บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


02 เมษายน 2553

<<< เศรษฐกิจรัฐบาลอภิสิทธิ์ ดีกว่า เศรษฐกิจรัฐบาลทักษิณ จริงหรือ? >>>

การเงิน - การลงทุน
วันที่ 2 เมษายน 2553 01:09
'กรณ์'ยันศก.รัฐบาล'อภิสิทธิ์'ดีกว่า'ทักษิณ'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"กรณ์"แถลงเปิด ตัวเลขเศรษฐกิจเทียบการบริหารระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์กับรัฐบาลทักษิณ ยืนยันดีกว่าทุกด้าน สะท้อนการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงเปรียบเทียบผลการบริหารเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกับอดีตรัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยระบุว่า เมื่อดูดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญในด้านต่างๆพบว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์สามารถบริหารเศรษฐกิจได้ดีกว่าทุกด้าน ทั้งดัชนีตลาดหลักทรัพย์ รายได้เกษตร จีดีพีโดยรวม ระดับหนี้สาธารณะ รวมถึง การให้ความสำคัญกับงบประมาณที่ใช้เพื่อการศึกษาและระบบสาธารณสุข

ทั้งนี้ ในแง่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยนั้น รัฐบาลอภิสิทธิ์สามารถบริหารเศรษฐกิจให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น มากกว่ารัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และ รัฐบาลสมชาย พูลสวัสดิ์ รวมถึง เพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อเทียบกับดัชนีเอ็มเอสซีไอ กล่าวคือ ช่วงรัฐบาลสมัครดัชนีหุ้นไทยลดลง 24% ดัชนีเอ็มเอสซีไอลดลง 17% รัฐบาลสมชายลดลง 25% ดัชนีเอ็มเอสซีไอลง 14% รัฐบาลอภิสิทธิ์เพิ่ม 77% ดัชนีเอ็มเอสซีไอเพิ่มขึ้น 30%

"และเมื่อเทียบว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ กับ รัฐบาลทักษิณใครเก่งกว่ากัน ก็มาดูว่า ในรอบ 469 วันแรกของการบริหารของทั้งสองคน ปรากฏว่า รัฐบาลทักษิณทำให้ดัชนีหุ้นเพิ่มขึ้น 1.29 เท่า ส่วนรัฐบาลอภิสิทธิ์ทำให้ดัชนีหุ้นขึ้น 1.77 เท่า"

ด้านรายได้เกษตรกรนั้น พบว่า ตั้งแต่รัฐบาลทักษิณเข้ามาบริหารงาน รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบัน แต่หากเทียบ 5 ปีของการบริหารของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ พบว่า รายได้เกษตรเพิ่มขึ้น 33% ส่วน 1 ปีของรัฐบาลอภิสิทธิ์เพิ่มขึ้นถึง 18% สะท้อนว่า อัตราการเพิ่มขึ้นในระยะสั้นนั้นสูงกว่า

ด้านอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโดยรวมนั้น หากวัดจากจุดต่ำสุดของเศรษฐกิจเทียบกับทุกประเทศทั่วโลกพบว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์สามารถบริหารเศรษฐกิจให้เติบโตได้ถึง 10.2% หรืออันดับ 4 ของโลก รองจาก จีน ไต้หวัน และมาเลเซีย ส่วนระดับหนี้สาธารณะของไทยนั้น ก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงที่รัฐบาลทักษิณบริหาร

รมว.คลัง กล่าวอีกว่า เมื่อพิจารณาถึงการให้ความสำคัญกับประชาชนในด้านระบบการศึกษาและสาธารณสุข ก็พบว่า รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกว่ามาก กล่าวคือ รัฐบาลทักษิณ ใช้งบประมาณ 5 ปีเฉลี่ย 2.3 แสนล้านบาท ส่วนรัฐบาลนี้ใช้งบประมาณ 4.3 แสนล้านบาท ด้านงบประมาณเพื่อระบบสาธารณสุขนั้น รัฐบาลทักษิณ ใช้งบ 5 ปีจำนวน 8 หมื่นล้านบาท ส่วนรัฐบาลนี้ใช้เม็ดเงินถึง 2 แสนล้านบาท

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20100402/108241/กรณ์ยันศก.รัฐบาลอภิสิทธิ์ดีกว่าทักษิณ.html

------------------------------------------------------------------

Thailand
Economy - overview:

With a well-developed infrastructure, a free-enterprise economy, generally pro-investment policies, and strong export industries, Thailand enjoyed solid growth from 2000 to 2008 - averaging more than 4% per year - as it recovered from the Asian financial crisis of 1997-98. Thai exports - mostly machinery and electronic components, agricultural commodities, and jewelry - continue to drive the economy, accounting for as much as three-quarters of GDP. The global financial crisis of 2008-09 severely cut Thailand's exports, with most sectors experiencing double-digit drops. In 2009, the economy contracted about 2.8%. The Thai government is focusing on financing domestic infrastructure projects and stimulus programs to revive the economy, as external trade is still recovering and persistent internal political tension and investment disputes threaten to damage the investment climate.

GDP (purchasing power parity):
$539.7 billion (2009 est.)
country comparison to the world: 25
$555.3 billion (2008 est.)
$541.2 billion (2007 est.)
note: data are in 2009 US dollars

GDP (official exchange rate):
$266.4 billion (2009 est.)

GDP - real growth rate:
-2.8% (2009 est.)
country comparison to the world: 160
2.6% (2008 est.)
4.9% (2007 est.)

GDP - per capita (PPP):
$8,100 (2009 est.)
country comparison to the world: 120
$8,500 (2008 est.)
$8,300 (2007 est.)
note: data are in 2009 US dollars

Labor force:
38.24 million (2009 est.)
country comparison to the world: 15

Unemployment rate:
1.6% (2009 est.)
country comparison to the world: 8
1.4% (2008 est.)

Investment (gross fixed):
21% of GDP (2009 est.)
country comparison to the world: 78

Public debt:
45.9% of GDP (2009 est.)
country comparison to the world: 57
37.9% of GDP (2008 est.)

Inflation rate (consumer prices):
-0.9% (2009)
country comparison to the world: 8
5.5% (2008 est.)

Stock of money:
$35.35 billion (31 December 2009)
country comparison to the world: 27
$28.76 billion (31 December 2008)

Stock of quasi money:
$283.6 billion (31 December 2009)
country comparison to the world: 14
$237.5 billion (31 December 2008)

Stock of domestic credit:
$301 billion (31 December 2009)
country comparison to the world: 26
$274.1 billion (31 December 2008)

Market value of publicly traded shares:
$176.7 billion (31 December 2009)
country comparison to the world: 43
$101.8 billion (31 December 2008)
$196 billion (31 December 2007)

Industrial production growth rate:
-8.7% (2009 est.)
country comparison to the world: 134
Current account balance:
$20.29 billion (2009 est.)
country comparison to the world: 16
-$113 million (2008 est.)

Exports:
$150.9 billion (2009 est.)
country comparison to the world: 26
$175.3 billion (2008 est.)

Imports:
$131.5 billion (2009 est.)
country comparison to the world: 27
$157.3 billion (2008 est.)

Reserves of foreign exchange and gold:
$138.4 billion (31 December 2009 est.)
country comparison to the world: 10
$111 billion (31 December 2008 est.)

Debt - external:
$66.3 billion (31 December 2009 est.)
country comparison to the world: 41
$65.09 billion (31 December 2008)

Stock of direct foreign investment - at home:
$93.84 billion (31 December 2009 est.)
country comparison to the world: 36
$88.52 billion (31 December 2008)

Stock of direct foreign investment - abroad:
$10.52 billion (31 December 2009 est.)
country comparison to the world: 45
$7.013 billion (31 December 2007 est.)

Exchange rates:
baht per US dollar - 34.318 (2009), 33.37 (2008), 34.52 (2007), 37.882 (2006), 40.22 (2005)

https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/th.html

-------------------------------------------------------------

ความหมายของ MSCI


MSCI ย่อมาจาก Morgan Stanley Capital International ซึ่งที่เรารู้จักกันคือตัวดัชนีที่ MSCI สร้างขึ้นมาเพื่อให้นักลงทุนต่างประเทศได้ใช้เป็นบรรทัดฐานในการวัดผลตอบแทน ของกองทุนต่าง ๆ ที่ตนเองประสงค์จะเข้าไปลงทุน ซึ่งดัชนีของ MSCI มีหลายชุด เช่น ดัชนีของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Markets : DM) กลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets : EM) หรือทุกประเทศรวมกัน (All Countries)

ดัชนี MSCI ที่ตลาดทุนไทยมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยมากที่สุดคือ ดัชนี MSCI AC Far East Free ex Japan ซึ่งเป็นดัชนีรวมของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกไกล แต่ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่อยู่ในดัชนีนี้มี 9 ประเทศได้แก่ เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ จีน มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งน้ำหนักของแต่ละประเทศที่ถูกคำนวณรวมอยู่ในดัชนีนี้ ก็จะแตกต่างกันไปตามสูตรคำนวณที่ MSCI คิดค้น โดยน้ำหนักการลงทุนในแต่ละประเทศปกติจะขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบมูลค่ารวม ของหลักทรัพย์ในแต่ละตลาดเป็นหลัก (ตลาดใหญ่จะมีน้ำหนักมากในดัชนี) และขึ้นกับหลักทรัพย์แต่ละตัวที่ MSCI เลือกมาใช้ในการคำนวณมูลค่าตลาดของแต่ละประเทศซึ่ง MSCI จะทำการปรับเปลี่ยนเป็นระยะๆ โดยทั่วไปจะไม่นำมูลค่าของหลักทรัพย์ทุกตัวในตลาดทั้งหมดมาใช้ แต่จะคัดเลือกหลักทรัพย์ตัวหลักๆประมาณ 85% ของมูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ทั้งหมดในประเทศเท่านั้น และจะคำนวณมูลค่าตลาดจากเฉพาะหลักทรัพย์ในส่วนที่นักลงทุนต่างประเทศจะเข้า มาทำการซื้อขายได้ (เลือกเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง มีสภาพคล่อง และยังนับเฉพาะส่วนที่ไม่มีข้อจำกัดการถือครองของนักลงทุนต่างประเทศด้วย)

https://www.thanachartfund.com/webboard/question.asp?QID=1569

--------------------------------------------------------------

ผมดูจากวิธีการนำเสนอตัวเลขเพื่ออวดอ้างว่า
เศรษฐกิจ รัฐบาลอภิสิทธิ์ ดีกว่า รัฐบาลทักษิณ
ผมว่า
นายกรณ์ จาติกวณิช
ช่างสมกับเป็น รมว.การคลัง ที่มาจากสายตลาดหุ้นจริงๆ
คือเน้นเอาตัวเลขการลงทุนในตลาดหุ้น ว่าเพิ่มขึ้น
หรือดัชนี MSCI มาอวดว่าเศรษฐกิจดีขึ้น
มันเกี่ยวอะไรกับคนที่เขาไม่ได้เล่นหุ้น
ถ้ามันจะดีก็ดีเฉพาะพวกเล่นหุ้นบางคน
ที่เล่นแล้วรวยขึ้น แต่บางคนอาจจนลง
ต่อให้เศรษฐกิจตลาดหุ้นดีอย่างที่ รมว.คลัง ไทยว่ามา
เพราะมันขึ้นอยู่กับฝีมือการเล่นหุ้นด้วย
ไม่ใช่ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น
แล้วจะรวยทุกคนมันต้องมีพวกที่จนลงด้วย
ไม่มีรวยทุกคน จนทุกคน
อยู่ที่เทคนิคการเล่นหุ้น ดวงแต่ละคน
หรือ เทคนิคการปั่นหุ้นด้วยรูปแบบต่างๆ ด้วย
เช่นการไปช้อนซื้อหุ้นไว้แล้ว คนของรัฐออกมาให้ข่าวทางบวก
พอหุ้นขึ้นก็เทขายได้กำไรส่วนพวกไปรับก็เป็นพวกแมงเม่า
จะเห็นได้ว่าเรื่องหุ้นนั้นแม้แต่พวกเล่นหุ้นด้วยกัน
ก็ใช่ว่าจะเล่นได้กำไรกันทุกคน

ดังนั้น การนำตัวเลขเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์มากล่าวอ้าง
ว่าหุ้นขึ้นเพราะเศรษฐกิจดีขึ้นคงไม่ได้
เพราะว่าเศรษฐกิจทั่วโลกไม่ดีโดยเฉพาะที่อเมริกาและยุโรป
กองทุนต่างชาติก็ขนเงินมาเล่นแถวเอเชียแทน
มันก็ดันให้ทุกตลาดโตขึ้น
และทำให้ทุนสำรองเพิ่มมากขึ้นด้วย
ทั้งๆ ที่ 2-3 ปีมานี้
ใช่ว่าประเทศไทยจะค้าขายกับต่างชาติ
ได้ดุลการค้าอะไรมากมาย
แถมยอกส่งออกปีที่แล้ว (2009)
ยังน้อยกว่าปี 2008 เสียอีก

Exports:
$150.9 billion (2009 est.)
country comparison to the world: 26
$175.3 billion (2008 est.)
และสถานการณ์การเมืองยังร้อนระอุอยู่ตลอดเวลา

Reserves of foreign exchange and gold:

$138.4 billion (31 December 2009 est.)
country comparison to the world: 10
$111 billion (31 December 2008 est.)

เงินทุนสำรองที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่
ก็คือเงินทุนของกองทุนต่างชาติ
ที่ขนเข้ามาเล่นหุ้น

Stock of direct foreign investment - at home:
$93.84 billion (31 December 2009 est.)
country comparison to the world: 36
$88.52 billion (31 December 2008)

Stock of direct foreign investment - abroad:
$10.52 billion (31 December 2009 est.)
country comparison to the world: 45
$7.013 billion (31 December 2007 est.)
อย่าได้ดีใจไปว่าใครเก่ง
และวันไหนเกิดพวกนี้ย้ายฐานกลับไปเล่นที่อื่น
ทั้งตลาดหุ้นและเงินทุนสำรองก็จะลดลงทันที
พวกนี้เข้ามาเก็งกำไรทั้งนั้นแหล่ะ
ประเภทเข้ามาช้อนซื้อหุ้นถูกๆ ไว้
เสร็จแล้วก็ออกเข้า วิเคราะห์ข่าวยกยอว่า
ประเทศนี้ดียังงั้นดียังงี้ หรือเพิ่มน้ำหนักการลงทุน
พอหุ้นขึ้นได้กำไรก็เทขาย
พออยากจะซื้อใหม่ก็ทุบตลาดด้วยการออกข่าวไม่ดี
เรื่องปกติในวงการตลาดหุ้น
เป็นเทคนิคการปั่นหุ้นแบบเนียนที่สุดของพวกกองทุนต่างชาติ

คราวนี้ลองมาดูหนี้สาธารณะ
ที่ไปกู้มา 2 ปี ก็จะประมาณ 8 แสนล้านบาท
ถ้ารวมปีหน้าก็จะบวกเพิ่มกลายเป็น1.2-1.3 ล้านล้านบาท

Public debt:

45.9% of GDP (2009 est.)
country comparison to the world: 57
37.9% of GDP (2008 est.)

ปีที่แล้วไปก่อหนี้มหาศาล
ไปแจกไปหว่านไปถลุงมีข่าวโกงกินหัวคิวกันมากมาย
แล้วมาคุยว่านำเงินไปให้กระทรวงนั้นกระทรวงนี้เพิ่มขึ้น
มันก็เหมือนคุณมีเงินเดือนเพิ่มขึ้นทุกปี
จะมาคุยได้ไหมว่านำไปจ่ายค่านั่นนี่ทุกปี
เพราะใส่ใจมากขึ้นไม่ใช่เพราะค่าใช้จ่ายมันแพงขึ้น
เพราะทุกกระทรวงก็ต้องจ่ายเงินเดือนข้าราชการเพิ่มขึ้น
รวมไปถึงการทำงบเพื่อหักหัวคิวเตรียมตัวไปเลือกตั้งกันอีก

<<< สรุปผลงาน 1 ปี ระบอบอภิสิทธิ์ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/12/blog-post_15.html


แล้วที่ชอบยกเรื่องอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาอ้าง
ลองดูตัวเลขต่างๆ ปีที่แล้วผลงานรัฐบาลอภิสิทธิ์ ล้วนๆ
ผลงานกรณ์ มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะผู้รับผิดชอบด้วย
มูลค่าน้อยกว่าหลายปีที่ผ่านมาไหม

GDP (purchasing power parity):
$539.7 billion (2009 est.)
country comparison to the world: 25
$555.3 billion (2008 est.)
$541.2 billion (2007 est.)
note: data are in 2009 US dollars

GDP - per capita (PPP):
$8,100 (2009 est.)
country comparison to the world: 120
$8,500 (2008 est.)
$8,300 (2007 est.)
note: data are in 2009 US dollars

ถ้าเทียบเป็นอัตรา ติดลบ 2.8%
เทียบกับทั้งโลกอยู่อันดับที่ 160
แสดงว่ามีประเทศที่ดีกว่าไม่กี่สิบประเทศเอง
ฝีมือล้วนๆ

GDP - real growth rate:
-2.8% (2009 est.)
country comparison to the world: 160
2.6% (2008 est.)
4.9% (2007 est.)

ดังนั้นอย่าพึ่งนำไปเปรียบเทียบกับสมัยทักษิณเลย
เพราะชาวบ้านชาวช่องเขารู้สึกได้ด้วยตนเอง
โดยไม่ต้องมีตัวเลขอะไรมาอ้างด้วยซ้ำ
ว่าเศรษฐกิจใครดีกว่ากัน
เทียบกับ 2 รัฐบาลก่อน
ที่โดนพันธมิตรป่วนจนไม่ต้องทำอะไรก็พอ
ป่วนหนักกว่าที่พวกเสื้อแดงทำอีก
เพราะมีปิดทั้งสนามบินหลายแห่ง
ปิดนั่นนี่มากกว่า นานกว่า
และรัฐบาลสมชาย
ก็ไม่สามารถเข้าไปทำงานในทำเนียบได้แม้แต่วันเดียว
เมื่อเทียบกับมาร์คที่ยังมีโอกาสมากกว่าอีก
สรุปว่าเมื่อมั่นใจ ว่าทำให้เศรษฐกิจได้ดีกว่าสมัยรัฐบาลทักษิณ
ก็ควรรีบยุบสภาไปเลือกตั้งใหม่ทันทีเลย
เพราะว่าได้เปรียบที่จะชนะกลับมาแน่ๆ
เพราะถ้าบริหารเศรษฐกิจได้ดีประชาชนมีฐานะมากขึ้น
ก็ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะไม่เลือก
นอกจากว่า บริหารแบบรวยกระจุกตัวอยู่ในหมู่พรรคพวกพ้อง
ที่ได้มีโอกาสคว้าเค้กงบประมาณไปแบ่งกันเท่านั้น

ล่าสุดวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ อยู่ที่เรื่องด้านล่างนี้

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ข้อมูลเศรษฐกิจยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/08/blog-post_09.html

<<< แนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบ Gumagin >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/03/blog-post_1140.html

<<< ต้นตอหนึ่งที่ทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ในช่วง 2 ปีกว่าของการบริหารประเทศของอภิสิทธิ์ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/08/blog-post_6221.html

โดย มาหาอะไร
FfF