพื้นที่ N.N.๒ และ N.๓ ให้ชัดเจนว่ามีบริเวณครอบคลุมส่วนใดของประเทศใดเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบในเรื่องอาณาเขตของประเทศไทยอันเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนและอาจก่อให้เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศต่อไปภายหน้าได้...."
คำว่า "การสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบ" นี้ หมายความว่าอะไร? มี "ผลกระทบ" เกิดขึ้นแล้ว จึงเกิด "การสุ่มเสียง"? หรือ "ผลกระทบ" ไม่มีอะไร แต่อาจจะมี "การสุ่มเสี่ยง"เกิดขึ้น? ("สุ่มเสี่ยง" อะไรเกิดขึ้น?) หรือ....?

เหตุใดจึงไม่ใช้ข้อความที่ศาลฯเอง ตั้งเป็นเกณฑ์ขึ้นใหม่ คือ "อาจเป็นผลเปลี่ยนแปลง..."?

เพราะว่า แม้แต่ "อาจมีผลเปลี่ยนแปลง" ก็ยังแคบไป ไม่สามารถระบุไปเช่นนั้นได้ ใช่หรือไม่? ต้องใช้คำที่คลุมเคลือยิ่งขึ้นไปอีก?

และขอให้ดูให้ดีๆว่า อะไรคือเหตุผลที่ศาลฯยกมาอ้างว่า อาจจะทำให้เกิด "การสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบ"?

คือประโยคก่อนหน้านั้นที่ว่า การที่ แผนที่ "ไม่ได้มีการกำหนดเขตของพื้นที่ N.N.๒ และ N.๓ ให้ชัดเจนว่ามีบริเวณครอบคลุมส่วนใดของประเทศใดเป็นจำนวนเท่าใด"

ผมกลับเห็นว่า การ "ไม่ได้มีการกำหนด..ของประเทศใดเป็นจำนวนเท่าใด" ก็แสดงว่า (ก) หนังสือนี้ ไม่ใช่หนังสือสัญญาที่มี "บทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต" คือ ไม่ใช่หนังสือสัญญาเกี่ยวกับอาณาเขต และ (ข) การที่ "ไม่ได้มีการกำหนด..ของประเทศใด" จะบอกว่า เป็นการ "สุ่มเสี่ยง" สำหรับไทยได้อย่างไร? ในทางกลับกัน กัมพูชาก็พูดได้ว่า อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับไทย และสุ่มเสี่ยงสำหรับกัมพูชาก็ได้ เพราะไทยอาจจะอ้างดินแดนที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นของประเทศใดนี้เป็นของไทยภายหลังก็ได้ สรุปคือ การไม่ระบุเป็นของใครนั้น ความจริง คือ ไม่มีใครได้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ในเรื่องอาณาเขตจากหนังสือสัญญานี้ได้จริงๆ

เหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญยกขึ้นมา จึงออกจะประหลาด
5. อันที่จริง ต่อให้ ยอมรับ การ "ตีความ/ขยายความ/เขียนใหม่" ตัวบท มาตรา 190 วรรคสอง ของศาลฯ จริงๆ ข้อเท็จจริง 2 ข้อในกรณีนี้ คือ

(ก) การที่ แถลงการณ์ร่วม ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า "การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิ ของราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยในการ สำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนของ คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC)ของทั้งสองประเทศ"

และ

(ข) ธรรมนูญของคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกเอง ระบุว่า การขึ้นทะเบียนมรดกโลก ไม่มีผล (prejudice) ต่อการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของประเทศคู่กรณี หากมีการขัดแย้งเกี่ยวกับดินแดนที่เป็นที่ตั้งของมรดกโลกนั้น
http://whc.unesco.org/archive/convention-en.pdf

The inclusion of a property in the World Heritage List requires the consent of the State concerned. The inclusion of a property situated in a territory, sovereignty or jurisdiction over which is claimed by more than one State shall in no way prejudice the rights of the parties to the dispute.

ก็น่าจะเท่ากับว่า แถลงการณ์ร่วม นอกจาก ไม่ "มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต" ตามรัฐธรรมนุญแล้ว ก็ไม่สามารถกล่าวได้เลยว่า "อาจมีผลเปลี่ยนแปลง" หรือ "เป็นการสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบ" ได้เลย

6. บรรดาพันธมิตร-ประชาธิปัตย์-นักวิชาการ ที่เคลื่อนไหวโจมตีแถลงการณ์ร่วมและนพดล อ้างเหตุผลที่ใหญ่โตว่า ไทยไม่เคยยอมรับอธิปไตยเหนือพื้นที่เขาพระวิหาร ไม่เคยยอมรับคำตัดสินของศาลโลก และแถลงการณ์ร่วม ทำให้เสียดินแดนเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ฯลฯ ฯลฯ

ดูข้ออ้างเหล่านั้น ที่ศาลรัฐธรรมนูญสรุปไว้ในคำวินิจฉัยตอนต้นๆ เช่น ในหน้า 2 และหน้า 9 มีข้อความที่"ตลก"แบบเหลือเชื่อประเภท "ถ้า จะมีการสำรวจใหม่...ประสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนไทย ความขัดแย้งดังกล่าวยังคงดำรงอยุ่จนถึงปัจจุบัน..เนื่องจากประเทศไทยได้มี การตั้งข้อสงวนและคัดค้านไม่เห็นชอบในคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศ" "แถลงการณ์ร่วม...จึงมีผลเป็นการยกเลิกข้อสงวนในการติดตามเอาประสาทพระวิหารกลับคืนมา[!] และมีผลเป็นการยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชาอย่างสมบูรณ์"

ความจริงคือการบอกว่า "ไม่ยอมรับ" หรือมี "ข้อสงวน" ลอยๆ ไม่มีความหมาย ถ้าไม่ได้อุทธรณ์ใน 10 ปีหลังคำตัดสิน ถือว่าไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์อีก ตามธรรมนูญศาลโลก คือเท่ากับต้องยอมรับ เพราะแก้ไขไม่ได้นั่นเอง (ถ้า "ติดตามเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา" ได้จริงๆ คงมีการทำอะไรกันไป ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา แล้วกระมัง?)

แต่จะเห็นว่า แม้แต่คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนุญเองนี้ ก็ยังไม่สามารถออกมาในลักษณะสนับสนุนข้ออ้างอันใหญ่โตของพันธมิตร-ประชาธิปัตย์-นักวิชาการ เหล่านั้นได้

อย่างมากที่สุดที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาได้ คือ ความเห็นที่ "ตีความ/ขยาย/เขียนใหม่" ออกมาจากรัฐธรรมนูญ ที่มีความคลุมเครือว่า "สุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบ" เท่านั้น

โดย : ประชาไท วันที่ : 11/7/2551

------------------------------------------------

กัมพูชายืนยันเดินหน้าเสนอ "เขาพระวิหาร" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก
10:03 น.

หนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสท์ รายงานโดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ของ Mr.Phay Siphan โฆษกคณะรัฐมนตรีของกัมพูชา ที่ระบุว่า กัมพูชาจะเดินหน้าผลักดันการเสนอชื่อปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นมรดกโลกต่อ องค์การยูเนสโกต่อไปโดยลำพัง แม้ว่าศาลปกครองของไทยจะตัดสินว่า รัฐบาลไทยไม่สามารถให้การสนับสนุนการเสนอชื่อปราสาทเขาพระวิหารของรัฐบาล กัมพูชาได้ก็ตาม

ในการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์เมื่อวานนี้ Mr.Phay Siphan กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวถือเป็นปัญหาภายในของไทยไม่เกี่ยวข้องกับกัมพูชาและปราสาทเขา พระวิหารเป็นของกัมพูชา และกัมพูชาก็ต้องการให้ปราสาทเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

นอกจากนั้น พนมเปญ โพสต์ รายงานว่า Mr.Hor Namhong รัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา ได้แสดงความผิดหวังที่มีนักการเมือง และกลุ่มคนไทยบางกลุ่มนำเอาประเด็นเรื่องเขาพระวิหารไปใช้เป็นประเด็นทางการ เมืองภายในประเทศ โดยอ้างคำกล่าวของรัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่กล่าวว่า " I am very sorry they are using Preah Vihear for their internal political purposes; this can affect the friendship and cooperation between our two countries,"

-------------------------------------------------------

กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียน "เขาพระวิหาร" เป็นมรดกโลกแล้ว!

เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 7 ก.ค. เอเอฟพีรายงานว่า คณะกรรมการมรดกโลกประกาศรับมรดกโลกเพิ่มอีก 3 แห่งจากเอเชีย ได้แก่ ปราสาทพระวิหารของกัมพูชาที่สร้างขึ้นสมัยศตวรรษที่ 11 ตั้งอยู่ริมชายแดนไทย-กัมพูชา เมืองประวัติศาสตร์มาเลเซียในช่องแคบมะละกา คือ เมืองเมลากาและจอร์จ ทาวน์ และแห่งสุดท้าย ได้แก่ แหล่งอารยธรรมเกษตรยุคเริ่มต้นของปาปัวนิวกินี

ก่อนหน้านี้ นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นทางกัมพูชายังยืนว่าจะใช้แผนที่ แนบตามมติครม.ของไทยปี พ.ศ. 2505 ซึ่งไม่รวมพื้นที่เขตทับซ้อน โดยจะขอจดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น ซึ่งฝ่ายไทยแสดงท่าทีชัดเจนเพื่อขอเลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน แต่มีแนวโน้มว่าจะเป็นไปได้ยากเนื่องจากคณะกรรมการมรดกโลกได้เลื่อนการ พิจารณามาแล้ว 1 ครั้ง

นายปองพล กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ข้อเสนอของกัมพูชาจะได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการมรดกโลกก็ เนื่องจากผ่านเกณฑ์ของไอโคมอสหรือสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ ซึ่งถ้าผ่านหลักเกณฑ์เพียงแค่ 1 ใน 6 ข้อก็ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ ซึ่งทั้ง 6 ข้อประกอบด้วยคุณทางทางมรดกธรรมชาติและคุณค่าทางวัฒนธรรม และในที่ประชุมแม้แต่ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซียต่างแสดงความไม่พอใจที่พื้นที่ที่เสนอไปผ่านเกณฑ์มากกว่า 1 ข้อ แต่ยังไม่สามารถจดทะเบียนได้ในขณะที่กัมพูชาผ่านเกณฑ์เพียงแค่ข้อเดียวก็ สามารถขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้แล้ว ส่วนประเทศที่เป็นตัวตั้งตัวตีผลักดันให้กัมพูชาก็คือสหรัฐอเมริกา

-----------------------------------------------------

มติครม.ยกเลิกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กรณีเขาพระวิหาร
22:50 น.

นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ โฆษกรัฐบาล เปิดเผยว่า การประชุมครม.วันนี้ (27 พ.ย.) ให้มีการยกเลิกมติครม.เกี่ยวกับแถลงการร่วมไทย-กัมพูชา กรณีเขาพระวิหาร โดยการยกเลิกมติดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าแถลงการร่วมฯ ขัดรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด แต่ยกเลิกเพราะมติที่ประชุมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีอยู่ เนื่องจากศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น เขาพระวิหารยังถูกประกาศเป็นมรดกโลกแล้วและไม่ได้ใช้ข้อความในแถลงการณ์ร่วม ดังกล่าวแต่อย่างใด

ทั้งนี้ มีรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบันหลายคนที่ถูกร้องเรียนให้ป.ป.ช.ทำการตรวจสอบ ในกรณีดังกล่าว ซึ่งนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เองก็ได้เตรียมการพูดคุยในเรื่องดังกล่าวก่อนเดินทางไปประเทศเปรู และมีกำหนดการเจรจาตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย.แต่เนื่องจากปัญหาความวุ่นวายที่เกิดขึ้นจึงทำให้ไม่สามารถพูดคุยได้ ซึ่งการประชุมในวันนี้ได้มอบหมายให้นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ประสานงานเจรจาพูดคุยกับรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

-----------------------------------------------

เอกสาร ลับสุดยอด แถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา เอกสาร นพดล ปัทมะ

จริงหรือที่ 'แถลงการณ์ร่วมฯ' ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียอธิปไตย จริงหรือสิ่งที่แถลงการณ์ร่วมฯ บ่งชี้เป็นผลเสียต่ออธิปไตยของประเทศไทยในอนาคต หรือว่าแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นข้อตกลง 'WIN WIN' ดังที่ 'นพดล ปัทมะ' ยืนยัน

คอลัมน์ วิภาคแห่งวิพากษ์

มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากสำหรับ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ภายหลังได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้เป็นหัวหน้าคณะของ ไทยในการประชุม GBC ร่วมกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 เป็นความเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่สุขุมคัมภีรภาพมากขึ้นในการตอบคำถามต่อนัก ข่าวแทบทุกครั้งที่มีการแถลงแตกต่างไปจากก่อนหน้านี้ถึงไม่มากระดับ 160 องศา แต่ก็ใกล้เคียง จำ ได้หรือไม่ว่า พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เคยตั้งข้อสงสัยแม้กระทั่งรายละเอียดของแผนที่ทั้งๆ ที่เป็นการสำรวจและจัดหาขึ้นโดยกรมแผนที่ทหารอันเป็นหน่วยงานในความรับผิด ชอบของกองบัญชาการทหารสูงสุด ทั้งนี้ แทบไม่ต้องเอ่ยถึงความหวาดระแวงต่อบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ และท่าทีตอดนิดตอดหน่อยต่อจังหวะก้าวของนักการเมือง อย่าง ไรก็ตาม ภายหลังจากเข้าร่วมประชุม GBC โดยมี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกับ ผู้บัญชาการทหารบก ขนาบข้าง ท่าทีของ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ก็เปลี่ยนไป

ชัดในความรอบคอบ ชัดในความสุขุม ในยามตอบคำถาม

อย่าว่าแต่ท่าทีของ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เลยที่บังเกิดความแปรเปลี่ยน หากแม้กระทั่งท่าทีของกัมพูชาก็เหมือนกับถอยกลับไปตั้งหลักใหม่ ถอยกลับไปตั้งหลักก่อนมีการประชุมร่วมที่ปารีสเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551

บทสรุปของ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ที่ว่าการประชุม GBC ระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 ที่ไม่คืบหน้าก็คือ "เราถือแผนที่กันคนละฉบับ"

นั่นก็คือ กัมพูชาได้ย้อนกลับไปยึดแผนที่ที่ไทยตกลงร่วมกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1904 และเมื่อปี ค.ศ.1907 อีกครั้งหนึ่งก็แผนที่นี้มิใช่หรือที่ทำให้ไทยแพ้กัมพูชาในการพิจารณาคดีของ ศาลโลกเมื่อปี 2505 ก็แผนที่นี้มิใช่หรือที่ทำให้คณะกรรมการมรดกโลกเห็นชอบให้ปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก แม้ว่าฝ่ายไทยจะไม่เห็นชอบก็ตามตรง นี้เองที่ทำให้การประชุมร่วมไทย-กัมพูชาที่ปารีสเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 มีบทบาทและความสำคัญมากยิ่งขึ้น ในฐานะที่เป็นฐานที่มาของแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551

การศึกษารายละเอียดของผลการประชุมร่วมไทย-กัมพูชา การศึกษารายละเอียดของแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา จึงมีความจำเป็นจริง ละหรือที่แถลงการณ์ร่วมอาจจะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียอธิปไตย จริงละหรือที่แถลงการณ์ร่วมบ่งชี้จะเป็นผลเสียต่ออธิปไตยของประเทศไทยในกาล อนาคต หรือว่าแถลงการณ์ร่วมจะเป็นการตกลงในลักษณะ WIN WIN ดังที่ นายนพดล ปัทมะ ได้ยืนยัน

เพราะว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้เกิดขึ้นบนพื้นฐานซึ่งแถลงการณ์ร่วมไม่มีผลในทางปฏิบัติ
พราะ ว่าทั้งศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญก็ได้วินิจฉัยออกมาถึงความไม่สมบูรณ์อัน ดำรงอยู่ของแถลงการณ์ร่วม การลงมติของคณะกรรมการมรดกโลกจึงไม่เกี่ยวกับแถลงการณ์ร่วม

ขณะเดียว การถอยกลับไปก่อนสถานการณ์การประชุมร่วมไทย-กัมพูชาที่ปารีสเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ของกัมพูชา กลับทำให้มีเรื่องโต้แย้งบานปลายติดตามมามากมาย ท่าทีของกัมพูชาต้องการขยายให้เป็นเรื่องระดับสากล ขณะ ที่ท่าทีของไทยต้องการจำกัดกรอบให้เป็นเรื่องในระดับทวิภาคี ทั้งๆ ที่โอกาสของการเจรจาระดับทวิภาคีมีโอกาสน้อยมาก เพราะว่าแต่ละฝ่ายต่างยืนยัน ในฐานะข้อมูลของตนเอง

คำพิพากษาของศาลโลกกลับกลายเป็นอาวุธที่สำคัญของกัมพูชาขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
การศึกษาประวัติศาสตร์ทั้งเมื่อปี 2505 และที่เพิ่งผ่านมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 จึงสำคัญ
สำคัญ ต่อสถานะที่เป็นจริงของปราสาทพระวิหารในมุมของศาลโลก สำคัญต่อสถานะของผลการประชุมร่วมไทย-กัมพูชาที่ปารีส และต่อสถานะของแถลงการณ์ร่วมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว
สำคัญต่อสภาพความเป็นจริงของปัญหาพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา ณ วันนี้

ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11094

---------------------------------------------------
ตามไม่ทัน : แถลงการณ์ร่วมฯ ของ นพดล ปัทมะ เป็นหลักฐานสำคัญที่จะพิสูจน์ว่า พื้นที่รอบเขาพระวิหาร เป็นของไทย

โดยคุณ แม่ลูกจันทร์
ที่มา เวบไซต์ ไทยรัฐ
28 กรกฎาคม 2551

ปัญหาพิพาทเขตแดน เขมร-ไทย กลายเป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬาร เมื่อรัฐบาลกัมพูชาของนายกฯฮุน เซน ยื่นเรื่องร้องเรียนไปถึงยูเอ็นว่า ถูกประเทศไทยบุกรุกคุกคามอธิปไตย

ล่าสุด คณะมนตรีความมั่นคงซึ่งมี 5 ชาติพี่เบิ้ม อเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน เป็นหัวขบวน ก็เตรียมประชุมฉุกเฉินเพื่อสอบสวนเรื่องนี้โดยเร็ว!!

นี่คือลีลาการทูตของกัมพูชาที่ต้องการ ดึงองค์กรระหว่างประเทศให้เข้ามาช่วยกดดันประเทศไทย สร้างภาพให้กัมพูชาเป็นฝ่ายถูกข่มเหงรังแก ป้ายขี้ให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ร้ายในเวทีโลกไปเต็มๆ!!

แค่นี้ยังไม่พอ ยังเตรียมยื่นฟ้องศาล โลกให้ตัดสินปัญหาเขตพื้นที่ทับซ้อน รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตร.กม. ว่าอยู่ในเขต แดนกัมพูชา? หรือเป็นดินแดนของไทย?

โดยใช้คำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 ที่ตัดสินให้เขมรชนะคดีปราสาทพระวิหารเป็นหลักฐานสำคัญ
แสบริดสีดวงทวารมั้ยล่ะพวกเรา??

ถามว่า ไทยมีหลักฐานอะไรที่จะพิสูจน์ ต่อศาลโลกว่าพื้นที่รอบเขาพระวิหาร 4.6 ตร.กม.อยู่ในเขตแดนของไทย??

หลักฐานสำคัญก็คือ แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่ “นพดล ปัทมะ” อดีต รมว.ต่างประเทศ ไปลงนามที่ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม

แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้มีข้อความระบุชัดเจนว่า กัมพูชาจะขึ้นทะเบียนมรดกโลก “เฉพาะตัวปราสาทอย่างเดียว” โดยไม่ ล่วงล้ำดินแดนไทย

และไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทับซ้อน ที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้จัดทำหลักเขตแดนอย่างเป็นทางการ

นี่คือหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่าพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ไม่ได้เป็นของเขมรแน่นอน!!

เพราะถ้าพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.อยู่ใน เขตกัมพูชาจริง กัมพูชาคงไม่ขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก เฉพาะแค่ตัวปราสาทอย่างเดียว แต่ต้องรวมพื้นที่รอบตัวปราสาททั้งกระบิขึ้นเป็นมรดกโลกพร้อมกัน!!

น่าเสียดาย ที่แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับนี้ ต้องเป็น “โมฆะ” ไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ก็เท่ากับไทยสูญเสียหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะใช้สู้คดี

และถ้าหากประวัติศาสตร์ซํ้ารอย ไทยต้องเสียดินแดนแถมให้เขมรอีก 4.6 ตร.กม.ฟรีๆ จะเจ็บปวดแค่ไหนโปรดใช้สะดือตรอง??

ความจริงปัญหาเขาพระวิหารอาจไม่ บานปลาย ถ้าไม่ถูกเอาไปขยายผลเป็นประเด็นการเมือง

แต่เมื่อประเด็นปราสาทพระวิหารกลาย เป็นปัญหาระดับอินเตอร์ ไทยกับกัมพูชาในฐานะคู่กรณี ก็ต้องสู้กันยิบตา

ล่าสุดกัมพูชาพลิกลิ้นไม่ยอมรับว่าบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตร.กม. เป็นพื้นที่ทับซ้อนของไทย
โกหกหน้าด้านๆ ว่าพื้นที่ตรงนี้ เป็นของเขมรฝ่ายเดียว!!

“แม่ลูกจันทร์” เป็นห่วงว่า เมื่อต้องสู้กันเรื่องเขตแดนทีไร ไทยมักเสียเหลี่ยมเขมรทุกที เพราะเขมรอ้างแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม แต่ไทยอ้างแผนที่แอล 7017 ของ อเมริกา

ในบันทึกข้อตกลงปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา ฉบับล่าสุด พ.ศ.2543 ซึ่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ได้ระบุว่า การจัดทำหลักเขตแดนให้ยึดตามแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม (คศ.1904) เป็นแนวทาง แต่ไม่ได้ระบุแผนที่แอล 7017 ของอเมริกาที่ไทยใช้อ้างอิง!!

ก็เท่ากับเราไปยอมรับแผนที่ฝรั่งเศสของเขมรฝ่ายเดียว

ถ้าเป็นอย่างนี้ ไทยก็เสียเปรียบเขมรตามเคย.

----------------------------------------------------


เปิดบันทึก 'ไทย-กัมพูชา' ยุค'ชวน หลีกภัย' กรณีปัญหาพื้นที่'ทับซ้อน'ชายแดน

วันอังคารที่ 22 เดือนกรกฎาคม พศ. 2551
'เพื่ออำนวยความสะดวกให้การสำรวจตลอดแนวเขตแดนทางบกร่วมกันเป็นไปอย่างประสิทธิผล หน่วยงานของรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านั้นจะงดเว้นการดำเนินการ ใดๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายแดน'

หมายเหตุ'มติชน' - เป็นบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราช อาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ซึ่งรัฐบาลของทั้งสองประเทศจัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 สมัยที่นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ นายชวน กล่าวว่า ข้อ 5 ของบันทึกดังกล่าวระบุว่า ทั้งสองประเทศจะไม่ดำเนินการใดๆ ในพื้นที่ทับซ้อน
---------------------
รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ปรารถนาที่จะกระชับความผูกพันแห่งมิตรภาพที่มีอยู่ระหว่างประเทศทั้งสองให้ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

เชื่อว่า การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาจะช่วย ระงับความขัดแย้งตามชายแดนที่เกิดจากปัญหาเขตแดน และจะกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีอยู่ระหว่างประเทศทั้งสองให้แน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น และเอื้ออำนวยต่อการเดินทางและความร่วมมือของประชาชนของประเทศทั้งสองตามแนว ชายแดน

ระลึกถึงแถลงการณ์ร่วมของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยกับ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาฉบับลงวันที่ 13 มกราคม 2537 (ปี ค.ศ.1994) ซึ่งได้ตกลงกันจะจัดตั้งคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาในเวลาอันสมควร

ระลึกอีกด้วยถึงคำแถลงร่วมเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบก ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 21 มิถุนายน 2540 (ปี ค.ศ.1997) ซึ่งได้ตกลงกันจะจัดตั้งคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา ที่จะได้รับมอบหมายภารกิจให้จัดทำหลักเพื่อชี้แนวเขตแดนทางบกระหว่างประเทศ ทั้งสองได้ตกลงกันดังต่อไปนี้

ข้อ 1

จะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้

(ก) อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับลงวัน ที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทรศก 112 (ปี ค.ศ.1893) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 122 (ปี ค.ศ.1904)
(ข) สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 (ปี ค.ศ.1907) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 (ปี ค.ศ.1907) และ
(ค) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดน ระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส

ข้อ 2

1. ให้มีคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ประกอบด้วยประธานร่วม 2 คน และกรรมาธิการอื่นๆ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลของไทย ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับที่ปรึกษา รัฐบาลกัมพูชาผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นประธาน ร่วม รัฐบาลของประเทศทั้งสองจะแจ้งการแต่งตั้งดังกล่าวต่อกันภายในหนึ่งเดือนหลัง จากบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เริ่มใช้บังคับ

2.คณะกรรมาธิการเขตแดน ร่วมจะประชุมกันปีละครั้งในประเทศไทยและประเทศกัมพูชาสลับกัน ในกรณีที่จำเป็น คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมอาจประชุมกันสมัยพิเศษเพื่อหารือเรื่องเร่งด่วนที่ อยู่ในขอบข่ายอำนาจหน้าที่

3.ให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมมีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้
(ก) รับผิดชอบให้การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมเป็นไปตามข้อ 1
(ข) พิจารณาและรับรองแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วม
(ค) กำหนดความเร่งด่วนของพื้นที่ที่จะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
(ง) มอบหมายงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้คณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมซึ่งจะ กล่าวถึงในข้อ 3 ต่อไป และควบคุมดูแลและติดตามการดำเนินการให้เป็นผลตามที่ได้มอบหมาย
(จ) พิจารณารายงานหรือข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เสนอโดยคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม
(ฉ) ผลิตแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบกที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกแล้ว และ
(ช) แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการใดๆ เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะรายใดๆ ที่อยู่ในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม

ข้อ 3

1. ให้มีคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม ประกอบด้วยประธานร่วม 2 คน และอนุกรรมาธิการอื่นๆ ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งจากประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมของแต่ละฝ่าย

2.ให้คณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมมีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้
(ก) พิสูจน์ทราบตำแหน่งที่แน่ชัดของหลักเขตแดน 73 หลักซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนเมื่อปี ค.ศ.1909 และ ค.ศ.1919 และรายงานผลการพิสูจน์ทราบต่อคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมเพื่อพิจารณา
(ข) จัดทำแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วม
(ค) แต่งตั้งชุดสำรวจร่วมเพื่อปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม
(ง) เสนอรายงานหรือข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนต่อคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม
(จ) จัดทำแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบกที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกแล้ว
(ฉ) แต่งตั้งผู้แทนผู้ได้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่จำเป็น เพื่อควบคุมดูแลงานสนามแทนประธานอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม และ
(ช) แต่งตั้งคณะทำงานทางเทคนิคใดๆ เพื่อช่วยงานเฉพาะรายใดๆ ที่อยู่ในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม

3.ในการปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ใดๆ ชุดสำรวจร่วมจะได้รับการยืนยันความปลอดภัยจากกับระเบิดเสียก่อน

ข้อ 4

1. เพื่อความมุ่งประสงค์ของงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ให้แบ่งเขตแดนทางบกร่วมกันตลอดแนวออกเป็นหลายตอนตามที่คณะอนุกรรมาธิการ เทคนิคร่วมจะได้ตกลงกัน

2.เมื่อดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน แล้วเสร็จแต่ละตอน ให้ประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ และแผนที่ที่จะแนบบันทึกความเข้าใจดังกล่าวซึ่งแสดงตอนที่ได้ดำเนินการแล้ว เสร็จไว้

ข้อ 5

เพื่ออำนวยความสะดวกให้การสำรวจตลอดแนวเขตแดน ทางบกร่วมกันเป็นไปอย่างประสิทธิผล หน่วยงานของรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านั้นจะงดเว้นการดำเนินการ ใดๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายแดน เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการของคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมเพื่อประโยชน์ในการ สำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

ข้อ 6

1.รัฐบาลแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของฝ่ายตนในการปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

2. รัฐบาลทั้งสองจะรับผิดชอบค่าวัสดุสำหรับหลักเขตแดนหรือหมุดหมายพยานกับการ จัดทำและผลิตแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบกที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก แล้วอย่างเท่าเทียมกัน

ข้อ 7

1.รัฐบาลของประเทศทั้งสองจะ เตรียมการที่จำเป็นเกี่ยวกับการเข้าเมือง การกักกันโรคติดต่อ และพิธีการศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขต แดน

2.โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปกรณ์ วัสดุ และเสบียงในปริมาณที่สมควรและสำหรับชุดสำรวจร่วมใช้เฉพาะในการสำรวจและจัดทำ หลักเขตแดนทางบก แม้ว่าได้นำข้ามแดน จะไม่ถือเป็นการส่งออกจากประเทศหนึ่งหรือนำเข้าอีกประเทศหนึ่ง และจะไม่ต้องชำระอากรศุลกากรหรือภาษีอื่นๆ เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกหรือนำเข้าซึ่งสินค้า

ข้อ 8

ให้ระงับข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดจากการตีความหรือการบังคับใช้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้โดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและการเจรจา

ข้อ 9

บันทึก ความเข้าใจฉบับนี้จะเริ่มใช้บังคับในวันลงนามบันทึกความเข้าใจโดยผู้แทนผู้ ได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราช อาณาจักรกัมพูชา
เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องเพื่อการนี้จากรัฐบาลของ แต่ละฝ่ายได้ลงนามบันทึกความเข้าใจนี้ไว้เป็นสำคัญ

ทำขึ้นเป็นคู่ ฉบับ ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 เป็นภาษาไทย ภาษาเขมร และภาษาอังกฤษ ตัวบททุกฉบับใช้เป็นหลักฐานได้เท่าเทียมกัน ในกรณีที่มีการตีความแตกต่างกันระหว่างตัวบทใดๆ ให้ใช้ตัวบทฉบับภาษาอังกฤษสำหรับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย สำหรับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

ลงนามโดย
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย
นายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
*******

ที่มามติชน

--------------------------------------------
































































































---------------------------------------------

http://www.ryt9.com/news/2000-06-14/27145326/
การเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี
กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ

ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 14-16 มิถุนายน 2543 โดยคณะผู้

แทนไทยที่จะร่วมเดินทางไปกับนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ ประกอบด้วย นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นาย

สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายภิญโญ นิโรจน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

มหาดไทย
การเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ มีความสำคัญ เนื่องจาก
(1) เป็นการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีหลังจากเข้ารับตำแหน่ง เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2540 ตามคำเชิญของสมเด็จฮุน เซน

นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
(2) เป็นการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของผู้นำฝ่ายบริหารสูงสุดของไทยในวาระ ที่ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-กัมพูชากำลังจะ

ครบรอบ 50 ปีในเดือนธันวาคม 2543 (สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-กัมพูชา เมื่อ 19 ธันวาคม 2493)
ในการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีภารกิจที่สำคัญ ดังนี้
- เข้าเฝ้าฯ กษัตริย์สีหนุและพระราชินีมณีนาถ ซึ่งจะพระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี ณ พระราชวังเขมรินทร์

กรุงพนมเปญ (14 มิ.ย.43 เวลา 12.00 —14.00 น.)
- เข้าพบสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาและการหารือข้อราชการเต็มคณะกับฝ่ายกัมพูชา (14 มิ.ย.43 เวลา 15.00-17.00 น.)
- เป็นสักขีพยานในการลงนามความตกลงต่าง ๆ คือ
(1) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเกี่ยวกับการส่งคืนยานพาหนะที่ถูกลักลอบหรือยักยอก และ
(2) ความตกลงในการต่อต้านการเคลื่อนย้ายโดยผิดกฎหมายและการลักลอบขนข้ามแดนซึ่ง สังหาริมทรัพย์และส่งคืนให้แก่ประเทศที่เป็นแหล่ง

กำเนิด และ
(3) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก
- ร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างเป็นทางการซึ่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชาจัดเป็น เกียรติแก่ นายกรัฐมนตรีและคณะ (14 มิ.ย.43 เวลา 19.00 น.)
- วางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์เอกราช (15 มิ.ย.43 เวลา 08.00 น.) ? เยี่ยมคารวะสมเด็จเจีย ซิม ประธานวุฒิสภา (15 มิ.ย. 43 เวลา 08.30

— 09.00 น.)
- เยี่ยมคารวะสมเด็จกรมพระนโรดม รนฤทธิ์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรกัมพูชา (15 มิ.ย. 43 เวลา 09.10 — 09.40 น.)
- เป็นประธานร่วมกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในการเปิดศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานไทย -กัมพูชา ซึ่งเป็นโครงการความช่วยเหลือของไทย เพื่อการ

พัฒนาทรัพยากรบุคคลของกัมพูชา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (15 มิ.ย.43 เวลา 10.30 น.)
นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะไปเยือนเมืองเสียมราฐ และพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนและนักธุรกิจไทยในกัมพูชาทั้งที่กรุงพนมเปญ (14 มิ.ย.43)

และที่เสียมราฐ (16 มิ.ย.43) ด้วย
การเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างเสริมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาแล้ว

ยังจะเป็นการย้ำให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้าน ต่าง ๆ กับกัมพูชา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และความผาสุกและเจริญก้าว

หน้าร่วมกันของไทย กัมพูชา และภูมิภาคโดยส่วนรวมด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of

Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th

หมายเหตุ
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไม่ได้ไป
หม่อมราชวงศ์ สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปแทน

--------------------------------------------
www.matichon.co.th

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11189 มติชนรายวัน
สนธิสัญญา และแผนที่ไทย(สยาม)-กัมพูชา พรมแดนความไม่รับรู้ของสื่อสาธารณะ
โดย อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำหรับผู้เขียนแล้ว พรมแดนความรับรู้เกี่ยวกับสนธิสัญญา พรมแดน และแผนที่ไทย-กัมพูชา ค่อนข้างแตกต่างมาก จากสิ่งที่ปรากฏในการนำเสนอของบรรดาสื่อสารมวลชนไทยในปัจจุบัน รวมทั้งบรรดา "ผู้รู้อิสระ" ทั้งหลายที่ออกมาให้สัมภาษณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ดังนั้น จึงขอโอกาสนำเสนอ พรมแดนความไม่รับรู้ หรือไม่ถูกนำเสนอ ผ่านสื่อสารมวลชนสาธารณะ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงและหลักฐานเกี่ยวกับสนธิสัญญา และแผนที่ไทย(สยาม)-กัมพูชา

ประการแรก สนธิสัญญา พ.ศ.2447/ค.ศ.1904 และสนธิสัญญา พ.ศ.2450/ค.ศ.1907 และแผนที่ภาคผนวก 1 หรือ MAP ANNEX 1 กล่าวคือ บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในสนธิสัญญาระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2447/ค.ศ.1904 นั้น มาตรา 1 กำหนดให้ "เส้นเขตแดน คือ สันปันน้ำ" ซึ่งคำว่า "เส้นสันปันน้ำ" นี่เอง ได้ถูกนำมาเป็นข้อถกเถียงเรื่องดินแดนและอธิปไตยของไทยเหนือเขาพระวิหารบน เทือกเขาพนมดงรัก

แต่เอาเข้าจริงแล้ว ใน มาตรา 3 ของสนธิสัญญาฉบับเดียวกันนี้ ก็ได้ระบุเอาไว้ด้วยเช่นกันว่า

" ให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนที่ประกอบเป็นอินโดจีน ฝรั่งเศส การปักปันนี้ให้กระทำโดยคณะกรรมการผสมประกอบด้วยพนักงานซึ่งประเทศภาคีทั้ง สองแต่งตั้ง"

หมายความว่า แม้สนธิสัญญาจะกำหนดให้ "เส้นเขตแดน คือ สันปันน้ำ" แต่ "แนวเขตแดนที่แน่นอนจะได้กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-สยาม" โดยมี พลเอก หม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานฝ่ายสยาม และ พันตรี แบร์นารด์ เป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศส

ต่อมาสนธิสัญญาครั้งหลังสุดใน วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2450/ค.ศ.1907 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปลงสัตยาบันกับฝรั่งเศสด้วยพระองค์เอง โดยตกลงยกพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกกับด่านซ้ายและตราด รวมทั้งหมู่เกาะต่างๆ ของอำเภอแหลมงอบในปัจจุบัน เพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยส่วนใหญ่ของประเทศเอาไว้

และสนธิสัญญา ทั้งสองฉบับนี้เอง ทำให้เกิดแผนที่ไทย (สยาม)-กัมพูชาขึ้น และพิมพ์สำเร็จเป็นครั้งแรกใน 1 ปี ต่อมาคือ พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 และหนึ่งในแผนที่จำนวน 11 ระวาง ที่ถูกพิมพ์ขึ้นในชุดเดียวกันนี้ ก็ปรากฏเส้นเขตแดนตามแผนที่ระวางชื่อ "Dangrek" มีสัญลักษณ์ระบุอย่างชัดเจนว่าที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร "Preas Vihear" อยู่ในเขตแดนของกัมพูชา

[แผนที่ฉบับนี้หาได้จาก Google โดยพิมพ์คำว่า Dangrek แล้วเลือกรูปภาพขนาดใหญ่พิเศษ]

ประการ ที่สอง กรณี "ศาสตราจารย์" ผู้รู้ทางกฎหมายของไทยท่านหนึ่งให้ "คำอธิบาย" ว่าแผนที่ไทย (สยาม)-กัมพูชา "เป็นการทำของฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ถือว่าเป็นหลักฐานและสนธิสัญญา"

แต่ "คำอธิบาย" ของผู้รู้ท่านนี้ ขัดแย้งต่อหลักฐานและข้อเท็จจริง

กล่าว คือ แม้ว่าคณะกรรมการผสมสองฝ่ายไม่ได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และกระบวนการปักปันเขตแดนส่วนใหญ่กระทำขึ้น โดยฝ่ายฝรั่งเศส แต่ในที่สุดเมื่อตีพิมพ์แผนที่แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 ฝ่ายสยามก็ยอมรับแผนที่ดังกล่าวไว้

และเอาเข้าจริงแล้ว แผนที่ภาคผนวก 1 หรือ MAP ANNEX 1 ที่กัมพูชาใช้แนบคำฟ้องเพื่อสู้คดีปราสาทพระวิหารในศาลโลก เมื่อปี พ.ศ.2502-2505/ค.ศ.1959-1962 ก็คือแผนที่แผนเดียวกันกับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ระวางชื่อ "Dangrek" หนึ่งในแผนที่ทั้งหมด 11 ระวาง ระวางละ 50 แผ่น ได้แก่ 1.Maekhop and Chianglom 2.rivers in the north 3.Muang Nan 4.Paklai 5.Huang River 6.Pasak 7.Mekong 8.Dangrek 9.Phnom Kulen 10.Lake และ 11.Muang Trat

จากเอกสารราชการสถานทูตสยามในปารีส เลขที่ 89/525 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2451/1908 หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร อัครราชทูตสยามประจำฝรั่งเศส ทรงกล่าวถึง "คณะกรรมการผสม - Mixed Commission of Delimitation" ว่า "ได้ทำหน้าที่สำเร็จแล้ว" และทรงรับแผนที่ชุดนี้มาจาก "Captain Tixier" เพื่อส่งมาถวาย สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศของสยามขณะนั้น ซึ่งส่งมายังประเทศสยามทั้งหมด 11 ระวาง ระวางละ 44 แผ่น โดยทรงเก็บไว้ที่สถานทูตในฝรั่งเศสระวางละ 2 แผ่น และส่งไปยังสถานทูตสยามแห่งอื่นๆ ได้แก่ ลอนดอน เบอร์ลิน รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา แห่งละ 1 ชุด (ทั้ง 11 ระวาง ระวางละ 1 แผ่น)

ดังนั้น แผนที่ภาคผนวก 1 หรือ MAP ANNEX 1 จึงเป็นที่รับรู้ของฝ่ายสยามมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 หากจะมี "ผู้รู้อิสระ" บางท่านกล่าวว่า "เป็นแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสทำปลอมขึ้นทีหลัง เพื่อให้ฝ่ายกัมพูชาเอาไปใช้สู้คดีในศาลโลก" จำต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนในถ้อยคำดังกล่าว

เพราะแผนที่นี้ปัจจุบันก็มีอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศของไทย พิมพ์โดย H.BARRERE, Edituer Geographe.21 Rue du Bac, PARIS.

ประการที่สาม การรณรงค์ดินแดนที่เรียกว่า "มณฑลบูรพา" โดยอ้างอิง อนุสัญญาโตเกียว พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) ซึ่งทำให้ฝ่ายไทยได้เข้าไปครอบครองดินแดนกัมพูชาที่จังหวัดพระตะบอง และเสียมราฐที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "จังหวัดพิบูลสงคราม" รวมทั้งดินแดนลาวที่ "จังหวัดลานช้าง" และ "จังหวัดจำปาศักดิ์"

แต่เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีการลงนามในสนธิสัญญาอีกหนึ่งฉบับคือ สนธิสัญญาวอชิงตัน พ.ศ.2489 (ค.ศ.1946) ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับรัฐบาลไทย ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายไทยต้องถอนกำลังทหารออกจากดินแดนทั้งหมด ที่ไทยเคยบุกเข้าไปครอบครองในช่วงสงคราม เนื่องจากรัฐบาลไทยนำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมมือกับฝ่ายอักษะ คือ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แต่เพราะมีขบวนการเสรีไทยที่นำโดย ดร.ปรีดี พนมยงค์ ทำให้ประเทศไทยไม่ต้องตกอยู่ในฐานะประเทศแพ้สงครามในครั้งนั้น

เพราะฉะนั้น หากจะอ้างอิงอนุสัญญาโตเกียว พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) ก็จำเป็นต้องให้ข้อมูลกับสาธารณชนว่ายังมีสนธิสัญญาวอชิงตัน พ.ศ.2489 (ค.ศ.1946) ด้วยเช่นกัน

และถึงแม้จะมีข้อถกเถียงว่า "รัฐบาลมิได้ขอสัตยาบันจากรัฐสภา" แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า รัฐบาลในขณะนั้นก็คือ ขบวนการเสรีไทย ทำให้ประเทศชาติของเรารอดพ้นจากสถานะ "ประเทศผู้แพ้สงคราม" สามารถดำรงความเป็นเอกราชและอธิปไตยมาได้จนถึงปัจจุบัน

ประการสุดท้าย กรณีที่ "ผู้รู้อิสระ" ท่านหนึ่งออกมาโพนทะนาว่า "ค้นพบแผนที่ลับ" ของฝรั่งเศส นั้น แท้จริงแล้ว แผนที่ดังกล่าวเป็นเพียงแผนที่ประกอบบทความซึ่งปรากฏอยู่ใน "Les relations de la France et du Siam 1860/1907" ซึ่งตัดตอนมาจากบทความในวารสารแห่งกองทหารฝรั่งเศสในอาณานิคม เขียนโดย ร้อยเอก โซฟ (le capitaine SEAUVE) อดีตสมาชิกในคณะสำรวจปาวี (Mission Pavie) ซึ่งเดินทางเข้ามาสำรวจทำแผนที่ในปี พ.ศ.2426 เพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาและลาวอันเป็นดินแดนที่อยู่ในอารักขา ของฝรั่งเศส

ปัจจุบันบทความดังกล่าว กรมศิลปากรได้ทำการแปลเป็นภาษาไทย และจัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ "สัมพันธภาพของประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสยาม พ.ศ.2223-2450" เมื่อปี พ.ศ.2544 โดยแปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส โดย อาจารย์นันทพร บรรลือสินธุ์ [หาได้ตามศูนย์หนังสือทั่วไป เช่น ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขาย 72 บาท]

แผนที่ดังกล่าว ปรากฏในหนังสือหน้าที่ 178 ซึ่งวาดขึ้นเพื่อประกอบบทความ ว่าด้วยอาณาบริเวณที่สยามกับฝรั่งเศสนำมาแลกกันตามสนธิสัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2450/ค.ศ.1907 ระบุไว้ว่า "CONVENTION DU 23 MARS 1907" ซึ่งวาดขึ้นโดยไม่ระบุพิกัดองศาเส้นรุ้งและเส้นแวง รวมทั้งไม่ปรากฏสัญลักษณ์หรือระบุที่ตั้งของปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด และด้านล่างของแผนที่มีภาษาฝรั่งเศสระบุว่า "Revue des troupes colonials n ํ65" โดยมี Henri CHARLES-LAVAUZELLE เป็นผู้พิมพ์ [ในเอกสารใช้คำภาษาฝรั่งเศสว่า editeur แต่ภาษาอังกฤษแปลว่า publisher แปลว่า ผู้พิมพ์]

ดังนั้น หากพิจารณาโดยหลักวิชาการพื้นฐาน "ประวัติศาสตร์" ว่าด้วย "ลำดับชั้นของหลักฐาน" ที่แบ่งเป็น หลักฐานชั้นต้น หลักฐานชั้นรอง หรือหลักฐานชั้นปลาย แล้วจึงสรุปได้อย่างไม่มีข้อสงสัยว่า สถานะของการ "ค้นพบแผนที่ลับ" ของ "ผู้รู้อิสระ" รายนี้ เป็นเพียงหลักฐานชั้นปลายแถว ในการศึกษาเหตุการณ์เกี่ยวกับสนธิสัญญา และแผนที่ไทย (สยาม)-กัมพูชา ซึ่งมีการลงนามและทำขึ้นระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ช่วงปี พ.ศ.2447-2451/ค.ศ.1904-1908

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้รู้ นักวิชาการ ทั้งที่มีและไม่มีสังกัด อาจจะต้องทบทวนสิ่งที่ตนได้ออกมาแสดงความคิดเห็น อย่างเป็น "อิสระ" โดยบางครั้งขาดความรับผิดชอบทางวิชาการต่อข้อเท็จจริงและข้อมูลหลักฐาน เบื้องต้น เพราะบรรดา "ความอิสระ" ทั้งหลายนั้น อาจไม่ต้องคำนึงมากนักถึง ผลที่ตามมาต่อความรับรู้และความรู้สึกสาธารณะของประชาชน รวมทั้งเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ที่กำลังทำงานกันอย่างสุดความสามารถ

แต่สิ่งที่ "ผู้รู้อิสระ" ทั้งหลายพูดออกไปนั้น บัดนี้ได้กลายเป็น "วาทะกรรม" ที่ถูกนำไปขยายผล "เล่าสู่กันฟัง" กลายเป็น "อาณาจักรแห่งความหวาดระแวง และมืดบอดระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน" ทั้งในมิติด้านกว้างและด้านลึก

เท่าที่จำได้ อาจารย์สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอุษาคเนย์ เคยกล่าวไว้ว่า "เรียนแล้วไม่คิดเสียเวลา แต่ถ้าคิดโดยไม่เรียน อันตราย!" และในสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาต้องเพิ่มเติมด้วยว่า "เรียนมาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี แต่กลับเอามาคิดเข้าข้างแต่ตนเอง โดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ของกันและกันแล้ว ก็ยิ่งอันตราย"

ขอจบท้ายด้วยคำขวัญรณรงค์เพื่อ "สมานฉันท์อุษาคเนย์" ของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่ว่า "Make Love Not War"

[เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับกรณีปราสาทเขาพระวิหาร http://www.charnvitkasetsiri.com]

หน้า 6

------------------------------------------

สรุปเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่ผ่านไปยังไม่ถึงปี
ก็มีกระบวนการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
เพื่อให้คนความจำไม่ค่อยดีหลงเชื่อ
หรือคนไม่ได้ตามเรื่องมาตั้งแต่ต้นหลงเชื่อ
ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ตามข่าวที่เอามาแปะให้อ่าน
จะเห็นว่าปชป. เป็นคนยื่นต่อศาล
ให้เอาผิดกับนพดลที่ไปทำแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชา
ให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
โดยถูกพวกพันธมิตรและ ปชป.โจมตี
ถึงขนาดด่าว่าขายชาติก็มี
ทั้งๆ ที่นพดลชี้แจงว่า
แนวทางรัฐบาลสุรยุทธก็ทำแบบนี้
เขามาเขาก็ทำแบบนี้
แบบเดียวที่มาร์คกำลังทำ ณ วันนี้
สุดท้ายศาลตัดสินโดยใช้คำว่าอาจจะ
ซึ่งไม่มีในตัวบทกฏหมายเป็นการเพิ่มคำเข้ามา
เพื่อจัดการเอาผิดกับนพดลได้
และนพดลต้องกระเด็นตกจากเก้าอี้ รมว.ต่างประเทศ
ทั้งแรงคลั่งชาติที่ปลุกปั่นและคำพิพากษา
จนแถลงการณ์ร่วมฉบับนั้นเป็นโมฆะ
แต่ฝ่ายกัมพูชาก็ประกาศไม่ง้อ
เสร็จแล้วก็เดินเรื่องยื่นฝ่ายเดียว
จนผลักดันให้เขาพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลกสำเร็จ
และการที่การที่รัฐบาลชวน 2 และคนของ ปชป.
ไปทำข้อตกลงยึดแผนที่ฉบับที่ฝ่ายกัมพูชาใช้อ้างอิง
ซึ่งผลของการกระทำครั้งนี้
จะผูกโยงไปถึงอนาคตเมื่อขึ้นศาลอีก
และยังล็อคให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย
ต้องยึดตามข้อตกลง ครั้งนั้นด้วย

" ใน บันทึกข้อตกลงปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา ฉบับล่าสุด พ.ศ.2543 ซึ่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ได้ระบุว่า การจัดทำหลักเขตแดนให้ยึดตามแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม (คศ.1904) เป็นแนวทาง แต่ไม่ได้ระบุแผนที่แอล 7017 ของอเมริกาที่ไทยใช้อ้างอิง!! "

นี่คือเรื่องคำพิพากษา ภาค 2
ต่อจากภาคแรกเรื่องไอ้ฟัก
เรื่องกรณีของนพดลวันนี้
อาจมีหนังคำพิพากษาในอนาคต

โดย มาหาอะไร

----------------------------------------

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง เบื้องหลังการถอนตัวจากภาคีมรดกโลกของไทย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/06/blog-post_3816.html

<<< อย่าปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ :ความจริง ที่นายอภิสิทธิ์ ไม่อาจบิดเบือน กรณีปัญหาไทย – กัมพูชา >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/06/blog-post_1860.html

<<< กรณีเขาพระวิหาร ถ้าไม่หลอกตัวเอง ปัญหาจะไม่บานปลาย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/06/blog-post_4230.html

<<< เรื่องเขาพระวิหาร กับผลงานของศาล ปชป. และพันธมิตร >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/02/blog-post_98.html

----------------------------------------

เป้าหมาย"ศาลโลก"ลดการเผชิญหน้า??


หลังจาก คณะผู้พิพากษาทั้ง 16 คน ของศาลโลก ได้ปฏิเสธคำร้องของไทย และ ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ด้วยมติ 11 ต่อ 5 ตามที่กัมพูชาร้องขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ให้ทั้ง 2ฝ่าย ตั้งเขตปลอดทหารใน 4 จุด ให้กำลังทหารทั้ง 2 ประเทศ ต้องถอนหรือถอย ออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารทั้งหมด อาจรวมไปถึงพื้นที่ทับซ้อนทิศตะวันตก 4.6 ตร.กม. และมี มติ 15 ต่อ 1 ไทยจะต้องให้ความร่วมมือไม่ขัดขวางการส่งเสบียงหรือกำลังบำรุง (อาหารและน้ำให้กับประชาชนที่ไม่ใช่ทหาร) ของกัมพูชา ไม่ปิดทางเข้าออกตัวปราสาท ไทยจะต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาพื้นที่ของกัมพูชา ทั้งยังต้องสนับสนุนให้กัมพูชาพัฒนาพื้นที่ด้วย รวมทั้งต้องให้คณะผู้สังเกตการณ์จากอาเซียน เข้าไปในพื้นที่ได้โดยไม่มีการขัดขวาง รวมถึงกำหนด ให้ทั้ง2 ประเทศรายงาน การปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกอย่างเป็นทางการด้วย

มีการตั้งข้อสังเกตจากนักวิเคราะห์สถานการณ์ระหว่างประเทศ ว่า มาตรการของศาลโลก ไม่ได้ชี้ว่า พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ที่เป็นปัญหามีการอ้างสิทธิ์เ ป็นเจ้าของพื้นที่ทั้ง 2ฝ่าย ส่วนไหนเป็นของประเทศใด เมื่อศาลโลกมีคำตัดสินออกมาอย่างที่เห็น จะถือว่าเรื่องชายแดนโดยเฉพาะกรณีความขัดแย้ง ปราสาทและรอบๆเขาพระวิหาร ทั้งไทย-กัมพูชา กล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ จบลงหรือไม่ อย่างไรยังไม่มีใครสามารถชี้ขาดได้ ต่างฝ่ายต่างก็ต้องตีความคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกอย่างละเอียด

เพราะถึงแม้ศาลโลกมีคำสั่งให้ไทยต้องถอนทหาร แต่ทางกัมพูชาเองก็ต้องถอนทหารออกจากตัวปราสาทพระวิหารที่เคยยึดอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเป็นการยาก และ ยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวอ้างว่า ฝ่ายใดเป็นผู้ชนะ หรือพ่ายแพ้ ไทยจะเสียเปรียบกัมพูชาก็ตรงที่กัมพูชามีการตั้งชุมชนและวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ล้ำอยู่ในพื้นที่พิพาท 4.6 ตร.กม.อยู่ก่อน แต่จะอย่างไรพื้นที่ซับซ้อนที่ทั้งไทย-กัมพูชาต่างอ้างกรรมสิทธิ์

มีการวิเคราะห์กันว่า เมื่อศาลโลกมีคำสั่งให้ถอนทหารทั้ง 2 ฝ่าย ก็จะทำให้พื้นที่ปัญหาลดลงไปประมาณครึ่งหนึ่งจากเดิม คือ จากพื้นที่ 4.6 ตร.กม. เหลือเพียงประมาณ 3.5-3.7ตร.กม. จะเป็นไปตามนั้นจริงหรือไม่? ต้องรอความชัดเจน หลังทั้ง2 ฝ่ายปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก เข้าทำนอง"สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร "

จากนี้ไปต้องดูปฏิกิริยา ของผู้นำทั้ง2 ประเทศ ฝ่ายไทย โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า ได้นัดหน่วยงานความมั่นคงประชุมหารือกำหนดท่าทีที่ชัดเจนของฝ่ายไทย และเตรียมแถลงอย่างเป็นทางการในวันนี้ รวมทั้ง จะเล็งหารือกับกัมพูชาในการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งศาลโลก หลังศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ทั้งยังมีท่าทีสนับสนุนคณะผู้สังเกตการณ์ให้เข้ามาในพื้นที่พิพาท ทั้งนี้คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นเป็นนโยบายต่อเนื่องไปยังรัฐบาลใหม่ของ นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิง ที่กำลังจะรับไม้ต่อด้วย

ขณะที่ฝ่ายกัมพูชา นายกรัฐมนตรีสมเด็จฮุนเซน จะยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก และจะมีแนวนโยบายมาตรการอะไรออกมาอีกหรือไม่ รวมไปถึงต้องจับตาสถานการณ์บริเวณชายแดนของทั้ง 2ประเทศจะตึงเครียด หรือผ่อนคลายลงอย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามกัน อย่างใกล้ชิดต่อไปอีก

แต่ดูแล้ว น่าจะจบลงไปสักระยะหนึ่งก่อน เพราะศาลโลก ยังต้องพิจารณาคำร้องขอของกัมพูชาให้ตีความขอบเขตคำพิพากษาเมื่อปี2505 ที่ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในพื้นที่อธิปไตยของกัมพูชา ซึ่งน่าจะมีคำตัดสินออกมาในอีก 1-2 ปี ข้างหน้า ซึ่งประเทศไทยยังมีเวลาต่อสู้คดีได้อยู่

มีการตั้งข้อสังเกตกันในหมู่นักวิเคราะห์ระหว่างประเทศ จุดมุ่งหมายของศาลโลกในเบื้องต้นที่มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวออกมา เนื่องจากมีเป้าหมาย ต้องการยุติปัญหาการเผชิญหน้า หรือมีการปะทะกันของกำลังทหารทั้ง 2 ฝ่ายจนเกิดความสูญเสีย ก่อนเป็นอันดับแรก อย่างน้อย ก็ไม่ได้แสดงว่าต้องการช่วย หรือเข้าข้างกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว

จบจากเรื่อง"เขาพระวิหาร" ที่รัฐบาลกัมพูชาร้องขอให้ศาลโลกพิจารณาออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ไทยต้องถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหารแล้ว

วันนี้ ก็ต้องหันกลับมาลุ้นการเมืองภายในประเทศบ้าง กรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง กกต. จะพิจารณารับรอง ส.ส.อย่างเป็นทางการว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยในวันนี้หรือไม่ ภายหลังจากที่ 5 เสือ กกต. กลาง สั่งแขวน นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่1 ของพรรคเพื่อไทยไว้ เพื่อพิจารณาคำร้องเรียน กรณีมีผู้กล่าวหาว่า ว่านายสมชาย-นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่ถูกโทษเบนการเมือง ออกมาช่วยนส.ยิ่งลักษณ์หาเสียง ในการเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย และข้อหาผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์ การเมือง 5ปี เข้ามายุ่งเกี่ยวกับนโยบายหาเสียงในพรรค ถึงขนาดมีการออกแคมเปญ"ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ"

รวมไปถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ถูก กกต. แขวนด้วยข้อหาใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์จัดมหกรรมขายสินค้าราคาถูกช่วงหาเสียง ด้วยเช่นกัน ดังนั้นคงต้องเอาใจช่วย ให้การพิจารณารับรองส.ส.ของ กกต. ไม่มีปัญหา สามารถรับรอง ทั้งคู่ ให้เป็นส.ส.อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประเทศไทยได้มีนายกรัฐมนตรีและผู้นำฝ่ายค้านครบถ้วน เพราะหาก นายอภิสิทธิ์ได้รับเลือกกลับมาเป็นหัวหน้าพรรค"พระแม่ธรณีบีบมวยผม"อีกรอบ จะทำให้การเมืองในประเทศ เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น สามารถบริหารราชการแผ่นดิน ได้อย่างเต็มรูปแบบเสียที

เนื่องจากจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ไม่มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เพราะพรรคเพื่อไทยที่มีเสียงในสภามากที่สุดในตอนนั้น ไม่มีมติแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านเนื่องจาก อาจจะหาผู้ที่เหมาะสมไม่ได้ และเกิดความขัดแย้งขึ้นในพรรค พักเรื่องความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ แบบที่ทำให้ไทย สุ่มเสี่ยงสูญเสียอธิปไตยไว้ชั่วคราวก่อน แล้วเดินหน้าภายในประเทศทำขั้นตอนทำให้มีรัฐบาลชุดใหม่ตัวจริงเสียงจริง หลังจากการเลือกตั้ง เพื่อรัฐบาลชุดใหม่จะได้ทำงานให้ประเทศได้อย่าง สะดวกและราบรื่น รวมไปถึง แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง ไทย-กัมพูชา ในเรื่องเขาพระวิหาร ที่เป็นประเด็นร้อนสุดๆในตอนนี้ด้วย

ศาลโลกมีเป้าหมายลดการเผชิญหน้า หรือสถานการณ์เสี่ยงปะทะกันตามแนวชายแดนของทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนรัฐบาลชุดใหม่ของไทยภายใต้การนำ นส.ยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกรัฐมนตรี ที่คาดว่า จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการหลัง กกต.ประกาศรับรองส.ส. และผ่านขั้นตอนในสภาแล้ว ก็มีเป้าหมายสำคัญ ที่ประชาชนคนไทยทุกคน คาดหวังเช่นกัน โดยเฉพาะแก้ปัญหา กรณี"เขาพระวิหาร"ที่กำลังร้อนแรง ซึ่งก็เหลือเพียงหนทางเดียว คือ ต้องรักษาปกป้องอธิปไตย และ ผลประโยชน์ของประเทศไว้ให้ถึงที่สุดเท่านั้น.

ไทยรัฐออนไลน์

โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
19 กรกฎาคม 2554, 05:30 น.

http://www.thairath.co.th/content/pol/187312

----------------------------------------

ปราสาทพระวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
World Heritage logo.png ปราสาทพระวิหาร *
ปราสาทพระวิหารมองจากด้านบน
ปราสาทพระวิหารมองจากด้านบน
ชื่อในภาษาต่างๆ

อังกฤษ Temple of Phra Viharn
ฝรั่งเศส Temple de Preah Vihear
ภาษาเขมร
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา
ประเภท มรดกทางวัฒนธรรม
ปีที่ขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2551
(คณะกรรมการชุดที่ 32)
เกณฑ์พิจารณา (i)
ลิงก์ http://whc.unesco.org/en/list/1224
*ชื่อตามที่ได้จดทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
ปราสาทพระวิหาร (​เขมร: ប្រាសាទ​ព្រះវិហារ; ปฺราสาท​พฺระวิหาร อ่านว่า ปราสาทเปรี๊ยะวิเฮียร์ - สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์[1]; อังกฤษ: Temple of Preah Vihear[2]) หรืออาจเรียกว่า ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นปราสาทหินที่อยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก หรือเทือกเขาพนมดงเร็กในภาษาเขมร (ซึ่งแปลว่า ภูเขาไม้คาน[3]) ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร อันหมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์[1] ในประเทศกัมพูชาใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เขาพระวิหารได้ผ่านการคัดเลือกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชา โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ[4]

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ชื่อ

เมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า "ปราสาทพรหมวิหาร" ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า "ปราสาทพระวิหาร"[5] นับเป็นปราสาทขอมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์การก่อสร้างเทวสถานของฮินดู ประวัติศาสตร์การเรียกร้องเขาพระวิหาร และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งของไทยและกัมพูชา
นามของปราสาทพระวิหารตามที่ปรากฏในศิลาจารึกคือ "ศีรศิขเรศวร" แปลว่า ภูเขาแห่งพระอิศวร[6] ซึ่งเกิดจากการสมาสกันของคำว่า "ศิขร" (ภูเขา) และ "อิศวร"[7]
ในบางครั้ง ชาวกัมพูชาเรียกปราสาทดังกล่าวว่า "พนมพระวิหาร" (ភ្នំព្រះវិហារ) ซึ่งชาวไทยมักเรียกว่า "เขาพระวิหาร" ในภาษาไทย ราว พ.ศ. 2551 คำว่า "เขา" ได้ถูกละไว้ในชื่อเพื่อแสดงถึงความแตกต่างระหว่างตัวปราสาทและเนินเขาซึ่ง ปราสาทสร้างขึ้น ซึ่งจำแนกได้เป็น "เขาพระวิหาร" และ "ปราสาทพระวิหาร" ดังปรากฏในเอกสารทางการตั้งแต่ พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา

[แก้] ประวัติการก่อสร้าง

ปราสาทพระวิหารประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก เทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกสร้างขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้นเมื่อนครหลวงของอาณาจักรขอมอยู่ใกล้ คือ ที่นครวัด นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบบางประการในรูปแบบศิลปะของปราสาทบันทายศรี ตามหลักจารึกที่ค้บพบ 3 หลักคือ จารึกศิวะศักติ จารึกหมายเลข K380 และ K381 เชื่อว่าเริ่มก่อสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1432-1443) ในฐานะ "ภวาลัย" ที่ทรงมอบแก่เจ้าเมืองที่ครองพื้นที่ในแถบนั้น ซึ่งอยู่ในตระกูล "พระนางกัมพูชาลักษมี" พระมเหสีของพระองค์ และเป็นรูปร่างเมื่อในสมัยพระเจ้ายโศวรมัน ซึ่งสถาปนาศรีศิขเรศวร ในปี พ.ศ. 1436[7] แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ของปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (มีพระนามจารึกที่กรอบประตูโคปุระชั้นที่ 2 ว่า "สูรยวรรมเทวะ" และปีที่สร้างแล้วเสร็จในสมัยของพระองค์ตามจารึกคือ พ.ศ. 1581[8]) และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 11 และคริสต์ศตวรรษที่ 12 ตามลำดับ ตามจารึกกล่าวไว้ว่าพระองค์ส่ง "ทิวากรบัณฑิต" มาบวงสรวงพระศิวะทุกปี นอกจากนี้ยังมีชุมชนโดยรอบที่กษัตย์อุทิศไว้ให้รับใช้เทวสถาน ชุมชนที่มีชื่อในจารึกอย่างเช่น กุรุเกษตร, พะนุรทะนง เป็นต้น[7]
ในปัจจุบันนี้ปราสาทหลงเหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง แต่ทว่ายังมีอาคารปราสาทเหลืออยู่อีกหลายแห่ง[9]

[แก้] ที่ตั้ง

ไฟล์:Map-preah vihear.jpg
ที่ตั้งของปราสาทพระวิหารเมื่อเทียบกับประเทศไทยและประเทศกัมพูชา
ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนผาเป้ยตาดีของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 104 องศาตะวันออก 41 ลิปดา ในอดีตอยู่ในเขตหมู่บ้านภูมิซร็อล (แปลว่า บ้านต้นสน) ตำบลเสาธงชัย (ในอดีคคือ ตำบลบึงมะลู) อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย ห่างจากอำเภอเมืองศรีสะเกษ 110 กิโลเมตร คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ในปี พ.ศ. 2505 มีผลทำให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในบ้านสวายจรุม ตำบลก็อนตวต อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา ปราสาทตั้งอยู่ห่างจากปราสาทนครวัดในเมืองพระนคร 280 กิโลเมตร และห่างจากกรุงพนมเปญ 296 กิโลมตร แม้แต่ในปัจจุบัน ศาลโลกก็ยังไม่ชี้ขาดว่าเขตแดนไทย-กัมพูชาบริเวณนี้อยู่ที่ใด ศาลชี้ขาดเพียงว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีบางท่านเชื่อว่าศาลไม่ได้ชี้ขาดว่าแผ่นดินที่ตั้งเขา พระวิหารเป็นของประเทศใด[9]

[แก้] สถาปัตยกรรม


ทับหลังสลักภาพพระกฤษณะกำลังรบกับอรชุน ที่โคปุระแห่งที่ 3
ปราสาทพระวิหารมีลักษณะเป็นแบบศิลปะบันทายศรี ลักษณะบางส่วนคล้ายคลึงกับพระวิหารของปราสาทนครวัด รูปรอยแกะสลักบนปราสาทสันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย มีพระศิวะเป็นเทพสูงสุดของศาสนา เชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะที่ทรงประทับบนยอดเขาไกรลาส ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาลปราสาทพระวิหารจึงสร้างบนหน้าผาเป้ยตาดี ทำให้ปราสาทแห่งนี้เปรียบเหมือนการค่อย ๆ ก้าวไปสู่ที่ประทับของพระศิวะ ซึ่งแทนด้วย "ยอดเป้ยตาดี"[7] หากมองจากข้างล่างผาจะเห็นตัวปราสาทเหมือนวิมานสวรรค์ลอยอยู่บนฟากฟ้า[9] โดยมีแผ่นดินเขมรต่ำ (ขแมร์กรอม) ประหนึ่งมหาสมุทรรองรับอยู่เบื้องล่าง[7] ตัวปราสาทประกอบด้วยสถาปัตยกรรมต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ปราสาทประธาน ระเบียงคด โคปุระ อาคารรูปกากบาท วิหาร บรรณาลัย และบันไดนาคพร้อมทางเดิน[1]
ปราสาทพระวิหารมีลักษณะแผนผังที่ใช้แกนเป็นหลัก โดยจัดวางผังหันไปทางทิศเหนือ ซึ่งแตกต่างจากปราสาทอื่น ๆ ซึ่งตามปกติมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อันเนื่องจากภูมิศาสตร์เป็นเครื่องกำหนดแล้ว ก็น่าจะเกิดจากปัจจัยอื่นบางประการที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับดินแดนเขมรสูง ในอดีต ตัวปราสาทประธานเป็นจุดศูนย์กลางล้อมรอบด้วยระเบียงคดทั้งสี่ด้าน ปราศจากบรรณาลัยขนาบเบื้องหน้า การวางผังที่กำหนดตำแหน่งอาคารมีความสมบูรณ์ลงตัวตั้งแต่แรกเริ่มของการก่อ สร้าง โดยไม่มีการแก้ไขต่อเติมบริเวณลานชั้นในภายหลัง วัสดุตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายและหินดาน โดยเทคนิคการก่อสร้างทำโดยนำก้อนศิลาทรายซึ่งตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดไล่ เลี่ยกันวางซ้อนกันขึ้นไปตามรูปผังที่กำหนดไว้ โดยอาศัยน้ำหนักของแท่งศิลาทรายแต่ละก้อนกดทับกันเพียงอย่างเดียว มีส่วนยึดจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น[3]

[แก้] ลักษณะสำคัญของปราสาทพระวิหาร


แผนผังของปราสาทพระวิหาร[10]
ปราสาทพระวิหารมีความยาว 800 เมตรตามแนวเหนือใต้ และส่วนใหญ่เป็นทางเข้ายาว และบันไดสูงถึงยอดเขา จนถึงส่วนปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาทางใต้สุดของปราสาท (สูง 120 เมตรจากปลายตอนเหนือสุดของปราสาท 525 เมตรจากพื้นราบของกัมพูชา และ 657 เมตรจากระดับน้ำทะเล[8]) แต่โครงสร้างปราสาทแห่งนี้ก็ยังแตกต่างอย่างมากจาก สถาปัตยกรรมปราสาทหินของหินโดยทั่วไปที่พบในพระนคร เพื่อจำลองเขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ตามคติความเชื่อของฮินดู
ทางเข้าสู่ปราสาทประธานนั้น มีโคปุระ (ซุ้มประตู[10]) คั่นอยู่ 5 ชั้น (ปกติจะนับจากชั้นในออกมา ดังนั้นโคปุระชั้นที่ 5 จึงเป็นส่วนที่ผู้เข้าชมจะพบเป็นส่วนแรก) โคปุระแต่ละชั้นก่อนถึงลานด้านหน้า จะผ่านบันไดหลายขั้น โคปุระแต่ละชั้นจึงเปลี่ยนระดับความสูงทีละช่วง นอกจากนี้โคปะรุยังบังมิให้ผู้ชมเห็นส่วนถัดไปของปราสาท จนกว่าจะผ่านทะลุแต่ละช่วงไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแลเห็นโครงสร้างปราสาททั้งหมดจากมุมใดมุมหนึ่งได้เลย

[แก้] บันไดหน้า


บันไดหน้า ทางขึ้นปราสาทพระวิหาร มองจากโคปุระชั้นที่ 5
บันไดด้านหน้าเป็นทางเดินขึ้นลงขนาดใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของตัวปราสาททาง ซึ่งอยู่ทางฝั่งไทย ลาดตามไหล่เขา ช่วงแรกเป็นบันไดหิน กว้าง 8 เมตร ยาว 75.50 เมตร จำนวน 162 ขั้น บางชั้นสกัดหินลงไปในพื้นหินของภูเขา สองข้างบันไดมีฐานสี่เหลี่ยมตั้งเป็นกระพัก (กระพักแปลว่า ไหล่เขาเป็นชั้นพอพักได้[10]) ขนาดใหญ่เรียงรายขึ้นไป ใช้สำหรับตั้งรูปสิงห์นั่ง ช่วงที่ 2 กว้าง 4 เมตร ยาว 27 เมตร มี 54 ขั้น มีฐานกระพักกว้าง 2.5 เมตร 7 คู่ มีรูปสิงห์นั่งตั้งอยู่
หลังจากที่ศาลโลกพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารตกอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา นักศึกษาไทยได้ประท้วงคำตัดสินของศาลโลกและปิดทางขึ้นปราสาทที่อยู่ในเขตแดน ไทย ทำให้ชาวกัมพูชาที่ต้องการขึ้นปราสาท จะต้องขึ้นทางช่องเขาแคบ ๆ สูงชันที่เรียกกันว่า "ช่องบันไดหัก"[9]

[แก้] ลานนาคราช

ลานนาคราชหรือสะพานนาค อยู่ทางทิศใต้สุดบันไดหินด้านหน้า ปูด้วยแผ่นหินเรียบ มีขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 31.80 เมตร ขอบลานสร้างเป็นฐานเตี้ย ๆ บนฐานมี นาคราช 7 เศียร จำนวน 2 ตัว แผ่พังพานหันหน้าไปทางทิศเหนือ ลำตัวอยู่บนฐานทั้งสอง ทอดไปทางทิศใต้ ส่วนหางของนาคราชชูขึ้นเล็กน้อย นาคราชทั้งสองตัวมีลักษณะคล้ายงูตามธรรมชาติ เป็นลักษณะของนาคราชในศิลปะขอม แบบปาปวน

[แก้] โคปุระ ชั้นที่ 5

โคปุระชั้นที่ 5 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงกากบาทไม่มีฝาผนังกั้น มีแต่บันไดและซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ สร้างอยู่บนฐานบัวสี่เหลี่ยมย่อมุม ฐานสูง 1.8 เมตร บันไดหน้าประตูซุ้มทั้ง 4 ทิศตั้งรูปสิงห์นั่ง เสาโคปุระสูง 3.5 เมตร เป็นศิลปะแบบเกาะแกร์ ยังมีร่องรอยสีแดงที่เคยประดับตกแต่งตัวปราสาทเอาไว้ แต่ส่วนหลังคากระเบื้องนั้นหายไปหมดแล้ว บันไดทางขึ้นโคปุระ ชั้นที่ 5 อยู่ทางทิศเหนือ เป็นบันไดหินมีลักษณะค่อนข้างชัน ทางทิศตะวันออกของโคปุระชั้นที่ 5 มีเส้นทางขึ้นคล้ายบันไดหน้าแต่ค่อนข้างชัน และชำรุดหลายตอน ยาว 340 เมตรถึงไหล่เขา เป็นเส้นทางขึ้น-ลง ไปสู่ประเทศกัมพูชา เรียกว่าช่องบันไดหัก

[แก้] สระสรง

สระสรงอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางดำเนินจากโคปุระ ชั้นที่ 5 ไปโคปุระ ชั้นที่ 4 ห่างออกไป 12.40 เมตร จะพบสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 16.80 เมตร ยาว 37.80 เมตร กรุด้วยท่อนหินเป็นชั้น ๆ มีลักษณะเป็นขั้นบันไดปากผายก้นสอบ

[แก้] โคปุระ ชั้นที่ 4


ภาพของการกวนเกษียณสมุทร ณ เขาพระวิหาร
ทางดำเนินจากโคปุระ ชั้นที่ 5 มาเป็นลานหินกว้างประมาณ 7 เมตร สองข้างจะมีเสานางเรียง ตั้งอยู่ ทั้งสองด้าน แต่ก็มีปรักหักพังไปมาก โคปุระชั้นที่ 4 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข มีกำแพงด้านทิศใต้เพียงด้านเดียว ยาว 39 เมตรจากตะวันออกไปตะวันตก กว้าง 29.5 เมตรจากเหนือไปใต้ เป็นศิลปะสมัยหลังโคปุระ ชั้นที่ 5 คือ แคลง/บาปวน มุขหน้าแบ่งเป็น 2 คูหา ริมซุ้มประตูด้านนอกตั้งรูปสิงห์ มุขตะวันออกและตะวันตกแบ่งเป็น 3 คูหาริมซุ้มประตูด้านนอกตั้งรูปสิงห์ ห้องใหญ่แบ่งเป็น 5 คูหา มุขใต้แบ่งเป็น 2 คูหาหน้าบันเป็นภาพของการกวนเกษียณสมุทร ถือเป็น "หนึ่งในผลงานชิ้นเอกอุของปราสาทพระวิหาร"[11] ทับหลังเป็นภาพของพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่เหนืออนันตนาคราช

[แก้] โคปุระ ชั้นที่ 3


ภาพวาดโคปุระที่ 3 โดยปามังติเอร์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส
โคปุระชั้นที่ 3 นั้นมีขนาดใหญ่สุด สมบูรณ์ที่สุด และขนาบด้วยห้องสองห้อง ตัวปราสาทประธานนั้นสามารถผ่านเข้าไปทางลานด้านหน้า บันไดกว้าง 3.6 เมตร สูง 6 เมตร สองข้างมีฐานตั้งรูปสิงห์นั่ง 5 กระพัก
  • มนเทียรกลาง มุขเหนือหน้าบันเป็นรูปพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ ทับหลังเป็นรูปพระนารายณ์ 4 กรทรงครุฑ มุขตะวันออกและตะวันตกที่ผนังด้านเหนือมีซุ้มประตู 1 ซุ้มหน้าประตูมีรูปสิงห์นั่งตั้งอยู่ ห้องใหญ่มีหน้าต่างซีกเหนือ 6 ช่องซีกใต้ 2 ช่องมุขใต้หน้าบันเป็นรูปพระอิศวรบนหลังโคอุศุภราช
  • ห้องขนาบ ทั้งซ้ายและขวาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางเป็นลานแบ่งเป็น 4 ห้อง ห้องตามขวางด้านหน้ายาว 35.5 เมตร กว้าง 7 เมตรผนังด้านลานมีหน้าต่าง 5 ช่อง ห้องตามยาวซ้ายและขวายาว 15 เมตร กว้าง 6 เมตร ห้องตามขวางด้านหลังยาว 40 เมตร กว้าง 8.5 เมตร ยกฐานสูง 2.4 เมตร ผนังด้านใต้มีหน้าต่าง 5 ช่อง มุขหน้ามีหน้าต่างข้างละ 3 ช่อง เข้าใจว่าบรรณาลัยนี้สร้างเพิ่มเติมภายหลังมนเทียรกลาง ที่ลานหน้าด้านตะวันออกมีปรางค์ศิลา 1 องค์ กว้าง 4 เมตร สูง 6 เมตร
จากโคปุระชั้นที่ 3 มีบันได 7 ขั้นขึ้นไปสู่ถนนที่ยาว 34 เมตร มีเสานางเรียงปักรายข้างถนน ข้างละ 9 ต้น ถัดจากเสานางเรียงไปเป็นสะพานนาค 7 เศียร

[แก้] โคปุระ ชั้นที่ 2


ภาพเขียนแสดงให้เห็นส่วนโคปุระ ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 1เมื่อยังสมบูรณ์
วารสารสยามสมาคม ค.ศ. 1956
  • มนเทียรหน้า เป็นรูปกากบาท กว้าง 23 เมตร ยาว 23 เมตร มีมุขทั้ง 4 ทิศ ที่มุขเหนือและใต้มีช่องหน้าต่างมุขละ 2 ช่อง มุขตะวันออกและตกมีประตูหน้าหลังมุขละ 2 ประตู กับช่องหน้าต่างมุขละ 1 ช่อง ห้องใหญ่มีหน้าต่างที่ผนังด้านเหนือ 6 ช่อง ด้านใต้ 4 ช่อง ซุ้มประตูส่วนมากจะเป็นซากปรักหักพัง กรอบประตูห้องใหญ่มีจารึกอักษรขอมระบุบปีศักราชตกอยู่ในสมัยพระเจ้าสุรยวร มันที่ 1 ด้านหน้ามนเทียรมีบันไดตรงกับประตูซุ้มทั้ง 3 ประตูและมีชานต่อไปยังเฉลียงซ้ายและขวา
  • เฉลียงซ้ายและขวา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 เมตร ยาว 32 เมตร ผนังด้านนอกทึบ ด้านในเปิดมีเสาราย 10 ต้น ที่สนามด้านหน้ามีภาพจำหลักตกหล่นอยู่หลายชิ้น เช่น รูปกษัตริย์กำลังหลั่งน้ำทักษิโณฑกแก่พราหมณ์
  • มนเทียรกลาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 13 เมตร มีมุขหน้าขนาด 8 x 5 เมตรมีหน้าต่างข้างละช่อง ตัวมนเทียรมีหน้าต่างข้างละ 3 ช่องกลางห้องมีเสาราย 2 แถว ๆ ละ 4 ต้น
  • บรรณาลัย (ห้องสมุด) ซ้ายและขวา อยู่ขนาบ 2 ข้างของมนเทียรกลาง กว้าง 6.5 เมตร ยาว 11 เมตร

[แก้] โคปุระ ชั้นที่ 1

  • ระเบียงคด ด้านทิศเหนือยาว 22 เมตรกว้าง 5.5 เมตร มีผนังละ 3 ประตูที่ผนังด้านเหนือและใต้ด้านทิศตะวันออกและตก กว้าง 4 เมตร ยาว 52 เมตรผนังด้านนอกทำทึบ ผนังด้านในมีหน้าต่าง ข้างละ 20 ช่อง ด้านทิศใต้ ผนังด้านในมีหน้าต่าง 6 ช่อง ตรงกลางมีประตู
  • ปรางค์ประธาน มีวิหารเชื่อมต่ออยู่ทางทิศเหนือ มีฐานย่อมุม 3 ชั้น ชั้นแรกอยู่เสมอพื้นราบ ชั้นที่ 2 สูง 75 เซนติเมตร ทุกที่ ๆ ตรงกับประตูมีบันได 5 ขั้น กว้าง 70 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร ตัวปรางค์ทรุดพังมาครึ่งองค์ เหลือเพียงราว 9 เมตร กว้าง 7 เมตร วิหารที่เชื่อมต่อ ฐานกว้าง 15 เมตร ยาว 17 เมตร สูง 1.5 เมตร มีประตูทั้ง 4 ทิศ บันไดตรงประตูทิศเหนือมี 3 ขั้น กว้าง 70 เซนติเมตร สูง 1.5 เมตร ประตูทิศใต้เชื่อมกับปรางค์ มีหน้าต่างด้านตะวันออกและตก ด้านละ 1 ช่อง กลางวิหารมีแท่งหินรูปสี่เหลี่ยม 1 แท่น
  • มนเทียรตะวันออก กว้าง 16 เมตร ยาว 20.5 เมตรมีมุขด้านเหนือ, ใต้, ตะวันออกแต่ละมุขมีประตู 3 ประตู ภายในแบ่งเป็นห้อง ๆ
  • มนเทียรตะวันตก กว้าง 18.5 เมตร ยาว 20.5 เมตรมีมุขด้านเหนือ, ใต้, ตะวันตกแต่ละมุขมีประตู 3 ประตู

[แก้] เป้ยตาดี

เป้ยตาดี มีเนื้อที่กว้าง 44 เมตร ยาว 50 เมตร "เป้ย" เป็นภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า ชะง่อนผา หรือโพงผา ตามคำบอกเล่า ว่านานมาแล้วมีพระภิกษุชรารูปหนึ่งชื่อ "ดี" จาริกมาปลูกเพิงพำนักอยู่ที่นี่จนมรณภาพไป ชาวบ้านจึงเรียกลานหินนี้ว่า "เป้ยตาดี" ตรงยอดเป้ยตาดีสูงกว่าระดับน้ำทะเล 657 เมตร ถ้าวัดจากพื้นที่เชิงเขาพื้นราบฝั่งประเทศกัมพูชาสูงประมาณ 447 เมตร ตรงชะง่อนผาเป้ยตาดี จะมีรอยสักฝีพระหัตถ์ของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ว่า "๑๑๘-สรรพสิทธิ" แต่ก่อนมีธงไตรรงค์ของ ไทยอยู่ที่ บริเวณผาเป้ยตาดี ในปัจจุบันคงเหลือแต่ฐาน ส่วนรอยแกะสลักพระนามของกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์นั้นปัจจุบันถูกกระเทาะ ทำลายไปแล้ว

[แก้] โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สันนิษฐานว่าเกี่ยวเนื่องกับตัวปราสาท

โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สันนิษฐานว่าเกี่ยวเนื่องกับตัวปราสาท ประกอบด้วยดังนี้[7]
  • ภาพสลักบนหน้าผามออีแดง : เป็นภาพสลักนูนต่ำรูปเทพชายและหญิงในท่าเรียงกัน 3 องค์ และยังมีส่วนที่สลักไม่เสร็จ
  • สถูปคู่ : เป็นสถูปคู่ 2 องค์ สร้างด้วยหินทราย เป็นแท่งสี่เหลี่ยม สูง 4.2 เมตร ยอดมน ข้างในมีโพรงบรรจุสิ่งของ
  • สระตราว : สระน้ำขนาดใหญ่ คาดว่ามีสถานะเทียบเท่าบาราย (แหล่งเก็บน้ำในอารยธรรมขอม มักสร้างใกล้ปราสาทหิน) บริเวณใกล้เคียงพบร่องรอยการตัดหินเพื่อนำไปสร้างปราสาท

[แก้] กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร

[แก้] คดีความ พ.ศ. 2505

ดูบทความหลักที่ คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505

แผนที่ฝรั่งเศสที่ศาลโลกกรุงเฮกใช้อ้างอิงในการตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตก เป็นของกัมพูชา แต่เป็นแผนที่ที่กำหนดเส้นพรมแดนโดยไม่ได้ยึดแนวสันปันน้ำ อันขัดต่อหลักสากลและไทยได้โต้แย้งเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2505 ประเทศไทยได้ยอมรับว่า "ปราสาทพระวิหาร" เป็นของกัมพูชา แต่ไม่เคยยอมรับอาณาบริเวณบนยอดผาและรอบ ๆ ว่าเป็นของประเทศนั้น ไทยได้ทำบันทึกยื่นต่อศาลระหว่างเทศยืนยันที่จะยึดแนวสันเขตแดนตามหลักสากล โดยใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่ง
ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. 2442 ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อิสาน) ในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ"[12] ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา 1 ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม 50 ชุด แต่ละชุดมี 11 แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดัง กล่าว[13]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 คืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิดสงครามพิพาทอินโดจีนระหว่าง ไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด 22 วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืนจังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และพระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว[14] ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่น และต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน 4 จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง
ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501[8] และในปีต่อมา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม 13 คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม 9 คน[8]
กระทั่งวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3[15] และในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำ ภายในสิบปี
หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2535 แต่ปีต่อมาก็ถูกเขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2541

[แก้] การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชา

ดูบทความหลักที่ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
เมื่อ 8 มีนาคม พ.ศ. 2548 กัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ปี พ.ศ. 2549 วันที่ 30 มกราคม ศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกที่ปารีสขอให้กัมพูชายื่นเอกสารใหม่เกี่ยวกับเขตกันชนของปราสาท และมีคำแนะนำให้ร่วมมือกับฝ่ายไทย[7] พ.ศ. 2550 กัมพูชายื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารอีกครั้ง ขณะที่ไทยยื่นบันทึกช่วยจำต่อเอกอัครราชทูตกัมพูชาและเสนอขึ้นทะเบียนร่วม (transboundary property) แต่คณะกรรมการมรดกโลกสากลมีมติเลื่อนการขึ้นทะเบียนออกไป โดยให้ไทย-กัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็น มรดกโลก เฉพาะเพียงตัวปราสาทเท่านั้น โดยผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อ (i) เพียงข้อเดียว[16]
ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้นำประเด็นนี้มาโจมตีเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[17][18][19] เหตุการณ์นี้พัฒนาไปสู่ความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาในที่สุด
นับตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาได้ใช้ปืนใหญ่ยิงปะทะกัน ซึ่งต่างก็โทษอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นฝ่ายเริ่มก่อน[20] วันที่ 5 กุมภาพันธ์ กัมพูชาได้ยื่นจดหมายถึงสหประชาชาติ ความว่า "พฤติการณ์ล่าสุดของทหารไทยได้ละเมิดข้อตกลงสันติภาพปารีส พ.ศ. 2534 กฎบัตรสหประชาชาติ และคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2505"[21]

[แก้] การตีความคำพิพากษา

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อ ขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 และในวันเดียวกันประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลเดียวกันเพื่อขอให้ศาล ระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อรักษาสิทธิของกัมพูชาอย่างเร่งด่วน [22] และเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 เวลา 15.00 โดยประมาณตามเวลาประเทศไทย หรือเวลา 10.00 ตามเวลากรุงเฮก สถานที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้มีคำสั่งให้ ทั้งฝ่ายไทย และ กัมพูชา ถอนกำลังทหารออกจาก พื้นที่โดยเป็นเขตปลอดทหาร

[แก้] การเยี่ยมชม

ในอดีตการเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารจะใช้ทางขึ้นจากฝั่งไทย โดยทางการไทยและทางการกัมพูชามีรายได้จากการท่องเที่ยวร่วมกัน แต่ปัจจุบันมีความถึงเครียดระหว่างแนวชายแดนประชาชนทั่วไปจึงไม่สามารถขึ้น ไปชมประสาทจากทางประเทศไทยได้อีก กัมพูชาได้สร้างถนนคอนกรีตยาว 3 กิโลเมตรไต่เขาขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารสำเร็จแล้ว และเป็นทางที่ประชาชนทั่วไปใช้ขึ้นไปชมปราสาทได้ในปัจจุบัน[23]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 1.2 เปิดตำนาน ปราสาทพระวิหาร บนเทือกเขาพนมดงเร็ก
  2. ^ ชื่ออย่างเป็นทางการโดยยูเนสโก
  3. ^ 3.0 3.1 ข้อมูลท่องเที่ยวและรูป ปราสาทพระวิหาร
  4. ^ International Herald Tribune (อังกฤษ)
  5. ^ เขาพระวิหาร . กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ
  6. ^ โครงการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง องค์ความรู้จากปราสาทพระวิหาร (สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร)
  7. ^ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 นิตยสาร สารคดี ปีที่ 24 ฉบับที่ 282 สิงหาคม 2551
  8. ^ 8.0 8.1 8.2 8.3 ความเมืองเรื่องเขาพระวิหาร, ประหยัด ศ.นาคะนาท และ จำรัส ดวงธิสาร
  9. ^ 9.0 9.1 9.2 9.3 บุญร่วม เทียมจันทร์, ไทยแพ้คดีเสียดินแดนให้เขมร, สำนักพิมพ์ อนิเมทกรุ๊ป จำกัด, 2550
  10. ^ 10.0 10.1 10.2 สู่...ปราสาทพระวิหาร-ไทย
  11. ^ ISBN 978-0-8348-0450-0 Freeman, Michael (1996). A Guide to Khmer Temples in Thailand and Laos. Weatherhill. P.162
  12. ^ คดีเขาพระวิหาร เดลินิวส์
  13. ^ "since there was no reaction on the part of the Siamese authorities, either then or for many years, they must be held to have acquiesced." "The Siamese Government and later the Thai Government had raised no query about the Annex I map prior to its negotiations with Cambodia in Bangkok in 1958." Judgment of 15 June 1962 on Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand), International Court of Justice
  14. ^ หมวดวิชาที่ 2 การทหารวิชาการสงคราม http://www.officer.rtaf.mi.th
  15. ^ คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (อังกฤษ)
  16. ^ สมุดปกขาวชี้แจงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
  17. ^ The Nation , PAD begins rallying in front of MFA building to protest Preah Vihear Temple map, June 18, 2008.
  18. ^ Saritdet Marukatat, The Bangkok Post,This land is my land! June 18, 2008.
  19. ^ ผู้จัดการออนไลน์, พันธมิตรฯ ทั่ว ปท.บุกกรุง!ฮือขับไล่“นพดล”ย่ำยีหัวใจไทย!! 18 มิถุนายน 2551
  20. ^ "Shells fly around the temple". The Economist. February 7, 2011. http://www.economist.com/blogs/asiaview/2011/02/open_fire_between_thailand_and_cambodia. Retrieved February 7, 2011.
  21. ^ [http://www.cnn.com/2011/WORLD/asiapcf/02/06/cambodia.thailand.violence/
  22. ^ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/16480.pdf
  23. ^ นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 296 หน้า 154-169

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons
ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
http://th.wikipedia.org/wiki/ปราสาทพระวิหาร

----------------------------------------
FfF