การโจมตีค่าเงินบาทตั้งแต่ปลายปี 2539
ธันวาคม 2539
132. ปัญหาความอ่อนแอของเศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงินของประเทศได้เริ่มส่งผล กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2539 โดยเฉพาะหลังจากบริษัทมูดีส์ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือหนี้ต่างประเทศ ระยะสั้นของไทยในวันที่ 3 กันยายน 2539 ทำให้การไหลออกของเงินทุนต่างประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และทุนรักษาระดับฯ ต้องขายเงินตราต่างประเทศให้กับธนาคารพาณิชย์ในช่วงเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน 2539 จำนวนสุทธิ 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับครึ่งแรกของปีที่รับซื้อสุทธิ 2.04 พันล้านเหรียญสหรัฐ
133. การไหลออกของเงินทุนต่างประเทศมีความรุนแรงมากในเดือนธันวาคม 2539 เมื่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะแนวโน้มการส่งออกและปัญหาระบบสถาบัน การเงินเลวร้ายลงอีก เสริมด้วยข่าวการให้สัมภาษณ์ของนักการเมืองเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบอัตรา แลกเปลี่ยน ล้วนทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความมั่นใจยิ่งขึ้น จึงเร่งถอนเงินลงทุนออกไปในช่วงก่อนปิดบัญชีสิ้นปี ประกอบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐเทียบกับเงินสกุลสำคัญ มีแนวโน้มแข็งขึ้นอย่างชัดเจน จึงเป็นแรงกดดันต่อค่าเงินบาทเพิ่มขึ้นอีก อัตราแลกเปลี่ยนเงินเหรียญสหรัฐ/บาทในท้องตลาดจึงมีความผันผวน และอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราขายของทุนรักษาระดับฯ บ่อยครั้ง ทุนรักษาระดับฯ ต้องขายเงินตราต่างประเทศในเดือนธันวาคมจำนวน 2.91 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นเพื่อลดแรงกดดันและรักษาค่าเงินบาทในท้องตลาดไม่ให้เบี่ยงเบน จากระดับที่ควรจะเป็นตามระบบตะกร้าเงินมากจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนตื่นตระหนกและถอนการลงทุนออกไปมากยิ่งขึ้น ฝ่ายการธนาคารจึงเข้าไปขายเงินเหรียญสหรัฐในตลาดโดยตรงเป็นจำนวนรวม 1.97 พันล้านเหรียญสหรัฐ การแทรกแซงนี้เป็นการแทรกแซงในตลาดทันที
134. แรงกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนในเดือนธันวาคม 2539 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการถอนการลงทุนของต่างชาติ เสริมด้วยการซื้อเงินตราต่างประเทศของบริษัทเอกชนในประเทศส่วนหนึ่งที่เริ่ม ขาดความเชื่อมั่นในระบบอัตราแลกเปลี่ยน มิได้เกิดจากการโจมตีค่าเงินบาทของนักเก็งกำไร
135. การขายเงินตราต่างประเทศของทางการเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทโดยผ่าน การดำเนินงานของทุนรักษาระดับฯ และการแทรกแซงตลาดของธนาคารเป็นจำนวนรวม 4.88 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนธันวาคมนั้นย่อมทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินลดลง ไปมาก ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้นจนเกินควร จนอาจทำให้ตลาดการเงินปั่นป่วน และซ้ำเติมฐานะของสถาบันการเงินที่อ่อนแออยู่แล้ว ธปท. จึงได้ลบล้าง (sterilize) การขายเงินตราต่างประเทศบางส่วน ด้วยการทำธุรกรรม swap ซึ่งรวมกันแล้วมีผลเท่ากับ ธปท. ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (ดูข้อ 105) โดย ณ สิ้นปี 2539 ธปท. มีพันธะที่จะต้องขายเงินตราต่างประเทศทยอยส่งมอบในปี 2540 จำนวนทั้งสิ้น 4.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศมีรวมกันทั้งสิ้น 38.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อน 0.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
...
ธันวาคม 2539
132. ปัญหาความอ่อนแอของเศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงินของประเทศได้เริ่มส่งผล กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2539 โดยเฉพาะหลังจากบริษัทมูดีส์ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือหนี้ต่างประเทศ ระยะสั้นของไทยในวันที่ 3 กันยายน 2539 ทำให้การไหลออกของเงินทุนต่างประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และทุนรักษาระดับฯ ต้องขายเงินตราต่างประเทศให้กับธนาคารพาณิชย์ในช่วงเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน 2539 จำนวนสุทธิ 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับครึ่งแรกของปีที่รับซื้อสุทธิ 2.04 พันล้านเหรียญสหรัฐ
133. การไหลออกของเงินทุนต่างประเทศมีความรุนแรงมากในเดือนธันวาคม 2539 เมื่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะแนวโน้มการส่งออกและปัญหาระบบสถาบัน การเงินเลวร้ายลงอีก เสริมด้วยข่าวการให้สัมภาษณ์ของนักการเมืองเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบอัตรา แลกเปลี่ยน ล้วนทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความมั่นใจยิ่งขึ้น จึงเร่งถอนเงินลงทุนออกไปในช่วงก่อนปิดบัญชีสิ้นปี ประกอบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐเทียบกับเงินสกุลสำคัญ มีแนวโน้มแข็งขึ้นอย่างชัดเจน จึงเป็นแรงกดดันต่อค่าเงินบาทเพิ่มขึ้นอีก อัตราแลกเปลี่ยนเงินเหรียญสหรัฐ/บาทในท้องตลาดจึงมีความผันผวน และอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราขายของทุนรักษาระดับฯ บ่อยครั้ง ทุนรักษาระดับฯ ต้องขายเงินตราต่างประเทศในเดือนธันวาคมจำนวน 2.91 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นเพื่อลดแรงกดดันและรักษาค่าเงินบาทในท้องตลาดไม่ให้เบี่ยงเบน จากระดับที่ควรจะเป็นตามระบบตะกร้าเงินมากจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนตื่นตระหนกและถอนการลงทุนออกไปมากยิ่งขึ้น ฝ่ายการธนาคารจึงเข้าไปขายเงินเหรียญสหรัฐในตลาดโดยตรงเป็นจำนวนรวม 1.97 พันล้านเหรียญสหรัฐ การแทรกแซงนี้เป็นการแทรกแซงในตลาดทันที
134. แรงกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนในเดือนธันวาคม 2539 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการถอนการลงทุนของต่างชาติ เสริมด้วยการซื้อเงินตราต่างประเทศของบริษัทเอกชนในประเทศส่วนหนึ่งที่เริ่ม ขาดความเชื่อมั่นในระบบอัตราแลกเปลี่ยน มิได้เกิดจากการโจมตีค่าเงินบาทของนักเก็งกำไร
135. การขายเงินตราต่างประเทศของทางการเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทโดยผ่าน การดำเนินงานของทุนรักษาระดับฯ และการแทรกแซงตลาดของธนาคารเป็นจำนวนรวม 4.88 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนธันวาคมนั้นย่อมทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินลดลง ไปมาก ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้นจนเกินควร จนอาจทำให้ตลาดการเงินปั่นป่วน และซ้ำเติมฐานะของสถาบันการเงินที่อ่อนแออยู่แล้ว ธปท. จึงได้ลบล้าง (sterilize) การขายเงินตราต่างประเทศบางส่วน ด้วยการทำธุรกรรม swap ซึ่งรวมกันแล้วมีผลเท่ากับ ธปท. ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (ดูข้อ 105) โดย ณ สิ้นปี 2539 ธปท. มีพันธะที่จะต้องขายเงินตราต่างประเทศทยอยส่งมอบในปี 2540 จำนวนทั้งสิ้น 4.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศมีรวมกันทั้งสิ้น 38.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อน 0.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
...
มกราคม – กุมภาพันธ์ 2540
137. นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้งหนึ่ง ตามฤดูกาลปกติในช่วงต้นปี ประกอบกับมีข่าวเรื่องการประกาศตัดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลลง 50 พันล้านบาท ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของเดือนมกราคมจึงมีทุนไหลเข้ามามาก และทุนรักษาระดับฯ รับซื้อเงินตราต่างประเทศจากธนาคารพาณิชย์รวมทั้งสิ้น 2.43 พันล้านเหรียญสหรัฐ
138. แต่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม ก็เริ่มมีการปล่อยข่าวลือการลดค่าเงินบาทแพร่หลายในตลาด และในวันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม ซึ่งเป็นวันประกาศตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของ ธปท. นักเก็งกำไรต่างชาติก็เริ่มไล่ซื้อเงินเหรียญสหรัฐ/ขายเงินบาทตั้งแต่เช้าใน ลักษณะที่ทำให้ตลาดปั่นป่วน ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์ลุกลามจนควบคุมไม่อยู่ และปกป้องไม่ให้ทุนรักษาระดับฯ สูญเสียเงินตราต่างประเทศมากเกินไป ธปท. จึงได้แทรกแซงขายเงินเหรียญสหรัฐ/ซื้อเงินบาทในตลาดอย่างต่อเนื่องจนถึง เที่ยงวันพร้อมกับปฏิเสธข่าวลือ ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ และธนาคารพาณิชย์มาซื้อเงินตราต่างประเทศจากทุนรักษาระดับฯ เพียง 20 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในช่วงบ่ายเมื่อธนาคารประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ ซึ่งแสดงการขาดดุลของรัฐบาล ในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณจำนวน 54 พันล้านบาท นักเก็งกำไรต่างชาติก็เริ่มโจมตีค่าเงินบาทอีกระลอกหนึ่ง ธปท. โดยฝ่ายการธนาคารจึงต้องเข้าแทรกแซงกดอัตราแลกเปลี่ยนลงเป็นลำดับ จนคืนสู่ระดับปกติเมื่อสิ้นวัน นอกจากนี้ฝ่ายการธนาคารยังได้เฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจน กระทั่งปิดตลาดลอนดอน และต่อเนื่องไปจนถึงเที่ยงวันของตลาดนิวยอร์ก โดยเข้าไปแทรกแซงตามความจำเป็น ให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ภายในกรอบของนโยบายตะกร้าเงิน เพื่อเรียกคืนความมั่นใจของนักลงทุน ธนาคารขายเงินเหรียญสหรัฐ/ซื้อเงินบาทในวันดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 1.49 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่นักเก็งกำไรยังโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนักต่อไปอีก ในวันรุ่งขึ้น (31 มกราคม) ธนาคารจึงต้องแทรกแซงตลาดเพิ่มเติมเป็นจำนวน 2.21 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้ธนาคารพาณิชย์เข้าซื้อเงินตรา ต่างประเทศจากทุนรักษาระดับฯ จำนวน 1.11 พันล้านเหรียญสหรัฐได้ แต่สถานการณ์ก็ได้คลี่คลายลงในช่วงสิ้นวัน
139. ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ ค่าเงินบาทยังถูกกดดันอย่างต่อเนื่องเพราะความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ความวิตกเกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันการเงิน และปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับข่าวลือลดค่าเงินบาทมีหนาหูขึ้นอีก นอกจากนี้ ค่าเงินเหรียญสหรัฐในต่างประเทศยังโน้มแข็งขึ้นมากมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี และเมื่อบริษัทมูดีส์ประกาศในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ว่าจะพิจารณาทบทวนอันดับความเชื่อถือหนี้ระยะยาวของไทย นักเก็งกำไรต่างชาติก็ได้โหมซื้อเงินเหรียญสหรัฐ/ขายเงินบาทอีกครั้งหนึ่ง ธปท. ได้เข้าแทรกแซงเพื่อระงับความระส่ำระสายด้วยเงินจำนวน 1.07 พันล้านเหรียญสหรัฐ
140. สถานการณ์ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์เริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจาก ธปท. ออกแถลงการณ์เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างหนักแน่น พร้อมแจงเหตุผลรายละเอียดที่ชัดเจนว่า จะไม่ใช้วิธีลดค่าเงินบาทเป็นทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างแน่นอนเนื่องจากจะ เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ประกอบกับมีข่าวดีเกี่ยวกับการรักษาวินัยทางการคลังของรัฐบาล โดยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ตัดงบประมาณรายจ่ายลงประมาณ 100 พันล้านบาท อีกทั้งมีประกาศมาตรการใหม่ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของ สถาบันการเงินที่เกิดจากสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยการจัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเพื่อซื้อหนี้อสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการ เงิน ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อแนวทางของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและ สถาบันการเงินดังกล่าว ประกอบกับการที่เงินเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญก็เริ่มโน้มอ่อน ลงในช่วงปลายเดือน เป็นผลให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าตลอดสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ ทุนรักษาระดับฯ รับซื้อเงินตราต่างประเทศจากธนาคารพาณิชย์รวม 1.52 พันล้านเหรียญสหรัฐ
141. โดย สรุป ทุนรักษาระดับฯ และฝ่ายการธนาคารต้องใช้เงินสำรองระหว่างประเทศในการปกป้องค่าเงินบาทจากการ โจมตีของนักเก็งกำไรต่างชาติในช่วงปลายเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2540 เป็นจำนวนสุทธิทั้งสิ้น 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฐานะเงินสำรองทางการเมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ลดลงเหลือ 38.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ยอดคงค้างสัญญาขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของธนาคารเพิ่มสูงขึ้น เป็น 12.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
137. นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้งหนึ่ง ตามฤดูกาลปกติในช่วงต้นปี ประกอบกับมีข่าวเรื่องการประกาศตัดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลลง 50 พันล้านบาท ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของเดือนมกราคมจึงมีทุนไหลเข้ามามาก และทุนรักษาระดับฯ รับซื้อเงินตราต่างประเทศจากธนาคารพาณิชย์รวมทั้งสิ้น 2.43 พันล้านเหรียญสหรัฐ
138. แต่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม ก็เริ่มมีการปล่อยข่าวลือการลดค่าเงินบาทแพร่หลายในตลาด และในวันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม ซึ่งเป็นวันประกาศตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของ ธปท. นักเก็งกำไรต่างชาติก็เริ่มไล่ซื้อเงินเหรียญสหรัฐ/ขายเงินบาทตั้งแต่เช้าใน ลักษณะที่ทำให้ตลาดปั่นป่วน ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์ลุกลามจนควบคุมไม่อยู่ และปกป้องไม่ให้ทุนรักษาระดับฯ สูญเสียเงินตราต่างประเทศมากเกินไป ธปท. จึงได้แทรกแซงขายเงินเหรียญสหรัฐ/ซื้อเงินบาทในตลาดอย่างต่อเนื่องจนถึง เที่ยงวันพร้อมกับปฏิเสธข่าวลือ ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ และธนาคารพาณิชย์มาซื้อเงินตราต่างประเทศจากทุนรักษาระดับฯ เพียง 20 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในช่วงบ่ายเมื่อธนาคารประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ ซึ่งแสดงการขาดดุลของรัฐบาล ในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณจำนวน 54 พันล้านบาท นักเก็งกำไรต่างชาติก็เริ่มโจมตีค่าเงินบาทอีกระลอกหนึ่ง ธปท. โดยฝ่ายการธนาคารจึงต้องเข้าแทรกแซงกดอัตราแลกเปลี่ยนลงเป็นลำดับ จนคืนสู่ระดับปกติเมื่อสิ้นวัน นอกจากนี้ฝ่ายการธนาคารยังได้เฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจน กระทั่งปิดตลาดลอนดอน และต่อเนื่องไปจนถึงเที่ยงวันของตลาดนิวยอร์ก โดยเข้าไปแทรกแซงตามความจำเป็น ให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ภายในกรอบของนโยบายตะกร้าเงิน เพื่อเรียกคืนความมั่นใจของนักลงทุน ธนาคารขายเงินเหรียญสหรัฐ/ซื้อเงินบาทในวันดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 1.49 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่นักเก็งกำไรยังโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนักต่อไปอีก ในวันรุ่งขึ้น (31 มกราคม) ธนาคารจึงต้องแทรกแซงตลาดเพิ่มเติมเป็นจำนวน 2.21 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้ธนาคารพาณิชย์เข้าซื้อเงินตรา ต่างประเทศจากทุนรักษาระดับฯ จำนวน 1.11 พันล้านเหรียญสหรัฐได้ แต่สถานการณ์ก็ได้คลี่คลายลงในช่วงสิ้นวัน
139. ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ ค่าเงินบาทยังถูกกดดันอย่างต่อเนื่องเพราะความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ความวิตกเกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันการเงิน และปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับข่าวลือลดค่าเงินบาทมีหนาหูขึ้นอีก นอกจากนี้ ค่าเงินเหรียญสหรัฐในต่างประเทศยังโน้มแข็งขึ้นมากมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี และเมื่อบริษัทมูดีส์ประกาศในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ว่าจะพิจารณาทบทวนอันดับความเชื่อถือหนี้ระยะยาวของไทย นักเก็งกำไรต่างชาติก็ได้โหมซื้อเงินเหรียญสหรัฐ/ขายเงินบาทอีกครั้งหนึ่ง ธปท. ได้เข้าแทรกแซงเพื่อระงับความระส่ำระสายด้วยเงินจำนวน 1.07 พันล้านเหรียญสหรัฐ
140. สถานการณ์ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์เริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจาก ธปท. ออกแถลงการณ์เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างหนักแน่น พร้อมแจงเหตุผลรายละเอียดที่ชัดเจนว่า จะไม่ใช้วิธีลดค่าเงินบาทเป็นทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างแน่นอนเนื่องจากจะ เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ประกอบกับมีข่าวดีเกี่ยวกับการรักษาวินัยทางการคลังของรัฐบาล โดยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ตัดงบประมาณรายจ่ายลงประมาณ 100 พันล้านบาท อีกทั้งมีประกาศมาตรการใหม่ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของ สถาบันการเงินที่เกิดจากสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยการจัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเพื่อซื้อหนี้อสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการ เงิน ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อแนวทางของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและ สถาบันการเงินดังกล่าว ประกอบกับการที่เงินเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญก็เริ่มโน้มอ่อน ลงในช่วงปลายเดือน เป็นผลให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าตลอดสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ ทุนรักษาระดับฯ รับซื้อเงินตราต่างประเทศจากธนาคารพาณิชย์รวม 1.52 พันล้านเหรียญสหรัฐ
141. โดย สรุป ทุนรักษาระดับฯ และฝ่ายการธนาคารต้องใช้เงินสำรองระหว่างประเทศในการปกป้องค่าเงินบาทจากการ โจมตีของนักเก็งกำไรต่างชาติในช่วงปลายเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2540 เป็นจำนวนสุทธิทั้งสิ้น 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฐานะเงินสำรองทางการเมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ลดลงเหลือ 38.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ยอดคงค้างสัญญาขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของธนาคารเพิ่มสูงขึ้น เป็น 12.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
...
143. การโจมตีในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ เป็นการโจมตีที่รุนแรงที่สุดที่ ธปท. ต้องประสบ และได้ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการจัดการเงินทุนสำรอง สืบเนื่องจากบันทึกที่ 135/2540 จากหัวหน้าส่วนธุรกิจต่างประเทศ (นางนงเยาว์ คชวัตร) ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถึงผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร (นายบัณฑิต
นิจถาวร) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ในทุนสำรองทางการของ ธปท. ที่มีอยู่ 38.65 พันล้านเหรียญสหรัฐนั้น ถ้าหักภาระผูกพันตามสัญญา swap ภาระผูกพันอื่นๆ และถ้าหักเงินทุนสำรองเงินตรา (ส่วนที่ต้องกักไว้ไม่สามารถนำมาใช้ได้ตามพระราชบัญญัติเงินตรา) ออกแล้ว ธปท. จะมีเงินเหลือที่จะสามารถนำมาใช้แทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนได้ เพียง 5.28 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น (ดูข้อ 102) และถ้าหักสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำบางรายการก็จะมียอดคงเหลือเพียง 3.93 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จากนั้นบันทึกดังกล่าวก็ได้เสนอแนวทางที่จะจัดการกับทรัพย์สินเพื่อเสริม สภาพคล่องให้กับ ธปท. เพื่อจะได้นำไปใช้ในการปกป้องเงินบาทต่อไป
...
8-9 พฤษภาคม 2540
149. ภาวะตลาดเงินตราต่างประเทศในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ค่อนข้างสงบ ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะได้รับแรงกดดันบ้างเป็นระยะๆ ในช่วงที่มีเหตุการณ์หรือข่าวลบเกิดขึ้น
150. ในช่วง 2 วันสุดท้ายของเดือนเมษายน ต่อเนื่องมาถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 เริ่มมีแรงซื้อ swap sell-buy ในตลาดอย่างเห็นได้ชัด กดดันให้ swap premium ปรับตัวจากระดับประมาณเหรียญสหรัฐ ละ 34 สตางค์ สำหรับระยะ 6 เดือนและ 69 สตางค์ สำหรับระยะ 1 ปี ในวันที่ 28 เมษายน สูงขึ้นมาถึง 40 สตางค์ และเกือบ 80 สตางค์ตามลำดับ ในวันที่ 8 พฤษภาคม ทั้งๆ ที่ ธปท. ได้พยายามชะลอการปรับตัวสูงขึ้นของอัตรา premium ด้วยการขาย swap buy–sell (คือสวนทางกับฝ่ายนักเก็งกำไร) ในตลาดติดต่อกันทุกวันระหว่างวันที่ 2-8 พฤษภาคม เป็นจำนวนรวม 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ การที่ธนาคารดำเนินการแทรกแซงตลาด swap ในระยะที่ผ่านมาไม่ให้อัตรา premium พุ่งสูงขึ้นจนเกินควรนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ย ในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจกับนักลงทุนที่มาลงทุนในตลาดเงินบาท เพราะถ้าปล่อยให้อัตรา premium (และอัตราดอกเบี้ย) พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่คิดจะนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศก็จะรีรอจนถึงจุดที่คิดว่าอัตรา ดอกเบี้ยสูงสุดแล้ว ส่วนผู้ที่ลงทุนในเงินบาทอยู่ก่อนก็จะประสบผลขาดทุน และหากอัตรา premium พุ่งสูงขึ้นรุนแรงก็อาจถึงขั้นต้องตัดขาดทุน ถอนการลงทุนออกไปด้วยการซื้อเงินเหรียญสหรัฐ/ขายเงินบาท ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม หากอัตรา premium และอัตราดอกเบี้ยมีเสถียรภาพ และมีแนวโน้มลดลงช้าๆ ก็จะเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเร่งนำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดเงิน เป็นผลดีต่อค่าเงินบาท
...
152. ในครั้งนี้นักเก็งกำไรเลือกโจมตีค่าเงินบาทในช่วงหลังตลาดกรุงเทพฯ ปิดแล้วในคืนวันที่ 8 พฤษภาคม โดยเริ่มโหมซื้อเงินเหรียญสหรัฐ/ขายเงินบาท จำนวนมากในตลาดลอนดอน จนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนทันทีพุ่งสูงกว่าอัตรากลางของทุนรักษาระดับฯ ประมาณ 10-12 สตางค์ และได้ดำเนินการต่อในตลาดนิวยอร์กด้วย ซึ่งก็สามารถสร้างความตื่นตระหนกให้กับนักค้าเงินและผู้ลงทุนทั่วไป ความกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนเริ่มต้นอีกครั้งเมื่อตลาดเอเชียเปิดในเช้าวัน ที่ 9 พฤษภาคม โดยเริ่มจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงกว่าอัตรากลางประมาณ 4-5 สตางค์ เมื่อเวลา 7.00 น. เวลากรุงเทพฯ จนขยับสูงขึ้นเป็น 9-10 สตางค์ในอีกครึ่งชั่วโมงต่อมา ธนาคารจึงได้เข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศทั้งในสิงคโปร์และฮ่องกง เพื่อควบคุมความระส่ำระสายในตลาดและผลักดันให้อัตราแลกเปลี่ยนทั้งในตลาด ทันทีและตลาดล่วงหน้ากลับคืนใกล้เคียงระดับปกติ โดยดำเนินการในตลาดเอเชีย ลอนดอน และนิวยอร์กอย่างไรก็ดีเพื่อเป็นการประหยัดเงินสำรองทางการ การดำเนินการแทรกแซงของธนาคารในตลาดลอนดอน และตลาดนิวยอร์กจึงเป็นเพียงเพื่อป้องกันไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนพุ่งสูงขึ้น จนเกิดความผันผวนรุนแรงเท่านั้น มิได้พยายามกดดันอย่างหนักแน่นให้อัตราแลกเปลี่ยนกลับสู่ระดับที่ถือว่าปกติ ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อตลาดนิวยอร์กปิดในวันที่ 9 พฤษภาคม จึงยังสูงกว่าอัตรากลางของทุนรักษาระดับฯ ประมาณ 5-6 สตางค์
153. การโจมตีของนักเก็งกำไรในครั้งนี้รุนแรงมาก ธนาคารต้องใช้เงินสำรองทางการในวันเดียวเพื่อป้องกันค่าเงินบาทในตลาดทันที เป็นจำนวนถึง 6.08 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ส่วนใหญ่ดำเนินการช่วงก่อนเที่ยงวันเวลากรุงเทพฯ) แต่ก็ทำให้สามารถรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินตราต่างประเทศได้ค่อนข้างดี ธนาคารพาณิชย์เข้ามาซื้อเงินตราต่างประเทศจากทุนรักษาระดับฯ เพียง 105 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่อัตรา swap premium และอัตราดอกเบี้ยในประเทศก็มิได้ปรับตัวสูงขึ้นเท่าใดนัก เนื่องจากการที่ธนาคารเข้าแทรกแซงตลาดล่วงหน้าด้วย swap (buy-sell) วันเดียวเป็นจำนวนทั้งสิ้น 3.94 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฐานะการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของธนาคารทุกหน้าต่างรวมกันตั้งแต่สิ้น เดือนเมษายนจนถึงสิ้นวันที่ 9 พฤษภาคม จึงติดลบเพียง 0.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ทุนสำรองทางการมีจำนวน 36.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อหักยอดคงค้างสุทธิการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของธนาคารซึ่ง เพิ่มสูงขึ้นเป็น 18.86 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทุนสำรองทางการสุทธิจึงเท่ากับ 17.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ
...
นิจถาวร) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ในทุนสำรองทางการของ ธปท. ที่มีอยู่ 38.65 พันล้านเหรียญสหรัฐนั้น ถ้าหักภาระผูกพันตามสัญญา swap ภาระผูกพันอื่นๆ และถ้าหักเงินทุนสำรองเงินตรา (ส่วนที่ต้องกักไว้ไม่สามารถนำมาใช้ได้ตามพระราชบัญญัติเงินตรา) ออกแล้ว ธปท. จะมีเงินเหลือที่จะสามารถนำมาใช้แทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนได้ เพียง 5.28 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น (ดูข้อ 102) และถ้าหักสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำบางรายการก็จะมียอดคงเหลือเพียง 3.93 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จากนั้นบันทึกดังกล่าวก็ได้เสนอแนวทางที่จะจัดการกับทรัพย์สินเพื่อเสริม สภาพคล่องให้กับ ธปท. เพื่อจะได้นำไปใช้ในการปกป้องเงินบาทต่อไป
...
8-9 พฤษภาคม 2540
149. ภาวะตลาดเงินตราต่างประเทศในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ค่อนข้างสงบ ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะได้รับแรงกดดันบ้างเป็นระยะๆ ในช่วงที่มีเหตุการณ์หรือข่าวลบเกิดขึ้น
150. ในช่วง 2 วันสุดท้ายของเดือนเมษายน ต่อเนื่องมาถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 เริ่มมีแรงซื้อ swap sell-buy ในตลาดอย่างเห็นได้ชัด กดดันให้ swap premium ปรับตัวจากระดับประมาณเหรียญสหรัฐ ละ 34 สตางค์ สำหรับระยะ 6 เดือนและ 69 สตางค์ สำหรับระยะ 1 ปี ในวันที่ 28 เมษายน สูงขึ้นมาถึง 40 สตางค์ และเกือบ 80 สตางค์ตามลำดับ ในวันที่ 8 พฤษภาคม ทั้งๆ ที่ ธปท. ได้พยายามชะลอการปรับตัวสูงขึ้นของอัตรา premium ด้วยการขาย swap buy–sell (คือสวนทางกับฝ่ายนักเก็งกำไร) ในตลาดติดต่อกันทุกวันระหว่างวันที่ 2-8 พฤษภาคม เป็นจำนวนรวม 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ การที่ธนาคารดำเนินการแทรกแซงตลาด swap ในระยะที่ผ่านมาไม่ให้อัตรา premium พุ่งสูงขึ้นจนเกินควรนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงกดดันต่ออัตราดอกเบี้ย ในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจกับนักลงทุนที่มาลงทุนในตลาดเงินบาท เพราะถ้าปล่อยให้อัตรา premium (และอัตราดอกเบี้ย) พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่คิดจะนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศก็จะรีรอจนถึงจุดที่คิดว่าอัตรา ดอกเบี้ยสูงสุดแล้ว ส่วนผู้ที่ลงทุนในเงินบาทอยู่ก่อนก็จะประสบผลขาดทุน และหากอัตรา premium พุ่งสูงขึ้นรุนแรงก็อาจถึงขั้นต้องตัดขาดทุน ถอนการลงทุนออกไปด้วยการซื้อเงินเหรียญสหรัฐ/ขายเงินบาท ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม หากอัตรา premium และอัตราดอกเบี้ยมีเสถียรภาพ และมีแนวโน้มลดลงช้าๆ ก็จะเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเร่งนำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดเงิน เป็นผลดีต่อค่าเงินบาท
...
152. ในครั้งนี้นักเก็งกำไรเลือกโจมตีค่าเงินบาทในช่วงหลังตลาดกรุงเทพฯ ปิดแล้วในคืนวันที่ 8 พฤษภาคม โดยเริ่มโหมซื้อเงินเหรียญสหรัฐ/ขายเงินบาท จำนวนมากในตลาดลอนดอน จนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนทันทีพุ่งสูงกว่าอัตรากลางของทุนรักษาระดับฯ ประมาณ 10-12 สตางค์ และได้ดำเนินการต่อในตลาดนิวยอร์กด้วย ซึ่งก็สามารถสร้างความตื่นตระหนกให้กับนักค้าเงินและผู้ลงทุนทั่วไป ความกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนเริ่มต้นอีกครั้งเมื่อตลาดเอเชียเปิดในเช้าวัน ที่ 9 พฤษภาคม โดยเริ่มจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงกว่าอัตรากลางประมาณ 4-5 สตางค์ เมื่อเวลา 7.00 น. เวลากรุงเทพฯ จนขยับสูงขึ้นเป็น 9-10 สตางค์ในอีกครึ่งชั่วโมงต่อมา ธนาคารจึงได้เข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศทั้งในสิงคโปร์และฮ่องกง เพื่อควบคุมความระส่ำระสายในตลาดและผลักดันให้อัตราแลกเปลี่ยนทั้งในตลาด ทันทีและตลาดล่วงหน้ากลับคืนใกล้เคียงระดับปกติ โดยดำเนินการในตลาดเอเชีย ลอนดอน และนิวยอร์กอย่างไรก็ดีเพื่อเป็นการประหยัดเงินสำรองทางการ การดำเนินการแทรกแซงของธนาคารในตลาดลอนดอน และตลาดนิวยอร์กจึงเป็นเพียงเพื่อป้องกันไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนพุ่งสูงขึ้น จนเกิดความผันผวนรุนแรงเท่านั้น มิได้พยายามกดดันอย่างหนักแน่นให้อัตราแลกเปลี่ยนกลับสู่ระดับที่ถือว่าปกติ ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อตลาดนิวยอร์กปิดในวันที่ 9 พฤษภาคม จึงยังสูงกว่าอัตรากลางของทุนรักษาระดับฯ ประมาณ 5-6 สตางค์
153. การโจมตีของนักเก็งกำไรในครั้งนี้รุนแรงมาก ธนาคารต้องใช้เงินสำรองทางการในวันเดียวเพื่อป้องกันค่าเงินบาทในตลาดทันที เป็นจำนวนถึง 6.08 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ส่วนใหญ่ดำเนินการช่วงก่อนเที่ยงวันเวลากรุงเทพฯ) แต่ก็ทำให้สามารถรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินตราต่างประเทศได้ค่อนข้างดี ธนาคารพาณิชย์เข้ามาซื้อเงินตราต่างประเทศจากทุนรักษาระดับฯ เพียง 105 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่อัตรา swap premium และอัตราดอกเบี้ยในประเทศก็มิได้ปรับตัวสูงขึ้นเท่าใดนัก เนื่องจากการที่ธนาคารเข้าแทรกแซงตลาดล่วงหน้าด้วย swap (buy-sell) วันเดียวเป็นจำนวนทั้งสิ้น 3.94 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฐานะการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของธนาคารทุกหน้าต่างรวมกันตั้งแต่สิ้น เดือนเมษายนจนถึงสิ้นวันที่ 9 พฤษภาคม จึงติดลบเพียง 0.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ทุนสำรองทางการมีจำนวน 36.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อหักยอดคงค้างสุทธิการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของธนาคารซึ่ง เพิ่มสูงขึ้นเป็น 18.86 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทุนสำรองทางการสุทธิจึงเท่ากับ 17.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ
...
วันที่ 12-15 พฤษภาคม 2540
...
170. ในวันที่ 12 พฤษภาคม ถึงแม้ว่ายังมีแรงซื้อในตลาดทันที และในตลาด swap มาก แต่ก็ยังไม่แรงนัก อาจเป็นเพราะกลางวันของวันที่ 12 ในกรุงเทพฯ ยังเป็นคืนวันอาทิตย์ที่ตลาดนิวยอร์ก ฝ่ายการธนาคารจึงไม่ได้เข้าแทรกแซง ปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์มาซื้อเงินเหรียญสหรัฐจากทุนรักษาระดับฯ สูงถึง 881.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นจำนวนสูงมากสำหรับทุนรักษาระดับฯ แต่ไม่สูงเท่าใดหากเทียบกับการแทรกแซงของฝ่ายการธนาคารในวันที่ 8 และ 9 พฤษภาคมและวันต่อๆ มา เป็นที่น่าสังเกตว่าฝ่ายการธนาคารมิได้แทรกแซงเลยในวันนี้ ทั้งๆ ที่อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นเป็น 25.915 บาท/เหรียญสหรัฐ สูงกว่าราคากลางที่ทุนรักษาระดับฯ ประกาศ (25.85 บาท) (ข้อมูลในวรรคนี้ได้มาจากบันทึกที่ 379/2540 จากผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร (นายบัณฑิต นิจถาวร) ถึง ผู้ช่วยผู้ว่าการศิริ การเจริญดี ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2540)
171. ในเช้าวันที่ 131 [บันทึกช่วยจำการหารือในครั้งนี้ (บันทึกโดยนายบัณฑิต นิจถาวร) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม ระบุว่าเป็น "เช้าวานนี้" คือ วันที่ 12 แต่จากตัวเอกสารทำให้สรุปได้ว่าเป็นการประชุมในวันที่ 13] ได้มีการหารือกันระหว่างผู้ว่าการเริงชัย รองผู้ว่าการชัยวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการศิริ และ ผู้ช่วยผู้ว่าการธัญญา ผอ. ฝ่ายฯ บัณฑิต และ หัวหน้าส่วนฯ ไพบูลย์ ที่ประชุมได้ตกลงให้ฝ่ายการธนาคารเข้าแทรกแซงเป็นสองรอบ รอบแรกให้จำกัดวงเงินประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทดสอบดูว่ามีแรงต้านมากน้อยขนาดไหน และรอบที่สองให้แทรกแซงเพื่อลดอัตราขายในตลาดไม่ให้ห่างจากอัตราขายของทุน รักษาระดับฯ มากนัก นอกจากนี้ในรอบที่สองให้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารกลางฮ่องกงตามข้อตกลงที่มี อยู่ด้วย เพื่อเป็นการแสดงน้ำหนักของการแทรกแซงให้มีมากขึ้นปรามนักเก็งกำไร และให้ความมั่นใจแก่นักลงทุน (บันทึกช่วยจำการประชุมหารือ นายบัณฑิต นิจถาวร ผู้จดบันทึก ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2540) ในการแทรกแซงนี้ ธนาคารกลางฮ่องกงเป็นแต่ตัวแทนของ ธปท. ในตลาดฮ่องกง
172. ผลปรากฏว่าการแทรกแซงในตอนเช้าก็มีผลทำให้อัตราแลกเปลี่ยนลงมา แต่พอตอนบ่ายก็กลับสูงขึ้นอีก จำเป็นที่ธนาคารกลางฮ่องกงต้องเข้ามาแทรกแซงเป็นเงินจำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ข้อสรุปของฝ่ายการธนาคารก็คือ “ตลาดยังไม่กลัว”
173. ในวันนี้ทุนรักษาระดับฯ ขายเหรียญสหรัฐ 688.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ฝ่ายการธนาคารแทรกแซงในตลาดทันที 2.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนตลาดล่วงหน้า 870 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาด swap อีก 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระดับการแทรกแซงนี้อยู่ในระดับสูงมาก สูงกว่าในวันที่ 8 และ 9 พฤษภาคม
174. ในค่ำวันที่ 13 พฤษภาคม ผอ. ฝ่ายฯ บัณฑิต ได้ร่วมหารือกับ รอง ผอ. ประไพ และหัวหน้าส่วนฯ ไพบูลย์ เพื่อประเมินสถานการณ์ ข้อสรุปสำคัญก็คือ “สถานการณ์ปัจจุบันน่าห่วงใยมากและเข้าขั้นวิกฤต จากที่การโจมตีเงินบาทครั้งนี้เป็นการกระทำที่จงใจจะให้ประสบผลสำเร็จโดย เร็ว โดยมี scale ของการ take position ที่สูงมาก เพื่อหวังจะ break ระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้ทางการลดค่าเงิน เพื่อการเก็งกำไร โดยอาศัยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของประเทศ บวกกับการปล่อยข่าวลือเกี่ยวกับความแตกแยกทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน” (บันทึกช่วยจำการหารือ เช้าวันที่ 14 พฤษภาคม 2540
ของผู้บริหารระดับสูง จดบันทึกโดยนายบัณฑิต นิจถาวร ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2540)
175. วันที่ 14 พฤษภาคม 2540 คงเป็นวันที่ผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. จะไม่มีวันลืม ในตอนเช้าผู้บริหารระดับสูง (ชุดเดียวกันกับชุดวันที่ 13 และได้เพิ่มนางสาวประไพ สุวรรณรัฐ (รองผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร) เข้าร่วมด้วย) ประชุมหารือกัน ก่อนเข้าประชุมในตอนเช้า ผอ. ฝ่ายฯ บัณฑิตเริ่มเห็นสัญญาณเตือนภัยจากการเคลื่อนไหวในตลาดแล้ว ตามคำชี้แจงของนายเริงชัยที่ได้ให้กับ ศปร. “ทุกคนตื่นตระหนก และบางคนแทบจะร้องไห้ … [ผอ. ฝ่ายฯ บัณฑิต] ได้รายงานสถานการณ์และให้ความเห็นว่า การกระทำของ Hedge Fund ทั้งหลายเป็นการรังแกประเทศไทยในขณะที่เรากำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาตามขั้น ตอนที่กำหนดไว้”
176. ผอ.ฝ่ายฯ บัณฑิตได้เสนอแนวทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าดังต่อไปนี้
...
170. ในวันที่ 12 พฤษภาคม ถึงแม้ว่ายังมีแรงซื้อในตลาดทันที และในตลาด swap มาก แต่ก็ยังไม่แรงนัก อาจเป็นเพราะกลางวันของวันที่ 12 ในกรุงเทพฯ ยังเป็นคืนวันอาทิตย์ที่ตลาดนิวยอร์ก ฝ่ายการธนาคารจึงไม่ได้เข้าแทรกแซง ปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์มาซื้อเงินเหรียญสหรัฐจากทุนรักษาระดับฯ สูงถึง 881.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นจำนวนสูงมากสำหรับทุนรักษาระดับฯ แต่ไม่สูงเท่าใดหากเทียบกับการแทรกแซงของฝ่ายการธนาคารในวันที่ 8 และ 9 พฤษภาคมและวันต่อๆ มา เป็นที่น่าสังเกตว่าฝ่ายการธนาคารมิได้แทรกแซงเลยในวันนี้ ทั้งๆ ที่อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นเป็น 25.915 บาท/เหรียญสหรัฐ สูงกว่าราคากลางที่ทุนรักษาระดับฯ ประกาศ (25.85 บาท) (ข้อมูลในวรรคนี้ได้มาจากบันทึกที่ 379/2540 จากผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร (นายบัณฑิต นิจถาวร) ถึง ผู้ช่วยผู้ว่าการศิริ การเจริญดี ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2540)
171. ในเช้าวันที่ 131 [บันทึกช่วยจำการหารือในครั้งนี้ (บันทึกโดยนายบัณฑิต นิจถาวร) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม ระบุว่าเป็น "เช้าวานนี้" คือ วันที่ 12 แต่จากตัวเอกสารทำให้สรุปได้ว่าเป็นการประชุมในวันที่ 13] ได้มีการหารือกันระหว่างผู้ว่าการเริงชัย รองผู้ว่าการชัยวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการศิริ และ ผู้ช่วยผู้ว่าการธัญญา ผอ. ฝ่ายฯ บัณฑิต และ หัวหน้าส่วนฯ ไพบูลย์ ที่ประชุมได้ตกลงให้ฝ่ายการธนาคารเข้าแทรกแซงเป็นสองรอบ รอบแรกให้จำกัดวงเงินประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทดสอบดูว่ามีแรงต้านมากน้อยขนาดไหน และรอบที่สองให้แทรกแซงเพื่อลดอัตราขายในตลาดไม่ให้ห่างจากอัตราขายของทุน รักษาระดับฯ มากนัก นอกจากนี้ในรอบที่สองให้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารกลางฮ่องกงตามข้อตกลงที่มี อยู่ด้วย เพื่อเป็นการแสดงน้ำหนักของการแทรกแซงให้มีมากขึ้นปรามนักเก็งกำไร และให้ความมั่นใจแก่นักลงทุน (บันทึกช่วยจำการประชุมหารือ นายบัณฑิต นิจถาวร ผู้จดบันทึก ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2540) ในการแทรกแซงนี้ ธนาคารกลางฮ่องกงเป็นแต่ตัวแทนของ ธปท. ในตลาดฮ่องกง
172. ผลปรากฏว่าการแทรกแซงในตอนเช้าก็มีผลทำให้อัตราแลกเปลี่ยนลงมา แต่พอตอนบ่ายก็กลับสูงขึ้นอีก จำเป็นที่ธนาคารกลางฮ่องกงต้องเข้ามาแทรกแซงเป็นเงินจำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ข้อสรุปของฝ่ายการธนาคารก็คือ “ตลาดยังไม่กลัว”
173. ในวันนี้ทุนรักษาระดับฯ ขายเหรียญสหรัฐ 688.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ฝ่ายการธนาคารแทรกแซงในตลาดทันที 2.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนตลาดล่วงหน้า 870 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาด swap อีก 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระดับการแทรกแซงนี้อยู่ในระดับสูงมาก สูงกว่าในวันที่ 8 และ 9 พฤษภาคม
174. ในค่ำวันที่ 13 พฤษภาคม ผอ. ฝ่ายฯ บัณฑิต ได้ร่วมหารือกับ รอง ผอ. ประไพ และหัวหน้าส่วนฯ ไพบูลย์ เพื่อประเมินสถานการณ์ ข้อสรุปสำคัญก็คือ “สถานการณ์ปัจจุบันน่าห่วงใยมากและเข้าขั้นวิกฤต จากที่การโจมตีเงินบาทครั้งนี้เป็นการกระทำที่จงใจจะให้ประสบผลสำเร็จโดย เร็ว โดยมี scale ของการ take position ที่สูงมาก เพื่อหวังจะ break ระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้ทางการลดค่าเงิน เพื่อการเก็งกำไร โดยอาศัยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของประเทศ บวกกับการปล่อยข่าวลือเกี่ยวกับความแตกแยกทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน” (บันทึกช่วยจำการหารือ เช้าวันที่ 14 พฤษภาคม 2540
ของผู้บริหารระดับสูง จดบันทึกโดยนายบัณฑิต นิจถาวร ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2540)
175. วันที่ 14 พฤษภาคม 2540 คงเป็นวันที่ผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. จะไม่มีวันลืม ในตอนเช้าผู้บริหารระดับสูง (ชุดเดียวกันกับชุดวันที่ 13 และได้เพิ่มนางสาวประไพ สุวรรณรัฐ (รองผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร) เข้าร่วมด้วย) ประชุมหารือกัน ก่อนเข้าประชุมในตอนเช้า ผอ. ฝ่ายฯ บัณฑิตเริ่มเห็นสัญญาณเตือนภัยจากการเคลื่อนไหวในตลาดแล้ว ตามคำชี้แจงของนายเริงชัยที่ได้ให้กับ ศปร. “ทุกคนตื่นตระหนก และบางคนแทบจะร้องไห้ … [ผอ. ฝ่ายฯ บัณฑิต] ได้รายงานสถานการณ์และให้ความเห็นว่า การกระทำของ Hedge Fund ทั้งหลายเป็นการรังแกประเทศไทยในขณะที่เรากำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาตามขั้น ตอนที่กำหนดไว้”
176. ผอ.ฝ่ายฯ บัณฑิตได้เสนอแนวทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าดังต่อไปนี้
ทางเลือกที่ 1 ฝ่ายการธนาคารจะเลิกแทรกแซง และให้ธนาคารพาณิชย์เข้ามาซื้อขายกับทุนรักษาระดับฯ ตามอัตราและเวลาที่กำหนด “วิธีนี้จะมีผลให้ตลาดและนักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเพราะธนาคารพาณิชย์ต้องหาเงินบาทมาซื้อดอลลาร์ สรอ. มีผลกระทบต่อสถาบันการเงินและทุนรักษาระดับฯ คงจะต้องขายดอลลาร์ สรอ. จำนวนมาก กระทบต่อปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศ” (บันทึกช่วยจำการหารือ เช้าวันที่ 14 จดบันทึกโดยนางสาวประไพ สุวรรณรัฐ ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2540)ทางเลือกที่ 2 ฝ่ายการธนาคารแทรกแซงทั้งในและนอกประเทศ “วิธีนี้จะทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจ ธนาคารจะรักษาอัตราดอกเบี้ยในประเทศไม่ให้สูงขึ้นมากได้ อาจจะต้องใช้เงินจำนวนมากในการแทรกแซงเงินบาท แต่ทุนรักษาระดับฯ จะขายดอลลาร์ สรอ.
ในจำนวนที่น้อยลง” (บันทึกช่วยจำฉบับเดียวกัน)ทางเลือกที่ 3 ทำทั้งสองด้าน
177. ในที่สุด ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบที่ให้ฝ่ายการธนาคารแทรกแซงในวงเงิน 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และยอมให้อัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่าอัตรากลางประมาณ 5-10 สตางค์ (บันทึกช่วยจำฉบับเดียวกัน) หากจำนวนดังกล่าวยังไม่เพียงพอในแต่ละวัน ก็ให้รีบหารือกับผู้บริหารโดยเร็ว นอกจากนี้ที่ประชุมก็ยังตกลงอีกด้วยว่าจะขอให้ธนาคารกลางของประเทศข้างเคียง อาทิเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ร่วมมือด้วยในการสู้กับนักเก็งกำไร สำหรับวันที่ 14 พฤษภาคมจะใช้ธนาคารกลางสิงคโปร์ไปก่อน (ความคิดเรื่องการขอความช่วยเหลือจากธนาคารกลางในประเทศข้างเคียงนั้นเป็น ข้อเสนอของรองผู้ว่าการชัยวัฒน์)
178. เหตุการณ์วันนั้นเป็นไปอย่างที่คาด แรงซื้อเงินเหรียญสหรัฐโหมเข้ามาเป็นจำนวนมาก กดดันให้อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยฝ่ายการธนาคารยังไม่แทรกแซงจนกระทั่งอัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นไปถึง 26.10 บาท/เหรียญสหรัฐ (ขณะที่ราคากลางจากทุนรักษาระดับฯ กำหนดไว้ที่ 25.86 บาท/เหรียญสหรัฐ)
แรงขายยังมีต่อเนื่องถึงแม้ว่าธนาคารกลางสิงคโปร์จะเข้ามาช่วยแทรกแซง
179. เย็นวันเดียวกัน เวลา 16.30 น. ถึง 17.30 น. มีการประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง ผลจากการหารือกันคือให้ฝ่ายการธนาคารเข้าแทรกแซง“ โดยให้อัตราแลกเปลี่ยน กลับมาอยู่ใน band ของทุนรักษาระดับฯ ให้ได้โดยไม่จำกัดวงเงินแทรกแซง ทั้งนี้ เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนตะกร้าเงินรวมทั้งให้ฝ่ายการ ธนาคารเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดนิวยอร์กตลอดทั้งคืน ทั้งนี้หากมีผลกระทบต่อตลาดเงินเห็นควรปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้แม้ จะเป็นร้อยละ 100 เพราะคงเป็นการสูงชั่วคราว แต่ธนาคารจะดูแลสถาบันการเงินให้มีสภาพคล่องเพียงพอ” (บันทึกที่ 379/2540 จากผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร นายบัณฑิต นิจถาวร ถึงผู้ช่วยผู้ว่าการศิริ การเจริญดี ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ในต้นฉบับไม่ได้เอียงตัวอักษร)
180. จากการปรึกษาหารือกันในเย็นวันที่ 14 พฤษภาคม ฝ่ายการธนาคารจึงได้เข้าแทรกแซงต่อทั้งในตลาดลอนดอนและในตลาดนิวยอร์กตลอด คืนนั้นทั้งวันนั้นและตลอดคืน ธปท. ได้เข้าแทรกแซงในตลาดทันที 9.05 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดล่วงหน้า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ และตลาด swap 600 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ทุนรักษาระดับฯ ยังขายเงินเหรียญสหรัฐต่ออีก 887.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อปิดตลาดนิวยอร์กอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 25.85-25.90 บาท/เหรียญสหรัฐ สมกับความตั้งใจของผู้บริหารระดับสูง (บันทึกที่ 379/2540 ที่อ้างแล้ว) ถ้ารวมเงินที่ต้องใช้ในการป้องกันเงินบาทในวันนั้นและคืนนั้น ก็เกินหนึ่งหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือสองแสนห้าหมื่นล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นการป้องกันค่าเงินที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย และอาจเป็นได้ว่าแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกก็ได้
181. เมื่อได้อ่านถึงเหตุการณ์ย้อนหลังเกือบหนึ่งปีถัดจากวันนั้น คงจะมีคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับบุคคลชั้นนำของธนาคารกลางที่ครั้งหนึ่งนับว่าเป็นธนาคารกลาง ที่โดดเด่นในเอเชีย แต่สิ่งที่แปลกที่สุดสำหรับเหตุการณ์ในวันนั้นก็คือ ที่ประชุมในเย็นวันนั้นคือชุดเดียวกันกับที่ได้ตกลงให้ฝ่ายการธนาคารเข้า แทรกแซงด้วยวงเงินที่ไม่จำกัด ได้ตกลงด้วยว่า “เห็นควรให้มีการเตรียมพร้อมในระยะต่อไป ด้วยการศึกษาระบบอัตราแลกเปลี่ยน ผลดี ผลเสียของการคงระบบเดิม หรือเปลี่ยนแปลงวิธีการ หรือเปลี่ยนแปลงระบบ ทั้งที่เป็นผลกระทบระยะสั้น ระยะยาวรวมทั้งเตรียมดำเนินการหากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ให้กระทำโดยเร็ว” ซึ่งเป็นการตัดสินใจอย่างเดียวในตลอดวันนั้นที่เรียกได้ว่า เป็นการตัดสินใจที่ใช้สติ แต่ก็เป็นเช่นเดียวกับแทบทุกอย่างที่ ธปท. ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2540 คือเป็นการตัดสินใจที่ช้าไปเสียแล้ว การพิจารณาข้อดีข้อเสียนั้นมักจะกระทำกันเมื่อผู้ตัดสินใจมีทางเลือก แต่หลังจากวันที่ 14 พฤษภาคม ประเทศไทยหมดทางเลือกแล้วในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เพราะในวันนั้นเงินทุนสำรองสุทธิได้ลดลงไปเหลือ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากที่เคยมีอยู่ เมื่อต้นเดือนนั้น 24.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ
182. แต่ในวันที่ 15 พฤษภาคม ธปท. ยังแสดงว่าตนสามารถดิ้นต่อไปได้อีกรอบหนึ่ง วิธีการที่ ธปท. ใช้เป็นวิธีการล้มกระดานในเกมตลาดการเงินระหว่างประเทศ หลังจากได้ใช้นโยบายการเงินโดยเสรีมาอย่างน้อย 7 ปี และทำสัญญา swap เป็นจำนวนมหาศาลภายใต้กติกาของระบบการเงินเสรี ในวันนั้น ธปท. ก็สั่งไปยังธนาคารพาณิชย์ไทยไม่ให้ปล่อยเงินบาทให้กับสถาบันการเงินต่าง ประเทศ ยกเว้นถ้ามีธุรกรรมที่แท้จริงอยู่ เช่นเป็นการจ่ายเงินเพื่อการนำเข้ามาตรการนี้ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ทันทีในต่างประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว จนมาอยู่ในระดับ 25.20 บาท/เหรียญสหรัฐ สะท้อนการขาดแคลนเงินบาทอย่างกระทันหัน อันเกิดจากการบีบสายเลือดที่ส่งเงินบาทที่ออกจากธนาคารพาณิชย์ไทยไปหล่อ เลี้ยงนักเก็งกำไร นอกจากเงินบาทได้แพงขึ้นในตลาดต่างประเทศแล้ว ดอกเบี้ยสำหรับเงินบาทในต่างประเทศ ก็ได้พุ่งสูงขึ้นอย่างแรงอีกด้วย ขณะที่ค่าเงินบาทภายในประเทศและดอกเบี้ยภายในประเทศมิได้สูงขึ้นตาม
183. มาตรการครั้งนี้ของ ธปท. มีผลทำให้เกิดตลาดเงินบาทสองตลาดขึ้น ค่าเงินบาทที่แพงขึ้นรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินบาทที่สูงขึ้น (เฉพาะในตลาดต่างประเทศ) เปิดโอกาสให้ ธปท. สามารถหาซื้อเงินเหรียญสหรัฐในราคาถูกได้ในตลาดต่างประเทศเพื่อเสริมทุน สำรองหรือเพื่อลดภาระผูกพันล่วงหน้า ทั้งหมดนี้มีผลสองประการ ในประการแรก จากการบีบนักเก็งกำไรด้วยวิธีนี้ ธปท. สามารถลดภาระผูกพันล่วงหน้าให้น้อยลงไปได้ ทำให้เงินทุนสำรองสุทธิเพิ่มจากระดับ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในวันที่ 14 พฤษภาคมไปเป็น 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในวันที่ 15 พฤษภาคม และเป็น 7.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในวันที่ 16 พฤษภาคม และหลังจากนั้นก็จะเคลื่อนอยู่ในพิสัยประมาณ 5-7 พันล้านเหรียญสหรัฐจนกระทั่งครึ่งหลังของเดือนมิถุนายนเมื่อตัวเลขดังกล่าว เริ่มตกลงไปอีกครั้งหนึ่ง (ดูภาพที่ 13) ในประการที่สอง มาตรการนี้ทำให้เหล่านักเก็งกำไรต้องขาดทุนสูงมาก เพราะต้องแสวงหาเงินบาทในราคาที่แพงขึ้นมาส่งมอบให้ ธปท. โดยไม่สามารถกู้ได้จากธนาคารพาณิชย์ไทย
...
การตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท
206. ในที่สุดปัญหาค่าเงินบาทก็ปะทุขึ้นอีกในปลายเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนายอำนวย วีรวรรณ ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในวันที่ 19 มิถุนายน ปัญหาช่วงนี้มิได้เป็นปัญหาอันเกิดจากการโจมตีจากข้างนอก แต่เป็นการไหลออกของเงินบาทของนักลงทุนในไทย และของคนไทยเอง โดยกระแสแรงขึ้นจากวันที่ 25 และ 26 มิถุนายนเป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ปริมาณเงินทุนสำรองสุทธิที่ต้องสูญเสียไปนั้นไม่อยู่ในเกณฑ์สูงเท่าใดนัก จำนวนดังกล่าวได้ลดลงจากระดับประมาณ 6-7 พันล้านเหรียญสหรัฐในระยะต้นเดือนมิถุนายน ลงมาเป็นปริมาณ 4-5 พันล้านเหรียญสหรัฐในระยะตั้งแต่วันที่ 20 ถึงวันที่ 26 มิถุนายน และหลังจากนั้นก็ลดฮวบไปเป็น 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในวันที่ 30 มิถุนายน (ดูภาพที่ 13)
178. เหตุการณ์วันนั้นเป็นไปอย่างที่คาด แรงซื้อเงินเหรียญสหรัฐโหมเข้ามาเป็นจำนวนมาก กดดันให้อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยฝ่ายการธนาคารยังไม่แทรกแซงจนกระทั่งอัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นไปถึง 26.10 บาท/เหรียญสหรัฐ (ขณะที่ราคากลางจากทุนรักษาระดับฯ กำหนดไว้ที่ 25.86 บาท/เหรียญสหรัฐ)
แรงขายยังมีต่อเนื่องถึงแม้ว่าธนาคารกลางสิงคโปร์จะเข้ามาช่วยแทรกแซง
179. เย็นวันเดียวกัน เวลา 16.30 น. ถึง 17.30 น. มีการประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง ผลจากการหารือกันคือให้ฝ่ายการธนาคารเข้าแทรกแซง“ โดยให้อัตราแลกเปลี่ยน กลับมาอยู่ใน band ของทุนรักษาระดับฯ ให้ได้โดยไม่จำกัดวงเงินแทรกแซง ทั้งนี้ เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนตะกร้าเงินรวมทั้งให้ฝ่ายการ ธนาคารเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดนิวยอร์กตลอดทั้งคืน ทั้งนี้หากมีผลกระทบต่อตลาดเงินเห็นควรปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้แม้ จะเป็นร้อยละ 100 เพราะคงเป็นการสูงชั่วคราว แต่ธนาคารจะดูแลสถาบันการเงินให้มีสภาพคล่องเพียงพอ” (บันทึกที่ 379/2540 จากผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร นายบัณฑิต นิจถาวร ถึงผู้ช่วยผู้ว่าการศิริ การเจริญดี ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ในต้นฉบับไม่ได้เอียงตัวอักษร)
180. จากการปรึกษาหารือกันในเย็นวันที่ 14 พฤษภาคม ฝ่ายการธนาคารจึงได้เข้าแทรกแซงต่อทั้งในตลาดลอนดอนและในตลาดนิวยอร์กตลอด คืนนั้นทั้งวันนั้นและตลอดคืน ธปท. ได้เข้าแทรกแซงในตลาดทันที 9.05 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดล่วงหน้า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ และตลาด swap 600 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ทุนรักษาระดับฯ ยังขายเงินเหรียญสหรัฐต่ออีก 887.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อปิดตลาดนิวยอร์กอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 25.85-25.90 บาท/เหรียญสหรัฐ สมกับความตั้งใจของผู้บริหารระดับสูง (บันทึกที่ 379/2540 ที่อ้างแล้ว) ถ้ารวมเงินที่ต้องใช้ในการป้องกันเงินบาทในวันนั้นและคืนนั้น ก็เกินหนึ่งหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือสองแสนห้าหมื่นล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นการป้องกันค่าเงินที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย และอาจเป็นได้ว่าแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกก็ได้
181. เมื่อได้อ่านถึงเหตุการณ์ย้อนหลังเกือบหนึ่งปีถัดจากวันนั้น คงจะมีคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับบุคคลชั้นนำของธนาคารกลางที่ครั้งหนึ่งนับว่าเป็นธนาคารกลาง ที่โดดเด่นในเอเชีย แต่สิ่งที่แปลกที่สุดสำหรับเหตุการณ์ในวันนั้นก็คือ ที่ประชุมในเย็นวันนั้นคือชุดเดียวกันกับที่ได้ตกลงให้ฝ่ายการธนาคารเข้า แทรกแซงด้วยวงเงินที่ไม่จำกัด ได้ตกลงด้วยว่า “เห็นควรให้มีการเตรียมพร้อมในระยะต่อไป ด้วยการศึกษาระบบอัตราแลกเปลี่ยน ผลดี ผลเสียของการคงระบบเดิม หรือเปลี่ยนแปลงวิธีการ หรือเปลี่ยนแปลงระบบ ทั้งที่เป็นผลกระทบระยะสั้น ระยะยาวรวมทั้งเตรียมดำเนินการหากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ให้กระทำโดยเร็ว” ซึ่งเป็นการตัดสินใจอย่างเดียวในตลอดวันนั้นที่เรียกได้ว่า เป็นการตัดสินใจที่ใช้สติ แต่ก็เป็นเช่นเดียวกับแทบทุกอย่างที่ ธปท. ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2540 คือเป็นการตัดสินใจที่ช้าไปเสียแล้ว การพิจารณาข้อดีข้อเสียนั้นมักจะกระทำกันเมื่อผู้ตัดสินใจมีทางเลือก แต่หลังจากวันที่ 14 พฤษภาคม ประเทศไทยหมดทางเลือกแล้วในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เพราะในวันนั้นเงินทุนสำรองสุทธิได้ลดลงไปเหลือ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากที่เคยมีอยู่ เมื่อต้นเดือนนั้น 24.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ
182. แต่ในวันที่ 15 พฤษภาคม ธปท. ยังแสดงว่าตนสามารถดิ้นต่อไปได้อีกรอบหนึ่ง วิธีการที่ ธปท. ใช้เป็นวิธีการล้มกระดานในเกมตลาดการเงินระหว่างประเทศ หลังจากได้ใช้นโยบายการเงินโดยเสรีมาอย่างน้อย 7 ปี และทำสัญญา swap เป็นจำนวนมหาศาลภายใต้กติกาของระบบการเงินเสรี ในวันนั้น ธปท. ก็สั่งไปยังธนาคารพาณิชย์ไทยไม่ให้ปล่อยเงินบาทให้กับสถาบันการเงินต่าง ประเทศ ยกเว้นถ้ามีธุรกรรมที่แท้จริงอยู่ เช่นเป็นการจ่ายเงินเพื่อการนำเข้ามาตรการนี้ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ทันทีในต่างประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว จนมาอยู่ในระดับ 25.20 บาท/เหรียญสหรัฐ สะท้อนการขาดแคลนเงินบาทอย่างกระทันหัน อันเกิดจากการบีบสายเลือดที่ส่งเงินบาทที่ออกจากธนาคารพาณิชย์ไทยไปหล่อ เลี้ยงนักเก็งกำไร นอกจากเงินบาทได้แพงขึ้นในตลาดต่างประเทศแล้ว ดอกเบี้ยสำหรับเงินบาทในต่างประเทศ ก็ได้พุ่งสูงขึ้นอย่างแรงอีกด้วย ขณะที่ค่าเงินบาทภายในประเทศและดอกเบี้ยภายในประเทศมิได้สูงขึ้นตาม
183. มาตรการครั้งนี้ของ ธปท. มีผลทำให้เกิดตลาดเงินบาทสองตลาดขึ้น ค่าเงินบาทที่แพงขึ้นรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินบาทที่สูงขึ้น (เฉพาะในตลาดต่างประเทศ) เปิดโอกาสให้ ธปท. สามารถหาซื้อเงินเหรียญสหรัฐในราคาถูกได้ในตลาดต่างประเทศเพื่อเสริมทุน สำรองหรือเพื่อลดภาระผูกพันล่วงหน้า ทั้งหมดนี้มีผลสองประการ ในประการแรก จากการบีบนักเก็งกำไรด้วยวิธีนี้ ธปท. สามารถลดภาระผูกพันล่วงหน้าให้น้อยลงไปได้ ทำให้เงินทุนสำรองสุทธิเพิ่มจากระดับ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในวันที่ 14 พฤษภาคมไปเป็น 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในวันที่ 15 พฤษภาคม และเป็น 7.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในวันที่ 16 พฤษภาคม และหลังจากนั้นก็จะเคลื่อนอยู่ในพิสัยประมาณ 5-7 พันล้านเหรียญสหรัฐจนกระทั่งครึ่งหลังของเดือนมิถุนายนเมื่อตัวเลขดังกล่าว เริ่มตกลงไปอีกครั้งหนึ่ง (ดูภาพที่ 13) ในประการที่สอง มาตรการนี้ทำให้เหล่านักเก็งกำไรต้องขาดทุนสูงมาก เพราะต้องแสวงหาเงินบาทในราคาที่แพงขึ้นมาส่งมอบให้ ธปท. โดยไม่สามารถกู้ได้จากธนาคารพาณิชย์ไทย
...
การตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท
206. ในที่สุดปัญหาค่าเงินบาทก็ปะทุขึ้นอีกในปลายเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนายอำนวย วีรวรรณ ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในวันที่ 19 มิถุนายน ปัญหาช่วงนี้มิได้เป็นปัญหาอันเกิดจากการโจมตีจากข้างนอก แต่เป็นการไหลออกของเงินบาทของนักลงทุนในไทย และของคนไทยเอง โดยกระแสแรงขึ้นจากวันที่ 25 และ 26 มิถุนายนเป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ปริมาณเงินทุนสำรองสุทธิที่ต้องสูญเสียไปนั้นไม่อยู่ในเกณฑ์สูงเท่าใดนัก จำนวนดังกล่าวได้ลดลงจากระดับประมาณ 6-7 พันล้านเหรียญสหรัฐในระยะต้นเดือนมิถุนายน ลงมาเป็นปริมาณ 4-5 พันล้านเหรียญสหรัฐในระยะตั้งแต่วันที่ 20 ถึงวันที่ 26 มิถุนายน และหลังจากนั้นก็ลดฮวบไปเป็น 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในวันที่ 30 มิถุนายน (ดูภาพที่ 13)
...
209. ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำงานแรกหลังวันปิดงวดบัญชี รัฐบาลก็ประกาศให้ค่าเงินบาทลอยตัว เช้าวันนั้นทุนสำรองสุทธิของประเทศไทยอยู่ในระดับ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ
-----------------------------------------------------------------
การแบ่งส่วนองค์กรภายใน ธปท. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องค่าเงินบาท
118. การแบ่งส่วนองค์กรภายใน ธปท. ที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องเงินทุนสำรองและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ครั้งหนึ่งเคยมีเอกภาพพอสมควร เพราะกลไกที่ใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทนั้นแทบทั้งหมดจะอยู่ใน ฝ่ายเดียวกันในองค์กร แต่การเริ่มใช้เครื่องมือใหม่อย่างเช่นธุรกรรม swap นั้นได้ทำให้เอกภาพนั้นหมดสิ้นไป
119. ภาพที่ 11 แสดงแผนภูมิของตำแหน่งต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องค่าเงินบาท ในด้านขวาของแผนภูมิจะแสดงถึงฝ่ายที่เคยมีบทบาทสำคัญในระบบเดิม (ก่อนปลายปี 2539) จุดศูนย์กลางในระบบนั้น จะอยู่ที่ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน ดังได้กล่าวมาแล้วทุนรักษาระดับฯ เดิมเป็นหน้าต่างเดียวที่ ธปท. สัมผัสกับตลาดเงินตรา จุดนี้จะเป็นจุดที่ ธปท. ทำการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในยามปกติ และในอดีตจะเป็นจุดที่ใช้ปกป้องค่าเงินบาทเมื่อถูกโจมตี (ดูข้อ 107)
120. ตลอดเวลาที่ ธปท. ผูกค่าของเงินบาทไว้กับตะกร้าเงิน จุดนี้จะเป็นจุดที่ ธปท. ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนทุกเช้า เพราะฉะนั้น ผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ จึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสูงในการกำหนดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ มาเป็นเวลานานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา
121. เนื่องจากนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่ ซับซ้อน เพราะฉะนั้นในอดีต ฝ่ายวิชาการจะอยู่ในสายงานเดียวกันกับทุนรักษาระดับฯ มาโดยตลอด เช่นเดียวกันในปี 2539-40 นายชัยวัฒน์ นอกจากจะเป็นผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ แล้ว ก็เป็นรองผู้ว่าการธนาคารที่คุมฝ่ายวิชาการ โดยมีนางเกลียวทอง เหตระกูล เป็นผู้อำนวยการ รายงานต่อรองผู้ว่าการ ผ่านผู้ช่วยผู้ว่าการ นางธัญญา ศิริเวทิน อย่างไรก็ตาม ความใกล้ชิดของทุนรักษาระดับฯ กับฝ่ายวิชาการ มิได้หมายความว่า ฝ่ายอื่นๆ จะมิได้มีส่วนร่วม มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในทุนรักษาระดับฯ อาทิเช่น ผู้ช่วยผู้ว่าการศิริ การเจริญดี ก็เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ และผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร (นายบัณฑิต นิจถาวร) ก็เป็นเหรัญญิกของทุนรักษาระดับฯ ในช่วงปี 2539-2540 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีบุคคลจากฝ่ายอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วยในทุนรักษาระดับฯ ในที่นี้จะเรียกกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางด้านขวาของภาพที่ 11 ว่า สายวิชาการ
122. ลักษณะพิเศษสำหรับเหตุการณ์ในปี 2539-40 ก็คือบทบาทสำคัญในการปกป้องค่าเงินบาทหาได้เป็นของทุนรักษาระดับฯ ไม่ แต่กลับกลายเป็นภาระหน้าที่ของฝ่ายการธนาคาร ที่มีนายบัณฑิต นิจถาวร เป็นผู้อำนวยการ ฝ่ายการธนาคารได้เริ่มใช้บทบาทเชิงรุก กล่าวคือ ในกรณีที่มีการโจมตีค่าเงินบาทในตลาดทันที ฝ่ายการธนาคารจะออกไปกว้านซื้อเงินบาทเพื่อพยุงค่าเงินบาทไว้ ธปท. จะไม่รอจนถึงเวลาทำงานของทุนรักษาระดับฯ เมื่อฝ่ายการธนาคารแทรกแซงในตลาดทันทีแล้ว มักจะตามด้วยการทำ swap ด้วย
123. ทั้งการกว้านซื้อเงินบาทและการทำธุรกรรม swap นั้นกระทำกันในฝ่ายการธนาคาร โดยมีนายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน หัวหน้าส่วนวิเคราะห์และธุรกิจตลาดเงินเป็นผู้ค้า หรือเป็น “หน้าด่าน” ของ ธปท. ส่วนนี้มีความรับผิดชอบใน “การดำเนินการด้านตลาดซื้อคืน การแทรกแซงตลาดเงิน และการตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา (เหรียญสหรัฐ/บาท)” (จากแผนผังแสดงโครงสร้างฝ่ายการธนาคาร ที่ฝ่ายฯ เสนอให้กับ ศปร.)
124. เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า แต่เดิมมา ส่วนนี้เป็นส่วนที่มีประสบการณ์สูงในด้านการซื้อขายเงินบาทในตลาดซื้อคืน พันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นเครื่องมือที่ ธปท.ใช้ในการเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินบาท ในตลาดดังกล่าว ธปท. จะมีอำนาจตลาดสูงเหนือคู่ค้ามาก เพราะเหตุว่าเป็นตลาดเงินบาทและพันธบัตรรัฐบาลไทย
ซึ่ง ธปท. สามารถคุมปริมาณซื้อขายได้อย่างใกล้ชิด แต่ในการทำธุรกรรม swap ในตลาดเงินตราต่างประเทศที่ส่วนวิเคราะห์และธุรกิจฯ เพิ่งมาเริ่มทำนั้น ธปท.จะมีอำนาจตลาดน้อยกว่าในตลาดพันธบัตรมาก การที่ ธปท. ใช้กลุ่มบุคคลเดียวกันกับที่เคยซื้อขายในตลาดที่ ธปท. มีอำนาจตลาดสูง หันมาซื้อขายใน
ตลาดที่ตนมีอำนาจน้อยกว่ามาก (ซึ่งต้องอาศัยจิตวิทยาแตกต่างกัน) อาจมีส่วนในปัญหาที่ตามมาได้
125. อนึ่ง ภายในฝ่ายการธนาคารมีส่วนธุรกิจต่างประเทศ มีนางนงเยาว์ คชวัตร เป็นหัวหน้ารายงานต่อนายธนศักดิ์ จันทโรวาส รองผู้อำนวยการฝ่าย ตามเอกสารที่ฝ่ายการธนาคารให้กับ ศปร. ส่วนนี้มีหน้าที่ดูแลเงินสำรองทางการทั้งหมดและทำการลงทุนหาผลประโยชน์ และรับผิดชอบในการ “จัดสรรเงินสภาพคล่องของเงินสำรองของทางการให้พอเพียงกับภาระต่างๆ” เพราะฉะนั้นส่วนนี้จะดูแลเงินทุนสำรองทั้งหมด รวมทั้งจะต้องดูแลภาระอันเกิดจากธุรกรรม swap
126. ฝ่ายการธนาคารจะรายงานต่อผู้ช่วยผู้ว่าการ นายศิริ การเจริญดี ซึ่งรายงานตรงต่อผู้ว่าการ เพื่อความสะดวกในการอธิบายเรื่องราวต่อไปจะเรียกกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางด้าน ซ้ายของภาพที่ 11 ว่าสายปฏิบัติการ
127. จะเห็นได้จากภาพที่ 11 ว่า ในปี 2539-40 สายงานที่ปกติมีบทบาทสูงและมีเครื่องมือและความรู้ในด้านนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน (สายวิชาการ) กับสายงานที่ได้รับหน้าที่เป็นผู้ใช้เงินทุนสำรองปกป้องค่าเงินบาทนั้น (สายปฏิบัติการ) อยู่กันคนละสาย อีกวิธีหนึ่งที่จะอธิบายสองสายนี้ตามหน้าที่การงานก็คือ สายหนึ่งเป็นฝ่ายกำหนด “ราคา” คืออัตราแลกเปลี่ยน ส่วนอีกสายหนึ่งเป็นสายที่ทำการค้าขายและดูแลทรัพย์สินเพื่อรักษาราคาดัง กล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ทั้งสองสายนี้จะมาบรรจบกันตรงตัวผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งเป็นผู้เดียวใน ธปท. ที่คุมทั้งสองสาย
119. ภาพที่ 11 แสดงแผนภูมิของตำแหน่งต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องค่าเงินบาท ในด้านขวาของแผนภูมิจะแสดงถึงฝ่ายที่เคยมีบทบาทสำคัญในระบบเดิม (ก่อนปลายปี 2539) จุดศูนย์กลางในระบบนั้น จะอยู่ที่ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน ดังได้กล่าวมาแล้วทุนรักษาระดับฯ เดิมเป็นหน้าต่างเดียวที่ ธปท. สัมผัสกับตลาดเงินตรา จุดนี้จะเป็นจุดที่ ธปท. ทำการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในยามปกติ และในอดีตจะเป็นจุดที่ใช้ปกป้องค่าเงินบาทเมื่อถูกโจมตี (ดูข้อ 107)
120. ตลอดเวลาที่ ธปท. ผูกค่าของเงินบาทไว้กับตะกร้าเงิน จุดนี้จะเป็นจุดที่ ธปท. ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนทุกเช้า เพราะฉะนั้น ผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ จึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสูงในการกำหนดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ มาเป็นเวลานานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา
121. เนื่องจากนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่ ซับซ้อน เพราะฉะนั้นในอดีต ฝ่ายวิชาการจะอยู่ในสายงานเดียวกันกับทุนรักษาระดับฯ มาโดยตลอด เช่นเดียวกันในปี 2539-40 นายชัยวัฒน์ นอกจากจะเป็นผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ แล้ว ก็เป็นรองผู้ว่าการธนาคารที่คุมฝ่ายวิชาการ โดยมีนางเกลียวทอง เหตระกูล เป็นผู้อำนวยการ รายงานต่อรองผู้ว่าการ ผ่านผู้ช่วยผู้ว่าการ นางธัญญา ศิริเวทิน อย่างไรก็ตาม ความใกล้ชิดของทุนรักษาระดับฯ กับฝ่ายวิชาการ มิได้หมายความว่า ฝ่ายอื่นๆ จะมิได้มีส่วนร่วม มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในทุนรักษาระดับฯ อาทิเช่น ผู้ช่วยผู้ว่าการศิริ การเจริญดี ก็เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ และผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร (นายบัณฑิต นิจถาวร) ก็เป็นเหรัญญิกของทุนรักษาระดับฯ ในช่วงปี 2539-2540 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีบุคคลจากฝ่ายอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วยในทุนรักษาระดับฯ ในที่นี้จะเรียกกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางด้านขวาของภาพที่ 11 ว่า สายวิชาการ
122. ลักษณะพิเศษสำหรับเหตุการณ์ในปี 2539-40 ก็คือบทบาทสำคัญในการปกป้องค่าเงินบาทหาได้เป็นของทุนรักษาระดับฯ ไม่ แต่กลับกลายเป็นภาระหน้าที่ของฝ่ายการธนาคาร ที่มีนายบัณฑิต นิจถาวร เป็นผู้อำนวยการ ฝ่ายการธนาคารได้เริ่มใช้บทบาทเชิงรุก กล่าวคือ ในกรณีที่มีการโจมตีค่าเงินบาทในตลาดทันที ฝ่ายการธนาคารจะออกไปกว้านซื้อเงินบาทเพื่อพยุงค่าเงินบาทไว้ ธปท. จะไม่รอจนถึงเวลาทำงานของทุนรักษาระดับฯ เมื่อฝ่ายการธนาคารแทรกแซงในตลาดทันทีแล้ว มักจะตามด้วยการทำ swap ด้วย
123. ทั้งการกว้านซื้อเงินบาทและการทำธุรกรรม swap นั้นกระทำกันในฝ่ายการธนาคาร โดยมีนายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน หัวหน้าส่วนวิเคราะห์และธุรกิจตลาดเงินเป็นผู้ค้า หรือเป็น “หน้าด่าน” ของ ธปท. ส่วนนี้มีความรับผิดชอบใน “การดำเนินการด้านตลาดซื้อคืน การแทรกแซงตลาดเงิน และการตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา (เหรียญสหรัฐ/บาท)” (จากแผนผังแสดงโครงสร้างฝ่ายการธนาคาร ที่ฝ่ายฯ เสนอให้กับ ศปร.)
124. เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า แต่เดิมมา ส่วนนี้เป็นส่วนที่มีประสบการณ์สูงในด้านการซื้อขายเงินบาทในตลาดซื้อคืน พันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นเครื่องมือที่ ธปท.ใช้ในการเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินบาท ในตลาดดังกล่าว ธปท. จะมีอำนาจตลาดสูงเหนือคู่ค้ามาก เพราะเหตุว่าเป็นตลาดเงินบาทและพันธบัตรรัฐบาลไทย
ซึ่ง ธปท. สามารถคุมปริมาณซื้อขายได้อย่างใกล้ชิด แต่ในการทำธุรกรรม swap ในตลาดเงินตราต่างประเทศที่ส่วนวิเคราะห์และธุรกิจฯ เพิ่งมาเริ่มทำนั้น ธปท.จะมีอำนาจตลาดน้อยกว่าในตลาดพันธบัตรมาก การที่ ธปท. ใช้กลุ่มบุคคลเดียวกันกับที่เคยซื้อขายในตลาดที่ ธปท. มีอำนาจตลาดสูง หันมาซื้อขายใน
ตลาดที่ตนมีอำนาจน้อยกว่ามาก (ซึ่งต้องอาศัยจิตวิทยาแตกต่างกัน) อาจมีส่วนในปัญหาที่ตามมาได้
125. อนึ่ง ภายในฝ่ายการธนาคารมีส่วนธุรกิจต่างประเทศ มีนางนงเยาว์ คชวัตร เป็นหัวหน้ารายงานต่อนายธนศักดิ์ จันทโรวาส รองผู้อำนวยการฝ่าย ตามเอกสารที่ฝ่ายการธนาคารให้กับ ศปร. ส่วนนี้มีหน้าที่ดูแลเงินสำรองทางการทั้งหมดและทำการลงทุนหาผลประโยชน์ และรับผิดชอบในการ “จัดสรรเงินสภาพคล่องของเงินสำรองของทางการให้พอเพียงกับภาระต่างๆ” เพราะฉะนั้นส่วนนี้จะดูแลเงินทุนสำรองทั้งหมด รวมทั้งจะต้องดูแลภาระอันเกิดจากธุรกรรม swap
126. ฝ่ายการธนาคารจะรายงานต่อผู้ช่วยผู้ว่าการ นายศิริ การเจริญดี ซึ่งรายงานตรงต่อผู้ว่าการ เพื่อความสะดวกในการอธิบายเรื่องราวต่อไปจะเรียกกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางด้าน ซ้ายของภาพที่ 11 ว่าสายปฏิบัติการ
127. จะเห็นได้จากภาพที่ 11 ว่า ในปี 2539-40 สายงานที่ปกติมีบทบาทสูงและมีเครื่องมือและความรู้ในด้านนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน (สายวิชาการ) กับสายงานที่ได้รับหน้าที่เป็นผู้ใช้เงินทุนสำรองปกป้องค่าเงินบาทนั้น (สายปฏิบัติการ) อยู่กันคนละสาย อีกวิธีหนึ่งที่จะอธิบายสองสายนี้ตามหน้าที่การงานก็คือ สายหนึ่งเป็นฝ่ายกำหนด “ราคา” คืออัตราแลกเปลี่ยน ส่วนอีกสายหนึ่งเป็นสายที่ทำการค้าขายและดูแลทรัพย์สินเพื่อรักษาราคาดัง กล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ทั้งสองสายนี้จะมาบรรจบกันตรงตัวผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งเป็นผู้เดียวใน ธปท. ที่คุมทั้งสองสาย
-----------------------------------------------------------------
- วิธีที่ ธปท. ใช้ในการปกป้องค่าเงิน104. ธุรกรรม swap ชนิดที่ ธปท. ทำในช่วงปีก่อนการปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวนั้น เรียกว่า buy-sell swap แต่ละครั้งที่ทำไปจะประกอบด้วยธุรกรรมสองขาในขาปัจจุบัน (คือส่วน buy ใน buy-sell) ธปท. จะซื้อเงินเหรียญสหรัฐโดยจ่ายด้วยเงินบาท (เรียกสั้นๆ ว่า ซื้อเงินเหรียญสหรัฐ/ขายเงินบาท) ด้านขวาของภาพที่ 10 จะแสดงให้เห็นการแลกเปลี่ยนเงินที่จะเกิดขึ้นในธุรกรรม swap ขาปัจจุบันนั้นจะแสดงโดยคู่ลูกศรในด้านขวาส่วนบน ในขาที่สองคือขาอนาคต (คู่ลูกศรล่างด้านขวา) เงื่อนไขสัญญา swap จะกำหนดให้ ธปท. ขายเงินเหรียญสหรัฐ/ซี้อเงินบาท อายุสัญญาดังกล่าวหรือช่วงเวลาระหว่างขาปัจจุบันกับขาล่วงหน้าอาจจะเป็น 2 วัน หรือ 3 เดือน หรือ 6 เดือน หรือ 1 ปีก็ได้แล้วแต่สัญญา อัตราแลกเปลี่ยนที่จะใช้ในการแลกเงินทั้งสองขาจะเป็นตามที่ตกลงกัน ผลต่างของราคาเงินเหรียญสหรัฐในสองขานี้ จะสะท้อนผลต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินบาทกับอัตราดอกเบี้ยเงินเหรียญสหรัฐเป็น ส่วนใหญ่
105. ในช่วงที่มีการโจมตีค่าเงินบาทจะเกิดการแลกเปลี่ยนเงินเข้าออกอย่างน้อยสามครั้ง โดยจะเริ่มด้วยการที่นักเก็งกำไรนำเอาเงินบาทมาทุ่มขายในตลาดทันที การขายเงินบาทนี้จะยังไม่ปรากฏในภาพที่ 10 เพราะยังไม่เกี่ยวข้องกับ ธปท. แต่ถ้าการขายเงินบาทดังกล่าวนี้จะสร้างแรงกดดันทำให้ค่าเงินบาทลดลง ธปท. ก็จำต้องไปซื้อเงินบาทเข้ามาจากตลาดเพื่อพยุงค่าของเงินบาทโดยใช้เงินเหรียญ สหรัฐจากทุนสำรองทางการ การซื้อขายดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นโดยคู่ลูกศรด้านซ้ายในภาพที่ 10 นี่คือการแลกเปลี่ยนเงินครั้งแรก ในอดีต การแลกเปลี่ยนเงินก็จะจบลงตรงนี้ โดย ธปท. จะพยุงค่าเงินบาทเฉพาะในตลาดทันที แต่ในปี 2539-40 ธปท. มักจะตามธุรกรรมทันทีด้วยการทำธุรกรรม buy-sell swap คือธุรกรรมทางด้านขวาของภาพที่ 10 ในขาปัจจุบันของธุรกรรม swap ธปท.จะได้เงินเหรียญสหรัฐจากตลาด และจะระบายเงินบาทออกไป ซึ่งก็เป็นการแลกเปลี่ยนเงินครั้งที่สอง เมื่อครบอายุสัญญา swap ธปท. จะต้องส่งเงินเหรียญสหรัฐนั้นไปแลกเงินบาทกลับมา ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนเงินครั้งที่สาม
106. ในอดีต เมื่อเกิดการโจมตีค่าเงินบาทนั้น นักเก็งกำไรก็จะสร้างแรงกดดันให้ค่าเงินบาทลดลงในตลาดทันทีเหมือนกัน ผลจะปรากฎแก่ ธปท. ที่ทุนรักษาระดับฯ ภายใน 24 ชั่วโมง และการตอบโต้จาก ธปท. จะเกิดขึ้นที่ทุนรักษาระดับฯ จากการที่ทุนรักษาระดับฯ จะรับซื้อเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ ถึงแม้ว่าตัวทุนรักษาระดับฯ มิได้มีไว้เพื่อนำมาขายแลกกับเงินบาททีละมากๆ แต่ทุนรักษาระดับฯ สามารถหันกลับมาซื้อเงินเหรียญสหรัฐได้จากบัญชีทั่วไปของ ธปท. ได้เสมอ ตราบใดที่บัญชีทั่วไปของ ธปท. ยังมีเงินทุนสำรองเหลืออยู่
107. ในสายตาของ ธปท. ข้อที่ทำให้ธุรกรรม swap เป็นเครื่องมือแทรกแซงที่ดีกว่าการแทรกแซงเฉพาะในตลาดทันทีแต่เพียงอย่าง เดียวเหมือนอย่างที่เคยกระทำ ก็คือ การแทรกแซงโดยมี swap ตามมาจะไม่ทำลายสภาพคล่องของเงินบาท ในระบบเดิม ถ้าแรงกดดันขายเงินบาทจากนักเก็งกำไรมีสูงและถ้าทุนรักษาระดับฯ รับซื้อเงินบาทเข้า ธปท. จะทำให้เงินบาทหายจากตลาดมาอยู่กับ ธปท. ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเงินฝืด และทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น แต่หาก ธปท. ตามด้วยการ swap สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ในขาแรกของสัญญา swap ธปท. ก็จะอัดฉีดเงินบาทเข้าไปในระบบเพื่อลบล้างผลของการโจมตีของนักเก็งกำไรที่นำ เอาเงินบาทมาขายให้แก่ ธปท. ทำให้ปริมาณเงินบาทในตลาดทันทีไม่ลดลง ดอกเบี้ยก็จะไม่แพงขึ้น (คำชี้แจงของนายบัณฑิต นิจถาวร ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร ต่อ ศปร.)
108. ข้อดีอีกประการหนึ่งในสายตาของ ธปท. คือ การใช้ธุรกรรม swap นั้นเป็นการซ่อนผลกระทบของการปกป้องค่าเงินบาทต่อเงินทุนสำรองทางการไม่ให้ ปรากฏต่อตลาด เพราะถ้าดำเนินการแต่เฉพาะในตลาดทันทีเงินทุนสำรองทางการก็จะหดลง ธุรกรรม swap ที่ ธปท. ทำนั้นมีผลเสมือนหนึ่งว่า ธปท. กู้เงินตราต่างประเทศมาใช้อุดส่วนของเงินทุนสำรองทางการที่หดลง ทำให้ไม่เห็นผลต่อปริมาณเงินทุนสำรองทางการที่แถลงต่อประชาชน (บรรทัดที่ 4 ตารางที่ 1) ส่วนพันธะที่เกิดขึ้นที่จะต้องส่งเงินตราต่างประเทศกลับไปให้แก่คู่สัญญาในอนาคต (บรรทัดที่ 5 ตารางที่ 1) นั้นไม่ต้องแจ้งสาธารณชน ดังนั้น ประชาชนจะไม่ทราบว่าไทยมีเงินทุนสำรองที่หักพันธะหรือเงินทุนสำรองสุทธิเท่าใด
109. ในการกล่าวว่า ธปท. ได้ซ่อนผลของการดำเนินการของตนจากตลาดนั้น ศปร. มิได้มีเจตนาที่จะปรักปรำ ธปท. ว่าพยายามหลอกลวงประชาชนและเป็นการกระทำที่ควรแก่การประณาม ในสภาพตลาดอย่างที่ ธปท. ประสบอยู่นั้น การปกปิดข้อมูลบางอย่างไม่ให้ออกสู่ตลาดหรือต่อสาธารณชนนั้น เป็นสิ่งจำเป็น แต่ในกรณีนี้ ศปร. เชื่อว่าวิธีการที่นำมาใช้ไม่ช่วยให้ ธปท. สามารถปกปิดการทำธุรกรรมของตนได้สำเร็จ ทั้งนี้เพราะเหตุว่าอย่างน้อยคู่ค้าของตนในตลาดเงินตราระหว่างประเทศจะทราบ ว่า ธปท. กำลังทำอะไรอยู่ และเพราะธุรกรรมต่างๆ ที่ ธปท. ดำเนินการอยู่ในช่วงนั้นมีขนาดและปริมาณสูงกว่าที่เป็นอยู่โดยปกติในตลาดดัง กล่าว ดังคำชี้แจงจากนายศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ (กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย) ที่ให้แก่ ศปร.
" จากขนาดของ transaction ที่ ธปท. ทำ ซึ่งมีประมาณครั้งละ 100-130 ล้าน [เหรียญสหรัฐ] นั้นคิดว่ามากและเป็น very significant information เนื่องจากตลาดปกติจะมี value เฉลี่ย 200-250 ล้าน [ต่อวัน] ประกอบกับตลาดไทยเป็นตลาดที่ thin มาก หากมี transaction มากเป็น 10-20 ล้าน อัตราแลกเปลี่ยนจะกระทบทันที … อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่อัตราแลกเปลี่ยนเริ่มขยับ และมีคน go against อัตราแลกเปลี่ยนอันนั้น trade จะมีคำถามว่าอะไรเกิดขึ้น และมักได้รับรายงานว่า ธปท. intervene ในตลาด”
110. ถ้าพิจารณาขนาดของตลาดในแต่ละวัน และความสามารถของคู่ค้าแต่ละคน และเปรียบเทียบกับความจำเป็นที่ ธปท. จะต้องแทรกแซง ในช่วงที่มีการโจมตี (วันละนับเป็นพันล้านเหรียญสหรัฐ) จะเห็นได้ว่า ธปท. จำเป็นต้องทำธุรกรรมนี้กับคู่ค้าเป็นจำนวนมาก ซี่งยิ่งจะเป็นการกระพือข่าว ให้ตลาดมีความตื่นตระหนกมากขึ้นอีก
-----------------------------------------------------------------
- แบงค์ไทยเข้าร่วมโจมตีค่าเงินครั้งนี้ด้วยหรือไม่ ?
111. คู่ค้าของ ธปท. ในธุรกรรม swap มักจะเป็นผู้แทนที่ ธปท. เลือกให้เป็นตัวแทนในธุรกรรมแต่ละครั้ง ผู้แทนเหล่านี้มีธนาคารไทยขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร (กรุงเทพฯ กรุงไทย กสิกรไทย และไทยพาณิชย์) ธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาในไทย รวมไปถึงสถาบันการเงินต่างประเทศอีกด้วย ตามความเข้าใจของ ธปท. คู่ค้าจะทำสัญญากับ ธปท. ในฐานเป็นตัวแทน (agent) ของ ธปท. ในตลาด กล่าวคือคู่ค้าจะไปทำสัญญาต่อกับผู้อื่น และคิดค่าป่วยการจาก ธปท. แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะกีดกันไม่ให้คู่ค้าบางรายหันมาทำสัญญากับตนเองหรือกับ บริษัทในเครือ หรือใช้ข้อมูลที่ได้จากธุรกรรมของ ธปท. ไปทำธุรกรรมกับคนอื่น ในหลายกรณีมีข่าวออกมาเป็นระลอกว่าคู่ค้าของ ธปท. คือผู้ที่อยู่ในหมู่นักเก็งกำไรที่เข้ามาโจมตีเงินบาทเสียเอง
112. นอกจากการยื่นข้อมูลให้แก่ตลาดเงินตราต่างประเทศแล้ว การที่ ธปท. ระบายเงินบาทออกมาในขาแรกของธุรกรรม swap ก็เท่ากับเป็นการยื่นลูกกระสุนให้คู่ค้าต่างประเทศอีกด้วย เพราะคู่ค้าเหล่านี้สามารถนำเงินบาทเหล่านั้นกลับมาใช้โจมตี ธปท. ใหม่ได้ ซึ่ง ธปท. ก็รับเอาเงินบาทดังกล่าวไปทำธุรกรรมกับคู่ค้ารายอื่นหมุนเวียนกันไป โดยที่ฝ่ายคู่ค้าไม่ถูกจำกัดโดยปริมาณเงินบาทที่จะหามาโจมตีได้ เนื่องจาก ธปท. ระบายเงินออกมาให้ตลอดเวลา ดังนั้น การทำ swap จึงทำให้การแทรกแซงในตลาดทันทีของ ธปท. เพื่อพยุงค่าเงินบาทไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร
113. ถ้ากลับไปพิจารณาภาพที่ 10 อีกครั้งหนึ่ง และถ้าคำนึงด้วยว่า ตลาดเงินที่วาดไว้เป็นสองกล่องที่อยู่ตรงด้านซ้ายและขวาของภาพที่ 10 นั้นแท้จริงแล้วเป็นตลาดเดียวกัน ก็จะเห็นได้ว่า ผลของการแทรกแซงในตลาดทันทีตามด้วยการทำธุรกรรม swap นั้นทำให้เงินบาทออกจากตลาดเงินมุ่งมาสู่ ธปท. และจากนั้น
ธปท. ก็จะเอาเงินบาทนั้นระบายกลับไปสู่ตลาดอีกครั้งหนึ่ง และตลาดก็จะเอาเงินบาทกลับมาขายให้ ธปท.ใหม่ หมุนอยู่เช่นนี้ไปเรื่อยๆแต่เงินบาทหมุนอยู่รอบหนึ่ง ภาระผูกพันจากธุรกรรม swap ก็จะเพิ่มขึ้นครั้งหนึ่ง แล้วแต่วงเงินที่ซื้อขายกันจะสูงต่ำอย่างไร เพราะฉะนั้น ถ้าการโจมตีไม่หยุดยั้งอยู่ ภาระผูกพันก็สามารถเพิ่มขึ้นโดยไม่จำกัดได้
-----------------------------------------------------------------111. คู่ค้าของ ธปท. ในธุรกรรม swap มักจะเป็นผู้แทนที่ ธปท. เลือกให้เป็นตัวแทนในธุรกรรมแต่ละครั้ง ผู้แทนเหล่านี้มีธนาคารไทยขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร (กรุงเทพฯ กรุงไทย กสิกรไทย และไทยพาณิชย์) ธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาในไทย รวมไปถึงสถาบันการเงินต่างประเทศอีกด้วย ตามความเข้าใจของ ธปท. คู่ค้าจะทำสัญญากับ ธปท. ในฐานเป็นตัวแทน (agent) ของ ธปท. ในตลาด กล่าวคือคู่ค้าจะไปทำสัญญาต่อกับผู้อื่น และคิดค่าป่วยการจาก ธปท. แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะกีดกันไม่ให้คู่ค้าบางรายหันมาทำสัญญากับตนเองหรือกับ บริษัทในเครือ หรือใช้ข้อมูลที่ได้จากธุรกรรมของ ธปท. ไปทำธุรกรรมกับคนอื่น ในหลายกรณีมีข่าวออกมาเป็นระลอกว่าคู่ค้าของ ธปท. คือผู้ที่อยู่ในหมู่นักเก็งกำไรที่เข้ามาโจมตีเงินบาทเสียเอง
112. นอกจากการยื่นข้อมูลให้แก่ตลาดเงินตราต่างประเทศแล้ว การที่ ธปท. ระบายเงินบาทออกมาในขาแรกของธุรกรรม swap ก็เท่ากับเป็นการยื่นลูกกระสุนให้คู่ค้าต่างประเทศอีกด้วย เพราะคู่ค้าเหล่านี้สามารถนำเงินบาทเหล่านั้นกลับมาใช้โจมตี ธปท. ใหม่ได้ ซึ่ง ธปท. ก็รับเอาเงินบาทดังกล่าวไปทำธุรกรรมกับคู่ค้ารายอื่นหมุนเวียนกันไป โดยที่ฝ่ายคู่ค้าไม่ถูกจำกัดโดยปริมาณเงินบาทที่จะหามาโจมตีได้ เนื่องจาก ธปท. ระบายเงินออกมาให้ตลอดเวลา ดังนั้น การทำ swap จึงทำให้การแทรกแซงในตลาดทันทีของ ธปท. เพื่อพยุงค่าเงินบาทไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร
113. ถ้ากลับไปพิจารณาภาพที่ 10 อีกครั้งหนึ่ง และถ้าคำนึงด้วยว่า ตลาดเงินที่วาดไว้เป็นสองกล่องที่อยู่ตรงด้านซ้ายและขวาของภาพที่ 10 นั้นแท้จริงแล้วเป็นตลาดเดียวกัน ก็จะเห็นได้ว่า ผลของการแทรกแซงในตลาดทันทีตามด้วยการทำธุรกรรม swap นั้นทำให้เงินบาทออกจากตลาดเงินมุ่งมาสู่ ธปท. และจากนั้น
ธปท. ก็จะเอาเงินบาทนั้นระบายกลับไปสู่ตลาดอีกครั้งหนึ่ง และตลาดก็จะเอาเงินบาทกลับมาขายให้ ธปท.ใหม่ หมุนอยู่เช่นนี้ไปเรื่อยๆแต่เงินบาทหมุนอยู่รอบหนึ่ง ภาระผูกพันจากธุรกรรม swap ก็จะเพิ่มขึ้นครั้งหนึ่ง แล้วแต่วงเงินที่ซื้อขายกันจะสูงต่ำอย่างไร เพราะฉะนั้น ถ้าการโจมตีไม่หยุดยั้งอยู่ ภาระผูกพันก็สามารถเพิ่มขึ้นโดยไม่จำกัดได้
- ยามลำบาก มหามิตรไม่คิดช่วย แถมยังซ้ำเติมอีก
บันทึกความทรงจำของคลินตัน
คอลัมน์ คนเดินตรอก
โดย วีรพงษ์ รามางกูร
หนังสือที่เป็นที่ฮือฮากันไปทั่วโลกในขณะนี้ก็คือ หนังสือชื่อ "ชีวิตของข้าพเจ้า" หรือ "My Life" ของอดีตประธานาธิบดี บิลล์ คลินตัน หลังจากที่ ฮิลลารี่ คลินตัน อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐเขียนหนังสือชื่อ "ประวัติ ศาสตร์ที่ยังมีชีวิต" หรือ "Living History" จนเป็นหนังสือขายดีเมื่อปีที่แล้ว หนังสือ "ชีวิตของข้าพเจ้า" เป็นบันทึกความทรงจำของอดีตประธานาธิบดีคลินตันที่ได้ข่าวว่าก็เป็นหนังสือ ที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งของปีนี้
ผมเองไม่ได้อ่านจากต้นฉบับแต่ก็เห็นหนังสือพิมพ์ลงข่าวฮือฮาว่าท่านเขียนยอม รับผิดหลายเรื่อง เรื่องที่ฮือฮามากที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องที่ท่านเขียนยอมรับผิดเรื่องที่ ท่านมีเรื่องอื้อฉาวกับนักศึกษาสาวที่มาฝึกงานอยู่ที่ทำเนียบขาว จนเกือบจะโดนรัฐสภาขับออกจากประธานาธิบดี แต่บังเอิญขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่นั้น เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริการุ่งเรืองเฟื่องฟูมาก ประชาชนมีความพอใจ ประชาชนจึงให้อภัยจนเกิดเป็นกระแสให้รัฐสภายกโทษให้ท่านจึงรอดพ้นจากการ ถูกลงมติให้ขับออกจากการเป็นประธานา ธิบดีมาได้อย่างหวุดหวิด แต่ภริยาของท่านก็ไม่ให้เข้านอนด้วย ต้องนอนที่โซฟาร์นอกห้องนอนอยู่หลายเดือน
แต่เรื่องที่น่าสนใจที่คุณทนง ขันทอง เอามาเขียนลงในหนังสือพิมพ์ "เดอะเนชั่น" นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจและสะกิดใจมาก อดีตประธานาธิบดี คลินตัน คงตั้งใจเขียนไว้ให้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เรื่องที่ว่าก็คือเรื่องที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เริ่มต้นจากบ้านของ เราในปี 2540 จนได้รับการขนานนามว่า "โรคต้มยำกุ้ง" เพราะต้มยำกุ้งเป็นอาหารไทยที่ได้รับความนิยมและรู้จักไปทั่วโลก วิกฤตการณ์นั้นลุกลามข้ามทวีปไปยังประเทศรัสเซียและบราซิลอย่างที่เราทราบ
อดีตประธานาธิบดีคลินตัน ยอมรับว่าตัดสินใจผิดที่ไม่ได้ช่วยเหลือประเทศไทยเลย แม้แต่ดอลลาร์เดียว
ท่านเล่าว่าเมื่อประเทศไทยถูกโจมตีหลังจากฟองสบู่แตกในปี 2540 ระบบสถาบันการเงินล้มระเนระนาด
หนี้ต่างประเทศของไทยถีบตัวสูงขึ้นถึง 120 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลถึง 8 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ตลาดหลักทรัพย์ฯพังพินาศ เจ้าหนี้ต่างประเทศเรียกหนี้คืนหมด ทำให้เงินไหลออกจากประเทศอย่างรวดเร็ว
ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงอย่างรวดเร็วจนต้องประกาศลอยตัวเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 หลังจากนั้นค่าเงินบาทลดลงอย่างรวดเร็ว
ท่านคลินตันเขียนเล่าว่า กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม และสภาความมั่นคงของสหรัฐได้เสนอความเห็นว่ารัฐบาลสหรัฐควรจะให้ความช่วย เหลือทางการเงินแก่ประเทศไทย เพราะประเทศไทยเป็นพันธมิตรเก่าแก่ของสหรัฐอเมริกาในภาคพื้นเอเชียตะวันออก เฉียงใต้นี้
ท่านอดีตประธานาธิบดีเล่าว่าท่านเห็นด้วยกับ 3 หน่วยงานนี้ แต่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐในขณะนั้นคือ นายโรเบิร์ต รูบิน ไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ ท่านโยนความผิดไปที่นายรูบิน
ท่านเห็นว่าแม้ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องในแง่ของการเมืองและเศรษฐกิจ ในแง่ของสหรัฐอเมริกา แต่เป็นการให้สัญญาณที่ผิด พอข่าวออกไปว่าสหรัฐจะไม่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศไทยเท่านั้น ผู้คนและสถาบันการเงินก็ตกใจรีบขนเงินตราต่างประเทศออกจากเมืองไทย เจ้าหนี้ก็ตกใจรีบเรียกหนี้คืน ในที่สุดประเทศไทยก็ต้องขอความช่วยเหลือยืมเงินจากประเทศอื่นๆ ผ่านทางไอเอ็มเอฟเป็นจำนวนเงินประมาณ 17 พันล้านเหรียญ
นายรูบินคัดค้านการช่วยเหลือประเทศไทยก็เพราะก่อนหน้านั้น ทางรัฐสภาอเมริกาเคยโจมตีนายรูบินที่รัฐบาลอเมริกันเคยจ่ายเงินจาก "กองทุนรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน" หรือ "Exchange Stabilization Fund" ของกระทรวงการคลังสหรัฐ ผ่านไอเอ็มเอฟเพื่อช่วยเหลือประเทศเม็กซิโก เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ในประเทศเม็กซิโก ก่อนประเทศไทยราวๆ ปีครึ่ง
ที่กระทรวงการคลังสหรัฐช่วยเหลือเม็กซิโกก็เพราะเม็กซิโกอยู่ติดกับ อเมริกา ถ้าเม็กซิโกเป็นอะไรไปก็จะกระทบกระเทือนอเมริกา เพราะเม็กซิโกเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของอเมริกา เม็กซิโกเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของอเมริกา บริษัทอเมริกันเข้าไปลงทุนในเม็กซิโกเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญถ้าคนเม็กซิกันตกงานก็จะทะลักเข้ามาหางานทำในอเมริกา อเมริกาก็จะเดือดร้อน
แต่ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กที่อยู่ห่างไกล อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ก็ไม่น่าจะมีผลอะไรกับอเมริกา กล่าวคือ ดูผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลักเพียงแต่สนับสนุนให้ไอเอ็มเอฟเข้ามา ปล่อยเงินกู้ให้ แต่ไม่มีเงินจากอเมริกาเลย เป็นเงินของไอเอ็มเอฟเองส่วนหนึ่งที่เหลือมาจากญี่ปุ่น จีน และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกทั้งนั้น
ท่านคลินตันยังเล่าต่อไปว่า เรื่องดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับคนไทยเป็นอย่างมาก นอกจากจะไม่ช่วยเหลืออะไรประเทศไทยแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรเบิร์ต รูบิน แลร์รี่ ซัมเมอร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รวมทั้ง ปู่อลัน กรีนสแปน ต่างก็แสดงท่าทีที่แข็งกร้าวต่อประเทศไทย บังคับให้ประเทศไทยใช้มาตรการต่างๆ อย่างรุนแรง
ทั้ง 3 คน กดดันประเทศไทยผ่านทางไอเอ็มเอฟจนเข้ามุมอับ ให้เปิดเผยฐานะของทุนสำรองเหลือเท่าไหร่
เอาไปสู้ป้องกันเงินบาทเท่าไหร่ มิฉะนั้น ไอเอ็มเอฟจะไม่ให้เบิกเงิน พอเปิดตัวเลขออกมาคนยิ่งตกใจเงินยิ่งไหลออก ค่าเงินบาทยิ่งตกหนักลงไปอีก วิกฤตการณ์ก็ยิ่งลึกลงไปอีก
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อเราประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เงินบาทอ่อนค่าลงจาก 25 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ไปอยู่ที่ประมาณ 29 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์เป็นเวลานาน ซึ่งน่าจะเป็นค่าที่แท้จริง พวกเราเคยคิดกันว่า ถ้าไม่ไปต่อสู้ป้องกันค่าเงินบาท ประเทศไทยประกาศลดค่าเงินบาทลงเป็น 29 บาทต่อดอลลาร์ก็น่าจะพอและอยู่ได้ แต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศว่าทุนสำรองเมื่อหักภาระการไปขายดอลลาร์ ล่วงหน้าไว้เท่าไหร่เท่านั้นเอง ค่าเงินบาทตกต่อจาก 29 บาทเรื่อยไปจนถึง 56 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ ซึ่งเป็นหายนะของประเทศ
คนไทยขมขื่นมากเพราะทุกคนรู้ว่าคนอเมริกันเอาเงินออมของตนมาลงทุนกับ "กองทุนตรึงมูลค่า" หรือ "hedge fund" ที่มาโจมตีประเทศไทย นายรูบินมีพื้นเพอาชีพเดิมมาจากสถาบันการเงินที่ทำมาหากินกับเรื่องพวกนี้ ที่ถนนกำแพง หรือวอลล์ สตรีท (Wall street) ศูนย์กลางทางการเงินของสหรัฐอยู่ที่มหานครนิวยอร์กมาก่อน เมื่อพ้นจากตำแหน่งก็ไปดำรงตำแหน่งประธานสถาบันการเงินที่ถนนกำแพง ดังนั้นทั้งรูบินและซัมเมอร์ ก็ติดตามมาตรการและอยู่เบื้องหลังไอเอ็มเอฟในการดำเนินการให้ประเทศไทย ปฏิบัติตามนโยบายที่ไอเอ็มเอฟทำไว้ให้
ในเดือนมิถุนายน 2541 กระทรวงการคลังไทยได้เชิญนายบ๊อบ รูบิน รัฐมนตรีคลังของสหรัฐมาเป็นแขกของกระทรวง แล้วได้ขอให้สถาบันศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญนายรูบินมากล่าวปาฐกถาที่ห้องประชุมสถาบัน ผมได้รับเชิญไปฟังด้วย ปาฐกถาของนายรูบินเต็มไปด้วยข้อกล่าวหาว่าร้ายประเทศของเรา คนของเราต่างๆ นานา พร้อมกับบอกพวกเราว่าเราต้อง "ปฏิรูปเศรษฐกิจ" ของเราอย่างรีบด่วน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าแปลว่าอะไร คงจะแปลว่าควรจะจัดการกวาดล้างของเสียให้สิ้นไปแล้วเงินทุนของนักลงทุนใหม่ จะได้เข้ามา เราถึงจะฟื้นคืนชีพ ซึ่งบัดนี้ก็พิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง
เราต้องยอมรับความเจ็บปวด เหมือนต้องกัด "ลูกปืน" หรือ "bite the bullet" ที่ถูกยิงทะลุคางขึ้นมาแล้วเอาฟันกัดลูกปืนไว้ แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นสหรัฐจะยืนอยู่เคียงข้างประเทศไทย เขาหยอดคำหวาน แต่ไม่ได้ช่วยอะไรเลย
หลังจากปาฐกถาเสร็จ สื่อมวลชนมารุมสัมภาษณ์ ผมก็กล่าวว่าขอบคุณสหรัฐ แต่สหรัฐจะช่วยไทยได้ก็ต้องมีความเข้าใจสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย และเข้าใจระบบเศรษฐกิจไทยด้วย มิฉะนั้นจะช่วยถูกได้อย่างไร ที่พูดมานั้นผิด ถ้าทำอย่างที่ว่าประเทศไทยจะแย่ลงกว่านี้มาก ทีวี วิทยุไปออกข่าวกันใหญ่ รุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ "เดอะเนชั่น" เอารูปผมกับรูปนายรูบินลงคู่กันแต่มีความเห็นต่างกัน
ต่อมาหนังสือพิมพ์ "เดอะเนชั่น" จัดให้ผมและ ดร.สแตนลี่ ฟิชเชอร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ไอเอ็มเอฟมาโต้กันที่โรงแรมแห่งหนึ่งริมแม่น้ำเจ้า พระยา ดร.ฟิชเชอร์ก็พูดเหมือนนายรูบิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐ ผมก็คัดค้านอีกว่าถ้าทำอย่างนั้นเศรษฐกิจไทยก็จะเลวร้ายลงไปอีก แต่ดูเหมือน ดร.ฟิชเชอร์ไม่ฟังเลย
เมื่อตอนที่เรากำลังเจรจาทำข้อตกลงเงื่อนไขฉบับแรกกับไอเอ็มเอฟ ผมได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี วันหนึ่ง ดร.สแตนลี่ ฟิชเชอร์ บินมาเมืองไทย ขอเชิญผมกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยไปรับประทานอาหารเช้ากับเขาที่ โรงแรมโอเรียนเต็ล ผมบอกเขาว่าเมื่อเจ้าหน้าที่ที่เจรจาเงื่อนไขทั้งสองฝ่ายทำข้อตกลงแล้วเรา สองคนซึ่งก็เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยทั้งคู่ เพราะ ดร.ฟิชเชอร์เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่ง แมสซาชูเซตส์ หรือ MIT เราควรจะมาตรวจดูเหมือนกับการตรวจวิทยานิพนธ์แล้วปรึกษากันว่า เงื่อนไขที่จะใส่ในหนังสือแสดงความจำนงนั้น จะถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ยาที่ใช้จะถูกกับโรคหรือไม่
เขาตอบผมว่าเขาไม่มีเวลาดูหรอกเพราะเขาไม่มีเวลา เขาต้องดูแลประเทศต่างๆ ทั่วโลก ขอให้เชื่อนายฮูแบร็ตไนส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียและแปซิฟิกของไอเอ็มเอฟ เพราะเคยให้ยากับประเทศต่างๆ มาทั่วโลกแล้ว ผมแย้งว่า "ประเทศต่างๆ มีโครงสร้างเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจต่างกัน จะใช้ยาขนานเดียวกันทั่วโลกได้อย่างไร" เขาตอบว่า "ไม่เป็นไร ยาขนานเดียวใช้ได้หมด" ผมเดินออกมาอย่างเศร้าใจ กับวิธีทำงานของ ดร.ฟิชเชอร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของไอเอ็มเอฟ
ดูเหมือนว่ารัฐบาลต่อมาไม่มีใครข้องใจกับมาตรการต่างๆ ไอเอ็มเอฟยัดเยียดบังคับให้เราใช้เลย ไปเห็นดีเห็นงามกับเขาเสียหมด มิหนำซ้ำใครไปพูดคัดค้านไอเอ็มเอฟ หรือกระทรวงการคลังสหรัฐ รัฐบาลก็ค่อนข้างจะขุ่นเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประมูลทรัพย์สินของ ปรส. ที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างยิ่ง แต่ไปสร้างความร่ำรวยให้กับธนาคารวาณิชย์ธนกิจบนถนนกำแพงเป็นอย่างมาก เพราะไปเชื่อฟังสมมุติฐานที่ไม่เป็นความจริงของเขามากเกินไป
ความจริงอยากจะลืมความขมขื่นเหล่านี้ไปแล้ว แต่เมื่อมาอ่านที่คุณทนง ขันทอง เอามาย่อลงในหนังสือพิมพ์ "เดอะเนชั่น" ความรู้สึกขมขื่นก็ฟุ้งขึ้นมาอีก อย่างช่วยไม่ได้
บทเรียนอันนี้เราคนไทยน่าจะจดจำตลอดไป
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?show=1&selectid=02edi02120747§ionid=0212&select_date=2004/07/12
-----------------------------------------------------------------
อ่านรายงาน ศปร. ฉบับเต็มได้ที่นี่
<<< รายงาน ศปร. ( สารบัญ และ คำนำ ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( สารบัญตารางและภาพ ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( สรุปความเห็น และ บทที่ 1 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( บทที่ 2 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( บทที่ 3-4 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( บทที่ 5-7 ) >>>
<<< รายงาน ศปร. ( ภาคผนวก ) >>>
โดย มาหาอะไร
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #1 เปิดเสรีการเงินไม่กี่ปี เป็นหนี้ต่างประเทศเพิ่มเท่าตัว >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #2 ความเชื่อมั่นที่ตกต่ำ ตอกย้ำการโจมตีค่าเงิน >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #3 สู้จนเจ๊ง >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #4 เด็กดี หนูลองยา IMF >>>
<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #5 จากประเทศลูกหนี้ พลิกกลับมาเป็นประเทศเจ้าหนี้ (จบ) >>>
FfF