บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


18 กุมภาพันธ์ 2553

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง วิธีสำรวจภาวะคนว่างงาน เขาทำกันยังไง >>>

จากรายงานสรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2552)
ที่นี่ http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/lfs52/reportDec.pdf

อ่านไปเจอวิธีการสำรวจ ในภาคผนวกถึงเข้าใจ
ว่าเขาหาข้อมูลกันมายังไง น่าเชื่อถือหรือไม่
อ่านวิธีการสำรวจจบแล้ว ลองมาวิเคราะห์กันต่อไป

----------------------------------------------------------------------

ภาคผนวก
1. วิธีการสำรวจ
การสำรวจในแต่ละเดือนได้ดำเนินการสำรวจทั่วประเทศในทุกจังหวัด ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบ
Stratified Two Stage Sampling โดยตัวอย่างขั้นที่ 1 คือ ชุมรุมอาคาร 1/ (ในเขตเทศบาล) หรือหมู่บ้าน (นอกเขตเทศบาล)
ซึ่งมีจำนวนตัวอย่างประมาณ 1,932 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่าง และตัวอย่างขั้นที่ 2 คือ ครัวเรือนการสำรวจในแต่ละ
เดือนมีจำนวนครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างทั้งสิ้นประมาณ 26,520 ครัวเรือนตัวอย่าง คิดเป็นจำนวนประชากรที่ตกเป็นตัวอย่าง
ทั้งสิ้นประมาณ 92,820 คน ซึ่งขนาดตัวอย่างดังกล่าวนำเสนอข้อมูลในระดับ ภาค และ ยอดรวมทั้งประเทศ สำหรับแนวคิด
และคำนิยามที่ใช้ในการสำรวจใช้ตามสภาพที่เหมาะสมกับประเทศไทย และตามข้อเสนอแนะ ของ ILO และ UN ซึ่งเป็น
มาตรฐานทางสถิติที่ประเทศต่าง ๆ นำไปใช้ในการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเพื่อให้ได้ข้อมูลการทำงานการ
ว่างงาน และการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชากร ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ในระหว่างประเทศ
สำหรับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง โดยพนักงาน
ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทั้งนี้ ในกรุงเทพมหานครใช้พนักงานทำการสัมภาษณ์ จำนวน 44 คน ในจังหวัดอื่น ๆ
จำนวน 830 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการสัมภาษณ์ทุกคน จะมีคู่มือการปฏิบัติงานการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการ
ปฏิบัติงาน เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานในแนวทางเดียวกัน
ส่วนการประมวลผลข้อมูลนั้น ดำเนินการในส่วนกลางตามหลักสถิติศาสตร์ โดยนำข้อมูลที่ได้จาก
ครัวเรือนตัวอย่างมาคำนวณ โดยใช้สูตรในการประมาณค่าที่เหมาะสมกับวิธีการเลือกตัวอย่าง หรือนำมาถ่วงน้ำหนัก
(Weight) เพื่อให้ได้ค่าประมาณของประชากรทั้งหมดที่ใกล้เคียงกับค่าที่แท้จริง ทั้งในระดับภาค และยอดรวมทั่วประเทศ

2. คำนิยามสำคัญที่ใช้ในการสำรวจ
• ผู้มีงานทำ หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และในระหว่าง 7 วันก่อนสัมภาษณ์ มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
1. ได้ทำงานตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป โดยได้รับค่าจ้าง
2. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวิสาหกิจหรือไร่นาเกษตรของหัวหน้าครัวเรือน
หรือของสมาชิกในครัวเรือน เช่น ช่วยธุรกิจในครัวเรือน หรือเป็นลูกของเจ้าของบริษัท ซึ่งได้
ผลประโยชน์จากบริษัทอยู่แล้ว

3. ไม่ได้ทำงาน หรือทำงานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง แต่เป็นผู้ที่ปกติมีงานประจำ กล่าวคือ มีงานอยู่แต่ช่วงนี้ ไม่ได้ทำ เป็นผู้ที่มีลักษณะอย่างใด อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
3.1 ยังได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือผลประโยชน์อื่น ๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิจใน
ระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน เช่น อยู่ระหว่างลาพักผ่อนตามสิทธิ์ เป็นต้น
3.2 ไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง หรือผลประโยชน์อื่น ๆ หรือผลกำไรจากงานหรือธุรกิจใน
ระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน แต่ยังมีงานหรือธุรกิจที่จะกลับไปทำ เช่น การลาป่วย/ลากิจ
ของลูกจ้างรายวัน เป็นต้น
1/ ชุมรุมอาคาร : พื้นที่ในเขตเทศบาลทุกจังหวัด จะแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า ชุมรุมอาคาร (Block) ใช้แผนที่สถิติที่จัดทำ
โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ คือ 1 ชุมรุมอาคาร ประกอบด้วยครัวเรือน ประมาณ 100 - 200 ครัวเรือน

----------------------------------------------------------------------

ดูวิธีการสำรวจแล้ว
ก็คิดว่าคงไม่ได้ต่างอะไรกับสำนักโพลล์ดังๆ ของไทย
ที่ชอบเสนอโพลล์แทบทันทีที่เกิดเหตุการณ์
ไม่เว้นแม้แต่การทำรัฐประหาร
เพื่อหวังสร้างกระแสว่ากับเหตุการณ์นั้นๆ
หรือคนเห็นด้วยกับการทำรัฐประหารเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
ก็ทำกันมาแล้ว

<<< นั่งเทียน โพลล์ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/03/blog-post_4569.html

และเรื่องต่างๆ เพื่อหวังสร้างกระแสให้กับฝ่ายที่สนับสนุน
หรือต้องการดิสเครดิตฝ่ายที่ไม่สนับสนุน
อย่างโพลล์เรื่องหวยออนไลน์ก็ชัดเจน
พอรัฐคิดจะเดินหน้า โพลล์ก็ออกมาว่ามีประชาชนหนุนมากมาย
พอโดนคัดค้าน รัฐชักไม่อยากทำต่อ โพลล์ก็ออกมาว่ามีคนคัดค้านมากมาย
สรุปแล้วจะเชื่อโพลล์อันไหน
และจะเห็นได้ว่าใช้ความรู้สึกบวกกระแสสังคมผสมไปในโพลล์ด้วย

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง หวยออนไลน์ รายชื่อผู้ได้โควต้า และการกลับไปกลับมาของโพลล์หวย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/01/blog-post_07.html

อันที่จริงแล้ว
สถิติที่เกี่ยวกับข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ
ควรเก็บให้มีมาตรฐานกว่านี้
ไม่ใช่ใช้วิธีการทำโพลล์
ถ้าเก็บสถิติคนว่างงาน
ก็ต้องไปสำรวจคนว่างงานจริงๆ
โดยให้ทุกคนในทะเบียนราษฎร์
ที่อยู่ในเกณฑ์อายุเริ่มนับสถิติคนว่างงาน
ต้องมา Update ข้อมูลการว่างงาน
ในกรณีที่ตนตกงาน
โดยใช้ฐานข้อมูลพนักงานบริษัท รัฐวิสาหกิจและข้าราชการ
เป็นฐานข้อมูลในการ Update สถานภาพ
เช่นถ้าตกงานก็จะมีสถานภาพรับรู้ได้
อันที่จริงประกันสังคมก็ทำอยู่แล้วเข้าใจว่ายังงั้น
ถ้าคนมีประกันสังคมตกงาน
ก็จะได้รายได้จากประกันสังคมในช่วงว่างงาน
รายละเอียดลองไปติดต่อประกันสังคมอีกที
แนวฐานข้อมูลแบบประกันสังคมนี้แหล่ะ
ที่จะเป็นฐานข้อมูลหาให้ได้ว่ามีคนว่างงานเท่าไหร่จริงๆ
แค่รวมข้อมูลข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ
หรือพวกที่ไม่ได้เข้าประกันสังคม
หรือข้อมูลที่ให้มีการลงทะเบียนสำหรับคนตกงานทั่วไป
ที่ไม่ได้เข้าประกันสังคมผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยก็จะดี สะดวกขึ้น
อันที่จริงถ้าเป็นประเทศแนวรัฐสวัสดิการ
ทุกคนเหมือนเข้าประกันสังคมโดยอัตโนมัติ
ก็จะมีข้อมูลที่เที่ยงตรงแม่นยำ
นำไปใช้ประกอบการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้
ไม่ใช่หมกเม็ดแอบช่วยเหลือกัน
ปั้นตัวเลขสวยๆ โดยการทำโพลล์สำรวจคนไม่เท่าไหร่
แล้วมาเหมาว่าปีนั้นปีนี้มีคนทำงานหรือว่างงานอัตราเท่านั้นเท่านี้
ดูยังไงก็ไม่น่าเชื่อถือเมคตัวเลขกันได้
ขนาดตัวเลขส่งออก ที่สามารถเก็บสถิติได้ค่อนข้างแน่นอน
ยังมีมั่วแต่งตัวเลขสมัยรัฐบาลชวน1
จนมีผลกระทบต่อมาในรัฐบาลบรรหาร
ที่ทำให้ยอดส่งออกแทนที่จะเพิ่มขึ้นหลายเปอร์เซ็นต์
กลับกลายเป็นว่าไม่เพิ่มเผลอๆ จะติดลบ
ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่น
จนเกิดการโจมตีค่าเงินบาทในเวลาต่อมา
นี่เป็นตัวอย่างการปั้นตัวเลขหวังเอาใจพวกที่เชียร์
หรือเอาใจเจ้านายหรือรัฐบาลของคนที่เก็บสถิติเหล่านี้

<<< วิกฤตต้มยำกุ้ง #2 ความเชื่อมั่นที่ตกต่ำ ตอกย้ำการโจมตีค่าเงิน >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/06/blog-post_945.html

ถ้าคนไข้ไม่บอกอาการของโรคและความจริงที่เกี่ยวข้อง
ให้กับหมอที่ตรวจรักษาตนเอง
หมอคนนั้นก็คงต้องเดาส่งเดชไปตามประสบการณ์ของตน
และให้ยาที่ไม่ตรงกับโรคก็ได้
แถมอาจให้ยาที่คนไข้แพ้ยาตัวนั้นก็ได้
แทนที่จะรักษาได้จนหายดี
อาจจะหายไปจากโลกนี้ได้ไวขึ้นก็ได้
ดังนั้นข้อมูลที่จำเป็นต้องถูกต้องแม่นยำ
ถึงนำไปใช้วิเคราะห์ได้ถูกต้อง
และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

เรื่องการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจก็เหมือนกัน
ถ้าตัวเลขแต่ละตัวได้มาจากการทำโพลล์
หรือเมคช่วยๆ กัน เพื่อหวังสร้างความเชื่อมั่นอย่างเดียว
แต่ความเป็นจริงแล้ว
ชาวบ้านทั่วไปไม่มีใครสนใจตัวเลขเหล่านี้สักเท่าไหร่
ที่สนใจก็คงมีจำนวนน้อยที่ชอบเอาตัวเลขเหล่านี้ไปวิเคราะห์นั่นนี่ต่อ
โดยไม่สนใจว่าที่มาน่าเชื่อถือหรือไม่
สามารถปั้นตัวเลขกันได้ไหม ไม่สนใจ
ยิ่งชาวบ้านที่ไม่สนใจด้วยแล้ว
ต่อให้รัฐบาลประกาศตัวเลขสวยหรู
ว่าคนตกงานน้อยลง
ทั้งๆ ที่มีข่าวตกงานออกมาเยอะแยะ
แถมพวกเขาก็ดิ้นรนหางานทำกันอยู่
เขาไม่มาเชื่อมั่นอะไรด้วยหรอก
ยิ่งบอกว่าเศรษฐกิจดี นั่นนี่ดี
แต่คนส่วนใหญ่ล้วงกระเป๋าเห็นเงินที่เหลือใช้น้อยลง
บางทียังต้องไปกู้เพิ่มเขาก็ไม่เชื่อหรอกว่าดีขึ้น

บางทีเห็นเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น
ก็มีการนำมาอวดกันว่าสัญญาณเศรษฐกิจดีขึ้น
พอเข้าไปดูว่ามันมาจากไหน
นอกจากไปรีดภาษีจากบริษัทต่างๆ
แบบไม่สนใจงบการเงินสักเท่าไหร่
สนใจว่าปีนี้สรรพากรจังหวัดได้ตัวเลขจากรัฐว่า
ให้เก็บให้ได้เท่านั้นเท่านี้
ก็ต้องมาขอไล่บี้กับบริษัทห้างร้านทั่วไป
ว่าให้ช่วยๆ กันหน่อยไม่งั้นอาจโดนย้าย
ซึ่งถ้าไม่ช่วยก็จะโดนตรวจสต็อควุ่นวาย
ไม่ต้องทำมาหากินกันพอดี
ก็เลยต้องจ่ายเพิ่มเกินจากผลประกอบการปัจจุบัน
ไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้เลยสำหรับประเทศนี้
เพราะทำบัญชีกันสองเล่มกันแทบจะทุกบริษัทห้างร้าน
ที่ไม่ได้เป็นบริษัทมหาชนหรือผู้บริหารมีอุดมการณ์ดีๆ
โดยเฉพาะบริษัทห้างร้านเล็กๆ แทบทั้งนั้น
ดังนั้นเอาไปอ้างอิงได้เฉพาะผู้ที่ไม่รู้หรือแกล้งโง่
ไม่รู้ว่าที่มาจริงๆ เป็นยังไงเท่านั้น

ส่วนภาษีสรรพาสามิตน้ำมันที่เก็บเพิ่ม
ก็มีหลักฐานชัดอยู่แล้วว่า
ไปรีดเก็บภาษีน้ำมันเพิ่มจากที่ควรจะเป็น
เป็นการนำมาแฉ มาประจานมากกว่า
ว่าไปถอนขนห่านขูดรีดมาได้ยังไง
ก็เล่นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่
ปล่อยให้เอกชนค้ากำไรเกินควร
เพื่อจะได้เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น
รวมไปถึงโขกค่าภาษีในโครงสร้างราคาน้ำมัน
และคิดค่า FT ที่ไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนจริง
ก็ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในรัฐบาลอภิสิทธิ์นี้

<<< กราฟราคาน้ำมันขายปลีก ที่แสดงให้เห็นว่าราคาขายตอนนี้เริ่มผิดปกติ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/04/blog-post_28.html

<<< ค่าการตลาดน้ำมัน ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ สูงกว่า หลายรัฐบาลที่ผ่านมา >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/04/blog-post_605.html

<<< ประชาชนจนๆ ต้องตายก่อน >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/07/blog-post_23.html

<<< หลักฐานแสดง ค่า FT กับ ราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าเริ่มสวนทางกัน >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_08.html

รัฐบาลนี้และนักเศรษฐศาสตร์บางคน
คิดว่าถ้าประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว เศรษฐกิจจะดีขึ้น
แต่ไม่ได้คิดว่าเขาจะอยู่กันได้ไหม
เพราะถ้ามีรายได้เพิ่มแล้วรายจ่ายเพิ่มตามแถมเพิ่มอัตรามากกว่า
เขาจะอยู่กันเข้าไปได้ยังไง
แถมชาวบ้านที่ไม่ได้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
แต่รายจ่ายเพิ่มตามเหมือนคนอื่น
เช่น ราคาน้ำมันแพง ข้าวของก็แพงตามค่าขนส่ง
ตนเองก็ต้องได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาแพงและราคาน้ำมันแพง
แต่รายได้ไม่ได้เพิ่มตามเหมือนพวกข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
ก็เหมือนโดนสองเด้ง

กรณีพวกสินค้าเกษตร
ถ้าแพงมากมันก็ทำให้ค่าครองชีพแพงตามไปด้วย
อย่างกรณีราคายางพารามันขึ้นไปมากก็ดี
แต่เกษตรกรชาวสวนยางอาจไม่ได้เต็มที่
พวกที่ได้เต็มที่อาจเป็นพวกพ่อค้าคนกลาง
เพราะเขามีทุนในการกว้านซื้อตอนราคาถูกๆ
แล้วมีโกดังเก็บยางตุนไว้เยอะๆ
เวลาราคาแพงเขาก็จะนำออกมาขาย
ในขณะที่ชาวสวนยางอาจไม่มียางมาขาย
เพราะเจอทั้งน้ำท่วมใหญ่ก่อนหน้านี้
และกำลังเข้าสู่ฤดูแล้งที่สุดในประวัติศาตร์ของไทยอีกครั้งหนึ่ง
ในเดือนสองเดือนข้างหน้า
เฉพาะในกรุงเทพจะร้อนเกิน 40 องศาขึ้น
นี่เป็นข่าวที่ได้รับมาจากนักวิเคราะห์ด้านอุตุนิยมวิทยา
ส่วนที่ต่างประเทศแถวๆ ลาตินอเมริกา
ตายเพราะคลื่นความร้อนไปหลายสิบคนแล้ว
อะไรพวกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ยางราคาแพงขึ้นช่วงนี้
แถมพ่อค้าที่เก็งราคายางไม่เป็น
ก็อาจขาดทุนจากการไปทำสัญญาขายยางราคาถูก
แล้วต้องมาซื้อยางในราคาที่แพงขึ้นไปส่งมอบ
ส่วนพวกนกรู้หรือวิเคราะห์ว่าจะแพงแน่ก็อาจไม่ไปทำสัญญาซื้อขาย
ประจวบกับเหตุการณ์น้ำท่วมและแล้งในหลายประเทศที่ผลิตยาง
ทำให้ผลผลิตตกต่ำลง ทำให้ปริมาณยางที่จะขายมีน้อยลง
ราคามันก็เลยเหมือนโดนเก็งกำไรเพิ่มเอาเพิ่มเอา
ตอนนี้ใครไปทำสัญญาซื้อขาย
โดยที่ไม่ได้ตุนไว้ตั้งแต่ตอนที่ราคาถูกๆ
กะมาซื้อช่วงนี้เพื่อไปขายมีแต่คนบ้าที่ทำ
เพราะจะขาดทุนทันทีจากราคาที่เพิ่มขึ้นทุกวัน
แต่ราคาขายกับคงที่ตามที่ไปทำสัญญาไว้
แถมไม่รู้จะหายางได้ไหมเพราะพอแพงขึ้น
ก็เริ่มมีการกักตุนเก็งกำไรชะลอการขาด
ผลกระทบก็มากระทบกับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จากยางสำเร็จรูป
เช่น ยางรถก็อาจปรับราคาเพิ่มตามไปด้วย
คนทั่วไปที่จำเป็นต้องใช้ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
แล้วแบบนี้ เศรษฐกิจมันจะดีขึ้นตรงไหน

แถมด้วยประเด็นสุดท้าย
ต่อให้วิธีเก็บสถิติเหมือนกันในทุกประเทศ
แต่คนทำมีความเป็นมืออาชีพ ไม่เลียแข้งเลียขารัฐบาล
รักในศักดิ์ศรีของวิชาชีพของตนต่างกัน
ผลที่ได้ความน่าเชื่อถือก็ต้องต่างกันไปด้วย
จึงคิดเอาเองสรุปเอาเองว่า
วิธีเหมือนกันผลจะเหมือนกันไม่ได้
ถ้าวิธีนั้นต้องอาศัยการตัดสินใจของคนเข้าไปเกี่ยวข้อง
เพราะจะมีเรื่องอคติ การอยากก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
นั่นนี่ต่างๆ เป็นส่วนประกอบ
ที่จะทำให้ผลต่างๆ แตกต่างกันแม้วิธีการเหมือนกันทุกอย่าง
ยกเว้นเป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์
ที่หลักเกณฑ์แน่นอนตัวอย่างข้อมูลทั่วถึง
และไม่ใช่วิธีีการทำโพลล์
เพราะเห็นๆ กันอยู่แล้วว่า
บทจะแม่นก็สามารถทำให้แม่นได้
กรณีการทำโพลล์นอกคูหาเลือกตั้ง
แต่บทจะไม่แม่นทำเพื่อเอาใจผู้มีอำนาจก็ทำได้เหมือนกัน
ตามตัวอย่างในอดีตที่เคยๆ ทำกันมา
ที่นำมาให้อ่านประกอบในตอนต้น

โดย มาหาอะไร
Fff