กรณี มาตรา 309
อันที่จริงในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 50มีหลายมาตราที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
แต่งวดนี้จะขอยกมาพูดสัก 1 มาตรา คือ
มาตรา 309 เพื่อให้เห็นภาพชัดๆ ง่ายๆ
"มาตรา ๓๐๙ บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้"
มาตรา 309 เป็นมาตราที่ให้สิทธิพวก คมช.
กระทำผิดทั้งก่อนและหลังวันที่ 19 กันยา 49
สามารถทำผิดได้ทุกชนิด
ตามบทบัญญํติในรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2549
ตามมาตรา 36 และ 37 ดังนี้
"มาตรา 36 บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ได้ประกาศ หรือสั่งไว้ ในระหว่างสันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศ หรือสั่ง ให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่า ประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อน หรือหลัง วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
มาตรา 37 บรรดาการกระทำทั้งหลาย ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึด และควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ของหัวหน้า และคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว หรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อน หรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง"
(ตัวอย่างอิทธิฤทธิ์มาตรา 309 ไม่ต้องแปลกใจถ้าพวกนี้จะค้านการแก้รธน.ฉบับนี้แบบหัวชนฝา)
เรื่อง คมช.พ้นผิดเอกสารลับ มติกกต.4-1ยกคำร้อง
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_31.html
ส่วน ปชป. ที่กำลังเสนอขอแก้ไข รธน. งวดนี้
กับไม่มีการให้ยกเลิก มาตรานี้ แก้เพียง 2 เรื่อง ดังนี้
"คว่ำเหวง-ภท. มติเอกฉันท์ ปชป.แก้2 ม.
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวการเมือง
22 พฤศจิกายน 2553, 19:30 น.
พรรคประชาธิปัตย์ มีมติเอกฉันท์แก้รัฐธรรมนูญ 2 มาตรา แจง เหตุผลคว่ำร่าง “เหวง- ภท." คุมเข้มให้ รมต.ร่วมโหวตลงมติด้วย “บุญยอด” ย้ำไม่มีสอดไส้นิรโทษกรรม ตาม พธม. กล่าวหา...
เมื่อเวลา 17.30 น. นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงหลังการประชุม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในวันที่ 23-25 พ.ย.นี้
โดยพรรคได้มีการพิจารณาใน 3 ส่วนคือ1.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชุดของ นพ.เหวง โตจิราการ หรือร่าง คปพร. โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่เห็นด้วยกับร่างดังกล่าว และจะลงมีมติไม่รับหลักการในวาระที่ 1
2.ร่างรัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมเป็นผู้เสนอที่ค้างอยู่ในวาระของสภามานานแล้ว โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่ลงคะแนนเสียงในการโหวตรับหลักการในวาระที่ 1 และ
3.ร่างที่รัฐบาลเป็นผู้เสนอที่ได้จากข้อเสนอของคณะกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เป็นประธาน ซึ่งมีการเสนอให้แก้ไขมาตร 190 และระบบเขตเลือกตั้ง โดยที่ประชุมมีมติว่าจะสนับสนุนในหลักการทั้งสองร่างและจะลงมติในวาระที่ 1 ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นตามคณะกรรมการ เพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นเพราะถือว่าเป็นร่างที่ได้มีการรับฟังความเห็นจากประชาชนแล้ว
โดยเฉพาะเรื่องของการทำสนธิสัญญาที่จะสามารถช่วยให้รักษาผลประโยชน์ของประเทศได้ ส่วนเรื่องเขตเลือกตั้งเห็นว่าไม่ได้เป็นประเด็นที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง เนื่องจากไม่เกี่ยวกับการยุบพรรค การเพิ่มอำนาจให้ ส.ส.หรือการนิรโทษกรรมแต่อย่างใด
ขณะที่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 ประเด็นไม่ได้เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมหรืออุดมการณ์ แต่ถ้ารัฐบาลไม่รับร่างนี้เกรงว่าจะเป็นปัญหา ดังนั้น ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวกับการที่ถูกพรรคร่วมกดดัน แต่ถือเป็นจุดยืนของนายกรัฐมนตรี และเป็นมติของพรรคที่มอบให้เลขาธิการพรรคและหัวหน้าพรรคได้ไปประสานงาน ซึ่งที่ประชุมได้มีการโหวตลงมติโดยแบ่งเป็น 3 วาระคือ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ นพ.เหวงเป็นผู้เสนอ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าร่างนี้ หากมีการแก้ไขจะเป็นปัญหาต่อสังคมมากที่สุด และมองว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเจตนาที่จะให้มีการนิรโทษกรรมนักการเมือง
ดังนั้น ที่ประชุมจึงโหวตไม่รับหลักการ ส่วนร่างรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมแม้ว่าในมาตร 190 จะมีความคิดเนื้อหาที่สอดคล้องกับรัฐบาลแต่ในเรื่องของระบบเขตเลือกตั้งก็ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งในอดีตที่ประชุมพรรคเคยมีมติไม่รับหลักการกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมไปแล้วครั้งนี้จึงได้มีมติโหวตไม่ลงคะแนนเสียง
นพ.วรงค์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมไม่รู้ว่าผลการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสภาจะเป็นอย่างไร เพราะรัฐบาลไม่ได้คุมเสียงข้างมากในสภาแต่จะรับผิดชอบในเสียงของรัฐบาลเท่านั้น ดังนั้น จึงมติให้ส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรีต้องลงมติโหวตด้วย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของสัดส่วนของการตั้งคณะกรรมาธิการในการพิจารณาจะมีทั้งหมด 45 คน คือในส่วนของส.ส.จะแบ่งออกเป็นพรรคประชาธิปัตย์ 12 คน พรรคภูมิใจไทย 2 คน พรรคเพื่อแผ่นดิน 2 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 2 คน พรรครวมชาติพัฒนา 2 คน พรรคประชาราช 1 คน พรรคกิจสังคมและพรรคมาตุภูมิ 1 คน และพรรคเพื่อไทย 13 คน
ทั้งนี้ ได้มีการหารือถึงการถ่ายทอดสด ซึ่งในที่ประชุมเห็นว่าควรให้มีการถ่ายทอดสด เพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจ แต่ช่วงนี้มีการถ่ายทอดสดกีฬาเอเชี่ยนเกม ที่ประชุมจึงมีมติว่าหากช่วงเวลาใดที่มีนักกีฬาไทยลงแข่งขันทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กระจายเสียงแห่งประเทศไทยก็จะถ่ายทอดกีฬาเอเซ๊ยนเกม แต่หากช่วงใดไม่มีนักกีฬาไทยแข่งขันก็จะให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมสภา ทั้งนี้ ได้มอบได้มอบหมายให้นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไปดำเนินการ
ด้านนายบุญยอด สุขถิ่นไท รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่รัฐบาล ทำตามวาระที่ค้างการพิจารณาของสภาทั้งร่างของ นพ.เหวง และร่างของพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเมื่อรัฐบาลได้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 ประเด็นนี้ตามที่คณะกรรมการที่นายสมบัติเป็นผู้เสนอ จึงเริ่มมีการพิจารณาพร้อมกัน เนื่องจาก มีหลักการเดียวกัน
ดังนั้น ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้มีการสอดไส้ตามที่กลุ่มพันธมิตร กล่าวหาแต่เป็นการพิจารณาตามวาระที่ค้างอยู่ในสภา ทั้งนี้ การโหวตรับต้องมีเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งคือ 310 เสียง ดังนั้น รัฐมนตรีทุกคนต้องโหวตลงมติด้วยเพราะเห็นว่าการโหวตเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของส.ส.และไม่ได้มีผลประโยชน์กับการเป็นรัฐมนตรี นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงต่อการประชุมว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นการเอาใจพรรคร่มรัฐบาลแต่เป็นเรื่องของคณะกรรมการที่รัฐบาลได้ตั้งขึ้น
http://www.thairath.co.th/content/pol/128904"
รายละเอียดมาตรา 190 ที่ทาง ปชป. เสนอให้แก้ในครั้งนี้
"มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ
สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทย
มีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออก
พระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือ
สังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ
อย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว
ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตาม
วรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจง
ต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอ
ความเห็นชอบด้วย
เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน
คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่
การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลาง
และขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว
เหมาะสม และเป็นธรรม
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อ
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุน
อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญา
ดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติ
ตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้
นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม"
สำหรับมาตรา 190 นั้น
เข้าใจว่าที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญปี 50
เพื่อไม่ให้คนใน ครม.
ไปเซ็นต์ข้อตกลงหรือบันทึกความเข้าใจ
เกี่ยวกับเรื่องสำคัญๆ โดยไม่ผ่านสภา
ซึ่งเคยนำเรื่องนี้มาโจมตี นพดล
เรื่องเกี่ยวกับทำบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ว่า
ให้มีการบริหารและจัดการร่วมกัน
ในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร เขาพระวิหารมาแล้ว
ซึ่งต่อมาศาลได้สั่งยกเลิก MOU ดังกล่าว
แต่เขมรก็ดันเขาพระวิหารได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกได้อยู่ดี
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_15.html
แต่งวดนี้อภิสิทธิ์เตรียมแก้มาตรานี้
แสดงว่ากำลังจะนำไปทำข้อตกลงอะไรกับกัมพูชา
โดยที่ประชาชนจะไม่ทราบหรือมาทราบทีหลังอย่างแน่นอน
เพราะไม่เช่นนั้นก็นำเข้าพิจารณาในสภาได้
โดยไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญอะไรให้ยุ่งยาก
ซึ่งจะว่าไปแล้วมาตรานี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีก็คือทำให้คนใน ครม. มีความสะดวกรวดเร็ว
ในการแก้ปัญหาหรือไปตกลงกับต่างประเทศ
ส่วนข้อเสียเท่าที่เห็นตอนนี้คือ
ถ้าคนใน ครม. คนไหน
นำผลประโยชน์ของประเทศ
ไปต่อรองซูเอี๋ยเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวแอบแฝงด้วย
ประชาชนจะไม่ทราบถ้าสื่อไม่รู้หรือไม่นำมาเผยแพร่
หรือทราบหลังจากเกิดเรื่องแล้ว ก็เป็นได้
เรียกว่าดีก็มี เสียก็มี
แต่ก่อนผมว่าไม่เอาเข้าสภาจะดีกว่า
เพราะผมคิดว่านักการเมืองจะดีมีความรับผิดชอบ
ต่อหน้าที่ ต่อประชาชน ต่อประเทศชาติ จริงๆ
แต่วันนี้ผมว่าคงไว้แบบเดิมดีกว่า
เพราะผมเริ่มไม่ไว้ใจนักการเมืองเท่าไหร่
เดี๋ยวแอบไปมุบมิบทำอะไร
อีกอย่างมันก็ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนอะไร
ผ่านมาหลายสิบปีแล้ว
ถ้าโปร่งใสจริง นำเข้าสภาให้มีการตรวจสอบ
ให้สาธารณชนรับทราบเรื่องราวอย่างกว้างขวาง
เพื่อความรอบคอบในการตัดสินใจ
และที่สำคัญผมเห็นหลายเรื่องทีเดียว
ที่คนเป็น รมต. หรือนายก
มีความคิดที่ไม่ฉลาดในหลายๆ เรื่อง
ดังนั้น ไม่แน่เรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง
อาจโดนต่างประเทศหลอก หรือเจ้าหน้าที่รู้ไม่เท่าทัน
ผมคิดว่าถ้าต้องการให้ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ทุกเรื่องที่สำคัญจริงๆ จะต้องให้ประชาชนมีสิทธิรับรู้
และมีสิทธิร่วมตัดสินใจด้วย
โดยการลงประชามติหลังการอภิปรายทั้ง 2 ฝ่าย
ทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน อย่างเท่าเทียมกันแล้ว
สรุป ตามความเห็นผม
การขอแก้รัฐธรรมนูญคราวนี้ เป็นเพียงปาหี่
หลอกคนที่ต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริง
ทำนองว่าแก้รัฐธรรมนูญแล้ว
บ้านเมืองก็คงเป็นประชาธิปไตยขึ้นแล้ว
ทั้งๆ ที่ยังมีองค์กรที่ไม่ต่างจากพวก คมช.
ก็คือ ศอฉ. ยังทำหน้าที่อยู่ และเรื่อง 2 มาตรฐานต่างๆ อีก
แถมแก้เฉพาะ 2 เรื่องที่เป็นประโยชน์เฉพาะนักการเมืองเท่านั้น
ส่วนกรณีที่พวกพันธมิตร ออกมาคัดค้าน
อาจมองได้หลายแนวทาง เช่น
พวกนี้อาจได้จังหวะถล่มรัฐบาล
เลยออกมาต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญ
หรือเห็นว่าไม่ได้แก้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมจริงก็ได้
หรือรับงานออกมาป่วนเพื่อให้มีการทำรัฐประหารก็ได้
หรือรับงานมาแสดงปาหี่
ว่าต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญ 2 เรื่องของปชป.
เพื่อให้ฝ่ายเสื้อแดงออกมาหนุนหรือไม่คัดค้าน
ในการแก้รัฐธรรมนูญเฉพาะ 2 เรื่องนี้ก็ได้ทั้งนั้น
"ต้องดูตอนจบ ถึงจะทราบเจตนาที่แท้จริง"
กรณี แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
หมวดที่สมควรยกเลิกไปเลย คือ
"หมวด ๕
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ"
เพราะไม่เกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญ
มันเป็นเรื่องนโยบายของแต่ละพรรค
"หมวด ๕
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ"
เพราะไม่เกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญ
มันเป็นเรื่องนโยบายของแต่ละพรรค
ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
แต่ละพรรคควรมีโอกาสที่จะเสนอนโยบายต่างๆ
ไม่ใช่มาเขียนล็อคไว้แบบนี้
แต่ละพรรคควรมีโอกาสที่จะเสนอนโยบายต่างๆ
ไม่ใช่มาเขียนล็อคไว้แบบนี้
เพื่อจะได้เป็นระเบิดเวลาในภายหลัง
หรือเพื่อมาตีความให้เป็นคุณเป็นโทษกันในภายหลัง เช่น
"มาตรา ๗๗ รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และ
บูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
จำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์
ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และเพื่อการพัฒนาประเทศ"
ถ้าเป็นพรรคพวกที่ไม่ชอบหน้า
ไม่จัดงบซื้ออาวุธให้ตามที่ขอ
ก็อาจตีความว่าผิดรัฐธรรมนูญ 50 ได้
แต่ถ้าเป็นพวกที่สนับสนุน
ต่อให้ตัดงบซื้ออาวุธทิ้งก็ไม่ผิดรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
หรือกรณีมาตรานี้
"มาตรา ๘๓ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
ถ้าเป็นพวกที่ตนเองสนับสนุน
อาจตีความได้ว่า กู้เป็นล้านๆ บาทมาถลุง
เป็นไปตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หรือให้งบซื้ออาวุธมากๆ
ก็เป็นไปตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แต่ถ้าเป็นพรรคพวกอื่นที่ไม่ชอบหน้า
อาจตีความได้ว่าการกู้มากๆ
ไม่เป็นไปตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หรือการซื้ออาวุธมากๆ
ก็ไม่เป็นไปตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เรียกว่ามีมาตราเหล่านี้ไว้กำจัดศัตรูทางการเมืองโดยเฉพาะ
เพราะไม่มีมาตราฐานในการตีความ
ไม่เช่นนั้นรัฐบาลนี้ก็ทำผิดรัฐธรรมนูญไปแล้ว
กู้มามากมายแบบนี้
กู้มากๆ มันเป็นไปตามแนวปรัชญาพอเพียงยังไง
หรือเอาไปซื้อนั่นทำนี่อีลุ่ยฉุ่ยแฉก
เช่น แจกเงิน 2,000 บาท อะไรพวกนี้
มันเป็นไปตามหลักแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังไง
เรื่องนโยบายไม่ควรมีไว้ในรัฐธรรมนูญ
ควรเป็นเรื่องที่พรรคการเมืองจะมีอิสระ
ในการนำเสนอนโยบายต่างๆ
เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้เลือก เป็นผู้ตัดสินใจ
ไม่ใช่ใครมาบงการเขียนล็อคสเปคไว้แบบนี้
หรือเพื่อมาตีความให้เป็นคุณเป็นโทษกันในภายหลัง เช่น
"มาตรา ๗๗ รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และ
บูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
จำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์
ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และเพื่อการพัฒนาประเทศ"
ถ้าเป็นพรรคพวกที่ไม่ชอบหน้า
ไม่จัดงบซื้ออาวุธให้ตามที่ขอ
ก็อาจตีความว่าผิดรัฐธรรมนูญ 50 ได้
แต่ถ้าเป็นพวกที่สนับสนุน
ต่อให้ตัดงบซื้ออาวุธทิ้งก็ไม่ผิดรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
หรือกรณีมาตรานี้
"มาตรา ๘๓ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
ถ้าเป็นพวกที่ตนเองสนับสนุน
อาจตีความได้ว่า กู้เป็นล้านๆ บาทมาถลุง
เป็นไปตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หรือให้งบซื้ออาวุธมากๆ
ก็เป็นไปตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แต่ถ้าเป็นพรรคพวกอื่นที่ไม่ชอบหน้า
อาจตีความได้ว่าการกู้มากๆ
ไม่เป็นไปตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หรือการซื้ออาวุธมากๆ
ก็ไม่เป็นไปตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เรียกว่ามีมาตราเหล่านี้ไว้กำจัดศัตรูทางการเมืองโดยเฉพาะ
เพราะไม่มีมาตราฐานในการตีความ
ไม่เช่นนั้นรัฐบาลนี้ก็ทำผิดรัฐธรรมนูญไปแล้ว
กู้มามากมายแบบนี้
กู้มากๆ มันเป็นไปตามแนวปรัชญาพอเพียงยังไง
หรือเอาไปซื้อนั่นทำนี่อีลุ่ยฉุ่ยแฉก
เช่น แจกเงิน 2,000 บาท อะไรพวกนี้
มันเป็นไปตามหลักแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังไง
เรื่องนโยบายไม่ควรมีไว้ในรัฐธรรมนูญ
ควรเป็นเรื่องที่พรรคการเมืองจะมีอิสระ
ในการนำเสนอนโยบายต่างๆ
เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้เลือก เป็นผู้ตัดสินใจ
ไม่ใช่ใครมาบงการเขียนล็อคสเปคไว้แบบนี้
แบบนี้ไม่ต่างอะไรกับประเทศคอมมิวนิสต์
ที่มีการเลือกตั้งเหมือนกัน
แต่ห้ามมีพรรคอื่นนอกจากพรรคคอมมิวนิสต์พรรคเดียว
ผู้สมัครทุกคนต้องสังกัดพรรคนี้
นโยบายมันก็ต้องเหมือนกันหมด
จะต่างกันไปได้ยังไงในเมื่อสังกัดพรรคเดียวกัน
ถ้าไม่เห็นด้วยกับนโยบายของพรรคพรรคคอมมิวนิสต์
เขาจะให้ลงสมัครในนามพรรคเขาไหม
ลอกกันมาเห็นๆ เลยกรณีนี้
การเขียนฝั่งไว้ในรัฐธรรมนูญแบบนี้
พรรคไหนมาเป็นรัฐบาลก็ต้องมีนโยบายคล้ายกัน
แตกต่างกันแทบไม่ค่อยได้เลย
ถ้าต้องตีความเคร่งครัดวันไหน
มันก็เหมือนการยึดอำนาจกลายๆ
มันก็เหมือนการยึดอำนาจกลายๆ
แล้วให้พรรคการเมืองสลับกันมาสวมหัวโขน
และต้องอยู่ใต้เงื่อนไขที่เขาวางเอาไว้
ที่เขาขีดให้เดินเท่านั้น
ไม่งั้นอาจโดนถีบกระเด็นตกเก้าอี้
ด้วยพจนานุกรมวันไหนก็ได้ง่ายๆ
อันที่จริง แต่ละช่วงเวลาในการบริหารประเทศ
อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย เช่น ทางเศรษฐกิจ
ก็อาจมีบางช่วงที่จำเป็นต้องออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
หรือบางช่วงจำเป็นต้องออกนโยบาย
ชลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ
ไม่ใช่เน้นให้พอเพียงอย่างเดียวไปตลอดกาล
การเขียนไว้แบบนี้ไม่ต่างอะไรกับระเบิดเวลาดีๆ นี่เอง
มีเอาไว้เล่นงานพรรคพวกที่ไม่ชอบหน้าเท่านั้น
ส่วนพรรคพวกที่สนับสนุน
ก็แกล้งทำเป็นมองไม่เห็นไปวันๆ
โดย มาหาอะไร
FfF