บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


09 มิถุนายน 2552

<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #2 ความเชื่อมั่นที่ตกต่ำ ตอกย้ำการโจมตีค่าเงิน >>>

- ตัวเลขส่งออกที่ลดลง เร่งให้เกิดการโจมตีค่าเงินบาท

การส่งออกที่ลดลงในปี 39
สาเหตุหนึ่งเกิดจากเศรษฐกิจโลกไม่ดี
ทำให้ปริมาณการค้าของโลกลดลงในปีนั้น
จาก 9.5 ในปี 38 เหลือ 7.0 ในปี 39
แต่ประเทศยักษ์ใหญ่ด้านเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจยังขยายตัวดีในปี 39 เมื่อเทียบกับปี 38
ซึ่งก็ไม่น่าจะกระทบยอดส่งออกของไทยมากนัก

























กราฟแสดงมูลค่าสินค้านำเข้าและส่งออกของไทย















จะเห็นว่าถ้าคิดเป็นมูลค่าสินค้า ปี 38 กับ ปี 39
ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่
แต่การที่ยอดส่งออกไม่เพิ่มขึ้น
ก็เหมือนกับรายได้ที่ไม่เพิ่มขึ้น
แต่รายจ่ายประจำเพิ่มทุกปี
เช่น เงินเดือน เป็นต้น
ถ้าเปรียบเป็นบริษัทก็ใกล้จะเจ๊งแล้ว
เพราะรายได้ไม่เพิ่มแถมมีแนวโน้มลดลง
แต่รายจ่ายเพิ่มขึ้นทุกปีเป็นประจำ
จึงเป็นตัวเร่งให้เกิดการโจมตีค่าเงินมากขึ้น
เพราะนักวิเคราะห์และภาคส่งออกคิดว่า
เงินบาทแข็งไปเลยส่งออกไม่ได้
ถ้าปล่อยไว้แบบนี้จะทำให้ภาคส่งออกอยู่ไม่ได้
ถ้าคิดเป็นดัชนีแล้วจะเห็นว่าเริ่มลดลงเรื่อยๆ
ทั้งสินค้าเข้าและสินค้าออก
























อีกสาเหตุเกิดจากการมั่วตัวเลขส่งออกในปี 38
จนตัวเลขการส่งออกขึ้นไปสูงเกินจริง 24.9 %
พอมาปี 39 เลยทำให้ยอดส่งออกแทนที่จะไม่ติดลบ
กลับกลายมาติดลบ 1.4%


























การชะลอตัวลงในอัตราการขยายตัวของการส่งออก
68. การชะลอตัวลงในอัตราการขยายตัวของการส่งออกเริ่มปรากฏให้เห็นนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2539 เป็นต้นมา (ดูภาพที่ 9) ปรากฏการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ที่น่าเป็นห่วงเป็นพิเศษ เพราะเหตุว่าตลอดเวลาหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการขยายตัวของการส่งออกจะอยู่ในระดับสูงเกินกว่าร้อยละ 10 ถึงแม้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่อัตราที่สูงเช่นนี้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่มี วันชะลอตัวลง แต่สิ่งที่ไม่มีผู้ใดคาดถึงก็คือ การลดลงนี้จะเป็นไปอย่างเฉียบพลันแม้กระทั่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีการอธิบาย สาเหตุนี้ได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ แต่มีข้อน่าสังเกตอยู่อย่างน้อยหนึ่งประการ กล่าวคือ การชะลอตัวในด้านการส่งออกนั้นหาได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะกับประเทศไทย ไม่ แต่เป็นปัญหาที่กระทบแทบทุกประเทศในเอเชียตะวันออก
69. ในระยะเริ่มแรกที่ปัญหาการส่งออกเริ่มประจักษ์แก่ผู้บริหารของ ธปท. ได้มีการนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ (นายบัณฑิต นิจถาวร) ได้สรุปภาวะเศรษฐกิจครึ่งแรกของปี 2539 แนวโน้มครึ่งหลังของปีเดียวกัน และแนวการดำเนินนโยบาย ในการประชุมได้มีการเสนอประเด็นนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกตกต่ำในครึ่ง ปีแรก และเพื่อกระตุ้นการส่งออกในครึ่งหลังของปี โดยมีข้อเสนอสำคัญดังนี้
  • "จะต้องดูแลอัตราเงินเฟ้อของไทยให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย
  • เร่ง แก้ไข ปัญหาให้ผู้ส่งออก เช่นการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ผู้ส่งออกมีเงินหมุนเวียนเร็วขึ้นและการใช้หนังสือค้ำประกันการชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มแทนเงินสด
  • REER [Real Effective Exchange Rate หรืออัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง ดูภาพที่ 7] มีแนวโน้มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 6 จากปีก่อน ควรมีการ neutralize ชั่วคราวหรือไม่ โดยพิจารณาว่าการชะลอตัวของการส่งออกเป็นปัญหาถาวรที่เกิดจากการสูญเสียความ สามารถในการแข่งขัน และเป็นปัญหาโครงสร้าง
  • ควร ให้การสนับสนุนบริษัทการค้าระหว่างประเทศ และเร่งรัดสินเชื่อเพื่อการส่งออกผ่าน ธสน. [ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า]
  • ควร มีการทบทวนการส่งเสริมการลงทุน โดยให้เพิ่มอุตสาหกรรมส่งออกที่มีความเชื่อมโยงสูงกับอุตสาหกรรมในประเทศและ อุตสาหกรรมสนับสนุนของไทย” (บันทึกช่วยจำ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 6/2539 วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2539)
70. การนำเสนอเรื่องนี้เข้ามาในคณะกรรมการนโยบายการเงินแสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยในระยะนั้นผู้บริหารบางคนใน ธปท. เริ่มเห็นว่าปัญหาการส่งออกนั้น เป็นปัญหาที่อาจจะมีความถาวรพอสมควร และควรที่จะมีการพิจารณานโยบายสำคัญๆ และในที่สุดอาจเกี่ยวเนื่องไปถึงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะ ถ้าพิจารณาจากประเด็นที่หนึ่งและสามข้างต้นนี้
71. แต่อย่างไรก็ตามที่ประชุมกลับสรุปว่า “เนื่องจากภาพส่งออกยังมีความไม่แน่นอนสูง ควรพิจารณาการเผยแพร่ตัวเลขเศรษฐกิจเป็น range แทนการเผยแพร่เป็น point" (บันทึกช่วยจำ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 6/2539 วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2539) การสรุปเช่นนี้แสดงว่า ที่ประชุมไม่สู้เห็นด้วยกับข้อเสนอของฝ่ายวิชาการที่มีนายบัณฑิต นิจถาวรเป็นผู้อำนวยการในช่วงนั้น แต่เห็นด้วยกับการมองภาพของนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ (ซึ่งก็อยู่ในที่ประชุมวันที่ 23 กรกฎาคม แต่บันทึกช่วยจำมิได้กล่าวว่านายชัยวัฒน์มีบทบาทในการประชุมครั้งนั้นอย่าง ไร) ที่ชี้แจงถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นต่อ ศปร. ดังนี้
" ในขณะที่ตัวเลข Effective Exchange Rate ของ ธปท. ไม่ได้ชี้ว่าค่าเงินบาทแข็งขึ้นเกินความจริงมากขนาดนั้น และนอกจากนี้ทาง ธปท. ยังมีความเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับค่าเงินนั้นเป็นการชั่วคราวทั้ง นี้เนื่องจาก
  • เห็นว่าค่าเงินดอลลาร์ต่อเยนที่แข็งขึ้นนั้นมีแนวโน้มลดลง ทำให้มองว่าเป็นปัญหาชั่วคราว …
  • ช่วง นั้นเรามีปัญหาเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่การส่งออกก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเรื่อย ดังจะเห็นได้จากตัวเลขอัตราขยายตัวการส่งออก (%) ดังนี้
2539 ก.ย. -9 2540 ม.ค. 6

ต.ค. -2
ก.พ. -5

พ.ย. -5.8
มี.ค. 4

ธ.ค. -1.7
เม.ย. 5

พ.ค. 1
มิ.ย. 9
  • การ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มลดลง จากตัวเลขปี 2539 ขาดดุล พฤศจิกายน 2.1 หมื่นล้านบาท ธันวาคม 1.9 หมื่นล้านบาท มกราคม 2.1 หมื่นล้านบาท กุมภาพันธ์ 1.4 หมื่นล้านบาท มีนาคม 1.6 หมื่นล้านบาท
จาก ข้อมูลดังกล่าว ณ จุดตัดสินใจจึงเห็นว่าค่าเงินบาท overvalue เป็นการชั่วคราวเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ต่อเยนมีแนวโน้มแข็งขึ้นปัญหาด้าน การส่งออก และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็มีแนวโน้มดีขึ้น จึงคิดว่าปัญหาเป็นเรื่องชั่วคราว และต่อไปจะดีขึ้น”
(คำชี้แจงของนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ต่อ ศปร.)

72. เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 แล้ว ก็ไม่มีการกล่าวถึงประเด็นนโยบายเกี่ยวกับปัญหาการส่งออกและความสัมพันธ์ ระหว่างปัญหานี้กับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนในคณะกรรมการนโยบายการเงินอีก มีก็แต่การรายงานสถานการณ์การส่งออกในเดือนตุลาคม 2539 ว่า “การส่งออกชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดการณ์” และไม่มีการสรุปแต่อย่างใด

73. อย่างไรก็ตาม นายบัณฑิต นิจถาวร ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ที่ได้เสนอความเห็นไว้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนอาจมีปัญหาในการประชุมเดือนกรกฎาคม 2539 นั้น ต่อมาถูกย้ายไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคารในเดือนตุลาคม และมีบทบาทน้อยลงในเรื่องนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากในการดำเนินการปกป้องค่าของเงินบาทใน ตำแหน่งใหม่
----------------------------------------------------
- ตัวเลขหนี้ต่างประเทศที่มากมาย ทำลายความเชื่อมั่น
การลดความเชื่อมั่นในความสามารถของไทยที่จะชำระหนี้สินต่างประเทศ
74. ก่อนบริษัทมูดีส์ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้ระยะสั้นของไทยในวัน ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2539 นั้น บรรดานักวิเคราะห์ตลาดการเงินที่ทำงานในประเทศไทยเริ่มมีความหวาดระแวงอนาคต ของเศรษฐกิจไทยอย่างเงียบๆ แล้ว แต่การลดอันดับความน่าเชื่อถือของมูดีส์นี้ทำให้ปัญหาของไทยนั้นประจักษ์ชัด ขึ้นแก่นักลงทุนในต่างประเทศและแก่ประชาชนคนไทยมากขึ้น

75. ปัญหาที่นักลงทุนและสถาบันการเงินเหล่านี้ต้องคำนึงถึงเมื่อพิจารณาเรื่อง การให้กู้ใหม่หรือการต่อสัญญาการให้กู้นั้น สืบเนื่องมาจากข้อคิดหลายประการ อาทิเช่น
  1. ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งได้พุ่งสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่า วันหนึ่งทางการไทยอาจตัดสินใจลดค่าเงินบาทก็ได้
  2. ปัญหาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปรากฎอย่างแจ้งชัดในปี 2539 แล้วว่ากำลังประสบภาวะวิกฤตอย่างหนัก
  3. ปัญหา ในตลาดหุ้นซึ่งดัชนีราคาโน้มต่ำลงอย่างไม่หยุดยั้งนับตั้งแต่ต้นปี 2539 เป็นต้นมาและเป็นสัญญาณล่วงหน้าที่ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยกำลังโน้มต่ำลง
  4. เมื่อเศรษฐกิจเริ่มโน้มต่ำลง รายได้ของรัฐบาลก็จะเริ่มลดลงตามไปด้วย
  5. สถาบัน การเงินกำลังต้องเผชิญกับหนี้สินที่มีปัญหามากมาย อันสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่กล่าวในข้อ 2 และ 3 และบางรายอาจเอาตัวไม่รอด
76. ปัญหาเหล่านี้บั่นทอนความเชื่อมั่นที่นักลงทุนต่างประเทศมีต่อเศรษฐกิจไทย การนำเข้าเงินทุนจากต่างประเทศเริ่มลดลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2539 แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะมีการถอนทุน (ดูภาพที่ 3) การถอนทุนนั้นเริ่มเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปีถัดมา

77. สำหรับท่าทีของ ธปท. ในช่วงนี้ จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดจากคำชี้แจงของนายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าการ ในช่วงนั้น
"… ได้มีการวางแนวนโยบายที่ได้หารือกันระหว่างผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร และได้ชี้แจงต่อท่านรัฐมนตรี [รองนายกรัฐมนตรี และรมว. กระทรวงการคลัง นายอำนวย วีรวรรณ] แล้วว่า จะให้มีแนวทางดำเนินการโดยกำหนดระดับความเร่งด่วนก่อนหลังของมาตรการต่างๆ ดังนี้
  1. ดำเนินนโยบายการเงินและการคลังอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง
  2. เร่งแก้ไขปัญหาสินเชื่อ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
  3. เร่งมาตรการในการแก้ไขปัญหาและสร้างความเชื่อมั่นของระบบสถาบันการเงิน
  4. เปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน”
(คำชี้แจงของนายเริงชัย มะระกานนท์ ต่อ ศปร.)

78. การลำดับความเร่งด่วนตามที่ผู้ว่าการเริงชัยเสนอ (และดูจะเป็นการจัดลำดับที่ผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. เห็นพ้องต้องกันอย่างน้อยก็ในระยะปลายปี 2539 และต้นปี 2540) เป็นการลำดับตามตรรกะของปัญหา เรียงลำดับจากส่วนที่เป็นรากของปัญหาไปสู่ส่วนที่เป็นผล อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า กองทุนการเงินฯ ก็ได้เสนอแนวทางคล้ายกันกับที่ผู้ว่าการลำดับไว้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2539 (ดูข้อ 82)

79. อย่างไรก็ตาม การลำดับปัญหาที่กล่าวข้างต้นนั้นเป็นการลำดับปัญหาจากจุดยืนของ ธปท. เป็นหลัก มิได้พิจารณาจากจุดยืนของผู้ซื้อผู้ขายในตลาดการเงิน ผู้ซื้อขายเหล่านี้แบ่งออกได้เป็นสองพวก พวกแรกคือ ผู้ที่มีทรัพย์สินในประเทศไทย ไม่ว่าในรูปของการลงทุนหรือสินเชื่อที่ปล่อยไป บุคคลเหล่านี้ย่อมต้องการรักษามูลค่าทรัพย์สินของตนที่คิดออกมาเป็นเงินตรา ต่างประเทศ สำหรับกลุ่มนี้ อัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุด ตัวหนึ่งในการคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนของตน เพราะฉะนั้น กลุ่มนี้จะอ่อนไหวต่อข่าวการผันแปรในระดับอัตราแลกเปลี่ยนมาก โดยเฉพาะผู้ที่สามารถถอนทุนกลับไปได้โดยเร็ว อาทิเช่น ผู้ที่ปล่อยสินเชื่อระยะสั้น ส่วนพวกที่สองคือนักเก็งกำไรเงินตราต่างประเทศ ถ้ามองจากจุดยืนของกลุ่มนี้ ที่ไม่มีความผูกพันกับเศรษฐกิจไทย ตัวแปรที่เปราะบางที่สุดที่บุคคลเหล่านี้สามารถทำกำไรได้อย่างเร็วที่สุดก็ คืออัตราแลกเปลี่ยน จากจุดยืนของกลุ่มนี้ การเก็งกำไรในตลาดเงินตราระหว่างประเทศนั้น มีข้อได้เปรียบกว่าการเก็งกำไรในด้านอื่นๆ มาก ทั้งนี้เป็นเพราะนโยบายตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท. ลดความเสี่ยงในทางลบในระยะสั้น จึงเป็นการแบ่งเบาต้นทุนให้แก่ผู้เก็งกำไร

80. ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนสามารถเป็นเป้าสำหรับการโจมตีโดยนักเก็งกำไรได้อย่างง่ายดาย (ดูข้อ 132-185) แต่มาตรการต่างๆ ที่ลำดับไว้ว่า ควรจะได้รับการเอาใจใส่จากทางการก่อน ล้วนแต่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซับซ้อน และเป็นเรื่องที่จะกินเวลาค่อนข้างมากในการแก้ไขเยียวยา โดยเฉพาะมาตรการเกี่ยวกับสถาบันการเงิน ซึ่งนับวันก็กลายเป็นเงื่อนปมที่แก้ไขยากขึ้นเรื่อยๆ (และยังไม่สิ้นสุดลงตราบเท่าทุกวันนี้) (ดูบทที่ 5) ซ้ำร้าย คนในวงการตลาดเงินตราเริ่มมีความรู้สึกว่าวิธีการที่ ธปท. กำลังจะใช้ในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน ดูจะเป็นวิธีการที่จะใช้เงินของรัฐบาลมากขึ้นทุกที ยิ่งทำให้หมู่นักลงทุนและนักเก็งกำไรต่างประเทศขาดความมั่นใจมากขึ้น

81. จริง อยู่ ในสภาพที่มีการขาดความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงเหมือนที่เกิดในปี 2540 การที่ ธปท. ไม่กล้าปรับอัตราแลกเปลี่ยนไม่ควรจะเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเท่าใดนัก เพราะการดำเนินมาตรการที่รุนแรงอย่างเช่นการปรับอัตราหรือระบบอัตราแลก เปลี่ยนในสภาพเช่นนั้น อาจกระตุ้นให้มีการโจมตีหนักขึ้นก็ได้ แม้กระทั่งผู้ที่สนับสนุนให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความยืดหยุ่นมากขึ้นตั้งแต่ ต้นอย่างเช่น ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุลก็ยอมรับว่า
" สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวนั้น แม้ว่าจะทำการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนในเดือนมีนาคม ซึ่งมีทุนสำรองอยู่ในระดับ 30 billion US$ คิดว่าประเทศไทยยังมีปัญหาใกล้เคียงกับปัจจุบัน แต่ประชาชนคงประสบปัญหาน้อยกว่า และมีความสามารถผ่อนหนักเป็นเบามากกว่า” (คำชี้แจงของ ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล ต่อ ศปร.)
----------------------------------------------------------

- สุเทพอภิปรายในสภา จนประชาชนแตกตื่น

ผู้จัดการรายวัน21 มกราคม 2548
วิบากกรรม"เสี่ยตั้ว"เพิ่งเริ่ม

20 ม.ค. 48 เป็นวันที่ต้องบันทึกคดีประวัติศาสตร์ในแวดวงสถาบันการเงินไทย เมื่อ "เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์" อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ (บีบีซี) ผู้ต้องหาคดียักยอกทรัพย์บีบีซี ถูกศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาจำคุก 30 ปี และปรับ 3,270 ล้านบาท เป็นโทษเฉพาะ 3 คดี ใน 4 คดี ที่ศาลพิพากษา ส่วนอีก 1 คดี ศาลฯยกฟ้องเนื่องจากขาดอายุความ

ย้อนหลังกลับไปปี 2529 เกริกเกียรติ ซึ่งเป็นลูกหม้อแบงก์ชาติ เข้าไปรับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บีบีซี แบงก์ที่มารดาของเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก่อนจะขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ใน 2 ปีต่อมา และราเกซ สักเสนา ซึ่งสนิทสนมกับนายเกริกเกียรติ (โดยการแนะนำของ "เอกชัย อธิคมนันทะ" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ 1 ในผู้ต้องหาคดียักยอกทรัพย์บีบีซี) ก็เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในปี 2534 ด้วยความเป็นคนหนุ่มและคนรุ่นใหม่ของนายเกริกเกียรติ ที่ว่ากันว่าเชี่ยวชาญธุรกรรมทางการเงินสมัยใหม่ในยุคนั้น จับคู่กับพ่อมดทางการเงินอย่างนายราเกซ ทำให้การบริหารงานของทั้งคู่ยากที่คนภายนอกจะตามทัน ยกเว้นผู้บริหารแบงก์ชาติ

ปี 2538 ตัวเลขหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปูดออกมาอย่างน่าตกใจคือเพิ่มจาก 1.6 หมื่นล้านบาท ในปี 2536 เป็น 7.8 หมื่นล้านบาทในปี 2538 แต่นั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่สร้างปัญหาให้บีบีซี เพราะเชื้อไฟสำคัญที่มิอาจมองข้ามคือ "การเมือง"

อดีตพนักงานของบีบีซีซึ่งใกล้ชิดกับเกริกเกียรติ บอกว่าบีบีซีจะไม่ล่มสลายหากเกริกเกียรติไม่ดึงนักการเมืองเข้ามาลึกเกิน เขาเชื่อว่านักการเมืองดึงบีบีซีเข้าไปเพื่อแย่งชิงอำนาจกันโดยคาดไม่ถึงว่า จะเป็นต้นเหตุนำไปสู่หายนะทางเศรษฐกิจในปี 2540

"ตอนนั้นฐานะของบีบีซีดีกว่าหลายแบงก์ที่อยู่รอดมาถึงปัจจุบัน แต่คุณตั้ว (ชื่อเล่นเกริกเกียรติ) ใจร้อน รีบคบนักการเมืองที่บางคนยังเป็นใหญ่เป็นโตในตอนนี้ หรือกลุ่ม 16 เป็นส่วนหนึ่ง แต่จริงแล้วทุกพรรคเข้ามารุมทึ้ง ยิ่งพอคุณสุเทพ (เทือกสุบรรณ) นำปัญหาไปอภิปรายในสภา ยิ่งทำให้ปัญหาบานปลาย คนแห่ถอนเงินเพราะไม่เชื่อมั่น ในที่สุดแบงก์ชาติต้องเข้ามาแก้ปัญหาแต่กลับหลงทางทำให้บีบีซีต้องปิดตัวลง เป็นแบงก์แรกของประเทศ"

ขณะที่ตามรายงานของแบงก์ชาติพบว่ามีการปล่อย กู้อย่างลับๆ ให้ผู้บริหาร 2 รายใหญ่ของบีบีซีเองคือนายเกริกเกียรติประมาณ 3.6 หมื่นล้าน และนายราเกซ 1.8 หมื่นล้าน เป็นการตั้งบริษัทผีเป็นหลายสิบแห่งเพื่อขอสินเชื่อ ทำให้เอ็นพีแอลของธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนแบงก์ชาติต้องสั่งเพิ่มทุนพร้อมให้กองทุนฟื้นฟูร่วมเพิ่มทุน 4 ครั้ง เป็นจำนวนเงินรวม 3.9 หมื่นล้าน โดยไม่มีการลดทุนก่อน แต่ในที่สุดมิอาจหยุดยั้งปัญหาที่ยากเกินเยียวยานำไป สู่การเข้ายึดและล่มสลายในปี 2539 และกระทบเป็นลูกโซ่ต่อความเชื่อมั่นระบบสถาบันการเงิน จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540

ที่น่าสนใจคือผลการศึกษาของคณะกรรมการ ศึกษาและเสนอมาตรการเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริการจัดการระบบการเงินของประเทศเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤต ทางเศรษฐกิจ (ศปร.3) พบว่าการเข้าไปช่วยเหลือบีบีซี ทั้งเพิ่มทุนช่วยเสริมสภาพคล่องและรับซื้อหนี้เสียของกองทุนฟื้ฟูได้ทำให้ก องทุนฟื้นฟูเสียหายถึง 1.18 แสนล้าน

ด้านความคืบหน้าด้านคดีความหลัง แบงก์ชาติเข้ายึดบีบีซี ก็ได้ทำการฟ้องร้องนายเกริกเกียรติและพวกมาตั้งแต่ปลายปี 2539 เป็นต้นมารวมแล้ว 27 คดี เมื่อวานนี้ (20 ม.ค.) ศาลตัดสิน 4 คดี ยกฟ้อง 1 คดี อีก 3 คดี ศาลพิพากษาจำคุกเกริกเกียรติรวม 30 ปี และปรับเป็นเงิน 3.2 พันล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ศาลวานนี้ว่า เกริกเกียรติซึ่งผอมซูบซีดเนื่องจากเข้ารับการผ่าตัดเพื่อซ่อมลิ้นหัวใจ เข้ารับฟังการพิพากษาอย่างกระสับกระส่ายตั้งแต่เช้า ก่อนจะเดินทางกลับหลังจากการประกันตัวออกไปในตอนเย็นวันเดียวกัน

ผลที่ศาลตัดสินออกมาบ่งบอกว่าวิบากกรรมครั้งนี้เพิ่งเริ่มต้น การยื้อกระบวนการยุติธรรมมานานเกือบ 8 ปี คงไม่จบลงง่ายๆ
--------------------------------------------------------

- ประชาชนแห่ถอนเงิน เร่งให้แบงค์ไฟแนนท์ล้มเร็วขึ้น

287. ในวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2539 ได้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งพาดพิงถึงธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ มีผลให้เกิดการแตกตื่น ถอนเงินจากธนาคาร จนต้องมีการควบคุมธนาคาร โดยได้ตั้งคณะกรรมการควบคุมในวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 และในวันที่ 6 มิถุนายน 2539 ได้ปลด นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ ในเดือนเดียวกันนั้นเอง ก็ได้มีการกล่าวโทษนายเกริกเกียรติ ในที่สุดมีการกล่าวโทษนายเกริกเกียรติ ถึง 20 คดีด้วยกัน

----------------------------------------------------------

- ปิดสถาบันการเงิน เริ่มจาก 1 เพิ่มอีก 16 และ 42

เรื่องเดิม

281. ในช่วงปี 2524-2525 เป็นระยะเวลาที่ภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำเพราะราคาน้ำมัน ธนาคารหลายแห่ง ได้แก่ ธนาคารเอเชียทรัสต์ ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารมหานคร รวมทั้งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อีกเป็นจำนวนมาก ประสบปัญหาอย่างรุนแรง จนต้องมีการช่วยเหลือจากทางการ สถาบันการเงินเหล่านี้ ต่างได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจากทางการตามโครงการ 4 เมษายน 2527 ต่อมาทางการได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูธนาคารเอเชียและธนาคารกรุงไทยอีกด้วย
282. ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด ได้สมัครใจเลือกแก้ปัญหาด้วยตนเอง ในเดือนกันยายน 2535 นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ ได้เข้ารับตำแหน่ง เป็นกรรมการผู้จัดการและได้เลือกพนักงาน ธปท. 2 คน เข้าไปรับตำแหน่งบริหาร และแต่งตั้งนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการของธนาคาร ด้วยความเห็นชอบของ ธปท.
283. ปัญหาของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ เห็นได้ชัดจากผลการตรวจสอบ ณ วันที่ 30 เมษายน 2534 รายงานเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 ว่าธนาคารมีสินทรัพย์จัดชั้นรวม 18.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26.73 ของสินทรัพย์รวม ซึ่งจัดว่าเป็นปัญหามากอยู่ เพราะอัตราสินทรัพย์จัดชั้นเฉลี่ย ของทั้งระบบธนาคารเท่ากับ 7.41 เท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่ง ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การมีสินทรัพย์มีปัญหาสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งระบบธนาคารถึง 3.6 เท่า ธปท. เห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญและเร่งด่วน อาจมีผลเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชนได้ ตามปกติแล้ว ธปท. จะสั่งการเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากการสั่งการ โดยใช้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ 2505 ซึ่งให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งธนาคารพาณิชย์ให้ตัดสินทรัพย์ที่สงสัย ว่าจะไม่มีราคา หรือเรียกคืน ไม่ได้ออกจากบัญชี หรือกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ดังกล่าว (มาตรา 15 ทวิ และมาตรา 22 วรรคสอง) และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่ง ให้ ธนาคารพาณิชย์สามารถเพิ่มทุนหรือลดทุนได้ (มาตรา 24 ทวิ วรรคหนึ่ง) ซึ่งเป็นมาตรการที่รุนแรง แต่เนื่องจากเห็นว่ากรณีของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ เป็นเรื่องสำคัญมาก จึงได้สั่งการตามมาตรา 24 ทวิ วรรคหนึ่งดังที่กล่าวแล้วทันที โดยให้เพิ่มทุนทันที 800 ล้านบาท ในปี 2535 และมีแผนเพิ่มทุนที่แน่นอน สำหรับปี 2535-2537
284. ในการตรวจสอบ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2536 รายงานเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 สินทรัพย์จัดชั้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 38.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 39.57 ของสินทรัพย์รวม ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการให้สินเชื่อรายใหญ่จำนวนเงินสูงโดยไม่ระมัด ระวังมีข้อน่าสังเกตเพิ่มเติม ณ จุดนี้ก็คือ สินทรัพย์จัดชั้น ได้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว (ร้อยละ 112) แสดงว่า ธปท. ไม่สามารถควบคุมให้การดำเนินงานของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการได้แล้ว จากคำชี้แจงของอดีตผู้ว่าการ ธปท. นายวิจิตร สุพินิจ ต่อ ศปร. ว่า
“.... การแก้ไขปัญหาของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การไม่ได้ผลเท่าที่ควร..... ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นว่าทางการจำเป็นต้องเข้าถือหุ้นควบคุมการบริหารภายในโดยตรง เพื่อให้ได้ผลโดยเร็ว”
ธปท. จึงออกคำสั่งให้เป็นไปตามมาตรการตรวจสอบอีกวาระหนึ่ง
285. ในการตรวจสอบ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2537 รายงานเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2538 ว่าสินทรัพย์จัดชั้นได้เพิ่มขึ้นอีก และปรากฏว่าได้มีการให้สินเชื่อเพื่อ ครอบงำกิจการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยธนาคารไม่ได้พิจารณาด้วยความรอบคอบรัดกุม การประเมินหลักทรัพย์เป็นไปในแนวสูงเกินไป ตัวอย่างเช่น การให้กู้ยืมเพื่อครอบงำกิจการที่นายราเกซ สักเสนา และผู้บริหารบางคนมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก การให้เบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่มีสัญญาและ หลักประกัน โดยมีการอนุมัติเกินอำนาจ เป็นต้น ธปท. เห็นว่าเป็นการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสม จึงได้สั่งการในเรื่องดังกล่าว และได้สั่งการมิให้นายราเกซ สักเสนา ยุ่งเกี่ยวกับกิจการธนาคาร อีกทั้งได้สั่งให้เพิ่มทุน 3 พันล้านบาทภายในเดือนมิถุนายน 2538 และอีก 3.7 พันล้านบาทในปี 2539
286. การเพิ่มทุนในปี 2538 เป็นไปอย่างเชื่องช้ามาก กลุ่มตันติพิพัฒน์พงศ์ได้เข้าซื้อหุ้นของธนาคาร คิดเป็นร้อยละ 14.69 ของทุนชำระแล้ว และในตอนปลายปี 2538 กองทุนฟื้นฟูฯ กับธนาคารออมสินได้เข้าไปซื้อหุ้นของธนาคาร คิดเป็นร้อยละ 6.25 และร้อยละ 3.13 ของทุนชำระแล้วตามลำดับ ต่อมาในการเพิ่มทุนเมื่อ มีนาคม 2539 กองทุนฟื้นฟูฯ และธนาคารออมสินได้ซื้อหุ้นเพิ่มรวมทั้งสิ้นเท่ากับร้อยละ 34.96 และร้อยละ 2.39 ของทุนชำระแล้ว ตามลำดับ
287. ในวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2539 ได้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งพาดพิงถึงธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ มีผลให้เกิดการแตกตื่น ถอนเงินจากธนาคาร จนต้องมีการควบคุมธนาคาร โดยได้ตั้งคณะกรรมการควบคุมในวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 และในวันที่ 6 มิถุนายน 2539 ได้ปลด นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ ในเดือนเดียวกันนั้นเอง ก็ได้มีการกล่าวโทษนายเกริกเกียรติ ในที่สุดมีการกล่าวโทษนายเกริกเกียรติ ถึง 20 คดีด้วยกัน

มาตรการของ ธปท. ต่อธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด

288. 26 สิงหาคม 2537 ธปท. โดยนายจรุง หนูขวัญ (ผู้ช่วยผู้ว่าการในขณะนั้น) ได้เรียกคณะกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การเข้าพบ เนื่องจากในการตรวจสอบเมื่อ 31 มีนาคม 2537 พบว่า มีหนี้ด้อยคุณภาพสูงถึง 20 พันล้านบาท จากการประชุมสรุปว่า ทางธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ รับที่จะเพิ่มทุนในไตรมาสสุดท้ายของปี 2537 เป็นจำนวนเงิน 3 พันล้านบาท โดยไม่มีการกล่าวถึงการลดทุนแต่อย่างใด และทางธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ตกลงที่จะขายหุ้นให้กองทุนไม่น้อยกว่า 50 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า 750 ล้านบาท (การเจรจานี้เกิดขึ้นหลังจากการตรวจสอบ แต่เกิดขึ้นก่อนจะมีการออกรายงาน การตรวจสอบอย่างเป็นทางการ)
289. 30 มิถุนายน 2538 นางเกลียวทอง เหตระกูล (ผจก.กองทุน) มีหนังสือถึงนายจรุง หนูขวัญ (ผู้ช่วยผู้ว่าการ) เสนอให้อนุมัติการตอบรับการซื้อหุ้น เพิ่มทุนจากธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำนวน 50 ล้านหุ้น หุ้นละ 15 บาท มูลค่า 750 ล้านบาท และชำระค่าจองในวันที่ 5 กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็น วันสุดท้ายตามที่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การกำหนด แล้วจึงค่อยนำเสนอภายหลังต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดการกองทุน ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ในการนี้ นายจรุง หนูขวัญ และนายวิจิตร สุพินิจ (ผู้ว่าการ) มีคำสั่งอนุมัติในวันที่ 30 มิถุนายน 2538 และคณะกรรมการจัดการกองทุนได้ให้สัตยาบัน ในการประชุมวันที่ 18 กรกฎาคม 2538
290. 15 มีนาคม 2539 ธปท. โดยนายวิจิตร สุพินิจ (ผู้ว่าการ) มีคำสั่งให้ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ เพิ่มทุนอีก 500 ล้านหุ้น และให้กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าซื้อทั้ง 500 ล้านหุ้น เป็นเงิน 5.4 พันล้านบาท โดยส่วนหนึ่งซื้อในราคาหุ้นละ 12 บาท โดยให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อคืน และอีกส่วนหนึ่งในราคาหุ้นละ 10 บาท สาเหตุการเพิ่มทุนครั้งนี้ เนื่องมาจากการเพิ่มทุนครั้งก่อน ทางธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ แจ้งว่าได้เงินทั้งสิ้น 5 พันล้านบาท แต่ ธปท. ตรวจสอบ ภายหลังพบว่า “ไม่ได้รับเงินชำระค่าหุ้นเป็นตัวเงินแท้จริง จำนวน 1.97 พันล้านบาท” จึงไม่ได้ตามเป้าหมายที่ ธปท. กำหนดไว้ 3 พันล้านบาท และฐานะของ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การก็เสื่อมไปอีกมาก ธปท. จึงเห็นว่าต้องมีการเพิ่มทุนอีกครั้ง
291. 17 พฤษภาคม 2539 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) ได้สั่งควบคุมการดำเนินงานของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ และตั้งคณะกรรมการควบคุม โดยมีนายพชร อิสรเสนา ณ อยุธยา เป็นประธานตามสำเนาคำชี้แจงของนายเริงชัย มะระกานนท์ ที่ยื่นต่อผู้อำนวยการสำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดินเมื่อกุมภาพันธ์ 2541 แจ้งว่าธนาคารได้ยื่นแผนฟื้นฟูต่อรัฐมนตรีฯ หลังจากนั้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ธนาคารได้พบรัฐมนตรีฯ เพื่อหารือ เรื่องแผนขอความเห็นชอบให้เพิ่มทุน ต่อมาเมื่อนายเริงชัยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการ ก็ได้ดำเนินการต่อจากที่รัฐมนตรีฯ ได้ให้ความเห็นชอบไว้
292. 5 สิงหาคม 2539 นายเริงชัย มะระกานนท์ มีคำสั่งให้ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ เพิ่มทุนอีก 22.5 พันล้านบาท โดยให้กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าซื้อทั้งหมด ด้วยเหตุผลว่าเพื่อความสะดวกรวดเร็ว และเพื่อจะกำหนดเงื่อนไขการจัดสรรหุ้นให้ผู้สนใจอื่นๆ ลงทุนในภายหลัง
293. นายวิจิตร สุพินิจ ได้ชี้แจงต่อ ศปร. ว่า การดำเนินการกับธนาคารโดยไม่ได้สั่งให้ลดทุน เป็นเพราะเห็นว่าธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การเป็นเพียง ธนาคารเดียวที่เกิดปัญหา อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจก็ยังดีอยู่ และธนาคารแห่งนี้ก็เป็นธนาคารที่อยู่ในความสนใจของสังคมมาก การสั่งให้ลดทุนอาจทำให้ ตลาดรู้ถึงสภาพปัญหาและตื่นตระหนก อันอาจมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังสถาบันการเงินอื่นได้ ดังนั้นจึงเลือกที่จะใช้วิธีนุ่มนวล ไม่ต้องการให้ตระหนกตกใจ ว่าจะมีธนาคารล้ม และพยายามประคับประคองด้วยการแก้ไขปัญหาอย่างเงียบๆ เรียกหนี้คืน และจัดการกับผู้บริหารเดิมให้เสร็จสิ้น ถ้าหากไม่เกิดภาวะวิกฤติ ทางเศรษฐกิจเช่นในปัจจุบัน การแก้ไขปัญหาธนาคารพาณิชย์เพียงแห่งเดียวก็อาจเป็นไปได้ด้วยดีและไม่กระทบ กับสถาบันการเงินอื่น อีกประการหนึ่ง หนี้ส่วนใหญ่ที่ต่อมากลายเป็นหนี้มีปัญหานั้นเป็นหนี้ที่เกิดจากการครอบงำ กิจการ หากตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังรุ่งเรืองอยู่ หนี้ส่วนนี้อาจจะไม่มีปัญหา
294. ในต้นปี 2540 เมื่อได้จำนวนตัวเลขหนี้ที่มีปัญหาแล้ว กองทุนฟื้นฟูฯ รับหนี้ที่มีปัญหาจำนวน 60 พันล้านบาทไว้และดำเนินการแก้ไขปัญหาใน ธนาคารนี้ด้วยการจ้างบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเข้าไปบริหาร ธนาคาร และให้สิทธิในการซื้อหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นช่วงๆ ไป ด้วยเงื่อนไข ด้านราคาตามที่ตกลงกันล่วงหน้าโดยผู้ที่เข้าไปบริหารจะทำการตรวจสอบและจัด ชั้นหนี้อีกครั้งหนึ่ง และกองทุนฟื้นฟูฯ จะรับหนี้เสียออกมาอีกจำนวนหนึ่ง หากมีการตรวจพบ
295. วิธีการที่กองทุนฟื้นฟูฯ และ ธปท. ดำเนินการแก้ไขปัญหาของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ก่อให้เกิดผลทางด้านจิตวิทยาต่อทั้งประชาชนและ เจ้าหน้าที่ของรัฐหลายประการ
296. ประการแรกก็คือการเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนโดยไม่มีการลดทุนก่อนทำให้ผู้ถือ หุ้นเดิมไม่ได้รับความเสียหายเลย และไม่ได้มีการปรับปรุงผู้บริหารอย่าง เห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องที่ ธปท. ถูกวิจารณ์มากว่าไม่ได้ดำเนินการอย่างเข้มงวดเท่าที่ควร ก่อให้เกิดความสงสัยในความเป็นธรรมของผู้บริหารธนาคารกลาง
297. ประการต่อมา การเพิ่มทุนหลายระลอกและการตรวจสอบพบหนี้เสียเพิ่มเติมดังปรากฏเป็นข่าวใน หน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้ง ทำให้คนทั่วไป เกิดความไม่มั่นใจในระบบการตรวจสอบ และวิธีการประเมินความเสียหายในสถาบันการเงินของ ธปท. เมื่อประกอบกับปัญหาที่กำลังก่อตัวขึ้นในบริษัทเงินทุน ต่างๆ จึงเป็นไปได้ว่า ความไม่มั่นใจดังกล่าวทำให้น้ำหนักในคำแถลงของ ธปท. ในระยะนี้ไม่ได้ผลด้านจิตวิทยาเท่าที่ควร โดยเฉพาะเมื่อคำแถลงไม่ตรงกับ การคาดคะเนของผู้รับฟัง เรื่องจึงไม่ยุติลงได้ง่าย กลายเป็นวิกฤตในด้านความเชื่อมั่นที่สาธารณชนมีต่อ ธปท.
298. ประการสุดท้าย ภาระด้านการเงินที่เกิดขึ้นกับกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเรื่องที่ทุกคนเริ่มจับตามอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับเป็นครั้งแรกที่กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปช่วยกิจการหนึ่งแล้วไม่สามารถทำให้กิจการนั้นพ้นภาระไปได้ ประกอบกับเมื่อธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การประกาศผลการดำเนินงานว่าขาดทุน ความไม่มั่นใจในการสนับสนุนของกองทุนฟื้นฟูฯ หรือทางการที่มีต่อธนาคารที่ตนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ก็ยิ่งมีมากขึ้น

ความไม่โปร่งใสของมาตรการช่วยเหลือธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ

299. ศปร. พิจารณาเห็นว่า มาตรการแก้ไขปัญหาธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การของ ธปท. ได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวาง สมควรได้รับการพิจารณาใน รายงานนี้ โดยเฉพาะในประเด็นความโปร่งใสของมาตรการและการไม่ลดทุนของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การก่อนการเข้าไปช่วยเหลือเพิ่มทุนของธนาคาร หลักการของการลดทุนก่อนการเพิ่มทุนก็เพื่อให้ผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นเจ้าของ กิจการต้องรับผิดชอบต่อผลการดำเนินการและความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการ บริหารที่ผิดพลาด แต่ถ้า ธปท.เข้าไปสั่งการให้เพิ่มทุน ชักชวนให้บุคคลที่สามเข้าร่วมซื้อหุ้นเพิ่มทุน ชักชวนให้ธนาคารออมสินของรัฐบาลเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน และนำเงินกองทุนฟื้นฟูฯ ไปซื้อหุ้นด้วยโดยมิได้ลดทุนก่อน ก็หมายความว่าผู้ถือหุ้นเดิมมิต้องรับผิดชอบแต่อย่างใดต่อความผิดพลาดที่ เกิดจาก การดำเนินงานในอดีตเลย
300. นายวิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายการช่วยเหลือธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ได้ให้เหตุผลที่มิได้ลดทุนก่อนการเพิ่มทุน ของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การต่อ ศปร. ดังนี้
  1. การลดทุนจะทำให้ประชาชนและเจ้าหนี้ต่างประเทศเห็นว่าธนาคารนี้มีปัญหาร้ายแรง จะมีผลกระทบกับสถาบันการเงินอื่น
  2. ทางการได้ชวนกลุ่มตันติพิพัฒน์พงศ์ เข้ามาร่วมถือหุ้นใหญ่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2538 การลดทุนจะมีปัญหากับกลุ่มนี้
  3. การ ลดทุนจะสร้างปัญหากับผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จนอาจมีการฟ้องร้อง ซึ่งสถาบันการเงิน ที่ถูกลดทุนในอดีตไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
  4. เมื่อกองทุนฟื้นฟูฯ ซื้อหุ้นเพิ่มทุนในธนาคารกรุงไทย และธนาคารเอเชีย ก็มิได้ลดทุนก่อน และ
  5. การ ลดทุนจะไม่ช่วยแก้ปัญหาการเงินของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การมากนัก เพราะราคา หลักทรัพย์ในตลาดอยู่เกิน 10 บาทไม่มากนัก และไม่สามารถลดลงต่ำกว่า 10 บาทตามระเบียบ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และไม่ต่ำกว่า 5 บาทตามกฎหมายมหาชน อีกทั้งนายวิจิตรอ้างว่าการซื้อหุ้น เพิ่มทุนในเดือนกรกฎาคม 2538 และมีนาคม 2539 ได้นำความหารือกับรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังในขณะนั้นด้วยแล้ว
301. ศปร. สนใจทางเลือกของ ธปท. ในการตัดสินใจไม่ลดทุนก่อนการเพิ่มทุนว่ามีลู่ทางอื่นประการใดบ้าง นายวิจิตรได้ชี้แจงต่อ ศปร. ว่าการลดทุน จะทำให้ประชาชนและเจ้าหนี้ต่างประเทศเห็นว่าธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ มีปัญหาร้ายแรง จะมีผลกระทบกระเทือนสถาบันการเงินอื่นดังกล่าวแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่า ธปท. เห็นว่าปัญหาของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การเป็นเรื่องร้ายแรงตามข้อเท็จจริง จึงได้ใช้การสั่งการ ตามมาตรา 24 ทวิ แทนที่จะใช้มาตรา 15 และ 22 ตามลำดับก่อน จึงเห็นได้ชัดว่า ธปท. พยายามปิดบังข้อเท็จจริงเรื่องฐานะของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การจากประชาชน ผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ ธปท. อาจเลือกแนวทางเปิดเผยว่าธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การมีปัญหา เข้าแก้ไขโดยการสั่งลดทุนเพิ่มทุนโดยใช้เงินของเอกชนหรือ เงินของกองทุนฟื้นฟูฯ และเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเสีย ซึ่งสามารถกระทำได้โดยใช้อำนาจตามมาตรา 24 ทวิ และมาตรา 24 ตรีของพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ 2505 และจากการชี้แจงต่อ ศปร. ของอดีตผู้ว่าการวิจิตรว่า “ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การเป็นธนาคารเดียวที่มีปัญหา อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจก็ยังดีอยู่” การเข้าแก้ไขปัญหาของธนาคารดังกล่าวอย่างเด็ดขาดตามแนวที่กล่าว น่าจะเป็นการแก้ปัญหาครั้งเดียวให้เสร็จสิ้นไป ปัญหาของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ อยู่ที่การบริหารและฐานะการเงิน การแก้ไขต้องกระทำทั้งสองกรณีพร้อมกัน ศปร. เห็นว่า ธปท. น่าจะยอมรับความร้ายแรงของสถานการณ์ของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การตั้งแต่ต้น และเข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างเด็ดขาด ลดทุนเพิ่มทุน เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ประชาชนและเจ้าหนี้จะได้ทราบข้อเท็จจริง แต่เป็นเรื่องที่ได้ แก้ปัญหาไปแล้ว ข้อที่น่าสังเกตคือ จุดลดทุนเพิ่มทุน และเปลี่ยนผู้บริหารนั้น มีหลายครั้งที่อาจกระทำได้ เช่น ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 เมื่อปรากฏว่า ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การมีสินทรัพย์จัดชั้นไว้ร้อยละ 26.73 ของสินทรัพย์รวม หรือหากไม่กระทำในครั้งนี้ก็สามารถลดทุนเพิ่มทุน เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ได้อีกในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 เมื่อปรากฏว่าสินทรัพย์จัดชั้นได้เพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว แสดงว่ามาตรการในปี 2535 ไม่ได้ผลแต่ประการใด การลดทุนเพิ่มทุน เปลี่ยนผู้บริหาร ณ เวลาดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มตันติพิพัฒน์พงศ์ตามข้อ 2 ข้างต้น หรือเงินของทางราชการเลยเพราะกลุ่มตันติพิพัฒน์พงศ์และ ทางราชการเข้ามามีส่วนร่วมในปี 2538
302. การลดทุนซึ่งได้กล่าวไปข้างต้นว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนโดย ทั่วไปเป็นอย่างมาก สมควรจะได้มีการพิจารณาในรายละเอียด ให้ชัดเจน ในหลักการ บริษัทจำกัด ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ดำเนินกิจการประเภทอื่น หากมีการเสียหายประสบผลขาดทุนในอดีต ก็จะมีผลขาดทุนสะสมจำนวนหนึ่ง จะมากน้อยก็เป็นไปตามสภาพการขาดทุนว่ามากน้อยเพียงใด หากจะล้างผลการขาดทุนในอดีตก็สามารถดำเนินการ ลดทุนลง การลดทุนของบริษัทจำกัดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1224 กำหนดไว้ว่า “บริษัทจำกัดจะลดทุนของบริษัทลงด้วยการลดมูลค่า แต่ละหุ้นๆ ให้ต่ำลงหรือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลง โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้นก็ได้”
303. การลดทุนล้างผลขาดทุนในอดีตมีผลดีสองประการหลักคือ ประการแรกเป็นการเปิดโอกาสให้เริ่มต้นใหม่ หลังจากได้ดำเนินการมีผลขาดทุนมาในอดีต หากจากจุดเริ่มต้นใหม่นี้มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลก็จะมีผลกำไรและมี การปันผลกำไรได้ต่อไปด้วย อีกประการหนึ่ง ในกรณีที่มีการชักชวนผู้ลงทุนใหม่ เข้ามาร่วมกิจการ ผู้มาใหม่มักจะไม่ต้องการเข้ารับภาระผลการขาดทุนในอดีตที่มิได้มีความเกี่ยว ข้องด้วย ก็จะต้องการให้มีการลดทุนล้างผลขาดทุนสะสม เสียก่อนที่จะเพิ่มทุน แล้วผู้ลงทุนใหม่เข้ามาลงทุน การลดทุนล้างผลการดำเนินการขาดทุนในอดีตแล้วเพิ่มทุน นอกจากจะมีผลดีในด้านการปรับปรุง การเงินของบริษัทแล้ว ยังเป็นการให้ผู้ถือหุ้นเดิมที่ดำเนินการขาดทุนมาในอดีตรับผิดชอบการขาดทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยุติธรรม สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง
304. การที่เพิ่มทุนเพื่อช่วยเหลือธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ โดยมิได้มีการลดทุนก่อนย่อมเป็นเรื่องที่ผู้ลงทุนใหม่ไม่ว่าเป็นเอกชน ธนาคารออมสิน หรือกองทุนฟื้นฟูฯ ต้องเข้าร่วมรับผลการขาดทุนจากอดีตของธนาคารด้วย ผู้ซึ่งตัดสินใจในเชิงนโยบายให้เพิ่มทุนและมีการเข้าร่วมทุนโดยไม่มีการลด ทุนก่อน น่าจะต้องมีเหตุผลที่ดีในการดำเนินการดังกล่าว
305. ผู้ว่าการ ธปท. ในขณะนั้นคือ นายวิจิตร สุพินิจ ได้ชี้แจงเหตุผลดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น มา ณ จุดนี้ก็คงต้องพิจารณาเพิ่มเติมจากที่ได้กระทำ ไปแล้วว่า เหตุผลที่แสดงข้างต้นน่าเชื่อถือหรือไม่เพียงใด
306. การอ้างว่าเมื่อกองทุนฟื้นฟูฯ ซื้อหุ้นเพิ่มทุนธนาคารกรุงไทย จำกัด ในอดีตก็มิได้ลดทุนก่อนการเพิ่มทุน แต่คงต้องไม่ลืมว่า ธนาคารกรุงไทย จำกัด เป็นรัฐวิสาหกิจที่ทางราชการถือหุ้นทั้งสิ้น ความรับผิดชอบของทางราชการย่อมต้องมีอย่างต่อเนื่อง การลดทุนก่อนเพิ่มทุนจึงไม่มีความจำเป็นเหมือนในกรณี ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ซึ่งเป็นกิจการของเอกชน การอ้างว่าการเพิ่มทุนของธนาคารเอเชีย จำกัด ก็มิได้ลดทุนก่อนการเพิ่มทุนโดยกองทุนฟื้นฟูฯ แต่คงจะต้องกล่าวว่า กรณีของธนาคารเอเชียเป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระและต่างปัญหากันกับธนาคาร กรุงเทพฯ พาณิชย์การ จะอ้างเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติ กับธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ย่อมไม่เหมาะสม การแก้ไขสถาบันการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องพิจารณาแต่ละปัญหาต่างหากจากมาตรการ ที่ได้กระทำไปแล้ว จึงจะเกิดความเหมาะสมได้
307. การอ้างว่าการลดทุนของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ก่อนการเพิ่มทุนไม่ช่วยแก้ไขปัญหาทางการเงินของธนาคารมากนักนั้น สมควรพิจารณา เหตุผลอย่างละเอียดว่า การที่มูลค่าหุ้นที่ตราไว้สำหรับหุ้นธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การเท่ากับ 10 บาท และราคาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในขณะนั้นสูงกว่า 10 บาทเล็กน้อย ย่อมทำให้ลดทุนโดยลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ได้เป็นเงินจำนวนน้อยจริง และการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ต่ำกว่า 10 บาทเป็นการผิดกฎของ ตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ก็มิได้หมายความว่าทำไม่ได้ การกระทำผิดกฎของตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจมีผลให้เกิดการห้ามซื้อขายหุ้นได้ชั่วคราว แต่ก็สามารถแก้ไข โดยการรวมหุ้นให้มีมูลค่าหุ้นที่ตราไว้กลับเป็น 10 บาท อีกได้ การลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท กระทำไม่ได้ตามกฎหมายก็จริง แต่ตามมาตรา 1224 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การลดทุนไม่จำเป็นต้องลดมูลค่าหุ้น แต่อาจลดจำนวนหุ้นลงก็ได้ วิธีการลดจำนวนหุ้นวิธีหนึ่งก็โดยการรวมหุ้น เมื่อได้ลดมูลค่าหุ้นลงแล้ว ตามหลักฐานที่แสดงต่อ ศปร. นั้น ธปท. มิได้พิจารณาลดจำนวนหุ้นเลย และการลดมูลค่าหุ้นลงเป็น 5 บาท (ลดลงร้อยละ 50) ก็สามารถกระทำได้ จะมีผลมากน้อยประการใดก็คงมิใช่เหตุผลที่จะไม่ลดทุนเสียเลยดังที่ได้ปฏิบัติ ไป
308. การลดทุนอาจมีผลให้ผู้ถือหุ้นที่ถูกลดมูลค่าหุ้นฟ้องร้องนั้น การลดทุนก็อาจมีการฟ้องร้องกันได้เสมอ เพราะเป็นสิทธิของผู้ที่คิดว่าตนเองเสียหาย จะฟ้องร้อง แต่จะมีผลจริงๆ อย่างไรคงเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก การที่พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ 2505 มาตรา 24 ทวิ กำหนดให้มีการสั่งให้ลดทุนได้ หมายความว่าทางการยอมรับความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าว ในระยะเวลาสืบต่อจากกรณีของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ที่กำลังพิจารณาอยู่นี้ ทางการได้สั่ง ลดทุนสถาบันการเงินในตลาดหลักทรัพย์ฯ หลายรายก็ปรากฏว่าทำได้โดยมิได้มีการฟ้องร้องเป็นคดีความกัน
309. อีกประการหนึ่ง การที่อดีตผู้ว่าการวิจิตรได้กล่าวว่า การเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งสองคราวคือเมื่อ กรกฎาคม 2538 และมีนาคม 2539 ได้หารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยนั้นแล้ว แต่ก็มีข่าวออกมาว่ารัฐมนตรีฯ ในสมัยดังกล่าวไม่ทราบเรื่องบ้าง ทราบเรื่องบ้าง แต่ทุกท่านต้องการให้ลดทุนก่อน และก็กล่าวว่า ธปท. แจ้งว่าทำไม่ได้บ้าง ลดได้ก็ไม่คุ้มจะกระทำบ้าง ในทำนองเดียวกันกับที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
310. สำหรับเหตุผลที่มิได้บังคับให้นายเกริกเกียรติรับผิดชอบในการบริหารผิดพลาด หรือปลดออกจากตำแหน่ง จนกระทั่งมิถุนายน 2539 นั้น ธปท. ชี้แจงว่า
“การ ที่ในระยะแรกมิได้ดำเนินการถอดถอนนายเกริกเกียรติออกจากตำแหน่งกรรมการผู้ จัดการใหญ่ เนื่องจาก ธปท. ต้องการให้นายเกริกเกียรติร่วมมือในการติดตามและสะสางหนี้เพื่อลดความเสีย หาย”
อย่าง ไรก็ตาม มิได้มีหลักฐานสนับสนุนความเชื่อดังกล่าวว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ตรงกันข้ามตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2537 ถึง มิถุนายน 2539 เป็นเวลาสองปีเศษ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การมีปัญหาเรื่องการบริหารสินเชื่อมาโดยตลอดจนเกิดความเสียหายมากมาย การที่ ธปท. ได้ส่งนายวีรพงษ์ รามางกูร เข้าไปเป็น ที่ปรึกษาคณะกรรมการของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ก็ไม่สามารถควบคุมให้ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การบริหารงานไป ในทิศทางที่ถูกต้องได้ ปัญหาทางการบริหารมีมาสม่ำเสมอโดยตลอด เห็นได้จากข้อเท็จจริงว่าระหว่างปี 2535-2537 ธปท. ได้เชิญนายเกริกเกียรติเข้าพบกว่า 5 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ 2536 ได้เชิญนายวีรพงษ์และนายเกริกเกียรติ เข้ารับทราบปัญหาและแนวทางแก้ไข และในช่วงปี 2537-2539 ได้มีหนังสือสั่งการให้ ปฏิบัติให้เหมาะสมถูกต้องจำนวนกว่า 14 ฉบับ รวมทั้งสั่งให้ระงับการให้สินเชื่อเพื่อครอบงำกิจการ และสั่งมิให้นายราเกซ สักเสนาเข้าเกี่ยวข้องกับกิจการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ในช่วงที่มีปัญหาทางการบริหารกับนายเกริกเกียรติและธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ธปท. กลับสั่งให้เพิ่มทุน และเมื่อจำหน่ายหุ้นไม่ได้ก็ไปชักชวนกลุ่มตันติพิพัฒน์พงศ์ และธนาคารออมสินเข้ามาซื้อหุ้น รวมทั้งใช้เงินกองทุนฟื้นฟูฯ ซื้อหุ้น เพื่อให้ การบริหารอย่างไม่ถูกต้องของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การยังคงดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยมิได้มีการแก้ไขในด้านการบริหารให้ลุล่วงไปเลย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนก็คือเมื่อปลดนายเกริกเกียรติออกจากตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการในเดือนมิถุนายน 2539 แล้ว ทางการต้องกล่าวหาบุคคล ดังกล่าวถึง 20 คดีด้วยกัน
311. นอกจากการมีมาตรการแก้ไขปัญหาในระยะที่นายวิจิตร สุพินิจ เป็นผู้ว่าการดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ในระยะที่นายเริงชัย มะระกานนท์ เป็นผู้ว่าการ ก็ได้มีการเพิ่มทุนธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การอีกในเดือนสิงหาคม 2539 หลังจากที่ทางการได้เข้าบริหารกิจการแล้ว โดยกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ซื้อหุ้นทั้งหมด ไว้เป็นเงิน 22.5 พันล้านบาท
312. เมื่อพิจารณาการดำเนินงานช่วยเหลือธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การของ ธปท. โดยรวมทั้งโครงการแล้ว คงจะต้องกล่าวว่าปราศจากความโปร่งใส และความเด็ดขาดในการที่จะแก้ไขสถาบันการเงินที่มีปัญหาอย่างจริงจังและรวด เร็วทันกับเวลา มาตรการต่างๆ เอื้อประโยชน์ต่อผู้บริหารเดิมที่สร้างปัญหาแก่ กิจการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ และผู้ถือหุ้นเดิมมาโดยตลอด สำหรับการตรวจสอบนั้นมีข้อน่าสังเกตคือ ถึงแม้ว่าจะได้พบว่าธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ มีปัญหา และมีปัญหามากขนาดมีสินทรัพย์จัดชั้นสูงถึงร้อยละ 26.73 ของทรัพย์สินทั้งสิ้น และในการตรวจสอบต่อมาก็ปรากฏว่ามีสถานการณ์ทางการเงิน เลวลงอีก ธปท. ก็ยังให้มีการติดตามตรวจสอบและรายงานเป็นปกติเหมือนการตรวจสอบที่ไม่มีปัญหา ไม่มีหลักฐานว่าได้มีการตรวจสอบและรายงานเป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังมีช่วงเวลาแตกต่างของวันตรวจสอบและวันรายงานเป็นเวลานาน เช่น ผลการตรวจสอบ ณ วันที่ 30 เมษายน 2534 รายงานเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2535 ระยะเวลาระหว่างวันที่ตรวจสอบกับวันที่รายงานต่างกันประมาณปีครึ่ง ซึ่งนับเป็นเวลาที่นานมากจนไม่ทันเหตุการณ์ และข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการ ตรวจสอบเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว การตรวจสอบ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2536 ก็เช่นเดียวกัน รายงานเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2537 มีระยะเวลาแตกต่างกันเกือบปี นายศิริ การเจริญดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. ได้แสดงความเห็นว่าควรมีการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษจึงจะสามารถดำเนินการติดตาม ได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิผล ธปท. จึงควรจะปรับปรุงการตรวจสอบและรายงานให้ทันต่อเหตุการณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่มีปัญหาประจักษ์อยู่แล้ว สมควรมีการตรวจสอบติดตามและ การประเมินสถานการณ์และประเมินปัญหาต่างๆ ล่วงหน้าอย่างใกล้ชิดต่อไปอย่างต่อเนื่อง
313. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายและปฏิบัติการของ ธปท. ในเรื่องการช่วยเหลือธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ได้แก่ นายวิจิตร สุพินิจ ซึ่งเป็นผู้ว่าการ ธปท. ในระหว่างตุลาคม 2533 ถึง มิถุนายน 2539 สืบต่อโดยนายเริงชัย มะระกานนท์ ซึ่งเป็นผู้ว่าการ ธปท. ระหว่างกรกฎาคม 2539 – กรกฎาคม 2540 แต่ความรับผิดชอบในเรื่องไม่ลดทุนก่อนให้การช่วยเหลือ และการดำเนินการแก้ไขปัญหาแบบไม่เด็ดขาดเป็นของนายวิจิตร สุพินิจ เกือบทั้งหมด นายเริงชัยรับผิดชอบเฉพาะการเพิ่มทุนโดยใช้เงินกองทุนฟื้นฟูฯ โดยมิได้ลดทุนในครั้งหลังเมื่อทางการได้เข้าควบคุมธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การแล้ว นายเริงชัยได้ให้เหตุผลในการไม่ลดทุนว่า ทางการได้ซื้อหุ้นไปมากแล้ว หากลดทุนก็จะเสียหาย เป็นเหตุผลที่ฟังได้มากกว่าที่ได้กล่าวอ้างในอดีต
314. บุคคลอื่นๆ ได้แก่ นายจรุง หนูขวัญ รองผู้ว่าการ นายศิริ การเจริญดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ และผู้อำนวยการกำกับและผู้อำนวยการ ตรวจสอบธนาคารพาณิชย์นั้น บรรดาเจ้าหน้าที่เหล่านี้เป็นผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ผู้ตัดสินใจในเรื่องการลดทุนเพิ่มทุนโดยตรงแต่บุคคลเหล่านี้ซึ่งอยู่ ใกล้ชิดกับปัญหา ก็น่าจะได้แสดงความคิดเห็นในการช่วยแก้ปัญหาให้เกิดผลอย่างจริงจังและรวด เร็ว แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานใดที่บุคคลเหล่านี้ได้แสดงความเห็น ในทิศทางดังกล่าว
315. ศปร. เห็นว่านโยบายการช่วยเหลือธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การมีความไม่โปร่งใส และยังมีคำถามที่ไม่มีคำตอบอยู่มาก แต่ความเคลือบแคลง ดังกล่าว ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีคำสั่งที่ 405/2540 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมใน ปัญหาธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการสอบสวนเรื่องการใช้อำนาจตามกฎหมายในลักษณะบิดเบือน และการละเว้นปฏิบัติอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะต้องมีการพิจารณาเพิ่มเติมในเรื่องเดียวกันอีก

ข้อสรุป

316. การดำเนินมาตรการแบบไม่เด็ดขาดเอื้ออำนวยให้มีการทำหนี้เสียเพิ่มเติม และเป็นปัญหายืดเยื้อ มีการบริหารผิดพลาดเพิ่มเติม จนเกิดการเสียหาย แก่เงินของเอกชน เงินของธนาคารออมสินและเงินของกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นอันมาก หากได้ดำเนินการแก้ไขอย่างเด็ดขาดโดยประกาศลดทุนเพิ่มทุน และเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโดยเด็ดขาดเสียแต่เนิ่นๆ ก็น่าจะสกัดความเสียหายให้ลดลงได้มาก
317. การไม่ยอมดำเนินการลดทุนเพิ่มทุน เปลี่ยนแปลงผู้บริหารแบบตรงไปตรงมา มีผลต่อ ธปท. มาก ก่อนกรณีธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ธปท. เป็นสถาบันที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีศักยภาพและมีชื่อเสียงที่ดียิ่ง ทั้งเป็นเวลานับหลายสิบปีที่ ธปท. ได้รักษาตนเองมาอย่างดีในฐานะเป็นสถาบัน แบบมืออาชีพ ปฏิบัติงานแบบตรงไปตรงมา ปลอดการเมือง แต่ในระยะหลังผู้บริหารระดับสูงของสถาบัน ได้นำตัวเข้าไปอิงการเมืองอย่างเห็นได้ชัดเจน มีการปฏิบัติงานแบบไม่โปร่งใสและยืดเยื้อ ในกรณีธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การเป็นกรณีแรกที่มีผลให้ความน่าเชื่อถือของ ธปท. ในสายตาของประชาชน และนักลงทุนต่างประเทศลดลง ยิ่งมีกรณีการกล่าวโทษ กลต. ในขณะนั้นคือนายเอกกมล คีรีวัฒน์ (ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าการ ธปท. ด้วย) โดยผู้ว่าการ ธปท. และกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ในขณะนั้น ทั้งที่ทั้งสามท่านต่างเป็นนักเรียนทุนที่ ธปท. ส่งไปศึกษาในต่างประเทศตั้งแต่ต้นจนจบด้วยทุนของ ธปท. และเคยปฏิบัติงานเป็นพนักงานของสถาบันเดียวกัน ความน่าเชื่อถือของ ธปท. ในสายตาของสาธารณชนก็ยิ่งลดลงอีก ในขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติงานใน ธปท. เองก็ได้แจ้ง ศปร. ว่า มีความเคลือบแคลงในการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงของสถาบัน และยิ่งมีกรณีการกล่าวหาดังกล่าวข้างต้น พนักงาน ธปท. เองก็เกิดความไม่แน่ใจ และแตกแยกเป็นพรรคเป็นพวกไปด้วย
318. หากพิจารณาด้วยความยุติธรรมคงจะต้องกล่าวว่ากรณีธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การมิใช่กรณีเดียวที่สามารถทำลายชื่อเสียง ศักยภาพ และมีผลให้ ธปท. ตกต่ำในสายตาของสาธารณชนเช่นในปัจจุบัน แต่ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่ากรณีดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นสาเหตุที่สำคัญ มาก และผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. ที่ก่อให้เกิดเรื่องดังกล่าวข้างต้นนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องรับผิดชอบ ถึงแม้อาจไม่ต้องรับผิดชอบในทางกฎหมาย แต่ก็สมควรต้องรับผิดชอบในการทำลาย ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของสถาบันที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของประเทศ ไทยในสายตาของสาธารณชน
---------------------------------------------------
รายชื่อสถาบันการเงินที่ทางการสั่งให้เพิ่มทุน
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2540
      1. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ยูนิโก้เฮ้าซิ่ง จำกัด
      2. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คันทรี จำกัด
      3. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์รอยัลอินเตอร์เนชั่นแนล ไฟแนนซ์ จำกัด
      4. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยฟูจิ จำกัด
      5. บริษัทเงินทุนทรัพย์ธำรง จำกัด
      6. บริษัทเงินทุนศรีธนา จำกัด (มหาชน)
      7. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตะวันออกฟายแนนซ์ (1991) จำกัด (มหาชน)
      8. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีนคร จำกัด
      9. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อินเตอร์เครดิตแอนด์ทรัสต์ จำกัด
      10. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ ที เอฟ จำกัด (มหาชน)

รายชื่อสถาบันการเงินที่ทางการสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการ
จำนวน 16 บริษัท
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540
      1. บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ จำกัด (มหาชน)
      2. บริษัทเงินทุนทรัพย์ธำรง จำกัด
      3. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยฟูจิ จำกัด
      4. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกธนา จำกัด (มหาชน)
      5. บริษัทเงินทุนจี ซี เอ็น จำกัด (มหาชน)
      6. บริษัทเงินทุนยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน)
      7. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์รอยัลอินเตอร์เนชั่นแนล ไฟแนนซ์ จำกัด
      8. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนไทย จำกัด (มหาชน)
      9. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตะวันออกฟายแนนซ์ (1991) จำกัด (มหาชน)
      10. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกสิน จำกัด (มหาชน)
      11. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีมิตร จำกัด (มหาชน)
      12. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ ที เอฟ จำกัด (มหาชน)
      13. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จี เอฟ จำกัด (มหาชน)
      14. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คันทรี จำกัด
      15. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ซี แอล สหวิริยา จำกัด
      16. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีนคร จำกัด

รายชื่อสถาบันการเงินที่ทางการสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการ
จำนวน 42 บริษัท
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540
      1. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เจ้าพระยา จำกัด
      2. บริษัทเงินทุนศรีธนา จำกัด (มหาชน)
      3. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สหธนกิจไทย จำกัด (มหาชน)
      4. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนพล จำกัด (มหาชน)
      5. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยรุ่งเรืองทรัสต์ จำกัด
      6. บริษัทเงินทุนคาเธ่ย์ทรัสต์ จำกัด
      7. บริษัทเงินทุนเอเชียธนกิจ จำกัด (มหาชน)
      8. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
      9. บริษัทเงินทุนธนสินธุ์ จำกัด
      10. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์การทุนไทย จำกัด (มหาชน)
      11. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์วอลล์สตรีท จำกัด (มหาชน)
      12. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นครหลวงเครดิต จำกัด (มหาชน)
      13. บริษัทเงินทุนพรีเมียร์ จำกัด
      14. บริษัทเงินทุนบางกอกเงินทุน จำกัด
      15. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอ็ม ซี ซี จำกัด (มหาชน)
      16. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอส ซี เอฟ จำกัด (มหาชน)
      17. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ลีลาธนกิจ จำกัด
      18. บริษัทเงินทุนชาติไพบูลย์ จำกัด
      19. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สยามซิตี้ ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
      20. บริษัทเงินทุนนิธิภัทร จำกัด (มหาชน)
      21. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกพัฒน์ จำกัด (มหาชน)
      22. บริษัทเงินทุนไทยธนากร จำกัด (มหาชน)
      23. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พูลพิพัฒน์ จำกัด (มหาชน)
      24. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แปซิฟิคไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน)
      25. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พารา จำกัด (มหาชน)
      26. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)
      27. บริษัทเงินทุนไทยธำรง จำกัด
      28. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อินเตอร์เครดิต แอนด์ ทรัสต์ จำกัด
      29. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซิทก้า จำกัด (มหาชน)
      30. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาธนกิจ จำกัด (มหาชน)
      31. บริษัทเงินทุนธีรชัยทรัสต์ จำกัด
      32. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนทรัพย์ จำกัด (มหาชน)
      33. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เมืองทองทรัสต์ จำกัด
      34. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สยามพาณิชย์ทรัสต์ จำกัด
      35. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหานครทรัสต์ จำกัด (มหาชน)
      36. บริษัทเงินทุนธนมาศ จำกัด
      37. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางกอกอินเวสท์เมนท์ จำกัด (มหาชน)
      38. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน)
      39. บริษัทเงินทุนยูเนี่ยนไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน)
      40. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยเม็กซ์ จำกัด (มหาชน)
      41. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ไฟน์แนนซ์ จำกัด (มหาชน)
      42. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไทย-โอเวอร์ซีทรัสต์จำกัด
------------------------------------------------------------
- การส่งออกที่ลดลง และ หนี้ต่างประเทศจำนวนมาก
ส่งเสริมให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงินเพิ่มมากขึ้น
67. ในวรรคข้างต้นนี้ ธปท. ได้สรุปปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเศรษฐกิจไทย และที่ทำให้นักเก็งกำไรต่างชาติเก็งว่าตนจะได้กำไรจากการโจมตีค่าเงินบาท ซึ่งในที่สุดก็เป็นการเก็งที่ถูกต้อง การเก็งกำไรที่จะให้ผลนั้นมักจะตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่มีมูลความจริง ในกรณีของประเทศไทยในปี 2539-40 นั้น มูลเหตุสำคัญที่ทำให้นักเก็งกำไรหมดความเชื่อถือว่าไทยจะสามารถรักษาค่าเงิน บาทไว้ต่อไปได้มีอยู่สองประการหลักๆ ด้วยกัน
  • การชะลอตัวในอัตราการขยายตัวของการส่งออก ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในสภาวะที่ย่ำแย่ลง
  • การลดความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสถาบันการเงินต่างประเทศในความสามารถของไทยที่จะชำระหนี้สินที่มีอยู่มากมาย
-------------------------------------------------------
โดย มาหาอะไร



<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #1 เปิดเสรีการเงินไม่กี่ปี เป็นหนี้ต่างประเทศเพิ่มเท่าตัว >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #2 ความเชื่อมั่นที่ตกต่ำ ตอกย้ำการโจมตีค่าเงิน >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #3 สู้จนเจ๊ง >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #4 เด็กดี หนูลองยา IMF >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #5 จากประเทศลูกหนี้ พลิกกลับมาเป็นประเทศเจ้าหนี้ (จบ) >>>

FfF