02 พฤศจิกายน 2554

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง วิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่ 2554 >>>

ลำดับความเป็นมาของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง

17 ธันวาคม 2551 มติสภาผู้แทนราษฎรเลือกอภิสิทธิ์เป็นนายก
3 กรกฎาคม 2554 เลือกตั้ง ส.ส. ทั้งประเทศ

5 สิงหาคม 2554 มติสภาผู้แทนราษฎรเลือกยิ่งลักษณ์เป็นนายก
9 สิงหาคม 2554 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่
23 สิงหาคม 2554 ยิ่งลักษณ์แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เพื่อให้สามารถทำงานในตำแหน่งนายกได้เต็มที่ตามรัฐธรรมนูญ 50

--------------------------------------------

เทียบข้อมูลฝนจากดาวเทียม หาสาเหตุวิกฤตน้ำท่วม 2554

วันที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 19:30:00 น.




โดย ผศ.ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี



หัวหน้าศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติอันดามัน (ANED) คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554)


วิกฤตน้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ.2554 น้ำได้ท่วมขังครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องกันเป็นบริเวณกว้างกว่าทุกครั้งที่ ผ่านมา พื้นที่บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เรียกว่า กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน นอกจากนี้ ได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย

วิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายมากมายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนหลายแสนล้านบาท ส่วนทางด้านสังคม ประชาชนจำนวนหนึ่งเสียชีวิต ประชาชนที่อยู่บริเวณน้ำท่วมขัง ทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันต้องเคลื่อนย้ายหาที่พักพิงชั่วคราวที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดให้ หรือเคลื่อนย้ายหาแหล่งพักพิงสถานที่อื่น

นอกจากนี้ ยังได้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของประชาชนเป็นอย่างมาก



ผู้เขียนได้ศึกษาหาสาเหตุของวิกฤตน้ำท่วมปี พ.ศ.2554 ที่เกิดขึ้นในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน โดยใช้ข้อมูลฝนจากดาวเทียมไมโครเวฟและอินฟราเรด และข้อมูลการบริหารจัดการน้ำจากเขื่อนต่างๆ ที่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มลุ่มน้ำดังกล่าว โดยพิจารณาข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จนถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2554

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นไหล่เขาสูงทางทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันตก พื้นที่ทางตอนเหนือสูงและลดระดับความสูงของพื้นที่จากทางตอนเหนือลงมาทางใต้ (รูปที่ 1 ก) บริเวณนี้ประกอบด้วยลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก เจ้าพระยา และท่าจีน มีแม่น้ำสายสำคัญคือแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก เจ้าพระยา และท่าจีน แม่น้ำเหล่านี้จะไหลจากทางเหนือลงมาทางใต้

พื้นที่บริเวณลุ่มน้ำดังกล่าวมีขนาดที่แตกต่างกัน ขนาดพื้นที่ของลุ่มน้ำน่านมีขนาดใหญ่ที่สุดคือ 34,331 ตารางกิโลเมตร รองลงมาคือลุ่มน้ำปิง 33,896 ตารางกิโลเมตร ลุ่มน้ำยม 23,616 ตารางกิโลเมตร ส่วนลุ่มน้ำสะแกกรังมีพื้นที่น้อยที่สุดคือ 5,192 ตารางกิโลเมตร

ในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน มีเขื่อนที่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สุดคือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ซึ่งมีความจุอ่างเก็บน้ำ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความจะอ่างเก็บน้ำ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือน (มีหน่วยเป็นล้านลูกบาศก์เมตร) ที่ตกในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนและแต่ละลุ่มน้ำ ของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ. 2554 และค่าปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2554

เปรียบเทียบความแตกต่างของปริมาณฝนรายเดือนที่ตกในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน และแต่ละลุ่มน้ำย่อย มีหน่วยเป็นล้านลูกบาศก์เมตร ของปี พ.ศ.2554 และค่าเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2554

จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ปริมาณฝนรายเดือนของปี พ.ศ.2554 ในภาพรวมของกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน มากกว่าปริมาณฝนที่เป็นค่าเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 เกือบทุกเดือน

และ เมื่อพิจารณาเป็นรายลุ่มน้ำ ก็จะพบว่าปริมาณฝนของ พ.ศ.2554 มีปริมาณฝนมากกว่าปริมาณฝนที่เป็นค่าเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 เกือบทุกเดือนเช่นกัน

เมื่อนำปริมาณฝนรายปีของปี พ.ศ.2554, ค่าเฉลี่ยของปริมาณฝนรายปีตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553, และปริมาณฝนรายปีของปี พ.ศ.2554 หารด้วยค่าเฉลี่ยของปริมาณฝนรายปีตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 ที่ตกในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนและแต่ละลุ่มน้ำ จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนรายปีของปี พ.ศ.2554 นั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในทุกลุ่มน้ำและในภาพรวม




โดยปริมาณฝนที่ตกพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนในปี พ.ศ.2554 นั้นมีปริมาณมากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 38 เปอร์เซ็นต์ (70,573 ล้านลูกบาศก์เมตร)

นอกจากนี้ เมื่อนำค่าเฉลี่ยของปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553, ปริมาณฝนรายเดือนของปี พ.ศ.2554 และปริมาณฝนรายเดือนของปี พ.ศ.2554 ลบด้วยค่าเฉลี่ยของปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนรายเดือนของปี พ.ศ.2554 สูงกว่าค่าเฉลี่ยในเกือบทุกเดือนสำหรับทุกลุ่มน้ำ และยังแสดงให้เห็นว่าฝนที่ตกบนกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนมีปริมาณที่สูง กว่าค่าเฉลี่ยมากในเดือนกันยายน

ในช่วงพฤษภาคมถึงเดือน ตุลาคมนั้น กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน มีปริมาณฝนมาก กระจายในบางพื้นที่ สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกนั้นมีฝนปริมาณมากตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึงเดือนกันยายน 2554


จากการศึกษาพบว่า ข้อมูลปริมาณฝนที่ตกลงบนพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน ปี พ.ศ.2554 ที่มีปริมาณสูงกว่าค่าเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 ทุกเดือน นั้น มิได้นำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ

ปริมาณน้ำเก็บกัก, ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ, ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำสะสม, ประมาณน้ำระบาย และปริมาณน้ำระบายสะสม ของเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แม่กวงอุดมธารา และกิ่วลม เมื่อพิจารณาการบริหารจัดการน้ำสำหรับเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และแม่กวงอุดมธาราแล้ว พบว่าไม่มีความสัมพันธ์และสมดุลกันของปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำกับปริมาณน้ำที่ระบายออก

เมื่อพิจารณาปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯสะสมและปริมาณน้ำ ระบายสะสมของเขื่อนภูมิพล จะเห็นได้ว่าขณะที่อัตราของปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯมีค่าเพิ่มขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม และวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ซึ่งควรจะได้ปรับอัตราการระบายน้ำออกให้มีความเหมาะสม

แต่กลับมีการลดอัตราการระบายน้ำในช่วงดังกล่าวและคงอัตราการระบายน้ำที่ต่ำไว้เป็นเวลานาน ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติ ทั้งๆ ที่จากข้อมูลฝนแสดงให้เห็นชัดเจนว่า พื้นที่ที่อยู่ใต้เขื่อนภูมิพลยังไม่มีปัญหาปริมาณน้ำที่มากเกินไป จนกระทั่งถึงปลายเดือนมิถุนายน

นอกจากนี้ ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนภูมิพลของปี พ.ศ.2554 นั้นมากกว่าปีอื่นๆ แต่ การระบายน้ำออกตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าปีอื่นๆ มาก

ในวันที่ 1 สิงหาคม 2554 เริ่มมีการเร่งการระบายน้ำออก ทั้งๆ ที่ในวันดังกล่าวปริมาตรเก็บกักของปี 2011 นั้นสูงกว่าปี พ.ศ.2551, 2552 และ 2553 ไปมาก และใกล้เคียงกับของปี พ.ศ.2549 และ 2550 (ปี พ.ศ.2549 นั้นมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน และสำหรับปี พ.ศ.2550 นั้นปริมาตรน้ำต้นปีมีค่าสูงมากต่อเนื่องมาจากปลายปี พ.ศ.2549)

หลังจากวันที่ 5 สิงหาคม 2554 แม้ว่าจะมีการเพิ่มอัตราปริมาณน้ำที่ระบายออกแต่ก็ยังถือว่าค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับอัตราปริมาณน้ำไหลเข้า จนกระทั่งวันที่ 30 กันยายน 2554 ที่มีการเร่งระบายน้ำออก แต่ทว่าไม่ทันการณ์เสียแล้ว เนื่องจากปริมาตรเก็บกักขณะนั้นสูงถึง 92.7 เปอร์เซ็นต์ของความจุของอ่างฯ

หลังจากนั้นเมื่อมีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ทำให้ปริมาตรเก็บกักเกือบเต็มความจุของอ่างฯ และไม่สามารถที่จะเก็บต่อไปได้อีก


สำหรับเขื่อนสิริกิติ์ ในปี พ.ศ.2554 มีการเพิ่มขึ้นของอัตราปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯอย่างชัดเจน 3 ครั้ง คือ วันที่ 19 มีนาคม, 6 พฤษภาคม และ 26 มิถุนายน แต่ทว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้มีการลดอัตราการระบายน้ำออกจากอ่างฯ

จะ เห็นได้ว่าปริมาตรเก็บกักตั้งแต่ 6 พฤษภาคม ของปี พ.ศ.2554 นั้นอยู่ในระดับที่กลางๆ เมื่อเทียบกับปีอื่นๆ ซึ่งควรจะมีการเพิ่มอัตราการระบายน้ำออกให้เหมาะสมกับอัตราการเพิ่มของ ปริมาณน้ำไหลเข้า แต่ทว่าการระบายน้ำในช่วงดังกล่าวมีระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ การเร่งระบายน้ำออกเป็นจำนวนมากตั้นแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไปนั้น ไม่ทันการณ์แล้ว

โดยในวันที่ 4 สิงหาคม 2554 มีปริมาตรน้ำเก็บกักสูง 83% ของความจุของอ่างเก็บน้ำ และในวันที่ 23 กันยายน 2554 มีปริมาตรน้ำเก็บกักสูงถึง 98% ของความจุของอ่างเก็บน้ำ

เขื่อนแม่กวงอุดมธารา ซึ่งมีปัญหาการระบายน้ำคล้ายคลึงกับของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ โดยจะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯค่อนข้างสูงมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นปี และในวันที่ 30 เมษายนน ปริมาตรเก็บกักอยู่สูงกว่าปีอื่นๆ (ยกเว้นของปี พ.ศ.2549 ซึ่งมีปริมาตรน้ำต้นปีสูงมาก) แต่ทว่าได้มีการลดอัตราการระบายน้ำประมาณวันที่ 25 เมษายน 2554 เป็นศูนย์และคงอยู่เช่นนั้นนานจนถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2554

หลังจากนั้นเมื่อมีการเพิ่มอัตราการไหลของน้ำลงอ่างฯในวันที่ 30 กรกฎาคม 2554 อัตราการระบายน้ำออกก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ หลังจากนั้นเพิ่งจะมาเร่งระบายน้ำออกในวันที่ 21 สิงหาคม 2554 ซึ่งปริมาตรเก็บกักนั้นอยู่สูงมากแล้ว โดยในวันที่ 28 สิงหาคม 2554 ปริมาตรเก็บกักสูงถึง 91 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าไม่ทันการณ์แล้ว

เขื่อนกิ่วลมซึ่งมีขนาดอ่างเก็บน้ำเล็กมากเมื่อเทียบกับเขื่อนภูมิพลและเขื่อน สิริกิติ์ จะเห็นได้ว่าปริมาตรเก็บกักน้ำของปี พ.ศ.2554 นั้นเท่าๆ กับของปีอื่นๆ ถึงแม้ว่าในปี พ.ศ.2554 จะมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯค่อนข้างมากกว่าปีอื่นๆ แต่ได้มีการปรับเพิ่มอัตราการระบายน้ำให้สอดคล้องกับอัตราการเพิ่มขึ้นของ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ทำให้สามารถรักษาปริมาตรน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำไว้ได้ในระดับที่เหมาะสม เท่าๆ กับกับปีอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน

จากปริมาณน้ำระบายสะสมของ เขื่อนภูมิพล พบว่าตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2554 มีการระบายน้ำออกทั้งสิ้น 3,097 ล้านลูกบาศก์เมตร และจากปริมาณน้ำระบายสะสมของเขื่อนสิริกิติ์ พบว่าในช่วงเวลาดังกล่าวมีการระบายน้ำออกทั้งสิ้น 4,177 ล้านลูกบาศก์เมตร

เมื่อรวมปริมาณน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนทั้งสองดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2554 รวมทั้งสิ้น 7,274 ล้านลูกบาศก์เมตร หากรวมปริมาณน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนอื่นๆ จะทำให้ปริมาณน้ำที่ระบายออกสูงมากกว่านี้

นอกจากนี้ ยังพบว่าปริมาณฝนที่ตกลงบนกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนในเดือนสิงหาคมถึง ตุลาคมของปี พ.ศ.2554 มีค่าสูงกว่าค่าปริมาณฝนเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 ในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ 27,790 ล้านลูกบาศก์เมตร

เมื่อคิดปริมาณน้ำที่ระบายออกจากทั้งสองเขื่อนมีปริมาณสูงถึง 26% ของปริมาณฝนในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมของปี พ.ศ.2554 ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย

ปริมาณฝน 27,790 ล้านลูกบาศก์เมตรดังกล่าวข้างต้น เป็นปริมาณฝนที่ตกลงบนพื้นที่ทั้งหมดของกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน ปริมาณฝนเหล่านี้ ส่วนหนึ่งตกลงบนเขื่อน บางส่วนซึมลงดิน บางส่วนตกลงบนแหล่งน้ำเช่น หนอง บึง หรือเกิดการระเหย และส่วนที่เหลือจึงจะไหลไปรวมที่แม่น้ำ

ปัญหาที่ซ้ำเติมให้เกิดวิกฤตน้ำท่วมอย่างรุนแรงก็คือ ปริมาณน้ำจำนวนมากกว่า 7,274 ล้านลูกบาศก์เมตรที่ระบายออกจากเขื่อนต่างๆ ไปยังแม่น้ำโดยตรง เช่นแม่น้ำปิง และแม่น้ำน่าน การระบายน้ำในลักษณะนี้ เสมือนหนึ่งเป็นช่องทางด่วนให้ปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลไหลลงพื้นที่ภาคกลางรวม ถึงกรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ที่เป็นอยู่ในขณะนี้

ในปี พ.ศ.2554 นี้ปริมาณฝนมากกว่าปกติถึง 38% (70,573 ล้านลูกบาศก์เมตร) โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนนั้น มีปริมาณที่สูงกว่าปกติมากที่สุดในเดือนกันยายน 2554

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลฝนและข้อมูลน้ำไหลเข้าและการระบายน้ำออกของเขื่อนที่สำคัญ จะเห็นได้ว่าการที่เขื่อนหลักๆ เก็บน้ำไว้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2554 และไม่ได้ระบายออกอย่างเหมาะสมในช่วงเวลาที่เหมาะสม ทำให้จำเป็นต้องระบายน้ำออกพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก

โดยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 25 ตุลาคม มีการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนอื่นๆ มากกว่า 7,274 ล้านลูกบาศก์เมตร ไปยังแม่น้ำสายสำคัญ เสมือนหนึ่งเป็นช่องทางด่วนให้ปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลไหลลงพื้นที่ภาคกลางรวม ถึงกรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้น ปริมาณฝนที่ตกลงบนกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมของ ปี พ.ศ.2554 มีค่าสูงกว่าค่าปริมาณฝนเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 ในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ 27,790 ล้านลูกบาศก์เมตร

เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน

การบริหารจัดการน้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เพิ่มความรุนแรงและขอบเขตพื้นที่ของวิกฤตน้ำท่วมของปีนี้

จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะดังนี้

1.ควรดำเนินการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำเป็นการเฉพาะ โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำโดยภาพรวมทั้งหมด การมีหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำกระจัดกระจายอยู่ หลายกระทรวง หลายสังกัด เป็นปัญหาในการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก กรณีตัวอย่างวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นเรื่องยากยิ่งที่จะบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2.ควรสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำและการบริหาร จัดการน้ำ เพื่อศึกษาข้อมูลฝนและข้อมูลทรัพยากรน้ำ เช่น จากดาวเทียม และข้อมูลจากแหล่งอื่น อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนบริหารจัดการน้ำและควรดำเนินการบริหารจัดการน้ำ อย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ

3.ควรตัดสินใจดำเนินการจัดทำเส้นทางระบายน้ำออกฉุกเฉินไว้เป็นการล่วงหน้า เพื่อรองรับกรณีปริมาณน้ำเต็มเขื่อน การดำเนินการตามข้อนี้ควรดำเนินการโดยทันที


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320149031&grpid=&catid=02&subcatid=0207

--------------------------------------------

น้ำท่วม...บริหารจัดการไม่เป็น

  • 15 ตุลาคม 2554 เวลา 10:43 น.
ไม่ใช่ภัยพิบัติลงโทษแต่...บริหารน้ำผิดพลาด
รุนแรงจนรัฐบาลต้องประกาศเป็น "วาระแห่งชาติ" ระดมความร่วมมือจากทุกสรรพกำลังมาร่วมแก้ปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศที่ จนถึงเวลานี้ 26 จังหวัด กำลังจมน้ำ ประชาชนกว่า 2.2 ล้านครัวเรือนกำลังเดือดร้อนอย่างหนัก

นอกจากบ้านเรือน พื้นที่การเกษตรที่เสียหายไปแล้วกว่า 9.6 ล้านไร่ มวลน้ำก้อนมหึมายังรุกคืบสร้างความเสียหายต่อเนื่องฝ่าปราการป้องกันเบื้อง ต้นรุกล้ำไปยังนิคมอุตสาหกรรม จนมูลค่าความเสียหายพุ่งสูงหลายแสนล้านบาท ยังไม่รวมยอดผู้เสียชีวิตที่สูงถึง 281 ราย

แสดงตัวอย่าง
ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก


ดร.สมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะผู้คร่ำหวอดในแวดวงอุตุนิยมวิทยา มายาวนาน ฟันธงว่าวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ไม่ใช่เป็นผลพวงจาก "ภัยพิบัติ" แต่เป็นเรื่องการบริหารจัดการน้ำไม่เป็น!!!

"คือไม่สามารถจะบริหารน้ำได้ ไม่มีการติดตามข้อมูลตั้งแต่ต้นฤดูฝนว่าจะตกเยอะไหม ควรเก็บน้ำในเขื่อนไว้เท่าไหร่ ปรากฏว่าทุกคนเก็บน้ำไว้ในเขื่อนใหญ่หมด ทั้งกรมชลประทาน การไฟฟ้าฯ ซึ่งกลัวว่าจะไม่มีน้ำใช้ในหน้าแล้งซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ผิด

...ถ้าฝนตกต่อเนื่องทั้งกลางฤดู ปลายฤดู ยังตกอยู่ ปริมาณช่องว่างน้ำในเขื่อนจะไม่สามารถเก็บน้ำฝนกลางฤดูได้ ตอนนี้เขื่อนใหญ่เต็มหมดแล้วปัญหาคือ เมื่อเขื่อนใหญ่เต็มหมดแล้ว ก็ปล่อยน้ำในเขื่อนออกมาพร้อมกัน ปริมาณน้ำที่ปล่อยมามากกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกใส่เขื่อน"

ดร.สมิทธ อธิบายว่า การปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่ทั้ง เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ทำให้น้ำมารวมตัวในภาคกลางตอนบนไล่มาตอนล่าง ขณะที่ภาคกลางก็มีน้ำฝนที่ตกมาอยู่ท้ายเขื่อนอยู่ในที่ลุ่มอยู่แล้ว ดังนั้นน้ำในขณะนี้จึงมหาศาลมาก หลายคนบอกน้ำปล่อยมานิดเดียวแต่เพราะน้ำมีอยู่แล้วในที่ลุ่ม ในนา เมื่อปล่อยมาพร้อมกันปริมาณน้ำจึงมาก ทำให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมพร้อมกัน ตั้งแต่ จ.นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา

"เป็นวิกฤตบริหารน้ำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่มีการวางแผนไว้ก่อน อันที่จริงเราควรเก็บน้ำไว้ครึ่งหนึ่ง และถ้ามีฝนกลางฤดูที่แล้วก็สามารถเก็บน้ำไว้อีกได้"


ทั้งนี้ ที่ผ่านมานักวิชาการหลายคนบอกว่าน้ำไม่เคยสูงเช่นนี้ บางคนบอกน้ำเยอะแต่ไม่เคยท่วม ทุกคนต่างคนต่างมีข้อมูลของตัวเอง แต่ขณะนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาเถียงกันเรื่องข้อมูล เพราะข้อมูลที่แท้จริงกรมอุตุนิยมวิทยามีอยู่แล้ว เรามีสถานีวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน กว่า 200 แห่งที่วัดปริมาณฝนได้

สำหรับแนวทางการแก้ไขในเวลานี้ ดร.สมิทธเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องหยุดปล่อยน้ำจากเขื่อนเพราะช่วงนี้ไม่มีปริมาณน้ำฝนที่จะตก เข้าเขื่อนแล้วทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนนี้3 เขื่อนใหญ่ก็จะไม่มีน้ำเข้าแล้ว ดังนั้นถ้าเรายังปล่อยน้ำมหาศาลซ้ำเติมระบบน้ำท่วมที่อยู่ในภาคกลาง น้ำจะท่วมหมด

"ความเสียหายเป็นแสนล้านบาท ประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดูแลปัญหาเกี่ยวกับน้ำภายใต้สังกัดกระทรวงต่างๆ กว่า 20 หน่วยงาน แต่เราไม่มีดาตาเบส ต่างฝ่ายต่างทำไม่เอาข้อมูลมาแชร์กัน จึงทำให้ขาดผลวิเคราะห์ในการตัดสินใจ

...การบริหารน้ำถ้าไม่มีการประสานงานกันทั้งกรมอุตุฯ กรมชลฯ การไฟฟ้าฯ ว่าควรจะเก็บหรือปล่อยน้ำแค่ไหนมันก็ไม่มีฐานข้อมูลที่นำมาคำนวณปริมาณน้ำ ว่าควรจะปล่อยหรือพร่องน้ำในระดับใดจึงจะทำให้พื้นที่ไม่เดือดร้อน"


นอกจากนี้ ต้องยอมรับว่าการไม่มีเอกภาพในการทำงาน การที่นักวิชาการทะเลาะกันเอง ไม่มีความรู้อย่างแท้จริงนำไปเสนอรัฐบาล จึงทำให้ระบบรวนทั้งหมด สุดท้ายก็นำไปสู่ปัญหาอุทกภัยทั้งๆ ที่น้ำมวลใหญ่ที่ปล่อยออกมาจากเขื่อนใหญ่ๆนั้นบริหารจัดการได้

"ฝนปีนี้อาจจะมากกว่าปีที่แล้ว แต่การบริหารน้ำที่เราเก็บไว้มากไป แล้วปล่อยมาทีเดียว ไม่ปล่อยให้น้ำไหลไปตามธรรมชาติ หากปล่อยมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นฤดูตามธรรมชาติ กลางฤดูพอฝนตกก็เก็บบ้างปล่อยบ้างปลายฤดูก็ไม่จำเป็นต้องปล่อยทีเดียวเยอะๆ น้ำก็จะไม่ท่วม ถ้าเราไม่ปล่อยน้ำก้อนใหญ่จากเขื่อน 3 แห่ง รับรองว่าน้ำไม่ท่วม กทม.ปริมณฑล พระนครศรีอยุธยา และอีกหลายจังหวัดอย่างที่เห็นกันอยู่"

มาตรการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าเวลานี้ ดร.สมิทธ มองว่า อันดับแรกเขื่อนใหญ่ควรหยุดปล่อยน้ำและหาทางระบายน้ำที่อยู่ในแม่น้ำใหญ่ๆ ทั้งแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกงให้ลงทะเลเร็วที่สุด ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณปากแม่น้ำทั้งสามสาย เพราะช่วงนี้น้ำทะเลหนุนสูง น้ำเหนือไหลมาสมทบจะทำให้น้ำนิ่ง ไหลช้าลง ก็ต้องเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลก็จะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม กทม.ได้

"แต่เพราะหลายเขื่อนยังปล่อยมาหลาย100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่แม่น้ำต่างๆระบายต่อวันได้ไม่ถึง 50 ล้านลูกบาศก์เมตรทุกเขื่อนพร้อมใจกันปล่อย มันก็มารวมกันที่ภาคกลาง เหมือนเราเทน้ำลงมาพร้อมกัน น้ำที่เต็มแก้วเมื่อเติมไปอีกมันก็ล้น

...เรื่องนี้ไม่ใช่ภัยพิบัติลงโทษ แต่เป็นเพราะการบริหารน้ำที่ผิดพลาด หากเราบริหารไม่ดีท่วมแน่ ถ้าไม่รู้จักเก็บน้ำในเขื่อนไว้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การบริหารในเขื่อนเล็กๆแต่ละเขื่อนไม่สามารถระบายออกทะเลได้รวด เร็วพอ มันก็เอ่อในที่ลุ่มภาคกลาง"

ประเมินมาตรการแก้ ปัญหาของรัฐบาลที่ออกมาถูกทางหรือไม่นั้น ดร.สมิทธ มองว่าจริงๆ รัฐบาลควรตั้งศูนย์เฉพาะกิจแต่แรกเพราะการบริหารภัยพิบัติใหญ่ๆ ต้องตั้งศูนย์เฉพาะ ต้องมีผู้บริหารใหญ่และผู้ควบคุมศูนย์คนเดียว จะเป็น พล.ต.อ.ประชา พรหมนอกหรือนายกรัฐมนตรี ก็ได้ แต่ต้องตัดสินใจคนเดียว ทว่าตั้งช้าไปหน่อย แม้ตอนนี้จะเริ่มมีการตัดสินใจเดินหน้าแก้ไขหลายเรื่องแล้วแต่มาเริ่มตอน วิกฤตน้ำใกล้ท่วม กทม.ที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจและมีประชาชนอยู่มาก ทำให้ผลกระทบเยอะ

ส่วนความตื่นตระหนกของชาวบ้านที่ไม่มั่น ใจสถานการณ์ และแก้ปัญหาด้วยการสร้างพนังกั้นน้ำหน้าบ้านตนเองจนวัตถุดิบขาดตลาดนั้น ดร.สมิทธ เห็นว่าอาจไม่ถูกต้องตามวิธีการ เพราะเป็นการสร้างที่ไม่มีหลักวิชาการการเอาดินวาง เอากระสอบทรายมาวาง มันสู้แรงดันน้ำไม่ได้

ทั้งนี้น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร หนักถึง 1 ตันถ้าสร้างเขื่อนสูง 2 เมตร แสดงว่ามีแรงดันน้ำถึง 2 ตัน ดังนั้นหากเขื่อนสร้างไม่แข็งแรงน้ำจะซึม กระสอบทรายไม่หนักพอก็ทลาย น้ำก็จะไหลอย่างรวดเร็วและแรงจนเอาไม่อยู่

ดร.สมิทธ อธิบายถึงแนวคิดที่ในอดีตเคยเสนอให้ตั้ง "กระทรวงน้ำ" ขึ้นมารับผิดชอบดูแลเรื่องนี้โดยตรง ว่าเป็นเพียงข้อเสนอของนักการเมืองที่จะทำให้มีตำแหน่งทางการเมืองเพิ่มขึ้น ทั้งรัฐมนตรี ที่ปรึกษาและข้าราชการการเมือง เป็นการสร้างตำแหน่งเปล่าๆ

"ผมว่าทำอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็เหมาะสมแล้ว คือการตั้งศูนย์เฉพาะแล้วรวมเอานักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญด้านน้ำมารวมกัน แต่ว่าการบริหารต้องการคนที่รู้เรื่องมาคุยกัน อย่าให้มานั่งเถียงกัน และการตัดสินใจก็ให้นายกฯ เป็นผู้ชี้ขาด"


เขื่อนใหญ่ต้องหยุดปล่อยน้ำ

ยังต้องลุ้นระทึกกับมวลน้ำก้อนใหญ่ ที่คาดว่าจะถึง กทม.ในวันสองวันนี้ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ยังอดเป็นห่วงฝีมือ กทม. กับการผันน้ำ กทม. หากเกิดน้ำทะลักเข้าพื้นที่เข้ามาจริงๆ

"ผมไม่เชื่อฝีมือ กทม. เพราะไม่เคยศึกษาหรือไปดูเขื่อน เช่น เขื่อน จ.ปทุมธานี ที่เพิ่งแตกไป กทม.ก็ไม่ดูแลบอกว่าท้องถิ่นสร้างขึ้นเอง ทั้งที่จริงแล้ว กทม.ควรมีหน้าที่ไปดูแลพื้นที่ด้วย เพราะน้ำที่จะแตกจากปทุมฯ จะเข้า กทม.กทม.อยู่ติดจังหวัดต้นน้ำ ถ้าเถียงกันอย่างนี้ กทม.จมแน่"

ทั้งนี้ ไม่แน่ใจว่าเขื่อนรอบๆ กทม.จะมีความแข็งแรงพอหรือไม่ เพราะเขื่อนกั้นน้ำของ กทม.มีทั้งเขื่อนดินและเขื่อนคอนกรีต กระสอบทรายโดยเฉพาะในพื้นที่รอบนอก ทาง อบต. และอบจ. จะเป็นคนดูแล โดยใช้ผู้รับเหมาก่อสร้าง ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ อาจทำให้มีปัญหาเรื่องความแข็งแรง

"อันนี้ถือเป็นจุดอ่อน จะทำให้เกิดวิกฤตน้ำในกทม.ได้ ขณะนี้น้ำล็อตใหญ่ที่มาจากเขื่อนภูมิพลสิริกิติ์ ป่าสักชลสิทธิ์ กำลังผ่านเข้ามาใน 3-4 จังหวัดที่ท่วมอยู่แล้ว กทม.จึงต้องระวังเพราะเป็นช่วงน้ำทะเลหนุน ตอนนี้ดูแล้ว กทม.คงรอดยาก"

ดร.สมิทธ ประเมินว่า วิธีการแก้ไขให้ได้ผลเร็วคือ ต้องหยุดปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่ จากนั้นตั้งเครื่องสูบน้ำที่ปลายแม่น้ำที่จะลงสู่ทะเลให้มากที่สุดเพื่อสูบ น้ำออกปากอ่าว นี่คือวิธีเดียวที่จะระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

"การเอาเรือไปดันน้ำจะดันได้เฉพาะผิวน้ำเท่านั้น ไม่สามารถดันน้ำที่อยู่ลึกไปข้างล่างได้พระราชดำรัสของในหลวงเรื่องการสร้าง คลองลัดโพธิ์ การที่เป็นคลองแคบจะทำให้การดันน้ำไหลออกจากคลองได้เร็ว แต่ถ้าเอาเรือหลายลำไปผูกแล้วดันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่กว้าง เป็นการเสียน้ำมันเปล่า เพราะดันได้แค่ผิวน้ำเท่านั้นเรื่องนี้ต้องคิดต้องรู้ลักษณะของน้ำ ดังนั้นที่ถูกต้องคือการตั้งระบบสูบน้ำที่ปลายคลองหรือปลายแม่น้ำออกสู่ทะเล เลย"

สำหรับแนวคิดที่ กทม.ลงทุนทำอุโมงค์ยักษ์มีการระบายน้ำจากที่ลุ่มของกทม. เช่น รามคำแหงหนองจอก แทนที่จะระบายออกอ่าวไทย แต่กลับเอามาออกที่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งไม่ช่วยอะไรเลยเพราะจะทำให้เจ้าพระยาล้นตลิ่งอีก หมุนเวียนถ้าจะลงทุนให้มากหน่อย วางท่อให้ยาวแล้วไปลงที่อ่าวไทยจะดีกว่า และทำให้ กทม.ปลอดภัยจากน้ำท่วมด้วย ไม่รู้ทำไมถึงคิดกันแค่นี้ เห็นว่าผู้ว่าฯกทม.จะทำอีกหลายอุโมงค์แต่ไม่รู้จะไปออกที่ไหน

ดร.สมิทธ ประเมินถึงสถานการณ์พายุบันยันที่วิเคราะห์แล้วเชื่อว่าไม่เข้าไทย แต่การที่นักวิชาการไม่มีความรู้แล้วไปให้ข้อมูลกับ ศปภ.และนายกฯ ว่าพายุจะสร้างผลกระทบต่อประเทศทำให้เกิดความตื่นกลัวกันหมด คนไม่รู้มาพูดทำให้ตกใจและประเมินพลาด

"พายุลูกนี้จะเข้า ที่อ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีนจากนั้นก็จะไปเวียดนามเข้ามาทางเหนือบ้านเราก็จะทำให้มีฝนตกนิด หน่อยที่เชียงใหม่ เชียงรายจากนั้นจะทำให้อากาศหนาวเย็นลง ผมอยากขอให้คนที่ไม่มีความรู้เรื่องอุตุนิยมวิทยา หรืออุทกวิทยา หยุดให้ข้อมูล เพราะจะให้เกิดความตระหนก แตกตื่นกันไปหมด"

ดร.สมิทธ วิเคราะห์ต่อไปว่า หลังจากนี้ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน จะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วหากมีพายุเข้ามาจะไม่ส่งผลให้มีฝนตก หรือถ้าตกก็จะไม่มาก สิ่งที่กรมอุตุฯ และรัฐบาลต้องระวังต่อไป คือ ร่องลมมรสุมที่จะเลื่อนจากภาคกลางตอนล่างไปยังตอนใต้ ผ่านสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ซึ่งปีที่แล้วช่วงเดือนเดียวกันก็มีพายุดีเปรสชันก่อตัวทางทะเลจีนตอนล่าง พัดเข้าสู่อ่าวไทย คลื่นลมที่พัดมาจะทำให้เกิดคลื่นพายุหมุนซัดชายฝั่ง(สตอร์ม เซิร์จ) สูง 4-5 เมตร และจะส่งผลกระทบให้ภาคใต้ เช่น ปัตตานี ยะลา

ดังนั้น ข้อมูลในการเตือนภัยพิบัติของกรมอุตุฯ จะต้องแม่น และหากสภาวะลมแรงจะทำให้สตอร์ม เซิร์จ สูงถึง 5-6 เมตร ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณแนวฝั่งและรัฐบาลต้องเตือน ให้เขาอพยพไปอยู่ในจุดที่ปลอดภัย


http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/รายงานพิเศษ/116413/น้ำท่วม-บริหารจัดการไม่เป็น


------------------------------------------

วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 15:11:53 น.

สื่อต่างชาติตีข่าวน้ำท่วมใหญ่ในไทยสาเหตุเรดาร์พยากรณ์อากาศ"ล้าสมัย"!!พยากรณ์พายุฝนล้มเหลว

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก นำเสนอข่าวสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยโดยอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์จากรอง อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาที่ระบุว่าสาเหตุหนึ่งของสถานการณ์น้ำท่วมมากครั้ง นี้มาจากอุปกรณ์เรด้าร์พยากรณ์อากาศที่ล้าสมัยทำให้ไม่สามารถพยากรณ์ความ รุนแรงของพายุฝนหรือคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำได้ โดยบลูมเบิร์กยังระบุว่า มีการระบุว่าผู้รับผิดชอบละเลยที่จะปรับปรุงระบบเรด้าร์ตามการร้องขอจัดซื้อ ซึ่งนี่อาจส่งผลกระทบต่อน้ำท่วม

"งบประมาณที่กรมอุตุฯ เสนอให้ปรับปรุงระบบเรดาร์ใช้งบฯราว 4,000 ล้านบาท โดยยกเครื่องระบบเรดาร์และระบบการจำลองแบบพยากรณ์อากาศซึ่งถูกเสนอต่อหน่วย งานรับผิดชอบตั้งแต่ พ.ศ.2552"นายสมชาย ใบม่วงรองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ซึ่งเขาระบุด้วยว่าอุปกรณ์ใหม่จะช่วยให้การพยากรณ์แม่นยำขึ้นในช่วงฤดูฝน รวมทั้งสามารถให้ข้อมูลนี้กับฝ่ายรับผิดชอบเขื่อนเพื่อให้วิเคราะห์ความจำ เป็นในการพิจารณาการปรับระดับน้ำในเขื่อน

"ถ้าเรา(กรม อุตุฯ)ได้ระบบใหม่นี้ มันจะช่วยผู้คนได้"นายสมชายกล่าว "ไม่มีใครคาดคิดว่าฝนที่ตกลงมาจะมากขนาดนี้ ณ เวลานี้ระบบของเรารวมถึงฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ล้าสมัย"

ความยากลำบากในการบริหารจัดการน้ำจำนวนมากจากมรสุมพายุฝนส่งผลกระทบต่อ ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะน้ำท่วมครั้งนี้ส่งผลทั้งกับบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ,โซนี่ ที่ต้องปิดโรงงาน นอกจากนี้น้ำท่วมยังสร้างความเสียหายราวร้อยละ 13 ของนาข้าวในประเทศไทยที่เป็นประเทศผู้ส่งออกใหญ่สุดของโลก

ทั้งนี้ยังมีการรายงานสถานการณ์เขื่อนขนาดใหญ่ของประเทศ อาทิ เขื่อนภูมิพลที่สะสมน้ำจำนวนมากจนถึงเดือนสิงหาคมเพื่อใช้ในเกษตรกรรมช่วง ฤดูแล้ง
"เราเคยได้รับการเตือนว่าจะมีปริมาณฝนเพิ่มมากในปี นี้ แต่ไม่ได้คาดคิดว่ามันจะมหาศาล"นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพลกล่าว และว่า "เราได้พิจารณาและคำนึงในการปล่อยน้ำจำนวนหนึ่งออกโดยดูทั้งสภาพอากาศและน้ำ ท่วมตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมเพื่อไม่ให้สถานการณ์น้ำท่วมเลวร้ายลง"
ทั้ง นี้ข้อมูลจากกรมชลประทานระบุว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม เขื่อนภูมิพลได้ปล่อยน้ำออกเฉลี่ย 4.5 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ขณะที่ระดับน้ำในเขื่อนเองก็ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 63 หรือมากกว่าความจุ 2 เท่าของจำนวนน้ำที่เก็บไว้ในเขื่อนช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การปล่อยน้ำที่เพิ่มขึ้นอีก 22 ล้านลบ.ม.ต่อวันในเดือนสิงหาคม และ 26 ล้านลบ.ม.ต่อวันในเดือนกันยายน กระทั่งตั้งแต่วันที่ 1 -14 ตุลาคมที่ผ่านมาที่มีสถานการณ์น้ำท่วมก็ยังมีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนต่อ เนื่องในแต่ละวัน โดยรวมเป็นการปล่อยน้ำที่มากกว่าช่วงเดียวกัน(มิถุนายน-กรกฎาคม)ของปีก่อน ถึง 17 เท่า

ขณะที่ในเขื่อนสิริกิต์ "ถ้าน้ำถูกปล่อยออกจากเขื่อนในทางที่เหมาะสม น้ำท่วมจะรุนแรงน้อยลง" ศ.ดร.สุภัทท์ วงศ์วิเศษสมใจ ผู้เชียวชาญเรื่องน้ำและสิ่งแวดล้อม บริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัดกล่าว "พวกเขาแค่เก็บน้ำให้มากเพื่อพอให้ใช้ในช่วงฝนแล้งเหมือนกับปีก่อนๆ"

ด้าน นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักอุทกวิทยา และบริการน้ำกรมชลประทาน กล่าวว่า การปล่อยน้ำจากเขื่อนลดลงตั้งแต่เดือนเมษายน เพราะพื้นที่เกษตรกรรมบางแห่งถูกน้ำท่วมไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งน้ำในเขื่อนเต็มเพราะปริมาณน้ำฝนในภาคเหนือมีจำนวนมากทะลุสถิติในปีนี้ และไม่จริงที่ว่าเราลดการปล่อยน้ำ(จากเขื่อน)เพราะห่วงเรื่องภัยแล้ง คนที่พูดแค่ต้องการหาแพะรับบาป

ทั้งนี้สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า สถานการณ์พายุหนักเป็นปัญหาหนึ่งต่อน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ จากพายุโซนร้อน 5 ลูก ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีประมาณ ร้อยละ 25 เฉลี่ยมากขึ้นในรอบ 30 ปี จากข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยา อ่างเก็บน้ำใหญ่ของประเทศต้องรับน้ำมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 68

"ถ้าพวกเขารู้แน่นอนว่าฝนจะมาก่อนหน้า บางทีก็อาจจะปล่อยน้ำ(จากเขื่อน)เพิ่มขึ้นอีกนิด"นายชัยวัฒน์ ปรีชาวิทย์ อดีตรองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวและว่า "กรมอุตุฯจะได้สามารถบอกได้ว่าจะมีฝนตกในปีนี้มากกว่าทุกปี แต่เขาไม่สามารถพยากรณ์พายุที่จะเข้าสู่ประเทศไทยและฝนที่จะตกหนักได้"อดีต รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าว

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1318839928&grpid=09&catid=&subcatid=

---------------------------------------------


วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 09:12

กฟผ.แจง5ปมสงสัยยัน'เขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์'ไม่ใช่ต้นเหตุน้ำท่วม




























































ภาพประกอบข่าว


กฟผ.ชี้ 5 ปมข้อสงสัย"การระบายน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์" พายุหลายลูก เกิดข้อจำกัดยันการระบายน้ำของสองเขื่อนไม่ใช่สาเหตุน้ำท่วม

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้ตอบข้อสงสัย 5 ข้อ ของกระแสสังคมบางส่วน ต่อการบริหารน้ำในเขื่อน โดยเฉพาะสองเขื่อนใหญ่ "เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์"


ข้อเท็จจริง เรื่อง การระบายน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์

1. การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ.ทำอย่างไร



เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ทุกเขื่อนเป็นเขื่อนเอนกประสงค์ มีหน้าที่กักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรมและการบรรเทาอุทกภัยเป็นหลัก ส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้จากการปล่อยน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามปริมาณ เพื่อการใช้ประโยชน์ที่กล่าวข้างต้น

ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ. ตามหลักการจะควบคุมให้ระดับน้ำ อยู่ในกรอบของ “เกณฑ์ ควบคุมระดับน้ำ” (Rule Curve) ซึ่งมีอยู่ 2 เกณฑ์ คือ “เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง” (Lower Rule Curve) และ “เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน” (Upper Rule Curve) โดยในการจัดทำเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำนั้น ได้นำปัจจัยและข้อมูลของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำและความต้องการใช้น้ำ ของพื้นที่ท้ายเขื่อนในรอบกว่า 30 ปีมาประกอบการจัดทำ ทั้งนี้ยังได้ทำการปรับปรุงตามสภาวการณ์เป็นระยะๆ
• เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง(Lower Rule Curve) จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้ต่ำกว่าระดับนี้ จะมีความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนน้ำในปีหน้า
• เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัว บน(Upper Rule Curve) จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้สูงกว่าระดับนี้จะมีความเสี่ยงเรื่อง น้ำล้นเขื่อนจนอาจต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (Spillway)
ในสภาวการณ์ปกติ เขื่อนจะควบคุมไม่ให้ระดับน้ำต่ำกว่า เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่างในช่วงฤดูแล้ง และช่วงฤดูฝน เขื่อนก็จะพยายามระบายน้ำเพื่อไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัว บน ดังนั้นเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำจึงเปรียบเสมือนเกณฑ์ที่คอยควบคุมระดับน้ำใน เขื่อนให้มีปริมาณน้ำเก็บกักที่เหมาะสมตามสภาวการณ์ของปริมาณน้ำทั้งเหนือ เขื่อนและสภาพน้ำในลุ่มน้ำท้ายเขื่อน เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี

สำหรับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการ ติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ที่มีอธิบดีกรมชลประทานเป็นประธาน และอีก 8 หน่วยงานร่วมเป็นกรรมการ ประกอบด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ สำนักการระบายน้ำ กทม. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ(สำนักงาน กปร.) และ กฟผ. โดยคณะอนุกรรมการฯ จะติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและร่วมกันพิจารณาปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่ จะต้องระบายออกจากเขื่อนทุกสัปดาห์หรือทุกวัน ซึ่ง กฟผ.ก็ได้ปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการฯ มาโดยตลอด

2. ทำไมเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์จึงไม่ระบายน้ำออกมาก่อนในช่วงต้นฤดูฝนปีนี้

ช่วงต้นฤดูฝนปีนี้ ณ วันที่ 1 พ.ค. เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำเก็บกัก 6,076 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 45.1 ของความจุ เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเก็บกัก 4,784 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 50.3 ของความจุ ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ (Rule Curve) ที่ใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนแล้วถือว่าอยู่ใน เกณฑ์ที่ต่ำมาก ซึ่งตามแนวปฏิบัติของการบริหารจัดการน้ำตามสถิติข้อมูลที่ใช้อ้างอิง จะต้องเก็บกักน้ำไว้ เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี ดังนั้นปริมาณน้ำที่ระบายน้ำออกจากเขื่อนในช่วงนี้จึงเป็นไปตามความต้องการ ใช้เพื่อการเกษตรกรรมและสาธารณูปโภคเป็นหลัก

ต่อมามีพายุเข้ามาหลายลูกได้แก่ “ไหหม่า” (ปลาย มิ.ย.-ก.ค.) “นกเตน”(ปลาย ก.ค.-ส.ค.) พายุโซนร้อน “ไหถ่าง” และ “เนสาด” (เดือน ก.ย.) และ “นาลแก” (เดือน ต.ค.)
ทำให้มีฝนตกทั้งบริเวณเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนรวมทั้งพื้นที่ในภาคกลาง เกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง นอกจากนั้นในลุ่มน้ำวังและลุ่มน้ำยมไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่รองรับน้ำ ดังนั้นแม้จะพยายามระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ก็มีข้อจำกัด ในการระมัดระวังผลกระทบต่อพื้นที่น้ำท่วมท้ายเขื่อน

3. ทำไมเขื่อนต้องระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น (Spillway) เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปล่อยน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า



ในปีนี้เขื่อนภูมิพลมีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 5 – 13 ต.ค. และ 18 – 20 ต.ค. ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 25 ส.ค. – 11 ก.ย. 2554

การที่ทั้ง 2 เขื่อนจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นผ่านประตูระบายน้ำล้น นอกเหนือจากการระบายน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากขณะนั้นมีปริมาณน้ำใกล้เต็มความจุของอ่างเก็บน้ำ และจากการติดตามข้อมูลปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ ยังมีแนวโน้มที่มีปริมาณสูงอยู่ จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกเพิ่มมากขึ้น เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับเก็บกักน้ำเกินความจุของอ่าง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ ทั้งนี้ในระหว่างการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ก็ได้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ อย่างใกล้ชิด เมื่อพบว่ามีแนวโน้มลดลงก็ให้ลดปริมาณการระบายน้ำ จนปัจจุบันไม่มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้นจากเขื่อนทั้งสอง


4. เขื่อนต้องการเก็บน้ำไว้มากเพื่อประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไม่


การผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการบริหาร จัดการน้ำในเขื่อน แต่เป็นผลพลอยได้จากการระบายน้ำตามความต้องการใช้น้ำเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ เช่น การอุปโภค บริโภค การเกษตรกรรม รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัย ซึ่งการบริหารจัดการเรื่องปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออก ในช่วงเวลาใดๆ ในรอบปี อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้ม สถานการณ์น้ำ ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อพิจารณาตัดสินใจบริหารน้ำร่วมกันอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้การเก็บกักน้ำไว้เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดผล ประโยชน์ในเรื่องรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อ กฟผ. แต่ประการใด ทั้งนี้เนื่องจากในระบบโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบัน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำหนดให้ กฟผ.ได้รับอัตราค่าไฟฟ้าในรูปแบบ “ผลตอบแทนเงินลงทุน” (ROIC) จึงไม่มีแรงจูงใจให้ กฟผ.จะต้องเก็บกักน้ำไว้ในปริมาณมากๆ แต่อย่างใด ดังนั้น ปัจจุบันการระบายน้ำจากเขื่อนจึงเป็นไปตามความจำเป็นทางด้านเกษตรกรรม การบรรเทาอุทกภัย และสาธารณูปโภคเป็นหลัก


5. ปัจจุบันเขื่อนลดปริมาณการปล่อยน้ำลงแล้ว แต่ทำไมน้ำยังท่วมอยู่


ปัจจุบัน(29 ต.ค. 54) เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำออกรวมกันวันละ 53 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์เพียงประมาณ 610 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือคิดเป็นร้อยละ 16.7 ของมวลน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ราว 3,650 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นการระบายน้ำจากทั้งสองเขื่อนจึงไม่ใช่สาเหตุหลักของปัญหาน้ำท่วม ซึ่งน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์มาจากแม่น้ำหลัก 4 สาย คือ ปิง วัง ยม และน่าน ขณะที่มีเขื่อนขนาดใหญ่กั้นอยู่เพียง 2 สาย คือ แม่น้ำปิงและน่าน ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจึงมาจากแม่น้ำยมและวัง รวมทั้งน้ำที่ค้างอยู่ตามทุ่งไหลลงมา ซึ่งมีปริมาณรวมถึงร้อยละ 83.3 ของน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลสู่กรุงเทพฯและปริมณฑลไปรวมกับมวลน้ำที่ยังค้างอยู่ตามไร่นา จากสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ภาคกลาง ตั้งแต่ช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. ทำให้มวลน้ำที่หลากเข้าสู่กรุงเทพฯ ยังคงมีปริมาณมาก

นอกจากนี้แล้ว เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ยังช่วยเก็บกักน้ำปริมาณจำนวนมากไว้ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. เพื่อบรรเทาสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งแม้ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั้งสองเขื่อนมากถึง 10,940 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีการระบายน้ำออกรวมกันเพียง 4,915 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยได้เก็บกักน้ำไว้รวมทั้งสิ้น 6,025 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากปริมาณน้ำจำนวนนี้ไม่ได้ถูกเก็บกักไว้ในเขื่อนทั้งสอง จะส่งผลกระทบต่อภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางมากขึ้น
อย่างไรก็ดี มวลน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนทั้งสองจะใช้เวลาเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงไม่ส่งผลต่อมวลน้ำก้อนใหญ่ที่โอบล้อมกรุงเทพฯอยู่ขณะนี้ ประกอบกับน้ำจากพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนบนก็กำลังมีปริมาณที่ลดลงเป็นลำดับ

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20111103/417180/กฟผ.แจง5ปมสงสัยยันเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ไม่ใช่ต้นเหตุน้ำท่วม.html

---------------------------------------------

กทม.มั่นใจอุโมงค์ยักษ์ป้องกันน้ำท่วมกรุง


กทม.มั่นใจอุโมงค์ยักษ์ป้องกันน้ำท่วมกรุง (ไอเอ็นเอ็น)

ผอ.สำนักการระบายน้ำ กทม. เผย มั่นใจ อุโมงค์ยักษ์ พระรามเก้า ป้องกันน้ำท่วม กทม.ได้แน่

นาย สัญญา ชีนีมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ได้รับการประสานจากกรมชลประทานในการเร่งระบายน้ำเหนือ ลงมายังพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันออก โดยปริมาณน้ำจะเข้าระบบไหลผ่าน เข้ามายัง คลองประเวศ คลองแสนแสบ และคลองลำบึงขวาง ผ่านอุโมงค์ยักษ์ พระรามเก้า-รามคำแหง ส่วนพื้นที่ชั้นในของ กทม. น้ำจะไหลผ่านคลองผดุงกรุงเกษม ขณะที่ กทม.ฝั่งตะวันตก จะผ่านคลองทวีวัฒนา เพื่อเร่งระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้ กทม.พร้อมจะช่วยเร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยเร็วที่สุด โดย สถานีสูบน้ำพระโขนง ได้เร่งสูบน้ำออกอย่างเต็มที่ในปริมาณ 20 - 30 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน จากเดิมที่ระบายน้ำ 10 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งช่วยระบายน้ำ ประมาณ 80 - 90 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณน้ำที่ผ่าน กทม.แต่ละวัน

นาย สัญญา กล่าวต่อว่า ที่สำคัญ กทม. ยังมีอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ ที่ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว โดยเฉพาะที่ อุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า-รามคำแหง ซึ่งมีการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจ จะเกิดขึ้น แต่หากมีปริมาณฝนตกลงมาเพิ่มเติม กทม.จะมีการประเมินสถานการณ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเร่งระบายน้ำให้มากขึ้น ทั้งนี้ กทม.ได้ทำทุกอย่างดีที่สุดแล้ว ในการเร่งระบายน้ำ และไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะ กทม. มีอุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า-รามคำแหง ช่วยเร่งระบายน้ำได้เป็นอย่างดี




ระดับเจ้าพระยาสูงขึ้นทำเกาะเกร็ดท่วม

ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ จ. นนทบุรี เพิ่มสูง ส่งผลให้ สวนทุเรียนพันธุ์ก้านยาว ราคาลูกละ 6-7 พันบาท จมบาดาล สูญกว่า 2 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวนนทบุรี ได้รับแจ้งว่า ระดับ น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ท่วมสูงกว่าทุกวันที่ผ่านมา จนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเกาะเกร็ดต่างได้รับความเดือนร้อน อีกทั้งสวนทุเรียนและสวนผลไม้ต่าง ๆ ล้วนถูกน้ำท่วมจนยืนเฉาตายคาต้น โดยเฉพาะที่สวนของนายฉโลม โคมคาย อายุ 66 ปี อยู่บ้านเลขที 57 ม.4 ต.เกราะเกร็ด โดยนายฉโลม ใช้เนื้อที่จำนวน 5 ไร่ ปลูกทุเรียน มะปราง มังคุดมะพร้าว ซึ่งไม้ผลต่าง ๆ ล้วนได้รับความเสียหาย ยืนเฉาตายคาต้นทาง

ด้านนายฉโลม กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ต้นเองยึดอาชีพทำสวนมานาน ในปีนี้ถือว่าระดับน้ำท่วมสูงเกินกว่าที่จะต้านทานไหว ทั้งที่ได้นำกระสอบทราย เครื่องสูบน้ำมาทำการสูบน้ำออกทุกวัน แต่ก็ไม่สามารถสู้กับระดับน้ำที่ท่วมสูงขึ้นทุกวัน ทำให้ทะเรียนจำนวน 170 ต้น และผลไม้อื่น ๆ ล้มตายหมด ทำให้ต้นเองต้องสูนเสียรายได้กว่า 2 ล้านบาท "ที่ น่าเสียดาย คือ ทุเรียนพันก้านยาวแท้ ๆ ของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีราคาลูกละ 6-7 พันบาท ต่างก็ต้องมาได้รับความเสียหายล้มตายไปในครั้งนี้ด้วย อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเกษตรชาวสวนในครั้งนี้ด้วย"


น้ำท่วมกรุงเทพ



15 จุดเสี่ยงน้ำท่วม กทม.

15 จุดเสี่ยง กทม. เตรียมสั่งซื้อกระสอบทราย 1.5 แสน เพื่อป้องกันพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

สำหรับจุดเสี่ยงภายในกรุงเทพมหานคร ที่เสี่ยงน้ำท่วมประกอบด้วย

1. เขตสาทร ย่านถนนจันทน์ เซนต์หลุยส์ สาธุประดิษฐ์

2. เขตพญาไท ถนนพหลโยธิน ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ

3. เขตพระโขนง ถนนสุขุมวิท จากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล

4. เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท 39 และสุขุมวิท 49

5. เขตวังทองหลาง ถนนลาดพร้าว จากคลองลาดพร้าว-ห้างเดอะมอลล์

6. เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์ จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจ ทั้งสองฝั่ง

7. เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษก หน้าห้างโรบินสัน

8. เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก แยกลาดพร้าว

9. เขตราชเทวี ถนนเพชรบุรี จากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี

10. เขตราชเทวี ถนนนิคมมักกะสัน

11. เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประแจจีน

12. เขตบางแค ถนนเพชรเกษม ซอย 63 (ซอยวัดม่วง)

13. เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศ จากถนนนางลิ้นจี่- ซอยศรีบำเพ็ญ

14. เขตประเวศ ถนนศรีนครินทร์ ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง

15. เขตพระนคร ถนนสนามไชย และถนนมหาราช

โดย เบื้องต้น ทางสำนักการระบายน้ำ กทม.เตรียมรับมือเต็มที่ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง ล่าสุดซื้อกระสอบทรายเพิ่มอีก 1.5 ล้านถุง เพราะทุกเขตขอเข้ามานอกจากนี้ยังได้ขุดลอกคลองให้ระบายน้ำ ได้เร็วขึ้น ดูแลประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำ สถานีสูบน้ำ รวมถึงประสานงานกับกรมชลประทานช่วยบริหารจัดการน้ำผ่านคลองและอุโมงค์ลงสู่ทะเล

http://hilight.kapook.com/view/52961

---------------------------------------------

30 ต.ค. 54 22.31 น.

รองผู้ว่าฯกทม. คาด20เขต รอดน้ำท่วม หลังรื้อประตูระบายน้ำ


(30 ต.ค.) นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รอง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า จากแนวทางการรื้อถอนประตูระบายน้ำคลอง 9 10 11 12 และ 13 รวมถึงกรมชลประทานได้ติดตั้วเพิ่มเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองหกวาสาย ล่าง ที่คลอง 13 เพื่อเร่งระบายลงสู่แม่น้ำบางประกงกว่าวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้สถานการณ์น้ำที่คลองสองขณะนี้มีแนวโน้มดีขึ้น โดยระดับน้ำไม่ได้มีปริมาณเพิ่ม จึงเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้มาถูกทางแล้ว คาดว่าอีก 5 วัน ระดับน้ำคลองหกวาจะลดลงเหลือ 2 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

นายธีระชน กล่าวเพิ่มเติมว่า จากแนวทางดังกล่าวคาดว่าจะทำให้พื้นที่กรุงเทพฯประมาณ 20 เขต มีแนวโน้มที่น้ำจะไม่ท่วมประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่เขตพื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่ไม่ติดกับริมคลอง อาทิ ดินแดง พญาไท บึ่งกุ่ม บางซื่อ สะพานสูง วัฒนา ประเวศ บางกะปิ สาทร ทุ่งครุ ราชเทวี เป็นต้น

http://news.sanook.com/1067711/รองผู้ว่าฯกทม.-คาด20เขต-รอดน้ำท่วม-หลังรื้อประตูระบายน้ำ

-----------------------------------------

วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 23:10 น. ข่าวสดออนไลน์

"สุขุมพันธุ์"บอกดูแลแค่กทม.-ไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบคนทั้งชาติ

เวลา 20.00 น. วันที่ 21 ต.ค. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ที่ศาลาว่าการกทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวถึงกรณีรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2550 ว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวทำให้ตนมีอำนาจมากกว่าเดิมสามารถสั่งการอะไรในพื้นที่ กทม.ก็ได้ แต่อยู่ภายใต้การควบคุมจากนายกรัฐมนตรี หากนายกรัฐมนตรีไม่เห็นชอบเรื่องใด กทม.ก็ไม่สามารถคัดค้านได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กทม.พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล และการทำงานหลังจากนี้ก็คงเป็นแนวทางเดียวกัน เพราะเข้าใจดีและเคยเป็น ส.ส.มาก่อน รวมถึงเคยผ่านกฎหมายมาหลายฉบับ ฉะนั้นย่อมเคารพต่อกฎหมาย

“ส่วนสาเหตุที่รัฐบาลประกาศ พ.ร.บ.ป้องกันฯ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ต้องไปถามรัฐบาล แต่ยืนยันว่า กทม.เปิดประตูระบายน้ำมาโดยตลอด แต่อาจเปิดได้ไม่เต็มที่ เพราะผมมีหน้าที่รับผิดชอบต่อชาวกทม. ไม่ใช่รับผิดชอบต่อคนทั้งชาติ หากถามความรู้สึกผม ถ้าจะให้ทำอะไรก็พร้อมทำทุกอย่าง ผมถวายชีวิตให้คนกทม.แล้ว แค่กฎหมายนี้ทำไมผมจะยอมรับไม่ได้” ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ยังเป็นห่วง 4 จุดเสี่ยงรอบพื้นที่ กทม. ได้แก่ 1.คลองรังสิตตัดถนนพหลโยธิน เพราะขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานรัฐเข้าไปดูแล เนื่องจากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจนเอ่อท่วมถนนหน้าห้างเซียร์รังสิตแล้ว ซึ่งนายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ประสานมายัง กทม.ว่าจะส่งบุคลากร 1,000 นาย เข้าไปดูแลจุดนี้ แต่หากไม่สามารถป้องกันได้ น้ำจะทะลักเข้าคลองเปรมประชากร

2.คลองสองและคลองหกวา ซึ่งเป็นภารกิจใหญ่ของ กทม.ในการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม คาดว่าจะแล้วเสร็จอย่างช้าสุดวันพรุ่งนี้ 3.พื้นที่ฝั่งตะวันตกของ กทม.และคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งพบว่ามีระดับน้ำสูงถึง 2 เมตร หากปริมาณน้ำสูงถึง 2.5 เมตร จะมีปัญหาได้ เพราะเกรงว่าปริมาณน้ำจะโอบล้อมเข้าท่วมพื้นที่

4.คลองประปา ขณะนี้น้ำในคลองได้คลี่คลายลงระดับหนึ่ง เพราะมีการผันน้ำเข้าคลองบางเขนใหม่ และคลองบางซื่อ ซึ่งการประปานครหลวง (กปน.) ยืนยันว่าภายในวันพรุ่งนี้จะเข้าไปแก้ปัญหาให้แล้วเสร็จ

ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า รู้สึกเสียใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นนอกพื้นที่กทม. แต่ปัญหานั้นกลับส่งผลกระทบถึงคนกทม. ซึ่งขณะนี้มีคนในพื้นที่ดอนเมืองต้องอพยพไปแล้วถึง 1,492 คนในศูนย์อพยพ 6 แห่ง

http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=202937.0

----------------------------------------------

วันที่ 26 ตุลาคม 2554 17:37
เปิดใจ"รองอธิบดีกรมชลฯ"โต้ข้อหาไม่ระบายน้ำฝั่งตอ.


โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เปิดใจ"รองอธิบดีกรมชลประทาน"กับข้อกล่าวหาไม่ผันน้ำ ฝั่งตะวันออก ยันเปิดประตูคลองประเวศ หนองจอกไม่ได้เหตุแม่น้ำบางปะกงสูง น้ำไหลย้อนกลับ

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมฯต้องการให้ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบ เรื่องการแก้ไขสถานการณ์น้ำในกรุงเทพฯขณะนี้ ประสานงานกันเป็นการภายในศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)ไม่ ใช่ออกไปพูดตามหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งข้อกล่าวหาที่ว่ากรมชลฯ ไม่ยอมผันน้ำออกไปยังฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เต็ม 100% นั้น ไม่เป็นความจริง กรมชลฯพยายามสูบน้ำออกไปทางฝั่งตะวันออกอย่างเต็มที่แล้ว เพียงแต่บางจุดติดปัญหา ชาวบ้านมาขัดขวางเจ้าหน้าที่ชลประทาน ซึ่งได้ประสานเพิ่มกำลังตำรวจที่ข้ามาดูแลการระบายน้ำแต่ะจุดแล้ว เพื่อให้สามารถทำงานได้เต็มที่ตามแผน

"ที่คลองพระองค์ไชยานุชิต มีเครื่องสูบน้ำ 17 เครื่อง ถูกชาวกว่า 50 คนพกอาวุธมากดดัน ให้เจ้าหน้าที่เปิดเครื่องได้แค่ 5 เครื่อง เราก็แก้ปัญหาประสานตำรวจเพิ่มเป็น 20 นาย ตอนนี้ก็ต้องเปิดเครื่องสูบน้ำให้ได้ทั้งหมด ส่วนที่คลองหกว่าสายล่าง มีเครื่องสูบน้ำ 15 เครื่องจะติดตั้งเพิ่มอีก 5 เครื่อง และคลองประเวศน์ มีเครื่องสูบน้ำ 14 เครื่องเดินเครื่องเต็มที่ ผมยืนยันว่ากรมชลฯไม่มีกั๊กเรื่องการระบายน้ำ ถ้าหน่วยงานใดทำงานแล้วพบว่าเจ้าหน้าที่กรมชลฯทำงานไม่เต็มที่ ให้แจ้งกับผมมาได้เลย ผมจะไปจัดการเอง"นายสุเทพ กล่าว

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ออกหนังสือชี้แจงเมื่อวันที่ 26 ต.ค.54 กรณีที่กรุงเทพมหานคร ระบุถึงการระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯว่า หากต้องการระบายน้ำให้ได้มากขึ้น เพื่อลดระดับน้ำในกรุงเทพฯ ต้องให้กรมชลฯ เปิดประตูระบายน้ำที่คลองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ได้แก่ คลองหนองจอกและคลองประเวศน์บุรีรมย์ด้วย

กรมชลฯ ขอชี้แจงว่า การเปิดประตูระบายน้ำหนองจอกและประตูระบายน้ำคลองประเวศฯ ในขณะนี้ไม่สามารถทำได้ เพราะระดับน้ำในคลองทางด้านแม่น้ำบางปะกง สูงกว่าระดับน้ำในคลองฝั่งกรุงเทพฯ หากเปิดประตูระบายน้ำ จะทำให้น้ำไหลย้อนเข้ามาสร้างความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมเพิ่มมากขึ้นใน เขตกรุงเทพฯได้ กรมชลฯ จึงต้องใช้เครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งไว้ในบริเวณประตูระบายน้ำ สูบน้ำในคลองฝั่งกรุงเทพฯ ลงสู่คลองด้านแม่น้ำบางปะกง

ส่วนการระบายน้ำขณะนี้ กรมชลฯ ได้เร่งระบายน้ำให้ไหลลงสู่คลองบางขนาก และคลองนครเนื่องเขต ออกสู่แม่น้ำบางปะกง ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค. 54 โดยใช้เครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งไว้จำนวน 8 เครื่อง และจะเพิ่มเป็น 12 เครื่อง ให้ได้ภายในวันนี้(26 ต.ค.) ส่วนการสูบระบายน้ำที่สถานีสูบน้ำหนองจอก จำเป็นต้องปิดประตูระบายน้ำคลองหลวงแพ่ง เพื่อไม่ให้น้ำที่ระบายออกมา ไหลย้อนเข้าสู่คลองหลวงแพ่ง และคลองประเวศน์ฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และสนามบินสุวรรณภูมิได้แต่ปิดคลองหลวงแพ่งไม่ได้เพราะชาวบ้านต่อต้าน

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20111026/415907/เปิดใจรองอธิบดีกรมชลฯโต้ข้อหาไม่ระบายน้ำฝั่งตอ..html

-------------------------------------------------------------

กทม. โวยการเมืองต้นเหตุทำกรุงเทพฯ จมบาดาล
วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สำนักข่าวเนชั่น - กทม. โวยการเมืองต้นเหตุทำกรุงเทพฯ จมบาดาล กรมชลฯไม่ยอมเปิดประตูน้ำระบาย แฉ สุพรรณฯ บางน้ำเปรี้ยว หนองจอก แห้งสนิท ทั้งที่เป็นพื้นที่ระบายน้ำ โวยถ้าเป็นโบราณต้องถูกตัดหัวเจ็ดชั่วโคตร กรมชลฯ แจงต้องปิดประตูคลอง "แสนแสบ - ประเวศ" หวั่นน้ำตีกลับเข้ากรุง

นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า ที่ผ่านมากทม.ได้ขอความร่วมมือจากกรมชลประทานไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้เกือบ เดือนสำหรับการดำเนินการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯฝั่งตะวันออก โดยขอให้เปิดประตูระบายน้ำด้านคลองระพีพัฒน์ให้ระบายมวลน้ำลงคลองรังสิต 6-13 เพื่อจะได้เชื่อมโยงการระบายน้ำสู่คลองหกวาสายล่าง ต่อด้วยคลองแสนแสบเชื่อมคลองพระองค์ไชยานุชิต คลองประเวศบุรีรมย์ก่อนระบายสู่แม่น้ำบางปะกง ซึ่งเป็นแนวทางตามพระราชดำริของในหลวงที่เส้นทางการระบายน้ำลงมาตรงๆก่อนที่ จะแพร่กระจายออกด้านข้างของเมืองกรุงเทพฯโดยไม่เข้าพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน

นายธีระชน กล่าวต่อว่าเช่นเดียวกันกับการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯด้านตะวัน ตก(ฝั่งธนบุรี)จะทำในลักษณะเดียวกันคือ เปิดประตูระบายน้ำระบายลงมาเต็มที่พร้อมเดินเครื่องสูบน้ำ เพื่อให้มวลน้ำจะได้กระขายระบายออกป้านข้างลงแม่น้ำท่าจีนไป ซึ่งตนได้เตือนไปตั้งนานตั้งแต่แรก แต่กรมชลประทานก็ไม่ได้สนองตอบ จนขณะนี้สถานการณ์ลุกลามมาจนถึงบริเวณแนวคันกั้นน้ำตามพระราชดำริแล้ว หากกรมชลประทานยังดำเนินการลักษณะเดิมอีกรับรองได้ว่ากรุงเทพฯจมน้ำแน่

“ผมไม่อยากว่าข้าราชการกรมชลประทาน แต่เบื้องหลังมันเป็นความเห็นแก่ตัวของการเมือง ลองไปถามสิว่า ทำไมพื้นที่บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา หนองจอก ทั้งที่ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นพื้นที่รับน้ำทำไมถึงแห้งสนิทเช่นนี้ สุพรรณบุรีก็เช่นกัน ทำไมเราไม่เปิดประตูน้ำระบายน้ำเข้าไปในพื้นที่เหล่านี้บ้าง และพื้นที่เหล่านี้เป็น Flood Way ทำไมถึงต้องไปกั้นทางน้ำตรงนี้ เป็นสมัยโบราณ คนที่ทำอย่างนี้ถูกประหารเจ็ดชั่วโคตรไปแล้ว ท่านนายกฯ(น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ท่านเป็นคนดีมีความรู้ แต่ท่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้องช้า”รองผู้ว่าฯกทม.กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าวันที่ 26 ต.ค. ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน ได้ชี้แจงผ่านเว็บไซต์ของกรมชลแระทาน ที่ โดยระบุถึงกรณีที่ก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ระบุว่า กทม.มีศักยภาพในการระบายน้ำได้ 1,600 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อวินาที ซึ่งหากต้องการระบายน้ำได้มากกว่านี้ จำเป็นต้องให้กรมชลประทานเปิดประตูระบายน้ำที่บริเวณคลองจอกและคลองประเวศ ด้วย เพื่อช่วยระบายน้ำได้ถึง 10 ล้านลบ.ม.ต่อวัน ทำให้น้ำในกทม.ลดระดับได้เร็วยิ่งขึ้นนั้น

ทั้งนี้ กรมชลประทานชี้แจงว่า สำหรับประตูระบายน้ำหนองจอกนั้น ตั้งอยู่กลางคลองแสนแสบ ทำหน้าที่ระบายน้ำจากพื้นที่กรุงเทพฯ ลงสู่คลองบางขนากก่อนระบายออกสู่แม่น้ำบางปะกงในเขตจ.ฉะเชิงเทรา ส่วนประตูระบายน้ำคลองประเวศนั้น ตั้งอยู่กลางคลองประเวศบุรีรมย์ ทำหน้าที่ในการระบายน้ำจากพื้นที่กรุงเทพฯ ลงสู่แม่น้ำบางปะกงเช่นกัน แต่เนื่องจากระดับน้ำในคลองทางด้านแม่น้ำบางปะกง มีระดับสูงกว่าระดับน้ำในคลองทั้ง 2 แห่ง(แสนแสบและประเวศฯ) หากเปิดประตูระบายน้ำทั้งสองแห่ง จะทำให้มีน้ำไหลย้อนเข้ามาในเขตกรุงเทพฯ ได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรมชลประทานจึงได้ทำการปิดประตูระบายน้ำทั้ง 2 แห่ง และใช้เครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งไว้ในบริเวณประตูระบายน้ำ ทำการสูบน้ำจากพื้นที่ทางด้านของกทม. ให้ลงสู่คลองด้านที่ติดแม่น้ำบางปะกงอย่างเต็มศักยภาพตามข้อจำกัด เนื่องจากหากสูบน้ำลงไปเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ริมคลองด้านที่อยู่ติดแม่น้ำบางปะกง

ขณะเดียวกัน ได้มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ จ.ฉะเชิงเทรา สำนักชลประทานที่ 11 และกลุ่มผู้นำชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่ง เบื้องต้น ได้ข้อตกลงร่วมกันคือ กรณีของคลองแสนแสบ จะต้องควบคุมระดับน้ำไม่ให้เกิน 1.30 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง(ม.รทก.) ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต.ศาลาแดง อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา ส่วนที่คลองประเวศน์บุรีรมย์ต้องควบคุมน้ำไม่ให้เกินระดับ 0.75 ม.รทก. ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ต.คลองเปร็ง อ.เมืองฉะเชิงเทรา และอ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ

อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อช่วงหัวค่ำของวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้ตัดสินใจเปิดเครื่องสูบน้ำตามข้อเรียกร้องของทางกทม.แล้ว โดยในส่วนของประตูระบายน้ำหนองจากได้เดินเครื่องสูบน้ำรวมทั้งสิ้น 10 เครื่องจากทั้งหมด 20 เครื่อง(เสีย 3 เครื่อง-ใช้งานได้ 17 เครื่อง) และที่ประตูระบายน้ำเดินเครื่อง 10 เครื่อง จาก 20 เครื่อง(ก่อนหน้านี้เปิด 2 เครื่อง) โดยเมื่อรวมกับการเดินเครื่องสูบน้ำที่ประตูระบายน้ำคลอง 13 (คลองหกวาสายล่าง)ที่มีเครื่องสูบน้ำอีก 12 ตัว(ปัจจุบันใช้งาน 9 ตัว) จะทำให้ปัจจุบันสามารถระบายมวลน้ำเหนือไม่ให้ไหลเข้าสู่พื้นที่กทม.ได้อีก อย่างน้อย 7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งกทม.คาดว่าจะช่วยลดภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้พอสมควร ขณะเดียวกัน หากกรมชลฯ เดินเครื่อง 100 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถระบายน้ำได้มากถึงกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
-----------

ธนัชพงศ์ คงสาย twitter@tanatpong_nna
http://www.suthichaiyoon.com/detail/17272

-------------------------------------------------------

ศปภ.แถลงคำสั่งนายกฯ ให้ กทม.เปิดประตูระบายน้ำ - ยันคลองประปาใกล้กลับสู่ปกติ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 ตุลาคม 2554 23:11 น.

ศปภ.แถลงคำสั่งนายกฯ ให้ กทม.เปิดประตูระบายน้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อเร่งผลักน้ำลงสู่เจ้าพระยา โวระดับน้ำจากนครสวรรค์ โรจนะ ระพีพัฒน์ อยู่ในระดับทรงๆ และมีแนวโน้มลด ระบุคลายกังวลทะเลหนุนช่วง 28-30 ต.ค.ได้ มั่นใจเจ้าพระยาไม่เกินคันกั้นน้ำของกทม. ส่วนกรณีคลองประปาล้น ใกล้กลับสู่ภาวะปกติแล้ว

วันนี้ (21 ต.ค.) เวลาประมาณ 21.30 น. นายวิม รุ่งวัฒนจินดา โฆษกศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ได้อ่านประกาศคำสั่งฉบับที่ 19/2554 เรื่องให้กรุงเทพมหานครบริหารจัดการน้ำจากพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยร้ายแรงไป ยังแม่น้ำเจ้าพระยา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 31 ประกอบกับมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย พ.ศ. 2550 นายกฯ มีคำสั่งดังต่อไปนี้

1.ให้กรุงเทพมหานครเปิดประตูระบายน้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อรองรับการระบายน้ำจากกรมชลประทาน ให้ผ่านระบบสูบน้ำของกรุงเทพมหานครไปยังเจ้าพระยา โดยให้คำนึงถึงระดับน้ำที่เหมาะสม และอยู่ในระดับที่ไม่ท่วมท้นจนสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร โดยให้พิจารณาจากความเหมาะสมตามสถานการณ์

2.ให้มีคณะกรรมการร่วมระหว่างกรุงเทพมหานคร กรมชลประทาน และคณะทำงานที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของนายกฯ ที่ 18/2554 เพื่อกำกับและระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด

3.ให้รายงานผลการดำเนินการให้แก่นายกฯ และ ศปภ.ทราบทุกวัน ทั้งนี้ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อเพิ่มความถี่ในการรายงาน ให้ คกก.ดังกล่าวรายงานทุก 2 ชั่วโมง

คำสั่งของนายกฯที่ฉบับที่ 20 /2554 เรื่องให้กรมชลประทานระบายน้ำจากคลองระพีพัฒน์แยกตะวันตกสู่ทะเลอ่าวไทย ตามความในมาตรา 31 ประกอบกับมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย พ.ศ. 2550 นายกฯมีคำสั่งให้กรมชลประทานดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1.เปิดประตูระบายน้ำในคลอง 2-13 เพื่อให้ระบายน้ำลงสู่ทุ่งคลองรังสิตตอนเหนือ

2.เปิดประตูระบายน้ำในคลอง 6-16 ฝั่งใต้ เพื่อระบายน้ำจากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ลงสู่คลองหกวาสายล่างและคลองแสนแสบ

3.เร่งสูบและหรือเร่งผลักดันน้ำในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ และคลองหกวาล่าง คลอง 20 คลอง 21 คลองบางขนาบ ลงสู่แม่น้ำนครนายกฯ และแม่น้ำบางปะกง

4.เร่งสูบและหรือเร่งผลักดันน้ำ ในคลอง 13 และคลองต่างๆที่อยู่ในพื้นที่หลากน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่ชายฝั่งทะเล

5.รายงานผลการดำเนินการให้กับนายกฯ และ ศปภ.ทราบทุกวัน ทั้งนี้ในกรณีฉุกเฉิน ให้เพิ่มความถี่ในการรายงานเป็นทุก 2 ชั่วโมง

6.สามารถพิจารณามาตรการเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและจำเป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

ทั้งนี้ให้ดำเนินการตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

จากนั้น นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานสถานการณ์ว่า สิ่งที่พี่น้องกังวลว่าทำไมเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ยังระบายน้ำมา ก็เนื่องจากเขื่อนภูมิพลมีน้ำเต็ม จึงต้องเร่งระบาย ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ก็ระบายอย่างต่อเนื่อง ความจริงแล้วปริมาณก็เท่ากับเมื่อวาน คือเขื่อนภูมิพลวันละ 60 ล้านลบ.ม. สิริกิติ์ 10 ล้านลบ.ม. แต่ไม่ต้องกังวลเพราะปริมาณน้ำนี้กระทบต่อลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างน้อยมาก เนื่องจากน้ำที่นครสวรรค์ มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ทุกจังหวัดใต้เขื่อนเจ้าพระยาลงมา ก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ สิ่งที่พ่อแม่พี่น้องกังวล ก็ขอให้คลายกังวล

ปริมาณน้ำที่ท่วมบริเวณนครหลวงหรือนิคมโรจนะ วันนี้ระดับน้ำทรงๆ แถมมีแน้วโน้มจะลดลงด้วย ส่วนน้ำที่ระพีพัฒน์แยกตกปริมาณน้ำมีมากก็จริง แต่จากการติดตามระดับน้ำมีระดับทรงๆ และมีแนวโน้มลด แปลว่าน้ำที่ไหลมาตามคลองต่างๆที่เปิดตั้งแต่คลอง 2 - 10 มีปริมาณน้ำเข้ามาตามระบบ รวมทั้งปริมาณน้ำจากคลองระพีพัฒน์แยกตกขาด ปริมาณ 120 เมตร ซึ่งวัดปริมาณน้ำที่ผ่านมาอยู่ที่ 170 ลบ.ม.ต่อวินาที เท่ากับเมื่อวาน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กรมชลประทานคาดการณ์

น้ำทั้งหมดนี้จะอยู่ในทุ่งรังสิตเหนือ ขณะนี้ท่วมขังเฉลี่ย 10 ซ.ม. น้ำเหล่านี้จะไหลมาสู่คลองรังสิต ซึ่งจากคลองรังสิตระบายสู่คลองหกวาสายล่าง แล้วเร่งสูบน้ำออกทั้ง 2 ฝั่ง

ส่วนที่กังวลว่าวันที่ 28-30 ต.ค. น้ำทะเลจะหนุนสูงอีกรอบหนึ่ง ขณะนี้เราได้วางแผนบริหารจัดการ ดังนี้ ตั้งแต่วันที่ 22-25 ต.ค. จะเปิดประตูน้ำพระนารายณ์ รับน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์แยกใต้มากขึ้น เพื่อลดปริมาณน้ำจากแม่น้ำป่าสักฯ ที่จะไปสมทบแม่น้ำเจ้าพระยา
วันที่ 25 ต.ค. จะลดการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักฯให้เหลือ 100 ลบ.ม.ต่อวินาที วันที่ 26 ต.ค.จะปิดเขื่อนพระราม 6 เพื่อไม่ให้น้ำมาสมทบข้างล่าง และรับน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์ ฉะนั้นตั้งแต่วันที่ 26 ระดับน้ำท้ายเขื่อนป่าสักฯ ก็จะมีระดับลดลง ขณะเดียวกันน้ำที่ค้างอยู่นครหลวง หรือบริเวณโรจนะก็จะลดลงตามไปด้วย

จากการปฏิบัติดังกล่าว น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก็จะลดลง ช่วงน้ำทะเลหนุนก็จะไม่เกินระดับคันกั้นน้ำของ กทม.จะอยู่ที่ 2.3 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง และจะทำให้น้ำที่โรจนะลดตามด้วย น้ำที่จะมาสมทบที่คลองระพีพัฒน์แยกตกก็จะลดลงด้วย ขอให้คลายกังวล สบายใจขึ้น

ต่อจากนั้น น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.โนโลยีและสารสนเทศ ได้กล่าวถึงกรณีน้ำในคลองประปาเพิ่มสูงขึ้นและล้นตลิ่งเข้าท่วมดอนเมือง หลักสี่ พบสาเหตุเกิดจากการที่พนังกั้นน้ำบริเวณคลองบางหลวงชำรุด ซึ่งต้นทางขณะนี้ได้แก้ไขแล้ว โดยชะลอน้ำจากคลองบางหลวงที่จะเข้าสู่คลองประปา

และเพิ่มการสูบน้ำจากคลองประปา ลงสู่คลองบางเขน บางซื่อ สามเสน ซึ่งจะทำให้น้ำในคลองประปาลดลงและกลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด และปัจจุบันก็เริ่มกลับสู่สภาพเดิมแล้ว ส่วนน้ำที่ท่วมขังจะเร่งระบายให้เร็วที่สุด พร้อมขอย้ำเรื่องคุณภาพน้ำประปา วันนี้ผู้ว่าการประปาก็ยืนยันแล้ว ว่าคุณภาพน้ำประปายังสามารถใช้น้ำประปาได้อย่างมีคุณภาพเหมือนเดิม

ขณะที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า ศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าที่อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ได้สินธิกำลังจากกำทัพบก ทัพเรือ และตำรวจ ในการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยการนำเรือท้องแบนขนย้ายผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและคนชรา รวม 3.3 พันคน และได้นำมาศูนย์พักพิงที่ดอนเมือง และอาคารเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ นอกจากนี้ ทางส่วนหน้าอนุญาติให้ประชาชนสามารถเดินทางเพื่อกลับเข้าไปดูบ้านได้ แต่บางจุดห้ามเด็ดขาดเนื่องจากมีระดับนํ้าที่ลึก

โดยทั้ง 2 ศุนย์ได้รับผู้อพยพเต็มแล้ว แต่ได้มีการประสานไปยังเคหะที่จ.สมุทรปราการ ให้เปิดแฟลต 5 ชั้น ซึ่งสามารถรองรับได้ 3.1 พันคน และยังได้ประสานไปยังเคหะ อาทิ หนองจอก ให้เปิดรับประชาชนที่เดือดร้อนสามารถขอเข้าพักอาศัยได้ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นเร่งด่วนสามารถต่อสายตรงเคหะ 1615 หรือศูนย์ประชาบดี 1100 และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) 1111 กด 5 ตลอด 24 ชั่วโมง

ส่วนประชาชนที่นำรถไปจอดกีดขวางทางจราจร เจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการยกไปเก็บไว้ที่สถานีตำรวจ ทางที่ดีให้เขียนหมายเลขโทรศัพท์ติดไว้ที่รถ เพื่อความสะดวกในการติดต่อกลับ

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000134744

-------------------------------------------------------

หวั่นยุ่นไม่ต่อประกันน้ำท่วม เหตุไม่เชื่อมือรัฐบริหารน้ำ


รมว.คลัง หวั่นประกันภัยญี่ปุ่นไม่รับต่อประกัน เพราะไม่เชื่อมือบริหารน้ำของรัฐบาลไทย สั่งปลัดคลังบินเจรจาด่วน หลังเข้าเจรจากับสิงคโปร์แล้วแต่ไม่สำเร็จ

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งให้นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงคลัง เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อเจรจากับบริษัทประกันภัยรายใหญ่ ให้รับประกันภัยต่อ หรือ Reinsurer จากบริษัทประกันที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมที่ประสบน้ำท่วมในปีนี้ว่า ในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป ประเทศไทยจะสามารถจัดการปัญหาน้ำท่วมได้ เพราะขณะนี้บริษัทประกันภัยในประเทศยืนยันว่า จะไม่รับประกันภัยน้ำท่วมให้แก่บริษัทที่ลงทุนหรือประกอบธุรกิจในไทย เนื่องจากไม่มั่นใจในแผนการบริหารจัดการน้ำท่วมของรัฐบาล

“หากบริษัทประกันภัยในต่างประเทศไม่รับประกันภัยต่อจากบริษัทประกันในไทย จะส่งผลถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ประกอบการว่า ไทยไม่สามารถจัดการปัญหาน้ำท่วมได้ เพราะปีนี้ มีน้ำท่วมหนักถึง 2 ครั้ง สร้างความเสียหายเป็นเงินหลายแสนล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมห่วงมากที่สุด เพราะก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลังได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเจรจากับบริษัทประกันภัยรายใหญ่ที่ สิงคโปร์แล้ว แต่ไม่สำร็จ เพราะแผนในการป้องกันน้ำท่วมยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะสร้างความมั่นใจ ได้”

นายธีระชัย กล่าวต่อว่า หากบริษัทประกันภัยไม่รับประกันน้ำท่วม จะทำให้ผู้ประกอบการมีปัญหาการป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจ และอาจย้ายฐานการผลิตในประเทศอื่นที่ไม่มีความเสี่ยงจากน้ำท่วม ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจึงต้องสร้างความเชื่อมั่นให้บริษัทประกันภัยเห็นว่า เหตุการณ์น้ำท่วมเช่นนี้ จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต ส่วนแนวคิดของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ที่รัฐบาลจะรับประกันภัยน้ำท่วมเอง คงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการได้

ด้านนายอารีพงศ์ กล่าวว่า ตัวเลขผู้ประกอบการในนิคม 7 แห่ง ที่ได้รับน้ำท่วมทำประกันภัยเป็นวงเงิน 600,000 ล้านบาท และมีผู้ประกอบการเรียกค่าชดเชยเสียหายจากบริษัทประกันภัย 30% หรือประมาณ 200,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทประกันภัยในไทยได้ทำประกัยภัยต่อกับบริษัทประกันภัยต่างประเทศ โดยในจำนวนนี้ เป็นบริษัทประกันภัยในญี่ปุ่นถึง 60% โดยบริษัทประกันภัยต่างประเทศพร้อมจะโอนเงินมาจ่ายชดเชยค่าเสียหายทันที แต่หลังจากนั้น ในปีหน้าจะไม่ขอรับประกันภัยน้ำท่วม

“มติ ครม.ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามออกมาตรการสร้างความเชื่อมั่นป้องกันน้ำท่วม โดยมีวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 15,000 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมกู้ไปสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมในนิคม แต่ยังไม่เพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นกับญี่ปุ่นได้”

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ยังมั่นใจว่า จะขยายตัวเกิน 2% แน่นอนคงไม่ติดลบ โดยบางสำนักวิจัยยังมองเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวได้ถึง 2.5% ส่วนปีหน้า ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการน้ำ แต่ยอมรับเป็นห่วงกรณีที่หากบริษัทประกันไม่ยอมรับประกันภัยกรณีน้ำท่วม อาจจะส่งผลทำให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตได้และทำให้การลงทุนต้องหยุดชะงัก ซึ่งอาจจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวติดลบได้

ขณะที่นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปีนี้มีโอกาสติดลบได้ แต่ทั้งปีเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ในอัตรา 2.7% โดยสถานการณ์น้ำท่วม ณ ขณะนี้ ที่น้ำท่วมใน 7 นิคมอุตสาหกรรม เป็นมูลค่าความเสียหาย 180,000 ล้านบาท ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวลดลง 1.7%

ไทยรัฐออนไลน์
* โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
* 3 พฤศจิกายน 2554, 02:39 น.

http://www.thairath.co.th/content/eco/213810

-------------------------------------------------------

น้ำท่วม..เขย่าประกันทั้งระบบ

* 03 พฤศจิกายน 2554 เวลา 07:40 น.

ถือเป็นสัญญาณอันตรายต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาล และสร้างความหวั่นไหวให้กับนักลงทุนไม่น้อย เมื่อ “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” รมว.คลัง ออกมาระบุเองว่า

โดย...ทีมข่าวการเงิน

ถือเป็นสัญญาณอันตรายต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาล และสร้างความหวั่นไหวให้กับนักลงทุนไม่น้อย เมื่อ “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” รมว.คลัง ออกมาระบุเองว่า ผลจากน้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัทประกันภัยยืนยันที่จะไม่รับทำประกันน้ำท่วมอีก โดยเฉพาะโรงงานต่างๆ ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากบริษัทประกันยังไม่มั่นใจต่อแผนการบริหารจัดการน้ำท่วมของรัฐบาล

ประเด็นนี้ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่รัฐบาลจะมองข้ามไม่ได้ เพราะเมื่อผู้ประกอบการต่างๆ ไม่มีบริษัทประกันมาช่วยรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

บทสุดท้ายนักลงทุนที่นำมาสู่การจ้างงาน การอยู่ดีกินดีของคนในประเทศอาจยอมทิ้งไทยย้ายไปยังประเทศอื่นที่มีความ เสี่ยงน้อยกว่าและยังมีบริษัทประกันภัยรับทำประกันอยู่แทน

ถ้าพิจารณาความเสียหายที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) รายงานล่าสุดของนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งที่ถูกน้ำท่วม คาดว่าจะมีความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 แสนล้านบาท จากเดิมประเมินกันไว้ที่ 1 แสนล้านบาท เนื่องจากระดับน้ำยังคงไม่ลด ทำให้ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น

ขณะที่ความเสียหายต่อทรัพย์สินอื่น เช่น รถยนต์ได้รับความเสียหายแล้ว 2,004 คัน ค่าเสียหาย 211 ล้านบาท ทรัพย์สินอื่น 2,862 รายการ ค่าเสียหาย 5,924 ล้านบาท และเสียชีวิต 58 คน ค่าสินไหมทดแทน 11 ล้านบาท

ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ บริษัทประกันภัยของไทยคงไม่มีปัญหาเรื่องการจ่ายค่าสินไหมชดเชยให้ผู้เอาประกันเป็นแน่แท้

เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทประกันภัยไทยก็ได้ส่งงานไปให้บริษัทรับประกัน ภัยต่อต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบแทนอยู่แล้ว เพราะด้วยขนาดธุรกิจของบริษัทประกันภัยไทยและฐานะการเงินที่มีอยู่นั้นคงรอง รับความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งแค่นั้น

เมื่อมีลูกค้าเฉพาะในประเทศไทย ความเสี่ยงจึงกระจุกตัวสูงมากต่างจากบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศที่ เป็นศูนย์รวมบริษัทประกันภัยในประเทศต่างๆ ที่ส่งงานมาให้ ความเสี่ยงภัยที่รับไว้จึงกระจายตัวไปประเทศต่างๆ กระจายทุกมุมโลก

เมื่อบวกกับทุนที่มีอยู่จำนวนมหาศาล ที่ผ่านมาบริษัทประกันภัยของไทยจึงส่งงานไปให้บริษัทรับประกันภัยต่อต่าง ประเทศตลอด โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นองค์กรหรือโรงงานขนาดใหญ่ที่มีทุนประกันเป็นพันล้าน เป็นหมื่นล้านบาท

บริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศ จึงเป็นตัวชี้เป็นชี้ตายให้กับบริษัทประกันภัยของไทย

หากบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศยังคงปฏิเสธที่จะรับงานจากบริษัท ประกันภัยของไทย จึงเชื่อได้เลยว่า บริษัทประกันภัยของไทยก็ไม่กล้าที่จะรับงานจากลูกค้าไว้เองเช่นกัน

เพราะหากฝืนรับงานรับความเสี่ยงไว้เองทั้งหมด หากเกิดเหตุขึ้นอีก รับรองได้ว่าแม้จะขายบริษัททิ้ง เงินที่ได้อาจไม่พอที่ต้องจ่ายเป็นค่าสินไหมแน่ แล้วอย่างนี้จะมีบริษัทประกันภัยไทยแห่งไหนกล้ารับเผือกร้อนมาไว้เอง

ดังนั้น เชื่อว่าหลังจากนี้ธุรกิจประกันภัยและผู้ทำประกันภัยเองก็ต้องยอมรับกับการ เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เมื่อบริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศเป็นตัวชี้ขาด หาใช่บริษัทประกันภัยของไทยเป็นตัวชี้ขาดไม่

อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่ดี การปฏิเสธของบริษัทประกันภัยต่อต่างประเทศที่จะรับประกันภัยในไทย อาจเป็นเพียงคำขู่เบื้องต้นเท่านั้น เพราะยังมีเวลาอีก 2 เดือนที่สัญญาประกันภัยต่อต่างประเทศฉบับใหม่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2555

ช่วง 2 เดือนที่เหลือจึงเป็นช่วงรัฐบาล ภาคธุรกิจประกันภัยไทย และ คปภ.ต้องหาทางเจรจากับบริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศให้กลับมารับงานของ ไทยต่อให้ได้ แม้ต้องแลกกับเงื่อนไขกรมธรรม์ใหม่ที่ต้องให้บริษัทประกันภัยและให้ลูกค้าคน ไทยต้องยอมรับความเสี่ยงไว้เองระดับหนึ่งก็ตาม

ทางบริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศเองก็ได้ส่งสัญญาณผ่านสมาคมประกัน วินาศภัยมาแล้วว่า เงื่อนไขกรมธรรม์แบบเดิมๆ ที่ให้บริษัทประกันรับความเสี่ยงไว้เองทั้งหมด คงจะไม่มีอีกแล้ว

หากบริษัทประกันภัยต่อต่างประเทศตัดสินใจยังคงรับงานจากไทยอยู่ ก็ต้องกำหนดค่าเบี้ยประกันใหม่ให้เหมาะสมกับพื้นที่เสี่ยง พื้นที่ไหนเสี่ยงน้ำท่วมบ่อยหรือทุกปีก็ต้องขึ้นค่าเบี้ยแน่

พื้นที่ไหนไม่ค่อยถูกน้ำท่วมเบี้ยจ่ายก็จะถูกลงมาก

หรือไม่ก็ต้องจำกัดปริมาณความเสี่ยงที่รับได้จากภัยธรรมชาติเมื่อเทียบ กับเบี้ยประกัน จากที่เปิดเพดานรับความเสี่ยงไว้สูงมาก เช่น เหตุการณ์ต่อหนึ่งความเสียหาย ที่ในอดีตจะจำกัดค่าสินไหมภัยจากน้ำท่วมเท่ากับทุนประกันอัคคีภัย

เช่น ประกันอัคคีภัยทำทุนประกันไว้ 100 ล้านบาท เมื่อถูกน้ำท่วมก็มีทุนประกันที่ 100 ล้านบาทเช่นกัน แต่เงื่อนไขใหม่อาจลดความเสียหายจากน้ำท่วมแค่ครึ่งหนึ่งของทุนประกัน อัคคีภัย จากที่เคยได้ 100 ล้านบาท ก็เหลือแค่ 50 ล้านบาท

เท่ากับว่าผู้ทำประกันเองก็ต้องยอมควักค่าเสียหายส่วนแรกเองออกไปก่อน หากถึงเกณฑ์ที่บริษัทประกันภัยกำหนดไว้แล้ว บริษัทประกันภัยถึงจะเข้ามาจ่ายค่าสินไหมส่วนที่เกินให้ นี่คือภัยที่จะตามมาจากการจัดการภัยธรรมชาติที่ไร้ประสิทธิภาพ

ขณะที่ คปภ.เองก็ไม่ควรทำตัวเองเป็นลูกไล่ของบริษัทประกัน เมื่อบริษัทประกันบอกว่าช่วงนี้ไม่รับงานประกันน้ำท่วมทุกกรณี ก็ยอมให้เขาชี้นิ้วตามใจชอบ ซึ่งหากเป็นลูกค้าใหม่ที่ยังไม่เคยทำประกันน้ำท่วมเลย ก็คงไม่ว่ากัน

แต่หากเป็นลูกค้าเก่าที่เคยทำประกันน้ำท่วมไว้อยู่แล้ว เมื่อถึงเวลาต่ออายุประกัน คปภ.ก็ควรไล่บี้ให้บริษัทประกันทำสัญญาต่อให้ได้ จะปล่อยให้บริษัทประกันรับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียวก็คงจะไม่ได้ ไม่ใช่เวลาเกิดเหตุขึ้นต้องจ่ายค่าสินไหมเยอะ ก็ทิ้งลูกค้าไม่สนใจไยดี แล้วอย่างนี้จะขึ้นชื่อว่าเป็นบริษัทประกันที่ทำธุรกิจรับความเสี่ยงได้ อย่างไร

ฟากรัฐบาลเองก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้บริษัทรับประกันภัยต่อและนักลง ทุนทั้งหลายเห็นว่า เหตุการณ์น้ำท่วมเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก การทำโครงการต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นระบบป้องกันภัยพิบัติขนาดใหญ่ หรือแผนการฟื้นฟูประเทศให้กลับมาดังเดิม ไม่เช่นนั้นพังกันทั้งประเทศ

เพราะไม่เพียงแต่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างประเทศเท่านั้น แม้แต่ขวัญกำลังใจของคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมก็ต้องเรียกคืนกลับมา ให้ได้ ซึ่งหากทำไม่ได้ รัฐบาลเองก็ไม่มีความชอบธรรมที่อยู่บริหารประเทศต่อไปเช่นกัน

น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ซัดบ้านเรือน ไร่ สวน ท้องนา และโรงงานต่างๆ ให้ได้รับความบอบช้ำเท่านั้น แต่ยังซัดแรงมาถึงธุรกิจประกันภัยของไทยทั้งระบบ ให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ เพื่อรองรับเหตุการณ์ภัยพิบัติและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/เศรษฐกิจ/119721/น้ำท่วม-เขย่าประกันทั้งระบบ

-------------------------------------------------------

ส.ประกันวินาศภัย ยืนยัน บ.ประกันต้องจ่ายทุก กธ.ที่ซื้อน้ำท่วม หมดสิทธิ์เลี่ยงบาลี
วันที่ 30 ตุลาคม 2554

ส.ประกันวินาศภัย ยืนยัน บ.ประกันภัย พร้อมจ่ายสินไหมทดแทนให้กับลูกค้าที่ทำประกันภัยที่มีความคุ้มครองภัยน้ำ ท่วม ไม่ต้องมีการตีความหรือหาทางเลี่ยงไม่จ่าย เนื่องจาก กธ.มีเงื่อนไขชัดเจนเป็นภัยน้ำท่วม ชี้ บ.ประกันภัยควรใช้วิกฤตินี้เป็นโอกาสโดยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเสีย หายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้าและประชาชนมั่นใจในระบบประกันภัยมากขึ้น สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ
สำหรับ กธ.ที่จะได้รับความคุ้มครองความเสียหายจากภัยน้ำท่วมครั้งนี้มีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ 1. กธ.ประกันภัยรถยนต์สมัครใจประเภท 1 คุ้มครองทุกภัยรวมภัยธรรมชาติ 2.กธ.ประกันอัคคีภัยบ้านอยู่อาศัยขยายความคุ้มครองภัยน้ำท่วม 3.กธ.ประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิด หากใน กธ.ไม่ได้มีข้อยกเว้นภัยน้ำท่วมไว้ถือว่าคุ้มครอง และ 4. กธ.ประกันภัยทรัพย์สินเป็นประกันภัยลูกค้ารายใหญ่ ทุนประกันภัยสูง
(สยามธุรกิจ 29 ต.ค.-4 พ.ย./น.24)

http://www.thailife.com/Daily_News/?page=3

-------------------------------------------------------

"มาร์ค"ลงฝั่งตะวันออก จับโกหกกรมชลเลี่ยงระบายน้ำ

“มาร์ค” รุกตรวจระบายน้ำฝั่งตะวันออก ค้นหาความจริงพบกรมชลฯเดินเครื่องไม่เต็มสูบ กระแสน้ำไหลไม่แรงเท่าที่ควร เจ้าหน้าที่อ้างตกลงกับ จ.ฉะเชิงเทรา ยังพบไม่มีการระบายน้ำจากคลองประเวศไปยังคลองด่านลงสู่ทะเลอย่างเต็มที่ วอนรัฐคำนึงประโยชน์ของชาติมากกว่าพวก...

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 26 ต.ค.2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่ตรวจเส้นทางการระบายน้ำของกรมชลประทานฝั่งตะวันออก ไปสู่แม่น้ำบางปะกงลงทะเล โดยเริ่มจากประตูน้ำคลอง 8 และคลอง 9 ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พบว่าประตูน้ำทั้งสองบานเปิดบานลอยให้น้ำผ่าน 100% แล้ว ซึ่งจากการสอบถามชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า ประตูน้ำดังกล่าวเพิ่งจะเปิดให้น้ำผ่านเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แม้ประตูน้ำจะเปิดแล้ว แต่กลับพบว่ากระแสน้ำไม่ได้ไหลแรงเท่าที่ควร ซึ่งอาจมีผลมาจากสถานีสูบน้ำอี 34 คลองแสนแสบ หนองจอกของกรมชลประทาน ยังไม่เดินเครื่องอย่างเต็มที่ จึงทำให้การสูบน้ำเพื่อระบายลงทะเลในฝั่งตะวันออกยังไม่มีประสิทธิภาพเท่า ที่ควร

จากนั้นคณะของนายอภิสิทธิ์จึงเดินทางไปตรวจสอบที่สถานีสูบน้ำ หนองจอก พบว่า มีการเดินเครื่องสูบน้ำ 12 เครื่อง จากทั้งหมด 20 เครื่อง โดยเจ้าหน้าที่ควบคุมสถานีชี้แจงว่า สาเหตุที่ไม่สามารถเดินเครื่องสูบน้ำทั้งหมดได้ เนื่องจากมีข้อตกลงกับทางจังหวัดฉะเชิงเทราว่า จะไม่ระบายน้ำลงแม่น้ำบางปะกง หากระดับน้ำในแม่น้ำบางปะกงสูงกว่าฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นบริเวณสองฝั่งคลองที่น้ำจะไหลผ่านลงสู่แม่น้ำ บางปะกง

สำหรับสถานีสูบน้ำหนองจอกจะมีการระบายน้ำไปยังคลองนครเนื่อง เขต และคลองบางขนาก ซึ่งจะมีเครื่องสูบน้ำระบายน้ำต่อไปยังแม่น้ำบางปะกงลงสู่อ่าวไทย โดยในส่วนนี้เจ้าหน้าที่ยืนยันว่า ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่และมีการจัดส่งเครื่องสูบน้ำไปที่บริเวณนครเนื่อง เขต และบางขนากเพิ่มเติมเพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำบางปะกงไหลลงอ่าวไทยด้วย แต่ยอมรับว่ายังไม่มีการระบายน้ำไปยังสถานีสูบน้ำคลองประเวศบุรีรมย์ ซึ่งเป็นทางผ่านน้ำไปยังคลองด่านลงสู่ทะเลอย่างเต็มที่

ขณะเดียวกัน สถานีสูบน้ำที่คลองประเวศบุรีรมย์ ซึ่งมีเครื่องสูบน้ำ 20 เครื่อง ก็มีการสูบน้ำเพียง 4 เครื่องเท่านั้น โดยเจ้าหน้าที่ชี้แจงว่าหากระบายน้ำไปยังสถานีคลองประเวศบุรีรมย์เต็มที่อาจ ส่งผลกระทบกับนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางชัน และสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ทางผ่านของน้ำได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการทำงานของเครื่องสูบน้ำที่สถานีหนองจอก ซึ่งยังไม่ได้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ยังพบว่าน้ำไหลแรง ทำให้เห็นว่าหากมีการเดินเครื่องสูบน้ำอย่างเต็มกำลัง ย่อมทำให้การระบายน้ำจากกรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าทางกรมชลประทานได้ชี้แจงมาโดยตลอดว่า ไม่สามารถระบายน้ำที่สถานีหนองจอก และคลองประเวศบุรีรมย์ได้ เพราะระดับน้ำในแม่น้ำบางปะกงสูงกว่าแม่น้ำเจ้าพระยา หากสูบน้ำเต็มที่จะทำให้น้ำไหลย้อนกลับเข้ากรุงเทพฯ ก่อนที่จะมาเปลี่ยนคำอธิบายใหม่ว่าที่ไม่สามารถเปิดเครื่องสูบน้ำ 100% ในสองสถานีนี้เพราะชาวบ้านต่อต้าน โดยหลีกเลี่ยงที่จะพูดความจริงว่าทั้งสองสถานีเป็นหัวใจสำคัญในการระบายน้ำ ที่จะส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง บางชัน และสนามบินสุวรรณภูมิ

ต่อมาเวลา 16.30 น. นายอภิสิทธิ์ กล่าวหลังการตรวจการทำงานสถานีสูบน้ำของกรมชลประทานว่า ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา กรมชลประทานเริ่มปรับแนวทางการระบายน้ำมาทางฝั่งตะวันออกมากขึ้น หลังจากที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการผันน้ำไปยังฝั่งตะวันออกมากขึ้น เพื่อลดภาระของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เกิดความสมดุลจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แม้จะไม่สามารถรับประกันได้ 100% ว่าจะป้องกันทุกอย่างได้

แต่อย่างน้อยเป็นการลดความเสี่ยงของ กทม. และจะสอดคล้องกับแนวทางระบายน้ำที่เคยปฏิบัติกันมา ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ขอให้รัฐบาลเร่งทบทวนและอธิบายถึงนโยบายของ รัฐบาลว่า เหตุใดจึงไม่ดึงน้ำไปยังฝั่งตะวันออกลงทะเล โดยรัฐบาลต้องคำนึงถึงการรักษาผลประโยชน์ของประเทศ คือ ทำอย่างไรให้ระบายน้ำลงทะเลมากที่สุด และสร้างความเสียหายน้อยที่สุด แต่หากไปเพิ่มความเสี่ยงโดยปล่อยให้แม่น้ำเจ้าพระยารับไปทั้งหมดจะเสียหาย มากในเรื่องระบบการบริหารจัดการเป็นอัมพาต ซึ่งจะเดือดร้อนกันทั้งประเทศ เพราะระบบการบริหารการช่วยเหลือจะได้รับผลกระทบไปด้วย

ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เห็นว่า การต่อต้านของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเป็นเรื่องธรรมดา แต่การบริหารงานของรัฐบาลต้องดูในภาพรวม เพราะในที่สุดในส่วนที่ชาวบ้านคัดค้านทั้งเปิดและปิดประตูน้ำ สุดท้ายเมื่อฝืนธรรมชาติน้ำก็ทะลักเข้าท่วมอยู่ดี ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ยืนยันว่าจะสูบน้ำมากขึ้น แต่ต้องให้เวลากับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเตรียมความพร้อมด้วย

ไทยรัฐออนไลน์
* โดย ทีมข่าวการเมือง
* 26 ตุลาคม 2554, 22:48 น.

http://www.thairath.co.th/content/pol/212152

----------------------------------------------------------

วสท.แถลงเร่งระบายน้ำฝั่งตะวันออก ชี้คลอง 8-12 ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 ตุลาคม 2554 17:12 น.

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 5 แนะเร่งระบายน้ำบริเวณตะวันออกของ กทม. ชี้คลอง 8 ถึงคลอง 12 ยังระบายน้ำไม่เต็มประสิทธิภาพ

วันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) แถลงการณ์ ฉบับที่ 5 เรื่องการเร่งระบายน้ำบริเวณตะวันออกของ กทม. ความว่า

ขณะนี้มวลน้ำจำนวนมากทางเหนือของ กทม.บริเวณเหนือคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์ และคลองหกวาสายล่าง ไม่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้โดยสะดวก สร้างปัญหาให้กับการระบายน้ำที่อยู่ด้านเหนือ กทม. ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมและแรงดันน้ำเพิ่มขึ้น จนทำให้พนังกั้นน้ำถึงวิบัติได้ และเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมภายใน กทม. ในสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งมีสาเหตุดังนี้

1.คลองระบายน้ำด้านใต้ของคลองหกวา สายล่างตั้งแต่ คลอง 8 ถึงคลอง 12 ยังไม่ได้รับและระบายน้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพ

2.ระบบสูบน้ำฝั่งตะวันออก อันได้แก่ เครื่องสูบน้ำกลางคลองหกวาสายล่าง กลางคลองแสนแสบ และสถานีสูบน้ำกลางคลองประเวศน์ รวมถึงสถานีสูบน้ำด้านทิศใต้บริเวณคลองชายทะเล อันได้แก่ สถานีสูบน้ำ บางตำหรุ บางปลาร้า บางปลา เจริญราษฎร์ สุวรรณภูมิ คลองด่าน ชลหาร พิจิตร และนางหงษ์ ยังมิได้สูบน้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพ

วสท.จึงขอเสนอแนวทางแก้ไข โดยให้เปิดประตูระบายน้ำตั้งแต่ คลอง 8 ถึง คลอง 12 มากขึ้น เพื่อลดระดับน้ำจากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ และขณะเดียวกันเป็นการเร่งลำเลียงน้ำสู่ระบบสูบน้ำตามสถานีต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อชุมชน และเสริมความแข็งแรงพนังกั้นน้ำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งสถานที่สำคัญต่างๆ

ถามรายละเอียดได้ที่สำนักงาน วสท. โทรศัพท์ 0-2319-2410

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000136750

---------------------------------------------------------------

กทม.-ศปภ.ตรงกันเร่งระบายน้ำลงฝั่งตะวันออก
27 ตค. 2554 18:31 น.

ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่ากทม. เจาะข่าวเด่น ช่อง 3 -อธิบายมวลน้ำมากลงคลองล้นผุดตามท่อ ผิวถนน ลงท่อ เข้าระบบระบายน้ำ วันนี้น้ำเยอะมาก ไหลจากที่สูงที่ต่ำ น้ำเยอะจึง ล้นถนน เข้ามาที่คลอง น้ำในคลองสูงกว่าท่อ จึงย้อนกลับท่อและตีขึ้นถนนอีกที น้ำผุดตามท่อ ตั้งแต่คืน 23 ต.ค. ทำให้น้ำล้นมาถึงดอนเมือง ส่วนน้ำที่ น้ำสายไหม เข้าถ.พหลโยธิน มาสะพานใหม่ น้ำลงคลอง แล้วย้อนศรคือผุดตามท่อ บ่ากระทบตีกลับ และบ่าเข้าคลองเปรมฯ และน้ำไหลเข้าระบบระบายน้ำ

วันนี้พูดคุยเข้าใจกับศปภ. เอาน้ำเข้าคลอง6วาสายล่าง ณ เวลานี้ ระบบระบายน้ำ ทำยังไง ให้เป็นอย่างที่ควรจะเป็น โดยนายกฯได้รับปากจะมีมาตรการเยียวยาประชาชนอยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบ และนายกฯได้ตั้งให้ ผม(รองผู้ว่ากทม.)ร่วมเป็นจัดการระบายน้ำด้วย เป็นการเจาะถนนทำเป็นทางน้ำ โดยวางสะพานข้าม เพื่อให้ถนนใช้ได้เพื่อระบายน้ำข้างล่าง ข้อเสนอนี้ทำภายใน 3วัน ต้องเสร็จเพราะน้ำใช้เวลาเดินทางเจาะทางลัดเพื่อเป็นทางด่วนให้น้ำลงทะเล จะฝืนธรรมชาติน้ำไม่ได้ ต้องเร่งระบายน้ำออกทางตะวันออก ประเมินแบบเลวร้ายที่สุด เลวร้ายที่สุด โดนหมด50เขต ไฟฟ้า-ประปาดับ จมชั้น1ไปอยู่ชั้น 2 ใช้เวลา 1เดือน
ประเมินแบบดีที่สุด ถ้าจัดการได้ตามแผน กทม.ด้านชั้นในรอด 2-3สัปดาห์ ก็ปกติ ตอนนี้ ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน เพื่อรักษากทม.เมืองหลวงของคนไทยทุกคน

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=536057

----------------------------------------------------------

"ปราโมทย์" แจงวิธีระบายน้ำฝั่งตะวันออก ชี้ กทม. อาจไม่เข้าใจการเดินทางของน้ำ

Fri, 2011-10-28 00:21

กรุงเทพธุรกิจแพร่คำให้สัมภาษณ์ "ปราโมทย์ ไม้กลัด" ระบุฉะเชิงเทราสูงกว่า กทม. และน้ำทะเลก็สูงกว่าคลองที่เชื่อมทะเล ทำให้ต้องปิดประตูน้ำป้องกันน้ำสมทบเข้ากรุง ขณะที่ครม.เงาประชาธิปัตย์ยังอัดต่อว่ารัฐบาลยังบิดเบือนเส้นทางระบายน้ำ ไม่ระบายน้ำด้านตะวันออกอย่างเต็มที่

เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวานนี้ (27 ต.ค.) รายงานว่า นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรณีที่มีการอ้างว่าทางฝั่งตะวันออกไม่เปิดประตูระบายน้ำ ทำให้ปริมาณน้ำมาอัดที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนั้น ต้องมองข้อเท็จจริงในพื้นที่ เนื่องจากระดับพื้นที่ของ จ.ฉะเชิงเทรามีความสูงกว่าพื้นที่ กทม. และระดับน้ำในทะเลก็สูงกว่าคลองที่เชื่อมต่อสู่ทะเล ทำให้ต้องปิดประตูนอกคันกันน้ำพระราชดำริ ไม่ว่าจะเป็นประตูระบายน้ำหนองจอกและคลองประเวศบุรีรมย์ เพื่อป้องกันน้ำสมทบเข้ามา กทม.

กทม.อาจไม่เข้าใจการเดินทางของน้ำ ทำให้การแก้ปัญหามีความสับสน ดังนั้น ต้องทำงานประสานกับกรมชลประทาน เพราะจะรู้ดีกว่า ว่า น้ำไหลไปทางไหนต้องไหนควรปิด และต้องไหนควรเปิด นายปราโมทย์กล่าว

ขณะที่ นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ทาง ทส. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้ดูแลการผลักดันน้ำท่วมทุ่งออกทะเลให้เร็วที่สุด จากการลงพื้นที่เพื่อตรวจสภาพปัญหาการระบายน้ำในฝั่งตะวันออกแล้ว เบื้องต้นได้รับรายงานว่าปัญหามาจากการใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยหลายแห่งที่เป็นเส้นทางไหลของน้ำ ไล่ตั้งแต่พื้นที่หนองจอก มีนบุรี คลองแสนแสบ มีการก่อสร้างถนนกีดขวางทางน้ำกั้น จากเดิมในอดีตที่เคยเป็นทางน้ำไหลผ่านลงมาทางตอนล่าง รวมทั้งยังมีหมู่บ้านจัดสรรขึ้นจำนวนมากด้วย เช่น แถวถนนนิมิตรใหม่ เขตมีนบุรี ทำให้น้ำบางจุดหยุดนิ่งและต้องรอน้ำที่จะไหลลงมาก่อนถึงจะไหลลงไปได้

ได้ลงพื้นที่เพื่อทำแผนที่จุดปัญหาต่างๆ ส่งข้อมูลมาที่ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำของกรมทรัพยากรน้ำ โดยจะพล็อตจุดพิกัด และแผนที่ลงรายละเอียดพื้นที่ที่ติดขัด เนื่องจากได้ประสานงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ขอความร่วมมือไปยังผู้ว่าราชการ 50 จังหวัด ระดมเอาเครื่องสูบน้ำทั้งของรัฐและเอกชนลงมาในฝั่งตะวันออก เพื่อผันน้ำให้เร็วที่สุด

ขณะเดียวกันเมื่อวานนี้ (27 ต.ค. 54) ทีมงานของนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เผยแพร่แถลงการณ์ ครม.เงา ประชาธิปัตย์ เรื่อง "การบิดเบือนเส้นทางระบายน้ำ ผ่านกรุงเทพมหานคร" ผ่านเฟซบุคของทีมงานกรณ์ จาติกวณิช

โดยตอนหนึ่งของแถลงการณ์ระบุว่า "โดยคณะรัฐมนตรีเงา ได้ตรวจพบว่า การระบายน้ำในปัจจุบันของรัฐบาล และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เป็นการบิดเบือนเส้นทางระบายน้ำ ไม่สอดคล้องตามหลักวิชา หลักปฏิบัติจากอดีต และเป็นไปอย่างผิดหลักธรรมชาติของภูมิประเทศของกรุงเทพมหานคร จากที่คณะทำงานได้ลงพื้นที่ศึกษาพบกว่า การที่จะทำการระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทยได้เร็วที่สุดอย่างสมดุลนั้น คือ การระบายผ่านทางหลักๆ ๓ ทางซึ่งคือ ๑) ทางตะวันตก ผ่านแม่น้ำท่าจีน ๒) ทางแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านกลางกรุงเทพมหานคร และ ๓) ทางตะวันออก ผ่านทางแม่น้ำบางปะกง และนอกจากนี้ ทางน้ำที่ใช้ระบายเพิ่มพิเศษคือ ระหว่าง แม่น้ำเจ้าพระยากับ แม่น้ำบางปะกง ยังมีทางระบายพิเศษที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการนี้อยู่แล้ว ซึ่งคือ คลองด่าน และสถานีสูบน้ำต่างๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ

ปัญหาหลักที่พบ คือ การบิดเบือนเส้นทางระบายน้ำ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สมดุลในการระบายน้ำ ของ ๓ ทางหลักนี้ โดยเฉพาะทางพื้นที่ทางตะวันออกของกรุงเทพมหานคร คือ สถานีสูบน้ำต่างๆ ที่จะช่วยให้ระบายน้ำไปทางตะวันออก แทบไม่ได้มีการระบายเลยในช่วงก่อนหน้านี้ แต่เพิ่งมีการเริ่มให้มีการสูบน้ำระบายเพียงแค่ไม่กี่วัน และยังไม่ได้ทำอย่างเต็มที่ ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ การระบายน้ำหลักถูกกดดันให้น้ำมาอยู่ที่ แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นทางเส้นหลักที่อยูตรงกลาง ผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ดังจะเห็นได้ว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับความสูง เหนือระดับน้ำทะเลปกติ สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ การระบายน้ำที่ไม่มีความสมดุลเช่นนี้ จะเกิดความเสี่ยงให้มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในใจกลางเมือง กรุงเทพมหานคร และจะก่อให้เกิดความเป็นอัมพาตของระบบการบริหารจัดการทั้งระบบในประเทศ การทำงานของราชการส่วนกลางทั้งหมดจะถูกหยุด"

http://prachatai.com/journal/2011/10/37644

-------------------------------------------------------------

พบ'ถนน-หมู่บ้านจัดสรร'อื้อขวางระบายน้ำฝั่งตะวันออก
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเร่งระบายน้ำฝั่งตะวันออกออกสู่ทะเล ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำโดย นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวง และ นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัด ทส.ในฐานะประธานศูนย์ประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ของ ทส. และ นายชัยพร ศิริพรไพบูลย์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ เพื่อตรวจสภาพปัญหาการระบายน้ำในฝั่งตะวันออก

โดยนายโชติ กล่าวว่า หลังรัฐบาลมอบหมายให้ดูแลการผลักดันน้ำท่วมทุ่งออกทะเลให้เร็วที่สุด เพราะพบว่ายังไม่สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่คลองรังสิต 13 ไปตามคลองของ กทม.และลงชายทะเลอ่าวไทยได้เร็ว เนื่องจากน้ำระบายออกได้ช้า

การสำรวจเริ่มต้นจากต้น คลองแสนแสบ กระทั่ง หนองจอก เบื้องต้นได้รับรายงานว่า ปัญหามาจากการใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยหลายแห่งที่เป็นเส้นทางไหลของน้ำ ไล่ตั้งแต่พื้นที่หนองจอก มีนบุรี คลองแสนแสบ มีการก่อสร้างถนนกีดขวางทางน้ำกั้น จากเดิมในอดีตที่เคยเป็นทางน้ำไหลผ่านลงมาทางตอนล่าง เช่น แถวถนนนิมิตรใหม่ เขตมีนบุรี ทำให้น้ำบางจุดหยุดนิ่งและต้องรอน้ำที่จะไหลลงมาก่อนถึงจะไหลลงไปได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีถนนมากกว่า 50 แห่งขวางทางระบายของน้ำนับจากคลอง 13 ปทุมธานี ขวางทางระบายของน้ำฝั่งตะวันออก อาทิเช่น ทาง ประกอบด้วย ถ.ประชาร่วมใจ ถ.ราษฎร์อุทิศ ถ.สุวินทวงศ์ ถ. ร่วมพัฒนา และ ถ.นิมิตรใหม่ ถนนมอเตอร์เวย์ บางช่วง ทำให้น้ำที่เอ่อมาจากคลอง 13 ปทุมธานีไม่สามารถระบายออกได้

นอกจากนี้ ยังพบว่าการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงไปมาก หลายพื้นที่กลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ ตั้งขวางเส้นทางการระบายของน้ำ รวมทั้งยังมีหมู่บ้านจัดสรรขึ้นจำนวนมากกว่า 20 โครงการที่ตั้งในพื้นที่ไม่เหมาะสม ทำให้การระบายน้ำสู่ทะเลฝั่งตะวันออกทำได้น้อย

"ทางคณะของนายสุพจน์ ได้ลงพื้นที่เพื่อทำแผนที่จุดปัญหาต่างๆ ส่งข้อมูลมาที่ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำของกรมทรัพยากรน้ำ โดยจะพล็อตจุดพิกัด และแผนที่ลงรายละเอียดพื้นที่ที่ติดขัดเสนอรัฐบาล"

นายโชติ บอกอีกว่า การระบายน้ำในฝั่งตะวันออก กับฝั่งตะวันตกลงทะเลมีข้อมูลว่าสามารถผันออกได้แค่ 40 ล้าน ลบ.ม.ต่อวันเท่านั้น ขณะที่ปริมาณน้ำค้างทุ่ง มีปริมาตรกว่า 6,000 ล้าน ลบ.ม. และระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีบางไทร เกินกว่า 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีแล้ว

ขณะที่ นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ. ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรม การเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า การระบายน้ำฝั่งตะวันออกของ กทม. 3-4 วันที่ผ่านมาน้ำยังไม่มาก แต่ตอนนี้น้ำเริ่มลงไปมากขึ้น สิ่งที่กังวล คือ มวลน้ำที่ลงมาคลองรังสิต 1-5 เหนือ ตอนนี้มาลงเต็มพื้นที่ ทำให้น้ำต้นคลองรังสิตสูงขึ้น 7-8 ซม.ต่อวัน จะมาคุกคามดอนเมืองและคลองสามวาเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม การที่ระดับน้ำสูงต้นคลองรังสิต ไหลไปทางทิศตะวันออก ทำให้ต้องผันไปทางใต้หรือออกคลอง 13 คลองหกวา เพื่อลงไปทางใต้ ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการเรื่องนี้ ส่วนที่มีสิ่งกีดขวางใต้น้ำทั้งตอม่อรุ่นเก่า คันคลอง ถนน ที่เข้ามาในพื้นที่ ก็ไม่ง่ายก็ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ ถ้าภาพรวมแก้ไขปัญหารวดเร็วทุกคนก็จะได้ประโยชน์ร่วมกัน ปัญหาจะไม่คาราคาซัง

ส่วนน้ำทะเลหนุนขณะนี้เป็น ปัญหาที่ทำให้การระบายน้ำลงทะเลช้าลง แต่น้ำจากด้านบนที่มาจากนครสวรรค์ ฯลฯ ลงมาอัตราคงที่ เพราะไหลออกมาจากทุ่ง ตอนนี้ประมาณ 400 ล้าน ลบ.ม. ส่วนน้ำทะเลขึ้นสูง การระบายออกทะเลน้อยกว่านั้นพ้นยอดน้ำขึ้นสูงสุดไปแล้ว อัตราไหลของน้ำเริ่มคงที่แต่อัตราไหลออกทะเลมากขึ้นก็จะเริ่มลดน้ำลงไป ซึ่งภาวะน้ำท่วมขังที่เกิดขึ้นเราจะจำกัดบริเวณให้น้อยที่สุดและเร็วที่สุด

ขณะที่ ดร.คณพศ วรรณดี จาก สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า ปัญหาติดขัดเรื่องการระบายน้ำทางด้านตะวันออกเพื่อลงทะเล มี 3 สาเหตุสำคัญ ทั้งเรื่องของศักยภาพในคลองรังสิตที่ถูกขุดไว้ใช้ในการเกษตรกรรมในอดีตไม่ ได้รองรับน้ำหลาก ประกอบกับความกว้างของประตูระบายน้ำที่กั้นคลองต่างๆ ก็มีความกว้างเพียง 5 เมตร จากความกว้างถึง 35 เมตร ทำให้การรับน้ำระบายลงไปทำได้ช้า

โดยยังพบว่าตั้งแต่คลอง 3 วา ลงมาจนถึงคลอง 8-11 ชาวบ้านยังไม่เข้าใจวิธีการทอยน้ำจากคลองแต่ละจุด ไล่ตามเส้นคลองจนไปถึงคลอง 13 ที่จะสามารถปล่อยน้ำไปลงผ่านคลองของ กทม.ลงไปในสมุทรปราการได้เพียงวันละ 1.2 ล้าน ลบ.ม.ต่อวันเท่านั้น เพราะกลัวว่าจะมีน้ำท่วมในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้น้ำยังไม่เดินทางลงไปทางด้านล่าง แต่กรมทรัพยากรน้ำได้ส่งเจ้าหน้าที่ 2 ชุดลงพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านแล้ว

นอกจากนี้ ยังพบว่าอีกว่ากายภาพของพื้นที่ตั้งแต่คลองทางตอนเหนือ ลงมาจนถึงอ่าวไทย ก็มีระดับสูงต่ำไม่เท่ากัน โดยเฉพาะบริเวณคลองชายทะเลที่เป็นจุดผันลงอ่าวไทยมีลักษณะของแอ่งกระทะ หากไม่มีน้ำเข้ามามากพอก็จะไม่ระบายลงทะเลได้สะดวก โดยวิธีเดียวที่แก้ได้ ก็คือ การเร่งสูบน้ำออกเท่านั้น

"ยอมรับว่าถ้ายิ่งช้า น้ำเหนือที่ลงมาเติมก็จะไหลลงคลอง ทำให้พื้นที่ดอนเมืองกลายเป็นจุดรับน้ำท่วมขังนานขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมทรัพยากรน้ำเคยเสนอให้เจาะถนนลำลูกกาที่เป็นรอยต่อของคลองหกวาสายล่าง ลงมายังคลองแสนแสบ เพื่อเปิดให้น้ำระบาย แต่ข้อเสนอนี้ก็ไม่สำเร็จ เพราะหลายหน่วยงานกลัวว่าจะควบคุมสถานการณ์น้ำไม่ได้"

ส่วนข้อเสนอให้ใช้บ่อบำบัด น้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ เป็นพื้นที่พักน้ำนั้น อาจเป็นทางเลือกหนึ่งเท่านั้น แต่ทั้งหมดก็ขึ้นกับปริมาณน้ำที่จะระบายลงมา ซึ่งปัจจุบันยังมีอัตราที่น้อย โดยฝั่งตะวันออกที่ระบายลงและสูบลงทั้งเจ้าพระยา แม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกง และอ่าวไทย รวมกันได้ทั้งหมด 45.53 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน

ผู้รับน้ำฝั่งตะวันออกตอนปลายอย่าง จ.สมุทรปราการ นายเชิดศักดิ์ ชูศรี ผู้ ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า หลังจากได้รับการประสานงานให้พร่องน้ำจากคลองต่างๆ ลงสู่ทะเล ก็ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในพื้นที่แล้วทั้งหมด 5 คลองที่เชื่อมต่อจากคลองประเวศบุรีรมย์ ได้แก่ คลองลาดกระบัง คลองบางโฉลง คลองจระเข้ใหญ่ คลองเสาธงเพชรพิชัยและคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ซึ่งทั้ง 5 คลองนี้จะไปบรรจบที่คลองสำโรง เป็นจุดที่ระบายน้ำสู่ทะเล ผ่านทางคลองเรียบชายทะเล โดยคลองทั้งหมดพร้อมรับน้ำที่ระบายออกมาจากฝั่งตะวันออก

"ได้ขุดลองขยายคันคลอง เพิ่มและกำจัดผักตบชวาและสิ่งกรีดขวางทางน้ำหมดแล้ว และเร่งน้ำเครื่องดันน้ำให้ไหลลงคลองดังกล่าวเร็วขึ้น ขณะที่บริเวณคลองสำโรงก็ได้น้ำเครื่องสูบน้ำเร่งดูดน้ำออกลงทะเลแล้ว" นายเชิดศักดิ์กล่าว

คลองต่างๆ ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการได้เตรียมพร้อมเป็นทางระบายน้ำแล้ว แต่ยังต้องการเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม หากน้ำไหลมามากขึ้นกว่าปัจจุบันที่ค่อยๆ ไหลมา เนื่องจากบริเวณคลองสำโรงเป็นแอ่งกระทะมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเสริม เครื่องสูบน้ำอีก เพื่อเตรียมความพร้อม ซึ่งจากเดิมบริเวณคลองสำโรงมีสถานีสูบน้ำ 9 สถานี และมีเครื่องสูบน้ำ 99 เครื่อง ศักยภาพสามารถระบายน้ำได้ 100% แต่ขณะนี้ น้ำยังไม่มากจึงทำงานได้เพียง 70% เท่านั้น

ส่วนการระบายน้ำจากคลอง สำโรงออกสู่ทะเล นายเชิดศักดิ์ กล่าวว่า เครื่องสูบน้ำสามารถดูดน้ำออกจากคลองสำโรงได้ถึง 10,800 ลบ.ม.ต่อชั่วโมงต่อหนึ่งเครื่อง ซึ่งรวมแล้วจะสามารถระบายน้ำออกทะเลได้ถึง 30 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ซึ่งขณะนี้ ได้ดำเนินการขอเพิ่มเครื่องสูบน้ำอีก 15 เครื่อง ซึ่งจะสามารถระบายน้ำได้เพิ่มอีก 8 ล้าน ลบ.ม. ก็จะช่วยในกรณีที่น้ำระบายมาสู่คลองสำโรงมากกว่าปกติ

http://www.suthichaiyoon.com/detail/17337

----------------------------------------------------------

นายกปูเจรจาสำเร็จเจาะถนนคลอง9

นายกปูเจรจาสำเร็จเจาะถนนคลอง9 ผันน้ำลงคลองหกวาเพื่อผ่องถ่ายลงทะเลน้ำกรุงรุกคืบบางเขนฝั่งธนฯเริ่มตั้งวินเรือ

นายกฯ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” บุกชุมชนคลอง 9 พัฒนา เจรจาขอขุดถนนเลียบคลองรังสิต-นครนายก ฝั่งขาออกด้านขวาบริเวณคลอง 9 หวังระบายน้ำลงคลองหกวาผ่านคลองแสนแสบออกทางปากแม่น้ำบางปะกง ตอนแรกชาวบ้านเข้าขวาง กระทั่งยินยอมให้เจาะโดยดี ขณะที่หลายฝ่ายทั้งกรมชลฯและ กทม.ไม่เห็นด้วยกับแผนขุดถนน 5 สาย ระบุไม่ได้เป็นเส้นทางขวางน้ำลงทะเล แนะลอกคลองและทำท่อลอดมอเตอร์เวย์ และบางนา-ตราดแทน ผู้ว่าฯ กทม.ลุยตรวจน้ำเจ้าพระยาหลังพังสถิติสูงสุด 2.47 เมตร ลุ้นวันที่ 29 ต.ค.อาจสูงเกินแนวเขื่อนถึง 2.53 เมตร ด้านสถานการณ์น้ำท่วมเมืองหลวงทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกยังวิกฤติ แม้จะหยุดแค่หลักสี่ แต่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ เข้าท่วมเขตบางเขนแล้ว 20% ส่วนเขตทวีวัฒนาน้ำทะลักไม่หยุด ต้องประกาศอพยพโกลาหล

ชะตากรรมกรุงเทพมหานครส่อเค้าจมบาดาลทุกพื้นที่ หลังจากน้ำทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาทะลัก เข้าท่วมเขตเศรษฐกิจชั้นในแล้วบางส่วน กทม.ต้องประกาศอพยพประชาชนที่อาศัยในจุดอันตรายเป็นการด่วน ขณะที่แนวทางแก้ปัญหามีการเสนอให้รัฐบาลเจาะถนน 5 เส้นทางเพื่อระบายน้ำฝั่งตะวันออก ประกอบด้วยถนน ประชาร่วมใจ ถนนราษฎร์อุทิศ ถนนสุวินทวงศ์ ถนนร่วม พัฒนาและถนนนิมิตรใหม่ แต่ก็มีบางฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้น

นายกฯบินดูทิศทางระบายน้ำ

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 28 ต.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายชลิต ดำรงค์ศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน นายวีระ วงศ์แสงนาค ประธานคณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรง ได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กบินตรวจสภาพทิศทางการไหลของน้ำทางอากาศ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา คลองลัดโพธิ์ คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษี เจริญ คลองทวีวัฒนา และแม่น้ำท่าจีน พร้อมบินสำรวจความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ซึ่งสภาพปริมาณน้ำยังกระจายเป็นวงกว้าง เนื่องจากน้ำทะเลหนุน และบางพื้นที่ น้ำเริ่มเน่าเสีย ต่อด้วยคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ประตูระ– บายน้ำจุฬาลงกรณ์ เพื่อดูถนนเลียบคลองรังสิต-นครนายก

กล่อมเจาะถนนรังสิตฯคลอง 9

จากนั้นเวลา 13.30 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางต่อโดยรถยนต์ไปยังบริเวณชุมชนคลอง 9 พัฒนา อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โดยเข้าไปเจรจากับชาวบ้านเพื่อขอขุดถนนเลียบคลองรังสิต-นครนายก ฝั่งขาออกด้านขวาบริเวณคลอง 9 เพื่อระบายน้ำจากคลองรังสิตให้ไหลผ่านไปสู่คลองหกวาลงสู่คลองแสนแสบ และแม่น้ำบางปะกง ซึ่งตอนแรกชาวบ้านไม่ยินยอม นายถวัลย์ เงาภู่ทอง อายุ 50 ปี แกนนำชาวบ้าน ได้สอบถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าชาวบ้านไม่แน่ใจว่าการขุดถนนคลอง 9 เพื่อ ระบายน้ำออกจากคลองรังสิตแล้วจะทำให้การระบายน้ำ ทำได้จริงเพราะเท่าที่ชาวบ้านเห็นระดับน้ำในปัจจุบันมัน เท่ากันทั้งสองฝั่งหากขุดไปเกรงว่าจะเสียทั้งงบประมาณและเสียเวลาเปล่า

อ้างช่วยเปิดน้ำไปคลองหกวา

ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชี้แจงกับแกนนำชุมชนว่าผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำได้ทำการสำรวจแล้วเห็นว่าแม้ว่า ปริมาณน้ำจะมีระดับไม่ต่างกันมากนัก แต่เมื่อมีการเจาะถนนแล้วใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่มาตั้งที่ปลายทางเพื่อ ช่วยสูบน้ำอีกแรงหนึ่งจะช่วยดึงน้ำจากคลองรังสิตให้ออกไปยังคลองหกวาได้ แม้จะลดระดับน้ำลงได้เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่าเป็นการช่วยระบายน้ำอีกทางหนึ่ง ที่สำคัญจะเป็นการช่วยผ่องถ่าย และลดระดับน้ำบริเวณประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ลง ทำให้สามารถรอง–
รับปริมาณน้ำเหนือที่จะไหลลงมาได้มากขึ้น และลดความ เสี่ยงของประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์

ชาวบ้านใจอ่อนยินยอมให้ขุด

ทั้งนี้คณะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เจรจาทำความเข้าใจกับชาวบ้านกว่า 10 นาที ในที่สุดชาวบ้านได้ยินยอม แต่ขอให้นายกฯรับปากว่ารัฐบาลจะต้องเร่งเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก เส้นทางไหลผ่านของน้ำ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็รับปาก และมอบให้ท้องถิ่นทำการสำรวจรายชื่อบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบ พร้อมกล่าว

ด้วย น้ำเสียงแหบแห้งกับชาวบ้านว่า “ขอบคุณทุกคนที่เสียสละ เพราะขณะนี้เราไม่มีทางออกที่อื่น เพราะถ้ามีการอั้นน้ำไว้ก็ไม่รู้จะไหลไปทางไหน จึงต้องขอบคุณชาว ชุมชนที่เสียสละ ไม่เช่นนั้นหากเกิดปัญหาคันกั้นน้ำหรือประตูระบายน้ำพัง น้ำทะลักเข้า กทม. ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ต่างชาติก็ไม่มั่นใจว่าทำไมเราถึงรักษาเมือง หลวงไว้ไม่ได้ หากชาวบ้านคนใดที่ได้รับความทุกข์ยากก็ขอยืนยันว่าจะเร่งเยียวยาให้อย่าง เต็มที่” น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังกล่าวกับชาวบ้านด้วยว่า “ตอนนี้เหนื่อยมาก แต่ก็ต้องทำงานให้ทุกคน”

เร่งทำให้เสร็จคืนวันที่ 28 ต.ค.

หลังเจรจากับชาวบ้านเสร็จสิ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เดินลุยน้ำเข้าไปดูจุดที่จะขุดเจาะถนนคลอง 9 ทันทีและกำชับให้เจ้าหน้าที่เร่งดำเนินการ และยืนยันว่าการขุดถนนจะเสร็จภายในคืนนี้ (28 ต.ค.) จากนั้นคณะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เดินทางไปยังวัดสระบัว เทศบาลสนั่นรักษ์ จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วมมีผู้ประสบภัย จ.ปทุมธานี พักอาศัย 160 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เพื่อให้กำลังใจ พร้อมรับปากว่าจะจัดหาครูมาช่วยสอนให้กับเด็กๆในช่วงที่ยังไม่เปิดเทอม รวมทั้งหางานฝีมือมาให้ทำในช่วงที่ยังไม่มีงานทำก็ขอให้ทุกคนอดทนสักระยะ หนึ่ง รัฐบาลจะไม่ทอดทิ้ง จะเร่งดูแลและเยียวยาทุกคนอย่างเสมอภาค นอกจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังได้ไปให้กำลังใจกับอาสาสมัครที่มาทำอาหารเลี้ยงผู้อพยพ พร้อมรับปากว่าจะเร่งให้จังหวัดคู่แฝดเข้ามาช่วยอีกแรงหนึ่งเพื่อแบ่งเบา ภาระระหว่างกัน เพราะตอนนี้ กทม.เองก็กำลังหนักทุกฝ่ายคงต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะถือเป็นการช่วยประเทศชาติ

ห่วงน้ำทะเลหนุนสูงอีก 2-3 วัน

กระทั่งเวลา 14.00 น. ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังขึ้นบินสำรวจสภาพน้ำทางอากาศว่า ได้บินไปดู 2 ส่วนของการระบายน้ำที่เราได้คุยกันด้านคลองรังสิต 8-9 เพื่อแบ่งเบาภาระน้ำที่มาจากประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ เพื่อไม่ให้เข้าไปที่คลองเปรมประชากร พี่น้องชาวปทุมธานีให้เปิดคันกั้นน้ำได้ ต้องขอบคุณชาวปทุมฯ ซึ่งบริเวณนั้นจะมีร้านก๋วยเตี๋ยวบ้านเรือนก็ได้ทำความเข้าใจและเต็มใจเสีย สละพื้นที่ตรงนี้ในการรับน้ำเพื่อให้น้ำเบาบางลงไป เพราะเราห่วงว่าปริมาณน้ำมากๆแล้วไม่มีที่ระบายแล้วก็จะทำให้คันต่างๆแตก กระแทกเข้าไปในส่วนของ กทม. และอีกส่วนได้บินดูแนวระบายน้ำของแต่ละคลอง อย่างคลองระพีพัฒน์เข้าขั้นเต็มพื้นที่แล้ว วันนี้ปัญหาที่เป็นห่วงก็คือเป็นวันที่น้ำทะเลหนุนสูงในช่วง 2-3 วัน จะทำให้น้ำอีกส่วนหนึ่งเข้ามายังคูคลองต่างๆ จึงทำให้ปริมาณน้ำในคลองเต็ม สำหรับการระบายน้ำฝั่งตะวันตกจะพยายามเร่งให้ผ่านคูคลองต่างๆ เบื้องต้นอาจมีความยากลำบาก จะต้องเร่งให้มีการติดตั้งเครื่องระบายในจุดอื่นเพิ่มเติม

ไทยรัฐออนไลน์

* โดย ทีมข่าวหน้า 1
* 29 ตุลาคม 2554, 03:41 น.

http://www.thairath.co.th/content/pol/212723

----------------------------------------------------------


ภาพการเคลื่อนที่ของน้ำ ในวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่ ปี 2554
บริเวณกรุงเทพและปริมณฑล




http://www.gistda.or.th/gistda_n/Gallery/img/Flood2011/20111102-flood_animation.gif

+++


















http://www.gistda.or.th/gistda_n/Gallery/img/Flood2011/20111030-theos-false-central.jpg

--------------------------------------------

นาซ่าเผยภาพถ่ายดาวเทียม "ลุ่มน้ำเจ้าพระยาท่วมกรุงเทพฯ"

วันที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 22:10:00 น.








(ที่มา ข่าวสดออนไลน์)
(ด้านบน ภาพถ่ายปี 2551 ด้านล่าง ภาพถ่ายปี 2554)

สำนักข่าวรอยเตอร์เผยแพร่ภาพถ่ายผ่านดาวเทียมขององค์การการบินและอวกาศสหรัฐฯ (นาซ่า) ตรงลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร จุดที่เป็นน้ำปรากฏเป็นสีน้ำเงินเข้มออกดำ พื้นที่ต้นไม้-ทุ่งหญ้าปรากฏเป็นสีเขียว พื้นที่อยู่อาศัยเป็นสีน้ำตาล และเมฆเป็นสีฟ้า

ภาพดังกล่าวถ่ายด้วยระบบที่เรียกว่า the Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) จากดาวเทียมเทอร์รา (Terra satellite) ของนาซ่า เป็นการผสมสานแสงตามธรรมชาติและแสงอินฟราเรด เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างพื้นน้ำกับผืนดิน ภาพแรกถ่ายเมื่อวันที่ 13 พ.ย.2551 และภาพล่าสุด ถ่ายเมื่อวันที่ 25 ต.ค.2554

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320160036&grpid=01&catid=&subcatid=

---------------------------------------------

สถิติน้ำไหลเข้าเขื่อนและการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิต์
มีการโจมตีว่า รมต.เกษตร ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สั่ง กฟผ.และกรมชลกักเก็บน้ำ
ในวันที่ 5 กันยายน 2554 ว่าเป็นต้นเหตน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้
แต่จากสถิติ คณะกรรมการดูแลเขื่อนภูมิพล ทำตามแค่สองสามวัน
หลังจากนั้นก็ทำตามปกติ และที่น่าสังเกตุมีการกักน้ำมาก่อนหน้านี้หลายเดือนแล้ว
โดยปล่อยน้ำน้อยมากเมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลเข้า
ก่อนรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะเข้ามาทำงานเสียอีก
ส่วนเขื่อนสิริกิต์ ไม่มีสัญญาณว่าทำตามสั่งแต่อย่างใด
ยังคงทำแบบเดิมๆ คือปล่อยน้ำไม่ให้ล้นเขื่อนเรื่อยๆ
เพราะสะสมน้ำเกือบครึ่งเขื่อนก่อนเข้าฤดูฝนทำให้น้ำเต็มเขื่อนเร็ว






























--------------------------------------------------


ตารางแสดงการกักเก็บน้ำและการระบายน้ำของเขื่อนภููมิพล

ณ 3 กรกฎาคม 2554
เลือกตั้ง ส.ส. ทั้งประเทศ
















ณ 5 สิงหาคม 2554
มติสภาผู้แทนราษฎรเลือกยิ่งลักษณ์เป็นนายก

















ณ 9 สิงหาคม 2554
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่
















ณ 23 สิงหาคม 2554
ยิ่งลักษณ์แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เพื่อให้สามารถทำงานในตำแหน่งนายกได้เต็มที่ตามรัฐธรรมนูญ 50
















ณ 1 พ.ย. 2554














http://water.rid.go.th/flood/flood/dayreport.htm

-----------------------------------------------

กราฟแสดงการกักเก็บน้ำและการระบายน้ำของเขื่อนภููมิพล

































































































+++

กราฟแสดงการกักเก็บน้ำและการระบายน้ำของเขื่อนสิริกิต์

































































































+++

กราฟแสดงการกักเก็บน้ำและการระบายน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
































































































http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_lgraph.php

---------------------------------------------


แผนผังป้องกันน้ำท่วมและระบายสู่ทะเลของกทม.

นายบุญสนอง สุชาติพงษ์ โฆษกกรมชลประทาน กล่าวว่า การระบายน้ำเหนือลงสู่ทะเล ของพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ไล่ตั้งแต่สถานีสูบน้ำพระยาวิสูตร เรื่อยไปจนถึง สถานีสูบน้ำตำหรุ ที่อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ สามารถระบายน้ำลงทะเลได้ประมาณวันละ 37.78 ล้าน ลบ.ม./วัน ขณะที่พื้นที่ฝั่งตะวันตกของ กทม. ไล่ตั้งแต่สถานีสูบน้ำคลองมหาชัยเรื่อยไปจนถึงคลองมหาชัย สามารถระบายน้ำได้วันละ 26.18 ล้านลบ.ม./วัน รวมกับการระบายออกทางแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งที่ดันน้ำออกและไหลไปตามธรรมชาติ ประมาณ 300 ล้าน ลบ.ม. /วัน รวมทั้งสิ้นสามารถระบายน้ำออกได้วันละ 400-420 ล้าน ลบ.ม./วัน ซึ่งทำให้ภาพรวม กทม. สามารถระบายน้ำออกสู่ทะเลในภาพรวมมากกว่าน้ำที่รับเข้ามาวันละประมาณ 3,500 ลบ.ม./วัน หากไม่มีสถานการณ์อื่นมากระทบอาทิ น้ำในเขื่อนที่อยู่เหนือขึ้นไปปล่อยน้ำลงมา ฝนตกเพิ่มจากมีพายุลูกใหม่เข้า เชื่อว่าหากกรมชลประทานสามารถระบายน้ำออกไปในอัตรานี้ สถานการณ์น้ำท่วมในที่ราบลุ่มภาคกลาง รวมไปถึง กทม. จะคลี่คลายลงไปได้จนสู่ภาวะปกติได้ ภายใน30-45 วัน ซึ่งก็คือประมาณกลางเดือนธ.ค. ที่จะถึงนี้














http://www.thairath.co.th/page/bangkokDrainage

--------------------------------------------

ภาพแสดงทิศทางการไหลของน้ำโดยธรรมชาติ



















http://www.gisthai.org/map-galery/Flood54/flood_04.jpg

--------------------------------------------

ภาพแสดงระดับพื้นดินในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล


















http://www.tempf.com/getimgfull.php?id=1085072&key=public4ea8b7de1fa6c1085072&mime=image/jpeg

-----------------------------------------------


<<< บันทึกเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี 2554 >>>
<<< สถิติปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วง 1 ก.ย.54 - 11 ต.ค.54 >>>
<<< สถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในไทย ณ 4 ต.ค. 54 >>>
<<< แผนผังการระบายน้ำ ณ 11 ต.ค. 54 >>>
<<< ตัวอย่างการใช้ไอทีมาพยากรณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า พร้อมวิธีการตรวจสอบการปล่อยน้ำในเขื่อน >>>

<<< Bangkok Underwater >>>
<<< รายงานสถานการณ์น้ำท่วมดอนเมือง แจ้งวัฒนะ ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต ณ 21 ต.ค.54 >>>
<<< สำรวจสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ ในเส้นทาง คลอง 8 ลำลูกกา รังสิต คลอง 6 ธัญบุรี ณ 22 ต.ค.54 >>>
<<< สำรวจสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ ในเส้นทาง คลองหกวา มีนบุรี และ ลาดกระบัง ณ 23 ต.ค.54 >>>
<<< สำรวจสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ ในเส้นทาง ถนนบางเลน-แยกนพวงศ์, นครชัยศรี-ศาลายา และ บรมราชชนนี ณ 27-28 ต.ค.54 >>>

<<< ย้อนอดีตน้ำท่วมกรุงเทพฯ จาก 2328 ถึง 2554 ...226 ปีแห่งความซ้ำซาก >>>

-------------------------------------------------

+ ศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
+ แผนที่พื้นที่น้ำท่วม
+ คลังข้อมูลสภาพน้ำ
+ ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ
+ สภาพน้ำและการระบายน้ำ
+ อุณหภูมิและปริมาณฝน
+ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
+ GIS THAI
+ เว็บแก้มลิง เฝ้าระวังน้ำท่วม

-------------------------------------------------

New Reports Show Impact of Manmade Global Warming

The influence of manmade global warming on the climate system continues to grow, with human fingerprints identified in more than two dozen climate “indicators” examined by an international research team — from air temperatures to ocean acidity — for a comprehensive annual “State of the Climate” report released Tuesday.
In a related study also released on Tuesday, climate researchers said manmade global warming is already shifting the probability of many extreme weather and climate events, making heat waves, droughts, and other events more likely to occur in some parts of the world. The study found that manmade global warming made the devastating Texas drought and heat wave of 2011, which was the most expensive drought in the Lone Star State's history, at least 20 times more likely compared to years with similar large-scale weather patterns in the 1960s. The report also tied other recent extreme events worldwide to manmade warming.
Together, the two reports amount to a comprehensive accounting of the present state of the climate system, over which mankind is now exerting a greater impact than ever before.
Drought map from June 2011, showing the intensifying drought in Texas and northern Mexico. Credit: NOAA.
“Every weather event that happens now takes place in the context of a changing global environment,” said deputy NOAA administrator Kathryn D. Sullivan in a press release. The reports were released during a time when extreme weather events have been making international headlines, with the U.S. having just experienced an historic heat wave that has withered crops. Drought has expanded across the lower 48 states, affecting 56 percent of the contiguous U.S., and Russia is burying the dead from flash flooding that struck Krymsk, a small town near the Black Sea. Through June, the U.S. has had its warmest 12-month period, warmest year-to-date on record, and also saw a string of deadly wildfires.
The “State of the Climate 2011” report, published by the National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) and the American Meteorological Society (AMS), presents a peer reviewed tour through the weather and climate events of 2011. The overriding theme that emerges from the report is that the effects of human activities are readily evident, be it in the form of rising concentrations of greenhouse gases in the atmosphere — global carbon dioxide concentrations hit a new all-time high of 390 parts per million last year, and will cross the 400 ppm threshold worldwide by 2016 — to the inexorable increase in ocean heat content.
The report shows that a La Nina event, characterized by cooler-than-average sea surface temperatures, helped keep global average surface temperatures down compared to 2010, but it was one of the warmest La Nina years on record.
In the Arctic, which has been warming at twice the rate of the rest of the globe, 2011 had the second-lowest sea ice extent on record. Barrow, Alaska, located above the Arctic Circle, experienced a record 86 straight days when the temperature failed to drop below freezing.
The report also contains evidence from ocean salinity measurements that the global water cycle is intensifying. “The dry regions are getting drier and the wet regions are getting wetter,” Kate Willet, a senior scientist at the U.K. Met Office said on a conference call with reporters.
The other climate assessment, which was also released by NOAA and the AMS, represents a step forward in efforts to decipher how manmade global warming is influencing specific extreme weather and climate events.
Global average surface temperature departures from average during 2011. Credit: NOAA.
As the reports, along with prior studies, point out, some extreme events are much more likely to occur in a warming world. Researchers used different and largely novel approaches to analyze a half-dozen extreme weather and climate events that occurred last year, from the brutal Texas drought and heat wave to the deadly Thailand floods.
The report notes that global warming has already been playing a role in shifting the odds for several of these extreme events, including the Texas drought. The 2011 growing season was by far the warmest and driest in Texas history, and the drought was the worst one-year drought on record there as well, costing billions in agricultural losses.
The study concluded that, due to manmade global warming, La Nina-related heat waves are now 20 times more likely to occur in Texas than they were 50 years ago.
According to Peter Stott, who leads the Climate Monitoring and Attribution team at the U.K.’s Met Office, since manmade global warming is boosting average temperatures, it makes it more likely that certain thresholds will be reached or exceeded when a La Nina occurs. Weather patterns during La Nina years naturally tend to favor warmer and drier conditions in the Lone Star State.
“You’re [now] much more likely to have exceptional warmth,” in Texas during a La Nina year, Stott said.
Other researchers looked at international events and came to different conclusions depending on the questions researchers asked and the specific event in question. For example, scientists looked into the shifting odds for two unusual months that the U.K. experienced in 2010 and 2011. The U.K. had a very warm November of 2011, and rare cold during December 2010, during which time much of Britain experienced a white Christmas.
The study found that, because of manmade global warming and other factors, cold Decembers are now half as likely to occur as they were 50 years ago, and warm Novembers are 62 times more likely to take place.
Other experts in the burgeoning field of “extreme-event attribution” took on the challenge of determining whether there was a global warming influence on the record Thailand floods of last year.
The floods were the worst to occur there since 1942, with some areas remaining submerged by 6 feet of water for more than two months, according to NOAA. The floodwaters damaged or destroyed many high tech manufacturing centers, leading to delays in shipping equipment such as laptop computers.
In this case, the researchers found evidence that the floods were manmade, but not because of climate change. The study concluded that the rainfall amounts were not actually unprecedented or that unusual for Thailand, and that industrial development, reservoir management policies, and other trends on the ground contributed to the flooding.
“The flooding was unprecedented but the rainfall that produced it was not,” Stott said.
Stott is working with an international team of scientists to advance extreme-event assessments, and has raised the possibility of eventually being able to conduct them in near-real time if the science advances far enough.

http://www.climatecentral.org/news/two-new-reports-underscore-impact-of-manmade-global-warming/

-------------------------------------------------

โดย มาหาอะไร
FfF