จุฬาฯควัก2พันล.ผุดโปรเจ็กต์ รีโมเดลสยามสแควร์รอบใหม่
จุฬาฯ เซ็ง พ.ร.บ.ร่วมทุนไม่คืบ ปรับแผนลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ทั้งหมด เล็งใช้วิธีลงทุนเอง 100% แทนการร่วมทุนกับเอกชน หลังเจอปัญหาขออนุมัติ พ.ร.บ.ร่วมทุนโครงการจามจุรีสแควร์ 2 ค้างเติ่ง 4 รัฐบาล ล่าสุดปูพรมแผนพัฒนาที่ดิน "สวนหลวง-สามย่าน" เตรียมรื้อที่ดินหมอน 41-42 ขึ้นตึกสูง ควบรื้อ "โรงหนังสยาม" ขึ้นตึกโลว์ไรส์ตามแผนรีโมเดลสยามสแควร์ เผยงานนี้ใช้เงินลงทุนเองกว่า 2 พันล้านบาท
รศ.น.อ.น.พ.เพิ่ม ยศ โกศลพันธุ์ รองอธิการบดีกำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯได้เสนอรัฐบาลเพื่อขออนุมัติ พ.ร.บ.ร่วมทุน (พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535) เพื่อลงทุนพัฒนา โครงการจามจุรีสแควร์ 2 มูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท บนที่ดินแปลงบริเวณหัวมุมแยกสามย่าน และโครงการพัฒนาอาคารสูงบริเวณบล็อกแอล (บล็อก L) ภายในสยามสแควร์ ซึ่งจุฬาฯต้องการให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนด้วยเนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ ต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ปรากฏว่าถึงปัจจุบันเรื่องดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้าและค่อนข้างเป็น อุปสรรคต่อการวางแผนพัฒนาโครงการต่าง ๆ ล่าสุดจุฬาฯจึงมีแนวคิดว่า นับจากนี้การพัฒนาโครงการ ต่าง ๆ ควรจะต้องปรับเปลี่ยนมาใช้วิธีให้จุฬาฯเป็นผู้ลงทุนเอง 100% แทนการร่วมทุนกับเอกชน เพื่อจะไม่ต้องเข้าข่ายขออนุมัติ พ.ร.บ.ร่วมทุน
สำหรับการพัฒนาโครงการจามจุรีสแควร์ 2 ล่าสุดจุฬาฯอยู่ระหว่างการศึกษาผลดีผลเสียในการระดมทุน 2 แนวทาง คือ 1)การออกบอนด์ (พันธบัตร) เพื่อระดมทุนจากภายนอก และ 2)การออกบอนด์ภายในเพื่อระดมทุนจากหน่วยงานภายใน อาทิ คณะการศึกษาต่าง ๆ ของจุฬาฯ ซึ่งจะต้องได้ข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้เพื่อสามารถกำหนดแผนเริ่มพัฒนาโครงการในช่วงปลายปีนี้
"โครงการจามจุรีสแควร์ 2 เราทำงานควบคู่กัน โดยมีการเข้ารื้อถอนอาคารพาณิชย์จำนวนกว่า 200 คูหา และเกลี่ยหน้าดินใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะส่งมอบเป็นไซต์งานก่อสร้าง ได้ทันที ปัจจุบันงานรื้อถอนมีความคืบหน้าอย่างน่าพอใจ เหลืออีกเพียง 10% ที่ผู้เช่าอาคารยังอยู่ในพื้นที่ และแจ้งว่าจะย้ายออกเร็ว ๆ นี้"
ส่วน โครงการพัฒนาอาคารสูงบริเวณบล็อกแอล (ติดถนนอังรีดูนังต์) ภายในโครงการสยามสแควร์ ก็คงต้องปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนใหม่ โดยก่อนหน้านี้ จุฬาฯได้ลงทุนก่อสร้างอาคารจอดรถจำนวน 800 คัน เพื่อเพิ่มพื้นที่จอดรถภายในสยามสแควร์ พร้อมทั้งได้ออกแบบฐานรากเพื่อรองรับการก่อสร้างตึกสูงไว้เรียบร้อยแล้ว โดยแผนการพัฒนาเดิม จุฬาฯตั้งใจจะเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมทุนพัฒนาอาคารส่วนต่อขยายเพื่อ เปิดเป็นโรงแรมระดับ 3 ดาวครึ่ง แต่เนื่องจากเข้าข่ายต้องขออนุมัติ พ.ร.บ. ร่วมทุนเพราะต้องใช้เงินลงทุนก่อสร้างกว่า 1,000 ล้านบาท ปัจจุบันจึงมีแนวคิดจะปรับเปลี่ยนมาใช้วิธีลงทุนเอง
รองอธิการบดี กำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ กล่าวต่อว่า ประเด็นความคืบหน้าแผนพัฒนาที่ดินจุฬาฯ ในภาพรวมจะมี 3 จุดหลัก ๆ คือย่านสวนหลวง สามย่าน และสยามสแควร์ โดยจะทยอยรื้อถอนอาคารที่หมดสัญญาเพื่อก่อสร้างใหม่ โดยบริเวณหัวมุมสามย่านมีความคืบหน้าเป็นลำดับ
ส่วนที่ดินสวนหลวง หรือบริเวณหมอน 41-42 (ใกล้ธรรมสถาน) ตามแผนประมาณปลายปีนี้จะเริ่มลงมือรื้อถอนอาคารพาณิชย์จำนวนกว่า 280 คูหา เพื่อก่อสร้างเป็นที่พักอาศัยจำนวน 2 อาคาร อาคารฟู้ดเซ็นเตอร์ และพื้นที่เช่าศูนย์ธุรกิจเอสเอ็มอี สภาพปัจจุบันผู้เช่ากว่า 90% ได้ย้ายออกจากพื้นที่แล้ว คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนกว่า 1,400 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี นับจากปลายปี 2553-2554 หรืออย่างช้าไม่เกินปี 2555
ส่วนโครงการสยามสแควร์ที่จุฬาฯอยู่ระหว่างการทยอยปรับเปลี่ยน การใช้ประโยชน์พื้นที่ หรือแผนรีโมเดลใหม่ จะมีการทยอยรื้อถอนอาคารพาณิชย์ที่หมดสัญญาเช่าซึ่งส่วนใหญ่มีอายุเก่าแก่ กว่า 40 ปี เพื่อก่อสร้างใหม่เป็นอาคารแบบโลว์ไรส์ความสูง 4-6 ชั้น คอนเซ็ปต์ดีไซน์จะมีการเจาะพื้นที่ทุกชั้นให้สามารถเดินเชื่อมต่อได้ถึงกัน ทุกอาคาร แต่ยังคงคอนเซ็ปต์เป็น "โอเพ่นมอลล์" ไว้เหมือนเดิม
ทั้งนี้แผนรีโมเดลสยามสแควร์ ภายในครึ่งปีหลังนี้ พื้นที่แรกที่จะเริ่มดำเนินการก่อนคือบริเวณบล็อก E และบล็อก D บางส่วน หรือบริเวณสยามสแควร์ซอย 4 โดยจะมีการรื้อถอนโรงภาพยนตร์สยามและอาคารพาณิชย์รวมประมาณกว่า 100 คูหา เบื้องต้นยังไม่ได้สรุปตัวเลขงบฯลงทุน แต่คาดว่าจะต้องใช้เม็ดเงินเกือบ 1,000 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี นับจากปี 2554-2555 โดยหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จจะเปิดให้ผู้เช่าเดิมและผู้ที่สนใจเข้ามาเช่า พื้นที่
คอนเซ็ปต์รีโมเดลบล็อก E จะเน้นเปิดเป็นร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าแฟชั่นเป็นหลัก ในเบื้องต้นโรงภาพยนตร์สยามจะหายไป อย่างไรก็ตามถ้ามีเอกชนสนใจเช่าพื้นที่บางส่วนตกแต่งเป็นโรงภาพยนตร์ก็มี ความเป็นไปได้ แต่รูปแบบจะต้องให้สอดคล้องกับการรีโมเดลสยามสแควร์ โดยเน้นภาพลักษณ์ทันสมัย เจาะกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ อาจจะมี 15 โรง เป็นต้น นอกจากนี้จะจัดพื้นที่สยามสแควร์ซอย 4 ใหม่เพื่อพัฒนาเป็นวอล์กกิ้งสตรีตหรือถนนคนเดิน
หน้า 1
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02p0103100553§ionid=0201&day=2010-05-10
---------------------------------------------------------
แดงเผาสยามร้านค้าวอดเจ็บนับ 10 ราย
วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 20:40 น.
เจ้าหน้าที่ระดมกำลังเข้าดับเพลิง ร้านค้าย่านสยามสแควร์ โดยมีผู้บาดเจ็บนับ 10 ราย ซึ่งได้ถูกลำเลียงไปรักษาที่ ร.พ. แล้ว
เจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ระดมกำลังเข้าระงับเพลิงไหม้ บริเวณร้านค้าย่าน สยามสแควร์ ที่กระจายเป็นวงกว้าง ตั้งแต่บริเวณแยกเฉลิมเผ่า จนถึง บริเวณโรงหนังสยาม หลังจากที่ กลุ่มผู้ชุมนุม ได้มีการทุบกระจกร้าน ค้า ราดน้ำมันและจุดไฟเผา ก่อนที่จะถอยออกไป พร้อมกันนี้ ยังได้เกิดเหตุระเบิดอย่างต่อเนื่องหลายจุดทั่วบริเวณ ซึ่งเบื้องต้น มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิด นับ 10 ราย ซึ่งหน่วยแพทย์จากสภากาชาดไทยได้มีการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น และลำเลียงผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลแล้ว ขณะที่ บริเวณถนนพระราม 1 ยังคงมีการยิงปะทะกันอย่างต่อเนื่อง
เนื้อหาโดย : INN News
http://news.giggog.com/315257
---------------------------------------------------------
รายงานพิเศษ : ภัยซ้ำเติม..ร้านค้าสยาม
21-05-2553 | 19:40
หลังถูกกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงจุดไฟเผา เปลวเพลิงปะทุไหม้ร้านค้าย่านสยามสแควร์ ซอย 4 และ 5 ส่งผลให้ตัวอาคารถูกเผาทำลาย ทรัพย์สินที่สู้ลงทุนลงแรง ถูกแปรสภาพเป็นเถ้าถ่าน
สถาบันกวดวิชา 3 คูหา อยู่บนชั้น 2 ของโรงหนังสยามกลายเป็นกองเศษเหล็ก สูญเงินค่าเซ้ง 3 ล้านบาท และยังต้องจ่ายค่าเช่ารายเดือน ทั้งหนังสือ อุปกรณ์การเรียนทันสมัย ถูกเผาวอด กระทบเด็กนักเรียนนับพันคนไร้ที่กวดวิชา
ร้านขายแว่นตาร้านนี้ เปิดได้ไม่ถึงปี ลงทุนไปกว่า 1 ล้านบาท ซื้อแว่นตากว่า 10 ยี่ห้อดังกักตุนไว้ในสต็อก กะโกยเงินขายแว่นกันแดดในช่วงเดือนเมษากลายเป็นต้องมาอยู่ท่ามกลางม๊อบ ไม่นึก ร้านจากน้ำพักน้ำแรงถูกเผาวอดไปกับเปลวเพลิง
ส่วนร้านเสริมสวยร้านนี้ รอดจากเปลวเพลิง แต่ทรัพย์สินภายในร้านถูกยกเค้า กวาดเรียบ ทั้งโทรทัศน์จอแบน เครื่องเสียง เงินสด
ขณะที่ร้านขายรองเท้าและเสื้อผ้าแฟชั่น ต้องเผชิญชะตากรรมไม่ต่างกัน สินค้าบางส่วนถูกไฟไหม้ ต้องโล๊ะทิ้ง ส่วนที่ยังเหลือซาก มีเขม่าควันไฟจับต้องเก็บไปทำความสะอาด เลหลังขาย หลายคนบอกจะยิ้มสู้ทั้งที่น้ำตาคลอ
เกิดคำถาม เมื่อมุ่งมั่นทำกินด้วยอาชีพสุจริต ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้ใคร แต่ทำไมวันนี้ถูกทำลายชีวิต รับเคราะห์จากเหตุชุมนุม เผาเมือง
http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=376&d=85053
---------------------------------------------------------
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4213 ประชาชาติธุรกิจ
จุฬาฯรีคัฟเวอร์ "สยามสแควร์" กทม.ตีบทแตกแจก 160 ล้าน ฟื้นฟูเมือง
สยามสแควร์ ศูนย์การค้าโอเพ่นมอลล์ใจกลางกรุง นับเป็นอีกแหล่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์จลาจลทางการเมืองที่เพิ่งจะ ยุติลง ทาง "สำนักงานจัดการทรัพย์สิน" จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ประเมินความเสียหาย เบื้องต้น คาดว่าผลลัพธ์จากเหตุลอบวางเพลิงในสยามสแควร์น่าจะมีมูลค่าความเสียหาย ไม่ต่ำกว่า 200-300 ล้านบาท แยกเป็น โรงหนังสยาม มูลค่าประมาณ 100-200 ล้านบาท อาคารพาณิชย์ 68 คูหาอีกประมาณ 60-70 ล้านบาท ยังไม่นับรวม สต๊อกสินค้าต่าง ๆ ภายในร้านอีกต่างหาก
หลังเกิดเหตุ "รศ.น.อ.น.พ.เพิ่มยศ โกศลพันธุ์" รองอธิการบดีกำกับดูแล สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ ได้วางมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้เช่า โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เปิดรับลงทะเบียน ปรากฏว่า มีผู้เช่ากว่า 400 รายยื่นความจำนงขอความช่วยเหลือ จำแนกตามบัญชี มีทั้งผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านขายเสื้อผ้า สินค้าแฟชั่น ร้านอาหาร โรงเรียนกวดวิชา โดยเฉลี่ยอาคารพาณิชย์แต่ละคูหาจะมีผู้เช่าประมาณ 6-8 ราย
จุฬาฯปิดสยามสแควร์ทำถนนคนเดิน
"แนวทางการให้ความช่วยเหลือ จุฬาฯกำลังเร่งจัดหาพื้นที่สำหรับขายสินค้าชั่วคราวให้กับผู้เช่าพื้นที่ภาย ในโรงหนังสยามและอาคารพาณิชย์โดยรอบที่ถูกไฟไหม้ เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่าจะใช้พื้นที่บริเวณลานจอดรถและพื้นที่สยาม สแควร์ ซอยต่าง ๆ เป็นจุดขายสินค้าชั่วคราวไปก่อน"
โดยจุฬาฯได้แบ่งผู้เช่าที่ได้รับความเดือดร้อนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ผู้เช่าที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุเพลิงไหม้โรงหนังสยามและอาคารพาณิชย์ ใกล้เคียง กลุ่มที่สองคือผู้เช่าที่ได้รับความเดือดร้อนตั้งแต่มีการชุมนุมบริเวณราช ประสงค์
สำหรับการจัดหาพื้นที่ขายสินค้าชั่วคราว ทางจุฬาฯกำลังพิจารณาใช้พื้นที่ 3 จุด ได้แก่ 1) พื้นที่ลานจอดรถบริเวณหน้าอาคารต่าง ๆ คือ อาคาร Hardrock อาคารจุฑารส และอาคารสีฟ้า 2) พื้นที่สยามสแควร์ซอย 1-3 เพื่อเปิดเป็นถนน คนเดิน และ 3) พื้นที่จอดรถชั้น 5 ของ อาคารสยามกิติ์ ติดถนนอังรีดูนังต์ (บล็อก L) รวม 11,724 ตารางเมตร โดยรูปแบบจะมีการตั้งเต็นท์ให้ขายสินค้าเป็นการชั่วคราว ตามแผนจะเริ่มกางเต็นท์และค้าขายได้ในวันที่ 26 พฤษภาคมเป็นต้นไป
งานนี้เบ็ดเสร็จ จุฬาฯได้เสนอขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลจำนวน 85 ล้านบาท เป็นงบฯลงทุนเพื่อบรรเทาความ เดือดร้อนให้กับผู้เช่ากว่า 400 รายดังกล่าว รวมถึงจะเป็นงบฯที่นำมาใช้ในการปรับปรุงอาคารพาณิชย์บางส่วนที่หมดสัญญา สำหรับเป็นพื้นที่ขายสินค้าต่อไปในอนาคต
กทม.เท 160 ล้านฟื้นฟูกายภาพเมือง
ด้านกรุงเทพมหานคร (กทม.) หลัง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. จัดมหกรรมทำความสะอาดแยกราชประสงค์และบริเวณใกล้เคียงครั้งใหญ่เมื่อ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในที่ประชุมคณะผู้บริหาร กทม.มีการอนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเป็นซีรีส์ต่อเนื่องทันที
"ธีระชน มโนมัยพิบูลย์" รองผู้ว่าฯฝ่ายบริหาร เปิดเผยว่า กทม.เตรียมมาตรการเยียวยา 8 ด้าน ประกอบด้วย 1.ตรวจสอบความปลอดภัยอาคารที่เกิดเพลิงไหม้โดยเร็ว เพื่อให้เข้าใช้อาคารต่อไปได้ 2.จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการดูแล 3 ด้าน คือ กายภาพ สุขภาพและสังคม มีคณะทำงานแต่ละด้าน ทำหน้าที่รวบรวมรายละเอียด กำหนด แผนงาน แนวทาง และจัดสรรงบประมาณ
3.ตั้งกองทุน "รวมกันเราทำได้" เพื่อรับบริจาค 4.รับไม้ต่อรัฐบาลรับลงทะเบียน ผู้ได้รับความเดือดร้อน ระหว่างวันที่ 24-31 พฤษภาคม 2553 ใน 7 เขต มีเขตราชเทวี ดินแดง บางรัก ปทุมวัน คลองเตย วัฒนา และสาทร ระหว่างเวลา 08.00-17.00 น.
5.ด้านกายภาพที่เสียหายทั้งทางเท้า สะพานข้ามแยก 3 แห่ง (สามเหลี่ยมดินแดง-ไทยเบลเยียม-ไทยญี่ปุ่น) สวนสาธารณะ ศาลาที่พักผู้โดยสาร อยู่ระหว่างประเมินความเสียหายจะเสนอขอ งบประมาณจากสภา กทม.วันที่ 9 มิถุนายนนี้ 6.ด้านสุขภาพจะจัดกิจกรรมสุขภาพเคลื่อนที่สีลมวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ นำทีมแพทย์พบกับประชาชนชุมชนต่าง ๆ
7.วันที่ 26 พฤษภาคมนี้จะทำบุญใหญ่กรุงเทพฯ 8.ประสานธนาคารออมสิน จัดวงเงิน "ยิ้มสู้กู้สร้างอาชีพ" เพิ่มวงเงินกู้จากเดิมรายละ 1 แสนบาท เป็น 2 แสนบาท ส่วนระยะยาวจะมีมาตรการด้านภาษีต่าง ๆ เช่น ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยจะออกให้สอดคล้องกับมาตรการของรัฐบาล และขยายเวลาการผ่อนชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน จากเดิมก่อนหน้านี้กำหนดไว้ 24 งวดเป็น 60 งวด
"จุมพล สำเภาพล" ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. กล่าวว่า คาดว่าจะใช้ งบประมาณ 160 ล้านบาทเพื่อเร่งฟื้นฟู กทม. ด้านกายภาพให้กลับคืนมาโดยเร็วใน 1 เดือน ส่วนมาตรการที่ไม่ใช่ด้านกายภาพจะทยอยทำเป็นเฟสขยายผลต่อไป
หน้า 8
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02rea01270553
---------------------------------------------------------
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 09:50:18 น. มติชนออนไลน์
ผู้ค้าสยามสแควร์เผชิญหน้าชายฉกรรจ์ ลั่นไม่สนจุฬายึดพื้นที่คืน ปักหลักขายต่อ ข้องใจพื้นที่เป็นของใคร
ผู้ค้าสยามสแควร์เผชิญหน้าชายฉกรรจ์ไม่สนถูกยึดพื้นที่ลั่นปักหลักค้าขายต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มผู้ค้าแผงลอยรอบพื้นที่สยามสแควร์ เผชิญหน้ากับกลุ่มชายฉกรรจ์สวมเสื้อโปโลสีชมพู ยืนอยู่โดยรอบพื้นที่สยามสแควร์ โดยมีรายงานว่า กลุ่มชายฉกรรจ์พยายามผลักดันผู้ค้าออกจากพื้นที่ตั้งแต่กลางดึกที่ผ่านมา ทำให้เกิดเหตุชุลมุนก่อนที่ผู้ค้าจะเข้าร้องเรียนต่อ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอความเป็นธรรม
นายสวัสดิ์ ปฐมมงคลกุล ผู้จัดการศูนย์การค้าสยามสแควร์ กล่าวว่า จากการรังวัดที่ดินใหม่ช่วงปีที่ผ่านมาพบว่าพื้นที่ทางเท้ารวมไปถึงช่องทาง การจราจรซ้ายสุดบนถนนพระราม 1 เป็นพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งสิ้น
ทางมหาวิทยาลัยจึงได้มีนโยบายจัดระเบียบทางเท้าไว้เฉพาะเป็นทางสัญจรของ คนทั่วไปเท่านั้น และเมื่อคืนที่ผ่านมาได้ให้เจ้าหน้าที่ของจุฬาลงกรณ์เข้าตรึงพื้นที่เพื่อ ไม่ให้ผู้ค้าเข้าไปตั้งแผงค้า แต่ยืนยันว่าไม่มีการใช้ความรุนแรงกับผู้ค้า ยึดหลักมาตรการเบาไปหาหนัก ส่วนวันนี้จะผ่อนผันให้ผู้ค้าอาหารสดทำการค้าขายได้ตามปกติ เนื่องจากได้เตรียมวัตถุดิบมาประกอบอาหารแล้ว แต่วันพรุ่งนี้จะไม่อนุญาต และเปิดการเจรจากับผู้ค้าทั้งหมด เพื่อหาข้อตกลงให้ทุกฝ่ายได้รับความพอใจ
ด้านนายธิติพงศ์ อภิรักษ์พัฒนา ตัวแทนกลุ่มผู้ค้า กล่าวว่า ที่ผ่านมามี เจ้าหน้าที่เทศกิจเข้ามาดำเนินการจับปรับพวกตนเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งผู้ค้าก็ได้เสียค่าปรับและค้าขายตามปกติ ทำให้ไม่เข้าใจว่าหากพื้นที่ดังกล่าวเป็นของจุฬาลงกรณ์จะมีเทศกิจเข้ามาจับ ปรับได้อย่างไร และที่ผ่านมาพบว่าการปรับปรุงภูมิทัศน์บนทางเท้าและซ่อมบำรุงพื้นผิวการ จราจรก็เป็นการใช้งบประมาณจากกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น การกระทำของจุฬาลงกรณ์ เหมือนกับจะยึดพื้นที่เป็นของตัวเองส่งผลให้คนประกอบอาชีพสุจริตได้รับความ เดือดร้อน อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าจะดำเนินการค้าขายต่อไป เพราะจุดอื่น เช่น เยาวราช และสำเพ็งก็ยังมีการผ่อนปรนให้กับผู้ค้า
"จุฬาฯ"รุกยึดพื้นที่"สยามสแควร์"คืนตั้งรั้วเหล็กเชื่อมติดฟุตบาท-วางกำลังชายฉกรรจ์ตลอดแนว
เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 28 ตุลาคม ที่สยามแควร์ ผู้สื่อข่าวมติชน ออนไลน์ รายงานว่า มีกลุ่มชายฉกรรจ์ประมาณ 30 คนพร้อมเจ้าหน้าที่จัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งได้เข้ามาควบคุมพื้นที่และตั้งแผงรั้วเป็น แนวยาวตลอดทางเท้าบริเวณสยามสแควร์โดยเจาะเชื่อมเหล็กยึดติดฐานของแผงกั้น กับพื้นป้องกันการรื้อถอน และวางกำลังชายฉกรรจ์ตลอดแนวทางเท้าฝั่งสยามตั้งแต่หน้าโรงหนังสยามไปจนถึง สุดถนนสี่แยกปทุมวัน
ก่อนหน้านี้ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานเขตปทุมวัน และ สน.ปทุมวัน รวม 3 ฝ่าย ได้เลื่อนเวลาดีเดย์เริ่มมาตรการควบคุมแผงลอยรอบพื้นที่สยามสแควร์ โดยให้ผู้ค้าแผงลอยรอบพื้นที่สยามสแควร์ย้ายออกนอกพื้นที่และผ่อนผันให้ผู้ค้าเก็บสิ่งของและหาพื้นที่ขายใหม่ เมื่อครบกำหนดดีเดย์แล้วทางสำนักงานจัดการทรัพย์สินจึงเริ่มมาตรการควบคุม โดยตั้งแผงรั้วตลอดแนวพร้อมกับนำกลุ่มชายฉกรรจ์และเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งเข้า ควบคุมพื้นที่ดังที่กล่าวข้างต้น
ตัวแทนของเจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้มีการวางรั้วเอาไว้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่บรรดาผู้ค้าก็ได้มารื้อถอนไป จนต้องดำเนินการควบคุมพื้นที่โดยการนำรั้วมาตั้งและนำเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล ตลอดแนวบริเวณเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด
เจ้าหน้าที่ยังกล่าวต่ออีกว่า ที่ผ่านมาผู้ค้าได้เข้ามาตั้งแผงลอยทำให้กีดขวางทางเดินจนกระทบต่อผู้สัญจร ในบริเวณ นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อร้านค้าในพื้นที่บริเวณสยามแสควร์ ทำให้ขายสินค้าได้น้อยลง ทางจุฬาฯจึงต้องดำเนินการตามมาตรการเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ ทั้งนี้ จุฬาฯเน้นย้ำว่าการดำเนินการต่างๆจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงแต่หากผู้ค้ายัง ฝ่าฝืนอีกคงต้องแจ้งความดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
ด้านผู้ค้าอาหารบนรถเข็นในบริเวณสยามสแควร์นั้นก็ได้รับผลกระทบจาก การกั้นรั้วดังกล่าว บางรายต้องย้ายพื้นที่จากซอย 4 มาตั้งรถเอาไว้ที่เขตผ่อนผันที่ซอย 1 และ ซอย 6 โดยพ่อค้ารายหนึ่งเผยว่า การควบคุมบริเวณนี้ส่งผลต่อหลายฝ่าย นอกจากจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการค้าของเหล่าพ่อค้าแล้ว ยังทำให้หลายฝ่ายได้รับผลกระทบอย่างเช่นกลุ่มพ่อค้ารถเข็น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้ค้าแผงลอยตลาดนัดสยามสแควร์ได้ไปร้องเรียน คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร และในวันที่ 28 ต.ค. ทางกรรมาธิการฯ ได้เชิญตัวแทนจุฬามาชี้แจง ก่อนหน้านี้ ฝ่ายจุฬาฯได้ยืนยันความชอบธรรมตามกฎหมาย และยืนยันว่า ไม่ต้องการให้มีหาบเร่แผงลอยในบริเวณดังกล่าว ในขณะที่กลุ่มผู้ค้าฯ อ้างความเดือดร้อนและยืนยันว่าได้จ่ายค่าปรับมาโดยตลอด.
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1288241440&grpid=00&catid=
---------------------------------------------------------
สยามสแควร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สยามสแควร์ ศูนย์การค้าแบบเชิงราบ จากภาพคือบริเวณสยามสแควร์ซอย 7
สยามสแควร์ (อังกฤษ: Siam Square) หรือเรียกกันว่า สยาม เป็นศูนย์การค้าแบบเชิงราบในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนหัวมุมถนนพญาไท และถนนพระราม 1 โดยด้านหลังติดกับถนนอังรีดูนังต์ และด้านทิศตะวันออกติดต่อกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้านหนึ่งติดกับ ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง และอีกด้านหนึ่งติดกับ สยามเซ็นเตอร์ สยามสแควร์เป็นพื้นที่ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธุรกิจในสยามสแควร์มีความหลากหลาย ทั้งโลกของแฟชั่น อาหาร พื้นที่โฆษณา โรงเรียนกวดวิชา สังคมเด็กแนว หรือในแวดวงทางการธุรกิจการตลาด เป็นสถานที่ที่มีการทดลองสินค้า และกิจกรรมการตลาดแบบแปลกใหม่และเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่ง มีจำนวนคนเดินในสยามสแควร์ในวันธรรมดาเฉลี่ยวันละ 20,000 คน วันหยุดไม่ต่ำกว่า 50,000 คน ซึ่งแต่ละคนมีกำลังซื้อเฉลี่ย 1,000 บาท/ครั้ง/คน
สยามสแควร์ในปัจจุบันมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายนอก รูปแบบอาคารอยู่เสมอ แต่ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงภูมิทัศน์ มีการเพิ่มการแพร่ภาพสื่อผ่านทางจอโทรทัศน์ทั่ว สยามสแควร์ และทางสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการศึกษาผังแม่บทสยามสแควร์ ขึ้นอย่างจริงจัง และโครงการในอนาคตหลังจากเซ็นเตอร์พอยท์ได้หมดสัญญาลงไป จะมีโครงการ "ดิจิตอล เกตเวย์" และยังมีโครงการอาคารจอดรถ โครงการโรงแรม 3 ดาวครึ่ง ในอนาคต
สยามสแควร์มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสมัยนิยมของไทย โดยมีภาพยนตร์ที่มีฉากหรือเนื้อหาเกี่ยวกับสยามสแควร์ เช่น รักแห่งสยาม และ สยามสแควร์ นอกจากนี้มิวสิกวิดีโอก็นิยมใช้สยามสแควร์เป็นฉากในเรื่อง
[แก้] สถานที่ตั้ง
ผังบริเวณ สยามสแควร์
สยามสแควร์เป็นศูนย์การค้าเปิดโล่งแนวราบขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวัน[1] มีพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับถนนพระราม 1 และทางทิศตะวันตกติดกับถนนพญาไท ทางด้านทิศตะวันออกติดกับถนนอังรีดูนังต์ และทางทิศใต้คือซอยจุฬา 64 ซึ่งในบริเวณใกล้เคียงยังมี ศูนย์การค้ามาบุญครอง สยามดิสคัฟเวอร์รี่ สยามเซ็นเตอร์ สยามพารากอน และยังติดกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย[2] รวมถึง วัดปทุมวนาราม วังสระปทุม และสนามศุภชลาศัย เป็นต้น ส่วนการเดินทางมายังสยามสแควร์นั้น ยังสามารถเดินทางมาได้โดยรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยสถานีสยามยังเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และ สายสีลม อีกด้วย[3]
ภายในสยามสแควร์ ทางทิศเหนือตั้งแต่ทางด้านซ้าย บริเวณโรงหนังสกาล่า คือสยามสแควร์ซอย 1 แล้วไล่ไปทางขวาถึงสยามสแควร์ซอย 6 คั่นด้วยถนนเชื่อมระหว่างถนนพญาไทและถนนอังรีดูนังต์ คือสยามสแควร์ซอย 7 และไล่จากขวาไปซ้ายตั้งแต่สยามสแควร์ซอย 8 จนถึงซอย 11
[แก้] ประวัติ
ที่ดินบริเวณก่อนการสร้างสยามสแควร์ในช่วงปี พ.ศ. 2505 ที่ดินย่านนั้นเป็นสวนผัก เป็นชุมชนแออัด จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ ชาวบ้านก็ออกจากพื้นที่ไปและนิสิตจุฬาฯ ก็มาช่วยคุ้มกันพื้นที่ไม่ให้ชาวบ้านกลับเข้ามา เจ้าของที่ดินคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4] ซึ่งมีพลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งครั้งนั้นได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแผนในการพัฒนาที่ดินบริเวณสยามสแควร์ ให้เป็นแหล่งค้าขาย เพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดินของชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยแต่เดิม[5]
...
ในปี พ.ศ. 2507 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ได้มอบหมายให้บริษัท เซาท์อีสท์เอเซียก่อสร้าง (ซีคอน เจ้าของ ซีคอนสแควร์) ทำการพัฒนาที่ดินขนาด 63 ไร่ เป็นศูนย์การค้าแบบเชิงราบ พื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ สูง 3-4 ชั้น ชั้นล่างเป็นร้านค้า ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยโดยมีรองศาสตราจารย์เลิศ อุรัสยนันท์ เป็นสถาปนิก และศาสตราจารย์รชฏ กาญจนวณิชย์ เป็นวิศวกร[6] บริษัทก่อสร้างเสร็จปี 2507 จำนวน 550 ห้อง มีโรงภาพยนตร์ โรงโบว์ลิ่ง มีไอซ์สเก็ตติ้ง เป็นศูนย์การค้าแนวราบที่ใหญ่สุดของเมืองไทยในขณะนั้น[7] และเพิ่มเป็น 610 ห้อง ในเวลาต่อมา ซึ่งทางจุฬาฯ ให้สิทธิซีคอนเก็บผลประโยชน์จากผู้เช่าห้องแถว 10 ปี จากนั้นทางจุฬาฯ ก็เก็บผลประโยชน์ต่อ[5]
เดิมสยามสแควร์ใช้ชื่อว่า ปทุมวันสแควร์ มี พล.อ.ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นประธานวางศิลาฤกษ์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น สยามสแควร์ และในขณะนั้นฝั่งตรงข้ามกำลังสร้างโรงแรมสยามอินเตอร์-คอนติเนนตัล ซึ่งเดิมทีจะใช้ชื่อโรงแรมว่า บางกอกอินเตอร์-คอนฯ แต่แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัลในเวลาไล่เลี่ยกัน (ปัจจุบัน ได้ถูกทุบและก่อสร้างใหม่เป็นสยามพารากอน)[7] และศูนย์การค้าที่สร้างใหม่ในบริเวณนั้น ก็ตั้งชื่อให้สอดคล้องกัน คือ สยามเซ็นเตอร์
มีการวางผังอาคาร ถนน ที่จอดรถ ระบบสาธารณูปโภค และอาคารขนาดใหญ่ประกอบด้วย โรงภาพยนตร์ จำนวน 3 โรง โรงโบว์ลิ่ง ธุรกิจที่เข้ามาเปิดดำเนินการส่วนใหญ่เป็นร้านอาหาร ร้านหนังสือ ร้านเสื้อผ้า และร้านตัดผม ซึ่งย้ายหรือขยายสาขามาจากย่านอื่น เช่น วังบูรพา สุรวงค์ สีลม[8] จุดเด่นของสยามสแควร์อยู่ที่มีโรงหนังถึง 3 โรง คือ สยาม และลิโด สร้างก่อน แล้วต่อมาจึงสร้าง สกาลา บริเวณโรงหนังสกาลา เดิมจะทำเป็นไอซ์สเก็ตติ้ง แต่มีปัญหา จึงเปลี่ยนมาเป็นโรงหนังแทน และได้กลุ่มเอเพ็กซ์ ของ คุณพิสิษฐ์ ตันสัจจา เข้ามารับผิดชอบ ส่วนโรงโบว์ลิ่งได้ กลุ่มเจริญรัชตะภาคย์ เครือโรงแรมเพรสิเด้นท์ มาดำเนินการ[7] ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการรื้อโรงโบว์ลิ่งออก สร้างเป็นโรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์
หลังจากนั้นเศรษฐกิจในประเทศไทยเจริญเติบโต เป็นไปได้ด้วยดี มีร้านค้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งร้านอาหารมีระดับ หรือร้านอาหารฟาสท์ฟู้ด และมีการสร้างสถานีตำรวจและสถานีดับเพลิงตรง ข้ามกับโรงภาพยนตร์สยาม ในปี พ.ศ. 2523 และมีการพัฒนาธุรกิจศูนย์การค้าให้ใหญ่ขึ้น มีธุรกิจใหม่ ๆ เข้ามา มีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง[9]
จนในปี 2540 เกิดวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างหนัก ผู้คนไม่มีกำลังซื้อ และค่าเช่าห้องแถวซึ่งปรับตัวสูงมากก่อนหน้านี้ สำนักทรัพย์สินจุฬาฯได้ปรับราคาค่าเช่าขึ้นถึง 1,200% จากค่าเช่าเซ้งเดิม 10 ปี ราคา 500,000 บาท ปรับขึ้นเป็นราคา 6-7 ล้านบาท ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของผู้ค้าขายในสยามสแควร์ ถึงขนาดมีการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ จนในที่สุดจุฬาฯได้ปรับลดลงจาก 1,200% ที่ขึ้นราคา ลดลงเหลือ 600% ขณะเดียวกันช่วงเดียวกันนี้ กำลังมีก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส [5] ทำให้ผู้เช่าร้านจำนวนมากอยู่ไม่ได้จึงตัดสินใจปิดตัวไปเป็นจำนวนมาก ร้านตัดเสื้อหลายแห่งต้องเปลี่ยนรูปแบบ มาเป็นขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อให้เหมาะกับกำลังซื้อของลูกค้า พฤติกรรมการซื้อของของคนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันก็เกิดเจ้าของธุรกิจรายเล็กๆ เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันทางจุฬาฯ ให้เช่าเพื่อเป็นโรงเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะซอย 5-6-7 จากเดิมมีไม่กี่โรงเรียน ก็เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 50 โรงเรียน เมื่อรถไฟฟ้าสร้างแล้วเสร็จก็ยิ่งทำให้สยามสแควร์กลายเป็นศูนย์กลางการเดิน ทางเข้าถึงได้สะดวกมากขึ้น[4]
และเมื่อ พ.ศ. 2541 มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณซอย 5 บนเนื้อที่ 1 ไร่ 41 ตารางวา[10] ให้เป็นศูนย์รวมวัยรุ่น มีลานกิจกรรม ลานน้ำพุ เรียกว่า "เซ็นเตอร์พอยท์" เปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่สร้างสีสันและความคึกคักขึ้น มีสินค้าและบริการหลายอย่างที่ต้องการเปิดตัว ก็มักมาทำกิจกรรมที่นี่ อีกทั้งการเปิดตัวของสยามพารากอน และการปรับโฉมของสยามเซ็นเตอร์ มาบุญครอง ก็เอื้อให้จำนวนคนที่แวะเวียนมาในสยามสแควร์มากขึ้น[5]
ในปี 2548 สำนักทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการปรับขึ้นราคาเช่าพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 600% โดยอ้างว่าไม่ได้ขึ้นค่าเช่ามานานนับสิบปี ทำให้โรงเรียนกวดวิชา ซึ่งปักหลักอยู่ที่นี่มานาน เริ่มหันไปหาทำเลแห่งใหม่ เช่น โครงการศูนย์การศึกษาอาคารวรรณสรณ์ ที่หัวมุมถนนศรีอยุธยา[5]
มีการประเมินค่าทรัพย์สินทางด้านอสังหาริมทรัพย์ในไทย โดยทำการสำรวจการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล ในปี 2549 โดยบริเวณสยามแควร์มีราคาสูงสุดที่ตารางวาละ 640,000 บาท เพิ่มขึ้นถึง 16.4% จากที่ในปี 2548 สำหรับอันดับทำเลที่ดินราคาแพงรองลงมาคือ อันดับ 2 ย่านเยาวราช ตารางวาละ 630,000 บาท ซึ่งเคยเป็นบริเวณที่มีราคาที่ดินแพงที่สุดมาโดยตลอด อันดับที่ 3 คือ ถนนสีลม ราคาตารางวาละ 560,000 บาท โดยสาเหตุที่ศักยภาพทำเลย่านสยามสแควร์เติบโตเร็ว เพราะนอกจากมีรถไฟฟ้าผ่านแล้ว ยังมีการพัฒนา มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ มากกว่าทำเลอื่น ๆ[11]
31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ถือเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเช่าของบริษัท พรไพลิน ในการเช่าพื้นที่บริเวณเซ็นเตอร์พ้อยท์ และสำนักทรัพย์สินจุฬาฯ ได้เปิดประมูลพื้นที่ใหม่[5] โดยมีการจัดงานอำลาในชื่องานว่า "เซ็นเตอร์พ้อยท์ อินฟินีตี้ ปาร์ตี้" เมื่อวันที่ 14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยในงานมีการปิดถนนหน้า เซ็นเตอร์พ้อยท์ (สยามสแควร์ซอย 7) และจัดคอนเสิร์ต 2 เวที มีศิลปิน นักร้อง ดีเจ วีเจ มาร่วมงานร่วม 300 คน[12][13] และภายหลังจากนี้อีกไม่กี่เดือน จะมีการก่อสร้างอาคารแบบใหม่ ในคอนเซ็ปต์ "ดิจิตอล ซิตี้"[14]
จากข้อมูลเดือนกันยายน 2551 ข้อมูลผลสำรวจราคาที่ดินในกรุงเทพโดยการสำรวจของเอเจนซี ฟอร์ เรียลเอสเตท สยามสแควร์ยังมีราคากลางสูงสุดที่ 8 แสนบาท/ตร.วา ส่วนซื้อขายจริง 9.5 แสนบาท/ตร.วา[15]
หลังจากที่พื้นที่ 1 ไร่เศษของลานเซ็นเตอร์พ้อยท์ระหว่างซอย 3 และซอย 4 ได้หมดสัญญาลง จึงได้ดำเนินตามผังแม่บทใหม่มีการเปิดประมูลให้เอกชนรายใหม่เข้ามาพัฒนาพื้นที่[16] โดยได้สร้างเป็น "ดิจิตอล เกตเวย์" ที่บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด ได้ปรับปรุงพื้นที่ ภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้เป็น ดิจิเทนเมนต์ แห่งเรียนรู้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่มาพร้อมกับความสนุกสนาน ใช้เงินลงทุนกว่า 500 ล้านบาท โดยมีพื้นที่รวม 8,390 ตารางเมตร[17] และยังเชื่อมจากรถไฟฟ้าสถานีสยามสู่บริเวณชั้น 3 ของ "ดิจิตอล เกตเวย์" โดยเปิดตัวเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552[18]
...
ปัญหา การพัฒนาและปรับปรุง
นับตั้งแต่สยามสแควร์ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 และธุรกิจมีการแข่งขันต่อเนื่อง ทั้งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายนอก รูปแบบอาคารอยู่เสมอ แต่ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงภูมิทัศน์ ก็ย่อมเสื่อมสภาพและทรุดโทรมตามกาลเวลา ปัญหาที่ผู้ค้าและผู้ใช้บริการต้องประสบอยู่ เช่น สภาพภายนอกอาคารเก่า ทางเดินเท้าที่แคบและชำรุด ความสกปรกของระบบการระบายน้ำเสีย ปัญหาน้ำท่วม การวางระบบสาธารณูปโภคที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่นสายไฟฟ้าหรือโทรศัพท์และระบบการกำจัดขยะ เป็นต้น ซึ่งมีการแก้ปัญหาเป็นบางส่วน แต่ระบบสาธารณูปโภคโดยรวมยังไม่ได้มีการวางแผนระยะยาว[8]
การปรับขยายทางเท้าให้กว้างขวางขึ้น
มีการปรับปรุงดำเนินการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างในบริเวณสยามสแควร์ใหม่ทั้งหมด มีการขอความอนุเคราะห์จากสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ในการจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยของผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จัดความเรียบร้อยและการจราจรในบริเวณสยามสแควร์ สำหรับในด้านระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมหาวิทยาลัยได้ดูแล มีการซ่อมบำรุงผิวจราจร จ้างทำความสะอาดกวาดพื้นถนน ทางเท้า ดูแลรักษาบำรุงสวนหย่อม จัดจ้างล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำปีละอย่างน้อย 6 ครั้ง การบริหารจัดการต่างๆของมหาวิทยาลัย ในบริเวณสยามสแควร์นั้น[8]
ในปี 2541 สยามสแควร์ได้เริ่มโครงการ Siam Square Animation Windows คือมีการแพร่ภาพสื่อผ่านทางจอโทรทัศน์ โดยเริ่มจากมีจอโทรทัศน์พลาสม่า จำนวน 8 จุด บริเวณใต้โรงภาพยนตร์สยามและลิโด้[8]
นอกจากนี้ทางสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2547 ตาม "โครงการศึกษาผังแม่บทสยามสแควร์" โดยมีผู้วิจัยเข้าร่วมโครงการ มีข้อมูล การศึกษา เพื่อพัฒนาผังแม่บทสยามสแควร์ต่อไปในอนาคต[36]
ในปี พ.ศ. 2548 มีการสำรวจปัญหาเรื่องการมั่วสุมของกลุ่มวัยรุ่น พบว่าสยามสแควร์อยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งมั่วสุมมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีแหล่งมั่วสุมอยู่ใกล้ 69 แหล่ง[37] ซึ่งได้มีการพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเคยมีแนวความคิดในเชิงสร้างสรรค์ อย่างบริเวณเซ็นเตอร์พอยท์ ให้มีลักษณะเป็นการมั่วสุมในเชิงสร้างสรรค์ โดยเซ็นเตอร์พ้อยท์ที่ปรับเปลี่ยนในครั้งนั้นจะเน้นด้านบันเทิงแบบให้ความ รู้ (Edutainment)[38]
ส่วนปัญหาของผู้ค้าคือปัญหาเรื่องค่าเช่า โดยเริ่มจากการขึ้นค่าเช่าในปี 2540 จากค่าเช่าเซ้งเดิม 10 ปี ราคา 500,000 บาท ปรับขึ้นมาก 600% จากนั้นในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการปรับค่าเช่าใหม่อีก 600% อยู่ที่ 80,000-160,000 บาทต่อเดือนต่อคูหา[39] ซึ่งอัตราค่าเช่าจะขึ้นอยู่กับแต่ละทำเล คือบริเวณที่แพงที่สุด (พื้นที่เอบวก) คือติดสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือบริเวณสยามสแควร์ซอย 3-4 มีพื้นที่ให้เช่าทั้งหมด 48 คูหา จากทั้งหมด 610 คูหา จะคิดค่าเช่าขึ้นเป็น 2.5 แสนบาทต่อเดือนต่อคูหา และจะสัญญาใหม่ทุกๆ 3-5 ปี และหากเป็นทำเลมีศักยภาพมากจะทำสัญญาระยะสั้น 3 ปี สัดส่วนของเกรดทำเลพื้นที่ในสยามสแควร์ คือพื้นที่ระดับเอบวก ที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส กับเซ็นเตอร์พอยต์ สยามสแควร์ซอย 3 และ 4 ประมาณ 8% ระดับเอ 22% และที่เหลือคือระดับบีอีก 70%[40][41]
อัตราการคิดราคาในแต่ละทำเลนั้นไม่ตายตัว โดยจุฬาฯ จะให้ส่วนลดกับผู้เช่าเก่าที่เช่ากับจุฬาฯโดยตรง และถ้าไม่ได้ปล่อยเช่าช่วงเป็นเวลาตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปก็จะมีการปรับลดราคาค่าเช่าให้อีก 50% ของค่าเช่าที่ปรับใหม่[40] การปรับขึ้นราคาครั้งนี้ทำให้ผู้เช่าต่างไม่พอใจกับการขึ้นราคาไม่เป็นธรรม นี้ โดยประเด็นคือ ส่อให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสและการกระทำที่ผิดกฎหมายอยู่หลายประเด็น มีการปรับค่าเช่าที่สูงไป และไม่เปิดโอกาสให้ตัวแทนผู้เช่าซึ่งเป็นคู่สัญญาได้เข้าพูดคุยการปรับค่า เช่า[42] ยังก่อให้เกิดปัญหาตามมาไม่ว่าจะเป็นเกิดความระแวงกันเอง ความร้าวฉานระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน ยังมีปัญหากังวลต่อการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน อีกทั้งความเอาแน่เอานอนไม่ได้ในการดำเนินการของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลต่อการประกอบธุรกิจในสยามสแควร์ในอนาคต[43][44]
[แก้] อนาคต
การพัฒนาพื้นที่บริเวณด้านหลังโรงแรมโนโวเทล บริเวณร้านสุกี้แคนตัน เป็นโครงการอาคารจอดรถ 10 ชั้น มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ครึ่ง ที่สามารถรองรับปริมาณการจอดรถได้ 800 คัน และ จัดพื้นที่ภายในเพื่อให้ร้านค้าเข้ามาเช่าภายในตัวอาคาร โดยจุฬาฯเป็นผู้ลงทุนมูลค่าการลงทุน 1,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินการก่อสร้างต้นปี 2551[45]
สำหรับแผนระยะยาว คาดว่าจะมีอาคารจอดรถอีกแห่งที่คาดว่าจะดำเนินการขึ้น หลังจากโครงการจอดรถบริเวณด้านหลังโรงแรมโนโวเทลเสร็จสิ้นลง คือ อาคารจอดรถบริเวณหัวมุมถนนฝั่งมาบุญครอง บริเวณร้านฮาร์ดร็อกคาเฟ่ สูง 10 ชั้น และโครงการต่อมาคือโครงการโรงแรม 3 ดาวครึ่ง ขนาด 25 ชั้น 400 ห้อง ติดกับโรงแรมโนโวเทล คาดว่าจะเป็นโครงการที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับอาคารที่จอดรถแห่งใหม่ บริเวณร้านสุกี้แคนตัน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เป็นโรงแรมระดับ 3 ดาว เพื่อความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เน้นคนระดับกลางไม่หรูหราเกินไป[45]
...
http://th.wikipedia.org/wiki/สยามสแควร์
---------------------------------------------------------
ผมนำข่าวเกี่ยวกับเรื่องสยามสแควร์ของจุฬา
ที่มีการกล่าวหาว่าเสื้อแดงบางกลุ่มไปเผา
เพื่อจะได้รู้ที่มาที่ไปอย่างแท้จริง
ควรจะต้องศึกษาอดีตกันก่อน
เริ่มด้วยข่าวเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
"จุฬาฯควัก2พันล.ผุดโปรเจ็กต์ รีโมเดลสยามสแควร์รอบใหม่"
ซึ่งจากข่าวเรื่องนี้ที่ผมนำมาลงไว้ให้อ่าน
จะพบว่ามีแผนรื้อโรงหนังสยามและอาคารพาณิชย์กว่า 100 คูหา
แถวซอย 4 ทีมีข่าวว่าโดนเผาในช่วงจราจลวันที่ 19
"ทั้งนี้แผนรีโมเดลสยามสแควร์ ภายในครึ่งปีหลังนี้ พื้นที่แรกที่จะเริ่มดำเนินการก่อนคือบริเวณบล็อก E และบล็อก D บางส่วน หรือบริเวณสยามสแควร์ซอย 4 โดยจะมีการรื้อถอนโรงภาพยนตร์สยามและอาคารพาณิชย์รวมประมาณกว่า 100 คูหา"
แถมมีการของบประมาณจากรัฐบาล
โดยอ้างว่ามาบรรเทาทุกข์ผู้เช่า 400 ราย
อันนี้พอเข้าใจว่าสมเหตุสมผล
แต่ที่ไม่เข้าใจคือ
จะนำไปปรับปรุงอาคารพาณิชย์บางส่วนที่หมดสัญญา
ซึ่งก็ออกข่าวว่าจะรื้ออยู่แล้วมิใช่หรือ
"งานนี้เบ็ดเสร็จ จุฬาฯได้เสนอขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลจำนวน 85 ล้านบาท เป็นงบฯลงทุนเพื่อบรรเทาความ เดือดร้อนให้กับผู้เช่ากว่า 400 รายดังกล่าว รวมถึงจะเป็นงบฯที่นำมาใช้ในการปรับปรุงอาคารพาณิชย์บางส่วนที่หมดสัญญา สำหรับเป็นพื้นที่ขายสินค้าต่อไปในอนาคต"
และวันนี้มีข่าวจากมติชนออนไลน์ทำนองนี้
"ผู้ค้าสยามสแควร์เผชิญหน้าชายฉกรรจ์ ลั่นไม่สนจุฬายึดพื้นที่คืน ปักหลักขายต่อ ข้องใจพื้นที่เป็นของใคร"
โดยมีการแฉว่า เจ้าหน้าที่เทศกิจ กทม.
มาปรับผู้ค้าในพื้นที่ดังกล่าวทุกเดือน
และมีการใช้งบประมาณจาก กทม.
มาปรับปรุงถนนแถวนี้ดังนี้
"ด้านนายธิติพงศ์ อภิรักษ์พัฒนา ตัวแทนกลุ่มผู้ค้า กล่าวว่า ที่ผ่านมามี เจ้าหน้าที่เทศกิจเข้ามาดำเนินการจับปรับพวกตนเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งผู้ค้าก็ได้เสียค่าปรับและค้าขายตามปกติ ทำให้ไม่เข้าใจว่าหากพื้นที่ดังกล่าวเป็นของจุฬาลงกรณ์จะมีเทศกิจเข้ามาจับ ปรับได้อย่างไร และที่ผ่านมาพบว่าการปรับปรุงภูมิทัศน์บนทางเท้าและซ่อมบำรุงพื้นผิวการ จราจรก็เป็นการใช้งบประมาณจากกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น"
เลยชวนให้สงสัยว่า
ทำไม กทม. ถึงได้บริการแทนจุฬาขนาดนั้น
และเงินที่เทศกิจมาปรับทุกเดือนในพื้นที่ของจุฬา
เงินเข้ากระเป๋าใคร
แถมยังมีการให้ข่าวคนละเรื่องกับการกระทำ
การไล่แม่ค้าออกจากแถวย่านนั้น
ซึ่งจะเป็นการส่งมอบพื้นที่ให้มีการก่อสร้าง
ตามโปรเจกส์ที่วาดไว้แต่แรกต่างหาก
"เจ้าหน้าที่ยังกล่าวต่ออีกว่า ที่ผ่านมาผู้ค้าได้เข้ามาตั้งแผงลอยทำให้กีดขวางทางเดินจนกระทบต่อผู้สัญจร ในบริเวณ นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อร้านค้าในพื้นที่บริเวณสยามแสควร์ ทำให้ขายสินค้าได้น้อยลง ทางจุฬาฯจึงต้องดำเนินการตามมาตรการเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ ทั้งนี้ จุฬาฯเน้นย้ำว่าการดำเนินการต่างๆจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงแต่หากผู้ค้ายัง ฝ่าฝืนอีกคงต้องแจ้งความดำเนินการทางกฎหมายต่อไป"
ที่น่าสังเกตุ สยามสแควร์ ซอยอื่นไม่โดนเผา
มีการเจาะจงเผาเฉพาะซอย4 กับ 5
ที่กำลังมีโครงการใหม่
ซึ่งซอย4 จะอยู่ใกล้กับจุดขึ้นลง BTS
จากแผนที่ก็แสดงว่าเป็นทำเลทองของย่านนี้เหมือนกัน
เลยมีการไล่ให้ไปขายที่ซอยอื่น
เพราะซอยอื่นไม่กีดขวางทางเดินจนกระทบต่อผู้สัญจร หรือยังไง
หรือไม่ส่งผลต่อร้านค้าในพื้นที่บริเวณสยามสแควร์
จนทำให้ขายสินค้าได้น้อยลงด้วยหรือ
"ด้านผู้ค้าอาหารบนรถเข็นในบริเวณสยามสแควร์นั้นก็ได้รับผลกระทบจาก การกั้นรั้วดังกล่าว บางรายต้องย้ายพื้นที่จากซอย 4 มาตั้งรถเอาไว้ที่เขตผ่อนผันที่ซอย 1 และ ซอย 6"
ตบท้ายด้วยความรู้เสี้ยวหนึ่งของประวัติแถวสยามสแควร์
พบว่ามีเหตุไฟไหม้ เพื่อไล่ที่ชาวบ้านแถวนั้นซะด้วย
"ที่ดินบริเวณก่อนการสร้างสยามสแควร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2505 ที่ดินย่านนั้นเป็นสวนผัก เป็นชุมชนแออัด จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ ชาวบ้านก็ออกจากพื้นที่ไปและนิสิตจุฬาฯ ก็มาช่วยคุ้มกันพื้นที่ไม่ให้ชาวบ้านกลับเข้ามา เจ้าของที่ดินคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4] ซึ่งมีพลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งครั้งนั้นได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแผนในการพัฒนาที่ดินบริเวณสยามสแควร์ ให้เป็นแหล่งค้าขาย เพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดินของชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยแต่เดิม[5]"
และผมก็เชื่อได้ว่า
ต่อให้ถ่ายภาพหน้าคนร้ายที่ร่วมกันวางเพลิง
แถวสยามสแควร์ซอย 4 และ 5 ได้อย่างชัดเจนเพียงไร
คดีนี้ก็ไม่ไปไหน ไม่มีการกระตือรือร้นที่จะดำเนินคดี
เช่นเดียวกับพวกที่ไปเผาที่ WTC
เห็นหน้าชัดเจนแต่ไม่คิดทำอะไร
ทั้งๆ ที่ผ่านมาหลายเดือนแล้ว
กะให้เรื่องเงียบไปเอง
พร้อมกับข้อกล่าวหาว่าเสื้อแดงเผา
แต่ไม่ยักเร่งรัดหาคนร้าย
ยังงี้จะให้เชื่อว่าเสื้อแดงเผาจริง
หรือพวกเดียวกันสวมรอยมาช่วยเผาดี
Link ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติม
http://maha-arai.blogspot.com/2010/11/blog-post.html
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ปัญหาสยามสแควร์ของจุฬา และข้อกังขาว่าทำไมต้องเลือกเผาเฉพาะสยามสแควร์บางซอย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/10/blog-post_5032.html
<<< โฉมหน้าคนเผาตึก CTW และ ช่อง 3 พร้อมข้อกังขาว่า เป็นพวกใครกันแน่ที่ทำ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_24.html
<<< หลักฐานบางส่วนทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ที่แสดงให้เห็นว่าทหารยิงประชาชนจริง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/09/blog-post_10.html
<<< จับพิรุธ คดีระเบิดสมานแมนชั่น บางบัวทอง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/10/blog-post_09.html
<<< ย้อนรอย ข้อกล่าวหาทักษิณสนับสนุนคนเสื้อแดงทำร้ายคนในชุมนุมเพชรบุรีซอย7 รวมถึงเผามัสยิด >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/04/blog-post_20.html
<<< ย้อนรอยคดีลอบวางระเบิดหลายจุดในกทม. ที่กล่าวหาว่าทักษิณทำ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/04/blog-post_7025.html
<<< ย้อนรอย คลื่นใต้น้ำป่วนเมืองช่วง คมช. ครองเมือง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/06/blog-post.html
โดย มาหาอะไร
FfF