การเลือกแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย
- ธปท. อาจเลือกที่จะไม่ให้เปิดตลาดเงินทุนเสรีได้ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 แต่ ธปท. ก็เลือกที่จะให้เปิด การตัดสินใจให้เปิดครั้งนั้น นับว่าเป็นผลพวงของแนวนโยบายที่เป็นมาโดยต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน และสะท้อนความต้องการของฝ่ายการเมืองในขณะนั้น อย่างเต็มที่ เมื่อนายวิจิตรเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการก็สานต่อนโยบายนั้นอย่างขะมัก เขม้นถึงขั้นเปิดวิเทศธนกิจ ซึ่งก็ได้รับ การสนับสนุนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยนั้น (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) และจากคณะรัฐมนตรีอีกด้วย
- เมื่อ ธปท. เลือกที่จะเปิดตลาดเงินทุนให้เสรีแล้ว ธปท. ก็ควรเลือกที่จะให้อัตราแลกเปลี่ยนยืดหยุ่นมากกว่านี้ แต่ ธปท. ก็เลือกที่จะ รักษาช่วงอัตราแลกเปลี่ยนที่แคบมากไว้ มาเริ่มพิจารณาก็ ในเดือนเมษายน 2539 ซึ่งสายไปเสียแล้ว เพราะหลังจากนั้นอีกไม่กี่เดือน ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็รุนแรงจนทำให้ ธปท. กลัวที่จะดำเนินการใดๆ อีกต่อไป เพราะเกรงว่าจะส่งสัญญาณผิดให้กับตลาด
- เมื่อ ธปท. เลือกที่จะรักษาช่วงอัตราแลกเปลี่ยนที่แคบไว้เช่นนั้น ก็หมายความว่าแนวนโยบายทางด้านอุปสงค์รวมจะต้องมี ความระมัดระวัง (conservative) เป็นพิเศษ โดยเฉพาะในระยะตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา นโยบายการคลังเป็นเรื่องของรัฐบาล และรัฐสภาก็จริงอยู่ แต่ ธปท. ก็มิได้ผลักดันอย่างจริงจังให้รัฐบาลมีนโยบายเกินดุล ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงนั้น ส่วนนโยบายการเงิน ที่ดึงปริมาณเงินในประเทศก็ไร้ผล เพราะถูกลบล้างด้วยเงินกู้จากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
- เมื่อ ธปท. ไม่สามารถใช้นโยบายการคลังหรือการเงินได้ ก็ควรจะใช้มาตรการไม่ให้เงินกู้ไหลเข้าประเทศอย่างมากมายเสียตั้งแต่ต้น แต่มาตรการที่ประกาศกลับเป็นมาตรการที่อ่อน และนำมาใช้เมื่อสายไปแล้ว คือหลังจากไทยมีหนี้สินระยะสั้นในระดับสูง มากเกินไปเสียแล้ว
56. ข้อกล่าวหา ธปท. ข้างต้นนี้ อาจได้รับการทักท้วงว่า เป็นการกล่าวหาจากมุมมองในปัจจุบันเมื่อสภาพการณ์ต่างๆ เป็นที่ประจักษ์แล้ว
หรือ ถ้ากล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือเป็นความฉลาดหลังเหตุการณ์ มิได้สะท้อนมุมมองจากในอดีตเมื่อสถานการณ์ต่างๆ ยังไม่ประจักษ์ และถ้าพิจารณา จากประวัติการพยากรณ์ของหน่วยงานอื่นๆ แล้ว ธปท. ก็มิได้บกพร่องไปกว่าคนอื่น
หรือ ถ้ากล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือเป็นความฉลาดหลังเหตุการณ์ มิได้สะท้อนมุมมองจากในอดีตเมื่อสถานการณ์ต่างๆ ยังไม่ประจักษ์ และถ้าพิจารณา จากประวัติการพยากรณ์ของหน่วยงานอื่นๆ แล้ว ธปท. ก็มิได้บกพร่องไปกว่าคนอื่น
57. แต่ ประเด็นมิได้อยู่ที่ความสามารถในการพยากรณ์ ประเด็นอยู่ที่ความเหมาะสมในการเลือกยุทธศาสตร์ และเมื่อได้เลือกยุทธศาสตร์ใหม่แล้ว เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ ธปท. เลือกเดินตามแนวนโยบาย 4 ข้อดังกล่าวแล้ว (ดูข้อ 55) แต่ละก้าวที่ตัดสินใจไป ได้ทำให้เศรษฐกิจล่อแหลมต่ออันตรายอย่างที่เกิดขึ้นในที่สุด และอันตรายเหล่านี้มิใช่เป็นอันตรายที่พยากรณ์ไม่ได้ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศอื่น วิกฤตการณ์ที่ในที่สุดเกิดขึ้นในประเทศไทยมิได้มีความพิเศษที่ไม่เคยเกิด ขึ้นในประเทศอื่น แต่เคยเกิดขึ้นแล้ว อย่างน้อยสามครั้ง กล่าวคือ ในชิลี ระหว่าง ค.ศ. 1982 และ 1984 ในสวีเดนระหว่าง ค.ศ. 1990 และ 1992 และในเม็กซิโก ระหว่าง ค.ศ. 1994 และ 1995 ในประเทศเหล่านี้มีปรากฏการณ์ดังต่อไปนี้
- ธนาคารกลางปล่อยให้เงินทุนไหลเข้าออกได้โดยเสรี และธนาคารกลางกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ให้คงที่
- ธนาคาร กลางไม่สามารถใช้นโยบายการเงินได้เพราะมีเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาท่วมท้น และรัฐบาลมิได้ใช้ นโยบายการคลังที่เข้มงวดพอ (ชิลีและเม็กซิโกรักษาดุลงบประมาณ ส่วนสวีเดนนั้นยังมีภาวะขาดดุลในระดับที่ค่อนข้างสูง)
- ทั้ง สามประเทศเพิ่งผ่อนคลายมาตรการแทรกแซงในตลาดการเงิน โดยไม่มีการกำกับสถาบันการเงินที่เข้มแข็งขึ้น และในที่สุดสถาบันการเงินก็กลายเป็นจุดอ่อนของเศรษฐกิจ
- ใน ช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยเงินกู้จากสถาบันการเงินเป็นจำนวนสูง มาก จนในที่สุดทำให้สถาบันการเงินอยู่ในฐานะล่อแหลมต่อการฟุบลงของตลาดอสังหาริม ทรัพย์
58. แต่ ตัวที่ทำให้ปัญหาต่างๆ ทั้งหมดข้างบนนี้ปะทุเป็นวิกฤตการณ์นั้นแตกต่างกัน ในกรณีของชิลีและสวีเดนเกิดจากความล้มเหลวของสถาบันการเงิน บางราย ตามด้วยการที่รัฐเข้าไปโอบอุ้มสถาบันการเงิน ในกรณีของเม็กซิโกเกิดจากการไหลออกของเงินไปต่างประเทศก่อน ทำให้ต้องลดค่าเงิน และผลักดัน ให้สถาบันการเงินที่กู้เงินจากต่างประเทศต้องล้มละลาย กลายเป็นวิกฤตการณ์ของสถาบันการเงิน แต่ผลในที่สุดก็เหมือนกัน กล่าวคือ การโจมตีค่าของเงิน การขาดสภาพคล่องซึ่งในที่สุดแปรสภาพเป็นการล้มละลายของสถาบันการเงิน และอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น
59. ปรากฏการณ์ ทั้งหมดที่เกิดก่อนการปะทุขึ้นของวิกฤตการณ์ที่ลำดับไว้ข้างต้นนี้ล้วนเป็น ปรากฏการณ์ที่มีอยู่ในประเทศไทยก่อนปี 2539 และส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการที่ ธปท. เดินตามแนวนโยบาย 4 ข้อที่ได้ลำดับไว้ ทั้งๆ ที่มีงานทางวิชาการที่ศึกษาปัญหาของประเทศเหล่านี้อย่างแพร่หลาย ทั้งในระดับทฤษฎีและในระดับประสบการณ์ ที่ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่ต้องมีแนวนโยบายที่เข้มงวดและรอบคอบกว่านี้
-------------------------------------------------------------------- เร่งเปิดเสรีการเงิน โดยไม่มีมาตรการรองรับ
สรุปความเห็น/ข้อเสนอแนะของ
คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.)
การบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.)
1. ข้อบกพร่องของโครงสร้างระบบการบริหารการเงินอันนำไปสู่วิกฤตการณ์และความไม่มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจเชิงนโยบาย
วิกฤตการณ์ เศรษฐกิจไทยครั้งนี้ มีจุดเริ่มมาจากการก่อหนี้ของภาคเอกชน แต่การดำเนินนโบายการเงินของรัฐก็มีส่วนทำให้ปัญหาการก่อหนี้บานปลายอย่าง แทบจะไม่มีขีดจำกัด
ขั้นตอนของความเพลี่ยงพล้ำในการดำเนินนโยบายการเงิน ลำดับได้ดังต่อไปนี้
วิกฤตการณ์ เศรษฐกิจไทยครั้งนี้ มีจุดเริ่มมาจากการก่อหนี้ของภาคเอกชน แต่การดำเนินนโบายการเงินของรัฐก็มีส่วนทำให้ปัญหาการก่อหนี้บานปลายอย่าง แทบจะไม่มีขีดจำกัด
ขั้นตอนของความเพลี่ยงพล้ำในการดำเนินนโยบายการเงิน ลำดับได้ดังต่อไปนี้
- ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจเลือกที่จะไม่ให้เปิดตลาดเงินทุนเสรีตั้งแต่ พ.ศ. 2533 แต่ ธปท. ก็เลือกที่จะให้เปิดการตัดสินใจให้เปิดครั้งนั้น นับว่าเป็นผลพวงของแนวนโยบายที่เป็นมาโดยต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน และสะท้อนความต้องการของฝ่ายการเมืองในขณะนั้นอย่างเต็มที่ เมื่อนายวิจิตรเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการ ก็สานต่อนโยบายนั้นอย่างขะมักเขม้น ถึงขั้นเปิดวิเทศธนกิจ ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่าย
- เมื่อ ธปท. เลือกที่จะเปิดตลาดเงินทุนให้เสรีแล้ว ธปท. ก็ควรเลือกที่จะให้อัตราแลกเปลี่ยนยืดหยุ่นมากกว่านี้ แต่ ธปท. ก็เลือกที่จะ รักษาช่วง (band) อัตราแลกเปลี่ยนที่แคบมากไว้ จะมาเริ่มพิจารณาก็ในเดือนเมษายน 2539 ซึ่งสายไปเสียแล้ว เพราะหลังจากนั้น อีกไม่กี่เดือนปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ก็รุนแรงจนทำให้ ธปท. กลัวที่จะดำเนินการใดๆ อีกต่อไป เพราะเกรงว่าจะส่งสัญญาณผิด ให้กับตลาด
- เมื่อ ธปท. เลือกที่จะรักษาช่วงอัตราแลกเปลี่ยนที่แคบไว้เช่นนั้น ก็หมายความว่าแนวนโยบายทางด้านอุปสงค์รวมจะต้อง มีความระมัดระวัง (conservative) เป็นพิเศษ โดยเฉพาะในระยะตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา นโยบายการคลังเป็นเรื่องของรัฐบาล และรัฐสภาก็จริงอยู่ แต่ ธปท. ก็มิได้ผลักดันอย่างจริงจัง ให้รัฐบาลมีนโยบายเกินดุลซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงนั้น ส่วนนโยบายการเงิน ที่ดึงปริมาณเงินในประเทศก็ไร้ผล เพราะถูกลบล้างด้วยเงินกู้จาก ต่างประเทศที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
- เมื่อ ธปท. ไม่สามารถใช้นโยบายการคลังหรือการเงินได้ ก็ควรจะใช้มาตรการไม่ให้เงินกู้ไหลเข้าประเทศอย่างมากมายเสียตั้งแต่ต้น แต่มาตรการที่ประกาศเป็นมาตรการที่อ่อน และนำมาใช้เมื่อสายไปแล้ว คือหลังจากไทยมีหนี้สินระยะสั้นในระดับสูงมากเกินไปเสียแล้ว
-------------------------------------------------------------------
- ผลของการเปิดเสรีการเงิน โดยไม่ลอยค่าเงินตาม
(จะทำให้หนี้นอกพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
เพราะเปิดช่องให้ธนาคารไทยฟันกำไร
โดยเร่งกู้เงินนอกดอกเบี้ยถูกๆ
ร้อยละไม่ถึง 1 บาท
มาปล่อยกู้ลูกค้าเพื่อทำกำไร
โดยไม่สนใจตรวจสอบเครดิตลูกค้า
แถมยังมีข่าวคนของธนาคาร
ช่วยปั่นตัวเลขมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ของลูกค้าให้สูงเกินจริง
เพื่อจะได้กู้ได้มากๆ
ธนาคารก็จะได้มีกำไรมากๆ
จากส่วนต่างของดอกเบี้ยที่กู้มา
กับดอกเบี้ยที่คิดกับลูกค้า
ซึ่งก็ทำให้เกิดปัญหาหนี้เน่าจำนวนมากตามมา
และเป็นผลให้หนี้ต่างประเทศของไทย
เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเวลาไม่กี่ปี
เพราะการเปิดเสรีโดยไม่ลอยค่าเงินตาม
ทำให้ผู้กู้ไม่กังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
เลยประมาทไม่ทำประกันความเสี่ยงไว้
หรือกู้โดยไม่คิดถึงความเสี่ยงของค่าเงิน
ที่มีสิทธิขึ้นลงตลอดเวลา
จึงเร่งกู้กันมามากๆ
จนเกิดปัญหาวิกฤตต้มยำกุ้งในที่สุด)
รายงาน ศปร. ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
"ดูข้อ 15-16)
...
10. ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่ ธปท. คาดไว้คือ การกู้เงินจากต่างประเทศในปริมาณที่สูงเกินควรจะทำให้อุปสงค์รวม (Aggregate Demand) อยู่ในระดับที่ อาจกระทบกระเทือนเสถียรภาพของเศรษฐกิจได้ ในการนำเสนอให้กระทรวงการคลังประกาศอนุญาตให้ประกอบวิเทศธนกิจ (บันทึกที่ ธปท. ว. 1533/2535 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2535 จากผู้ว่าการวิจิตร ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายพนัส สิมะเสถียร)) ธปท. ได้คาดการณ์ไว้แล้วว่า
" ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ ผลกระทบต่อปริมาณเงินในกรณีที่มีการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศเป็น จำนวน ที่สูงขึ้น เนื่องจากภาคเอกชนจะสามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้สะดวกขึ้น โดยผ่านการใช้บริการจากการวิเทศธนกิจ ซึ่งจะมีผลต่อ ความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน”
...
12. นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2538 เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบการในประเทศนิยมใช้บริการวิเทศธนกิจเกินกว่าที่ ธปท. เห็นว่าเหมาะสม ธปท. ก็ได้นำมาตรการสองสามมาตรการมาใช้ แต่เป็นมาตรการที่อ่อนเมื่อเทียบกับปัญหาของประเทศ และนับว่าช้าไปแล้ว (ดูข้อ 53)
...
18. การ ไหลเข้ามาของเงินจากต่างประเทศยังมีผลต่อสถาบันการเงินอีกด้วย นับตั้งแต่การเปิดวิเทศธนกิจเป็นต้นมา สถาบันการเงินภายในประเทศ ได้เพิ่มการปล่อยสินเชื่ออย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราส่วนระหว่างการปล่อยสินเชื่อต่อปริมาณเงินฝากสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์เพิ่มอัตราส่วนดังกล่าว จากต่ำกว่า 1 ใน พ.ศ. 2533 สูงขึ้นจนถึง 1.35 เมื่อสิ้นไตรมาสที่สองของปี พ.ศ. 2538 โดยมีการขยายในอัตราสูงเป็นพิเศษในปี 2537 (ดูภาพที่ 5) การปล่อยสินเชื่อในอัตราที่สูงเช่นนี้ย่อมกระทบต่อเสถียรภาพของสถาบันการ เงิน เพราะเกิดขึ้นภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไป และสภาพเศรษฐกิจที่ร้อนแรงนั้นเป็นผลโดยตรงจากการไหลเข้ามาของเงินจากต่าง ประเทศ "
<<< รายงาน ศปร. ( สรุปความเห็น และ บทที่ 1 ) >>>------------------------------------------------------------------
- เปิดเสรีไม่กี่ปี มีหนี้เพิ่มเท่าตัว
ภาพข่าว นสพ. ผู้จัดการรายวัน จากคุณ : MCU51
หลักฐานการเปิดเสรีการเงินในสมัยรัฐบาลชวน 1
ที่มา : นสพ.ผู้จัดการรายวัน
หนี้ต่างประเทศเพิ่มเท่าตัวหลังเปิดเสรีการเงินไม่กี่ปี
ที่มา : นสพ.ผู้จัดการรายวัน
หนี้ระยะสั้นเพิ่มสูงมาก เป็นตัวการหนึ่งที่เร่งให้เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง
ที่มา : นสพ.ผู้จัดการรายวัน
จากรายงานของ ศปร. ที่กล่าวถึงเรื่องหนี้ระยะสั้น
"28. เป็น ที่น่าสังเกตว่า ในช่วงเวลาตั้งแต่เปิดวิเทศธนกิจเป็นต้นมา เงินสำรองระหว่างประเทศได้เพิ่มสูงขึ้นด้วย ธปท. ได้ลำดับเหตุการณ์ตอนนั้นไว้ดังนี้
" เหตุผลหลักที่ทำให้เงินสำรองทางการของประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาคือการที่ภาคเอกชน กู้ยืมเงินระยะสั้นจากต่างประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการที่นักลงทุนต่างชาติได้เข้ามาลงทุนหาประโยชน์ จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเดิมนั้น การรักษาค่าเงินบาทตามระบบตะกร้าเงิน ให้คงที่ ไม่ให้สูงขึ้น ทางการก็จำเป็นต้องซื้อเงินตราต่างประเทศ/ขายเงินบาทในตลาด เป็นผลให้เงินสำรองทางการเพิ่มขึ้น”
29. อย่าง ไรก็ตาม แม้เงินทุนสำรองจะเพิ่มขึ้นเพียงใด ก็ไม่สามารถไล่ตามหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นสูงกว่านั้นไปได้ เพราะไทยยังมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเกณฑ์สูงและนับวันก็ยิ่งกว้างขึ้น เพราะการจับจ่ายใช้สอยของคนที่ร่ำรวยมากขึ้นในยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู เมื่อเป็นเช่นนี้ เงินบาทก็ตกอยู่ในฐานะที่ล่อแหลมต่อการถูกโจมตีมาโดยตลอด"
หนี้ระยะยาวก็เพิ่มอย่างมาก และส่วนใหญ่เป็นหนี้ของเอกชน
ที่มา : ธปท.
-------------------------------------------------------------------
โดย มาหาอะไร
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #1 เปิดเสรีการเงินไม่กี่ปี เป็นหนี้ต่างประเทศเพิ่มเท่าตัว >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #2 ความเชื่อมั่นที่ตกต่ำ ตอกย้ำการโจมตีค่าเงิน >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #3 สู้จนเจ๊ง >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #4 เด็กดี หนูลองยา IMF >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #5 จากประเทศลูกหนี้ พลิกกลับมาเป็นประเทศเจ้าหนี้ (จบ) >>>
FfF