พอดีเห็นข่าวช่วงยิ่งลักษณ์ไปตรวจน้ำท่วมแถวพิจิตร
มีทั้งคนสนับสนุนและคัดค้านสร้างเขื่อนแก่งเสื้อเต้นอีกแล้ว
รวมไปถึงบางพวกพ่วงกระเช้าขึ้นภูกระดึงมาเสนอสมทบด้วย
ส่วนตัวก็ไม่เคยออกความเห็นฟันธงสองเรื่องนี้ที่ไหนชัดๆ
วันนี้ขอฟันธงค้านทั้งสองเรื่องตามเหตุผลดังต่อไปนี้
กรณีเขื่อนก็อย่างที่เห็นเก่งแต่สร้างบริหารจัดการไม่เป็น
แถมยังมีโอกาสนำมาเล่นการเมืองปล่อยน้ำท่วมชาวบ้าน
เพื่อไปเอาหน้าช่วยเหลือภายหลังอีก สรุปได้ไม่คุ้มเสีย
แต่พวกที่ค้านการสร้างเขื่อนนำเสนอไม่เป็น
ค้านเพราะไม้สักทองผืนสุดท้ายจะจมน้ำบ้าง
นั่นนี่แนวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้าง
ซึ่งก็บอกตามตรงว่า แม้แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจ
และถ้าคนทั่วไปไม่สนใจสิ่งแวดล้อมอาจบอกให้ปลูกใหม่ซิ
ไม่นั่งเถียงนอกประเด็นไปเรื่อยเปื่อยหรือ
อันที่จริงควรชี้ให้ชาวบ้านใต้เขื่อนและรอบๆ เขื่อนด้วย
ว่าที่มีเหตุการณ์ตายๆ กันเยอะๆ เวลามีน้ำท่วม
ส่วนใหญ่เกี่ยวกับเขื่อนปล่อยน้ำหรือกั๊กน้ำไม่ไหวทะลัก
หรือมันทะลักออกมาทางรูของเขาหรือถ้ำลอดที่เจ้าหน้าที่ก็ไม่อาจรู้
เพราะเขาใช้ภูเขาทั้งลูกๆ หลายๆ ภูเขาช่วยกั้นน้ำในเขื่อน
พอมันถึงระดับหนึ่ง ถ้ามีรูลักษณธถ้ำลอดหรือจุดที่ต่ำกว่าแนวปล่อยน้ำเขื่อน
ก็อาจมีทะลักออกไปท่วมได้ลักษณะน้ำป่า
ไม่ว่าจะแถวท่าปลาที่ตายเกลื่อนและแถวแม่พริกอะไรนี่ก็ใช่
แต่ไม่มีคนอยากหาสาเหตุว่ามันไหลมาจากไหน
แต่ถ้าศึกษาเองดูแผนที่ก็จะเข้าใจว่ามันรั่วมาจากเขื่อนไหนกันบ้าง
บางกรณีเขื่อนปล่อยน้ำไม่รู้มีงานหรือไม่
ชอบปล่อยตอนเที่ยงคืนหรือดึกๆ ชาวบ้านหลับกันสนิทหมดแล้ว
พอปล่อยมาใครจะไปอพยพทันก็ไปทั้งบ้านทั้งคน
เพราะน้ำที่ถูกปล่อยจากเขื่อนจะเชี่ยวและไหลแรงมากๆ
อะไรขวางหน้ามันพัดพาไปหมดแหล่ะ
เลยมีข่าวคนตายมาก บ้านเรือนเสียหายมากกว่าน้ำท่วมปกติ
ที่เกิดจากฝนตกหนักแล้วระดับน้ำค่อยๆ สูงขึ้น
เกิดแบบนี้หนีทัน แถมขนข้าวของไม่ให้เสียหายมากได้ทันด้วย
ยกเว้นพืชผลทางการเกษตรเท่านั้นที่อาจเสียหาย
เผื่อพวกคิดว่าสร้างเขื่อนแล้วดีบริเวณใต้เขื่อนและรอบๆ เขื่อนจะเข้าใจ
และขยาดไม่กล้าสนับสนุนเพราะความเชื่อผิดๆ ว่าเขื่อนป้องกันน้ำท่วมได้
ก็เห็นๆ อยู่ว่าไม่ว่าเขื่อนเล็กเขื่อนใหญ่เมื่อปีที่แล้ว
ปล่อยน้ำกันกระฉูดกลัวเขื่อนแตกถ้าไม่คิดในแง่มีงานอะไรกันน่ะ
หน้าแล้งก็มีข่าวไม่ปล่อยน้ำกลัวน้ำหมด
แล้วจะสนับสนุนสร้างกันไปทำไมเยอะๆ
ในเมื่อไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการเช่นนี้
ที่สำคัญการมีเขื่อนเยอะๆ มองในแง่การทำสงคราม
มันจะเป็นจุดอ่อน ถ้าเกิดสงครามด้วย
อ่านเหตุการณ์ที่พึ่งผ่านมาปีที่แล้วได้ที่เรื่องข้างล่างนี้
ภัยพิบัติ
Disaster
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง น้ำท่วมใหญ่สงขลารูปแบบเดียวกันกับน้ำท่วมใหญ่โคราช >>>
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง โคราชน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 50 ปี ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าอดีตทำไมถึงท่วมหนักได้ >>>
<<< หลักฐานการหลอกลวงชาวบ้าน เรื่อง เขื่อนไม่ได้ปล่อยน้ำ >>>
<<< โครงสร้าง ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศชภ) แบบถาวร >>>
<<< เปรียบเทียบวิธีการช่วยเหลือชาวบ้าน >>>
<<< เล่าประสบการณ์น้ำท่วมฉับพลันบนคอนโดชั้น 5 พร้อมวิธีแก้ปัญหาน้ำล้นเขื่อน >>>
<<< เขื่อนที่ดี กับ ที่ขวางทางน้ำไหล >>>
-----------------------------------------------
ส่วนกรณีการสร้างกระเช้ารถรางหรือสิ่งแปลกปลอมใดๆ ขึ้นภูกระดึง
สำหรับผมขอค้านไม่ใช่แค่เรื่องชาวบ้านในท้องที่ที่มารับจ้างแบกของนั่นนี่
หรือคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินขึ้นภูกระดึงจะเสียผลประโยชน์
แล้วจะก่อม็อบเพราะเขาคงค้านหัวชนฝา
และคงสู้ตายแน่เพราะกระทบปากท้องเขา
แต่ผมคิดว่าการให้มีการนั่งกระเช้าขึ้นไปบนภู
จะทำให้ภูไม่ว่าภูไหนหมดเสน่ห์หมดความท้าทาย
และอาจหมดตำนานของหนุ่มสาวรุ่นหลัง
ที่จะมีประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้พิชิตยอดเขาต่างๆ
ด้วยความมานะพยายามบากบั่นไปให้ถึงจนได้
ด้วยสองมือสองขาของเขา เป็นความประทับใจไม่รู้ลืม
เป็นความภาคภูมิใจครั้งหนึ่งในชีวิตของพวกเขาได้เหมือนกัน
ขอเล่าประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสเดินขึ้นภูกระดึง
วันนั้นผมก็ไม่ได้ประทับใจอะไรในวิวที่ได้เห็นเลย
ยิ่งไปช่วงหน้าหนาวน้ำแทบไม่มี
น้ำตกบางแห่งมีสภาพเหมือนลืมจ่ายค่าน้ำประปา
น้ำก๊อกที่บ้านยังแรงกว่าเลย
แถมความเจริญรุกเข้ามาจนแทบจะเหมือนอยู่ในตัวเมืองแล้ว
มีของขายทุกอย่าง แถมยังจะมีร้านคาราโอเกะอีก
ไม่รู้จะถ่อสังขารกันไปทำไม บางพวกก็เหมือนมาเปลี่ยนที่ดืมเหล้า
เสียงดังหนวกหูแต่ยังดีมีเจ้าหน้าที่มาดูแลให้เลิกช่วง 4 ทุ่ม
แต่บางที่นอก อช. เล่นดื่มเหล้าคุยกันโต้รุ่ง
บางทีแทบอยากหาอะไรเขวี้ยงเข้าไปกลางวงเหมือนกัน
แต่กลัวเจอตีนสวนกลับมา อิอิ
อันที่จริงควรออกกฏห้ามดื่มเหล้าสูบบุหรี่เด็ดขาดในเขต อช.
ใครทนไม่ได้จะตายอย่าไป ไปหาร้านเหล้าร้านอาหารในเมือง
หรือดื่มอยู่กับบ้านก็ได้ ไม่ต้องถ่อสังขารไปไกลๆ ลำบากๆ
แถมยังไปทำความรำคาญให้กับคนอื่นที่เขาจะไปชื่นชมธรรมชาติ
คือควรออกกฏห้ามหรือกีดกันพวกเศรษฐีหัดเที่ยวป่า
ชอบเปิดเพลงดังๆ โชว์เครื่องเสียงในรถ
รวมไปถึงพวกไม่รักธรรมชาติ
แค่อยากเปลี่ยนบรรยาการศที่ดื่มเหล้าให้หมดจะดีไม่น้อย
ถ้าพูดถึงการเดินขึ้นภูเราก็ไม่ได้ประทับใจภูกระดึงเท่าไหร่
เพราะเล่นทำบันไดอย่างดีเดินง่าย
แต่ประทับใจภูสอยดาวตอนนั้นมากกว่า
ค่อนข้างยังเป็นธรรมชาติมากกว่า
คนที่คิดนั่งกระเช้าเพื่อขึ้นไปบนภู
อาจจะรู้สึกเหมือนไม่มีอะไรเท่าไหร่
น้ำตกก็สวยสู้น้ำตกที่ไปง่ายๆ ไม่ได้
วิวก็งั้นๆ น่ะผมว่าที่เห็นสวย
ก็เพราะรีทัชใช้มุมกล้องถ่ายกันมากกว่า
จะเซ็งกันเปล่าๆ แต่ถ้าเดินขึ้นไปเอง
สิ่งที่ได้ก็คือการได้เพื่อนหรือแฟน
หรือเปลี่ยนสถานะจากเพื่อนเป็นแฟน
อะไรกันมากกว่าน่ะเราว่า
แต่ถ้าแต่งกันแล้ว
อาจเปลี่ยนจากแฟนมาเป็นเพื่อนก็ได้น่ะ อิอิ
ส่วนตัวเราการเดินขึ้นภูที่เราประทับใจคือ
ขึ้นภูสอยดาว ซึ่งปีนั้นมันยังดิบๆ อยู่เลย
ห้องน้ำยังต้องตักน้ำำจากลำธารมาอาบ
และทางขึ้นยากกว่าภูกระดึงอีก
แค่ชื่อแต่ละเนินก็บอกได้แล้ว เช่น
เนินปราบเซียน เนินที่่สามถ้าจำไม่ผิด
เราเริ่มเป็นตะคริวตั้งแต่เนินนี้้
แถมเดินท่ามกลางสายฝนปรอยๆ
เดินได้ไม่กี่ก้าวก็ต้องนั่งลงนวดให้หายตะคริว
แต่ก็เป็นสลับข้างเดี๋ยวซ้ายทีขวาที
น่องที หน้าขาทีเกือบตาย
แถมลื่นจับรั้วไม้ไผ่แน่นๆ ไม่ได้หักลื่นอีก
จนไปเจอเนินสุดท้ายจำชื่อไม่แน่ใจน่าจะชื่อ เนินมรณะ
แบบกว่าจะมาถึงด่านนี้ก็แย่แ้ล้ว
มาเจอด่านสุดท้ายชื่อเป็นมงคลอีก
นั่งทำใจสักพัก พอหลุดเนินนี้ไปได้
ความรู้สึกเหมือนหลุดนรกมาพบสวรรค์
ทุ่งดอกหงอนนาค สลับด้วยกับต้นสน
หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง วิ่งไล่ถ่ายรูปได้ทันที
แต่ภูกระดึงขึ้นถึงหลังแปรแล้วยังต้องเดินอีกหลายกิโล
กว่าจะถึงที่กางเต้นท์ นี่เดินอีกไม่กี่สิบก้าวก็ถึงที่กางเต้นท์
เดินนิดเดียวดูพระอาทิตย์ตกดินได้
เดินมาอีกฟากหน่อยเดียวไม่กี่ร้อยก้า่วเข้าเขตประเทศลาว
เป็นการขึ้นภูครั้งแรกในชีวิตด้วยสำหรับภูสอยดาว
และกว่าจะขึ้นไปได้ ด้วยความซ่าส์กลัวไม่เหนื่อย
แบกสัมภาระขึ้นไปเอง ไม่จ้างเขา
แต่ก็ประทับใจไม่รู้ลืม และมันยังอยู่ในความทรงจำตลอดไป
แนะนำว่าถ้าใครไม่เคยได้สัมผัสการเดินภู
ช่วงหนุ่มสาวหรือหลังทำงานไม่กี่ปีน่าจะหาโอกาสไปสักครั้ง
หลังจากนั้นอาจหมดไฟเพราะเริ่มแก่แล้ว
จะขี้เกียจเดินเหมือนเราได้ อิอิ
สรุปถ้าภูกระดึงทำกระเช้าขึ้นไปได้สำเร็จ
ก็จะแค่เปลี่ยนที่กินข้าวดื่มเหล้าสำหรับบางคนเท่านั้น
คนหนุ่มสาวที่รักการขึ้นภูและอยากมีโอกาสครั้งหนึ่งในชีิวิต
ได้มีโอกาสทำอะไรที่ท้าทายชีวิต ไว้เป็นประสบการณ์ของชีวิต
เขาจะเซ็งหมดอารมณ์ไปขึ้นภูกระดึงได้
แถมยังทำให้คนมีอาชีพท่องเที่ยวเกี่ยวกับภูกระดึง
ต้องตกงานมากขึ้นไม่เห็นมีความจำเป็นต้องสร้างเลยสักนิดเดียว
ถ้าอยากขึ้นเขาด้วยกระเช้าหรือรถราง
แนะนำไปเที่ยวเขาวังที่เพชรบุรี ขนาดเตี้ยยังเสียว
แต่ถ้าอยากนั่งกระเช้าลอยฟ้า แนะนำไปดรีมเวิลด์
ถึงระยะทางไม่ยาว แต่ก็ได้เสียวได้ลุ้นเหมือนกัน
แถมรูปขณะกำลังทำใจขึ้นเนินมรณะเนินสุดท้ายของภูสอยดาว
แทบขาดใจตะคริวกินทั้งสองขาสลับกันเป็น
เดินได้ไม่กี่ก้าวต้องนั่งลงทันทีแล้วนวดให้หาย
ออกเดินอีกสักพักก็เป็นอีก ทำแบบนี้จนถึงยอดดอย
สุดๆ ไปเลยวันนั้น
http://chaowaritc.multiply.com/photos/album/5/5#phot%E2%80%8Bo=8#photo=8
เสียดายมีเหตุการณ์ความไม่สงบหลายปีมานี้
ตั้งแต่ปี 48 มาเลย การขึ้นภูก็จบลง
ยังเหลืออีกหลายภูที่ยังไม่ได้เดินขึ้นไป
คงหมดโอกาสเดินแล้วหล่ะ
อย่างโมโกจูก็ต้องนอนในป่าหลายวันกว่าจะไปถึง
ดอยหลวงเชียงดาวก็อีกหลายวัน
หมดวัยแล้ว เฮ้อ แก่แล้วจริงๆ เรา อิอิ
สรุปสุดท้ายเราว่าเรื่องราวความประทับใจของคนหนุ่มสาว
ที่จะได้มีโอกาสเดินขึ้นภูแล้ว ภาคภูมิใจ
หรือประทับใจเก็บไว้ในความทรงจำตลอดไป
คงไม่มีอีกแน่ถ้าทุกอย่างสะดวกสบายใครๆ ก็ไปถึงได้ง่ายๆ
อีกหน่อยอาจกลายเป็นชะโงกทัวร์ขึ้นกระเช้าเช้าเย็นลงกลับบ้าน
ไม่จำเป็นต้องนอนกางเต้นท์ค้างคืน
คงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชะโงกทัวร์แห่งใหม่ในที่สุด
ซึ่งก็ิคิดว่ารัฐบาลนี้คงไม่ทำหรอก หวังว่ายังงั้น
และอยากให้เน้นสิ่งแวดล้อมและไอทีในการพัฒนาประเทศ
เพราะมีผู้นำน้อยประเทศในโลกนี้ทำ
แทบไม่มีก็ได้เรื่องเน้นสิ่งแวดล้อม
ไม่ใช่แค่สองเรื่องนี้ยังสามารถคิดเรื่องใหม่ๆ
ที่แสดงให้เห็นว่า จะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ตามแนวทางยิ่งพัฒนาประเทศ ประชาชนยิ่งมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ไม่ใช่ยิ่งพัฒนาประเทศ คุณภาพชีวิตประชาชนแย่ลง
อาจได้เป็นผู้นำที่โดดเด่นที่สุดในโลกก็ได้
โดย มาหาอะไร
---------------------------------------------------------
สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นแก้นํ้าท่วมซํ้าซาก
วันเสาร์ที่ผ่านมา นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยกพลขึ้นเหนือไปตรวจน้ำท่วมที่ จังหวัดสุโขทัย แพร่ น่าน ซึ่งกำลังประสบภัยน้ำท่วมอย่างหนัก ด้วยตัวเอง นายกฯยิ่งลักษณ์ คงได้เห็นกับตาแล้ว ความเดือดร้อนแสนสาหัสของประชาชนใน ลุ่มแม่น้ำยม ที่ต้องเจอ ภัยน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี เมื่อถึงหน้าฝน น้ำไหลเข้าท่วมเมือง ท่วมบ้าน ท่วมไร่นา เสียหายยับเยิน
มีการศึกษากันว่า ช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2545-2551 จังหวัดที่ แม่น้ำยม ไหลผ่าน ถูกน้ำท่วม เสียหายไปกว่า 150,000 ล้านบาท แล้ว
แม่น้ำยม เป็น 1 ใน 4 แม่น้ำสายหลัก ปิง วัง ยม น่าน ที่ไหลมารวมกันเป็น แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ มีต้นกำเนิดจากดอยขุนยวม ทิวเขาผีปันน้ำ จังหวัดพะเยา มีความยาว 735 กิโลเมตร ช่วงต้นน้ำมีความลาดชัน เมื่อเกิดฝนตกหนักจึงเกิดน้ำป่าไหลหลากอย่างรวดเร็วและรุนแรง
ผมเคยไปดู แม่น้ำยม ในหน้าแล้งที่ สุโขทัย มาแล้ว เห็นแล้วยังตกใจ เป็นแม่น้ำที่ลึกมาก ลักษณะเป็นรูปตัววี หน้าน้ำจึงไหลหลากรุนแรง พัดจนตลิ่งพัง เพราะมีร่องน้ำที่ลึกและลาดชัน ทำให้น้ำมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น อะไรก็ทานไม่อยู่
ใน หน้าแล้ง จังหวัดในลุ่มแม่น้ำยมกลับเจอ ภัยแล้ง สาหัสอีกเช่นกัน เพราะ แม่น้ำยม ไม่มี “เขื่อน” ที่จะกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในหน้าแล้ง และชะลอความรุนแรงของน้ำหลาก ประชาชนลุ่มแม่น้ำยม จึงต้องเจอภัยน้ำท่วม ภัยแล้ง ซ้ำซากทุกปี มาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว
โครงการพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดำริให้สร้าง เขื่อนแก่งเสือเต้น ขึ้นมากักเก็บน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ก็ถูก กลุ่มเอ็นจีโอ ต่อต้าน โดยอ้างว่า น้ำเขื่อนจะทำลายป่าสักทองผืนงามกว่า 24,000 ไร่ และป่าเบญจพรรณอีกกว่า 36,000 ไร่ รวม 60,000 ไร่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเชื่อได้แค่ไหน
เพราะรายงานที่ คุณวิรัติ พาณิชย์พงษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งตามลุ่มน้ำสำคัญ เปิดเผยใน นสพ.มติชน ฉบับวันอาทิตย์ที่ผ่านมา บอกว่า พื้นที่ป่าที่กลุ่มเอ็นจีโออ้างว่าจะสูญเสียจากการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นนั้น มีการบุกรุกทำลายป่าสงวนพื้นที่แก่งเสือเต้นกว่า 40,000 ไร่ เพื่อรอกระบวนการครอบครองสิทธิตามกฎหมาย
ฉะนั้น ใครกันแน่ ที่ “ทำลายป่า” ผมคิดว่า นายกฯยิ่งลักษณ์ ควรจะให้มีการ ตรวจสอบพิสูจน์ออกมาให้ชัดเจน ไม่ควรฟังความข้างเดียวแบบ “กลัว” อย่างไม่มีเหตุผล เหมือนรัฐบาลที่ผ่านมา ปัญหาของประเทศและประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมมากว่า 30 ปีแล้ว พวกเขาสมควรต้องได้รับการเยียวยาแก้ไข เสียที
ในรายงานยังได้ระบุว่า การสร้างเขื่อนที่บริเวณ “แก่งเสือเต้น” หมู่บ้านสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เป็นการ สร้างแหล่งน้ำต้นทุน เป็น ธนาคารน้ำ ที่ได้ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและประชาชนในลุ่มน้ำยม สามารถเก็บน้ำได้ถึงปีละ 1,175 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปัจจุบันที่มีการนำน้ำจากแม่น้ำยมมาใช้เพียงปีละ 400 ล้านลูกบาศก์เมตรของน้ำที่ไหลผ่าน และสร้างความเสียหายต่อประชาชนและประเทศ จาก ภัยน้ำท่วม สลับกับ ภัยแล้ง
แน่นอนว่าการสร้าง “เขื่อนแก่งเสือเต้น” เขื่อนเดียว คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาภัยน้ำท่วมและภัยแล้งได้อย่างถาวร จำเป็นต้องสร้าง “อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก” เพื่อเป็น “แก้มลิง” ควบคู่ไปด้วยตลอดเส้นทางกว่า 700 กิโลเมตรของแม่น้ำยม
การสร้าง “เขื่อนแก่งเสือเต้น” ผมเห็นด้วยว่า จะช่วยแก้น้ำท่วมและภัยแล้งได้จริง นายกฯยิ่งลักษณ์ ควรตั้งทีมงานขึ้นมาศึกษาอย่างจริงจังและเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนหลายล้านคนอย่างถาวร หาก ป่าสักทอง ที่ กลุ่มเอ็นจีโอ อ้าง ยังมีอยู่จริง ปลูกใหม่ทดแทนได้ แต่ การปล่อยให้คนไทยหลายล้านคน ต้องรับชะตากรรมน้ำท่วม ภัยแล้ง ซ้ำซากไปอีกหลายชาติ ผมว่ามันไม่ยุติธรรม เลยแม้แต่นิดเดียว จริงไหม.
“ลม เปลี่ยนทิศ”
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ลม เปลี่ยนทิศ
16 สิงหาคม 2554, 05:00 น.
http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/194088
---------------------------------------------------------
FfF