ธารินทร์ปิดฉากการเมืองบนความย่อยยับของชาติ
ใน ตอนนั้น กระแสสังคมส่วนใหญ่เชื่อกันว่า หากต่างชาติเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล อีกไม่นาน เงินลงทุนก็จะไหลกลับเข้ามา ฉุดเศรษฐกิจไทยให้พ้นจากหายนะ ความเชื่อเช่นนี้เองที่ทำให้รัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ถูกต่อต้านจากชนชั้นกลางในเมือง และสื่อมวลชนด้วยเหตุผลง่ายๆว่า ทีมเศรษฐกิจไม่มีฝีมือ ไม่เป็นที่ยอมรับของต่างชาติ จนพลเอกชวลิตต้องลาออกไปหลังจากที่เป็นรัฐบาลได้เพียง 11 เดือน และความเชื่อเช่นนี้เอง ทำให้ไม่มีใครตั้งคำถามในเรื่องแนวทางแก้ปัญหาของธารินทร์ว่าถูกต้องหรือไม่ ไม่มีใครตั้งข้อสงสัยในเรื่องความแตกต่างระหว่างการบริหารธนาคารพาณิชย์ใน ช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น กับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาติ จนกระทั่งเวลาผ่านไปเกือบปี เมื่อข้อเท็จจริงเริ่มปรากฎว่า การเดินตามแนวทางของไอเอ็มเอฟนั้นผิด และการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินของธารินทร์ส่อว่า มีการเลือกปฏิบัติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์และปกปิดความผิดพลาดของตนและพวกพ้อง แนวทางการ แก้ไขปัญหาของธารินทร์ จึงเริ่มถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นเรื่อยๆ วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่เคยเจอมาก่อน ขนาดความซับซ้อนและความรุนแรงของปัญหา มีมากกว่าที่คาดคิดกันไว้ ไม่มีสูตรสำเร็จในการแก้ไข ถ้าหากธารินทร์จะยอมรับความผิดพลาด รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และปรับปลี่ยนแนวทางการแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาเสียใหม่ ประเทศชาติก็คงจะไม่บอบช้ำอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แต่เขายืนยันในความถูกต้องของตนเอง ภายใต้การปกป้องของชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ด้วยคำพูดทำนองว่า เราเดินมาถูกทางแล้ว เศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว ซึ่งตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างสิ้นเชิง วันนี้ ต่างจากเมื่อ 3 ปีก่อนโดยสิ้นเชิงไม่มีใครเชื่อน้ำยาเขาอีกต่อไปแล้ว จากดาวรุ่งทางการเมืองที่ถูกวางตัวว่า เขานั่นแหละคือนายกรัฐมนตรีในอนาคตของประเทศไทย ถึงวันนี้ หลังการประกาศยุบสภา คือ การปิดฉากอนาคตทางการเมืองของธารินทร์ ด้วยความพ่ายแพ้อย่างยับเยิน ตัวเองพ่ายแพ้นั้นไม่เท่าไร เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่ความล้มเหลวของธารินทร์ ทำให้ประเทศไทยต้องย่อยยับไปด้วย อย่างที่ไม่รู้ว่าจะฟื้นเมื่อไร ธารินทร์ เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้วครั้งหนึ่ง ในสมัยชวน 1 เมื่อเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกครั้งด้วยพื้นฐานความเชื่อ ที่ว่า การแก้ไขปัญหาภาคการเงิน และสถาบันการเงินก่อนจะช่วยให้เศรษฐกิจในส่วนอื่นฟื้นตามได้ มาตรการเร่งด่วนในช่วงแรกจึงเน้นไปที่มาตรการด้านการเงิน ในปี 2540 หลังการเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาล "ชวน 2" นโยบายการเงินแบบเข้มงวด ที่ถูกแนะนำโดยไอเอ็มเอฟ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธารินทร์ก็นำมาใช้โดยไม่ได้ดัดแปลงไปจากรัฐบาลของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธเลยก็คือนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง และลดปริมาณเงินในระบบเพราะเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูง จะดึงเงินลงทุนของชาวต่างชาติไว้ในประเทศได้ และทำให้เกิดความมั่นใจและรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินได้เป็นอย่างดี นโยบายนี้ก็มีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย เนื่องจากผู้คัดค้านเห็นว่านโยบายดอกเบี้ยสูงนั้นจะก่อให้เกิดการล่มสลายของ ธุรกิจเป็นจำนวนมาก และจะทำให้เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง ในปี 2541 เศรษฐกิจอยู่ในสภาวะย่ำแย่อย่างมากคือ ณ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ 15.5 % เศรษฐกิจก็หดตัวลงถึง10.4 เปอร์เซ็นต์ จากที่ในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 2-5 คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยจะหดตัวลงไม่เกินเลขหนึ่งหลัก สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ของปี 2541 มีคนตกงานเพิ่มขึ้น 1-2 ล้านคนเป็นอย่างน้อย NPLโดยเฉลี่ยในระบบนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ธนาคารที่รัฐเข้าไปแทรกแซงนั้น NPLเพิ่มขึ้นสูงไปอยู่ในระดับ 60 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ธารินทร์ รมว.คลังฯ เพิ่งเริ่มตระหนักว่าการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินนั้นยังไม่คืบหน้าไปเท่าที่ ควร และจะเป็นตัวฉุดระบบเศรษฐกิจได้ ทางรัฐบาลจึงได้ออกมาตรการเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2541 โดยมาตรการดังกล่าว ต่อมาเรียกกันสั้นๆ ว่า "มาตรการ 14 สิงหา" แก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน โดยจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเพิ่มทุนทั้งในกองทุนขั้นที่ 1 และ 2 โดยได้ออกพรก.เพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถออกพันธบัตรมูลค่า 300,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีนโยบายให้ธนาคารต่างๆ ที่อ่อนแอมีการปิดควบรวมกิจการ หรือเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ธนาคารเหล่านี้สามารถกลับมาทำหน้าที่หมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจ โดยการรับฝากและให้กู้เงินให้แก่ภาคการผลิตได้อย่างเร็วที่สุด ซึ่งในวันเดียวกัน ก็มีการแถลงว่าพันธบัตรมูลค่า 300,000 ล้านบาทนั้นจะถูกหมุนขยายให้เป็นสินเชื่อได้ถึง 12 เท่าของเงินต้นคือ เป็นเงินกว่า 3.6 ล้านล้านบาท ขณะที่นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการเงินได้กล่าวว่ามาตรการ 14 สิงหานี้ รัฐบาลนำมาใช้ปฏิบัติการช้าเกินไปถึง 6 เดือน ต่อมาไม่นานนักมาตรการ 14 สิงหาก็สำแดงผลออกมาอย่างชัดเจนว่าล้มเหลว เนื่องจากจนถึงปลายปี 2542 เงินกองทุนใช้ไปเพียง 48,700 ล้านบาทเท่านั้นจาก 300,000 ล้านบาท โดยธนาคารไทยพาณิชย์ที่มีความสนิทชิดเชื้อกับธารินทร์มากที่สุดใช้เงินกอง ทุนไปเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ คือ กว่า 37,400 ล้านบาท จนกระทั่งปัจจุบัน ตัวเลขเมื่อสิ้นเดือนก.ย. 2543 มาตรการนี้ก็พิสูจน์ได้ว่าล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ
ธนาคาร เอกชนมี NPL 5.26 แสนล้านบาท และสินเชื่อรวม 2.62 ล้านล้านบาท คิดเป็น 20.11% ต่อสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิจากเดือนก่อน 4.77 หมื่นล้านบาท หรือ 8.31% เนื่องจากเดือนกันยายนนี้ธนาคารดีบีเอสไทยทนุโอนขายหนี้ให้ต่างประเทศ ธนาคารของรัฐ มี NPL 4.93 แสนล้านบาท และสินเชื่อรวม 1.49 ล้านล้านบาท คิดเป็น33.09% ต่อสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิจากเดือนก่อนหน้า 4.22 แสนล้านบาท หรือ 46.13%ลดลงมากจากเดือนก่อนที่มี NPL 9.14 แสนล้านบาท เนื่องจากธนาคารกรุงไทยโอน NPL ไป AMC เป็นสำคัญ สาขาธนาคารต่างประเทศ มี NPL คงค้างทั้งสิ้น 3.93 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อรวม6.31 แสนล้านบาท คิดเป็น 6.23% ต่อสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิจากเดือนก่อน 7.4พันล้านบาท หรือ 15.83% และบริษัทเงินทุน มี NPL คงค้างทั้งสิ้น 5.72 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อรวม 1.6 แสนล้านบาท คิดเป็น 35.69% ต่อสินเชื่อรวม ลดลงจากเดือนก่อน 1.1พันล้านบาท หรือ 1.84% ขณะที่ตัวเลข ณ กลางปี 2543 ตัวเลขเม็ดเงินของกองทุนแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่เตรียมไว้ 3 แสนล้านบาทนั้นถูกใช้ไปเพียง 1 แสนล้านบาท ธนาคารพาณิชย์เอกชนยังประสบปัญหาเรื่องการเพิ่มทุนไม่เพียงพอ ในการรองรับ NPL ทำให้ผู้ประกอบการล้มละลายอย่างต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ เพราะสินเชื่อไม่ได้ถูกปล่อยออกมา ส่วนผู้ฝากเงินต้องทนรับชะตากรรมจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ใน ระดับที่ต่ำติดดิน สาเหตุที่กระทรวงการคลังและธปท. วางนโยบายการเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์เอกชน ต่อเนื่องด้วยการขายธนาคารที่แทรกแซงเป็นของรัฐ โดยเน้นเม็ดเงินของต่างชาติเป็นหลัก เป็นนโยบายที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานความคิดที่ว่า ประเทศไทยต้องอาศัยทุนต่างประเทศเท่านั้นจึงจะฟื้นได้ นอกจากนี้ การยืนยันเจตนารมณ์ที่ใช้โครงการเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 และ 2 ภายใต้มาตรการ 14 สิงหา ยิ่งกลายเป็นการซ้ำเติมวิกฤติสถาบันการเงินมากกว่าการแก้ปัญหา เพราะนอกจากแบงก์เอกชนไม่สามารถหาเงินทุนจากต่างประเทศได้เพียงพอแล้ว ยังไม่สนใจเข้าร่วมโครงการฯตามมารตรการ 14 สิงหาด้วย โดยสังเกตได้จากเงิน 3 แสนล้านบาทที่วางแผนไว้แต่ต้นมีการใช้ไปเพียง 1 ใน 3 หรือ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น ในส่วนของธนาคารก็มีเพียงธนาคารไทยพาณิชย์และทหารไทยเท่านั้นที่ขอรับความ ช่วยเหลือในโครงการเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 ส่วนธนาคารที่เข้ายึดโดยธปท. และกลายเป็นธนาคารของรัฐนั้นที่ขายไปก็เป็นการขายแบบขาดทุนประกอบด้วย ธนาคารแหลมทอง ธนาคารนครธน และธนาคารศรีนคร ส่วนธนาคารนครหลวงไทยที่ยังไม่ขายนั้น สินทรัพย์ ก็เสื่อมค่าลงทุกวัน ปรส.ปล้นชาติทำกองทุนล้มละลาย ใน ส่วนของการจัดการปัญหา 56 สถาบันการเงินได้วางนโยบายผิดพลาดมาตั้งแต่ต้นคือ ธารินทร์ จะพูดโดยตลอดว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจ และการเงินของประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากการทำจดหมายแสดงเจตจำนง (LOI) ฉบับที่ 1 สมัยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธทั้งสิ้น คือโยนความผิดให้กับรัฐบาลก่อนโดยตลอด ตนเป็นเพียงผู้เข้ามาแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น (สรุปรายละเอียดจดหมายแสดงเจตจำนง (LOI) ทุกฉบับท้ายบทความ) ต่อมาวันที่ 20 พ.ย. 2540 ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลชวน 2 ได้แถลงนโยบายอย่างสวยหรู โดยการกำหนดแผนดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และวางแผนไปถึงระยะยาว ขณะนั้น นโยบายเร่งด่วนที่ประกาศคือ การเสริมสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินและการเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ และได้ออกมาตรการคือ ต้องแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการชั่วคราวทันที โดยให้องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) ดำเนินการ 3 แนวทางคือ
ใน LOI ฉบับที่ 1 มีการกำหนดไว้ชัดเจนข้อหนึ่งว่า รัฐบาลไทยจะไม่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินมาชำระแทนเอกชน เป็นเรื่อง moral hazard ที่ไอเอ็มเอฟเห็นด้วย แต่ธารินทร์กลับไปแก้และออก LOI ฉบับต่อๆ มา แล้วออกพระราชกำหนด (พรก.) ให้รับโอนภาระความเสียหายของกองทุนฟื้นฟู 5 แสนล้านบาท โดยอ้างว่าเป็นเรื่องที่ผูกพัน์กันมาก่อน ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะจะโอนภาระหนี้ของเอกชนมาเป็นของรัฐได้อย่างไร ทำไมประชาชนทั่วไปซึ่งไม่ได้ก่อหนี้เหล่านี้จะต้องออกมารับภาระหนี้นี้แทน ในการเจรจากับไอเอ็มเอฟ ไทยไม่เคยยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้ และไอเอ็มเอฟเองก็บอกว่าทำไม่ได้และไม่ควรทำ แต่ไม่มีใครทราบเหตุผลที่แท้จริงว่า ใน LOI ฉบับที่ 2 และ 3 รัฐบาลนี้ไปเจรจารับภาระทำไม และที่สำคัญ ไอเอ็มเอฟเห็นชอบได้อย่างไร การไปรับโอนหนี้ของเอกชนมาเป็นหนี้ของรัฐและประชาชนเป็นการกระทำที่ผิดพลาด อย่างมหาศาล การประกาศว่ารัฐจะดูแลผู้ฝากและผู้ให้กู้ที่ทำธุรกิจถูกต้องเป็นเพียงการ บรรเทาสถานการณ์ของการระดมถอนเงินเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น การบังคับให้กองทุนฟื้นฟูสละสิทธิ์หนี้บุริมสิทธิ์ของหลักประกันที่กองทุนฯ ถือ ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินเหล่านี้ก็เพียงเพื่อเอาใจ เจ้าหนี้ต่างประเทศที่ให้กู้แบบปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกัน (clean loan) เป็นการเอาใจฝรั่งโดยการผลักภาระความเสียหายให้คนไทยที่ไม่รู้เรื่อง ความเสียหายขณะนี้สูงถึง 7 แสนล้านที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความบกพร่องผิดพลาดและการปฏิบัติที่ไม่โปร่งใส ของ ปรส.ที่นำสินทรัพย์ดีๆ ไปขายแบบเลหลัง และนโยบายที่รัฐบาลเคยประกาศเอาไว้แต่แรกว่าจะป้องกันความเสียหายนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้มีการปฏิบัติเลยกลับนำไปขายให้กับต่างชาติโดยเฉพาะ และชาวต่างชาติก็ทำกำไรไปมหาศาล ความเสียหายไม่หยุดแค่ 7 แสนล้านบาท เพราะการปิด 56 บริษัทเงินทุน เป็นการทำลายความมั่งคั่งของระบบสถาบันการเงินที่เหลือ และนักธุรกิจไทยอีกจำนวนมากอย่างไม่สามารถที่จะคำนวณได้ ปรส.ขายทรัพย์สินแบบเลหลัง โดยได้ราคาไม่ถึง 15-20% ของมูลค่าจริง การลดลงของมูลค่าทรัพย์สินเหล่านี้ทำให้สินทรัพย์และฐานะของทุกธนาคาร รวมทั้งเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ทั่วประเทศกระทบกระเทือน และลดลงทั้งระบบ นั่นคือทำให้คนไทยจนลงถ้วนหน้า สร้างปัญหาแก่ธุรกิจ ทำลายความมั่นคงของระบบธนาคารและนำไปสู่การจำนำอนาคตทางเศรษฐกิจของไทยไว้ กับต่างชาติ และคนที่ได้ผลประโยชน์ก็คือต่างชาติ คนไทยกลายเป็นเพียงลูกจ้าง เลี่ยงกฎหมายเอาคลังค้ำหนี้เน่า ล่า สุดธารินทร์ มีวาระนำเรื่องการชดเชยการขาดทุนอีกกว่า700,000 ล้านบาทให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันอังคารที่ 31 ตุลาคม ซึ่งการชดเชยดังกล่าวจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดและมีคณะ กรรมการขึ้นมาพิจารณาว่า การชดเชยให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯแต่ละครั้งว่ามีจำนวนเท่าใด เขาบอกว่า ในการเสนอคณะรัฐมนตรีนั้นจะให้ที่ประชุมพิจารณากรอบที่กระทรวงการคลังชดเชย ให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯว่า มีวิธีการอย่างไร แต่จะไม่ให้เป็นภาระแก่งบประมาณตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ความเสียหายที่กระทรวงการคลังจะชดเชยให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและมีความชัดเจน ทั้งยังกล่าวอีกว่า ความเสียหายที่คาดว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯจะได้รับนั้น ในอีก 5 ปีข้างหน้าจากการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่ขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก 70,000 ล้านบาท การเข้าไปช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงธนาคารกรุงไทยและการซื้อหนี้เสียกว่า 500,000 ล้านบาทจากธนาคารกรุงไทยด้วยนั้น เมื่อคิดเป็นราคาปัจจุบันแล้วประมาณ 717,000 ล้านบาท บนสมมติฐานว่า หนี้เสียทั้งหมดจะสามารถติดตามให้ชำระคืนได้ร้อยละ 40 สรุปกองทุนฟื้นฟูฯขาดทุน 1.2 ล้านล้าน ธารินทร์ กล่าวว่า เดิมนั้นกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย มีสมมติฐานในการคำนวณความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯแตกต่างกัน โดย ธปท.เห็นว่า อาจเกิดความเสียหายประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท ขณะที่กระทรวงการคลังเห็นว่า ควรอยู่ที่ประมาณ 800,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการหารือและมีการคำนวณองค์ประกอบต่างๆ แล้ว จึงสรุปว่าตัวเลขน่าจะอยู่ที่ 717,000 ล้านบาท ข้างต้น เมื่อรวมกับการที่กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตร 500,000 ล้านบาทชดเชยให้แก่สถาบันการเงิน 56 แห่งไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 แล้ว เท่ากับ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯทั้งสิ้นประมาณ 1.217 ล้านล้านบาท การขายทรัพย์สิน 56 ไฟแนนซ์ของ ปรส.ในเบื้องต้นขาดทุนไปประมาณ 570,000 ล้านบาท สูงกว่าเดิมที่คาดการณ์ไว้ 500,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยังเหลือสินทรัพย์อีกประมาณ 100,000 ล้านบาท ที่ยังไม่ได้จำหน่ายและอยู่ระหว่างการฟ้องร้องดำเนินคดี หากได้มาเท่าไรก็ต้องนำไปหักออกจาก 700,000 ล้าน ซึ่งจะทำให้ความเสียหายลดลงอีก การที่ธารินทร์อ้างว่าการชดเชยดังกล่าวจะไม่เป็นภาระงบประมาณเพราะวิธีการ ที่ใช้นั้น คือ ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นผู้ออกพันธบัตรและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ส่วนพันธบัตรจะออกในแต่ละงวดและค้ำประกันเท่าใดนั้น จะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันเพื่อพิจารณา โดยจะมีหลักเกณฑ์ตามที่กำหนด อาทิ ความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างแน่ชัดแล้ว กฤษฎีกาชี้การค้ำประกันพันธบัตรอาจผิดกฎหมาย ต่อ มาก็มีการเปิดเผยด้วยว่า ก่อนหน้านี้ธารินทร์ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อหารือถึงการที่กระทรวงการคลังจะค้ำประกันพันธบัตรที่ออกโดยกองทุนเพื่อ การฟื้นฟูฯว่า สามารถทำได้หรือไม่ โดยถามคณะกรรมการกฤษฎีกา 2 ประเด็น คือ
ทบต่อการบริหารงานของรัฐบาล ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงทำหนังสือตอบข้อแรกเพียงข้อเดียว คือ กระทรวงการคลังสามารถค้ำประกันกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้ ส่วนวิธีการกระทรวงการคลังต้องดำเนินการเอง เลี่ยงให้กองทุนฟื้นฟูออกพันธบัตร วิธี การที่กระทรวงการคลังจะชดเชยความเสียหายแต่ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯเป็นผู้ ออกพันธบัตรเองและกระทรวงการคลังค้ำประกันให้นั้น ก็เหมือนกับกระทรวงการคลังเป็นผู้รับภาระเองเพียงแต่เลี่ยงให้กองทุนเพื่อ การฟื้นฟูฯ ออกแทน เพราะหวั่นเรื่องการเมือง เพราะในที่สุดแล้วกระทรวงการคลัง จะต้องรับภาระเองทั้งหมดเนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะมารับภาระหนี้จากการออกพันธบัตรดังกล่าว แหล่งข่าวจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯให้ความเห็นว่า ตัวเลขความเสียหายที่ประมาณการร่วมกันกับกระทรวงการคลังล่าสุดอยู่ที่ 850,000 ล้านบาท ส่วนตัวเลข 717,000 ล้านบาทยังไม่ได้พูดคุยกันและยังไม่เห็นตัวเลขดังกล่าว หากลดลง 100,000 ล้านบาท ถือว่ายังเป็นภาระหนัก นอกจากนี้ ยังมีภาระการชดเชยจากรายได้ที่ขาดหายไปจากลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (Yield Maintenance) และการร่วมแบ่งรับผลกำไรขาดทุนจากการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ (Gain/Loss Sharing) ให้แก่สถาบันการเงินที่ทางการเข้าไปแทรกแซงที่มีการประมาณการความเสียหาย ในอีก 5 ปีข้างหน้าว่าจะมีประมาณ 7-8 แสนล้านบาท แต่เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯจะทยอยมา เรื่อยๆ ที่จะต้องรับมาเป็นหนี้สาธารณะเพิ่มเติมต่อจาก 5 แสนล้านบาทในระยะเวลาอันใกล้นั้น ก็คงจะไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ตัวเลขยังไม่แน่นอน เจ้าหน้าที่บางคนบอกว่า 2.1 แสนล้านบาท บางคนก็บอก 2.8 แสนล้านบาท หนี้ภาครัฐอีก 5 ปีเพิ่มขึ้นอีก สำหรับ ยอดหนี้คงค้างของภาครัฐ เทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ได้เพิ่มจากร้อยละ 14.8 ในปี 2539 เป็นประมาณร้อยละ 52 ในปี 2543 ขณะที่ภาระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในปี 2539 เป็นประมาณร้อยละ 9.1 ในปี 2543 และจากการประมาณการณ์ใน 5 ปีข้างหน้า (2544-2548) พบว่าภาระหนี้ต่องบประมาณจะเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณร้อยละ 17 ในปีงบประมาณ 2547 ในกรณีที่มีการชดเชยความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯเพิ่มเติม 800,000 ล้านบาท ในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนยอดหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯที่เกิดขึ้น ยังไม่นับเป็นภาระของรัฐบาล จนกว่าความเสียหายสุทธิจะปรากฏชัดเจนแล้ว ณ สิ้นปี 2540 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มียอดหนี้คงค้างเท่ากับ 893,111 ล้านบาท ได้ลดลงมาเหลือ 773,941.10 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 การเปลี่ยนแปลงในยอดหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯนอกจากจะเป็นผลจากการ แปลงหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯเป็นของรัฐบาลแล้ว ยังมีสาเหตุมาจากการที่สถาบันการเงินมีสภาพคล่องและมีเสถียรภาพมากขึ้น สถาบันการเงินสามารถชำระหนี้คืนได้บางส่วน นอกจากนั้น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯยังมีรายรับจากการขายหุ้นธนาคารและผลตอบแทนอื่นด้วย จากการประมาณการณ์ความเสียหายที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะต้องชดเชยความเสียหายและรายได้จากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากการขาย ธนาคารของรัฐประมาณ 382,029 ล้านบาททั้งนี้ ไม่รวมความเสียหายในส่วนอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น สรุปสาระสำคัญของหนังสือแสดงเจตจำนงจากฉบับที่ 1-8 เตือน ความจำประชาคม สองปีเศษภายใต้ผลงานของรัฐบาลชวน จากหนังสือแสดงเจตจำนงที่ถูกบัญชาจากไอเอ็มเอฟชี้ให้เห็นกระบวนการทำงานของ คนไทยใจฝรั่งที่พร้อมสมคบกับต่างชาติสร้างพันธกรณีเพิ่มทุกข์จากวิกฤติ เศรษฐกิจให้หนักและผูกพันมาถึงปัจจุบันและจะล่วงสู่อนาคต ความเปลี่ยนแปลงในภาคเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากพันธกรณีที่ประเทศไทยทำขึ้นตามคำบัญชาของกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ผ่านหนังสือแสดงเจตจำนงหรือแอลโอไอ แรกเริ่มที่รัฐบาลชวน หลีกภัย เข้ามารับตำแหน่งบริหารประเทศเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2540 รัฐบาลเชื่อว่า หากทำตามพันธกรณีของไอเอ็มเอฟแล้วจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่สองปีเศษที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า พันธกรณีต่างๆเหล่านั้น ไม่ได้ส่งดีต่อเศรษฐกิจแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามกลับกลายเป็นโซ่ตรวนที่ล่ามประเทศไทยซ้ำเติมทุกข์ของคนไทยมากขึ้น การล้มละลายของธุรกิจ การยึดครองกิจการของคนไทยโดยคนต่างชาติ ปรากฏให้เห็นมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้ภาพชัดเจนขึ้น "ผู้จัดการ"ได้รวบรวมสาระสำคัญของหนังสือแสดงเจตจำนงจากฉบับที่ 1-8 ที่ไทยได้ตกลงไว้กับไอเอ็มเอฟ (LOI1-8) ที่เกี่ยวเนื่องกับการออกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม ซึ่งจะเห็นถึงพัฒนาการต่างๆที่รัฐบาลไทยจำนนต่อต่างชาติดังนี้ LOI ฉบับที่ 1 (14 สิงหาคม 2540) (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) - พันธกรณีในการดำเนินนโยบายเน้นในการจัดการพื้นฐานทางเศรษฐกิจและวางระเบียบ ใหม่ ในการดูแลสถาบันการเงิน-การคลังของประเทศให้เข้มงวด แต่ไม่มีพันธะที่จะต้องออกฎหมายมาใช้บังคับ ใน LOI ฉบับที่ 1 มีการกำหนดไว้ชัดเจนข้อหนึ่งว่า รัฐบาลไทยจะไม่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินมาชำระแทนเอกชน ซึ่งทางไอเอ็มเอฟก็เห็นด้วยอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นการไม่ยุติธรรมแก่คนไทยทั้งประเทศที่จะต้องไปรับผิดชอบหนี้สิน ของภาคเอกชน LOI ฉบับที่ 2 (25 พฤศจิกายน2540) เริ่มรัฐบาลชวน(20 พฤศจิกายน 2540) - ได้มีการทบทวนมาตรการหลายอย่างที่ทำมาในช่วง LOI 1 โดยเฉพาะการปรับเพดานการกู้เงินต่างประเทศเพิ่มขึ้น และยกเลิกตลาดเงินตราต่างประเทศ 2 ตลาด(Two-tier system) - ขณะเดียวกันเริ่มใช้มาตรการบีบบังคับสถาบันการเงินด้วยกฎเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล - ปรับปรุงพ.ร.บ.ล้มละลาย ให้เจ้าหนี้สามารถ บังคับหลักประกันได้ในเวลาเร็วขึ้น - ประกาศให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นข้างมากในสถาบันการเงินได้เป็นเวลา 10 ปี - กำหนดเป้าหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยเสนอให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายที่จำเป็น LOI ฉบับที่ 3 (24 กุมภาพันธ์ 2541) -กำหนดกรอบในการแก้ไขพ.ร.บ.ล้มละลาย โดยพิจารณาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ การทำธุรกิจของคนต่างด้าว LOI ฉบับที่ 4 (26 พฤษภาคม 2541) -นำแนวทางในการประเมินมูลค่าหลักประกันมาใช้ โดยทบทวนกฎหมายธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง - กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการบันทึกบัญชี ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกในการปรับปรุงมาตรฐานบัญชีใหม่ให้เป็นสากล และการร่างกฎหมายการบัญชีใหม่ - เน้นการเปิดเสรีมากขึ้น เสนอให้แก้ไขกฎหมายปว.281 และกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับการลงทุนทั้งหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ LOI ฉบับที่ 5 (25 สิงหาคม 2541) - เพื่อสนองนโยบายเปิดประเทศ รัฐบาลได้เสนอแก้ปว.281 ให้เป็นพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว - แก้กฎหมายล้มละลาย ในประเด็นกระบวนการบังคับหลักประกันและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการให้กู้ยืม เพื่อเป็นเงื่อนไขจูงใจให้ทั้งเจ้าหนี้ - แก้ไขกฎหมายประมวลกฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติอาคารชุด - อนุมัติร่างแก้ไขพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และเครดิต ฟองซิเอร์ - เพิ่มความเข้มงวดระบบบัญชี - ออกพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน - ปรุงกฎหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยการออกพ.ร.บ.ทุนให้อำนาจในการแปลงทุนเป็น หุ้น และแปลงรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด แก้ไขพ.ร.บ. การเดินอากาศให้ขายหุ้นส่วนใหญ่ของการบินไทยให้ต่างชาติได้ LOI ฉบับที่6 (1 ธันวาคม 2541) - ดำเนินการต่อเนื่องในรายละเอียดของกฎหมายล้มละลาย และปว.281 - ขณะที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสถาบันการเงินมีการออกกฎหมายมา หลายฉบับ คือ กฎหมายจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต (เครดิตบูโร) พ.ร.ก.ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้ควบรวมการกันได้ - พ.ร.ก.จัดตั้งเอเอ็มซีแก้ไขพ.ร.บ.เงินตรา LOI ฉบับที่ 7 ( 23 มีนาคม 2542) - เน้นนโยบายการจัดการข้อพิพาทระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนไทย โดยแก้ไข พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฉบับใหม่ และผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบังคับหลักประกัน 2 ฉบับพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ร.บ. อาคารชุด และเร่งออกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกส่วนหนึ่ง LOI ฉบับที่ 8 ( 21 กันยายน 2542) - ดำเนินการต่อเนื่อง เสนอให้แก้ไขกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับใหม่ ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้ธปท.(รวมบัญชี ล้างขาดทุนกองทุนฟื้นฟู) กฎหมายเงินตรา ซึ่งจะทำให้การบริหารเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีความยืดหยุ่นสูง - ร่างกฎหมายรับประกันเงินฝาก เมื่อ คืนวันที่ 12 พ.ย 2543 ได้มีใบปลิวสีแดง โจมตีพรรคประชาธิปัตย์ไปทั่วเมืองเชียงใหม่ โดยหยิบยกคำพูดของนายชวน ที่กล่าวในสภาฯว่า ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ดีอย่าเลือก พร้อมกับหยิบยกผลงานชิ้นโบดำของธารินทร์มาโจมตี เช่น นโยบายการออกกฎหมายขายชาติ การก่อหนี้ผูกพัน ให้ประชาชนชดใช้หนี้แทน 3.3 ล้านล้านบาท การตีม็อบชาวนา ใช้กระบองตีหัวชาวบ้านอย่างไร้ความปรานี ใช้หมากัดสลายม็อบ คนทำงานมีรายได้ลดลง ปล่อยให้มีการคอร์รัปชั่น ทั้งทุจริตจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ โครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ ปัญหาคนตกงานเกิดขึ้น และภาคชนบทถูกละเลย แต่ยึดนโยบายอุ้มคนรวยไม่ช่วยคนจน |
ผู้จัดการรายวัน 14 พ.ย.43
ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13-19 พ.ย.43
----------------------------------------------------------
- รีบรวมตลาดเงินตรา จนเกิดความเสียหายตามมา
จากการทำ LOI ฉบับที่ 2 (25 พฤศจิกายน2540)
ในสมัยรัฐบาลชวน
ได้มีการยกเลิกตลาดเงินตราต่างประเทศ 2 ตลาดที่รัฐบาลจิ๋วแยกไว้
เพื่อให้พวกที่โจมตีค่าเงิน
ไม่สามารถหาเงินบาทมาชำระได้
กับเร่งรีบรวมทันทีที่พวกตัวเองมาเป็นรัฐบาล
ผลก็คือต่างชาติสามารถหาเงินบาท
จากพวกแบงค์ใหญ่ๆ ที่คบคิดกันฟันกำไรส่วนต่าง
ทำให้ต่างชาติมีเงินบาทจำนวนมากพอ
มาส่งมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 1 ปี
ตอนช่วงมาโจมตีค่าเงินปี 40 ได้
แทนที่จะรวมเมื่อเลยกำหนดเวลาการส่งมอบเงิน
ตามสัญญา Swap ที่ไปทำไว้เสียก่อน
จากกราฟเส้นปะสีเขียวส่วนใหญ่เป็นตัวเลขที่ไปทำ Swap ไว้
ส่วนเส้นทึบเป็นตัวเลขเงินทุนสำรองทางบัญชี
อย่างกรณีปี 40 ที่ไปทำ Swap ปกป้องค่าเงินบาทไว้
แต่จบปี 40 จำนวนเงินจริงๆ
ก็ยังเหลืออยู่ประมาณ 2 หมื่นกว่าล้านเหรียญสหรัฐ
ไม่ได้เหลือระดับพันล้านเหรียญอย่างที่เห็น
ที่เห็นอยู่เป็นตัวเลขทางบัญชีที่เขาหักล่วงหน้า
แต่ถึงเวลาครบกำหนดการส่งมอบเงินตามสัญญา Swap
ตัวเลขการขาดทุนอาจไม่เท่าที่คำนวน ณ วันปิดบัญชีปี 40 ก็ได้
ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนช่วงปี 41 ด้วย
ดังนั้นจะเห็นว่ากราฟเส้นปะกับเส้นทึบจะสวนทางกัน
เพราะเมื่อพวกที่โจมตีค่าเงินโดยการทำ Swap
หาเงินบาทมาส่งมอบแบงค์ชาติได้
เงินดอลลาห์ในมือแบงค์ชาติ
ที่เรียกว่าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศด้วย
ก็จะถูกส่งมอบให้ต่างชาติ
แล้วได้เงินบาทกลับมา
แต่ไม่สามารถเอาไปเป็นเงินทุนสำรองได้
ถึงต้องไปกู้เงินดอลลาห์จาก IMF และเพื่อนบ้าน
มาถือไว้เพื่อความเชื่อมั่นในสกุลเงินบาท
เพราะเงินบาทไม่มีค่าความเชื่อมั่นในตัวมันเอง
เหมือนเงินดอลลาห์สหรัฐ
แบงค์ชาติอาจออกพันธบัตร
ไปซื้อเงินดอลลาห์มาถือเพิ่มอีกด้วย
ถ้ายังแยกตลาดเงินตราต่างประเทศ
เป็นตลาดในประเทศ (On-shore)
กับตลาดต่างประเทศ (Off-shore) เหมือนเดิม
โอกาสที่ต่างชาติจะหาเงินบาทมาส่งมอบได้ครบก็ลำบาก
และถ้าหาเงินบาทมาส่งมอบไม่ได้ตามสัญญา
ก็อาจมีค่าปรับหรือสัญญานั้นเป็นโมฆะ
ซึ่งก็จะไม่ต้องสูญเงินดอลลาห์
ที่เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในตัวเพิ่มขึ้นด้วย
แถมเป็นการดัดหลังพวกที่มาโจมตี
ต้องมีต้นทุนที่ซื้อเงินบาทได้ในราคาแพงขึ้น
ก็จะทำกำไรได้น้อยลงด้วย
เหมือนที่ทำเมื่อไม่นานมานี้
"
1. ค่าเงินบาทตลาดต่างประเทศแข็งกว่าในประเทศถึงเกือบ 2.50 บาท
- ณ วันที่ 26 ม.ค. 50 ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ (Off-shore) ปิดที่ 33.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่ากว่าตลาดในประเทศ (On-shore) ที่ปิดที่ 35.8 บาทที่ประมาณ 2.40 บาท ซึ่ง ธ. เอชเอสบีซี เห็นว่าเกิดจากมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าของ ธปท. ทำให้เกิดตลาดมืดของค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินต่างประเทศได้ทำสัญญาซื้อขายไว้ล่วงหน้า ณ วันที่ 18 ธ.ค. 49 และเมื่อสัญญาครบกำหนด สถาบันการเงินจึงพบความยากลำบากในการหาเงินบาทส่งมอบตามสัญญา ซึ่งคาดว่าส่วนต่างของค่าเงินจะกว้างขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการกันสำรอง
- สศค. วิเคราะห์ว่า ส่วนต่างค่าเงินที่สูงนั้นส่วนหนึ่งเกิดจาก มาตรการของธปท.ได้ส่งผลให้การแยกตลาดเงินตราต่างประเทศระหว่างตลาดOn-shore กับตลาดOff-shore และเป็นสาเหตุให้ตลาดOff-shore ขาดสภาพคล่องเงินบาทซึ่งเป็นที่มาให้ค่าเงินบาทในตลาด Off-shore แข็งค่ากว่าตลาด On-shore
http://www.fpo.go.th/content.php?action=view§ion=6100000000&id=14313"
----------------------------------------------------------http://www.fpo.go.th/content.php?action=view§ion=6100000000&id=14313"
- ให้ยาขมจนทำให้ประเทศติดลบหนัก
นโยบายดอกเบี้ย - สถาบันการเงิน 3 ปีเสียหาย 2.7 ล้านล้าน
รัฐบาลชวน หลีกภัย เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย. 40 นับเป็นเวลาเกือบ 3 ปี รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการออกมาแก้ไขวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ภายใต้การควบคุมของหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รมว.กค. และ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แนวทางดำเนินมาตรการทางการเงินการคลังเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลตาม รายงานของกระทรวงการคลังมี 6 ครั้ง (ไม่นับมาตรการฉบับ ครม.31 ตุลาคม 2543) และเริ่มในหนังสือแสดงเจตจำนงที่ทำไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตั้งแต่ฉบับที่ 2 เป็นต้นมา
จากผลการสำรวจคนในวงการ เศรษฐกิจการเงินการธนาคารทั้งนายแบงก์ ผู้ประกอบการ นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่สำนักวิจัยเพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลนโยบายมาตรการสถาบัน การเงิน สรุปผลได้ว่า ล้มเหลวและน่าผิดหวังกับรัฐบาลชุดนี้ สามารถพิสูจน์ความเสียหายในแต่ละกรณีทั้งการแก้ปัญหาสถาบันการเงินและนโยบาย อัตราดอกเบี้ย ถมสถาบันการเงินสูญเสีย 1.3 ล้านล้าน
การแก้ปัญหาสถาบันการเงิน ประกอบด้วย
1) การประมูลขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง องค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ ถูกปิด 56 บริษัท ปรส.ทำหน้าที่จัดการสินทรัพย์และนำออกขายเพื่อนำรายได้ส่งคือแก่เจ้าหนี้ของ บริษัทและกองทุนฟื้นฟู
ในวันที่ 23 มิถุนายน 2541 รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 เพื่อให้ผู้ซื้อทรัพย์สินจาก ปรส.ได้กรรมสิทธิ์สมบูรณ์ จากนั้นได้เริ่มประมูลสินทรัพย์หลักครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2541
จากตัวเลขสรุปผลการ จำหน่ายสินทรัพย์ ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2542 ปรากฏว่าจำหน่ายสินทรัพย์ ปรส.ได้ทั้งสิ้น 327,714 ล้านบาท ในขณะที่ราคาประเมินสินทรัพย์เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2540 เท่ากับ 851,000 ล้านบาท การบริหารจัดการอย่างไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดการขาดทุนถึง 523,286 ล้านบาท ผลกระทบที่ตามมาทำให้กองทุนฟื้นฟูต้องประสบปัญหา ซึ่งชดเชยด้วยภาษีอากรจากประชาชน
2) มาตรการ 4 สิงหาคม 2541 ได้แก่ โครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 และ 2 วงเงิน 300,000 ล้านบาท การแทรกแซงสถาบันการเงิน 2 ธนาคารและบริษัทเงินทุน 12 แห่ง ที่ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงและการกำหนดควบรวมกิจการขาย และกิจการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ มหานคร นครหลวงไทย และธนาคารศรีนคร
มีสถาบันการเงินขอรับ ความช่วยเหลือ รวมคิดเป็นมูลค่า 72,000 ล้านบาทจากวงเงิน 3 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 24 ขอวงเงิน "มาตรการ 14 สิงหาคมจึงยังไม่สามารถช่วยให้ธนาคารเพิ่มทุนได้อย่างเพียงพอกับความเสีย หาย" ในขณะที่ออกมาตรการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เท่ากับ 36.20% เมื่อประเมินช่วงเวลา 1 ปีหลังจากมาตรการจะพบว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงขึ้นเป็น 47%
"มาตรการ 14 สิงหาคม นี้เป็นนโยบายที่สถาบันการเงินไม่ตอบรับเนื่องจากเกรงว่าจะถูกรัฐแทรกแซง เห็นได้จากการที่ทางธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ออกตราสารประเภท CAPS หรือ SLIPS เองเพื่อทดแทนเงินกองทุนที่ลดลงด้วยปริมาณที่มากถึง 1.08 แสนล้านบาท โดยจำเป็นต้องให้ผลตอบแทนที่สูงเพื่อจูงใจนักลงทุน ทำให้อัตราดอกเบี้ยจ่ายสูงประมาณ 11% สูงกว่าดอกเบี้ยตลาดประมาณ 4% คิดเป็นความเสียหายจากต้นทุนที่เพิ่มกว่ากู้ปกติ 4,321.2 ล้านบาท และเมื่อประมาณความเสียหายจากการขายธนาคารที่รัฐเข้าไปแทรกแซงตามมาตรการ 14 ส.ค. ทำให้รัฐบาลต้องขาดทุนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเอ็นพีแอลของธนาคารที่รัฐยึดมาสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท
จากการประเมินการขาย ธนาคารรัฐต้องรับผิดชอบความสูญเสีย (loss sharing) 85% ของเอ็นพีแอล และ Yield maintenance เท่ากับ 1% ของสินเชื่อที่ไม่ได้รายได้
"คำนวณได้ว่าจะเกิดความ สูญเสียที่แน่ชัดแล้ว 40,000 ล้านบาทต่อแห่ง และหากการดำเนินงานของธนาคารต่อไปประสบกับภาวะดังเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นี้ คาดว่า ความเสียหายจะเพิ่มขึ้นถึง 136,000 ล้านบาทต่อแห่ง"
เมื่อรวมทั้ง 3 ธนาคารคือ ธนาคารศรีนคร นครธน และธนาคารรัตนสิน รวมเป็นมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่นอนแล้วรวมเท่ากับ 120,000 ล้านบาท และสามารถมีความเสียหายในอนาคตได้รวมมากถึง 408,000 ล้านบาท
3) มาตรการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ของธนาคารกรุงไทย เพื่อโอนหนี้เสียออกจากธนาคารกรุงไทย 537,000 ล้านบาท เป็นการโอนหนี้เสียจำนวนดังกล่าวออกจากระบบบัญชีของธนาคารกรุงไทย ซึ่งบริษัทบริหารสินทรัพย์จะให้กองทุนฟื้นฟูอาวัลตั๋วเงินเพื่อใช้ในการซื้อ หนี้ดังกล่าว แต่ปรากฏว่า แทนที่จะซื้อหนี้ในราคาตลาดปัจจุบันกลับจะซื้อในราคาเต็มตามมูลค่าทางบัญชี (สังเกตได้จากผลรวมของเงินที่อุดหนุนให้แก่ธนาคารและบริษัทบริหารสินทรัพย์ ทั้งหมด) เป็นราคาที่สูงกว่าราคาตลาดประมาณ 2 เท่า ทำให้เกิดความเสียหายโดยจะตกเป็นหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและรัฐบาลในที่สุด ประมาณ 268,500 ล้านบาท
4) การออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟู ระหว่าง พ.ค. - ต.ค. 2541 ได้แก่ งวดวันที่ 10 พ.ค. 2541 งวดแรกและงวดสองรวม 150,000 ล้านบาท มีอายุ 1 ปี ดอกเบี้ย 12.75% วันที่ 31ส.ค. 2541 งวดสาม 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 50,000 ล้านบาทระยะเวลา 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 8.25% และอีก 50,000 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 8.5% ยังมีการออกพันธบัตรในหลาย ๆ คราวอีกประมาณ 90,000 ล้านบาท และต้องมีการออกเพิ่มเติมจนกระทั่งครบ 500,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยความเสียหายเต็มจำนวนให้กับกองทุนฟื้นฟู รวมออกพันธบัตรทั้งสิ้นที่ออกไปแล้เท่ากับ 390,000 ล้านบาท แต่ต้องครบจำนวนที่ 500,000 ล้านบาท
ส่วนนี้เป็นส่วนที่ช่วย เหลือกองทุนฟื้นฟูที่ได้รับความเสียหายจากการประมูล ปรส.โดยเป็นการออกพันธบัตรเป็นงวด ๆ ขณะนี้ออกไปแล้วประมาณ 390,000 ล้านบาท แต่ต้องมีการออกพันธบัตรให้ครบตามจำนวนทั้งสิ้น 500,000 ล้านบาท เมื่อประเมินภาระดอกบี้ยของพันธบัตรเฉพาะส่วนที่ออกไปแล้วประมาณ 390,000 ล้านบาท ภาระที่ต้องจ่ายรวมทั้งหมดประมาณ 114,830 ล้านบาท (คิดรวมจนเสร็จสิ้นระยะเวลาแล้ว) ยังมีความเสียหายจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่รัฐต้องจ่ายแพงในช่วงภาวะอัตรา ดอกเบี้ยสูงในการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟู 4 งวด รวมมูลค่า 3 แสนล้านบาท ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในต่างประเทศ 6% (U.S. Government securities ระยะ 7 ปี) คำนวณเป็นความเสียหายที่ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงเกินจริงรวมเท่ากับ 14,625 ล้านบาทต่อปี รวมเป็นความเสียหายทั้งหมดจากช่วงออกพันธบัตรจนถึงปัจจุบัน (ตุลาคม 2543) เท่ากับ 29,250 ล้านบาท
สรุปผลความเสียหาย จากการดำเนินนโยบายการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน กรณี ปรส.กรณีกองทุนฟื้นฟูและมาตรการ 14 สิงหาคม รวมทั้งสิ้น 1,348,188 ล้านบาท
นโยบายดอกเบี้ยผิดพลาดเสียหาย 1.3 ล้านล้านบาท
นโยบายอัตราดอกเบี้ยของ รัฐบาลชวน แบ่งเป็น ช่วงครึ่งหลังของปี 2540 ถึงไตรมาส 2 ปี 2541 ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง เนื่องจากรัฐบาลต้องการสร้างเสถียรภาพของค่าเงินบาทด้วยการตรึงอัตรา ดอกเบี้ยสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานตามภาวะทางการเงินในขณะนั้น ในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 2 (พ.ย. 2540) กำหนดให้อัตราดอกเบี้ย อินเตอร์แบงก์อยู่ระหว่าง 15 - 20% และต่อมาอยู่ในระดับสูงกว่า 20% จนถึงไตรมาส 2 ปี 2541 "แต่เนื่องจากรัฐบาลตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงนานเกินไปจนทำให้อัตรา ดอกเบี้ยระยะยาวคืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงตามไปด้วยในขณะที่การแก้ไขปัญหา สถาบันการเงินยังไม่คืบหน้า การใช้อัตรดอกเบี้ยสูงยิ่งก่อให้เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ใน สถาบันการเงินและทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมของภาคการผลิตสูงขึ้น เกิดปัญหาสภาพคล่องตึงตัวอย่างยาวนาน ธุรกิจล้มละลายส่งผลกลับเป็นวงจรสู่สถาบันการเงิน" ช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดคือช่วงไตรมาส 3 ปี 2541 ซึ่งเศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 10.4 มีคนว่างงานประมาณ 1.423 ล้านคน (ถ้าประเมินขั้นสูงเท่ากับ 2.1 ล้านคน) และ NPL ระบบเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42.32 จากช่วงต้นปีร้อยละ 20.92
ไตรมาส 3 ปี 2541 ถึงปัจจุบัน ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ "ภายหลังไตรมาส 2 ปี 2541 การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำจึงไม่ได้กระตุ้นระบบเศรษฐกิจ เพราะปัญหาในภาคการเงินได้ลุกลามไปมากกว่าระดับที่จะสามารถใช้การจัดการโดย นโยบายการเงินให้ลุล่วงได้ด้วยศักยภาพของระบบ ภาคธุรกิจล้มละลายไปมาก" หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อง ๆ จนเดือนพฤษภาคม 2542 มีปริมาณ สูงสุดถึง 2,730,266 ล้านบาท หรือ 47.72% เมื่อประเมินความเสียหายจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยและสภาพการตอบรับทางภาค เศรษฐกิจจริงพบว่า
1) ความเสียหายที่เกิดกับระบบสถาบันการเงิน ในช่วงที่รัฐบาลชวนเข้ามาบริหารงานนั้น ในเดือนธันวาคมปี 2540 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีมูลค่าเท่ากับ 1.37 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.78 ต่อสินเชื่อรวมเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมปี 2543 ที่ NPL เท่ากับ 1.59 ล้านบาท สามารถประเมินความสูญเสียจากนโยบายดอกเบี้ยที่ผิดพลาดของรัฐบาลที่มีผลทำให้ NPL สูงขึ้นเท่ากับ 2.2 แสนล้านบาท
2) ความเสียหายจากการว่างงานที่สูงขึ้น หากประเมินจากรายได้ที่สูญเสียจากผู้ว่างงานรวมปี 2541-2542 โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำ (เช่นปี 2542 ประมาณ 5,292บาทต่อเดือน จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) และหักผู้รองานตามฤดูกาลออกไป รวมทั้งหักแรงงานที่ว่างงานตามธรรมชาติ (ซึ่งในที่นี้สมมติให้เท่ากับอัตราการว่างงาน ณ ปี 2540 เท่ากับร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นการผ่อนปรนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอัตราการว่างงานตามธรรมชาติโดยแท้จริงควรจะต่ำกว่าปีที่เกิด วิกฤตการณ์ปี 2540) สามารถคำนวณความสูญเสียขั้นต่ำได้เท่ากับ 210,145 ล้านบาท
3) ประเมินความเสียหายจากภาคการผลิตจริง หากประเมินจากตัวเลขคาดคะเนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงแรกที่รัฐบาลชวนได้เข้ามาบริหารประเทศ ได้คาดคะเนอัตราการเติบโตปี 2541 เท่ากับร้อยละ 0 ถึง 1 ซึ่งหลังจากนั้นมีการปรับลงในหลายฉบับต่อมาคือ LOI3 เป็นลบ 3 ถึงลบ 3.5 LOI4 เป็นลบ 4 ถึงลบ 5.5 LOI5 เป็นลบ 7 ดังนั้นประเมินได้ว่ารัฐบาลคาดการณ์สูงกว่าความเป็นจริงเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 6.575 หรือประเมินเป็นตัวเลขผิดเท่ากับ 2.513 แสนล้านบาท แสดงถึงความล้มเหลว ในการดำเนินมาตรการทั้งปวงที่ต้องการส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจจริง ทำให้การเพิ่มศักยภาพในส่วนการก่อให้เกิดรายได้ในภาคเศรษฐกิจจริงต่ำกว่าที่ ควรเป็นตัวเลขประเมินดังกล่าวถือเกณฑ์ว่าหากประเมินภาพรวมที่แม่นยำ ย่อมทำให้นโยบายการเงินการคลังสอดคล้องกับภาวะการณ์ทั่วไป
4) ประเมินความเสียหายที่เกิดจากตลาดหลักทรัพย์ มีหลักการประเมินอยู่ว่าถ้าในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ เลวร้ายที่สุดให้เท่ากับตลาดหลักทรัพย์ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่เกิดความเสียหายมากที่สุดในวิกฤตการณ์เอเซีย เมื่อประเมินในกรณีเลวร้ายที่สุดอย่างเช่นประเทศอินโดนีเซีย ดัชนีหลักทรัพย์ไทยยังน้อยกว่าประเทศอินโดนีเซียเท่ากับ 154 จุด ซึ่งสามารถคำนวณออกมาเป็นมูลค่าตลาดได้เท่ากับ 6.895 แสนล้านบาท หรือถือได้ว่าประเมินความสูญเสียเท่ากับ 6.895 แสนล้านบาท
สรุปความเสียหาย จากการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยทั้งสองช่วงที่มีผลให้ธุรกิจเกิดการล้ม ละลาย หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงขึ้น และคนงานว่างงานมากขึ้นรวมความสูญเสียเท่ากับ 1,370,945 ล้านบาท
--------------------------------------------------------
- ทำจนติดลบมากมายแล้วมาคุยว่าทำให้ฟื้น
การทำให้ถึงจุดต่ำสุดไวไว
เพื่อให้ตอนเด้งขึ้นมาเป็นสัญญาณบอกว่าฟื้นแล้ว
ถ้าเป็นการเล่นหุ้นนักเก็งกำไรจะชอบมาก
ถ้าไปช้อนซื้อตอนที่ตกไปมากๆ ใกล้ จุดต่ำสุด
เพราะจะฟันกำไรได้มากเมื่อราคาหุ้นเด้งขึ้นมามากๆ
แต่ชีวิตจริงคนที่เจ๊งไปแล้ว ล้มละลายไปแล้ว
บางคนหมดหนทางฆ่าตัวตายไปแล้วก็มี
เขาจะฟื้นตามตัวเลขที่เด้งขึ้นมาหรือไม่
ไม่รวมถึงคนตกงานจำนวนมากมาย
ที่ต้องไปดิ้นรนใช้ชีวิตลำบากลำบนในช่วงนั้น
รวมไปถึงข่าวแม่บ้านบางคนต้องไปรับจ๊อบ
ขายตัวเพื่อนำเงินมาช่วยเหลือครอบครัว
ถามว่ามันดีไหมกับการทำจนเศรษฐกิจหดตัวมากมาย
แล้วมันเด้งขึ้นมาจากที่หดตัวไปมากมาย
จึงไม่ต้องแปลกใจว่า
ทำไมปีนี้ไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจอีก
ถึงไม่มีนักธุรกิจและประชาชนที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น
เรียกร้องให้ชวนและธารินทร์ กลับมาบริหารประเทศอีก
มาลองดูกราฟแต่ละตัว
กราฟแสดงดอกเบี้ยที่ขึ้นไปสูงมาก
ที่เห็นเป็นค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยธนาคารใหญ่ๆ 4 แห่ง
ถ้าธนาคารเล็กๆ บางแห่งสูงกว่าที่เห็น
กราฟแสดงอัตราเงินเฟ้อ
และค่าเงินที่อ่อนจนไปแตะจุดสูงสุด
ที่ 50 กว่าบาทต่อดอลลาห์สหรัฐ
ผู้ส่งออกจะชอบเพราะมีกำไรค่าเงินเพิ่ม
แต่ผู้เป็นหนี้ต่างประเทศอ่วมหนัก
เป็นหนี้เพิ่มเกือบเท่าตัวทันที
ที่มา : ธปท.
ตารางเปรียบเทียบ
การตั้งกฏเกณฑ์ที่ให้ธนาคารสำรองหนี้เพิ่มมากขึ้น
เศรษฐกิจไม่ดีในช่วงนั้น
แล้วยังมาตั้งกฏเกณฑ์เข้มงวดแบบนี้
ทำให้การปล่อยกู้เริ่มมีความเข้มงวดมากขึ้น
สมมุติถ้าธนาคารมีเงิน 100 บาท
ปล่อยกู้พลาดจนได้หนี้เสีย 50 บาท
อาจต้องกันเงินอีก 20, 30 หรือ 50 บาท
ตามชั้นลูกหนี้เท่ากับเงินจมหายไปฟรีๆ
ก็เลยมีความเข้มงวดเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะรายย่อยและ SMEs
จะกู้ยากกว่ารายใหญ่
เพราะโอกาสเป็นหนี้สูญจากการตกงาน
หรือธุรกิจรายย่อยเจ๊งมีสูง
ที่มา : กระทรวงการคลัง
ข้อมูลแสดงตัวเลขคนว่างงานปี 41 ประมาณ 1.3 ล้านคน
แก้ปัญหาจนหนี้สาธารณะสูงขึ้นเกินกว่า 50% ของ GDP
โดยการออกพันธบัตรไปใช้หนี้กองทุนฟื้นฟู
และหนี้ ปรส. และสารพัดหนี้
ที่ต้องตามออกพันธบัตรมาแก้อีกในรัฐบาลต่อไป
แต่ถ้าทำให้ตัวเลข GDP สูงขึ้นกว่าหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น
ก็จะช่วยให้ตัวเลขหนี้สาธารณะต่อ GDP ดูดีขึ้น
โดยตัวเลขจะลดน้อยลง
ข้อมูลเกี่ยวกับ GDP และเงินเฟ้อเทียบแต่ละปี
ถ้าดูเป็น % เทียบกับเดือนก่อนหรือปีก่อนจะงง
ให้ดูยอดจริงๆ ว่าเท่าไหร่ก็จะไม่งง
เพราะว่าผ่านไป 3 ปี GDP เพิ่มลดไปมา
ดูแล้วอาจดูเหมือนว่าเพิ่มมากขึ้น
อันที่จริงยังน้อยกว่าปี 40 ที่เริ่มเกิดวิกฤตเสียอีก
อ่านวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบ Gumagin เพิ่มเติม<<< แนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบ Gumagin >>>
---------------------------------------------------------
- IMF ยอมรับว่าให้ยาผิด
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11175 มติชนรายวัน
"พอล ครุกแมน"เจ๋ง คว้ารางวัล"โนเบล" "ทฤษฎีการค้าใหม่"
" พอล ครุกแมน" คว้าโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ จากผลงาน"ทฤษฎีการค้าใหม่" ที่ตอบโจทย์ปัญหาการค้าเสรี ชี้ผลงานโดดเด่นคือค้านไอเอ็มเอฟที่ให้ลอยตัวค่าเงิน แก้วิกฤตปี"40 พร้อมแนะ"มาเลย์"ตรึงค่าเงินจนผ่านปัญหาไปได้
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาแห่งสวีเดน ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาผู้เหมาะสมเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประกาศให้นายพอล ครุกแมน ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกาและคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทม์ส เป็นผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2551 นี้ จากผลงานการคิดค้น "ทฤษฎีการค้าใหม่" ซึ่งเป็นทฤษฎีใหม่เพื่อใช้ในการตอบปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบการค้าเสรี เพื่อการวิเคราะห์รูปแบบของการค้าและการบ่งชี้ถึงกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ
ตอน หนึ่งในถ้อยแถลงเชิดชูเกียรติของศาสตราจารย์ผู้นี้ระบุว่า "อะไรคือผลกระทบของการค้าเสรีและภาวะโลกาภิวัตน์, อะไรเป็นพลังขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังการแปรรูปให้เป็นชุมชนเมืองที่เกิด ขึ้นทั่วโลก? พอล ครุกแมน ได้คิดค้นทฤษฎีใหม่ขึ้นมาเพื่อให้คำตอบต่อคำถามเหล่านี้" ซึ่งถือว่าเป็นการนำเอาผลการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้ในด้านการค้าระหว่าง ประเทศและภูมิเศรษฐกิจที่กระจัดกระจายกันอยู่มาบูรณาการเข้าด้วยกันจนประสบ ความสำเร็จในที่สุด
ศาสตราจารย์ พอล ครุกแมน เกิดเมื่อปี 2496 สำเร็จการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเยล ในปี 1974 และได้รับปริญญาเอกจากสถาบันเอ็มไอที เมื่อปี 1977 เคยเป็นอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์อยู่ทั้งในเยล, เอ็มไอทีและสแตนฟอร์ด ครุกแมนเขียนทั้งคอลัมน์ประจำ, รายงานทางวิชาการ และหนังสือเล่ม โดยมีผลงานรายงานทางวิชาการมากกว่า 200 ชิ้น และหนังสืออีก 20 เล่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลงานด้านการค้าและการเงินระหว่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งทฤษฎี "ทฤษฎีการค้าใหม่" ที่ถือเป็นการทบทวนทฤษฎีด้านการค้าระหว่างประเทศใหม่หมด เคยได้รับรางวัลทรงเกียรติมามากมายรวมทั้งรางวัลสมาคมเศรษฐศาสตร์อเมริกัน เมื่อปี 1991
พอล ครุกแมน เป็นที่รู้จักกันดีในเอเชียเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เพราะเป็นผู้คัดค้านแนวทางของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่ให้ลอยตัวค่าเงิน แต่แนะนำให้มาเลเซียใช้วิธีการตรึงค่าเงินและควบคุมกระแสเงินไหลเข้าออก ประเทศแทน ในเวลาต่อมา ไอเอ็มเอฟ ยอมรับว่า แนวทางของครุกแมนเป็นทางเลือกที่ดี และจะไม่ทำให้เกิดผันผวนในระบบอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศมากเท่ากับแนว ทางที่ไอเอ็มเอฟใช้ในเวลานั้น ทั้งนี้ศาสตราจารย์ครุกแมนจะได้รับการประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัลมูลค่า 1 ล้านโครเนอร์หรือราว 47.6 ล้านบาท
หน้า 1
--------------------------------------------------------
กรณีศึกษา : การแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
ภายใต้คำแนะนำของ IMF
นางสาวสิริกัลยา เรืองอำนาจ
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศฟิลิปปินส์ เม็กซิโก ไทย อินโดนีเซีย และเกาหลี ตามลำดับ ต้องจบลงด้วยการขอรับความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) จึงเป็นกรณีศึกษาถึงแนวทางของ IMF ในการกอบกู้และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในช่วงระยะที่ผ่านมาว่ามีความคล้ายคลึงกันเพียงใด เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น บทความนี้จึงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่หนึ่งจะเป็นการกล่าวถึงสาเหตุและผลของวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศก่อนขอรับความช่วยเหลือจาก IMF ส่วนที่สองเป็นหลักการและแนวทางปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของ IMF และเป็นการเปรียบเทียบมาตรการสำคัญต่าง ๆ ที่ IMF ใช้เป็นเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และส่วนที่สามสรุปผลของการปฏิบัติตามกรอบของ IMF
1. สาเหตุและผลของวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศก่อนขอรับความช่วยเหลือจาก IMF 1.1 ฟิลิปปินส์
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นเมื่อปี 2526 อันมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์มีความด้อยมากกว่าประเทศอื่นในแถบเอเซีย ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ตกเป็นเมืองขึ้นของสเปน และถูกอิทธิพลของต่างประเทศครอบงำในการปกครอง และระบบเศรษฐกิจของประเทศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการครอบงำของต่างชาติเป็นลักษณะการกอบโกยผลประโยชน์กลับสู่ประเทศของตน
หลังจากนั้น ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชและปกครองตนเอง แต่ก็ยังถูกกอบโกยจากผู้ ปกครองประเทศของตนเอง ทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจตกต่ำลงอย่างมาก แม้ว่าจะมีการกู้เงินจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แต่กลับนำไปลงทุนในโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับภาคเศรษฐกิจ เป็นการลงทุนในลักษณะไม่คุ้มกับเงินลงทุน
ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อฟิลิปปินส์อย่างรุนแรงคือ วิกฤตการณ์น้ำมันโลก ครั้งที่ 2 จนทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเหลือเพียงร้อยละ 1 ในปี 2526 มีอัตราการว่างงานสูง ถึงร้อยละ 19 และค่าจ้างแรงงานสูงกว่าประสิทธิภาพของแรงงานส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น การที่ประเทศติดต่อกับภาคต่างประเทศทำให้มีการเปิดเสรีอย่างมาก เป็นผลทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึงร้อยละ 8 ของ GDP และดุลการชำระเงินขาดดุลถึง 2 พันล้านเหรียญ สรอ. จึงจำเป็นต้องขอเลื่อนชำระหนี้ร้อยละ 60 ของหนี้คงค้าง นับว่าเป็นประเทศแรกของเอเซียที่ขอเลื่อนการชำระหนี้ ทั้งนี้ จากการที่ทุนสำรองเงินต่างประเทศลดลงเหลือ 450 ล้านเหรียญ สรอ. ณ สิ้นเดือนกันยายน 2526
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2526 ฟิลิปปินส์ได้ยื่นความจำนงขอรับความช่วยเหลือจาก IMF จำนวน 1,430 ล้านเหรียญ สรอ. เพื่อชดเชยการขาดดุลการชำระเงิน และรักษาทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับ 2.5 พันล้านเหรียญ สรอ
1.2 เม็กซิโก
วิกฤตการณ์เปโซเกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2537 โดยมีสาเหตุมาจากการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในปี 2532 ทำให้มีเงินทุนจำนวนมากไหลเข้าสู่ประเทศในรูปการลงทุนในหลักทรัพย์ระยะสั้นระหว่างปี 2533-2536 แต่การลงทุนโดยตรงมีเพียงร้อยละ 18 เท่านั้น ประกอบกับการปรับปรุงภาษีให้สอดคล้องกับข้อตกลงของ GATT ทำให้ภาษีนำเข้าถูกปรับลดลงเหลือร้อยละ 20 ส่งผลให้เม็กซิโกนำเข้าสินค้าจำนวนมากกว่าการส่งออก ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากยิ่งขึ้นจากร้อยละ 1.4 ของ GDP ในปี 2533 เป็นร้อยละ 7.7 ของ GDP ในปี 2537 ค่าเงินเปโซที่แข็งขึ้นเนื่องจากผูกติดกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เงินเปโซอยู่ในภาวะมีค่าสูงเกินความเป็นจริง ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและย้ายเงินทุนออกนอกประเทศมากขึ้น ภายในประเทศประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง พร้อมกับมีการพยุงค่าเงินโดยใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปจำนวนมาก จนเหลือเพียง 4 พันล้านเหรียญ สรอ. และยังมีการผูกพันอีก 28 พันล้านเหรียญ สรอ. ที่ครบกำหนดชำระในต้นปี 2538 ซึ่งเป็นผลให้ประกาศลดค่าเงินเปโซลงร้อยละ 15 นอกจากนี้ การเมืองที่ไร้เสถียรภาพ กองโจรปาติสต้าลักพาตัวนักธุรกิจ และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีถูกลอบสังหาร ยิ่งทำให้เงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากความไม่มั่นใจเหตุการณ์ของประเทศและความตื่นตระหนกของนักลงทุน
ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2538 เม๊กซิโกขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF สหรัฐอเมริกา กลุ่ม G-10 และธนาคารโลก จำนวน 37.8 พันล้านเหรียญ สรอ. แบ่งเป็นเงินกู้จาก IMF 12.1 พันล้าน SDR สหรัฐฯ จำนวน 20 พันล้านเหรียญ สรอ. และจำนวนที่เหลือจากกุล่ม G-10 และธนาคารโลก โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IMF และกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า Economic Policy Memorandum ซึ่งส่งผลให้หยุดการลดลงของค่าเงินเปโซ
การที่สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือจำนวนมากเช่นนี้ สหรัฐได้จัดตั้งกองทุน Economic Stabilization Fund (ESF) ขึ้นเพื่อจัดการเงินกู้ของสหรัฐเอง และการค้ำประกันให้กับเม็กซิโก แต่รัฐบาลเม๊กซิโกจะต้องนำเงินรายได้จากการขายน้ำมันและการขายสินค้า 2 ประเภทที่สหรัฐได้ให้ความช่วยเหลือในการขายเข้าบัญชีที่เปิดพิเศษสำหรับการโอนเงินนี้ที่ธนาคารกลางของสหรัฐที่กรุงนิวยอร์ก กระบวนการดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 20 วัน ในการจัดตั้งและสามารถเบิกจ่วยงวดแรกได้ เป็นผลทำให้เรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาได้ และระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น
1.3 ไทย
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยมีสาเหตุหลายประการ ได้แก่ การเปิดเสรีภาคการเงินโดยขาดมาตรการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการกู้เงินเข้ามาจำนวนมากผ่านทางธุรกรรมวิเทศธนกิจประเภท out-in แทนที่จะเป็นการทำธุรกรรมแบบ out-out ตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาระบบการเงินของประเทศไทย และนำเงินทุนเหล่านั้นไปลงทุนในโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เนื่องจากมีต้นทุนการกู้เงินที่ต่ำจากนอกประเทศจากการที่รัฐบาลไทยมีนโยบายดำรงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้า แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจผกผัน ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ธุรกิจอ่อนแอหรือล้มละลายเนื่องจากไม่สามารถส่งดอกเบี้ยและขอต่อสัญญาเงินกู้ต่อได้ ย่อมทำให้เป็นหนี้ที่เป็นปัญหาของสถาบันการเงินต่าง ๆ จนในที่สุดเป็นปัญหาสำคัญต่อสถาบันการเงินทั้งระบบ สาเหตุประการที่สอง ได้แก่ การที่ทางรัฐบาลจัดการกับปัญหาของสถาบันการเงินไม่เด็ดขาดและล่าช้า จนลุกลามให้เกิดความเสียหายต่อภาคการเงิน ปัญหาการแก้ไขสถาบันการเงินเริ่มตั้งแต่ปัญหาของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ เป็นต้นมา และสาเหตุที่สำคัญประการต่อมา คือ ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จนเป็นสาเหตุนำมาซึ่งการโจมตีค่าเงินบาท จากการที่นักวิเคราะห์ต่างประเทศวิเคราะห์ว่าค่าเงินบาทของไทยมีค่าแข็งมากเกินไปจากระดับพื้นฐานที่อ่อนแอในขณะนั้น แต่รัฐบาลไทยยังคงยืนยันดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ จนเป็นเหตุให้ประเทศไทยเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบ Managed float ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2541 แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นนักลงทุนต่างประเทศก็ยังไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้ยังคงมีเงินทุนไหลออกเป็นจำนวนมาก
1.4 อินโดนีเซีย
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียมีสาเหตุมาจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาคเอกชน และการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมหาศาล ซึ่งสืบเนื่องมาจากการผูกขาดทางการค้าในธุรกิจต่าง ๆ จากกลุ่มญาติพี่น้อง และนักธุรกิจที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประธานาธิบดีซูฮาร์โต ทำให้สถาบันการเงินมีการปล่อยเงินกู้กับโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และแก่พวกพ้องกันเอง ประกอบกับปัญหาทางการเมืองที่ผูกขาดอำนาจไว้โดยคนกลุ่มเดียวทำให้ไม่เกิดความร่วมมือ
กับฝ่ายอื่น จึงมีการใช้เงินงบประมาณสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่ไม่มีประโยชน์และให้แก่กลุ่มพวกพ้องทำให้มีการรั่วไหลของงบประมาณ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นด้านสังคมซ้ำเติมให้เศรษฐกิจมีความรุนแรงขึ้น อาทิ การคอร์รัปชั่น การจราจลของคนจน สภาวะแห้งแล้งจากปรากฎการณ์เอลนีโน่ และไฟไหม้ครั้งใหญ่ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรขาดแคลน และรัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณในการนำเข้าผลผลิตทางเกษตรและยารักษาโรค
การผูกค่า เงินกับดอลลาร์ทำให้ค่าเงินสูงเกินจริงและเป็นที่โจมตีจากนักเก็งกำไร ยิ่งทำให้ค่าเงินรูเปียห์ลดลงจาก 1 เหรียญ สรอ. เท่ากับ 2,361 รูเปียห์ เป็น 14,000 รูเปียห์ ณ วันที่ 26 มกราคม 2541 นอกจากนี้ ระบบการเงินที่ไร้เสถียรภาพทำให้สถาบันการเงินและธนาคารหลายแห่งปิดกิจการ ส่งผลให้ขาดสภาพคล่องในประเทศ คนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 46 เงินเฟ้อร้อยละ 20 ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงอยู่ที่ 14,900 ล้านเหรียญ สรอ. ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งถือว่าต่ำมาก และหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่สูงถึง 74,000 ล้านเหรียญ สรอ. จนในที่สุดต้นเดือนพฤศจิกายน 2540 อินโดนีเซียขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) วงเงิน 43 พันล้านเหรียญ สรอ. และยอมปิดธนาคาร 16 แห่ง แต่เนื่องจากอินโดนีเซียไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้ยื่นต่อกองทุนการ เงินระหว่างประเทศทำให้เกิดความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินตามงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของตระกูลซูฮาร์โต ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุนสำรองระหว่างประเทศทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจทรุดตัวลง อย่างมากจนทำให้เกิดการชุมนุมต่อต้านประธานาธิบดีซูฮาร์โต จนในที่สุดได้เปลี่ยนตัวประธานาธิบดีเป็นนายฮาบิบี
1.5 เกาหลีใต้
วิกฤตการณ์ทางการเงินของภูมิภาคเอเซียที่เริ่มจากประเทศไทย อินโดนีเซีย และได้ลุกลามมาถึงเกาหลีใต้นั้น มีพื้นฐานมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากเกินไปจนทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือกลุ่มแชโบล (Chaebol) ที่มีสัดส่วนธุรกิจในระบบเศรษฐกิจกว่า 80% ของประเทศประสบปัญหาด้านการขาย กลุ่มแชโบลนี้เป็นกลุ่มที่รัฐบาลพยายามจะรักษาอัตราการเจริญเติบโตของกลุ่ม โดยทุ่มเงินจำนวนมหาศาลในการขยายธุรกิจซึ่งไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันและได้มีการลงทุนในตลาดหุ้นเกินตัว อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจครึ่งปีแรกของปี 2540 ลดลงต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี อยู่ในร้อยละ 5.9 และอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของภาคการส่งออกสินค้าประเภทอุตสาหกรรมหนักและเคมีภัณฑ์ แต่ภาคการผลิตอื่นๆ ของประเทศยังซบเซาอย่างหนัก เศรษฐกิจที่ชะลอตัวได้ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจของเกาหลีประสบปัญหาอย่างหนัก เช่น กลุ่ม Kia เกิดการล้มละลาย บริษัท Haitai International ไม่สามารถชำระคืนตั๋วเงินที่ถึงกำหนดได้ เป็นต้น ส่งผลทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียกับสถาบันการเงินมูลค่าถึง 5.5 พันล้านเหรียญ สรอ. และทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความมั่นใจในการลงทุน ส่งผลให้เงินทุนไหลออก 2 พันล้านเหรียญ สรอ. และดัชนีหลักทรัพย์ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี
ถึงแม้ว่ารัฐบาลพยายามที่จะควบคุมและสร้างเสถียรภาพทางการเงินโดยการแทรกแซงค่าเงินวอนในตลาดต่างประเทศ และใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ 30,000 ล้านเหรียญ สรอ. เพื่อปกป้องค่าเงิน แต่ค่าเงินวอนยังคงลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องทำให้หนี้ต่างประเทศมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ
เกาหลีใต้ได้ประกาศขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 เป็นเงินกู้แบบ Stanby Credit วงเงิน 57,000 ล้านเหรียญ สรอ. โดย IMF ได้ให้ความช่วยเหลือถึง 21,000 ล้านเหรียญ สรอ.
2. หลักการและแนวทางปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของ IMF
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ข้างต้นสุดท้ายต่างจบลงด้วยการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) และยอมรับที่จะปฏิบัติตามกรอบเงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือ หรือหนังสือแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการ (Letter of Intend) ที่ IMF และประเทศนั้น ๆ ร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่ประเทศนั้น ๆ ต้องการจะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศให้กลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
IMF ในฐานะผู้ให้กู้มีหลักการและแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ได้นำไปใช้กับทุกประเทศเรียกว่า Structural Adjustment Programs : SAPs ซึ่งเป็นแผนงานอย่างกว้าง ๆ ที่อาจจะแตกต่างในรายละเอียดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของวิกฤตการณ์ในแต่ละประเทศ โดยสรุปมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. Liberalization : การเปิดเสรีด้านการค้า การลงทุน การผลิตและการเงิน2. Stabilization : การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยนโยบายการเงินและการคลังที่เข้มงวด
3. Deregulation : การลดการกำกับและควบคุมเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าและการลงทุน โดยยกเลิกการควบคุมปริมาณระบบโควต้าและลดการควบคุมการเข้าสู่ตลาด (ENTRY) และการออกจากตลาด (EXIT)
4. Privatization : การเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการค้าและการลงทุน โดยสนับสนุนการร่วมทุนและการแข่งขันระหว่างภาคเอกชน
มาตรการที่เสนอโดย IMF ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก ไทย อินโดนีเซีย และเกาหลี สามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังตารางต่อไปนี้
มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของ IMF ในประเทศต่าง ๆ
ฟิลิปปินส์เข้าโปรแกรม ปี 2526
|
เม็กซิโกเข้าโปรแกรม ปี 2537
|
ไทยเข้าโปรแกรม ปี 2540
|
อินโดนีเซียเข้าโปรแกรม ปี 2540
|
เกาหลีใต้เข้าโปรแกรม ปี 2540
|
นโยบายเศรษฐกิจ | นโยบายเศรษฐกิจ | นโยบายเศรษฐกิจ | นโยบายเศรษฐกิจ | นโยบายเศรษฐกิจ |
- จำกัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้โต | - กำหนดตามนโยบายสร้างเสถียรภาพ | - GDPติดลบ 7 % ปี2541 และ 0.5% ปี 2542 | - GDP ปี 2541/42 ติดลบร้อยละ 12 | - GDP ปี 2541อยู่ที่ - 5 %และปี 2542 |
ร้อยละ 4.5 ต่อปี | ทางเศรษฐกิจของเม็กซิโก (US Mexico | - เงินเฟ้อ 9.2 % ปี2541 และ 6% ปี2542 | - เงินเฟ้อปี 2541/42 ร้อยละ 66 | อยู่ที่ 0 % |
- ควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับร้อยละ 13 | Framework Agreement for Mexican | - ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11-12 | - กระจายอาหาร สิ่งจำเป็น และบริการ | - เงินเฟ้อ 8 % ปี2541, 5 % ปี 2542 |
Economic Stabilization) | พันล้านเหรียญ สรอ.ปี 2541 | ให้เพียงพอ | - บัญชีเดินสะพัด2541ปีเกินดุลประมาณ | |
- ทุนสำรองระหว่างประเทศระดับ 26-28 | - อัตราแลกเปลี่ยนใช้ในงบประมาณกำหนดที่ | 8% ของ GDPและ 4.2% ปี 2542 | ||
พันล้านเหรียญ สรอ. ปี 2541 | 6,000 รูเปียห์ ต่อดอลลาร์ สรอ. | |||
นโยบายการคลัง | นโยบายการคลัง | นโยบายการคลัง | นโยบายการคลัง | นโยบายการคลัง |
- ลดการใช้จ่ายเพื่อลงทุนและลดเงิน | - เข้มงวด ตัดรายจ่ายรัฐบาลลงร้อยละ 10 | - ขาดดุลปี 2541 ร้อยละ 3 ของ GDP และ | - งบประมาณ 2541-2542 ขาดดุลร้อยละ 3.7 | - งบขาดดุล 4% ของ GDP ปี2541 |
อุดหนุน | - จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 | ปี 2542 ขาดดุลร้อยละ 3 ของ GDP | - ชดเชยขาดดุล โดยกู้ต่างประเทศและขาย | - เพิ่มรายจ่ายทางสังคมแห่คนว่างงาน |
- ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีและเพิ่มอัตรา | เป็นร้อยละ 15 | - จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้โครงการ | รัฐวิสาหกิจ | - ลดค่าใช้จ่ายและการลงทุน |
ภาษี | - ส่งเสริมการออม | สังคม และ พัฒนาชนบท | - เพิ่มรายได้จากภาษีน้ำมัน สินค้าฟุ่มเฟือย | |
- ตั้งงบประมาณขาดดุล และชดเชย | - ชะลอการลงทุนและลดรายจ่าย | และ VAT | ||
ขาดดุลโดยออกพันธบัตรในประเทศ | - ปรับ VAT เพิ่มจากร้อยละ 7 เป็น | - ขจัดเงินอุดหนุนต่าง ๆ แต่คงไว้ด้านอาหาร | ||
ร้อยละ 10 | พื้นฐาน และยารักษาโรคแก่คนจน | |||
นโยบายการเงิน | นโยบายการเงิน | นโยบายการเงิน | นโยบายการเงิน | นโยบายการเงิน |
- เข้มงวด จำกัดปริมาณเงินให้เพิ่มขึ้น | - เข้มงวด คุมอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น | - รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน | - รักษาเสถียรภาพของค่าเงิน | - ยืดหยุ่นอัตราแลกเปลี่ยน |
ประมาณร้อยละ 16.4 | - ปล่อยอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว | - ขยายตัวของปริมาณเงินปี 2541 อยู่ที่ | - ปฏิรูปภาคการธนาคารและนโยบายการเงิน | - ลดอัตราดอกเบี้ยได้ถ้ามีเสถียรภาพ |
- การให้สินเชื่อของธนาคารต้องไม่เกิน | - จัดตั้งกองทุน Exchange Stabilization | ร้อยละ 6.3 | พร้อมปิดธนาคารเพิ่ม | ทางการเงิน |
136.5 พันล้านเปโซ | Fund | - ทางการจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากมีความ | - รักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง | |
- ลดค่าเงินเปโซ และกำหนดอัตรา | - ธนาคารกลางแทรกแซงตลาดเท่าที่ | จำเป็น | ||
แลกเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น | จำเป็น | |||
ระบบการเงิน | ระบบการเงิน | ระบบการเงิน | ระบบการเงิน | ระบบการเงิน |
- ลดการผูกขาดของธนาคารและบริษัทที่ | - รับประกันว่าธนาคารกลางจะเข้า | - ปรับปรุงเกณฑ์จัดชั้นสินทรัพย์และการกัน | - ปรับโครงสร้างหนี้เอกชน เพื้อให้ธนาคาร | - ปรับโครงสร้างธนาคาร |
ทำการค้าน้ำตาลมะพร้าว กล้วย และ | แทรกแซงตลาดการเงินเท่าที่จำเป็น | สำรอง | ต่างชาติยืดเวลาชำระหนี้ | - เพิ่มทุนธนาคาร |
สินค้าปฐมอื่น ๆ | - เพิ่มฐานเงินกองทุนธนาคารพาณิชย์ | - เพิ่มทุนธนาคาร และบรรษัทเงินทุน | - ปรับปรุงเกณฑ์เงินกู้ให้หักภาษีได้ | - จัดตั้งระบบสถาบันประกันเงินฝาก |
- ธนาคารพาณิชย์ต้องขายเงินตราต่าง | - จัดตั้งกองทุนประกันเงินฝาก | - เพิ่มบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | - ทบทวนระบบบัญชีของธนาคารต่าง ๆ | |
ประเทศให้ธนาคารรัฐแห่งเดียว | - ปรับโครงสร้างหนี้เอกชน | - ปรับโครงสร้างธนาคาร และผนวกธนาคาร |
นโยบายด้านต่างประเทศ | นโยบายด้านต่างประเทศ | นโยบายด้านต่างประเทศ | นโยบายด้านต่างประเทศ | นโยบายด้านต่างประเทศ |
- ลดการกู้ยืมต่างประเทศให้อยู่ในระดับ | - ส่งเสริมการส่งออก จำกัดการนำเข้า | - ยอดคงค้างภาระเงินต่างประเทศล่วงหน้า | - รัฐบาลไม่อุดหนุนหนี้ต่างประเทศของ | - สนับสนุนเอกชนกู้เงินจากต่างประเทศ |
ประมาณ 2 พันล้านเหรียญ สรอ. | สินค้าฟุ่มเฟือย | สิ้นปี 2541 เหลือ 9,000 ล้านเหรียญ สรอ. | เอกชน | - พัฒนาระบบรายงานหนี้ต่างประเทศ |
- ส่งเสริมการค้าต่างตอบแทน | ||||
การลงทุน | การลงทุน | การลงทุน | การลงทุน | การลงทุน |
- ขยายการลงทุนด้านชลประทานและ | - เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นใน | - แปรรูปรัฐวิสาหกิจ | - ระงับโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน | - เปิดตลาดเสรีการเงินของสถาบัน |
ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ | ธนาคารพาณิชย์ในประเทศอย่างเสรี | - เพิ่มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ | - แปรรูปรัฐวิสาหกิจ และปิดหรือขาย | การเงิน |
- ส่งเสริมการส่งออก | 100% จากเดิม 30% | - เปิดเสรีการลงทุนแก่ต่างประเทศในภาค | รัฐวิสาหกิจที่ประสบภาวะขาดทุนอย่างมาก | - ยกเลิกเพดานการลงทุนต่างชาติใน |
- แปรรูปรัฐวิสาหกิจ | - แปรรูปรัฐวิสาหกิจ | เศรษฐกิจบางสาขา โดยเฉพาะภาค | - แก้ไขกฎหมายล้มละลาย | ตลาดหลักทรัพย์ |
- เปิดการค้าเสรีโดยลดภาษีและโควต้า | - ยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการ | ธนาคารพาณิชย์ | - ยกเลิกข้อจำกัดการลงทุนต่างชาติในการ | - เปิดเสรีสินค้านำเข้า 113 รายการ |
- ส่งเสริมการลงทุนค้าปลีกและธุรกิจ | ลงทุนจากต่างประเทศ | - แก้ไขกฎหมายล้มละลาย และกฎหมายที่ | ค้าส่ง ค้าปลีก และบริษัทจดทะเบียน | - ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถซื้อกิจการ |
ขนาดกลางและใหญ่ | เกี่ยวข้องกับการลงทุนให้สอดคล้องกับ | เอกชน และเพิ่มปริมาณหุ้นโดยไม่ต้อง | ||
- แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้า | WTO | รับการอนุมัติจากรัฐ | ||
และการลงทุน | - เปิดเสรีทางการบริการด้านการเงินกับ | |||
WTO |
3. สรุปผลของการปฏิบัติตามกรอบของ IMF
กล่าวโดยสรุป การขอรับความช่วยเหลือจาก IMF และยิมยอมปฏิบัติตามกรอบเงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินและวิชการ เป็นผลดีอยู่บ้างในการช่วยกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้กลับคืนมาและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ วิกฤตการณ์ของแต่ละประเทศมีสาเหตุที่คล้ายคลึงกัน และแนวทางการจัดทำแผนฟื้นฟูของ IMF จะบรรจุ 4 หลักการ เข้าอยู่ในแผนเหมือนกัน อย่างไรก็ดี แผนฟื้นฟูของ IMFก็มีจุดบกพร่องอยู่มากพอสมควร เช่นกรณีของไทยที่ฐานะการคลังไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ IMF เข้มงวดด้านการคลังเพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ผลในระยะต่อมากระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทรุดตัวลงมากเกินไป ทั้งที่การแก้ไขปัญหาควรจะเข้มงวดต่อปัญหาที่เกิดจากภาคธุรกิจ และมุ่งนโยบายการคลังเพื่อมิให้ภาวะเศรษฐกิจทรุดมากเกินไป
นอกจากนี้ IMFยังมุ่งเน้นการใช้กลยุทธด้านอุปสงค์เป็นมาตรการหลักในการกำหนดนโยบายต่างๆ เช่น นโยบายการเงินที่เข้มงวด โดยการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ลดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกลาง การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ เงินฝากของธนาคารกลาง จำกัดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และการซื้อขายของพันธบัตรในตลาด และนโยบายการคลัง โดยการเพิ่มภาษี ควบคุมค่าจ้าง ค่าใช้จ่าย ลดการลงทุนของภาครัฐ จะเห็นได้ว่ามาตรการเหล่านี้มุ่งหวังให้เกิดผลในระยะสั้นและรวดเร็ว อย่างไรก็ดี มาตรการเหล่านี้มิใช่มาตรการเบ็ดเสร็จ ซึ่งในระยะแรกของวิกฤตการณ์นั้นมาตรการเหล่านี้ไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้มีการเสนอมาตรการทางสังคม และมาตรการปรับโครงสร้างต่าง ๆ ตามมาภายหลังจากการทบทวนของ IMF MISSION ซึ่งมาตรการเหล่านี้ควรจะบรรจุในแผนฟื้นฟูตั้งแต่ตอนต้นโปรแกรม หากมาตรการเหล่านี้ดำเนินไปพร้อมๆกันในระยะแรก ประเทศเกาหลี อินโดนีเซีย และไทยคงไม่ประสบปัญหาการหดตัวทางเศรษฐกิจ ปัญหาภาคการเงิน ค่าเงินอ่อนตัว อัตราดอกเบี้ยแท้จริงสูงมาก และเงินทุนไหลออกหลังจากเข้าโปรแกรมของ IMF มากเหมือนกับปัจจุบัน
ประเทศต่างๆ ที่เข้าโปรแกรมของ IMF ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป ฉะนั้นควรมีองค์กรพิเศษทำหน้าที่ประเมินการทำงานของ IMF เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของนานาประเทศ และความมีประสิทธิภาพของ IMF โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่มาประเมินเศรษฐกิจของแต่ละประเทศต้องมีความรู้ ประสบการณ์และมีประสิทธิภาพเพื่อวางแนวนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมกับประเทศ นั้นๆ
ให้สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องและเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชาติกลับมาโดยเร็ว
ให้สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องและเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชาติกลับมาโดยเร็ว
ที่มา: - เศรษฐทัศน์, ธนาคารนครหลวงไทย, " วิกฤตสู่วิกฤต
: IMF จ่ายยาผิดหรือ" และ "Debt Moratorium" ของ ประธาน จิวจินดา
- LOI ของประเทศต่างๆ
--------------------------------------------------------: IMF จ่ายยาผิดหรือ" และ "Debt Moratorium" ของ ประธาน จิวจินดา
- LOI ของประเทศต่างๆ
- ตั้งคณะกรรมการ ศปร.
เพื่อหาเรื่องรัฐบาลก่อนสุดท้ายเข้าตัว
เพราะจากรายงาน ศปร. ตาม Link ข้างล่างนี้<<< รายงาน ศปร. ( สรุปความเห็น และ บทที่ 1 ) >>>
"
สรุปความเห็น/ข้อเสนอแนะของ
คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.)
การบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.)
1. ข้อบกพร่องของโครงสร้างระบบการบริหารการเงินอันนำไปสู่วิกฤตการณ์และความไม่มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจเชิงนโยบาย
วิกฤตการณ์ เศรษฐกิจไทยครั้งนี้ มีจุดเริ่มมาจากการก่อหนี้ของภาคเอกชน แต่การดำเนินนโบายการเงินของรัฐก็มีส่วนทำให้ปัญหาการก่อหนี้บานปลายอย่างแทบจะไม่มีขีดจำกัด
ขั้นตอนของความเพลี่ยงพล้ำในการดำเนินนโยบายการเงิน ลำดับได้ดังต่อไปนี้
วิกฤตการณ์ เศรษฐกิจไทยครั้งนี้ มีจุดเริ่มมาจากการก่อหนี้ของภาคเอกชน แต่การดำเนินนโบายการเงินของรัฐก็มีส่วนทำให้ปัญหาการก่อหนี้บานปลายอย่างแทบจะไม่มีขีดจำกัด
ขั้นตอนของความเพลี่ยงพล้ำในการดำเนินนโยบายการเงิน ลำดับได้ดังต่อไปนี้
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจเลือกที่จะไม่ให้เปิดตลาดเงินทุนเสรีตั้งแต่ พ.ศ. 2533 แต่ ธปท. ก็เลือกที่จะให้เปิดการตัดสินใจให้เปิดครั้งนั้น นับว่าเป็นผลพวงของแนวนโยบายที่เป็นมาโดยต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน และสะท้อนความต้องการของฝ่ายการเมืองในขณะนั้นอย่างเต็มที่ เมื่อนายวิจิตรเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการ ก็สานต่อนโยบายนั้นอย่างขะมักเขม้น ถึงขั้นเปิดวิเทศธนกิจ ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่าย
- เมื่อ ธปท. เลือกที่จะเปิดตลาดเงินทุนให้เสรีแล้ว ธปท. ก็ควรเลือกที่จะให้อัตราแลกเปลี่ยนยืดหยุ่นมากกว่านี้ แต่ ธปท. ก็เลือกที่จะ รักษาช่วง (band) อัตราแลกเปลี่ยนที่แคบมากไว้ จะมาเริ่มพิจารณาก็ในเดือนเมษายน 2539 ซึ่งสายไปเสียแล้ว เพราะหลังจากนั้น อีกไม่กี่เดือนปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ก็รุนแรงจนทำให้ ธปท. กลัวที่จะดำเนินการใดๆ อีกต่อไป เพราะเกรงว่าจะส่งสัญญาณผิด ให้กับตลาด
- เมื่อ ธปท. เลือกที่จะรักษาช่วงอัตราแลกเปลี่ยนที่แคบไว้เช่นนั้น ก็หมายความว่าแนวนโยบายทางด้านอุปสงค์รวมจะต้อง มีความระมัดระวัง (conservative) เป็นพิเศษ โดยเฉพาะในระยะตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา นโยบายการคลังเป็นเรื่องของรัฐบาล และรัฐสภาก็จริงอยู่ แต่ ธปท. ก็มิได้ผลักดันอย่างจริงจัง ให้รัฐบาลมีนโยบายเกินดุลซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงนั้น ส่วนนโยบายการเงิน ที่ดึงปริมาณเงินในประเทศก็ไร้ผล เพราะถูกลบล้างด้วยเงินกู้จาก ต่างประเทศที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
- เมื่อ ธปท. ไม่สามารถใช้นโยบายการคลังหรือการเงินได้ ก็ควรจะใช้มาตรการไม่ให้เงินกู้ไหลเข้าประเทศอย่างมากมายเสียตั้งแต่ต้น แต่มาตรการที่ประกาศเป็นมาตรการที่อ่อน และนำมาใช้เมื่อสายไปแล้ว คือหลังจากไทยมีหนี้สินระยะสั้นในระดับสูงมากเกินไปเสียแล้ว "
ต่อมาพยายามตั้ง ศปร. 2 เพื่อเอาผิดทักษิณตามข้อกล่าวหาอินไซเดอร์
สุดท้ายรายงานฉบับนี้ก็ถูกปิดเป็นความลับชั้นสุดยอด
ถ้าสามารถเอาผิดทักษิณได้ทำไมรายงานฉบับนี้จึงไม่เปิดเผยต่อที่สาธารณะ
หรือเป็นแบบ ศปร.1 ที่คนที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องค่าเงินจนเจ๊งส่วนใหญ่
เป็นพรรคพวกตัวเองหรือเจ้าหน้าที่ใน ธปท. แทบทั้งหมด
--------------------------------------------------------
โดย มาหาอะไร
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #1 เปิดเสรีการเงินไม่กี่ปี เป็นหนี้ต่างประเทศเพิ่มเท่าตัว >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #2 ความเชื่อมั่นที่ตกต่ำ ตอกย้ำการโจมตีค่าเงิน >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #3 สู้จนเจ๊ง >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #4 เด็กดี หนูลองยา IMF >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #5 จากประเทศลูกหนี้ พลิกกลับมาเป็นประเทศเจ้าหนี้ (จบ) >>>
FfF